หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการท่องเที่ยว และการโรงแรม
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1.

ชื่อหลักสูตร

2.

ชื่อปริญญา

3.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4.

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.

กำหนดการเปิดสอน

6.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7.

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8.

ระบบการศึกษา

9.

ระยะเวลาการศึกษา

10.

การลงทะเบียนเรียน

11.

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12.

อาจารย์ผู้สอน

13.

จำนวนนักศึกษา

14.

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15.

ห้องสมุด

16.

งบประมาณ

17.

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการเรียนของนักศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18.

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19.

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก ก

 

ภาคผนวก ข

 

ภาคผนวก ค

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พุทธศักราช 2549

 

*************

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Tourism and Hotel

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)
  Bachelor of Arts in Tourism and Hotel
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (การท่องเที่ยวและการโรงแรม)
  B.A. (Tourism and Hotel)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งผลิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มุ่งเน้นทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ และยึดหลักความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับชุมชน นำไปสู่การพัฒนา ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                4.2.1 สามารถประกอบอาชีพโดยใช้ความรู้ ทักษะและเทคนิคเฉพาะทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน และประกอบอาชีพอิสระได้
                4.2.2 นำความรู้ทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนา และปรับปรุงความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตของตน และสังคมได้อย่างเหมาะสม
                4.2.3 ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาการทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ สังคม และสภาพแวดล้อม
                4.2.4 พัฒนาและส่งเสริมจริยธรรม คุณธรรม เจตคติ และศรัทธาในการประกอบอาชีพทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาสังคมได้เป็นอย่างดี

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        เป็นระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในภาคการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยหนึ่งภาคการศึกษามีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้ มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และจะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียน ได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม รายชื่ออาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการมีดังต่อไปนี้

                สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม

ที่

ชื่อ-นามสกุล

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางลาวรรณ เหมพิจิตร

    ค.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
    ศศ.บ.(อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) วิทยาลัยครูธนบุรี

ประสบการณ์การทำงาน

    รองผู้จัดการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจ( อาคารต้นน้ำ )
    -  ผู้จัดการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจ( อาคารต้นน้ำ )

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  รองหัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมบริการ
    -  รองประธานโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

รายวิชาที่สอน

    -  หลักการโรงแรม
    -  การจัดการการโรงแรม
    -  อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    -  การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ
    -  การจัดการงานแม่บ้าน
    -  การตลาดเพื่ออุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
    -  ศิลปะการต้อนรับและการสื่อสารในงานบริการ
    -  จิตวิทยาบริการ

2

นายกฤษฏิ์ติณณ์ พันธุ์ไพโรจน์

    -  ศศ.ม. (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  ศศ.บ. เกียรตินิยมอันดับ 1 (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว) วิทยาลัยครูสวนสุนันทา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  มัคคุเทศก์ทั่วไป (ภาษาต่างประเทศ) In-bound, Domestic
    -  ศึกษาดูงานด้านบริหารจัดการ ณ มหาวิทยาลัยสิงคโปร์
    -  ศึกษาดูงานด้านการศึกษา ณ UNIVERSITY OF EDACOGY
       ประเทศเวียดนาม
    -  ศึกษาดูงานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ณ UNIVERSITY OF
       SOCIAL SCIENCES & HUMANITIES ประเทศเวียดนาม
    -  รองผู้จัดการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพธุรกิจ( อาคารต้นน้ำ )
    -  หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมนักศึกษาสถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  หัวหน้าภาควิชาอุตสาหกรรมบริการ
    -  ประธานโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

รายวิชาที่สอน

    -  หลักการมัคคุเทศก์
    -  ธุรกิจการบิน
    -  การสำรองที่นั่งและการจัดจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน
    -  พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว
    -  การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว
    -  อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
    -  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

3

นางจุฑาภัทร์ รินทร์ศรี

    -  นศ.ม.(การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  ศศ.บ.(การสื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์ทำงาน

    -  สอบผ่านผู้ประกาศข่าวจากกรมประชาสัมพันธ์
    -  ผ่านการอบรมหลักสูตรนักจัดรายการวิทยุกระจายเสียง
    -  เป็นวิทยากรภาครัฐและเอกชน
    -  รองหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยฯ หน้าที่นักจัดรายการวิทยุ
       สวท. 93.25 MHz
    -  อาจารย์ภาควิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยโยนกลำปาง 3 ปี

ผลงานทางวิชาการ

    -  บทเรียนออนไลน์ (E-Learning) วิชาหลักการประชาสัมพันธ์
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักการประชาสัมพันธ์
    -  เกียรติบัตรอาจารย์ผู้สอนโดยกระบวนการ Activc Learning ดีเด่น
       ปี 2546-2547

งานวิจัย

    -  กระบวนการพัฒนาและสืบทอดภูมิปัญญา การผลิตน้ำตาลโตนด ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองหัวหน้าภาควิชานิเทศศาสตร์

รายวิชาที่สอน

    -  หลักการประชาสัมพันธ์
    -  การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์
    -  การวางแผนการประชาสัมพันธ์
    -  การโน้มน้าวใจเพื่อการประชาสัมพันธ์
    -  ประชามติ
    -  การผลิตและจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเพื่อประชาสัมพันธ์
    -  การพูดและการแสดงทางวิทยุกระจายเสียง
    -  วิจัยนิเทศศาสตร์
    -  การวิจัยการประชาสัมพันธ์
    -  หลักนิเทศศาสตร์
    -  หลักการสื่อสารมวลชน
    -  การเขียนข่าวเบื้องต้น
    -  การจัดสัมมนา
    -  การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

4

นางจรรยา อุปัญญ์

    -  นศ.ม.(การสื่อสารมวลชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  ค.บ. เกียรตินิยมอันดับ 1 (การประถมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์การทำงาน

    -  เลขานุการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์
    -  ผู้ช่วยเลขานุการและคณะฯ
    -  หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมและประสานงานวิจัย
    -  วิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน
    -  ศึกษาดูงานและด้านวัฒนธรรมเมืองสิบสองปันนาประเทศจีน

