หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
สาขาวิชาการบัญชี
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1.

ชื่อหลักสูตร

2.

ชื่อปริญญา

3.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4.

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.

กำหนดการเปิดสอน

6.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7.

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8.

ระบบการศึกษา

9.

ระยะเวลาการศึกษา

10.

การลงทะเบียนเรียน

11.

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12.

อาจารย์ผู้สอน

13.

จำนวนนักศึกษา

14.

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15.

ห้องสมุด

16.

งบประมาณ

17.

หลักสูตร

 

    17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

    17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

    17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

    17.4 แผนการศึกษา

 

    17.5 คำอธิบายรายวิชา

18.

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19.

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก ก ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชา

 

ภาคผนวก ข ข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิและการปรับปรุง

 

ภาคผนวก ค ตารางเปรียบเทียบรายวิชาที่ปรับปรุง

 

ภาคผนวก ง สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตร

 

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พุทธศักราช 2549

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Accountancy Program in Accounting

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม บัญชีบัณฑิต (การบัญชี)
  Bachelor of Accountancy (Accounting)
ชื่อย่อ บช.บ. (การบัญชี)
  B.Acc. (Accounting)

 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรบัญชีบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ วิชาชีพ และเทคโนโลยีทางการบัญชี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตของภาครัฐ เอกชนและท้องถิ่น

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการประกอบวิชาชีพการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามความต้องการของภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น
                2) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3) เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าในเทคโนโลยี และการงานอาชีพ
                4) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพจริยธรรม และปัญญาธรรม
                5) เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทย์-คณิต ศิลป์คำนวณ หรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติ

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        คัดเลือกตามเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ/หรือตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลา จะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางนิตยา ชนินทยุทธวงศ์

    -  บธ.ม. (การบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุม) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -   วท.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  หัวหน้างานวางแผนและงบประมาณ วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี
       ปี พ.ศ.2525-2527
    -  หัวหน้าแผนกพณิชยการ วิทยาลัยเทคนิค อุทัยธานี ปี พ.ศ. 2527-2534
    -  อาจารย์พิเศษโรงเรียน สหนครสวรรค์พณิชยการ และ
       เทคโนโลยีนครสวรรค์ ปี พ.ศ.2525-2527
    -  อาจารย์พิเศษโรงเรียนเทคโนธุรกิจวิริยาลัย ปี พ.ศ. 2537-2538
    -  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปี พ.ศ. 2543-2544
    -  หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ
    -  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ
    -  รองคณบดีฝ่ายวางแผน และพัฒนา

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชี 2
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชี 1

ตำแหน่งหน้าที่

    -  หัวหน้าภาควิชาการเงินและการบัญชี

วิชาที่สอน

    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีชั้นกลาง 1
    -  การบัญชีชั้นกลาง 2
    -  การบัญชีชั้นสูง 1
    -  การบัญชีชั้นสูง 2
    -  การบัญชีต้นทุน 2
    -  การวางระบบบัญชี
    -  ทฤษฎีบัญชี
    -  สัมมนาการบัญชี
    -  การบัญชีเพื่อการจัดการ

2

นายมนตรี ไชยานุกูลกิตติ

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    -  บธ.บ. (ธุรกิจศึกษา) (บัญชี) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต
       จักรพงษ์ภูวนาถ
    -  น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ประสบการณ์การทำงาน

    -  หัวหน้าฝ่ายการเงิน
    -   หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ
    -  รองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการ
    -  รองผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรม
    -  รองคณบดีฝ่ายบริหาร

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชี 2
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาบัญชีต้นทุน

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองคณบดีฝ่ายบริหารและวางแผน

รายวิชาที่สอน

    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  แรงงานสัมพันธ์
    -  การบัญชีต้นทุน
    -  การสอบบัญชี
    -  ภาษีอากรธุรกิจ
    - การบัญชีภาษีอากร
    -  การวางแผนภาษี
    -  การบัญชีบริหาร
    -  สัมมนาการบัญชี

3

นางสาวปราณี ตปนียวรวงศ์

    -  บธ.ม. (การบริหารทั่วไป) มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  บธ.บ. (การเงินและการธนาคาร) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์ทำงาน

    -  นักวิชาการตรวจสอบบัญชีกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์
    -  หัวหน้าฝ่ายพัสดุ
    -  หัวหน้าฝ่ายการเงิน
    -  รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี
    -  ประธานโปรแกรมบริหารธุรกิจ (การบัญชี)

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชี 2 ตำราวิชาหลักการบัญชี

ตำแหน่งหน้าที่

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

รายวิชาที่สอน

    -  การเงินธุรกิจ
    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การภาษีอากรธุรกิจ
    -  จริยธรรมทางธุรกิจ
    -  การบัญชีต้นทุน 1
    -  หลักการบัญชี

4

นางอรกัญญา โฆษิตานนท์

    -  บธ.ม. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
    -  บช.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกริก

ประสบการณ์ทำงาน

    -  ประธานโปรแกรมบริหารธุรกิจ (การบัญชี) ร
    -  องผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาการบัญชีเพื่อการจัดการ
    -  ตำราวิชาการบัญชี 2

ตำแหน่งหน้าที่

    -  อาจารย์ 2 ระดับ 7

รายวิชาที่สอน

    -  การบัญชีชั้นกลาง 1
    -  การบัญชีภาษีอากร
    -  การบัญชีเพื่อการจัดการ
    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีต้นทุน 1
    -  การบัญชีต้นทุน 2
    -  ระบบบัญชี
    -  การบัญชีชั้นสูง 2

5

นางมยุรี บุญโต

    -  ศษ.บ. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  บธ.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    -  บธ.ม. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยภาคกลาง

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์ผู้สอน
    -  เจ้าหน้าที่การเงิน-บัญชี
    -  สศจ.อุทัยธานี ศึกษานิเทศก์ 7 ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุทัยธานี

ผลงานทางวิชาการ

    -  ประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา
       จังหวัดอุทัยธานี
    -  รายงานข้อมูลเงินนอกงบประมาณ

ตำแหน่งหน้าที่

    -  อาจารย์ 2 ระดับ 7

รายวิชาที่สอน

    -  หลักการบัญชี
    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีชั้นกลาง 2
    -  ทฤษฎีบัญชี วิเคราะห์งบการเงิน
    -  จรรยาบรรณวิชาชีพทางการบัญชี
    -  การบัญชีเพื่อการจัดการ
    -  ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

        12.2 อาจารย์อัตราจ้าง

ที่

ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางปราณี เนรมิตร

    -  บธ.ม. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยภาคกลาง
    -  บช.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยภาคกลาง

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์ผู้สอนโรงเรียนพณิชยการนครสวรรค์
    -  อาจารย์ผู้สอนโรงเรียนบริหารธุรกิจนครสวรรค์
    -  ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบริหารธุรกิจนครสวรรค์
    -  หัวหน้าฝ่ายบัญชีโรงเรียนบริหารธุรกิจนครสวรรค์

รายวิชาที่สอน

    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีต้นทุน 1
    -  การบัญชีต้นทุน 2
    -  การบัญชีเพื่อการจัดการ
    -  การวางระบบบัญชี
    -  การวิเคราะห์งบการเงิน
    -  ทฤษฎีบัญชี

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่ ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน
1 นายพงศ์ชัย ฉัตรชัยรัตนเวช

    -  MBA. (ACCOUNTING) มหาวิทยาลัยภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์
    -  วทบ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์สอนวิชาบัญชี โรงเรียนสหนครสวรรค์พณิชยการ
      
และเทคโนโลยีนครสวรรค์ ปี 2524 2530
    -  อาจารย์สอนวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร (อาจารย์1 ระดับ 3) ปี 2526
    -  อาจารย์สอนโรงเรียนชุมแพศึกษา ปี 2530 2532
    -  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ปี 2544 2546
    -  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปี 2540 – ปัจจุบัน

ผลงานวิชาการ

    -  รวบรวมเขียนตำราวิชาบัญชีเพื่อการจัดการ
    -  บัญชีชั้นกลาง 1
    -  บัญชีชั้นสูง 1
    -  บัญชีชั้นสูง 2
    -  วางระบบบัญชี
    -  บัญชีต้นทุน 1
    -  บัญชีต้นทุน 2
    -  ทฤษฎีบัญชี

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  ผู้จัดการศูนย์คลังพัสดุนครสวรรค์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

วิชาที่สอน

    -  บัญชีเพื่อการจัดการ
    -  บัญชีชั้นกลาง 1
    -  บัญชีชั้นสูง 1
    -  บัญชีชั้นสูง 2
    -  วางระบบบัญชี
    -  บัญชีต้นทุน 1
    -  บัญชีต้นทุน 2
    -  ทฤษฎีบัญชี

2

นางพรศรี ศรีบรรเทา

    -  MBA. (ACCOUNTING) มหาวิทยาลัยภาคกลาง จังหวัดนครสวรรค์
    -  ศศ.บ. (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์สอนวิชาบัญชีวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ ปี 2522 – ปัจจุบัน
    -  อาจารย์พิเศษโรงเรียนสหนครสวรรค์พณิชยการ และเทคโนโลยีนครสวรรค์
       ปี 2524 – 2529
    -  อาจารย์พิเศษโรงเรียนพณิชยการวิริยาลัยนครสวรรค์ ปี 2531–2533
    -  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปี 2535 – ปัจจุบัน

ผลงานวิชาการ

    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีชั้นกลาง 1
    -  การบัญชีชั้นกลาง 2
    -  การบัญชีต้นทุน 1
    -  การบัญชีต้นทุน 2
    -  การบัญชีรัฐบาล
    -  การตรวจสอบภายใน
    -  การสอบบัญชี

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  ครู คศ.2 วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์

วิชาที่สอน

    -  การบัญชี 1
    -  การบัญชี 2
    -  การบัญชีชั้นกลาง 1
    -  การบัญชีชั้นกลาง 2
    -  การบัญชีต้นทุน 1
    -  การบัญชีต้นทุน 2
    -  การบัญชีรัฐบาล
    -  การตรวจสอบภายใน
    -  การสอบบัญชี

13. จำนวนนักศึกษา

        แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

40

รวม

40

80

120

160

160

160

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

40

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

ที่

รายการ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการในอนาคต

หมายเหตุ

1

อาคารเรียน

1 หลัง

1 หลัง

 

2

ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์

2 ห้อง

2 ห้อง

 

3

ห้องปฏิบัติการพิมพ์ดีด

2 ห้อง

2 ห้อง

 

4

ห้องค้นคว้าวิจัย

1 ห้อง

1 ห้อง

 

5

ห้องเรียน

8 ห้อง

12 ห้อง

6

ห้องพักอาจารย์

1 ห้อง

2 ห้อง

 

    14.2 อุปกรณ์

ที่

รายการ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการในอนาคต

หมายเหตุ

1

เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

1 เครื่อง

6 เครื่อง

 

2

วิดีโอพร้อมโทรทัศน์สีขนาด 33 นิ้ว

0 เครื่อง

2 เครื่อง

 

3

วิดีโอเทป/CD ประกอบการสอนทางบัญชี

3 เรื่อง

10 เรื่อง

 

4

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

0 เครื่อง

2 เครื่อง

 

5

เครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ (Printer)

0 เครื่อง

2 เครื่อง

6

เครื่องพิมพ์ระบบดิจิตอล

0 เครื่อง

2 เครื่อง

 

7

เครื่องถ่ายเอกสารสี

0 เครื่อง

1 เครื่อง

 

8

คอมพิวเตอร์ Notebook

0 เครื่อง

5 เครื่อง

 

9

กล้องถ่ายรูป

0 ตัว

2 ตัว

 

10

ตำราเรียน/เอกสารเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี

0 ชุด

10 ชุด

 

15. ห้องสมุด

    15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน ได้จัดไว้ในห้องค้นคว้าวิจัยของคณะดังนี้

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

จำนวน (เล่ม)

