หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1. ชื่อหลักสูตร

2. ชื่อปริญญา

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5. กำหนดการเปิดสอน

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา.

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8. ระบบการศึกษา.

9. ระยะเวลาการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน.

13. จำนวนนักศึกษา

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15. ห้องสมุด

16. งบประมาณ

17. หลักสูตร

    17.1 จำนวนหน่วยกิต

    17.2 โครงสร้างหลักสูตร

    17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

    17.4 แผนการศึกษา

    17.5 คำอธิบายรายวิชา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร.

19. การพัฒนาหลักสูตร

20. ภาคผนวก

    - ผู้ทรงคุณวุฒิ

    - คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

    - ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตร

    - สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ พ.ศ.2549

   

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พุทธศักราช 2549

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์

ภาษาอังกฤษ

Bachelor of Fine Art Program in Applied Art Design

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม ศิลปบัณฑิต (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
  Bachelor of Fine Art (Applied Art Design)
ชื่อย่อ ศป.บ. (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)
  B.F.A. (Applied Art Design)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                ภาควิชาศิลปกรรมมีความเชื่อมั่นในด้านการออกแบบเพื่อการสร้างสรรค์พัฒนาเพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นการพัฒนาคนให้เต็มศักยภาพเพื่อรับใช้สังคมและสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาล

                การผลิตทรัพยากรมนุษย์ในสายวิชาชีพออกแบบสาขาประยุกต์ศิลป์ให้สอดคล้องกับสังคมโลกวิชาการ และสังคมในยุคแข่งขัน 3 ด้าน คือ 1) เน้นขีดความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ของบัณฑิต 2) สร้างคุณภาพบัณฑิตให้มีทักษะและศักยภาพใน
การประกอบวิชาชีพในโลกของการแข่งขันทางด้านธุรกิจได้ และมีคุณลักษณะการเป็นผู้นำ 3) ใช้เกณฑ์ความสามารถของบัณฑิตในการสังเคราะห์เนื้อหาวิชาชีพที่ได้รับจากการศึกษาไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกและสังคมท้องถิ่นที่กำลัง
เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองต่อผู้อื่นและต่อสังคมอย่างยั่งยืน

                การจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตทางการออกแบบดำเนินการโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และใช้ระบบการสอนแบบ Active Learning เพื่อให้บัณฑิตได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองได้ในอนาคต

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางศิลปะสายวิชาการออกแบบที่สามารถทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ หน่วยงานเอกชนในระดับท้องถิ่น และการประกอบอาชีพส่วนตัว
                2) เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้าทดลองและวิจัยงานด้านศิลปะด้านวิชาการออกแบบให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                3) เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้และมีจริยธรรมในการประกอบการธุรกิจขนาดย่อมทางศิลปะการออกแบบ
                4) เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาศิลปะสายการออกแบบไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นให้กว้างขวาง

5. กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการรับรองและหรือเป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับ อุดมศึกษาของสำนักงานกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติ

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาใน
การศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตาม ที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงาน หรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 3 หน่วยกิตระบบ ทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ นามสกุล

วุฒิการศึกษา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1.

รศ.บุศราคำ เริงโกสุม

    -  ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)
    - ป.ม.ช. (จิตรกรรม)

    -  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
    -  โรงเรียนเพาะช่าง

    1. เอกสารประกอบ การสอน 4 เล่ม
    2. ตำรา 5 เล่ม
    3. งานวิจัย 2 เรื่อง
    4. บทความทาง วิชาการ 2 เรื่อง

2.

ผศ.วิทยา เริงโกสุม

    -  ค.ม. (ศิลปศึกษา)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)
    -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม)

    -  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
    -  โรงเรียนเพาะช่าง

    1. เอกสารประกอบ การสอน 4 เล่ม
    2. ตำรา 2 เล่ม
    3. บทความทาง วิชาการ 4 เรื่อง

3.

ผศ.วัชรา เฉลยทรัพย์

    -  ค.ม.(หลักสูตรและการสอน)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)

    1. เอกสารประกอบ การสอน 1 เล่ม

4.

นายศิวะ อินทโคตร

    -  ศ.บ. (จิตรกรรม)

    -  มหาวิทยาลัยศิลปากร

    1. เอกสารประกอบ การสอน 1 เล่ม

5.

นายณัฐ ล้ำเลิศ

    -  ศ.บ. (จิตรกรรม)

    -  มหาวิทยาลัยศิลปากร

    1. เอกสารประกอบ การสอน 1 เล่ม

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย (สาขา)/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ/ วิชาที่สอน

1.

รศ.บุศราคำ เริงโกสุม

    -  ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)
    -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม)

ผลงานทางวิชาการ

    1. ศิลปะสำหรับครูประถม
    2. วารสารเผยแพร่และ ประชาสัมพันธ์ “ของดีในจังหวัดนครสวรรค์”
    3. เอกสารคำสอนศิลปะพื้นบ้าน 1

ตำรา

    1. ภาพพิมพ์
    2. ส.ล.น.สนุกกับจินตนาการ
    3. ศิลปะร่วมสมัย
    4. การออกแบบนิตยสาร
    5. ศิลปะการออกแบบนิตยสาร

วิจัย

    1. “การคัดเลือกลายผ้าทอ พื้นบ้านและถ่ายทอด วัฒนธรรมในจังหวัด
         นครสวรรค์.” ( ได้รับทุน อุดหนุนการทำวิจัย จากสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ )
    2. “รูปแบบพื้นฐานและแนวคิดสินค้าโอทอป ด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเพื่อ
         การปรับและพัฒนางานในจังหวัดนครสวรรค์ และใกล้เคียง.” (ได้รับทุน
         อุดหนุนการทำวิจัย จากงบประมาณจังหวัดนครสวรรค์ ปีงบประมาณ 2549)

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  รองศาสตราจารย์ ระดับ 9

ตำแหน่งบริหาร

    -  หัวหน้าภาควิชาศิลปกรรม

วิชาที่สอน

    1. ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
    2. ภาพพิมพ์พื้นฐาน
    3. พฤติกรรมผู้บริโภคทางธุรกิจ
    4. การจัดการธุรกิจศิลปกรรม
    5. โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์
    6. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ พื้นบ้าน

2.

ผศ.วิทยา เริงโกสุม

    -  ค.ม. (ศิลปศึกษา)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)
    -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม)

เอกสาร

    1. หลักการออกแบบ

ตำรา

    1. เครื่องหมายและสัญลักษณ์
    2. การหล่อและเคลือบรูปด้วยพลาสติกเหลว
    3. ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8

ตำแหน่งบริหาร

    -  รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี

วิชาที่สอน

    1. การออกแบบนิทรรศการ
    2. ออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์
    3. จิตวิทยาการออกแบบ
    4. การออกแบบบรรจุภัณฑ์
    5. การถ่ายภาพเพื่อการออกแบบกราฟฟิก
    6. การออกแบบลวดลาย
    7. โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

3.

ผศ.วัชรา เฉลยทรัพย์

    -  ค.ม. (หลักสูตรและ การสอน)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)

เอกสาร

    1. สุนทรียภาพเพื่อชีวิต
    2. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง ภาพทิวทัศน์
    3. งานแต่งเรียบเรียง เรื่อง หลักการเขียนภาพ

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์ 2 ระดับ 7

วิชาที่สอน

    1. สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น
    2. ชีวิตกับศิลปะ
    3. การออกแบบตกแต่งสถานที่
    4. การนำเสนอผลงานการออกแบบ
    5. โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

4

นายณัฐ ล้ำเลิศ

    -  ศ.บ. (จิตรกรรม)

เอกสาร

    1. การออกแบบงานพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
    2. การถ่ายภาพสร้างสรรค์
    3. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
    4. การระบายสีน้ำ

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์

วิชาที่สอน

    1. คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ
    2. การถ่ายภาพเพื่องานกราฟิก
    3. การออกแบบเวปเพจ
    4. ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก
    5. โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

5.

นายศิวะ อินทโคตร

    -  ศ.บ. (จิตรกรรม)

เอกสาร

    1. เทคนิคสีน้ำมันทิวทัศน์
    2. องค์ประกอบศิลป์
    3. ธุรกิจศิลปะ
    4. การนำเสนอผลงาน
    5. จิตรกรรมสร้างสรรค์

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์

วิชาที่สอน

    1. วาดเส้นพื้นฐาน
    2. จิตรกรรมพื้นฐาน
    3. วาดเส้นสร้างสรรค์
    4. ภาพประกอบ
    5. จิตรกรรมประยุกต์เพื่องาน 2 มิติ

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย (สาขา) ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบวิชาที่สอน

1.

