18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังต่อไปนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับวิชาเอก
                2. จัดให้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของวิชาเอก
                7. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                8. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุก ๆ ปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของวิชาเอก
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

 19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

        ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามวิชาเอกและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรวิชาเอก ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

        กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษาทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษาทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

ภาคผนวก

สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ.2549

ที่

รายการ

เดิม

ปรับปรุง

1

ชื่อหลักสูตร

    -  ครุศาสตรบัณฑิต

    -  ครุศาสตรบัณฑิต

2

ชื่อปริญญา

    -  ครุศาสตรบัณฑิต

    -  ครุศาสตรบัณฑิต

3

ปรัชญาของหลักสูตร

 

    -  เพิ่มข้อความตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพครูกำหนด

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    -  เป็นวัตถุประสงค์รวมของหลักสูตรวิชาเอก 8 กลุ่มวิชา คือ ภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศิลปะกรรม การศึกษาปฐมวัย การศึกษา
พิเศษ

    -  เพิ่มวัตถุประสงค์เฉพาะของวิชาเอก โดยฉบับปรับปรุงวิชาเอก 8 วิชา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาสาสตร์ การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา คอมพิวเตอร์ศึกษา คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 นก. ในหมวดวิชาเฉพาะ 6 นก. อย่างน้อย 12 นก. คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 5 นก.

5

หลักสูตร

 

 

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

    -  ไม่น้อยกว่า 171 หน่วยกิต

    -  ไม่น้อยกว่า 162 หน่วยกิต

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

    -  ประกอบด้วยกลุ่มชุดวิชา จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่

    -  ประกอบด้วย

 (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

    -  กลุ่มชุดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 นก.

    -  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 31 นก.

 (2) หมวดวิชาเฉพาะ

      -  หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 125 นก.

 2.1 วิชาแกน (วิชาชีพครู)

    -  กลุ่มชุดวิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 55 นก.
       1. ชุดวิชาการศึกษา ไม่น้อยกว่า 30 นก.
       2. ชุดวิชาการฝึกฯ   ไม่น้อยกว่า 25 นก. 
     1. วิชาชีพครู ไม่น้อยกว่า 37 นก.

 2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

    -  กลุ่มชุดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 80 นก.

    2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ ไม่น้อยกว่า 56 นก.

 2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

      3. วิชาเฉพาะด้านเลือก  ไม่น้อยกว่า 18 นก.

 2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

      4.วิชาประสบการณ์วิชาชีพไม่น้อยกว่า14 นก.

 2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

   

 (3) หมวดวิชาเลือกเสรี

    -  กลุ่มชุดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 นก.     -  หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 นก.

5.3 ระบบรหัสวิชา

    -  อักษร 4 ตัว เลข 3 ตัว

    -  ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อความสะดวกใน
    -  การบริหารหลักสูตร

5.4 คำอธิบายวิชา

    -  ใช้ชื่อว่า “คำอธิบายชุดวิชา” ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ 3 หัวข้อ
        - ผลลัพธ์การเรียนรู้
        - สาระการเรียนรู้
        - การจัดการเรียนรู้

    -  เขียนเป็นความเรียง ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
        - กิจกรรม
        - ขอบข่ายเนื้อหา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

    -  ไม่ระบุ

ร    -  ะบุอาจารย์ในคณะครุศาสตร์ จำนวน 16 คน

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสูตรครุศาสตรบัณฑิต

        1.1  มหาวิทยาลัย ฯ จัดประชุมสัมมนากำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ วันที่ 16 กันยายน 2545
        1.2  มหาวิทยาลัยฯ สำรวจความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เดือนกันยายน 2545
        1.3  มหาวิทยาลัยฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2545 ผลการปฏิบัติการได้มาซึ่ง ชื่อหลักสูตรมาตรฐานหลักสูตร วิชาแกน
              วิชาบังคับ และวิชาเลือกบางส่วน
        1.4  การดำเนินการประชุม เพื่อจัดทำร่างหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วันที่ 20 – 21 ธันวาคม 2547
        1.5  ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ณ ห้องประชุมกาฬพฤกษ์ คณะครุศาสตร์ เมื่อเดือน มีนาคม 2548
        1.6  ร่วมวิพากษ์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ อำเภอแม่วงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ วันที่ 31 สิงหาคม - 1 กันยายน 2548
        1.7  ปรับปรุงหลักสูตรตามข้อเสนอแนะของกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ 15 กันยายน 2548
        1.8  นำเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรคณะครุศาสตร์ เมื่อเดือน กันยายน 2548
        1.9  นำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548
        1.10 ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของสภาวิชาการาการ
        1.11 นำเสนอหลักสูตรต่ออนุกรรมการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ วันที่ 10 ตุลาคม 2548         1.12 นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2549 โดยมีมติอนุมัติหลักสูตรนี้

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

        2.1 คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

1.