หมายเหตุ

1

คู่มือบัญชีสำหรับนักบริหาร, JAE K. SHIM และคณะ/อรรถพล ตริตานนท์ : แปล

1

 

2

ทำบัญชีให้เสร็จจนได้งบการเงิน, กฤษณา ศรีสุริยพงศ์

1

 

3

การบัญชีเพื่อการบริหาร (MANAGEMENT ACCOUNTING), จินดา ขันทอง

2

 

4

การออกแบบระบบบัญชีในธุรกิจที่ประมวลผลด้วยมือและคอมพิวเตอร์, วันเพ็ญ กฤตผล

2

 

5

การบัญชีชั้นต้น 1 (INTRODUCTION TO ACCOUNTING I), วันชัย ประเสริฐศรี และคณะ

2

 

6

การบัญชีขั้นกลาง 2, พรศิริ คงแก้ว

2

 

7

การบัญชีชั้นกลาง 2 (INTERMEDIATE ACCOUNTING), นุชจรี พิเชฐกุล

2

 

8

การบัญชีขั้นสูง (ADVANCED ACCOUNTING), ธารินี พงศ์สุพัฒน์

2

 

9

การบัญชีชั้นสูง เล่ม 1 (ADVANCED ACCOUNTING), นิยะดา วิเศษบริสุทธิ์

2

 

10

การบัญชีชั้นสูง เล่ม 2 (ADVANCED ACCOUNTING), นิยะดา วิเศษบริสุทธิ์

2

 

11

การบัญชีบริหาร, เสนาะ ติเยาว์ และคณะ

2

 

12

การบัญชีรัฐบาล, ประพันธ์ ศิริรัตน์ธำรง

2

 

13

การบัญชีต้นทุน 1 : แนวคิดในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์และหลักการบันทึกบัญชี (COST ACCOUNTING 1), สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

2

 

14

ระบบบัญชี, วิไล วีระปรีย และคณะ

3

 

15

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (ACCOUNTING INFORMATION SYSTEMS), วัชนีพร เศรษฐสักโก

1

 

16

การบัญชีเพื่อการจัดการและการบริหารเชิงกลยุทธ์, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

1

 

17

การบัญชีสำหรับธุรกิจนำเข้าและส่งออก (IMPORT & EXPORT ACCOUNTING), สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

1

 

18

การบัญชีต้นทุน 2 : แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงบริหาร (COST ACCOUNTING 2), สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

1

 

19

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา

1

 

20

การบัญชีบริหาร, ฐาปนา ฉิ่นไพศาล และคณะ

2

 

21

เส้นทางใหม่สู่วิชาชีพบัญชีปี 2000 เล่ม 2, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

22

การงบประมาณ, เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

2

 

23

โครงการพัฒนาผู้สอนวิชาชีพบัญชี

1

 

29

การบัญชีธนาคาร, อังคณา นุตยกุล

1

 

30

แบบฝึกปฏิบัติวิชาการสอบบัญชี, สุรีย์ ดารัตน์ทวี

1

 

31

การบัญชีชั้นสูง, พะยอม สิงห์เสน่ห์

2

 

32

กระบวนวิธีปฏิบัติบัญชีต่างประเทศเกี่ยวกับการปริวรรตเงิน, เจริญ เจษฎาวัลย์

1

 

33

ทฤษฎีและตัวอย่างโจทย์การบัญชีบริหาร, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

1

 

34

บัญชีทรัพย์สินหนี้สิน, พะยอม สิงห์เสน่ห์

1

 

35

การบัญชีต้นทุน 1, เอกชัย ชัยประเสริฐสิทธิ

1

 

36

การบริหารสินทรัพย์ธุรกิจ, ชูศรี รุ่งโรจนารักษ์ และทัศนีย์ ตัณฑวุฑโฒ

1

 

37

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 ข้อสมมติขั้นมูลฐานของการบัญชี

1

 

38

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 นโยบายการบัญชี

1

 

39

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 3 รายการพิเศษ

1

 

40

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 4 กำไรต่อหุ้น

1

 

41

มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 2 การขอข้อมูลจากธนาคารเพื่อการสอบบัญชี

1

 

42

มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 3 การขอหนังสือรับรองลูกค้า

1

 

43

มาตรฐานการสอบบัญชี ฉบับที่ 4 กระดาษทำการของผู้สอบบัญชี

1

 

44

ระบบบัญชีเพื่อความเข้าใจ, แพร กีระสุนทรพงษ์ และวชิระ บุญยเนตร

1

 

45

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า, มานะ พิทยาภรณ์

1

 

46

การบัญชีเฉพาะกิจ, อัมพร เที่ยงตระกูล

1

 

47

ต้นทุนบัญชีแนวคิดในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ และหลักการบันทึกบัญชี, สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

1

 

48

การสอบบัญชี, สุรีย์ ดารารัตน์ทวี

1

 

49

การบัญชีเกี่ยวกับภาษี, กวี วงศ์พุฒ

1

 

50

การบัญชีธนาคาร, วารี หะวานนท์

1

 

51

การบัญชีเฉพาะกิจการ (การบัญชีเฉพาะกิจ), วิเชียร พันธุ์ประไพ

1

 

52

กรณีศึกษา : ปัญหาการสอบบัญชี, กวี วงศ์พุฒ

1

 

53

การบัญชีขั้นสูง, รัตนา โชติเลอศักดิ์

1

 

54

การบัญชีชั้นสูง, อัมพร เที่ยงตรง

1

 

55

การบัญชีชั้นกลาง, สวัสดิ์ พุ่มภักดี

1

 

57

การบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด, ธารี หิรัญรัศมี

1

 

58

การบัญชีหนี้สิน, อังคณา นุตยกุล

1

 

59

การบัญชีต้นทุน, ดวงมณี โกมารทัต

1

 

60

การบัญชีทรัพย์สิน, คะนึงนิจ พึ่งแย้ม และคณะ

1

 

61

บัญชีเบื้องต้น, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ

2

 

62

การบัญชีภาษีอากร, TAC ACCOUNTING, สุพาดา สิริกุตตา

1

 

63

การบัญชีเกี่ยวกับภาษี, เพิ่มสุข สรรพสิทธิ์ดำรง

1

 

64

การบัญชีต้นทุน, มนตรี ไชยานุกูลกิตติ

2

 

65

วิชาชีพบัญชีไทย

1

 

66

มาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับรวมเล่ม พ.ศ. 2544 เล่ม 1, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

2

 

67

มาตรฐานการบัญชีของไทย ฉบับรวมเล่ม พ.ศ. 2544 เล่ม 2, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

2

 

68

แนวปฏิบัติสำหรับผู้สอบบัญชีในการติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบกันยายน 2543, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

69

มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับย่อ พฤษภาคม 2544, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

70

มาตรฐานการสอบบัญชี รหัส 120 กุมภาพันธ์ 2544 แม่บทของมาตรฐานการสอบบัญชี, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

71

มาตรฐานการสอบบัญชี พฤศจิกายน 2542 หมวดรหัส 300-399 การวางแผนงานสอบบัญชี, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

72

มาตรฐานการสอบบัญชี เมษายน 2544 หมวดรหัส 400-499 การควบคุมภายใน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

73

มาตรฐานการสอบบัญชี เมษายน 2544 หมวดรหัส 500-599 หลักฐานการสอบบัญชี, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

74

มาตรฐานการสอบบัญชี เมษายน 2544 หมวดรหัส 600-699 การใช้ผลงานของผู้อื่น, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

75

มาตรฐานการสอบบัญชี พฤศจิกายน 2544 หมวดรหัส 700-799 การสรุปผลงานสอบบัญชีและการรายงาน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แห่งประเทศไทย

1

 

76

มาตรฐานการสอบบัญชี พฤษภาคม 2544 หมวดรหัส 800-899 กรณีพิเศษ, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

77

มาตรฐานการสอบบัญชี มกราคม 2543 รหัส 910 การสอบทานงบการเงิน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

78

มาตรฐานการสอบบัญชี พฤษภาคม 2544 รหัส 920 การตรวจสอบข้อมูลทางการเงินตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แห่งประเทศไทย

1

 

79

มาตรฐานการสอบบัญชี พฤษภาคม 2544 รหัส 930 การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

80

แนวปฏิบัติงานสอบบัญชี รหัส 1008 มิถุนายน 2544 การประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีกับการควบคุมภายใน, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

81

การใช้โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปเพื่อจัดทำบัญชี, บริษัท ออโต้ไฟลท์ จำกัด

1

 

82

การบัญชีชั้นสูง 2, สุชาติ เหล่าปรีดา/วิศิษฎ์ วชิรลาภไพฑูรย์

2

 

83

การบัญชีหนี้สินและทุน, จรรยา บุญจนาถบพิธ

2

 

84

การบัญชีภาษีอากร, รัตนา เลิศภิรมย์ลักษณ์

1

 

85

การบัญชีเบื้องต้น, รศ.ธารี หิรัญรัศมี และคณะ

1

 

86

การบัญชี 1, อำนวย ศรีสุโข

1

 

87

มาตรฐานการสอบบัญชี 200 พฤศจิกายน 2542, สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย

1

 

88

หลักการบัญชีขั้นต้น, เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์

2

 

89

หลักการบัญชี 2 (เล่ม 1), ผศ.สุวิมล กิตติสุวรรณ์

1

 

90

หลักการบัญชี 2 (เล่ม 2), ผศ.สุวิมล กิตติสุวรรณ์

1

 

91

การบัญชีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ, ผศ.เดชา อินเด

1

 

92

การบัญชีต้นทุน, ผศ.เดชา อินเด

1

 

93

พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543, สันติ วิริยะรังสฤษฎ์

1

 

94

การบริหารค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอ, สุพัฒน์ อุปนิกขิต/ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม

1

 

95

ทฤษฎีบัญชี, สุธีรา วิเศษกุล

2

 

96

แบบฝึกหัดการบัญชีชั้นกลาง 1, นภาวรรณ ธรมธัช

2

 

97

การบัญชีภาษีอากรของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน, สมเดช โรจน์ศรีเสถียร

1

 

98

หลักการบัญชี, วสันต์ กาญจนมุกดา

1

 

99

การบัญชีการเงิน 2, กชกร เฉลิมกาญจนา และคณะ

2

 

100

การเงินธุรกิจ (ฉบับมาตรฐาน), สุพาดา สิริกุตตา และคณะ

2

 

101

การบัญชีห้างหุ้นส่วน : PARTNERSHIP ACCOUNTING, นุชจรี พิเชฐกุล

2

 

102

ทฤษฎีการบัญชี (ฉบับปรับปรุงใหม่), เมธากุล เกียรติกระจาย และคณะ

2

 

103

การสอบบัญชี เล่ม 1, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และคณะ

2

 

104

การสอบบัญชี เล่ม 2, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และคณะ

2

 

105

การบัญชีกลาง 1 (การบัญชีสินทรัพย์ 05-041-102), นภวรรณ ธรมธัชการบัญชีชั้นกลาง 1 (INTERMEDIATE ACCOUNTION I), นภวรรณ ธรมธัช

1

 

106

การบัญชีชั้นสูง 1, ขวัญสกุล เต็งอำนวย

1

 

107

หลักการบัญชี 2, สุริยุ เมืองขุนรอง

1

 

108

การบัญชีต้นทุน 1, วันชัย ประเสริฐศรี และคณะ

1

 

109

การบัญชีชั้นสูง เล่ม 1, นิยะดา วิเศษบริสุทธิ์

1

 

110

การบัญชีชั้นสูง, ธารินี พงศ์สุพัฒน์

1

 

112

การบัญชีชั้นสูง 1, สุชาติ เหล่าปรีดา และคณะ

1

 

113

การบัญชีชั้นกลาง, นุชจรี พิเชษฐกุล

1

 

114

คู่มือการตรวจสอบ II การใช้ IQC ประเมินการควบคุมภายใน, เจริญ เจษฎาวัลย์

1

 