นายมาโนช แสงจันทร์

    -  ผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่น

-

วิชาที่สอน

    1. จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 2 มิติ
    2. จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 3 มิติ

13. จำนวนนักศึกษา

        13.1 แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

                สาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

ชั้นปีที่ 1

30

30

30

30

ชั้นปีที่ 2

-

30

30

30

ชั้นปีที่ 3

-

-

30

30

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

30

รวม

30

60

90

120

14 สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

ที่

อาคารสถานที่

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่มในอนาคต

1

ห้องเรียนบรรยาย

1

5

2

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

-

2

3

ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ

1

-

4

ห้องปฏิบัติการตัดเย็บและออกแบบเครื่องกายบน โครงหุ่นเปลือย

-

2

5

ห้องปฏิบัติการแต่งหน้าและทดลองเครื่องแต่งหน้า

-

1

6

ห้องเก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

-

2

7

ห้องปฏิบัติการวิชาเฉพาะ

1

4

8

ห้องประติมากรรม

-

1

9

ห้องซิลค์สกรีน

1

1

10

ห้องจิตรกรรม

1

2

11

ห้องปฏิบัติการออกแบบ

-

3

12

ห้องปฏิบัติการงานพิมพ์

-

1

13

ห้องพักอาจารย์

1

2

14

ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ

-

1

15

ห้องประชุมย่อยของภาควิชา

-

1

16

ห้องแสดงนิทรรศการ

-

1

17

ห้องน้ำอาจารย์และนักศึกษา

-

3

        14.2 อุปกรณ์การสอน

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

1

เครื่องคอมพิวเตอร์

1 เครื่อง

30 เครื่อง

2

โต๊ะปฏิบัติงาน

10 ตัว

30 ตัว

3

โต๊ะออกแบบ

-

30 ชุด

4

กล้องดิจิตอล

-

2 กล้อง

5

โทรทัศน์

1 เครื่อง

3 เครื่อง

6

กล้องวิดีโอ

-

1 เครื่อง

7

เครื่องพิมพ์สี

-

2 เครื่อง

8

ตู้เย็นไม่ต่ำกว่า 8 คิว (เก็บสีน้ำมัน)

-

1 ตู้

15. ห้องสมุด

        หนังสือ ตำราเรียน วารสาร และเอกสารอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

- ศิลปะกับงานกราฟฟิก

โกวิท จิตบรรจง

1 เล่ม

- ศิลปะกับพระพุทธรูป

เกษมสุข ภมรสถิตย์

2 เล่ม

- ศิลปะกับมนุษย์

อารี สุทธิพันธ์

5 เล่ม

- คอมพิวเตอร์กราฟฟิก

รัศแก้ว ศรีสด

2 เล่ม

- ศิลปะสำหรับครูประถม

บุศราคำ เริงโกสุม

4 เล่ม

- ศิลปะพื้นบ้าน 1

บุศราคำ เริงโกสุม

4 เล่ม

- การคัดเลือกลายผ้าทอพื้นบ้าน และการถ่ายทอดนวัตกรรมในจังหวัดนครสวรรค์

บุศราคำ เริงโกสุม

4 เล่ม

- การหล่อและเคลือบรูปพลาสติก

วิทยา เริงโกสุม

2 เล่ม

- การออกแบบเครื่องหมายและสัญลักษณ์

วิทยา เริงโกสุม

2 เล่ม

- ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยา เริงโกสุม

2 เล่ม

- ลวดลายในสถาปัตยกรรมไทย

เศรษฐมันตร์ กาญจนกุล

2 เล่ม

- ลวดลายแบบปัก

อารยะ ไทยเที่ยว

4 เล่ม

- เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย

จารุณี สุวรรณานนท์

3 เล่ม

- เครื่องแต่งกายยุคโกธิคตอนต้น

พฤทธ์ ศุภเศรษฐศิริ

1 เล่ม

- เครื่องถมและเครื่องเงินไทย

สมาคมเครื่องถมและเครื่องเงินไทย

1 เล่ม

- เครื่องประดับ

พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์

2 เล่ม

- สุนทรียศาสตร์

วนิดา ขำเขียง

1 เล่ม

- สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

บุณย์ นิลเกษ

2 เล่ม

- การออกแบบ

อารีย์ สุทธิพันธ์

10 เล่ม

การออกแบบ เขียนแบบ

สมทรง เวียงอำพล

2 เล่ม

- การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)

ประชิด ทินบุตร

1 เล่ม

- การออกแบบกลยุทธธุรกิจ

Michael E , Porter

2 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะยุคโบราณและยุคกลาง

อัศนีย์ ชูอรุณ

3 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีใน ประเทศไทย

พิริยะ ไกรฤกษ์

2 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องแต่งกาย

พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง

1 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะจีน

กำจร สุนพงษ์ศรี

4 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่น

มาลินี คัมภีรญาณนนท์

1 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ): การ เริ่มต้นและสืบเนื่องงานช่างในศาสนา

สันติ เล็กสุขุม

3 เล่ม

- ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง อินเดีย , ชวา , จาม , ขอม , พม่า , ลาม

สุภัทรดิศ ดิศกุล

3 เล่ม

- การออกแบบนิตยสาร

บุศราคำ เริงโกสุม

2 เล่ม

- การออกแบบนิทรรศการ

ประเสริฐ ศรีรัตนา

2 เล่ม

- การออกแบบนิเทศศิลป์ 1

ปราโมทย์ แสงพลสิทธ์

1 เล่ม

- การออกแบบนิเทศศิลป์ 3

ปราโมทย์ แสงพลสิทธ์

1 เล่ม

- การออกแบบบรรจุภัณฑ์

ประชิด ทิณบุตร

2 เล่ม

- การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน

ภารดี พันธุภากร

1 เล่ม

- การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับธุรกิจ E-Commerce

ปุ่น คงเจริญเกียรติ

1 เล่ม

- การออกแบบเบื้องต้น

เลอสม สถาปิตานนท์

2 เล่ม

- การออกแบบ 2 มิติ

วิรุณ ตังเจริญ

3 เล่ม

- การออกแบบกราฟิก

วิรุณ ตังเจริญ

2 เล่ม

- สุนทรียทางทัศนศิลป์

สงวนศรี ศรีกำพงษ์

3 เล่ม

- วาดเส้น

อนันต์ ประภาโส

5 เล่ม

- วาดเส้นแรเงา

จิราภรณ์ สังขพัฒน์

2 เล่ม

- วาดเส้นมัณฑนศิลป์ ออกแบบภายใน ออกแบบมัณฑนศิลป์ 1

ชัชยภูมิ อัครนาคร

2 เล่ม

- ธุรกิจโฆษณา

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

4 เล่ม

- บาติกเพ้น

มุราฤกษ์ ทองประยูร

2 เล่ม

- ถ่ายภาพเรียนเร็ว

พูน เกษจำรัส

1 เล่ม

- การวาดแบบเสื้อผ้า

นวลจิตต์ เรืองศรีใส

2 เล่ม

- การตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเชิงอุตสาหกรรม

ศรีกาญจนา พลอาสา

4 เล่ม

- การตัดเย็บเสื้อผ้าและกระโปรงสตรี

จินดา นัยผ่องศรี

1 เล่ม

        รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์  http://127.0.0.1:5432/HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สามารถสืบค้น วารสาร (Journal) ทางด้านศิลปะได้ทั่วโลก

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2549

2550

2551

2552

2553

    -  ค่าตอบแทน

212,880

425,760

851,520

1,277,280

1,703,040

    -  ค่าใช้สอย

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

    -  ค่าวัสดุ

100,000

200,000

200,000

200,000

200,000

    -  ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

-

-

-

-

-

รวมงบดำเนินการ

200,000

300,000

300,000

300,000

300,000

    -  ค่าครุภัณฑ์

500,000

500,000

500,000

500,000

500,000

    -  ค่าที่ดิน

-

-

-

-

-

    -  ค่าสิ่งก่อสร้าง

-

-

-

-

-

รวมงบลงทุน

500,000

500,000

500,000

500,000

500,000

เงินทั้งหมด

700,000

700,000

700,000

700,000

700,000

17. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างหลักสูตร

                หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ระดับปริญญาตรีมีสัดส่วนจำนวนหน่วยกิต ตามหมวดวิชา และกลุ่มวิชาดังนี้