การอบรม/สัมมนาวิชาการ

    -  บทบาทของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญและ มีส่วนร่วมต่อ
       ประชาคม
    -  เจ้าหน้าที่รายการวิทยุกระจายเสียง
    -  Television with the Betacam SP System
    -  การสร้างสื่อการเรียนการสอน Multimedia, Microsoft Powerpoint 97
       การสร้างโฮมเพจด้วย Frontpage 2000
    -  โครงการสิทธิการรับรู้และการใช้ข้อมูลข่าวสารตามพรบ.ข้อมูล ข่าวสารของ
       รายการ พ.ศ.2540
    -  Communication in Democratic Sociey
    -  กรรมการคัดเลือกโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพดีเด่นประจำปี 2543ฯลฯ

ผลงานทางวิชาการ

    -  บทความปฏิรูปสื่อมวลชนเริ่มที่ใคร(นิเทศทัศน์ ,2545)
    -  E-Learning วิชากฎหมาย สื่อสารมวลชน
    -  บทเรียนออนไลน์วิชานิเทศศาสตร์
    -  Active Learning วิชาการวางแผนรณรงค์เพื่อการโฆษณา

งานวิจัย

    -  กระบวนการพัฒนาและการสืบทอดภูมิปัญญาการผลิตน้ำตาลโตนด โดย
       ความร่วมมือกับชุมชนตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
    -  การพัฒนารูปแบบการรณรงค์โฆษณาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
       ของอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ
    -  รองหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์

รายวิชาที่สอน

    -  หลักนิเทศศาสตร์
    -  หลักการสื่อสารมวลชน
    -  หลักการโฆษณา
    -  กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน
    -  การวิจัยนิเทศศาสตร์
    -  การวิจัยโฆษณา
    -  การวางแผนรณรงค์เพื่อการโฆษณา
    -  การวางแผนสื่อโฆษณา
    -  การบริหารงานโฆษณา
    -  การสัมมนาการโฆษณา
    -  โฆษณากับสังคม
    -  การศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ผลการโฆษณา
    -  ธุรกิจงานโฆษณา
    -  การสร้างสรรค์และผลิตสื่อโฆษณา
    -  การผลิตรายการโทรทัศน์
    -  การเขียนบทโฆษณา
    -  การเขียนบทโฆษณาชั้นสูง
    -  หลักการตลาด
    -  การวิจัยตลาด
    -  ประชามติ
    -  การจัดนิทรรศการ
    -  การสื่อข่าวและการเขียนข่าวทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
    -  การเขียนบทความและสารคดี

5

นางจารุวรรณ ชอบประดิต

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    -  ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษ) วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม พิษณุโลก
    -  ประกาศนียบัตรสาขาวิชามัคคุเทศก์ สถาบันการโรงแรมและการท่องเที่ยว จังหวัดชลบุรี

ฝึกงาน

    -  แผนกต้อนรับ โรงแรมดุสิตรีสอร์ท พัทยา
    -  ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ประสบการณ์การทำงาน

    -  บริษัท ฮอลิเดย์ ทัวร์
    -  บริษัท เวียง แทรเวิล
    -  บริษัท บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส

    -  หลักการโรงแรม
    -  การจัดการโรงแรม
    -  หลักการมัคคุเทศก์

13. จำนวนนักศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

รวม

40

80

120

160

160

บัณฑิตที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

-

-

-

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        1. ห้องพักอาจารย์ประจำสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

        2. ห้องปฏิบัติการสาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

        3. ห้องเรียนตามที่มหาวิทยาลัยจัดให้

        4. เอกสาร ตำราภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ ซีดี วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ต่างๆ ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆ ของสาขาวิชาดังนี้