115

การบัญชีเบื้องต้น, ธารินี หิรัญรัศมี และคณะ

1

 

116

การบัญชีทั่วไป, ธารินี พงศ์สุพัฒน์

2

 

117

การบัญชีต้นทุน 2 : แนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงบริหาร

1

 

118

ระบบควบคุมภายใน : หลักการและวิธีปฏิบัติ

1

 

119

การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน ฉบับนิสิตนักศึกษา, เจริญ เจษฎาวัลย์

1

 

120

การเงินธุรกิจ, โสภณ ทองเพชร : แปล

1

 

121

กรณีศึกษาทฤษฎีการบัญชี, เมธากุล เกียรติกระจาย และคณะ

2

 

122

การสอบบัญชี (AUDITING), สมพงศ์ พรอุปถัมภ์

1

 

123

การบัญชีการเงิน, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และคณะ

1

 

124

เทคนิคการวางระบบบัญชีให้มีประสิทธิภาพ, สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

2

 

125

การบัญชีภาษีอากร, สุเพท พงษ์พิทักษ์

1

 

126

คู่มือการตรวจสอบบัญชี, เจริญ เจษฎาวัลย์

1

 

127

สัมมนาเชิงปฏิบัติการวิชาชีพ (กิจกรรมทางการบัญชีเพื่อการฝึกงาน), สวัสดิ์ พุ่มภักดี

1

 

128

เทคนิคการจัดทำบัญชีสินค้า, สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

1

 

129

การบัญชีต้นทุน, ดวงมณี โกมารทัต

2

 

130

การวิเคราะห์งบการเงิน, จินดา ขันทอง

2

 

131

การบัญชีชั้นสูง เล่ม 2 (ADVANCED ACCOUNTING), นิยะดา วิเศษบริสุทธิ์

2

 

132

การบริหารงานตรวจสอบภายใน, เจริญ เจษฎาวัลย์

1

 

133

คู่มือเตรียมสอบผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR) ชุดวิชาการสอบบัญชี

1

 

134

คู่มือเตรียมสอบผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR) ชุดวิชาการบัญชี

1

 

135

คู่มือเตรียมสอบผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TAX AUDITOR) ชุดวิชาภาษีอากร

1

 

136

ACCOUNTING PRINCIPLES :

1

 

137

INTERMEDIATE ACCOUNTING

1

 

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2549

2550

2551

2552

2553

    -  ค่าตอบแทน

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

    -  ค่าใช้สอย

80,000

100,000

120,000

140,000

160,000

    -  ค่าวัสดุ

200,000

220,000

240,000

260,000

280,000

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ          

รวมงบดำเนินการ

380,000

420,000

460,000

500,000

540,000

    -  งบลงทุน

400,000

400,000

500,000

500,000

600,000

    -  ค่าครุภัณฑ์          
    -  ค่าที่ดิน          

รวมงบลงทุน

400,000

400,000

500,000

500,000

600,000

รวมทั้งหมด

780,000

820,000

960,000

1,000,000

1,140,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

                หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31
    1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 9
    2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 8
    3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6
    4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 101
    1. วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 42
    2. วิชาชีพ (บังคับ) 36
    3. วิชาชีพ (เลือก) 18
    4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ 5
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6

รวมทั้งหมด

138

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2, 3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6, 7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ x 2

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

         ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

         ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 101 หน่วยกิต

            1) วิชาพื้นฐานวิชาชีพ 42 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 1

3 (3-0-6)

 

Business English 1

 

2313706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2

3 (3-0-6)

 

Business English 2

 

3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

3221101

หลักการตลาด

3 (3-0-6)

 

Principles of Marketing

 

3251101

การเงินธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Finance

 

3252106

การภาษีอากรธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Taxation

 

3301101

การบัญชี 1

3 (2-2-5)

 

Accounting 1

 

3301102

การบัญชี 2

3 (2-2-5)

 

Accounting 2

 

3301201

กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

3 (3-0-6)

 

Legal for Aspects to Accounting Profession

 

3302201

หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

3 (2-2-5)

 

Principles of Information System

 

3502101

เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1

3 (3-0-6)

 

Microeconomics 1

 

3502102

เศรษฐศาสตร์มหภาค 1

3 (3-0-6)

 

Macroeconomics 1

 

3563302

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

3 (3-0-6)

 

Quantitative Analysis

 

4303701

สถิติธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Statistics

 

            2) วิชาชีพ (บังคับ) 36 หน่วยกิต

รหัส

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

3302101

การบัญชีชั้นกลาง 1

3 (2-2-5)

 

Intermediate Accounting 1

 

3302102

การบัญชีชั้นกลาง 2

3 (2-2-5)

 

Intermediate Accounting 2

 

3302103

การบัญชีต้นทุน 1

3 (2-2-5)

 

Cost Accounting I

 

3302104

การบัญชีต้นทุน 2

3 (2-2-5)

 

Cost Accounting II

 

3303101

การบัญชีชั้นสูง 1

3 (2-2-5)

 

Advanced Accounting 1

 

3303102

การบัญชีชั้นสูง 2

3 (2-2-5)

 

Advanced Accounting 2

 

3303201

การบัญชีภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Tax Accounting

 

3303205

การสอบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Auditing

 

3302202

การทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Computerized Accounting

 

3303206

การตรวจสอบภายใน

3 (3-0-6)

 

Internal Auditing

 

3303207

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting Information System

 

3303301

การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์

3 (2-2-5)

 

Financial Report And Analysis

 

            3) วิชาชีพ (เลือก) เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้

รหัส

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

3203901

การวิจัยธุรกิจ

3 (2-2-5)

 

Business Research

 

3214648

การจัดการเชิงกลยุทธ์

3 (3-0-6)

 

Strategic Management

 

3303202

การบัญชีส่วนราชการ

3 (2-2-5)

 

Official Accounting

 

3303203

การวางแผนและควบคุมทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting for Planning and Control

 

3303204

การวางระบบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting System Design

 

3303208

การจัดการระบบสินค้าคงคลังโดยโปรแกรมประยุกต์

3 (2-2-5)

 

Inventory Management System for Programming Application

 

3303302

การจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3 (2-2-5)

 

Small and Medium Enterprise Plan

 

3304301

ปัญหาการสอบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Problem in Auditing

 

3304302

หัวข้อพิเศษทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Special Topics in Accounting

 

3312201

การบริหารต้นทุน

3 (2-2-5)

 

Cost Management

 

3314201

การวางแผนและควบคุมกำไร

3 (2-2-5)

 

Profit Planning and Control

 

3314901

สัมมนาการบัญชีต้นทุน

3 (2-2-5)

 

Seminar in Cost Accounting

 

3323201

การบัญชีเฉพาะกิจ

3 (2-2-5)

 

Specialized Accounting

 

3324101

ทฤษฎีบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting Theory

 

3324901

สัมมนาการบัญชีการเงิน

3 (2-2-5)

 

Seminar in Financial Accounting

 

3334101

การวางแผนภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Tax Planning

 

3334201

การตรวจสอบบัญชีโดยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Auditing by Computer

 

3334901

สัมมนาการสอบบัญชีและภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Seminar in Auditing

 

            4) วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

3304801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบัญชี

5 (450)

 

Field Experience in Accounting

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำรวจหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

บังคับ

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

บังคับ

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

บังคับ

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

บังคับ

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

บังคับ

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

บังคับ

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

บังคับ

3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

3301101

การบัญชี 1

3 (2-2-5)

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3 (2-2-5)

บังคับ

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

บังคับ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

บังคับ

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก 1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

บังคับ

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

บังคับ

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2 (1-2-3)

เลือก 1 รายวิชา

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

3301102

การบัญชี 2

3 (2-2-5)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3301201

กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

3 (3-0-6)

 

4303701

สถิติธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

2312706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 1

3 (3-0-6)

 

3221101

หลักการตลาด

3 (3-0-6)

 

3302101

การบัญชีชั้นกลาง 1

3 (2-2-5)

 

3502101

เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1

3 (3-0-6)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี

3 ( )

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3252106

ภาษีอากรธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

3251101

การเงินธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

2313706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2

3 (3-0-6)

 

3502102

เศรษฐศาสตร์มหภาค 1

3 (3-0-6)

 

3302102

การบัญชีชั้นกลาง 2

3 (2-2-5)

 

3302201

หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

3 (2-2-5)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี

3 ( )

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3563302

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

3 (3-0-6)

 

3302103

การบัญชีต้นทุน 1

3 (2-2-5)

 

3303101

การบัญชีชั้นสูง 1

3 (2-2-5)

 

3303203

การวางแผนและควบคุมทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

3303206

การตรวจสอบภายใน

3 (3-0-6)

 

3303207

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

3323201

การบัญชีเฉพาะกิจ

3 (2-2-5)

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3302104

การบัญชีต้นทุน 2

3 (2-2-5)

 

3302202

การทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

3303102

การบัญชีชั้นสูง 2

3 (2-2-5)

 

3303201

การบัญชีภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

3303205

การสอบบัญชี

3 (2-2-5)

 

3303301

การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์

3 (2-2-5)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3304302

หัวข้อพิเศษทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

3324101

ทฤษฎีบัญชี

3 (2-2-5)

 

3324901

สัมมนาการบัญชีการเงิน

3 (2-2-5)

 

3334101

การวางแผนภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

รวม

12

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3304801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบัญชี

5 (450)

 

รวม

5

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ (วิชาพื้นฐานวิชาชีพ)

รายวิชา 2312706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 1

3 (3-0-6)

 

Business English 1

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อธุรกิจประจำวัน การบันทึกข้อความทางโทรศัพท์ การส่งข่าวสารระหว่างสำนักงานและภายในสำนักงาน หนังสือแจ้งราคาและรายการสินค้า การส่งสินค้าและตอบรับ วาระการประชุม บันทึกและรายงานการประชุม และประกาศต่าง ๆ ที่เป็นทางการ และอื่น ๆ

รายวิชา 2313706

ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2

3 (3-0-6)

 

Business English 2

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการโต้ตอบเกี่ยวกับการร้องเรียน หนังสือรับรอง (ยอมรับและปฏิเสธ) หนังสือธุรการธนาคาร หนังสือธุรกิจโรงแรม รายงานบริษัท ภาษาในแผ่นพับเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และอื่น ๆ

รายวิชา 3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างขององค์การธุรกิจทั่วไป หลักเกณฑ์และแนวความคิดในการจัดตั้งองค์การธุรกิจ ลักษณะและประเภทของการประกอบธุรกิจ จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ หลักการบริหารและหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหารทุก ๆ ด้าน ในแง่ของการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การนำการควบคุมปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งไว้ และเทคนิคการจัดการสมัยใหม่

รายวิชา 3221101

หลักการตลาด

3 (3-0-6)

 

Principle of Marketing

 

        ศึกษาความหมายและความสำคัญของแนวคิดทางการตลาด สภาพแวดล้อมทางการตลาด การวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด กำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ ส่วนประสมการตลาด และเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอิทธิพลทางการตลาด

รายวิชา 3251101

การเงินธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Finance

 
  วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301103 หลักการบัญชี  

        ศึกษาบทบาท หน้าที่และวัตถุประสงค์ของการบริหารทางการเงินของธุรกิจ การวางแผนและการควบคุมควบคุมทางการเงิน การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนในระยะต่าง ๆ การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน การวิเคราะห์ทางการเงิน งบลงทุน การจัดโครงสร้างเงินทุน ค่าของทุน และนโยบายเงินปันผล

รายวิชา 3252106

การภาษีอากรธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Taxation

 

        ศึกษาถึงนโยบายภาษีอากร หลักเกณฑ์วิธีการประเมินและการจัดเก็บรายละเอียดในการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ การคำนวณภาษี การยื่นแบบรายการ และการเสียภาษีทางธุรกิจ การอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในเรื่องภาษีอากรแต่ละประเภท ปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องภาษีอากรธุรกิจ