        17.2.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31 หน่วยกิต

           1)  กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9 หน่วยกิต

           2)  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8 หน่วยกิต

           3)  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6 หน่วยกิต

           4)  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์

8 หน่วยกิต

        17.2.2 หมวดวิชาเฉพาะ

92 หน่วยกิต

           1)  วิชาแกน

36 หน่วยกิต

           2)  วิชาเฉพาะด้านบังคับ

37 หน่วยกิต

           3)  วิชาเฉพาะด้านเลือก

12 หน่วยกิต

           4)  วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

7 หน่วยกิต

        17.2.3 หมวดวิชาเลือกเสรี

6 หน่วยกิต

        17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2

3

4

5

6

7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                 บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 88 หน่วยกิต

            1) วิชาแกน ให้เรียน 36 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3(3-0-6)

 

English for Learning

 

2313703

ภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

English for Fine and Applied Art

 

2121102

จิตรกรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Painting

 

2111201

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

3(3-0-6)

 

History of Thai Art

 

2111202

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

3(3-0-6)

 

History of Western Art

 

2111401

หลักการออกแบบ

3(2-2-5)

 

Principles of Design

 

2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Aesthetic Appreciation

 

2121101

วาดเส้นพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Drawing

 

2121201

ภาพพิมพ์พื้นฐาน

3(2-2-5)

 

Introduction to Printing

 

2122301

ประติมากรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Sculpture

 

2132602

คอมพิวเตอร์กับการออกแบ

3(1-4-4)

 

Computer Graphic Design

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

            2) วิชาเฉพาะด้านบังคับ 37 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2112601

การนำเสนอผลงานการออกแบบ

3(2-2-5)

 

Design Presentation

 

2112702

การจัดการธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

Art Business Management

 

2113703

การออกแบบนิทรรศการ

3(1-4-4)

 

Exhibition and Event Design

 

2114901

โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

4(2-4-6)

 

Special Project in Applied Arts

 

2120102

วาดเส้นสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Drawing

 

2123701

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 2 มิติ

3(1-4-4)

 

Thai Art applied for 2-Dimensional Design

 

2123702

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 3 มิติ

3(1-4-4)

 

Thai Art applied for 3-Dimensional Design

 

2132501

การออกแบบลวดลาย

3(1-4-4)

 

Motif and Ornament Design

 

2142102

การพิมพ์สกรีนบนวัสดุ 3 มิติ

3(1-4-4)

 

3-Dimensional Screen Printing

 

2143102

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน

3(1-4-4)

 

Folk Craft Product Design

 

2113703

การออกแบบนิทรรศการ

3(1-4-4)

 

Exhibition and Event Design

 

2143103

ออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์

3(1-4-4)

 

Synthetic Materials for Product Design

 

2112703

พฤติกรรมผู้บริโภคทางธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

Customer Behavior in Art Business

 

            3) วิชาเฉพาะด้านเลือก 12 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2101103

ทฤษฏีสี

3(2-2-5)

 

Color Theory

 

2103101

ศิลปะไทยประยุกต์

2(1-2-3)

 

Applied Thai Arts

 

2104911

พื้นฐานการวิจัยทางศิลปะและศิลปะประยุกต์

3(3-0-6)

 

Basic Research in Art and Applied Art

 

2112203

ประวัติศาสตร์ศิลปะท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

History of Local Art

 

2113105

ศิลปะสมัยใหม่

3(2-2-5)

 

Modern Art

 

2121105

วาดเส้นภาพคน

3(1-4-4)

 

Figure Drawing

 

2121116

จิตรกรรมสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Painting

 

2121204

การพิมพ์สกรีนบนพื้นราบ

3(1-4-4)

 

Screen printing on Plane Surface

 

2121212

การพิมพ์แกะไม้

3(1-4-4)

 

Woodcut Printing

 

2121305

การปั้น-การหล่อ

3(1-4-4)

 

Molding and Casting

 

2122107

การระบายสีน้ำ

2(1-2-3)

 

Water Color Painting

 

2122213

การสร้างสื่อประสมทางการพิมพ์

3(1-4-4)

 

Multimedia Printing

 

2122305

ประติมากรรมสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Sculpture

 

2123315

ประติมากรรมประยุกต์เพื่องานออกแบบกราฟิก

3(1-4-4)

 

Applied Sculpture for Graphic Design

 

2123901

โครงการทัศนศิลป์

3(1-4-4)

 

Visual Arts Project

 

2124306

ประติมากรรมตกแต่ง

3(1-4-4)

 

Decorative Sculpture

 

2131118

เขียนแบบพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Drafting

 

2131409

องค์ประกอบศิลป์

3(1-4-4)

 

Composition in Arts

 

2132401

การออกแบบเขียนแบบโครงสร้าง

3(1-4-4)

 

Structural Design

 

2132404

เทคนิคการถ่ายภาพและการตกแต่ง

3(2-2-5)

 

Technical Photography and Retouching

 

2132410

เทคนิควิทยาเพื่องานออกแบบ

3(1-4-4)

 

Technological Design

 

2133211

การถ่ายภาพสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Photography

 

2133414

คอมพิวเตอร์กราฟิกงานผสมหลายสื่อ

3(1-4-4)

 

Multimedia in Computer Graphic

 

2133417

การออกแบบการนำเสนอ

3(1-4-4)

 

Design presentation Process

 

2134414

คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่องานออกแบบประยุกต์ศิลป์

3(1-4-4)

 

Computer Graphic for Applied Arts

 

2141104

การออกแบบสร้างสรรค์เศษวัสดุ

3(1-4-4)

 

Found objects in Design

 

2141106

การออกแบบเครื่องเรือน

3(1-4-4)

 

Furniture Design

 

2141107

การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้

3(1-4-4)

 

Wood Product Design

 

2141108

ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน

3(1-4-4)

 

Weaving Product

 

2141402

การออกแบบตกแต่งสถานที่

3(1-4-4)

 

Landscape Design

 

2142101

ปูนปั้น

3(1-4-4)

 

Stucco Molding

 

2142104

การออกแบบของที่ระลึก

3(1-4-4)

 

Souvenir Design

 

2142201

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

3(1-4-4)

 

Package Design

 

2143107

การออกแบบสร้างสรรค์งานกระดาษ

3(1-4-4)

 

Creative Paper Design

 

2143301

งานออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อม

3(1-4-4)

 

Environmental Graphic Design

 

2143302

คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ

3(1-4-4)

 

Computer Graphic for 3 Dimension Design

 

2143604

การพิมพ์ซิลค์สกรีนบนผ้า

3(1-4-4)

 

Silkscreen on Fabric

 

2144601

วัสดุและกรรมวิธี

3(1-4-4)

 

Materials and Process

 

2113503

จิตวิทยาการออกแบบ

3(3-0-6)

 

Psychological Design

 

2133401

การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบกราฟิก

3(1-4-4)

 

Photography for Graphic Design

 

2133601

การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

 

Web Page Design

 

            4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

2113801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์

2(90)

 

Preparation for Prospective Profession in Applied Arts Design

 

2114802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบประยุกต์ศิลป์

5(450)

 

Applied Arts Design Apprenticeship

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

            ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

2111201

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

3(3-0-6)

2121101

วาดเส้นพื้นฐาน

3(1-4-4)

2121201

ภาพพิมพ์พื้นฐาน

3(2-2-5)

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

รวม

20 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

2111202

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

3(3-0-6)

2111401

หลักการออกแบบ

3(2-2-5)

2121102

จิตรกรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

2500106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4) 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

รวม

20 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

2122102

วาดเส้นสร้างสรรค์

3(1-4-4)

2122301

ประติมากรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

2132602

คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ

3(1-4-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

รวม

21 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2112703

พฤติกรรมผู้บริโภคทางธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3(3-0-6)

2112601

การนำเสนอผลงานการออกแบบ

3(2-2-5)

2112702

การจัดการธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

2132501

การออกแบบลวดลาย

3(1-4-4)

2142102

การพิมพ์สกรีนบนวัสดุ 3 มิติ

3(1-4-4)

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

รวม

21 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2001115

ภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพการออกแบบขั้นต้น

3(3-0-6)

2113503

จิตวิทยาการออกแบบ

3(3-0-6)

2113703

การออกแบบนิทรรศการ

3(1-4-4)

2113801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์

2(90)

2123701

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 2 มิติ

3(1-4-4)

2143102

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน

3(1-4-4)

2143103

ออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์

3(1-4-4)

รวม

20 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2123702

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 3 มิติ

3(1-4-4)

2133401

การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบกราฟฟิก

3(1-4-4)

2133601

การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

2143201

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

3(1-4-4)

 

วิชาเลือกเสรี

3

รวม

15 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 3

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2114802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการออกแบบ

5(450)

รวม

5 หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2114901

โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

4(2-4-6)

วิชาเลือกเสรี

3

รวม

7 หน่วยกิต

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 36 หน่วยกิต

รายวิชา 2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3 (3-0-6)

 

English for Learning

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 2313703

ภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Fine and Applied Arts

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 2121123

จิตรกรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Painting

 

        ศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติการทัศนศิลป์ 2 มิติ การใช้วัสดุและสีต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบที่เกี่ยวข้องได้

รายวิชา 2111201

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย

3(3-0-6)

 

History of Thai Art

 

        ศึกษาเรียนรู้ศิลปะไทย โดยสังเขปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างศิลปะกับชีวิตทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาในสมัยต่างๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นต้น โดยเน้นคติความเชื่อและศิลปะการช่างที่สำคัญ
ของไทยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบที่เกี่ยวข้องได้

รายวิชา 2111202

ประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก

3(3-0-6)

 

History of Western Art

 

        ศึกษา เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงานศิลปกรรมตะวันตก เน้นความสัมพันธ์ของสภาพสังคม ศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ รูปแบบของงานศิลปกรรมในแง่ของสุนทรียศาสตร์ และอิทธิพลต่องานออกแบบตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบที่เกี่ยวข้องได้

รายวิชา 2111401

หลักการออกแบบ

3(2-2-5)

 

Principles of Design

 

        ศึกษา เรียนรู้ทฤษฏีองค์ประกอบศิลปะและทฤษฏีสี เพื่อให้เป็นแนวทางการสร้างสรรค์งานออกแบบและฝึกปฏิบัติการออกแบบทั้งประเภท 2 มิติ และ 3 มิติ

รายวิชา 2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Aesthetic Appreciation

 

        ศึกษาและจำแนกข้อแตกต่างในศาสตร์ทางความงาม ความหมายของสุนทรียศาสตร์เชิงการคิดกับสุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมโดยสังเขป ความสำคัญของการรับรู้กับความเป็นมาของฐานศาสตร์ทางการเห็น (The Art of Imagery) ศาสตร์ทางการได้ยิน
(The Art of Sound) และศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว (The Art of Movement) สู่ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ศิลปะดนตรี (Musical Arts) และศิลปะการแสดง (Performing Arts) ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่า จาก (1) ระดับการรำลึก (Recognitive Stage) (2)
ผ่านขั้นตอนความคุ้นเคย (Acquantive Stage) และ (3) นำเข้าสู่ความซาบซึ้ง (Appreciative Stage)เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ของความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ(Aesthetic Appreciation)

รายวิชา 2121101

วาดเส้นพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Drawing

 

        ศึกษา เรียนรู้ปฏิบัติการวาดเส้น ถ่ายทอดรูปแบบจากธรรมชาติแวดล้อมออกมาในระยะ 2 มิติและ 3 มิติ ที่เน้นด้านลากเส้นชนิดต่างๆ รวมไปถึงรูปทรง แสง เงา พื้นผิว ระยะ ใกล้ ไกล ตลอดจนการแก้ปัญหาทางด้านเทคนิค อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับเรื่องราว
และสภาพแวดล้อม

รายวิชา 2121201

ภาพพิมพ์พื้นฐาน

3(2-2-5)

 

Introduction to Printing

 

        ศึกษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาพพิมพ์ ประเภท รูปแบบ กรรมวิธีคุณสมบัติของการทำงาน การเก็บรักษา เพื่อเป็นพื้นฐานของการพิมพ์โดยสังเขป และปฏิบัติการพิมพ์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบที่เกี่ยวข้องได้

รายวิชา 2122301

ประติมากรรมพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Sculpture

 

        ศึกษากรรมวิธีของงานประติมากรรม โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ เทคนิควิธีการในการปฏิบัติงาน เน้นความรู้เกี่ยวกับประติมากรรมเบื้องต้น ลักษณะและคุณค่าของวัสดุแต่ละชนิดที่นำมาสร้างงานประติมากรรม ตลอดจนการเตรียมการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับประเภทของงานประติมากรรม การออกแบบทางประติมากรรมการปั้น การทำแม่พิมพ์ การปั้นนูนสูง นูนต่ำและลอยตัว

รายวิชา 2132602

คอมพิวเตอร์กับการออกแบบ

3(1-4-4)

 

Computer Graphic Design

 

        ศึกษาหลักการและปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อใช้ในการออกแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การตกแต่งภาพ เรียนรู้การออกแบบตัวอักษร เครื่องหมายและสัญลักษณ์

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 37 หน่วยกิต

รายวิชา 2112601

การนำเสนอผลงานการออกแบบ

3(2-2-5)

 

Design Presentation

 

        ศึกษาการทำแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) รูปแบบต่างๆ ผลงานจริง หุ่นจำลอง ภาพถ่ายสไลด์ สื่อมัลติมีเดีย เพื่อการนำเสนอผลงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูล รวมทั้งรูปแบบการสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจ

รายวิชา 2112702

การจัดการธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

Art Business Management

 

        ศึกษาลักษณะประเภทและการดำเนินการธุรกิจทางศิลปะ ตลอดจนพระราชบัญญัติและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจ้างแรงงาน การจ้างทำของ การขออนุญาตติดตั้ง และการรื้อถอนสั่งโฆษณา โดยศึกษารูปแบบรายการและการทำสัญญา ตลอดจนระเบียบ
การเงินและภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางศิลปะ

รายวิชา 2113703

การออกแบบนิทรรศการ

3(1-4-4)

 

Exhibition and Event Design

 

        ศึกษาทฤษฎีและหลักการออกแบบการจัดนิทรรศการประเภทต่างๆ และในโอกาสต่างๆ โดยเน้นการกำหนดรูปแบบแผนผังบริเวณ ตำแหน่ง ทิศทาง ฯลฯและปฏิบัติการออกแบบ การจัดและตกแต่งนิทรรศการตามความมุ่งหมายต่างๆ

รายวิชา 2113801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์

2(90)

 

Preparation for Prospective Profession in Applied Arts Design

 

        ศึกษา เรียนรู้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในด้านการรับรู้ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพออกแบบ
ประยุกต์ศิลป์ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานในวิชาชีพนั้นๆ

รายวิชา 2114802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพออกแบบประยุกต์ศิลป์

5(450)

 

Applied Arts Design Apprenticeship

 

        การฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับศิลปประยุกต์ภายนอกและภายในสถานศึกษา เช่น ปฏิบัติงานในโรงงานเอกชน และหน่วยงานราชการหรือจัดฝึกเอง โดยได้รับความยินยอมจากภาควิชา

รายวิชา 2114901

โครงการพิเศษออกแบบประยุกต์ศิลป์

4(2-4-6)

 

Special Project in Applied Arts

 

        ศึกษา เลือกหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิบัติงานศิลปะการออกแบบประยุกต์ศิลป์ที่สมบูรณ์ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจและตัดสินโครงการพิเศษ ส่วนการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขั้นตอนที่คณะกรรมการกำหนดให้จนกว่าจะแล้วเสร็จ และต้องผ่านการตรวจของคณะกรรมการและต้องจัดนิทรรศการผลงานผู้สนใจได้ชม

รายวิชา 2122102

วาดเส้นสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Drawing

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเขียนภาพด้วยเทคนิคและกรรมวิธีต่างๆ ตามความมุ่งหมายและเนื้อหา โดยความเห็นชอบจากอาจารย์ประจำวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ในสาขาวิชา

รายวิชา 2123701

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 2 มิติ

3(1-4-4)

 

Thai Art applied for 2-Dimensional Design

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของจิตรกรรมในสมัยต่างๆ แนวความคิดในการสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทย ทั้งรูปแบบ เนื้อหาและการฝึกปฏิบัติงานจิตรกรรมไทยพื้นฐาน เช่น กนก นารี กระบี่ คชะ

รายวิชา 2123702

จิตรกรรมไทยประยุกต์เพื่องาน 3 มิติ

3(1-4-4)

 

Thai Art applied for 3-Dimensional Design

 

        ศึกษารวบรวมพื้นฐานทางด้านการถ่ายทอดรูปแบบต่าง ๆ จากวิชาพื้นฐานมาสร้างสรรค์รูปแบบของศิลปกรรม เพื่อให้ได้รูปแบบที่แปลกใหม่สำหรับงานออกแบบ 3 มิติ ที่มีความงามและความอิสระในการสร้างสรรค์

รายวิชา 2132501

การออกแบบลวดลาย

3(1-4-4)