            4.1 เอกสาร ตำรา

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

40

40

2

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย

15

20

3

หลักการโรงแรม

10

20

4

ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว

5

20

5

ภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรม

5

20

6

การจัดการอุตสาหกรรมบริการ

5

20

7

จิตวิทยาบริการ

5

20

8

หลักการมัคคุเทศก์

10

20

9

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

10

20

10

ปฐมบทการท่องเที่ยว

3

10

11

การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ

2

10

12

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

5

10

13

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

2

10

14

ธุรกิจการบิน

3

10

15

การบริการอาหารและเครื่องดื่ม

5

10

16

ภูมิศาสตร์

10

10

17

เครื่องดื่ม

3

5

18

อาหารไทย

3

5

19

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

5

10

20

การจัดการส่วนหน้า

5

10

21

การจัดการงานแม่บ้าน

5

10

22

การจัดเลี้ยง

3

10

23

การบริการห้องพัก

3

10

24

ภาษาจีน

15

15

25

ภาษาญี่ปุ่น

15

15

26

ภาษาฝรั่งเศส

15

15

27

การแกะสลักผักและผลไม้

5

10

28

การจัดดอกไม้

10

10

29

ประวัติศาสตร์ไทย

5

10

30

ประวัติศาสตร์ศิลป์

3

5

31

การวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยว

1

5

32

กฎหมายแรงงาน

10

10

33

Tourism Principle and Practice

1

2

34

Consumer Behavior in Tourism

1

2

35

Travel Vision

1

2

36

Tourism Management

1

2

37

Hotel Management

1

2

38

Hospitality Management

1

2

39

Tourism Marketing

1

2

40

Travel Agency Guide to Business Travel

1

2

            4.2 วารสาร

ที่

ชื่อวารสาร

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

อสท

1

1

2

เที่ยวรอบโลก

1

1

3

แหล่งท่องเที่ยวไทย

1

1

4

ท่องเที่ยวตกปลา

1

1

5

ศิลปวัฒนธรรม

1

1

6

Unseen Thailand

2

2

7

Young Traveler

1

1

8

Camping

1

1

        4.3 วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์

ที่

วัสดุอุปกรณ์

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

แถบบันทึกภาพ

70

70

2

แถบบันทึกเสียง

30

30

3

คอมพิวเตอร์

1

3

4

วิทยุเทป

1

1

5

โทรทัศน์

1

1

6

เครื่องเล่นแถบบันทึกภาพ

1

1

7

เครื่องฉายสไลด์

1

1

8

กล้องถ่ายภาพนิ่ง

4

4

9

กล้องถ่ายภาพดิจิตอล

1

3

10

กล้องบันทึกภาพ

1

1

11

เครื่องพิมพ์

1

3

15. ห้องสมุด

1. ห้องสมุดคณะวิทยาการจัดการ

2. ห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัย

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2549

2550

2551

2552

2553

ค่าตอบแทน

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

100,000

80,000

200,000

100,000

100,000

220,000

100,000

120,000

240,000

100,000

140,000

260,000

100,000

160,000

280,000

รวมงบดำเนินการ

380,000

420,000

460,000

500,000

540,000

งบลงทุน

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าที่ดิน

400,000

400,000

500,000

500,000

600,000

รวมงบลงทุน

400,000

400,000

500,000

500,000

600,000

รวมทั้งหมด

780,000

820,000

960,000

1,000,000

1,140,000

17. หลักสูตร

        17.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

                หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรดังนี้

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

94

 

1. วิชาพื้นฐานวิชาชีพ

36

 

2. วิชาชีพ (บังคับ)

42

 

3. วิชาชีพ (เลือก)

9

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

7

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

131

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2, 3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6, 7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์

                2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ

                4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม #9; (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม #9; (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย – ปฏิบัติ – ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ x 2

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี + จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ + จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 94 หน่วยกิต

            1) วิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 36 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 
 

Introduction to Business Operation

   

3242211

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

Computer and Information Technology

3401101

การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ

3(2-2-5)

Personality Development for Hospitality Industry

3401601

การจัดการอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

Hospitality Industry Management

3402101

จิตวิทยาบริการ

3(3-0-6)

Service Psychology

3402601

การตลาดในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 
 

Marketing Management for Hospitality Industry

   

3402602

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 
 

Human Resource Management for Hospitality Industry

   

3404101

ธุรกิจการบิน

3(2-2-5)

 
 

Airline Business Management

   

3411101

หลักและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 
 

Principles and Tourism Industry Management

   

3421101

หลักการโรงแรม

3(2-2-5)

 
 

Introduction to Hotel Management

   

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 
 

General Economics

   

4613202

ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย

3(2-2-5)

 
 

Knowledge of Thai Food

   

            2) วิชาชีพ บังคับ จำนวน 42 หน่วยกิต มีรายวิชาจำแนกตามวิชาเอกดังต่อไปนี้

                        วิชาชีพ บังคับ (วิชาเอกการท่องเที่ยว)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 
 

Aesthetics

   

2113201

ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

3(3-0-6)

 
 

Local Arts and Culture

   

2442702

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย

3(3-0-6)

 
 

Geography of Thai Tourism

   

2463707

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 
 

Tourism Laws

   

2473104

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

 
 

Thai History and Culture

   

3401401

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 1

3(3-0-6)

 
 

English for Tourist Guide 1

   

3401402

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 2

3(3-0-6)

 
 

English for Tourist Guide 2

   

3401403

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 3

3(3-0-6)

 
 

English for Tourist Guide 3

   

3401404

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 4

3(3-0-6)

 
 

English for Tourist Guide 4

   

3402104

พุทธศาสนาในประเทศไทย

3(3-0-6)

 
 

Buddhism in Thailand

   

3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

 
 

Tourist Guide

   

3412201

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

3(2-2-5)

 
 

Eco – Tourism Management

   

3413201

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

3(2-2-5)

 
 

Tourist Behavior

   

3413501

การวางแผนและการจัดการรายการนำเที่ยว

3(2-2-5)

 
 

Planning and Managing Tour Programme

   

                    วิชาชีพ บังคับ (วิชาเอกการโรงแรม)

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2462401

กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรมและแรงงานสัมพันธ์

3(3-0-6)

 
 

Hotel Laws and Labour Relations

   

3401411

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 1

3(3-0-6)

 
 

English for Hotel Staff 1

   

3401412

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 2

3(3-0-6)

 
 

English for Hotel Staff 2

   

3401413

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 3

3(3-0-6)

 
 

English for Hotel Staff 3

   

3401414

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 4

3(3-0-6)

 
 

English for Hotel Staff 4

   

3402501

การบริการอาหารและเครื่องดื่ม

3(2-2-5)

 
 

Food and Beverage Operation

   

3403101

การจัดเลี้ยง

3(2-2-5)

 
 

Catering

   

3421102

การจัดการโรงแรม

3(2-2-5)

 
 

Hotel Management

   

3423101

การพัฒนาบุคคลและฝึกอบรมในธุรกิจโรงแรม

3(3-0-6)

 
 

Hotel Personnel Planning and Development

   

3423201

ศิลปะการขายในงานโรงแรม

3(2-2-5)

 
 

Selling Technique in Hotel

   

4612210

อาหารว่าง

2(1-2-3)

 
 

Snack Cookery

   

4613201

เครื่องดื่ม

2(1-2-3)

 
 

Beverage

   

4614201

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารนานาชาติ

3(2-2-5)

 
 

Introduction to International Foods

   

4652101

การจัดดอกไม้แบบธรรมชาติ

3(2-2-5)

 
 

Floral Arrangement in Natural Style

   

4653101

การแกะสลักผักและผลไม้

2(1-2-3)

 
 

Vegetable and Fruit Carving

   

            3) วิชาชีพ เลือก ให้เลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่งไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2272104

ภาษาจีน 1

3(3-0-6)

 
 

Chinese 1

   

2273606

การสนทนาภาษาจีน

2(1-2-3)

 
 

Chinese Conversation

   

2273710

ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว

2(2-2-2)

 
 

Chinese for Tourism

   

2274704

ภาษาจีนเพื่อการโรงแรม

2(2-2-2)

 
 

Chinese for Hotel

   

2322101

ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น

3(3-0-6)

 
 

French for Beginner

   

2322701

ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 
 

French for Tourism

   

2322702

ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการโรงแรม

3(3-0-6)

 
 

French for Hotel

   

            4) วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3404801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

2(90)