รายวิชา 3301101

การบัญชี 1

3 (2-2-5)

 

Accounting 1

 

        ศึกษาความหมาย วัตถุประสงค์ ความสำคัญของการบัญชี การใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ความสัมพันธ์ของการบัญชีกับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ข้อสมมติฐานทางการบัญชี แม่บทการบัญชี หลักการบัญชีคู่ การวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้น สมุดบัญชีแยกประเภท การจัดทำงบทดลอง การปรับปรุงรายการ การปิดบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการให้บริการ การบัญชีเกี่ยวกับกิจการไม่แสวงหากำไร

รายวิชา 3301102

การบัญชี 2

3 (2-2-5)

 

Accounting 2

 
  วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน: 3301101 การบัญชี 1  

        ศึกษาการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินสำหรับกิจการซื้อมาขายไปการจัดทำบัญชีและงบระกอบสำหรับกิจการอุตสาหกรรม และการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบใบสำคัญ การจัดทำงบการเงินจากระบบการบันทึกบัญชีไม่สมบูรณ์ และระบบบัญชีเดี่ยว

รายวิชา 3301201

กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

3 (3-0-6)

 

Legal for Aspects to Accounting Profession

 

        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2547 ประมวลรัษฎากร การจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว รวมถึงแม่บทการบัญชี

รายวิชา 3302201

หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

3 (2-2-5)

 

Principles of Information System

 

        แนวคิดของระบบสารสนเทศทางการจัดการ โครงสร้าง องค์ประกอบ และระบบสารสนเทศย่อยทางธุรกิจ ได้แก่ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ระบบสารสนเทศทางการตลาด ระบบสารสนเทศทางการเงิน ระบบสารสนเทศทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ระบบสารสนเทศทางการผลิตและการดำเนินงาน การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการตัดสินใจทางการจัดการ หลักการจัดการและหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่าย

รายวิชา 3502101

เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1

3 (3-0-6)

 

Microeconomics 1

 

        การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมผู้ผลิต และเจ้าของปัจจัยการผลิต ทฤษฎีการบริโภค ทฤษฎีการผลิต ทฤษฎีต้นทุนการผลิต ทฤษฎีราคาปัจจัยการผลิต การวิเคราะห์เปรียบเทียบการกำหนดราคาและปริมาณการผลิตสินค้าของผู้ผลิตในตลาดลักษณะต่าง ๆ การวิเคราะห์การกำหนดราคาและปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิตของผู้ผลิตในสถานการณ์ของตลาดสินค้าและตลาดปัจจัยการผลิตที่แตกต่างกัน

รายวิชา 3502102

เศรษฐศาสตร์มหภาค 1

3 (3-0-6)

 

Macroeconomics 1

 

        การวิเคราะห์บัญชีรายได้ประชาชาติ อุปสงค์รวม อุปทานรวม ตลาดแรงงาน ตลาดการเงิน ตลาดทุน การวิเคราะห์ถึงระบบเศรษฐกิจแบบเปิดซึ่งครอบคลุมบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ และตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การคลังและนโยบายการคลัง ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค

รายวิชา 3563302

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

3 (3-0-6)

 

Quantitative Analysis

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4303701 สถิติธุรกิจ

        ศึกษาถึงกระบวนการตัดสินใจ และประโยชน์ของการใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ เชิงปริมาณเพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แก่ ความน่าจะเป็นแผนภูมิเพื่อการตัดสินใจ (Decision Trees) ตัวแบบเชิงสินค้าคงคลัง (Inventory Model) โปรแกรมเชิงเส้นตรง (Linear Programming) เทคนิคการประเมินผล และการตรวจสอบโครงการ (PERT/CPM) ตัวแบบของมาร์กอฟ (Markov Model) ทฤษฎีเกม (Game Theory) แถวรอยคอย (Queueing) และการจำลองเหตุการณ์ (Simulation)

รายวิชา 4303701

สถิติธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Statistics

 

        ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ การเก็บรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นของตัวแปรสุ่ม ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การทดสอบไคส์แควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวน สถิตินอนพาราเมตริก การวิเคราะห์ สหสัมพันธ์ และการถดถอย อนุกรมเวลา เลขดัชนี การพยากรณ์และการตัดสินใจทางธุรกิจ

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ (วิชาชีพบังคับ)

รายวิชา 3302101

การบัญชีชั้นกลาง 1

3 (2-2-5)

 

Intermediate Accounting 1

 
     

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1 และ 3301102 การบัญชี 2

        ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ เงินสดย่อย การบัญชีลูกหนี้ เงินลงทุน ตั๋วเงิน สินค้า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ทรัพยากรธรรมชาติ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หลักและวิธีการโดยละเอียดเกี่ยวกับรายการสินทรัพย์ว่าด้วยการจำแนกประเภทต่าง ๆ ของสินทรัพย์ การตีราคา การหามูลค่าของสินทรัพย์ การจัดแบ่งส่วนสินทรัพย์เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี การด้อยค่าของสินทรัพย์ การบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และงานก่อสร้างตามสัญญา การบัญชีกองทุน การแสดงรายการสินทรัพย์ในงบการเงิน หลักการเปิดเผยข้อมูล

รายวิชา 3302102

การบัญชีชั้นกลาง 2

3 (2-2-5)

 

Intermediate Accounting 2

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1 และ 3301102 การบัญชี 2

        ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียน และหนี้สินไม่หมุนเวียน การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ ตลอดจนการแสดงรายการในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน งบการเงินระหว่างกาล การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนว่าด้วยการจัดตั้งการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การจัดทำงบการเงิน การเลิกกิจการ และการชำระบัญชี การจ่ายคืนเงินลงทุน การบัญชีเกี่ยวกับบริษัท จำกัด และบริษัท มหาชน จำกัด ว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การจำหน่ายหุ้น การจัดทำงบการเงินในแบบที่สมบูรณ์ การจดทะเบียนเพิ่มทุน และลดทุน ส่วนเกินทุน ประเภทต่าง ๆ กำไรต่อหุ้น การจัดสรรกำไรสะสม การเลิกบริษัท และการชำระบัญชี

รายวิชา 3302103

การบัญชีต้นทุน 1

3 (2-2-5)

 

Cost Accounting 1

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาวัตถุประสงค์และแนวคิดของการบัญชีต้นทุน บทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ศัพท์และความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมวัตถุดิบ แรงงาน ค่าใช้จ่ายโรงงาน ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบต้นทุนช่วงการผลิต ระบบต้นทุนมาตรฐาน การบัญชีสำหรับของเสีย การสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วม และผลิตภัณฑ์พลอยได้

รายวิชา 3302104

การบัญชีต้นทุน 2

3 (2-2-5)

 

Cost Accounting 2

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302103 การบัญชีต้นทุน 1

        ศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการวางแผน การควบคุมต้นทุนในการผลิต ต้นทุนกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปร ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนปริมาณ และกำไร การงบประมาณ การวิเคราะห์ผลต่างที่เกิดขึ้น การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในการวางแผน และควบคุม การดำเนินงาน กิจการภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอน และไม่แน่นอน การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การวิเคราะห์ต้นทุน

รายวิชา 3303101

การบัญชีชั้นสูง 1

3 (2-2-5)

 

Advanced Accounting 1

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาถึงการบัญชีเกี่ยวกับการฝากขาย กิจการร่วมค้า การขายโดยการผ่อนชำระ การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาเช่า การประกันภัย การบัญชีสำนักงานใหญ่ และสาขา การบัญชีเกี่ยวกับกิจการล้มละลาย การบัญชีมรดกและทรัสตี

รายวิชา 3303102

การบัญชีชั้นสูง 2

3 (2-2-5)

 

Advanced Accounting 2

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาการดำเนินธุรกิจด้านการลงทุน การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม และบริษัทย่อย การแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชี การรวมกิจการในรูปแบบต่าง ๆ การจัดทำงบการเงินรวม ปัญหาเกี่ยวกับการบัญชีระหว่างบริษัทใหญ่ และบริษัทย่อย การถือหุ้นระหว่างบริษัทในเครือ การบัญชีสำหรับการค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

รายวิชา 3303201

การบัญชีภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Tax Accounting

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1 3301102 การบัญชี 2 และ 3252106 การภาษีอากรธุรกิจ

        ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับการคำนวณรายได้ รายจ่าย การตีราคาค่าของสินทรัพย์ และหนี้สิน การคิดค่าเสื่อมราคา เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากร การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากรที่ดี สำหรับผู้ประกอบการโดยทั่วไป ตลอดจนบทบาททางภาษีอากรในการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการประกอบธุรกิจ

รายวิชา 3303205

การสอบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Auditing

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาความหมายและวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี แนวคิด แม่บทของมาตรฐานการสอบบัญชี คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี มรรยาทและจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี การควบคุมภายในและการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ความเสี่ยงในการตรวจสอบ การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ หลักฐานการสอบบัญชีและวิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี วิธีการตรวจสอบและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ การตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน การสอบทานและการควบคุมงานสอบบัญชี การรายงานการสอบบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล มาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องและการให้บริการอื่นของผู้สอบบัญชี แนวทางการตรวจสอบบัญชีด้วยมือและคอมพิวเตอร์

รายวิชา 3302202

การทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Computerized Accounting

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302201 หลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

        ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานทางการบัญชี การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางการบัญชีโดยฝึกปฏิบัติ การออกแบบผังรหัสบัญชี การบันทึกรายการค้า การปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาด การจัดพิมพ์สมุดบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงินต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี การจัดเตรียมเอกเอกสาร รวมทั้งรายงานเพื่อผู้บริหารโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี และประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ

รายวิชา 3303206

การตรวจสอบภายใน

3 (3-0-6)

 

Internal Auditing

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาความหมาย ประเภทและขอบเขตของการตรวจสอบภายใน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายใน จรรยาบรรณทางวิชาชีพตรวจสอบภายในมาตรฐานการตรวจสอบภายในโครงสร้างของหน่วยงานตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี การประเมินระบบการควบคุมภายใน หลักฐานและวิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและขั้นตอนในการตรวจสอบภายใน หลักการตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ การรายงานปัญหาและข้อบกพร่องที่ตรวจพบ ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข รวมถึงการติดตามผลการตรวจสอบภายใน

รายวิชา 3303207

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting Information System

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302201 หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

        ศึกษาการดำเนินงานและขั้นตอนการวางระบบบัญชี หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี และควบคุมวงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน ระบบย่อย และระบบสารสนเทศทางการบัญชี ได้แก่ วงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย วงจรการผลิต วงจรสินทรัพย์ วงจรหนี้สิน และรายงานทางการเงิน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ทางการบัญชี การบริการทางอินเทอร์เน็ต และผลกระทบจากการใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางการบัญชีต่อระบบสารเทศทางการบัญชี

รายวิชา 3303301

การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์

3 (2-2-5)

 

Financial Report And Analysis

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาแนวคิดการรายงานทางการเงิน การนำเสนองบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาที่มีผลต่อการวิเคราะห์ทางการเงิน การประเมินจุดอ่อนของข้อมูลและข้อจำกัดของงบการเงิน และจัดทำงบการเงินจำแนกตามส่วนงาน

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ (วิชาชีพเลือก)

รายวิชา 3303901

การวิจัยธุรกิจ

3 (2-2-5)

 

Business Research

 

        ศึกษาความสำคัญของการวิจัยทางธุรกิจ ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ ปฏิบัติการวิจัยธุรกิจ โดยการเสนอโครงการ กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสรุปผลงานวิจัยเพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในธุรกิจ

รายวิชา 3214648

การจัดการเชิงกลยุทธ์

3 (3-0-6)

 

Strategic Management

 