 

Motif and Ornament Design

 

        ศึกษาที่มาและแนวคิดในการออกแบบลวดลายประเภทต่างๆ ตลอดจนการผูกลาย เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบ และฝึกปฏิบัติการออกแบบลวดลายประเภทต่างๆ

รายวิชา 2142102

การพิมพ์สกรีนบนวัสดุ 3 มิติ

3(1-4-4)

 

Dimensional Screen Printing

 

        ศึกษากระบวนการพิมพ์ผ่านตะแกรงบนวัสดุ 3 มิติ รวมทั้งการออกแบบลวดลาย ทำแม่พิมพ์เพื่อนำไปฝึกปฏิบัติการพิมพ์บนวัสดุ 3 มิติ

รายวิชา 2143102

การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน

3(1-4-4)

 

Folk Craft Product Design

 

        ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น โดยเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน ปฏิบัติงานทั้งด้านเขียนแบบและการสร้างผลงานจริง ศึกษาในเรื่องรูปแบบ รูปทรง และสีให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ และรูปแบบของการนำไปใช้งาน

รายวิชา 2143103

ออกแบบผลิตภัณฑ์จากวัสดุสังเคราะห์

3(1-4-4)

 

Synthetic Materials for Product Design

 

        ศึกษาเทคนิควิธีการ วัสดุอุปกรณ์ของงานชุบ หล่อ โลหะ พลาสติก และไฟเบอร์กลาส ตลอดจนการปฏิบัติการชุบโลหะเบื้องต้น

รายวิชา 2112703

พฤติกรรมผู้บริโภคทางธุรกิจศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

Customer Behavior in Art Business

 

        ศึกษาความสำคัญของพฤติกรรมผู้บริโภค และบทบาททางธุรกิจทางศิลปะ เพื่อกำหนดกลยุทธ์ของผู้บริโภคทางธุรกิจศิลปะ โดยวางแผน กำหนดวัตถุประสงค์และศึกษาบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบถึงพฤติกรรม

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต

รายวิชา 2101103

ทฤษฏีสี

3(2-2-5)

 

Color Theory

 

        ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นมาของทฤษฏีสีในงานศิลปกรรม และงานช่าง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เปรียบเทียบข้อแตกต่างของทฤษฏีแต่ละวิธีและประโยชน์ในการนำมาใช้ในงานทัศนศิลป์ โดยการปฏิบัติ วิเคราะห์ และทดสอบทางจิตวิทยา

รายวิชา 2103101

ศิลปะไทยประยุกต์

2(1-2-3)

 

Applied Thai Arts

 

        ศึกษาและฝึกปฏิบัติศิลปะการช่างไทย โดยประยุกต์ลายไทยและภาพไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

รายวิชา 2104911

พื้นฐานการวิจัยทางศิลปะและศิลปะประยุกต์

3(3-0-6)

 

Basic Research in Art and Applied Art

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการวิจัย วัตถุประสงค์ คุณค่า แนวทาง และขั้นตอนวิธีวิจัยทางศิลปะและศิลปประยุกต์ ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปและการสร้างสรรค์ การนำเสนองานวิจัยทางศิลปะและศิลปประยุกต์ ทดลองทำวิจัยก่อนการสร้างสรรค์ผลงาน หรือวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานหรือวิจัยประเมินผลงานทางด้านศิลปะและศิลปประยุกต์

รายวิชา 2112203

ประวัติศาสตร์ศิลปะท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

History of Local Arts

 

        ศึกษารูปแบบลักษณะความเป็นมา ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะในท้องถิ่นกับชีวิตสิ่งแวดล้อมในอดีต อิทธิพลที่มีต่อสังคมของศิลปกรรมในท้องถิ่น และแนวทางการอนุรักษ์ศิลปกรรมนั้นๆ

รายวิชา 2113105

ศิลปะสมัยใหม่

3(2-2-5)

 

Modern Art

 

        ศึกษาทฤษฏี หลักการ และปฏิบัติการศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ และศิลปะหลังสมัยใหม่ ศึกษาเทคนิค กรรมวิธี และสร้างสื่อนำเสนอแบบใหม่ๆ

รายวิชา 2121105

วาดเส้นภาพคน

3(1-4-4)

 

Figure Drawing

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเขียนภาพคน โดยเน้นสัดส่วน การเคลื่อนไหว ด้วยความคิดรูปแบบการแสดงออก ที่มีความสัมพันธ์กับวัสดุและวิธีการถ่ายทอด

รายวิชา 2121116

จิตรกรรมสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Painting

 

        ศึกษารวบรวมพื้นฐานทางด้านการถ่ายทอดรูปแบบต่าง ๆ จากวิชาพื้นฐานมาสร้างสรรค์ รูปแบบของศิลปกรรม เพื่อให้ได้รูปแบบของจิตรกรรมที่แปลกใหม่อย่างน่าทึ่ง อย่างมีความงามและเสรีภาพ

รายวิชา 2121204

การพิมพ์สกรีนบนพื้นราบ

3(1-4-4)

 

Screen Printing on Plane Surface

 

        ศึกษาและปฏิบัติงานพิมพ์ผ่านตะแกรงไหม บนวัสดุพื้นราบชนิดต่างๆ เช่นกระดาษ กระจก พลาสติก ฯลฯ

รายวิชา 2121212

การพิมพ์แกะไม้

3(1-4-4)

 

Woodcut Printing

 

        ศึกษากรรมวิธีการพิมพ์แม่พิมพ์แกะไม้ ในเทคนิคขั้นพื้นฐานทั้งสีเดียวและหลายสีพร้อมทั้งการออกแบบและคิดค้นวิธีการต่างๆในการปฏิบัติงานพิมพ์

รายวิชา 2121305

การปั้น-การหล่อ

3(1-4-4)

 

Molding and Casting

 

        ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิธีการ การจัดการองค์ประกอบ ความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคการทำงานปั้น การหล่อพิมพ์แบบนูนสูง นูนต่ำ ลอยตัว ทั้งไทยและสากล เพื่อใช้ในงานประดับตกแต่งหรือเป็นผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของท้องถิ่น

รายวิชา 2122107

การระบายสีน้ำ

2(1-2-3)

 

Water Color Painting

 

        ศึกษาวัสดุ เครื่องมือและการเตรียมอุปกรณ์สำหรับเขียนสีน้ำตลอดจนศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคการเขียนสีน้ำ โดยผ่านสื่อถ่ายทอดที่เป็นสิ่งของ คน สัตว์และธรรมชาติแวดล้อม

รายวิชา 2122213

การสร้างสื่อประสมทางการพิมพ์

3(1-4-4)

 

Multimedia Printing

 

        ศึกษาและปฏิบัติเทคนิคการพิมพ์ต่าง ๆ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ความซับซ้อนของเทคนิคเพื่อแสดงเรื่องราวและรูปทรงที่มีคุณค่าของศิลปกรรม

รายวิชา 2122305

ประติมากรรมสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Sculpture

 

        ศึกษาการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ประติมากรรมทั้งแบบที่เน้นโครงสร้างจากวัสดุ ลวด เหล็กเส้น ไม้ เหล็กแผ่น สังกะสี อะลูมิเนียม และแบบที่เน้นรูปทรงจากวัสดุปูนพลาสเตอร์ ปูนซีเมนต์ ดิน ขี้เลื่อย ผ้า กระดาษ ฯลฯ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์และพัฒนางานประติมากรรมพื้นฐาน

รายวิชา 2123315

ประติมากรรมประยุกต์เพื่องานออกแบบกราฟิก

3(1-4-4)

 

Applied Sculpture for Graphic Design

 

        ศึกษา เรียนรู้วัสดุอุปกรณ์ เทคนิควิธีการทางประติมากรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับงานออกแบบกราฟิกและฝึกปฏิบัติการออกแบบ

รายวิชา 2123901

โครงการทัศนศิลป์

3(1-4-4)

 

Visual Arts Project

 

        ศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติงานสร้างสรรค์งานศิลปะในลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ ตามโครงการที่นักศึกษากำหนดขึ้นโดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาแนะนำร่วมแก้ปัญหาและควบคุมในเรื่องของหัวข้อ (Subject) และ รูปแบบ (Form) ตลอดจนเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

รายวิชา 2124306

ประติมากรรมตกแต่ง

3(1-4-4)

 

Decorative Sculpture

 