 
 

Preparation for Professional Experience in Hospitality Industry

   

3404802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

5(450)

 
 

Field Experience in Hospitality Industry

   

        ค.หมวดวิชาเลือกเสรี ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฎโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียน โดยไม่นับหน่วยกิตในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

        17.4 แผนการเรียนของนักศึกษา

                วิชาเอกการท่องเที่ยว

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิช

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

3401101

การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ

3(2-2-5)

 

3411101

หลักและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

เลือก 1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2000107

ชีวิตกับนาฏการ

2(2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2(2-0-4)

เลือกเรียน

1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

3401601

การจัดการอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 
 

รวม

19

 

ชั้นปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2442702

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย

3(3-0-6)

 

2463707

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 

3401401

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 1

3(3-0-6)

 

3402104

พุทธศาสนาในประเทศไทย

3(3-0-6)

 

3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

 

3421101

หลักการโรงแรม

3(2-2-5)

 

0000000

วิชาเลือกเสรี 1

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

3401402

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 2

3(3-0-6)

 

3402601

การตลาดในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

3402602

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

3412201

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

3(2-2-5)

 

0000000

วิชาเลือกเสรี 2

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2113201

ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

3(3-0-6)

 

2473104

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

 

3401403

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 3

3(3-0-6)

 

3402101

จิตวิทยาบริการ

3(3-0-6)

 

3413201

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

3(2-2-5)

 

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 1

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3401404

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 4

3(3-0-6)

 

3404101

ธุรกิจการบิน

3(2-2-5)

 

3413501

การวางแผนและการจัดการรายการนำเที่ยว

3(2-2-5)

 

4613202

ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย

3(2-2-5)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 2

3(3-0-6)

 
 

รวม

15

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3242211

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

3404801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

2(90)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 3

3(3-0-6)

 
 

รวม

8

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3404802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

5( 450 )

 
 

รวม

5

 

                วิชาเอกการโรงแรมรมรม

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

3401101

การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ

3(2-2-5)

 

3411101

หลักและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

เลือก 1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2000107

ชีวิตกับนาฏการ

2(2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

เลือกเรียน1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2 (1-2-3)

3401601

การจัดการอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 
 

รวม

19

 

ชั้นปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2462401

กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรมและแรงงานสัมพันธ์

3(3-0-6)

 

3401411

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 1

3(3-0-6)

 

3402501

การบริการอาหารและเครื่องดื่ม

3(2-2-5)

 

3421101

หลักการโรงแรม

3(2-2-5)

 

4612210

อาหารว่าง

2(1-2-3)

 

4652101

การจัดดอกไม้แบบธรรมชาติ

3(2-2-5)

 

0000000

วิชาเลือกเสรี 1

3(3-0-6)

 
 

รวม

20

 

ชั้นปีที่2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

3401412

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 2

3(3-0-6)

 

3402601

การตลาดในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

3402602

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

3421102

การจัดการโรงแรม

3(2-2-5)

 

3423201

ศิลปะการขายในงานโรงแรม

3(2-2-5)

 

0000000

วิชาเลือกเสรี 2

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3401413

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 3

3(3-0-6)

 

3402101

จิตวิทยาบริการ

3(3-0-6)

 

3403101

การจัดเลี้ยง

3(2-2-5)

 

3423101

การพัฒนาบุคคลและฝึกอบรมในธุรกิจโรงแรม

3(3-0-6)

 

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

4613201

เครื่องดื่ม

2(1-2-3)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 1

3(3-0-6)

 
 

รวม

20

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3401414

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 4

3(3-0-6)

 

3404101

ธุรกิจการบิน

3(2-2-5)

 

4613202

ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย

3(2-2-5)

 

4653101

การแกะสลักผักและผลไม้

2(1-2-3)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 2

3(3-0-6)

 
 

รวม

14

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3242211

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

4614201

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารนานาชาติ

3(2-2-5)

 

3404801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

2(90)

 

0000000

เลือกภาษาต่างประเทศ 3

3(3-0-6)

 
 

รวม

11

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3404802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

5( 450 )

 
 

รวม

5

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน 36 หน่วยกิต

รหัสวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาถึงลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคลการบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภท ต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รหัสวิชา 3242211

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

Computer and Information Technology

 

        ศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ศึกษาโปรแกรมประยุกต์ การนำเสนอสารสนเทศ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสังคมปัจจุบันและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ในอนาคต รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง

รหัสวิชา 3401101

การพัฒนาบุคลิกภาพในอุตสาหกรรมบริการ

3(2-2-5)

 

Personality Development for Hospitality Industry

 

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของบุคลิกภาพ มารยาททางสังคมองค์ประกอบที่ทำให้มนุษย์มีบุคลิกภาพต่างกัน บุคลิกภาพของบุคลากรใน อุตสาหกรรมบริการ การปรับพฤติกรรม มนุษยสัมพันธ์และการส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรเพื่อพัฒนา การทำงาน

รหัสวิชา 3401601

การจัดการอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

Hospitality Industry Management

 

        ศึกษาหลักในการจัดการธุรกิจการบริการประเภทต่างๆ ลักษณะของธุรกิจบริการ การประยุกต์ นำหลักการทางการจัดการไปใช้ในธุรกิจบริการ

รหัสวิชา 3402101

จิตวิทยาบริการ

3(3-0-6)

 

Service Psychology

 

        ศึกษาถึงแนวคิดพื้นฐานของความต้องการของบุคคล และแนวคิดในเรื่องของการนำเอาทฤษฎีทางจิตวิทยามาใช้ประยุกต์กับความต้องการในด้าน การบริการของบุคคล รวมทั้งศึกษาถึงหลักในการบริการให้มีประสิทธิภาพ เทคนิคการจูงใจลูกค้า เทคนิคการแก้ปัญหาเมื่อลูกค้าไม่พอใจ และเทคนิคการใช้ มนุษยสัมพันธ์ในการบริการ

รหัสวิชา 3402601

การตลาดในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

Marketing Management for Hospitality Industry

 