        ศึกษาแนวคิดการวางแผนและการบริหารเชิงกลยุทธ์ ความแตกต่างของการวางแผนและการบริหารทั่วไป องค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การกำหนดเป้าหมายของธุรกิจ กระบวนการและเทคนิคการวางแผน การวางนโยบายธุรกิจ โครงสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก กลยุทธ์รวมของธุรกิจ การประเมินผลและการติดตาม

รายวิชา 3303202

การบัญชีส่วนราชการ

3 (2-2-5)

 

Official Accounting

 

        ศึกษาถึงลักษณะการดำเนินงานและโครงสร้างของระบบบัญชีส่วนราชการ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและองค์การปกครองท้องถิ่น ระบบงบประมาณ การลงบัญชีระบบราชการ ตลอดจนการทำงบเดือนและรายงานทางการเงิน

รายวิชา 3303203

การวางแผนและควบคุมทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting for Planning and Control

 

        ศึกษาลักษณะและบทบาทของผู้อำนวยการวางแผนและควบคุม โครงสร้างของการจัดองค์การ เทคนิคในการวางแผนและควบคุม การใช้ข้อมูลทางการบัญชี ในการวางแผนและควบคุมด้านต่าง ๆ และการศึกษานอกสถานที่

รายวิชา 3303204

การวางระบบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting System Design

 

        ศึกษาหลัก วิธีการวางระบบบัญชี การออกแบบกระบวนการทางการบัญชี การจัดทำเอกสารทะเบียนและบัญชีต่าง ๆ ตลอดจนการวิเคราะห์ การออกแบบ การประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำฐานข้อมูล เป็นเครื่องมือในการจัดวางโครงสร้างของระบบบัญชี การบันทึกและการแก้ไขการลงบัญชี การประมวลผลการผ่านบัญชี การรายงานงบการเงินต่าง ๆ การจัดระบบความปลอดภัยของข้อมูลและการตรวจสอบควบคุมระบบบัญชี

รายวิชา 3303208

การจัดการระบบสินค้าคงคลังโดยโปรแกรมประยุกต์

3 (2-2-5)

 

Inventory Management System for Programming Application

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3303207 ระบบสารสนเทศการบัญชี และ 3302202 การทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์


       
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดได้มา และจำหน่ายสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลังการวิเคราะห์ และการจัดทำทะเบียนสินค้า การประยุกต์โปรแกรมสำเร็จรูปใช้กับงานควบคุมสินค้าคงคลัง

รายวิชา 3303302

การจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

3 (2-2-5)

 

Small and Medium Enterprise Plan

 

        ศึกษาความสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญในการจัดทำแผนธุรกิจทั้งทางด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านบุคลากร ด้านการลงทุน ด้านการเงิน การศึกษาและวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจ

รายวิชา 3304301

ปัญหาการสอบบัญชี

3 (2-2-5)

 

Problem in Auditing

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3303205 การสอบบัญชี

        ศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบบัญชีโดยใช้กรณีศึกษาในการสอบบัญชีของกิจการประเภทต่าง ๆ บทบาทของสถาบันต่าง ๆ อันมีผลต่อการกำหนดมาตรฐานการสอบบัญชีในประเทศไทย และต่างประเทศ ผลกระทบอันเกิดจากการกำหนดมาตรฐานการสอบบัญชีใหม่

รายวิชา 3304302

หัวข้อพิเศษทางการบัญชี

3 (2-2-5)

 

Special Topics in Accounting

 

        ศึกษาหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจทางการบัญชี

รายวิชา 3313201

การบริหารต้นทุน

3 (2-2-5)

 

Cost Management

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302104 การบัญชีต้นทุน 2

        ศึกษาแนวคิดต้นทุนภายใต้สภาพแวดล้อมธุรกิจสมัยใหม่ การศึกษาต้นทุนเชิงประยุกต์ การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ ต้นทุนฐานกิจกรรม ต้นทุนคุณภาพ ต้นทุนตามเป้าหมาย ต้นทุนตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพิจารณาต้นทุนภายใต้ทฤษฎีข้อจำกัด การวิเคราะห์พฤติกรรม การวัดผลงานแบบดุลยภาพ (Balanced Scorecard) การวัดผลและประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนและการควบคุมการผลิต การคำนวณมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นการอภิปราย และการใช้กรณีศึกษา

รายวิชา 3314201

การวางแผนและการควบคุมกำไร

3 (2-2-5)

 

Profit Planning and Control

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302103 การบัญชีต้นทุน 1

        ศึกษาถึงแนวความคิดของการบริหารกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผนและการควบคุมกำไรเพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนการบริหารระยะสั้น ระยะยาว การควบคุม ปัจจัยการผลิตและจำหน่าย การควบคุมการดำเนินงานการเงินของกิจการ โดยการจัดทำงบประมาณชนิดต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลต่างจากงบประมาณเพื่อรายงาน เทคนิคในการจัดทำงบประมาณสมัยใหม่ แนวความคิดทางด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องบางประการในกระบวนการจัดทำงบประมาณอันมีผลต่อการวางแผนและการควบคุมกิจการ

รายวิชา 3314901

สัมมนาการบัญชีต้นทุน

3 (2-2-5)

 

Seminar in Cost Accounting

 

        เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ และการสร้างระบบการบัญชีต้นทุนของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต และบริการ หัวข้อการศึกษาเป็นการอภิปรายเทคนิค และปัญหาในการจัดทำรายงานต้นทุน และการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุน รวมทั้งการออกแบบต้นทุนที่ใช้กับกิจการอุตสาหกรรมการผลิต และบริการภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป และกรณีศึกษา

รายวิชา 3323201

การบัญชีเฉพาะกิจ

3 (2-2-5)

 

Specialized Accounting

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1, 3301102 การบัญชี 2

        ศึกษาวิธีการและระบบบัญชีของกิจการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการเงิน ประกันภัย คลังสินค้า สาธารณูปโภค เกษตรกรรม โรงแรม โรงพยาบาล และกิจการให้บริการอื่น ๆ เลือกศึกษากิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทตามความเหมาะสม มีการศึกษานอกสถานที่

รายวิชา 3324101

ทฤษฎีบัญชี

3 (2-2-5)

 

Accounting Theory

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

        ศึกษาถึงต้นกำเนิดของการบัญชี แนวความคิดและแม่บทการบัญชี วิวัฒนาการของวิชาบัญชี สถาบันซึ่งกำหนดมาตรฐานการบัญชีของประเทศไทยและต่างประเทศ แนวความคิดในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย เพื่อวัดผลการดำเนินงานและฐานทางการเงินบทบาทของข้อกำหนดตามมาตรฐานการบัญชี

รายวิชา 3324901

สัมมนาการบัญชีการเงิน

3 (2-2-5)

 

Seminar in Financial Accounting

 

        ศึกษาถึงลักษณะ แนวความคิด ปัจจัยอันเป็นพื้นฐานของวิชาชีพทางบัญชี เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบัญชีการเงิน อภิปรายปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีการเงิน สร้างจิตสำนึกที่ดี เน้นการใช้จริยธรรมการประกอบวิชาชีพ วิเคราะห์กรณีศึกษา

รายวิชา 3334101

การวางแผนภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Tax Planning

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3252106 การภาษีอากรธุรกิจ

        ศึกษาหลักการเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร เทคนิคและปัญหาในการวางแผนภาษีอากร เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากรที่ดี สำหรับผู้ประกอบการโดยทั่วไป ตลอดจนบทบาทของภาษีอากรในการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการประกอบธุรกิจ

รายวิชา 3334201

การตรวจสอบบัญชีโดยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Auditing by Computer

 

        ศึกษาถึงการตรวจสอบและควบคุมบัญชีโดยใช้คอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน เพื่อป้องกันการทุจริตและความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ ผลกระทบอันเนื่องมาจากการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลข้อมูลทางการบัญชี หลักการควบคุมภายในของหน่วยงานที่ใช้มาตรการป้องกัน โดยการประเมินผลการควบคุมภายในของหน่วยงานที่ใช้มาตรการป้องกันโดยการประเมินผลการควบคุมภายในและการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของการประมวลผลข้อมูลการวางแผนแนวการตรวจสอบบัญชี เทคนิคการตรวจสอบระบบบัญชีโดยใช้คอมพิวเตอร์รวมทั้งกระดาษทำการที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวกับการสอบบัญชี

รายวิชา 3334901

สัมมนาการสอบบัญชีและภาษีอากร

3 (2-2-5)

 

Seminar in Auditing

 

        อภิปราย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสอบบัญชี และการภาษีอากร สร้างสถานการณ์ และวิเคราะห์การสอบบัญชีในกิจการที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ศึกษาการแก้ปัญหาการจัดทำบัญชีภาษีอากร และศึกษาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบบัญชี และการภาษีอากร

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ (กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ)

รายวิชา 3304801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบัญชี

5 (450)

 

Field Experience in Accounting

 

        ฝึกฝนทักษะในการทำงานด้านวิชาชีพบัญชี หรือการสอบบัญชีที่จะสนับสนุนต่อการประกอบวิชาชีพ และเรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรบัญชีบัณฑิต กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบปฏิบัติ
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

 

ภาคผนวก

ภาคผนวก ก.

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต

        1.1 มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        1.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2545 ทำให้ได้มาตรฐาน หลักสูตร ชื่อหลักสูตร วิชาแกน วิชาบังคับ และวิชาเลือกบางส่วน

        1.3 สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546

        1.4 ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฯ ณ ภาควิชาฯ เมื่อวันที่ 27-30 มิถุนายน 2548

        1.5 ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาทั่วไป (ตามประกาศมหาวิทยาลัย ) และกลุ่มวิทยาการจัดการ

        1.6 วิพากษ์หลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องประชุม 812 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2548

        1.7 ปรับปรุงแก้ไข นำเสนอต่อมหาวิทยาลัย ฯ

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิ

        1. อาจารย์วิศิษฏ์ศรี จินตนา อดีตรองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

        2. อาจารย์อัมพร เที่ยงตระกูล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

        3. อาจารย์นฤมล ถนอมพงษ์ชาติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

        4. อาจารย์นิตยา ชนินทยุทธวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        5. อาจารย์มนตรี ไชยานุกูลกิตติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        6. อาจารย์อรกัญญา โฆษิตานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        7. อาจารย์มยุรี บุญโต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        8. อาจารย์ปราณี เนรมิตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        9. อาจารย์วรภรณ์ โพธิ์เงิน มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        10. อาจารย์อนุ ธัชษะพงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        11. อาจารย์อัมราภรณ์ เพชรวาลี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

        12. อาจารย์กนกพร สัญพง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

        13. อาจารย์อุกฤต คูหพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

        14. นายพงศ์ชัย ฉัตรชัยรัตนเวช อาจารย์พิเศษ จากบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)

 

ภาคผนวก ข.