        ศึกษาปฏิบัติงานเกี่ยวกับองค์ประกอบของศิลปะระหว่างรูปทรงและเรื่องราวที่อำนวยประโยชน์ ต่อการพัฒนาตัวเอง สังคม ทั้งศิลปะไทยและศิลปะสากล โดยศึกษาความเป็นมาของประติมากรรม และสื่อผสมสำหรับตกแต่ง บทบาทและอิทธิพลในแต่ละยุคสมัย ศึกษาคุณลักษณะของวัสดุและการเลือกใช้ การตกแต่งภายในและภายนอก และการตกแต่งบริเวณ

รายวิชา 2131118

เขียนแบบพื้นฐาน

3(1-4-4)

 

Introduction to Drafting

 

        ศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติการเขียนแบบ โดยเน้นให้รู้จักวิธีการใช้เครื่องมือเพื่อเขียนแบบรูปพื้นฐานต่างๆ ตลอดจนฝึกการเขียนแบบ

รายวิชา 2131409

องค์ประกอบศิลป์

3(1-4-4)

 

Composition in Arts

 

        ฝึกปฏิบัติงานองค์ประกอบศิลป์ ตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนด เน้นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ เนื้อหากับวัสดุ สามารถสื่อแนวความคิด ความงามรสนิยม เอกลักษณ์เฉพาะตน

รายวิชา 2132401

การออกแบบเขียนแบบโครงสร้าง

3(1-4-4)

 

Structural Design

 

        ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการรูปแบบ รูปทรง สัดส่วนของการใช้โครงสร้างในงานประติมากรรม และสถาปัตยกรรมสมัยต่าง ๆ โดยสังเขป ปฏิบัติงานออกแบบ เขียนแบบโครงสร้าง ต่าง ๆ การทำหุ่นจำลอง โดยการสร้างสรรค์รูปแบบ สัดส่วน กรรมวิธี การใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือให้ได้ทั้งความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย

รายวิชา 2132404

เทคนิคการถ่ายภาพและการตกแต่ง

3(2-2-5)

 

Technical Photography and Retouching

 

        ศึกษาประวัติการถ่ายภาพ ประโยชน์ของการถ่ายภาพ หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพชนิดต่างๆ ส่วนประกอบของกล้อง อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ การเก็บรักษา ชนิดของฟิล์ม เทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพ เครื่องวัดแสง การปฏิบัติงานในห้องมืด กระบวนการล้าง อัด ขยายรูป และฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพและตกแต่งภาพเบื้องต้น

รายวิชา 2132410

เทคนิควิทยาเพื่องานออกแบบ

3(1-4-4)

 

Technological Design

 

        ศึกษา เรียนรู้ระบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อการสัมผัสของมนุษย์ เรื่องแสง เสียง ความร้อน ความเย็น การถ่ายเทอากาศ ความปลอดภัย เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานออกแบบตกแต่งให้สมบูรณ์ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบาย ประโยชน์ใช้สอย และความงาม
เป็นสำคัญ

รายวิชา 2133601

การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

 

Web Page Design

 

        ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ เทคนิค กระบวนการออกแบบและสร้างเว็บเพจ ศึกษาถึงการตกแต่งเว็บเพจด้วยรูปภาพ การออกแบบสื่อโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต (Banner) การเชื่อมโยงเว็บเพจ (Link) การโอนย้ายไฟล์ไปยัง Server (Upload Files) โดย
ใช้โปรแกรมที่สำเร็จรูปอย่างเหมาะสม จนสำเร็จเป็นผลงานที่สมบูรณ์

รายวิชา 2133401

การถ่ายภาพเพื่องานออกแบบกราฟิก

3(1-4-4)

 

Photography for Graphic Design

 

        ศึกษา เรียนรู้ประวัติการถ่ายภาพโดยสังเขปด้วยกล้องถ่ายภาพ หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพชนิด ส่วนประกอบของกล้อง อุปกรณ์ต่าง ๆ หลักการจัดภาพและกรรมวิธีในการถ่ายภาพประเภท ต่าง ๆ ขั้นพื้นฐาน ตลอดจนกรรมวิธีในการสร้าง อัด ขยาย และกระบวนการอื่นที่ต่อเนื่องกับการถ่ายภาพทั้ง 2 มิติและ 3 มิติ การใช้อุปกรณ์ การจัดแสง แว่น กรองแสง แท่นก๊อปปี้ และอุปกรณ์อื่นๆ ในการถ่ายภาพและฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพเพื่องานออกแบบกราฟิกหรือการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอล และจัดภาพด้วยคอมพิวเตอร์

รายวิชา 2133211

การถ่ายภาพสร้างสรรค์

3(1-4-4)

 

Creative Photography

 

        ศึกษาหลักการถ่ายภาพ 2 มิติ การถ่ายภาพแบบ 3 มิติ โดยใช้กล้องถ่ายและอุปกรณ์ประกอบ การจัดแสง การวัดแสง การใช้แว่นกรองแสง แท่นก๊อปปี้และอุปกรณ์อื่น ๆ ในการถ่ายภาพและฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพชั้นสูง และวิธีการของคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนร่วม
ในการดำเนินการโดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้กับการออกแบบในแขนงที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 2133414

คอมพิวเตอร์กราฟิกงานผสมหลายสื่อ

3(1-4-4)

 

Multimedia in Computer Graphic

 

        ศึกษา เรียนรู้หลักการและวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการทำงานผสมหลายสื่อ ฝึกปฏิบัติออกแบบและผลิตงานผสมหลายสื่อประเภทต่าง ๆ

รายวิชา 2133417

การออกแบบการนำเสนอ

3(1-4-4)

 

Design presentation Process

 

        ศึกษา เรียนรู้รูปแบบของการนำเสนอ ในงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานนำเสนอทางธุรกิจ การทำพอร์ทโฟลิโอโชว์ (Portfolio Show) การทำพรีเซนเตชั่น (Presentation) ในโอกาสพิเศษต่างๆ ฝึกปฏิบัติการออกแบบการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ

รายวิชา 2134414

คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่องานออกแบบประยุกต์ศิลป์

3(1-4-4)

 

Computer Graphic for Applied Arts

 

        ศึกษาและฝึกปฏิบัติโปรแกรมกราฟิกในการสร้างงาน 2 มิติ และ 3 มิติ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับงานออกแบบประยุกต์ศิลป์ประเภทต่างๆ

รายวิชา 2141104

การออกแบบสร้างสรรค์เศษวัสดุ

3(1-4-4)

 

Found objects in Design

 

        ศึกษากรรมวิธีและเทคนิคการออกแบบประดิษฐ์เศษวัสดุเพื่อเป็น ของใช้ของประดับและฝึกปฏิบัติการออกแบบ โดยเน้นคุณค่าในด้านความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในด้านรูปแบบและวิธีการ

รายวิชา 2141106

การออกแบบเครื่องเรือน

3(1-4-4)

 

Furniture Design

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมารูปแบบคุณลักษณะของวัสดุและการใช้เครื่องมือ การออกแบบ เครื่องเรือน เพื่อมุ่งประโยชน์การประยุกต์ให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยเน้นความงามและความเหมาะสมกับการใช้งาน

รายวิชา 2141107

การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้

3(1-4-4)

 

Wood Product Design

 

        ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม้ โดยเน้นที่ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน ปฏิบัติงานทั้งด้านเขียนแบบและการสร้างผลงานจริง ศึกษาในเรื่องรูปแบบ รูปทรง สี ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของเนื้อไม้ที่ใช้และรูปแบบของการนำไปใช้งาน

รายวิชา 2141108

ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน

3(1-4-4)

 

Weaving Product

 

        ศึกษารูปแบบและลักษณะงานจักสานที่ใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบลาน ใบตาล เป็นต้น และฝึกปฏิบัติการออกแบบโดยมุ่งทั้งด้านประโยชน์ใช้สอย และการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ ๆ

รายวิชา 2141402

การออกแบบตกแต่งสถานที่

3(1-4-4)

 

Landscape Design

 

        ศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติการตกแต่งภายนอกสถานที่ ตลอดทั้งการออกแบบตกแต่งบริเวณให้เหมาะสมกับความจำเป็นของการใช้งานต่าง ๆ

รายวิชา 2142101

ปูนปั้น

3(1-4-4)

 

Stucco Molding

 

        ศึกษากรรมวิธีและเทคนิคของงานปูนประเภทต่างๆ เช่นการหล่อปูนพลาสเตอร์ การหล่อปูนซีเมนต์ การผสมปูน โขลกเพื่อใช้ในงานปั้น โดยเน้นส่วนผสมขั้นตอนการผสม การขึ้นรูป ตลอดจนการปั้นลวดลายต่างๆ และฝึกปฏิบัติการออกแบบงานปูนปั้น