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการตลาดทั่วไปและตลาดในอุตสาหกรรมบริการ รวมถึงการจัดการองค์การการตลาด วิเคราะห์โอกาสของการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงศึกษา วิเคราะห์ปัญหาทางการตลาดในอุตสาหกรรมบริการเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไข

รหัสวิชา 3402602

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ

3(3-0-6)

 

Human Resource Management for Hospitality Industry

 

ศึกษาความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขอบข่ายหน้าที่ ความรับผิดชอบและขั้นตอนในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การวางแผนกำลังคน การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมการพัฒนา การประเมินผล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมบริการ

รหัสวิชา 3404101

ธุรกิจการบิน

3(2-2-5)

 

Airline Business Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับภาษา ความหมายและขอบเขตของธุรกิจการบิน ประวัติธุรกิจการบิน สภาพทั่วไปของธุรกิจการบิน การขยายบริการของสายการบินและการขนส่งสินค้าทางอากาศ กฎระเบียบ นโยบายที่สำคัญของสายการบิน การจัดการธุรกิจการบินหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทการบินกับธุรกิจการบิน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศพร้อมทั้งศึกษาระบบการสำรองที่นั่ง วิธีการเขียนตั๋วเครื่องบิน การจัดจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน ระบบการสื่อสารภายในประเทศและระหว่างประเทศรวมทั้งการให้การบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน

รหัสวิชา 3411101

หลักและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 

Principles and Tourism Industry Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับขอบเขตการท่องเที่ยว ต้นกำเนิดและพัฒนาการของการท่องเที่ยวความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว องค์ประกอบและบทบาทของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนพัฒนาการจัดการ การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยวประเภทต่าง ๆการดำเนินงานธุรกิจท่องเที่ยว ประเภทของนักท่องเที่ยว ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

รหัสวิชา 3421101

หลักการโรงแรม

3(2-2-5)

 

Introduction to Hotel Management

 

        ศึกษาความเป็นมาของกิจการโรงแรม โครงสร้างของการปฏิบัติงานและการควบคุมภายในกิจการโรงแรม การจัดสายงาน การกำหนดหน้าที่ การดำเนินงานของแผนกและฝ่ายต่าง ๆ การติดต่อสัมพันธ์กับโรงแรมในเครือและนอกเครือ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งและควบคุมกิจการโรงแรม ความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ใช้บริการของโรงแรม และมารยาทของพนักงานในกิจการโรงแรม ข้อบกพร่องและแนวทางการแก้ไขในการดำเนินกิจการโรงแรม

รหัสวิชา 3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

General Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของวิชาเศรษฐสาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และกลไกทำงานของระบบราคา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบธุรกิจ การจัดหาและใช้ทรัพยากร การบริโภค การผลิต ตลาด สถาบันการเงิน การภาษีอากร การค้า การลงทุน ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหา

รหัสวิชา 4613202

ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย

3(2-2-5)

 

Knowledge of Thai Food

 

        ศึกษาลักษณะความสำคัญของอาหารไทย อาหารประจำภาค รู้จักส่วนประกอบการจัดรายการ กรรมวิธีในการปรุง หลักการจัดอาหารให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย การประดิษฐ์ดัดแปลงให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ การแกะสลัก การจัดเสิร์ฟ และมารยาทในการรับประทาน

 

        3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาชีพเฉพาะด้าน (บังคับ)

            วิชาเอกการท่องเที่ยว จำนวน 42 หน่วยกิต

รหัสวิชา 2112101

สุนทรียศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Aesthetics

 

        ศึกษาและจำแนกข้อต่างในศาสตร์ทางความงาม ความหมายของ สุนทรียศาสตร์เชิงการคิดกับสุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมโดยสังเขป ความสำคัญของการรับรู้กับความเป็นมาของศาสตร์ทางการเห็น ศาสตร์ทางการได้ยิน (และศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว สู่ทัศนศิลป์ ศิลปะดนตรี และศิลปะการแสดง ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่าจาก (1) ระดับการรำลึก (2) ผ่านขั้นตอนความคุ้นเคย และ (3) นำเข้าสู่ขั้นความซาบซึ้ง เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ของความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ

รหัสวิชา 2113201

ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น

3(3-0-6)

 

Local Arts and Culture

 

        ศึกษาเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่น หัตถกรรม กีฬา ตลอดจนวรรณกรรม

รหัสวิชา 2442702

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย

3(3-0-6)

 

Geography of Thai Tourism

 

        ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย เกี่ยวกับที่ตั้ง การเข้าถึงและเส้นทางคมนาคม สภาพทางธรรมชาติและการกำเนิดของแหล่งท่องเที่ยว สภาพทางด้านวัฒนธรรมและประวัติของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว องค์ประกอบที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว สถานบริการและหน่วยงานที่ดำเนินงานการท่องเที่ยว การวางแผนงานสำหรับการจัดการท่องเที่ยวและฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

รหัสวิชา 2463707

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 

Tourism Laws

 

        ศึกษาความสำคัญและสาระสำคัญของระเบียบ และกฎหมายเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พ.ร.บ. คนเข้าเมือง 2522 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ 2504 พ.ร.บ. สถานีบริการ 2509 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 พระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ร.บ. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 พ.ร.บ. โรงแรม พุทธศักราช 2478 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511 ประมวลรัษฎากร พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469

รหัสวิชา 2473104

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

 

Thai History and Culture

 

        ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไทย เมืองสำคัญ สถานที่สำคัญ บุคคลสำคัญ ของไทย ประวัติศาสตร์และตำนานท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยโดย ส่วนรวมและของท้องถิ่น การละเล่นในท้องถิ่นต่าง ๆ ของไทยวิวัฒนาการการดำรงชีวิตของคนไทย ให้มีความรู้ในสิ่งเหล่านี้จนสามารถอธิบายความเป็นมาแสดงความคิดเห็นและให้ทัศนวิจารณ์ได้

รหัสวิชา 3401401

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 1

3(3-0-6)

 

English for Tourist Guide 1

 

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับพื้นฐานที่ใช้งานมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปะต่าง ๆ โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด

รหัสวิชา 3401402

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 2

3(3-0-6)

 

English for Tourist Guide 2

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401401 ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 1)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับเบื้องต้นที่ใช้ในงานมัคคุเทศก์ ซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปะต่าง ๆ โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด

รหัสวิชา 3401403

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคเทศก์ 3

3(3-0-6)

 

English for Tourist Guide 3

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401402 ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 2)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับกลางรวมถึงการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในงานมัคคุเทศก์ โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด

รหัสวิชา 3401404

ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 4

3(3-0-6)

 

English for Tourist Guide 4

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401403 ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์ 3)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับสูงรวมถึงการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในงานมัคคุเทศก์ โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูด

รหัสวิชา 3402104

พุทธศาสนาในประเทศไทย

3(3-0-6)

 

Buddhism in Thailand

 

        ศึกษาประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติไทย เป็นแกนนำและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย เป็นแหล่งสำคัญที่หล่อหลอมเอกลักษณ์ของชาติไทย การนำเอาความจริง และหลักศาสนธรรมไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา และพัฒนาปัญญา ชีวิตและสังคม การพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรมตามหลักศาสนธรรมชีวิตที่มีสันติสุข และสังคมที่มีสันติภาพ

รหัสวิชา 3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

 

Tourist Guide

 

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และบทบาทของมัคคุเทศก์ที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บุคลิกลักษณะที่จำเป็นของมัคคุเทศก์ บทบาทใน การวางตัว การพูดจา และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ ความสามารถในการเป็น ผู้นำการท่องเที่ยว ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานมัคคุเทศก์ เช่น การตรวจคนเข้าเมือง การควบคุม และการแลกเปลี่ยนเงินตรา ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ และเอกสารประกอบการเดินทาง การตรวจลงตรา ระเบียบพิธีทางศุลกากร ลักษณะอุปนิสัย รสนิยมของนักท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวต่างประเทศที่ควรทราบ และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รหัสวิชา 3412201

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

3(2-2-5)

 

Eco – Tourism Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบและประเภทของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศกับทรัพยากรการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติ และอุทยาน แห่งชาติทางทะเลหน้าที่สำคัญ และประโยชน์ของอุทยานแห่งชาติ การจัดการ นันทนาการและการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสิ่งอำนวย ความสะดวกต่อนักท่องเที่ยวในเขตอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้อง ออกภาคสนามไปศึกษาระบบการบริหารจัดการและกิจกรรมต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติอย่างน้อย 1 อุทยานฯ

รหัสวิชา 3413201

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว

3(2-2-5)

 

Tourist Behavior

 

        ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่แตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม และศาสนาของนักท่องเที่ยว การจำแนกประเภทของนักท่องเที่ยวตามวัย เพศ สถานภาพ วัตถุประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักท่องเที่ยว โดยมีการออกภาคสนามเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยว ณ สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรมหรือสถานที่สำคัญต่างๆ

รหัสวิชา 3413501

การวางแผนและการจัดการรายการนำเที่ยว

3(2-2-5)

 

Planning and Managing Tour Programme

 

        ศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการท่องเที่ยว การสำรวจเส้นทางเพื่อกำหนดแหล่งท่องเที่ยว การจัดการรายการท่องเที่ยว การวางแผนการใช้ งบประมาณ การดำเนินการ ผลกำไรทางธุรกิจ รวมถึงการจัดแผนการท่องเที่ยว โดยเน้นความปลอดภัยตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น และสัมพันธ์ กับกฎหมายการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ทั้งนี้นักศึกษาต้องวางแผนการจัดการรายการนำเที่ยวไปตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง

 

        4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาชีพเฉพาะด้าน(บังคับ)

            วิชาเอกการโรงแรม จำนวน 42 หน่วยกิต

รหัสวิชา 2462401

กฎหมายเกี่ยวกับโรงแรมและแรงงานสัมพันธ์

3(3-0-6)

 

Hotel Laws and Labour Relations

 

        ศึกษาความสำคัญและสาระสำคัญของระเบียบ กฎหมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ. การโรงแรม พ.ศ. 2478 และเพิ่มเติม , พ.ร.บ. สถานบริการ 2509 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับฝ่ายบริการ ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ กระบวนการเจรจาต่อรอง การนัดหยุดงาน นโยบายแรงงานและภาวะการทำงาน กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง

รหัสวิชา 3401411

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 1

3(3-0-6)

 

English for Hotel Staff 1

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับพื้นฐานที่ใช้ในงานโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟัง และการพูด

รหัสวิชา 3401412

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 2

3(3-0-6)

 

English for Hotel Staff 2

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401411 ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 1)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับเบื้องต้นที่ใช้ในงานโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟัง และการพูด

รหัสวิชา 3401413

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 3

3(3-0-6)

 

English for Hotel Staff 3

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401412 ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 2)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับกลางที่ใช้ในงานโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟัง และการพูด

รหัสวิชา 3401414

ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 4

3(3-0-6)

 

English for Hotel Staff 4

 

(วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 3401413 ภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม 3)

        ศึกษา ศัพท์ สำนวน ประโยค โครงสร้างและทักษะทางภาษาระดับสูงที่ใช้ในงานโรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการพัฒนาทักษะด้านการฟัง และการพูด

รหัสวิชา 3402501

การบริการอาหารและเครื่องดื่ม

3(2-2-5)

 

Food and Beverage Operation

 

        ศึกษาหลักการ วิธีการ ประเภทและรูปแบบของการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มการเตรียมการจัดโต๊ะอาหารแบบต่าง ๆ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดโต๊ะ อาหาร ศึกษารายการอาหาร มารยาทและการปฏิบัติในการต้อนรับและบริการ

รหัสวิชา 3403101

การจัดเลี้ยง

3(2-2-5)

 

Catering

 

        ศึกษาและปฏิบัติงานด้านภัตตาคารและการจัดเลี้ยง วิธีการทางการรับรองงานจัดเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถานที่ ศึกษาในโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานจัดเลี้ยง ความสัมพันธ์ของแผนกจัดเลี้ยงกับแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและวิธีการจัดทำเมนูอาหาร การควบคุมดูแลงานจัดเลี้ยง การจัดทำรายงาน