ข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ

ปรับปรุง

    1. รายวิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน, ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 ใน 3 รายวิชา
        ควรปรับเหลือ 1 รายวิชา เป็นภาษาอังกฤษสำหรับนักบัญชี โดยประมวลคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุม

    1. ไม่ได้ปรับปรุงเนื่องจากต้องปฏิบัติตามนโยบายของสถาบัน

    2. วิชาชีพเลือก ควรจัดเป็น 18 หน่วยกิต และควรจัดเป็นแขนงเพื่อให้นักศึกษาเลือกตามความ ต้องการที่จะเป็นนักบัญชีด้านใด
        ลงเฉพาะด้านตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เปิดสอน โดยจะเปิดหลักสูตรการสอนทั้ง 6 ด้าน หรือจะเปิดหลักสูตรสอน
       เฉพาะด้าน ซึ่งต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของบุคลากรผู้สอนด้วย

    1. ปรับเพิ่มวิชาชีพเลือกจากเดิม 12 หน่วยกิต เป็น 18 หน่วยกิต
    2. ไม่ได้ปรับเป็นแขนงวิชาตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่วิพากษ์หลักสูตร เนื่องจากมีรายวิชาแยกตามแขนงจำนวน
        ไม่เพียงพอต่อการเปิดแยกเป็นแขนงวิชา

    3. ควรเพิ่มกฎหมายภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เพื่อเห็นภาพในแง่ของนักบัญชี ที่ควรรู้บัญชีภาษี, พรบ.
        วิชาชีพบัญชีในรายวิชากฎหมายธุรกิจและการพาณิชย์

    1. ปรับเปลี่ยนรายวิชาใน ข. หมวดวิชาเฉพาะ
    2. วิชาแกน ในรายวิชากฏหมายธุรกิจและการพาณิชย์ปรับเปลี่ยนเป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

    4. วิชาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานทางบัญชี, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี และวิชาการใช้อินเทอร์เน็ต ทางการบัญชี ควร
        ปรับเหลือ 1 รายวิชา เป็นระบบสารสนเทศทางการบัญชี ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูล เพิ่มเติมจาก Web ของ IFAC Education
        Committee เรื่อง IT และวารสารวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 1 ม.ธรรมศาสตร์ของ อ.ปกรณ์ เรื่อง “การศึกษากับวิชาชีพ”

    1. เปิดรายวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี และวิชาการทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์

    5. การบัญชีเพื่อการจัดการ ควรเป็นวิชาสำหรับเอกอื่นเรียน

    1. ปรับเปลี่ยนรายวิชาใน การบัญชีต้นทุน ปรับเป็น การบัญชีต้นทุน 1 และ การบัญชีต้นทุน 2 และจัดให้วิชาการบัญชีเพื่อ
       การจัดการเป็นวิชาสำหรับเอกอื่นเลือกเรียน

    6. วิชาการตรวจสอบภายในในคำอธิบายรายวิชา วิชาที่ต้องเรียนมาก่อนควรเป็นแค่บัญชีชั้นกลาง 1 และ 2 ไม่ต้องผ่านวิชาการ
        สอบบัญชี เนื่องจากการตรวจสอบภายในเป็นการเพิ่มกระบวนการควบคุมภายใน

    1. ปรับปรุงแก้ไขในส่วนของคำอธิบายรายวิชาเรียบร้อยแล้ว

    7. วิชาเฉพาะด้านเลือก บัญชีส่วนราชการ, การบัญชีธนาคาร, การบัญชีเฉพาะกิจ, การบัญชีโรงแรม, การบัญชีรัฐบาล, การบัญชี
        เฉพาะกิจสำหรับวิสาหกิจท่องเที่ยว, ระบบบัญชีสหกรณ์, การบัญชีเพื่อสิ่งแวดล้อม, การใช้อินเทอร์เน็ตทางการบัญชี ควร
        ปรับไปอยู่หมวดวิชาเลือกเสรี และควรมีการเพิ่มรายวิชาเกี่ยวกับต้นทุน, ภาษี, คอมพิวเตอร์และรายวิชาที่ซ้ำ ได้แก่ การบัญชี
        เฉพาะกิจ, การบัญชีโรงแรม, การบัญชีเฉพาะกิจสำหรับวิสาหกิจท่องเที่ยวซึ่งเนื้อหาจะเน้นเกี่ยวกับการบัญชีโรงแรม

    1. เปิดรายวิชาเลือกสำหรับทุกแขนงวิชา 9 หน่วยกิต มีการเปิดสอนเพิ่มในรายวิชาการวางแผนและควบคุมทางการบัญชี และ
        หัวข้อพิเศษทางการบัญชี
    2. ปรับรายวิชามาอยู่ในส่วนวิชาเลือก โดยเปิดวิชาการบัญชีส่วนราชการ
    3. ปรับรายวิชาที่ซ้ำในรายวิชาเลือก โดยเปิดรายวิชา 9 รายวิชา ตามหัวข้อ 3.2

    8. การบัญชีส่วนราชการ, การบัญชีรัฐบาล,การงบประมาณยุคใหม่ ให้ตรวจสอบคำอธิบายรายวิชาว่าซ้ำกันหรือไม่ หรือควรจะ
        ระบุการบัญชีส่วนราชการภูมิภาค/ท้องถิ่น

    1. ปรับรายวิชามาอยู่ในส่วนวิชาเลือก โดยเปิดวิชาการบัญชีส่วนราชการ

    9. ควรมีการปรับเนื้อหาในรายวิชาการบัญชีขั้นต้น ได้แก่ การบัญชี 1 และการบัญชี 2 เนื่องจากวิชาการบัญชี 2 จะซ้ำซ้อนกับ
        วิชาการบัญชีชั้นกลาง 1 มากกว่า 20%

    1. ปรับเนื้อหาวิชาการบัญชี 1 และการบัญชี 2 ใหม่ โดยวิชาการบัญชี 1 ปรับเนื้อหาบางส่วนออก และเพิ่มเติมในส่วนของ
        พรบ. วิชาชีพการบัญชีและอื่น ๆ

    10. วิชา 3324101 ทฤษฎีบัญชีไม่ได้เป็นวิชาบังคับในข้อบังคับของสภาวิชาชีพจึงควรนำไปจัดอยู่ในกลุ่มวิชาชีพเลือกเนื่อง
       จากวิชาพื้นฐานวิชาชีพและวิชาชีพบังคับมีจำนวนหน่วยกิตมากแล้ว

    1. จัดตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

    11. วิชาจรรยาบรรณวิชาชีพทางการบัญชี ไม่จำเป็นต้องจัดให้เป็น 1 รายวิชา เนื่องจากเนื้อหามีไม่มากพอ ควรใช้วีธีการ
       สอดแทรกเข้าไปในรายวิชาการบัญชี หรือ เป็น 1 บท ในวิชาการบัญชีขั้นต้น หรือวิชาบัญชีที่เกี่ยวข้อง

    1. จัดให้มีการสอดแทรกหัวข้อจรรยาบรรณวิชาชีพทางการบัญชีไว้ในวิชาการสอบบัญชีและวิชาสัมมนาทางการบัญชีการเงิน
        และทุกรายวิชาการบัญชี

    12. วิชาแคลคูลัส สำหรับนักธุรกิจเป็นวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับผู้เรียนทางแขนงวิศวกรรม สำหรับแขนงบัญชีใช้แต่คณิตศาสตร์
       พื้นฐาน

    1. ไม่ได้กำหนดให้เรียน เนื่องจากไม่ได้นำมาใช้ในวิชาชีพบัญชี

    13. ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะให้ปรับรายวิชาทางบัญชีจากทฤษฎีเป็นปฏิบัติ เนื่องจากรายวิชาการบัญชีส่วนใหญ่เป็นปฏิบัติ

    1. ปรับตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ภาคผนวก ค.

แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตรปรับปรุง (ให้ทำเฉพาะรายวิชาที่มีการปรับปรุง)

 

วิชาใหม่

วิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

3301101 การบัญชี 1 / Accounting 1
 

3521101 การบัญชี 1 / Accounting 1

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาความหมาย วัตถุประสงค์ ความสำคัญของการบัญชี การใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชี ความสัมพันธ์ของการบัญชีกับหน้าที่ทางธุรกิจอื่น พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับ
การบัญชี ข้อสมมติฐานทางการบัญชี แม่บทการบัญชี หลักการบัญชีคู่ การวิเคราะห์ราย
การค้า การบันทึกรายการในสมุดรายวันขั้นต้น สมุดบัญชีแยกประเภท การจัดทำงบทดลอง การปรับปรุงรายการ การปิดบัญชี การจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการให้บริการ
การบัญชีเกี่ยวกับกิจการไม่แสวงหากำไร

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาแม่บทการบัญชี หลักบัญชีคู่ วิเคราะห์รายการค้า บันทึกรายการในสมุดรายวัน
ขั้นต้น สมุดบัญชีแยกประเภท กระดาษทำการ จัดทำงบทดลอง การปรับปรุงและปิดบัญชี
การทำงบการเงินของกิจการให้บริการและกิจการซื้อมาขายไป และการบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีเกี่ยวกับกิจการไม่แสวงหากำไร

    - ปรับคำอธิบายรายวิชาตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
    - ปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตาม พรบ.วิชาชีพการบัญชี
      และมาตรฐานการบัญชี

3301102 การบัญชี 2 / Accounting 2
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1

3521102 การบัญชี 2 / Accounting 2
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521101 การบัญชี 1

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินสำหรับกิจการซื้อมาขายไป การจัดทำบัญชีและงบประกอบสำหรับกิจการอุตสาหกรรม และการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบบใบสำคัญ การจัดทำงบการเงินจากระบบการบันทึกบัญชีไม่สมบูรณ์ และระบบบัญชีเดี่ยว

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น เงินสด เงินฝากธนาคารระบบเงินสดย่อย ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้ เงินลงทุน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ การคิดค่าเสื่อมราคาทรัพยากรธรรมชาติ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้าตั๋วเงินจ่าย ระบบใบสำคัญและส่วนของเจ้าของ บัญชีอุตสาหกรรมขนาดย่อม

    - ปรับเนื้อหาออกบางส่วน เนื่องจากซ้ำซ้อนกับวิชาการบัญชีชั้นกลาง 1
      เกิน 20% และเพิ่มเนื้อหาบางส่วนให้ครอบคลุมกับข้อกำหนดของสภา
      วิชาชีพบัญชีในส่วนของเนื้อหาบัญชีขั้นต้น

3301201 กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี /
Legal for Aspects to Accounting Profession

-

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ห้างหุ้นส่วน บริษัท จำกัด พระราชบัญญัติ
การบัญชี พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2547 ประมวลรัษฎากร
การจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกาศ คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว รวมถึง
แม่บทการบัญชี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

    - ปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
    - ปรับให้สอดคล้องกับ สกอ. กำหนด

3302201 หลักเบื้องต้นระบบสารสนเทศ
Principles of Information System

-

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    แนวคิดของระบบสารสนเทศทางการจัดการ โครงสร้าง องค์ประกอบ และระบบ
สารสนเทศย่อยทางธุรกิจ ได้แก่ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ระบบสารสนเทศทาง
การตลาด ระบบสารสนเทศทางการเงิน ระบบสารสนเทศทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ระบบสารสนเทศทางการผลิตและการดำเนินงาน การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศใน
การตัดสินใจทางการจัดการ หลักการจัดการและหลักการพัฒนาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูล และระบบเครือข่าย

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

    - ปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
    - ปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับ สกอ.กำหนด

3302103 การบัญชีต้นทุน 1 / Cost Accounting 1
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

3522102 การบัญชีต้นทุน1 / Cost Accounting 1
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521102 การบัญชี 2

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาวัตถุประสงค์และแนวคิดของการบัญชีต้นทุน บทบาทของการบัญชีต้นทุนในองค์กรธุรกิจ ศัพท์และความหมายของต้นทุนต่าง ๆ ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกต้นทุน วิธีการบัญชีและการควบคุมวัตถุดิบ แรงงาน ค่าใช้จ่ายโรงงาน ระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ระบบต้นทุนช่วงการผลิต ระบบต้นทุนมาตรฐาน การบัญชีสำหรับของเสีย การสิ้นเปลือง งานที่บกพร่อง เศษซาก การบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วม และผลิตภัณฑ์พลอยได้

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาบทบาทของการบัญชีต้นทุนที่มีต่อกิจการ ความหมายของการบัญชีต้นทุนประเภทของต้นทุนและองค์ประกอบของต้นทุน และการควบคุมการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับวัตถุดิบ แรงงานและค่าใช้จ่าย การผลิต วิธีการจัดสรรค่าใช้จ่ายการผลิต วิธีการคำนวณต้นทุน และบันทึกบัญชีตามระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ต้นทุนงานช่วงของเสีย การสิ้นเปลือง หน่วยงานที่บกพร่อง เศษซาก ต้นทุน มาตรฐานวิเคราะห์ผลแตกต่างที่เกิดขึ้น งบประมาณยืดหยุ่นได้ การคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1 / Intermediate Accounting 1
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1 และ 3301102 การบัญชี 2