รายวิชา 2142104

การออกแบบของที่ระลึก

3(1-4-4)

 

Souvenir Design

 

        ศึกษาการผลิตของชำร่วย ศึกษาและปฏิบัติ วัสดุ และอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำมาประกอบกันเข้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยรูปแบบ และวิธีการที่แตกต่างกัน เน้นในด้านการใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้จากผ้า ตุ๊กตาพวงกุญแจ ฯลฯ

รายวิชา 2142201

การออกแบบบรรจุภัณฑ์

3(1-4-4)

 

Package Design

 

        ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการในการออกแบบสิ่งพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อผลทางด้านประสิทธิภาพความปลอดภัย และความประหยัดในการผลิต การบรรจุ การขนส่ง และการบริโภค โดยเน้นการฝึกหัดการออกแบบทั้ง 2 และ 3 มิติ

รายวิชา 2143107

การออกแบบสร้างสรรค์งานกระดาษ

3(1-4-4)

 

Creative Paper Design

 

        ศึกษา เรียนรู้รูปแบบและกระบวนการต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์งานกระดาษ ด้วยรูปแบบและวิธีการแตกต่างกัน เน้นในแง่ของความคิดสร้างสรรค์และความงาม ลักษณะของวัสดุและประโยชน์ใช้สอย ปฏิบัติงานออกแบบสร้างสรรค์กระดาษ

รายวิชา 2143301

งานออกแบบกราฟิกสำหรับสภาพแวดล้อม

3(1-4-4)

 

Environmental Graphic Design

 

        ศึกษา เรียนรู้ถึงความหมาย ของเขตและความสำคัญของงานกราฟิกกับสภาพแวดล้อมประเภทต่าง ๆ ที่มีผลต่อการรับรู้ และการออกแบบ การวางแผนออกแบบ การวางผัง การแบ่งพื้นที่ และระบบเครื่องหมายสัญลักษณ์สาธารณะปฏิบัติการออกแบบงานกราฟิกสภาพแวดล้อมประเภทต่าง ๆ

รายวิชา 2143302

คอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติ

3(1-4-4)

 

Computer Graphic for 3 Dimension Design

 

        ศึกษา เรียนรู้แนวความคิดพื้นฐาน ของการสร้างหุ่นจำลอง 3 มิติ ด้วยคอมพิวเตอร์เรียนรู้หลักการและวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการทำงาน 3 มิติ ต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติการออกแบบและผลิตงาน 3 มิติ ประเภทต่าง ๆ

รายวิชา 2143604

การพิมพ์ซิลค์สกรีนบนผ้า

3(1-4-4)

 

Silkscreen on Fabric

 

        ศึกษา เรียนรู้กระบวนการการพิมพ์ผ้าชนิดต่างๆ ออกแบบลวดลายเพื่อนำไปฝึกปฏิบัติ การพิมพ์ตะแกรง โดยเน้นทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบผลงานการพิมพ์

รายวิชา 2144601

วัสดุและกรรมวิธี

3(1-4-4)

 

Materials and Process

 

        ศึกษา เรียนรู้หลักการและการหาประสบการณ์จากการปฏิบัติการ โดยวิธีวิเคราะห์จากการทดลองวัสดุที่ใช้ในการสร้างงานออกแบบเครื่องแต่งกาย

รายวิชา 2113503

จิตวิทยาการออกแบบ

3(3-0-6)

 

Psychological Design

 

        ศึกษาลักษณะความรู้ของการออกแบบในเชิงจิตวิทยาเกี่ยวกับการมองเห็นและการรับรู้ โดยมุ่งเน้นเนื้อหาและรูปแบบเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดค่าเชิงพฤติกรรมให้ปรากฏต่อสังคม

18. การประกันคุณภาพหลักสูตร

        หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพหลักสูตรในประเด็นดังนี้

        18.1 ประเด็นการบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ประเด็นทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

        18.3 ประเด็นการสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ประเด็นความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        ดัชนีบ่งชี้มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา สำหรับหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์คือ

        1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
        2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
       
3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
        4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
        5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี

ภาคผนวก ก

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์

        หลักการและเหตุผล

        การพัฒนาหลักสูตรและการสร้างหลักสูตรปรับปรุง เป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถสอดคล้องกับนโยบายรัฐ ที่จะส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการออกแบบแฟชั่นของภูมิภาคเอเชียและของโลก และส่งเสริมผลงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงดูดให้ชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่ออกแบบโดยคนไทย และผลิตขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งมีสินค้าแบรนด์เนม (Brand Name) ของไทยเองไปจำหน่ายให้ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น

        ปัจจุบันมีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยเพียงไม่กี่แห่ง ที่จัดการเรียนการสอนในสายการออกแบบโดยตรง จึงอาจจะไม่สามารถสนองนโยบายของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่บริการด้านวิชาการ เพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชนแล้ว ยังมีหน้าที่ในฐานะหน่วยงานของรัฐ ที่จะต้องดำเนินงานให้สนองตอบต่อนโยบายของรัฐ จึงได้กำหนดที่จะบรรจุการเรียนการสอนสายการออกแบบสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ไว้ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งนี้ในการสร้างหลักสูตรคณะได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการบัณฑิตสายการออกแบบ พบว่า ร้อยละร้อยเปอร์เซ็นต์มีความต้องการในระดับมากที่สุดถึงมาก และจัดทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการเรียน สายการออกแบบของผู้เรียนพบว่ามีความต้องการในระดับมากที่สุดถึงมากร้อยละร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน

        การสำรวจดังกล่าวคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงสร้างหลักสูตรปรับปรุงสายการออกแบบให้เป็นมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนกระบวนการภายใต้การกำกับดูแลจากผู้ทรงคุณวุฒิในการดำเนินการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบันและของประเทศ

        วัตถุประสงค์

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถสาขาออกแบบ ทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ สถานประกอบการ หน่วยงานเอกชนในระดับท้องถิ่นและการประกอบอาชีพส่วนตัว
                2. เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้า ทดลองและวิจัยงานด้านศิลปะ ด้านวิชาการออกแบบให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง และมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                3. เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้เชิงประกอบการธุรกิจขนาดย่อมทางศิลปะการออกแบบ
                4. เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาศิลปะสายการออกแบบไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นให้กว้างขวาง

        เป้าหมาย

                สร้างหลักสูตรปรับปรุง สาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ซึ่งเป็นหลักสูตรศิลปบัณฑิต

        คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์

                บัณฑิตสายการออกแบบของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ สามารถนำความรู้ไปช่วยในการพัฒนางานฝีมือด้านการออกแบบในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตามนโยบายรัฐบาลได้

        ผู้ดำเนินโครงการ

                ภาควิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

        ระยะเวลาดำเนินการ

                เดือนกรกฎาคม 2548 – ตุลาคม 2548

        งบประมาณ

                เงินงบประมาณจัดทำหลักสูตรปี 2548 เป็นเงิน 54,666 บาท

ภาคผนวก ข

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิและประวัติผู้ทรงคุณวุฒิ

        คำวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ

                ได้วิพากษ์หลักสูตรในวันที่ 16 เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ในระดับปริญญาตรีศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงขอรับรองว่าหลักสูตรที่จัดทำขึ้นนี้มีมาตรฐานตามระบบวิชาการของระดับอุดมศึกษาอย่างสมบูรณ์ มีคุณภาพเหมาะสมกับสถานการณ์สังคมในปัจจุบันและสำหรับในอนาคต (จากนี้ไปประมาณ 5 ปีควรจะต้องได้รับการพิจารณาปรับปรุงอีกครั้ง)

        รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมวิพากษ์

1.

รศ.ผดุง ศิริรัตน์

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

2.

อาจารย์เมธี บุรีภักดี

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

3.

ผศ.ประชิด ทินบุตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

4.

ผศ.พีระพงษ์ กุลพิศาล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ

5.

อาจารย์ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

6.

ผศ.เทพศักดิ์ ทองนพคุณ

คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา

7.

รศ.บุศราคำ เริงโกสุม

สาขาวิชาศิลปะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์

8.