นายสุรชัย รังสิยานนท์

กศ.ม. (เทคโนโลยีทางการศึกษา)
กศ.บ.(ภาษาอังกฤษ)

2.

นางบังอร ทิวาพรภานุกูล

ศศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว)
ศศ.บ. (การวัดและประเมินผลการศึกษา)
ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์)

3.

นางวไลพร เมฆไตรรัตน์

กศ.ม.(การศึกษาปฐมวัย)
ค.บ.(การอนุบาลศึกษา) เกียรตินิยมอันดับ 2
ศษ.บ.(บริหารการศึกษา)

4.

นางอาภรณ์ วงษ์สกุล

กศ.ม.(การประถมศึกษา)
ค.บ.(การปฐมวัยและดนตรี)

5.

นายภาณุพงษ์ คงจันทร์
อาจารย์ 2 ระดับ 7

กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)
กศ.บ. (สังคมศึกษา)

6.

นางสาวนพรัตน์ จิตตะวณิช

M.S. in Ed. (Education Administration & Supervision)
ค.บ. (วิทยาศาสตร์)

7.

นายสุชาติ จันทร์ดอกไม้

กศ.ม.(พลศึกษา)
กศ.บ.(พลศึกษา)

8.

นายสุนทรสวัสดิ์ เค้าศรีวงษ์

กศ.บ. (พลานามัย) MAT.PE.(Physical Education)

9.

นายมงคล จันทรภิบาล

กศ.ม.(เทคโนโลยีทางการศึกษา)
กศ.บ.(ภาษาอังกฤษ)

10.

นายปรีดา กลั่นแก้ว

ค.ม.(โสตทัศน์ศึกษา)
ค.บ.(ภาษาอังกฤษ)

11.

นายนิเวศน์ คำรัตน์

ค.ม. (วิจัยการศึกษา)
กศ.บ.(วิทยาศาสตร์- คณิตศาสตร์)

12.

นางพรรณี เหมะสถล

ค.ม.(หลักสูตรและการสอน)
กศ.บ. (คณิตศาสตร์)

13.

นางสาวเยาวเรศ ภักดีจิตร

ศษ.ม. (สังคมศึกษา)
ค.บ.(การประถมศึกษา)

14.

นางฐิตินันท์ ด้วงสุวรรณ

กศ.ม. (จิตวิทยาและการแนะแนว)
กศ.บ.(การประถมศึกษา)

15. 15.

นางสาวธนาพร ธนานุวัฒน์ศักดิ์

วท.ม. (การสอนชีววิทยา)
กศ.บ. (ชีววิทยา-ภาษาอังกฤษ)

16.

ม.ล.รพีพรรณ ชมพูนุท

ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
ค.บ. (พลศึกษา-เคมี)
คศ.บ.(พัฒนาการเด็กและครอบครัว)

        2.2 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

                1. ร.พัฒนา ชัชพงศ์                              อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                2. ผศ.สรวงพร กุศลส่ง                             มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
                3. อาจารย์เทิน สีนวน                              มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
                4. อาจารย์บุญไท เจริญผล                       มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
                5. อาจารย์อรวรรณ สุ่มประดิษฐ์                  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
                6. อาจารย์วันทนา สุขเทศ                        มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
                7. อาจารย์สมศรี บำรุงปรีชา                     โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์

3. ข้อเสนอแนะ-แนวทางการปรับปรุงแก้ไข

&        3.1 ข้อเสนอแนะ-แนวทางการปรับปรุงแก้ไขในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

            วันที่ 31 สิงหาคม 2548 ถึง วันที่ 1 กันยายน 2548

                จากการวิพากษ์หลักสูตรของคณะครุศาสตร์ เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ถึง วันที่ 1 กันยายน 2548 กรรมการวิพากษ์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตได้ให้ข้อเสนอแนะและมีการแก้ไขหลักสูตรตามข้อเสนอแนะดังนี้