3522103 การบัญชีชั้นกลาง 1 / Intermediate Accounting 1
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521102 การบัญชี 2

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ เงินสดย่อย การบัญชีลูกหนี้ เงินลงทุน ตั๋วเงิน สินค้า สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนทรัพยากรธรรมชาติ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หลักและวิธีการโดยละเอียดเกี่ยวกับรายการสินทรัพย์ว่าด้วยการจำแนกประเภทต่าง ๆ ของสินทรัพย์ การตีราคา การหามูลค่าของสินทรัพย์ การจัดแบ่งส่วนสินทรัพย์เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี การด้อยค่าของสินทรัพย์ การบัญชีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และงานก่อสร้างตามสัญญา การบัญชีกองทุน การแสดงรายการสินทรัพย์ในงบการเงิน หลักการเปิดเผยข้อมูล

คำอธิบายรายวิชาเดิม

   ศึกษาหลักการและวิธีการเกี่ยวกับรายการสินทรัพย์ว่าด้วยการจำแนกประเภทสินทรัพย์ การตีราคา การหามูลค่า การจัดแบ่งส่วนสินทรัพย์เป็นต้นทุน และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี การแสดงรายการสินทรัพย์ในงบการเงิน หลักการเปิดเผยข้อมูลของสินทรัพย์ การกำหนดมูลค่าและวิธีบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินระยะยาว หนี้สินระยะสั้น การแสดงรายการในงบการเงิน

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2 / Intermediate Accounting 2
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1 และ 3301102 การบัญชี 2

3522104 การบัญชีชั้นกลาง 2 / Intermediate Accounting 2
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521102 การบัญชี 2

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ ตลอดจนการแสดงรายการในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน งบการเงินระหว่างกาล การบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนว่าด้วยการจัดตั้งการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วน การจัดทำงบการเงิน การเลิกกิจการ และการชำระบัญชี การจ่ายคืนเงินลงทุน การบัญชีเกี่ยวกับบริษัท จำกัด และบริษัท มหาชน จำกัด ว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การจำหน่ายหุ้น การจัดทำงบการเงินในแบบที่สมบูรณ์ การจดทะเบียนเพิ่มทุน และลดทุน ส่วนเกินทุน ประเภทต่าง ๆ กำไรต่อหุ้น การจัดสรรกำไรสะสม การเลิกบริษัท และการชำระบัญชี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนว่าด้วยการรับหุ้นส่วนใหม่ การเลิกกิจการการชำระบัญชี การจ่ายคืนเงินลงทุน งบการเงินของห้างหุ้นส่วน การบัญชีเกี่ยวกับบริษัทว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การจำหน่ายหุ้น การจดทะเบียนเพิ่มทุนและลดทุนส่วนเกินประเภทต่าง ๆ การคำนวณมูลค่าหุ้นแต่ละชนิด การจัดสรรกำไรสะสมงบการเงินของบริษัทจำกัด การเลิกบริษัทและการชำระบัญชี

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3302104 การบัญชีต้นทุน 2 / Cost Accounting II
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302103 การบัญชีต้นทุน 1

3522105 การบัญชีต้นทุน 2

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการวางแผน การควบคุมต้นทุนในการผลิต ต้นทุนกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปร ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนปริมาณและกำไร การงบประมาณ การวิเคราะห์ผลต่างที่เกิดขึ้น การใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในการวางแผน และควบคุม การดำเนินงาน กิจการภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอน และไม่แน่นอน การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การวิเคราะห์ต้นทุน

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการวางแผน การควบคุมต้นทุนในการผลิต การบัญชีต้นทุนรวมและการบัญชีต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาขาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต้นทุนและกำไร ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ การปันส่วนต้นทุนเพื่อการควบคุมและประเมินผล การวางแผนและควบคมต้นทุน การใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจในการบริหารระยะสั้น และระยะยาวภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน การกระจายอำนาจ การวัดผลการดำเนินงาน และการตั้งราคาโอน ระบบการคิดต้นทุนสมัยใหม่ ได้แก่ Just in Time (JIT), Activity Base Cost (ABC Cost) งบประมาณสมบูรณ์แบบ

 

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303101 การบัญชีชั้นสูง 1 / Advanced Accounting 1
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

3524101 การบัญชีชั้นสูง 1 / Advanced Accounting 1
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3522103 บัญชีชั้นกลาง 1
และ 3522104 บัญชีชั้นกลาง 2

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาถึงการบัญชีเกี่ยวกับการฝากขาย กิจการร่วมค้า การขายโดยการผ่อนชำระ การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาเช่า การประกันภัย การบัญชีสำนักงานใหญ่ และสาขา การบัญชีเกี่ยวกับกิจการล้มละลาย การบัญชีมรดกและทรัสตี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาการบัญชีเกี่ยวกับการฝากขาย การขายโดยการผ่อนชำระ การประกันภัยการค้าร่วม สำนักงานใหญ่และสาขา การบัญชีเกี่ยวกับการล้มละลาย การบัญชีมรดกและทรัสต์ การจัดทำงบการเงินจากระบบการบันทึกบัญชีที่ไม่สมบูรณ์และระบบบัญชีเดียว สัญญาเช่า และรายงานการก่อสร้างตามสัญญา

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303102 การบัญชีชั้นสูง 2 / Advanced Accounting 2
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3302102 การบัญชี ชั้นกลาง 2

3524102 การบัญชีชั้นสูง 2 / Advanced Accounting 2
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3524101 การบัญชีชั้นสูง 1

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาการดำเนินธุรกิจด้านการลงทุน การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม และ
บริษัทย่อย การแก้ไขข้อผิดพลาดทางการบัญชี การรวมกิจการในรูปแบบต่าง ๆ การจัดทำงบการเงินรวม ปัญหาเกี่ยวกับการบัญชีระหว่างบริษัทใหญ่ และบริษัทย่อย การถือหุ้นระหว่างบริษัทในเครือ การบัญชีสำหรับการค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาการบัญชีการรวมกิจการ การบัญชีเกี่ยวกับบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย การทำงบ
การเงินรวมของบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย ปัญหาเกี่ยวกับการบัญชีระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อย การถือหุ้นระหว่างบริษัทในเครือ การบัญชีสำหรับการค้าระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ การเปิดสาขา การจัดทำงบการเงิน การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด การแสดงรายการพิเศษในงบการเงิน

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303201 การบัญชีภาษีอากร / Tax Accounting
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3301101การบัญชี 1 3301102 การบัญชี 2
และ 3252106 การภาษีอากรธุรกิจ

3524201 การบัญชีภาษีอากร / Tax Accounting
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521102 การบัญชี 2
และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับการคำนวณรายได้ รายจ่าย การตีราคาค่าของสินทรัพย์และหนี้สิน การคิดค่าเสื่อมราคาเพื่อ
การคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากร การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย รวมถึงการปฏิบัติเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากรที่ดี สำหรับผู้ประกอบการโดยทั่วไป ตลอดจนบทบาททางภาษีอากรในการตัดสินใจเลือกรูปแบบในการประกอบธุรกิจ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต โดยเน้นหลักถึงปัญหาและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้ รายจ่าย
เพื่อเสียภาษี การตีราคาค่าของสินทรัพย์ หนี้สิน การคิดค่าเสื่อมราคา ปัญหาเกี่ยวกับภาษี
ขาเข้าและขาออก รวมถึงกรณีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303205 การสอบบัญชี / Auditing
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

3524302 การสอบบัญชี / Auditing
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3522103 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3522104 การบัญชีชั้นกลาง 2

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาความหมายและวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี แนวคิด แม่บทของมาตรฐานการสอบบัญชี คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี มรรยาทและจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
การควบคุมภายในและการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ความเสี่ยงในการตรวจสอบ การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ หลักฐานการสอบบัญชีและ
วิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี วิธีการตรวจสอบและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ การตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน การสอบทานและการควบคุมงานสอบบัญชี การรายงานการสอบบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล มาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องและการให้บริการอื่นของผู้สอบบัญชี แนวทางการตรวจสอบบัญชีด้วยมือและคอมพิวเตอร์

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาความหมาย และวัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี มารยาทของผู้สอบบัญชี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับ
การประกอบวิชาชีพสอบบัญชี การควบคุมภายในและการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน ความเสี่ยงในการตรวจสอบ การวิเคราะห์และการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบ หลักฐานการสอบบัญชีและวิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและการจัดทำแนวการตรวจสอบบัญชี วิธีการตรวจสอบและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจสอบบัญชี การจัดทำกระดาษทำการ การตรวจสอบเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน การสอบทาน และการควบคุมงานสอบบัญชี การรายงานการสอบบัญชีและการเปิดเผยข้อมูล มาตรฐานการสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องและการให้บริการอื่นของผู้สอบบัญชี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303206 การตรวจสอบภายใน / Internal Auditing

3524303 การตรวจสอบภายใน / Internal Auditing
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3524301 การสอบบัญชี

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาความหมาย ประเภทและขอบเขตของการตรวจสอบภายใน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายใน จรรยาบรรณทางวิชาชีพตรวจสอบภายในมาตรฐานการตรวจสอบภายในโครงสร้างของหน่วยงานตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี การประเมินระบบการควบคุมภายใน หลักฐานและวิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและขั้นตอนในการตรวจสอบภายใน หลักการตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ การรายงานปัญหาและข้อบกพร่องที่ตรวจพบ ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไข รวมถึงการติดตามผลการตรวจสอบภายใน

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาความหมาย ประเภท และขอบเขตของการตรวจสอบภายใน คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายใน จรรยาบรรณทางวิชาชีพตรวจสอบภายใน มาตรฐานการตรวจสอบภายใน โครงสร้างของหน่วยงานตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และลักษณะของการควบคุมภายในที่ดี การประเมินระบบการควบคุมภายใน หลักฐานและวิธีการรวบรวมหลักฐาน การวางแผนและขั้นตอนในการตรวจสอบภายใน หลักการตรวจสอบการดำเนินงานต่าง ๆ การรายงานปัญหาและข้อบกพร่องที่ตรวจพบ ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขรวมถึงการติดตามผลการตรวจสอบภายใน

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับให้มีเนื้อหาครบถ้วนสอดคล้องกับเนื้อหาที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - เพื่อให้นักศึกษามีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับใหม่เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยขึ้นและสอดคล้องกับ สกอ.