ผศ.วิทยา เริงโกสุม

สาขาวิชาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์

 

คำสั่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ 091 / 2548
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการร่างหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์
สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ และสาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย

------------------------------------

เพื่อให้การร่างหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ออกแบบนิเทศศิลป์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ดำเนินได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิผล จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการร่างหลักสูตรดังกล่าว

        1. รองศาสตราจารย์บุศราคำ เริงโกสุม ประธานกรรมการ

        2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา เริงโกสุม กรรมการ

        3. นายวัชรา เฉลยทรัพย์ กรรมการ

        4. นายอารยะ มนูญศักดิ์ กรรมการ

        5. นายณัฐ ล้ำเลิศ กรรมการและเลขานุการ

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2548 สั่ง ณ วันที่ 13 กันยายน 2548

ลงชื่อ เสาวดี ธนวิภาคะนนท์         

   (ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวดี ธนวิภาคะนนท์)
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

คำสั่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ 092 / 2548
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์
สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ และสาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย

---------------------------------

    เพื่อให้การวิพากษ์หลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย ดำเนินได้ด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิผล จึงแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรดังกล่าว

        1. รองศาสตราจารย์บุศราคำ เริงโกสุม ประธานกรรมการ

        2. รองศาสตราจารย์ผดุง ศิริรัตน์ กรรมการ

        3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย เกียรตินาคิน กรรมการ

        4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร กรรมการ

        5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระพงษ์ กุลพิศาล กรรมการ

        6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ กรรมการ

        7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา เริงโกสุม กรรมการ

        8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวิ โอภิธากร กรรมการ

        9. อาจารย์ศุภฤกษ์ ทองประยูร กรรมการ

        10. อาจารย์เมธี บุรีภักดี กรรมการ

        11. อาจารย์ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ กรรมการ

        12. อาจารย์ฉลาด บุญจำปา กรรมการ

        13. อาจารย์สนอง รักศรี กรรมการ

        14. อาจารย์อรษา นิยมศรี กรรมการ

        15. อาจารย์วัชรา เฉลยทรัพย์ กรรมการ

        16. อาจารย์ณัฐ ล้ำเลิศ กรรมการและเลขานุการ

        17. อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

                ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2548  สั่ง ณ วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548

ลงชื่อ เสาวดี ธนวิภาคะนนท์        

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสาวดี ธนวิภาคะนนท์)
คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย มีกระบวนการร่างหลักสูตรดังนี้

        1. มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ศาตราจารย์ ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวะพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        2. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2545

        3. สำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตและประชาชนโดยทั่วไป อีกทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือนธันวาคม 2546

        4. ดำเนินการประชุมเพื่อร่างหลักสูตร เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547 โดยมีคณะกรรมการร่างหลักสูตรตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังนี้

                4.1 รองศาสตราจารย์บุศราคำ เริงโกสุม ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่)
                4.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา เริงโกสุม ค.ม. (ศิลปศึกษา)
                4.3 อาจารย์วัชรา เฉลยทรัพย์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
                4.4 อาจารย์ณัฐ ล้ำเลิศ ศ.บ. (จิตรกรรม)
                4.5 อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์ ศ.บ. (จิตรกรรม)

        5. ศึกษาหลักสูตรสาขาออกแบบประยุกต์ศิลป์ จากหลักสูตรกลางที่ทุกสถาบันราชภัฏร่วมกันสร้าง

        6. ประชุมเชิงปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร ณ ห้องประชุม อาคารศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2548 โดยมีคณะกรรมการร่างหลักสูตร ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังนี้

                6.1 รองศาสตราจารย์บุศราคำ เริงโกสุม ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่)
                6.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา เริงโกสุม ค.ม. (ศิลปศึกษา)
                6.3 อาจารย์วัชรา เฉลยทรัพย์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
                6.4 อาจารย์ณัฐ ล้ำเลิศ ศ.บ. (จิตรกรรม)
                6.5 อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์ ศ.บ. (จิตรกรรม)

        7. ประชุมปรับปรุง เพื่อแก้ไขหลักสูตร เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548

        8. นำเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรและได้รับการอนุมัติ

 

 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในและภายนอกวิพากษ์หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ ดังรายนามต่อไปนี้

ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ วุฒิการศึกษา สถานที่ทำงาน
1. รองศาสตราจารย์ผดุง ศิริรัตน์ รองศาสตราจารย์ ระดับ 9   -  ป.ชั้นสูงวิชาเฉพาะ (สถาปัตยกรรมไทย )
     มหาวิทยาลัยศิลปากร
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
  -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง
  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
2. รองศาสตราจารย์บุศราคำ เริงโกสุม รองศาสตราจารย์ ระดับ 9   -  ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
  -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง
  -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     นครสวรรค์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิด ทิณบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8   -  ค.ม. (ศิลปศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  ค.บ. (ศิลปศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     จันทรเกษม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8

  -  ค.ด. (พัฒนศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  ค.ม. (ศิลปศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  ศศ.บ. (ศิลปะ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  -  นศ.บ. (นิเทศศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ระวิ โอภิธากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8   -  วุฒิการศึกษา ค.ม. (ศิลปศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     (ประสานมิตร)
  -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง
  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระพงษ์ กุลพิศาล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8   -  M.S. (Arted- Elmed)
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
  -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง
  -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เทพศักดิ์ ทองนพคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8   -  ศ.ม. (ภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  -  ศ.บ. (ภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร
  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา เริงโกสุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8

  -  ค.ม. (ศิลปศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
  -  ป.ม.ช. (จิตรกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง

  -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     นครสวรรค์
9. อาจารย์เมธี บุรีภักดี อาจารย์ 2 ระดับ 7

  -  ศป.ม. (ทัศนศิลป์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  -  ค.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยครูบุรีรัมย์
  -  ปวส., ปม. (จิตรกรรม) วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออก
     เฉียง เหนือ

  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
10. อาจารย์ปราโมทย์ แสงพลสิทธิ์ อาจารย์ 2 ระดับ 7   -  M.F.A. (Painting) University of the Philippines
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์
     สุพรรณบุรี
11. อาจารย์ศุภฤกษ์ ทองประยูร อาจารย์ 2 ระดับ 7

  -  กศ.ม. (การอุดมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     (ภาคใต้)
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     (ประสานมิตร)

  -  คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
12. อาจารย์วัชรา เฉลยทรัพย์ อาจารย์ 2 ระดับ 7

  -  ค.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
     (ประสานมิตร)

  -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     นครสวรรค์
13. อาจารย์อารยะ มนูญศักดิ์ อาจารย์   -  ศ.บ. (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร   -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     นครสวรรค์
14. อาจารย์ณัฐ ล้ำเลิศ อาจารย์   -  ศ.บ. (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร   -  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
     นครสวรรค์

    คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่อ่านหลักสูตรสาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาออกแบบเครื่องแต่งกาย ดังต่อไปนี้

ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่งทางวิชาการ วุฒิการศึกษา สถานที่ทำงาน
1. อาจารย์ฉลาด บุญทิพย์จำปา อาจารย์ 3 ระดับ 8   -  ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์) วิทยาลัยครูนครสวรรค์   -  โรงเรียนดอนกระดูกเนื้อ จังหวัดนครสวรรค์
2. อาจารย์สนอง รักศรี อาจารย์ 2 ระดับ 7

  -  วท.บ. (เทคโนโลยีการเกษตร) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์
  -  ปว.ส. (ศิลปหัตกรรม) โรงเรียนเพาะช่าง

  -  โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ จังหวัดนครสวรรค์
3. อาจารย์อรษา นิยมศรี อาจารย์ 2 ระดับ 7   -  ค.บ. (ศิลปศึกษา) วิทยาลัยครูนครสวรรค์   -  โรงเรียนวัดฆะมัง จังหวัดนครสวรรค์

 

สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ พุทธศักราช 2549

        ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรปรับปรุง

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1. ชื่อหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม
(ออกแบบประยุกต์ศิลป์)

ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์

2. ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม
(ออกแบบประยุกต์ศิลป์)

ศิลปบัณฑิต (ออกแบบประยุกต์ศิลป์)

เปลี่ยนชื่อปริญญาใหม่

3. ปรัชญาของหลักสูตร

มี

มี

 

4. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

7 ข้อ

4 ข้อ

 

5. หลักสูตร

     

    5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 136 หน่วยกิต

129 หน่วยกิต

 

    5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

        (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

        (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(77 หน่วยกิต)

(92 หน่วยกิต)

 

            2.1 วิชาแกน

-

36 หน่วยกิต

 

            2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

24 หน่วยกิต

37 หน่วยกิต

 

            2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

47 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

 

            2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

7 หน่วยกิต

 

            2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

15 หน่วยกิต

 

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

        (2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

    5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

    5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี … รายวิชา

ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 10 รายวิชา

ตัดออก 80 รายวิชา เพิ่มใหม่ 21 รายวิชา

6. อาจารย์ประจำหลักสูตร

5 คน

5 คน