                1. ที่ประชุมมีความเห็นว่า ปรัชญาและวัตถุประสงค์ คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาระบบการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การลงทะเบียน การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา โครงการหลักสูตร รายชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิต และคำอธิบาย
                    รายวิชา มีความเหมาะสม

                2. ที่ประชุมมีความเห็นว่า มีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับเนื้อหาวิชาในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

                3. ที่ประชุมขอแก้ไข โดยรวมรายวิชาที่ซ้ำซ้อนบางส่วนเข้าด้วยกันและเพิ่มหน่วยกิตหรือเพิ่มชั่วโมงปฏิบัติ เพื่อให้ครอบคลุมกับเนื้อหาและให้ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน

                4. ที่ประชุมให้ปรับแก้ไขรายวิชาให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่คณะกรรมการสภาวิชาชีพครูได้กำหนดขึ้นใหม่

        3.2ข้อเสนอแนะ-แนวทางการปรับปรุงแก้ไขในการประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์   

            วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548

                จากการประชุมสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 สรุปได้ดังนี้

                1. ประชุมให้ทบทวนและปรับเปลี่ยนอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งกำหนดไว้ 5 คน ควรมีอาจารย์ประจำหลักสูตร ดูแลรับผิดชอบในแต่ละวิชาเอกอย่างน้อย 2 คน รวมทั้งสิ้น อย่างน้อย 16 คน เพื่อแสดงศักยภาพของวิชาเอกและมิให้ซ้ำซ้อนกับบุคลากร
                    ที่เตรียมไว้สำหรับเปิดหลักสูตรปริญญาโทและเอก

                2. เพิ่มวิชาชีพครูเลือก เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาทั้งมหาวิทยาลัยมีโอกาสเลือก โดยปรับรายวิชาในวิชาชีพครูบังคับให้มีจำนวนหน่วยกิตลดลง เมื่อรวมกับรายวิชาในวิชาชีพครูเลือกแล้วให้มีมาตรฐานและจำนวนหน่วยกิตสอดคล้องกับมาตรฐาน
                    วิชาชีพครู

                3. ตรวจสอบรายวิชาภาษาอังกฤษในวิชาเฉพาะด้านบางวิชาเอก เพื่อให้ครบ 12 หน่วยกิต ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและตามข้อตกลงของมหาวิทยาลัย

                4. ทบทวนรายวิชาเฉพาะด้านเลือกของบางวิชาเอก ซึ่งควรอยู่ในวิชาเฉพาะด้านบังคับ

                5. เนื้อหาวิชาที่ซ้ำซ้อนกับหลักสูตรอื่น ๆ ควรประสานงานและเขียนคำอธิบายรายวิชาร่วมกัน

4. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

        หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 8 วิชาเอก ดังนี้

        1.1 ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ณ ห้องประชุมกาฬพฤกษ์ คณะครุศาสตร์ เมื่อเดือน มีนาคม 2548 โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้อง ด้านรูปแบบ หัวข้อ การจัดทำเล่มและเนื้อหารายวิชา

        1.2 ปรับปรุงแก้ไขภายหลังการวิพากษ์หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ณ อุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ อำเภอแม่วงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้อง ด้านการหลอมรวมรายวิชาที่ซ้ำซ้อน เพิ่มจำนวนหน่วยกิต และให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
              วิชาชีพครู

        1.3 ปรับปรุงหลักสูตรตามข้อเสนอแนะของกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิชาการ คณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ สภามหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ประจำหลักสูตรและผู้เกี่ยวข้อง ด้านต่าง ๆ ดังนี้

                1) เพิ่มอาจารย์ประจำหลักสูตร ดูแลรับผิดชอบในแต่ละวิชาเอก 2 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน
                2) เพิ่มวิชาชีพครูเลือก โดยยึดมาตรฐานวิชาชีพครู
                3) เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษในวิชาเฉพาะด้านบางวิชาเอก จนครบ 12 หน่วยกิต ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและตามข้อตกลงของมหาวิทยาลัย
                4) นำรายวิชาเฉพาะด้านเลือกของบางวิชาเอก ไปไว้ในวิชาเฉพาะด้านบังคับเพราะเป็นสิ่งจำเป็นที่นักศึกษาต้องเรียน 5) ประสานงานและเขียนคำอธิบายรายวิชาร่วมกับหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง

                     

ไปบนสุด
หน้าก่อนหน้า
หน้าถัดไป
กลับไปหน้าหลัก