รหัสวิชา 3421102

การจัดการโรงแรม

3(2-2-5)

 

Hotel Management

 

        ศึกษาความเป็นมาของกิจการโรงแรม ระบบการบริหารงานของโรงแรมขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ความเป็นไปได้ในการก่อตั้งโรงแรม การบริหารโรงแรมในรูปแบบต่าง ๆ การศึกษาในเรื่องของ และ การศึกษาโครงสร้างของการปฏิบัติงาน การจัดสายงาน การกำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ โปรแกรมประยุกต์ด้านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ กับงานด้านโรงแรมศึกษาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติโรงแรม ความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการของโรงแรม การพัฒนาบุคลากร ศึกษาถึงข้อบกพร่องและแนวทางการแก้ไขในการดำเนินกิจการโรงแรม

รหัสวิชา 3423101

การพัฒนาบุคคลและฝึกอบรมในธุรกิจโรงแรม

3(3-0-6)

 

Hotel Personnel Planning and Development

 

        ศึกษาแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ความสำคัญในการวางแผนและนโยบาย รวมทั้งการพยากรณ์กำลังคนในระยะสั้นและระยะยาวในโรงแรมการสำรวจและวิเคราะห์กำลังคนที่มีอยู่และความสามารถของบุคลากร การจัดลำดับ ความสำคัญของตำแหน่งในโรงแรมตั้งแต่ระดั หัวหน้างานขึ้นไป คุณสมบัติของพนักงานที่ทำงานในโรงแรมจำแนกตามระดับการศึกษา การคัดเลือกพนักงาน ศึกษาการจัดโปรแกรมฝึกอบรมเทคนิคการฝึกอบรมแบบต่าง ๆ การประเมินผลและปัญหาในการพัฒนาและการฝึกอบรม

รหัสวิชา 3423201

ศิลปะการขายในงานโรงแรม

3(2-2-5)

 

Selling Technique in Hotel

 

        ศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขาย ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาย และศึกษาถึงพฤติกรรมของลูกค้าผู้มาใช้บริการ ปัญหาในการให้บริการและเทคนิคในการแก้ไขปัญหา การใช้จิตวิทยาและมนุษยสัมพันธ์ในการขาย การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้มาใช้บริการตลอดจนจรรยาบรรณของนักขายและผู้ให้บริการ

รหัสวิชา 4612210

อาหารว่าง

2(1-2-3)

 

Snack Cookery

 

        ความหมาย ประเภท ประโยชน์ของอาหารว่าง เทคนิคในการประกอบอาหารว่าง การจัดและการเสิร์ฟอาหารว่างของคนไทย และนานาชาติ การคิดต้นทุนและกำหนดราคาขาย การจัดบรรจุหีบห่อและการจัดจำหน่าย ฝึกปฏิบัติอาหารว่างไทยและนานาชาติ

รหัสวิชา 4613201

เครื่องดื่ม

2(1-2-3)

Beverage

 

        ความสำคัญของเครื่องดื่ม ประเภทของเครื่องดื่ม เครื่องมือเครื่องใช้ในการผสมและการบริการ การผสมเครื่องดื่มชนิดที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ การจัดเครื่องดื่มให้เหมาะสมกับรายการอาหาร มารยาทในการบริการของพนักงาน บริการเครื่องดื่ม ฝึกปฏิบัติการผสมและการให้บริการเครื่องดื่ม

รหัสวิชา 4614201

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารนานาชาติ

3(2-2-5)

 

Introduction to International Foods

 

        ศึกษาลักษณะสำคัญของอาหารนานาชาติ ความแตกต่างของลักษณะอาหารประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญ รู้จักรายการอาหาร ชื่อและส่วนประกอบของอาหาร กรรมวิธีการปรุง รวมทั้งการจัดเสิร์ฟและวิธีการรับประทานอาหาร มารยาทในการรับประทานของชนชาติต่าง ๆ

รหัสวิชา 4652101

การจัดดอกไม้แบบธรรมชาติ

3(2-2-5)

 

Floral Arrangement in Natural Style

 

        รูปแบบและการออกแบบจัดดอกไม้แบบไทยและสากล การเลือก การเตรียม การใช้ และการดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ การจัดดอกไม้ ฝึกปฏิบัติจัดดอกไม้แบบไทย และแบบสากลตามลักษณะธรรมชาติ

รหัสวิชา 4653101

การแกะสลักผักและผลไม้

2(1-2-3)

 

Vegetable and Fruit Carving

 

        คุณค่าและโอกาสใช้สอยผักและผลไม้แกะสลักปอกคว้าน การเลือก การเตรียมการใช้ และการดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ รูปแบบวิธีการ ขั้นตอนการแกะสลัก นำหลักศิลปะมาฝึกปฏิบัติการแกะสลัก ปอก คว้านผักและผลไม้ เพื่อใช้ในการประดับภาชนะใส่อาหาร รับประทานในโอกาสพิเศษ ตลอดจนการนำไปใช้ในลักษณะอื่นๆ

 

        5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาชีพเฉพาะด้าน (เลือก)

            จำนวน 9 หน่วยกิต (เลือกเรียนภาษาใดภาษาหนึ่ง ดังนี้ )

รหัสวิชา 2272104

ภาษาจีน 1

3(3-0-6)

 

Chinese for Beginner

 

        ศึกษาเน้นในด้านการฟังและพูดภาษาจีนเบื้องต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ภาษานี้ในการทำงาน บทเรียนจะประกอบด้วยรูปแบบการสนทนาในชีวิตประจำวันอย่างง่าย

รหัสวิชา 2273606

การสนทนาภาษาจีน

2(1-2-3)

 

Chinese Conversation

 

        ฝึกสนทนาปากเปล่า เน้นสำเนียงที่เป็นมาตรฐาน การออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน การใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม

รหัสวิชา 2273710

ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยว

2(2-2-2)

 

Chinese for Tourism

 