3303207 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี / Accounting Information System

3524307 ระบบสารสนทศทางการบัญชี / Accounting Information System

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาการดำเนินงานและขั้นตอนการวางระบบบัญชี หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี และควบคุมวงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน ระบบย่อย และระบบสารสนเทศทางการบัญชี ได้แก่ วงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย วงจรการผลิต วงจรสินทรัพย์ วงจรหนี้สิน และรายงานทางการเงิน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี ซอฟต์แวร์สมัยใหม่ทางการบัญชี การบริการทางอินเทอร์เน็ต และผลกระทบจากการใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทางการบัญชีต่อระบบสารเทศทางการบัญชี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาถึงโครงสร้างโดยทั่วไปของระบบข้อมูลทางการบัญชี ศึกษาวงจรทางการบัญชี ลักษณะธรรมชาติและเนื้อหาของข้อมูลพื้นฐานทางการบัญชี การศึกษาถึงระบบบัญชีและการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่กระบวนการป้อนข้อมูล การประมวลผลการรายงานผล และการควบคุมทางการบัญชี ตลอดจนนำไปประยุกต์กับองค์กรธุรกิจในแต่ละประเภทได้

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับใหม่ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ
    - ปรับเพิ่มเนื้อหาบางส่วนให้ทันสมัย

3302202 การทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ / Computerized Accounting
 วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302201 หลักการเบื้องต้นระบบสารสนเทศ

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานทางการบัญชี การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประโยชน์ทางการบัญชีโดยฝึกปฏิบัติ การออกแบบผังรหัสบัญชี การบันทึกรายการค้า การปรับปรุงและแก้ไขข้อผิดพลาด การจัดพิมพ์สมุดบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงินต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี การจัดเตรียมเอกสาร รวมทั้งรายงานเพื่อผู้บริหารโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี และประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีให้เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
    - เพื่อให้หลักสูตรมีเนื้อหาที่ทันสมัย

3303301 การรายงานทางการเงินและการวิเคราะห์
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302101 การบัญชีชั้นกลาง 1
และ 3302102 การบัญชีชั้นกลาง 2

3523302 การวิเคราะห์งบการเงิน / Financial Statement Analysis

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาแนวคิดการรายงานทางการเงิน การนำเสนองบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น และงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ งบกระแสเงินสด การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาที่มีผลต่อการวิเคราะห์ทางการเงิน การประเมินจุดอ่อนของข้อมูลและข้อจำกัดของงบการเงิน และจัดทำงบการเงินจำแนกตามส่วนงาน

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษารายงานทางการเงินเกี่ยวกับงบการเงินต่าง ๆ เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งบ
การเงินของธุรกิจ การเปรียบเทียบอัตราส่วน การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางการเงิน
งบกระแสเงินสด การวิเคราะห์ผลต่างในกำไรและต้นทุน และการปรับปรุงงบการเงินเมื่อ
ระดับราคาเปลี่ยนแปลงข้อมูล และหรือข้อจำกัดของการบัญชีที่มีต่อการวิเคราะห์งบการเงินวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์งบการเงินการเงิน

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับให้เนื้อหาทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี เรื่องการนำเสนอ
      งบการเงิน

3303202 การบัญชีส่วนราชการ Official Accounting
 

3522203 การบัญชีส่วนราชการ Official Accounting

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาถึงลักษณะการดำเนินงานและโครงสร้างของระบบบัญชีส่วนราชการ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและองค์การปกครองท้องถิ่น ระบบงบประมาณ การลงบัญชีระบบราชการ ตลอดจนการทำงบเดือนและรายงานทางการเงิน

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาถึงระบบบัญชีส่วนราชการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การขอเงินประจำงวด การลงบัญชีระบบราชการ ตลอดจนการทำงบเดือน

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับใหม่ให้สอดคล้องกับระบบบัญชีส่วนราชการในปัจจุบัน เพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัยขึ้น

3323201 การบัญชีเฉพาะกิจ / Specialized Accounting
รายวิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3301101 การบัญชี 1, 3301102 การบัญชี 2

3523202 การบัญชีเฉพาะกิจ / Special Accounting
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3521101 การบัญชี 1

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาวิธีการและระบบบัญชีของกิจการประเภทต่าง ๆ ได้แก่ สถาบันการเงิน ประกันภัย คลังสินค้า สาธารณูปโภค เกษตรกรรม โรงแรม โรงพยาบาล และกิจการให้บริการอื่น ๆ เลือกศึกษากิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือหลายประเภทตามความเหมาะสม มีการศึกษานอกสถานที่

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาถึงระบบบัญชีส่วนราชการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การขอเงินประจำงวด การลงบัญชีระบบราชการ ตลอดจนการทำงบเดือน

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับใหม่ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ

3303204 การวางระบบบัญชี Accounting System Design
 

3523301 การวางระบบบัญชี Accounting System Design

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาหลัก วิธีการวางระบบบัญชี การออกแบบกระบวนการทางการบัญชี การจัดทำเอกสารทะเบียนและบัญชีต่าง ๆ ตลอดจนการวิเคราะห์ การออกแบบ การประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การจัดทำฐานข้อมูล เป็นเครื่องมือในการจัดวางโครงสร้างของระบบบัญชี การบันทึกและการแก้ไขการลงบัญชี การประมวลผลการผ่านบัญชี การรายงานงบการเงินต่าง ๆ การจัดระบบความปลอดภัยของข้อมูลและการตรวจสอบควบคุมระบบบัญชี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาหลักและวิธีการวางระบบบัญชี การออกแบบกระบวนการทางบัญชี เอกสารทะเบียนและบัญชีต่าง ๆ ตลอดจนรายงานทางการบัญชี ปัญหาเกี่ยวกับงานบัญชี นอกจากนี้ยังศึกษาถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบัญชี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับใหม่ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชี

3312201 การบริหารต้นทุน Cost Management
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3302104 การบัญชีต้นทุน 2

3523304 การบริหารต้นทุน Financial Reports

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาแนวคิดต้นทุนภายใต้สภาพแวดล้อมธุรกิจสมัยใหม่ การศึกษาต้นทุนเชิงประยุกต์ การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ ต้นทุนฐานกิจกรรม ต้นทุนคุณภาพ ต้นทุนตามเป้าหมาย ต้นทุนตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพิจารณาต้นทุนภายใต้ทฤษฎีข้อจำกัด การวิเคราะห์พฤติกรรม การวัดผลงานแบบดุลยภาพ (Balanced Scorecard) การวัดผลและประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนและการควบคุมการผลิต การคำนวณมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ โดยเน้นการอภิปรายและการใช้กรณีศึกษา

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาแนวคิดต้นทุนภายใต้สภาพแวดล้อมธุรกิจสมัยใหม่ การศึกษาต้นทุนเชิงประยุกต์ การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ ต้นทุนฐานกิจกรรม ต้นทุนคุณภาพ ต้นทุนตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพิจารณาต้นทุนภายใต้ทฤษฎีข้อจำกัด การวัดผลและประเมินผลการปฏิบัติงาน การวางแผนและการควบคุมการผลิต

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับเพิ่มตามที่สภาวิชาชีพกำหนด
    - ปรับให้สอดคล้องกับ สกอ. กำหนด

3314201 การวางแผนและการควบคุมกำไร / Profit Planning and Control
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 330+2103 การบัญชีต้นทุน 1

3533404 การวางแผนและควบคุมกำไร / Profit Planning and Control
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3522105 การบัญชีต้นทุน 2

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาถึงแนวความคิดของการบริหารกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผนและการควบคุมกำไรเพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนการบริหารระยะสั้น ระยะยาว การควบคุม ปัจจัยการผลิตและจำหน่าย การควบคุมการดำเนินงานการเงินของกิจการ โดยการจัดทำงบประมาณชนิดต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลต่างจากงบประมาณเพื่อรายงาน เทคนิคในการจัดทำงบประมาณสมัยใหม่ แนวความคิดทางด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องบางประการ ในกระบวนการจัดทำงบประมาณอันมีผลต่อการวางแผนและการควบคุมกิจการ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    ศึกษาถึงแนวความคิดของการบริหารกิจการในส่วนที่เกี่ยวกับการวางแผนและการควบคุมกำไรเพื่อเป็นพื้นฐานในการวางแผนการบริหารระยะสั้น ระยะยาว การควบคุม ปัจจัยการผลิตและจำหน่าย การควบคุมการดำเนินงานการเงินของกิจการ โดยการจัดทำงบประมาณชนิดต่าง ๆ การวิเคราะห์ผลต่างจากงบประมาณเพื่อรายงาน เทคนิคในการจัดทำงบประมาณสมัยใหม่ แนวความคิดทางด้านพฤติกรรมของบุคคลที่เกี่ยวข้องบางประการ ในกระบวนการจัดทำงบประมาณอันมีผลต่อการวางแผนและการควบคุมกิจการ

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับรหัสวิชาเป็นรหัสวิชาทางบัญชี
    - ปรับหน่วยกิตจากวิชาทฤษฎีเป็นวิชาปฏิบัติ

3303203 การวางแผนและควบคุมทางบัญชี  /
Accounting for Planning And Control

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาลักษณะและบทบาทของผู้อำนวยการวางแผนและควบคุม โครงสร้างของ
การจัดองค์การ เทคนิคในการวางแผนและควบคุม การใช้ข้อมูลทางการบัญชี ในการวางแผนและควบคุมด้านต่าง ๆ และการศึกษานอกสถานที่

คำอธิบายรายวิชา

ไม่มี

เหตุผลในการปรับปรุง

   - ปรับเพิ่มเพื่อความทันสมัยของเนื้อหาและหลักสูตร

3303302 การจัดทำแผนธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม
Small and Medium Enterpuse Plan

 

คำอธิบายรายวิชาใหม่

    ศึกษาความสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญในการจัดทำแผนธุรกิจทั้งทางด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านบุคลากร ด้านการลงทุน ด้านการเงิน การศึกษาและวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับเพิ่มเพื่อความทันสมัยของเนื้อหาและหลักสูตร

3303208 การจัดการระบบสินค้าคงคลังโดยโปรแกรมประยุกต์
nventory Manament System for Programming Application
วิชาที่ต้องสอบผ่านมาก่อน : 3524307 ระบบสารสนเทศการบัญชี 352xxxx
โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานทางบัญชี

 

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาความสำคัญของการจัดทำแผนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญในการจัดทำแผนธุรกิจทั้งทางด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านบุคลากร ด้านการลงทุน ด้านการเงิน การศึกษาและวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจ

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับรหัสใหม่ให้เป็นวิชาทางบัญชี

3304302 หัวข้อพิเศษทางการบัญชี  / Special Topics in Accounting
 

 

คำอธิบายรายวิชา

    ศึกษาหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจทางการบัญชี

คำอธิบายรายวิชาเดิม

ไม่มี

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับเพิ่มเพื่อความทันสมัยของเนื้อหาและหลักสูตร

3304801 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบัญชี

3524803 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบัญชี
Field Experience in Accounting

คำอธิบายรายวิชา

    ฝึกฝนทักษะในการทำงานด้านวิชาชีพบัญชี หรือการสอบบัญชีที่จะสนับสนุนต่อการประกอบวิชาชีพและ เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

คำอธิบายรายวิชาเดิม

    จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านการปฏิบัติงานการบัญชี ในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือธุรกิจเอกชน ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยนำความรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในสถานการณ์จริง จัดให้มีการปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายละเอียดของการฝึกประสบการณ์และจัดให้มีการปัจฉิมนิเทศเพื่ออภิปรายปัญหาการฝึกประสบการณ์ที่เกิดขึ้น และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยอาจจัดให้ฝึกประสบการณ์ทั้งหมดหรือฝึกประสบการณ์และทำโครงการพิเศษ หรือฝึกประสบการณ์และทำภาคนิพนธ์ และกำหนดให้มีการปฏิบัติงานทางการบัญชี โดยนับชั่วโมงการปฏิบัติงานเฉพาะบัญชีไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง

เหตุผลในการปรับปรุง

    - ปรับเพิ่มเพื่อความเหมาะสมของสภาพธุรกิจในปัจจุบัน

 

ภาคผนวก ง.

สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พุทธศักราช 2549

 

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

บัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

บัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี

 

2

ชื่อปริญญา

บัญชีบัณฑิต (การบัญชี)

บัญชีบัณฑิต (การบัญชี)

เปลี่ยนชื่อปริญญาใหม่

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5 ข้อ

5 ข้อ

คงเดิม

5

หลักสูตร

 

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 หน่วยกิต
เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 หน่วยกิต

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 หน่วยกิต และหมวดวิชาเฉพาะ 6 หน่วยกิต

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 142 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

    (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

    (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(99 หน่วยกิต)

(101 หน่วยกิต)

 

        2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ

29 หน่วยกิต

42 หน่วยกิต

 

        2.2 วิชาชีพบังคับ

15 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

 

        2.3 วิชาชีพเลือก

33 หน่วยกิต

18 หน่วยกิต

 

        2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

 

        2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

15 หน่วยกิต

(6 หน่วยกิต)

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

    (3) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี 92 รายวิชา

เพิ่มรายวิชาใหม่ 7 รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

8 คน

5 คน

 

 

 

 

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

สาขาวิชาการบัญชี

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์