        ฝึกทักษะในการด้านการฟัง และพูด ในภาษาสำนวนที่ใช้ในการบริการและแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยจัดสถานการณ์จำลองในการปฏิบัติงาน เช่น สนามบิน โรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า เป็นต้น

รหัสวิชา 2274704

ภาษาจีนเพื่อการโรงแรม

2(2-2-2)

 

Chinese for Hotel

 

        ฝึกทักษะในด้านการฟัง พูด สำนวนภาษาที่ใช้ในการบริการในโรงแรมโดยใช้สถานการณ์จำลอง และฝึกปฏิบัติในโรงแรม เช่น งานส่วนหน้า ภัตตาคาร บาร์ ร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น

รหัสวิชา 2322101

ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

French for Beginner

 

        ศึกษาเน้นในด้านการฟังและการพูดภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ภาษานี้ในการทำงาน บทเรียนจะประกอบด้วยรูปแบบการสนทนาในชีวิตประจำวันแบบง่าย

รหัสวิชา 2322701

ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

French for Tourism

 

        ศึกษาการใช้ภาษาฝรั่งเศสในธุรกิจการท่องเที่ยวในสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งศึกษานอกสถานที่

รหัสวิชา 2322702

ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการโรงแรม

3(3-0-6)

French for Hotel

        ฝึกการใช้ภาษาฝรั่งเศสในธุรกิจการโรงแรมในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมแผนกอาหารและเครื่องดื่ม

 

        6. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต

รหัสวิชา 3404801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

2(90)

 

Preparation for Professional Experience in Hospitality Industry

 

        จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ลักษณะ และโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ ศึกษา สังเกต และมีส่วนร่วมในการฝึกปฏิบัติงานด้านอุตสาหกรรมบริการในสถานการณ์จริง

รหัสวิชา 3404802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพอุตสาหกรรมบริการ

5(450)

 

Field Experience in Hospitality Industry

 

        จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางด้านอุตสาหกรรมบริการในหน่วยงาน สถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมบริการ โดยฝึกงานเกี่ยวกับภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ได้ศึกษามา จัดให้มีการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศเกี่ยวกับรายละเอียดของการฝึกงาน ตลอดจนอภิปรายปัญหาที่พบจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านอุตสาหกรรมบริการ ข้อเสนอแนะ และแนวทางแก้ไขปัญหา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนา หลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิ ภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้ก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

 

ภาคผนวก ก

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

        1.1 มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        1.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2545 ทำให้ได้มาตรฐาน หลักสูตร ชื่อหลักสูตร วิชาแกน วิชาบังคับ และวิชาเลือกบางส่วน

        1.3 สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2546

        1.4 ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฯ ณ ภาควิชาฯ เมื่อวันที่ 27-30 มิถุนายน 2548

        1.5 ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาทั่วไป ( ตามประกาศมหาวิทยาลัย ) และกลุ่มวิทยาการจัดการ

        1.6 วิพากษ์หลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ณ ห้องประชุม 812 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2548

        1.7 ปรับปรุงแก้ไข นำเสนอต่อมหาวิทยาลัย ฯ

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิ

        1. อาจารย์เกชา ดาดูเคล M.S. Hospitality and Tourism Management

        2. อาจารย์กฤษฏิ์ติณณิ์ พันธุ์ไพโรจน์ ศศ.ม.(ภาษาอังกฤษ)

        3. อาจารย์ลาวรรณ เหมพิจิตร ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)

        4. อาจารย์พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ M.A. (Tourism & Leisure )

        5. อาจารย์จุฑาภัทร์ รินทร์ศรี นศ.ม.(การสื่อสารมวลชน)

        6. อาจารย์จรรยา อุปัญญ์ นศ.ม.(การสื่อสารมวลชน)

        7. อาจารย์รัชนีวรรณ บุญนนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        8. อาจารย์ประพล จิตคติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        9. อาจารย์เยาวนาถ บางศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

        10. อาจารย์สุนทรีย์ รอดจิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

        11. นายสุรินทร์ นิลกำแหง กรรมการผู้จัดการเจ้าพระยาแทรเวล

        12. นายจักรกฤช ศีลาเจริญ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวอุทัยธานี

 

ภาคผนวก ข

 

ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ

การปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ

1. วิชาการศึกษาทั่วไป

    ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอว่าควรปรับจำนวนหน่วยกิตจาก 2 หน่วยกิต เป็น 3 หน่วยกิตทั้งหมด

1. วิชาการศึกษาทั่วไป

    ภาควิชาฯ ไม่สามารถปรับหน่วยกิตตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนะได้ เนื่องจากเกินความสามารถของภาควิชาฯ

2. วิชาด้านการโรงแรม สำหรับเอกการโรงแรม

    ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอว่าให้รวมวิชาการจัดการส่วนหน้ากับการจัดการงานแม่บ้านเป็นวิชาการจัดการโรงแรม

2. วิชาด้านการโรงแรม สำหรับเอกการโรงแรม

    ภาควิชาฯ ได้ปรับตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแล้ว

 

ภาคผนวก ค

แบบฟอร์มการนำเสนอหลักสูตรปรับปรุง

 

สิ่งที่ปรับปรุง

เหตุผลในการปรับปรุง

    1. ปรัชญาของหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. เนื่องจากปรัชญาของหลักสูตรและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิม เน้นภาพรวมด้านศิลปศาสตร์ จึงปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็น
        เฉพาะด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม

    2. ชื่อสาขาวิชา     2. เนื่องจากหลักสูตรเดิม “อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” มีการเรียนการสอนด้านท่องเที่ยวเพียงสาขาเดียว ดังนั้นเมื่อจัดทำหลักสูตร
        ใหม่ มีการเรียนการสอนด้านการโรงแรม จึงเปลี่ยนชื่อสาขาเป็น “การท่องเที่ยวและการโรงแรม”
    3. รหัสวิชา     3. เนื่องจากมหาวิทยาลัยกำหนดรหัสวิชาใหม่ จึงปรับรหัสวิชาเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งของมหาวิทยาลัย

 

 

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก