หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะ
วิทยาศาสตร์  และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตร

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

 

รายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

.....................................

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Information and Communication Technology

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  Bachelor of Science in Information and Communication Technology
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
  B.Sc. (Information and Communication Technology)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรอบรู้ด้านระบบฮาร์ดแวร์ ระบบซอฟต์แวร์ สามารถนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ในองค์กรเพื่อประโยชน์ในการจัดการ การวางแผน การตัดสินใจ ให้องค์กรบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล ด้วยกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาและพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง  ทั้งด้านความรู้และทักษะการใช้ความรู้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการบริหารจัดการ การวางแผน และการตัดสินใจเพื่อความสำเร็จขององค์กร
                3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างมีคุณภาพ
                4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
                5. เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นายวิฑูร สนธิปักษ์

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต รองหัวหน้าฝ่ายทะเบียนและวัดผล สำนักส่งเสริมวิชาการ

ผลงานวิจัย

    -  ระบบช่วยสร้างแบบสอบถามออนไลน์

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  หัวหน้าฝ่ายวิชาการและฝึกอบรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน
    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
    -  การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น
    -  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย
    -  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การออกแบบเว็บเพจ
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2

นายพงษ์ศักดิ์ ศิริโสม

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    -  วท.บ. (ศาสตร์คอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบสำนักคอมพิวเตอร์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบฐานข้อมูล
    -  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    -  กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์
    -  การบริหารศูนย์สารสนเทศ
    -  วิศวกรรมซอฟต์แวร์
    -  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    -  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    -  การบริหารโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3

นายธนพัฒน์ ภัยพยบ

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏเพชรบุรี

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่ายและการสื่อสาร
    -  อดีตหัวหน้าฝ่ายระบบเครื่องคอมพิวเตอร์
    -  อดีต รองผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    -  พัฒนาระบบงานทะเบียนและวัดผล
    -  พัฒนาระบบรับสมัครนักศึกษา
    -  พัฒนาระบบปฏิบัติการเบื้องต้นเพื่อการศึกษา

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  หลักการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
    -  การพัฒนาระบบสารสนเทศ
    -  ระบบค้นคืนสารสนเทศ
    -  การศึกษาเอกเทศด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
    -  การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ
    -  คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต
    -  สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ

4

นางนงเยาว์ ในอรุณ

    -  วท.ม.(เทคโนโลยีการจัดการระบบสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  ค.บ.(คอมพิวเตอร์ศึกษา) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้างานเลขานุการ สำนักงานอธิการบดี
    -  อดีต รองประธานโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ผลงานวิจัย

    -  Web-based Instruction of Introduction to Database
    -  ระบบสารสนเทศภาวการณ์ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  หลักการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
    -  การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
    -  การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    -  สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    -  หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ
    -  การบริหารโครงการ
    -  เทคโนโลยีสารสนเทศ

5

นางสาววัฒนาพร วัฒนชัยธรรม

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
    -  หัวหน้างานการให้บริการคอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี -
       สารสนเทศ
    -  อดีต ผู้ช่วยสำนักงานเลขานุการ
    -  พัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลแฟ้มทะเบียนประวัติอาชญากร บนระบบ
       เครือข่ายอินทราเน็ต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
    -  หัวหน้างานการให้บริการคอมพิวเตอร์ สำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยี -
       สารสนเทศ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  หลักการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
    -  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    -  การพัฒนาระบบสารสนเทศ
    -  สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล
    -  หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางภัคจิรา ศิริโสม

    -  วท.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์ เอกคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยี -
       พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้าสำนักงานเลขานุการสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  อดีต เลขานุการ โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  หัวหน้างานเลขานุการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบฐานข้อมูล
    -  การศึกษาเอกเทศด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
    -  การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์
    -  การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

2

นางกาญจนา ยลสิริธัม

    -  วท.ม.(การศึกษาวิทยาศาสตร์ เอกคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยี -
       พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    -  ค.บ.(คอมพิวเตอร์ศึกษา) สถาบันราชภัฏมหาสารคาม

ประสบการณ์การทำงาน

    -  รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนสนเทศ
    -  อดีต รองผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  การศึกษาเอกเทศด้านด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ

3

นายถุงเงิน ปานสำลี

    -  กศ.ม. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฯ (ประสานมิตร)
    -  กศ.บ.(ฟิสิกส์-คณิตศาสตร์)

ประสบการณ์การทำงาน

    -  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ
    -  อดีต รองอธิการบดีฝ่ายบริการ
    -  อดีต รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
    -  อดีต หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    -  ระบบค้นคืนสารสนเทศ
    -  กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

4

นายณรงค์ ทองอิสาณ

    -  กศ.ม.(อุตสาหกรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  อส.บ.(เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
       เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์
    -  อดีตผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์
    -  อดีตหัวหน้าฝ่ายยานพาหนะ

ผลงานวิจัย

    -  ระบบสารสนเทศภาวการณ์ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์
    -  การบริหารศูนย์สารสนเทศ
    -  การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5

นายถิรภัทร มีสำราญ

    -  วท.ม. (วิทยาการสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
       เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้าฝ่ายพัฒนาระบบงาน สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  กรรมการบริหารศูนย์วิทยาศาสตร์

ผลงานวิจัย

    -  ระบบสารสนเทศภาวการณ์ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์
    -  ระบบรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบฐานข้อมูล
    -  การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
    -  การพัฒนาระบบสารสนเทศ
    -  วิศวกรรมซอฟต์แวร์
    -  การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  การทำเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การออกแบบเว็บเพจ
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

6

นายนฤพนธ์ พนาวงศ์

    -  วท.ม. (วิทยาการสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
       เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    -  วท.บ.(วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครราชสีมา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อดีต หัวหน้าฝ่ายระบบเครือข่าย สำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลงานวิจัย

    -  ระบบสารสนเทศภาวการณ์ผลิตพืชเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์
    -  ระบบรายงานผลการเรียนผ่านโทรศัพท์มือถือ
    -  พัฒนาระบบ Internet Roaming

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    -  ระบบปฏิบัติการสำหรับระบบสารสนเทศ
    -  การพัฒนาระบบสารสนเทศ
    -  การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
    -  การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล
    -  การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  การทำเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล

7

นางสาวพิมพ์ชนก เทียมทิพร

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
       พระนครเหนือ
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  ระบบงานบุคลากรสถาบันราชภัฏนครสวรรค์
    -  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
    -  การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์
    -  การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    -  คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต
    -  การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    -  ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ
    - ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

8

นายประยุทธ สุระเสนา

    -  (ศึกษาต่อปริญญาโท) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
    -  ค.บ.(คอมพิวเตอร์ศึกษา) สถาบันราชภัฏมหาสารคามศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -  อดีต ผู้อำนวยการ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบ MIS มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบศูนย์ส่งออกข้าวแบบเบ็ดเสร็จ จังหวัดนครสวรรค์
    -  หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบ e-Office ของจังหวัดนครสวรรค์
    -  หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลจังหวัดนครสวรรค์

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบฐานข้อมูล
    -  การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
    -  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    -  กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์
    -  การบริหารศูนย์สารสนเทศ
    -  วิศวกรรมซอฟต์แวร์
    -  การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  การทำเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล
    -  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น
    -  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย
    -  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 

9

นายภาสกร วรอาจ

    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจและพาณิชยกรรม โรงเรียนเทคโนโลยีภาคเหนือ
    -  พัฒนาระบบสารสนเทศสถานีอนามัย

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน
    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
    -  การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น
    -  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย
    -  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การออกแบบเว็บเพจ
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

10

นางสาวณิชานภาพร จงกะสิกิจ

    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกหอพัก

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
    -  ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์
    -  การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ
    -  การเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ
    -  การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์
    -  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย
    -  เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
    -  การออกแบบเว็บเพจ
    -  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

13. จำนวนนักศึกษา

        13.1 จำนวนนักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

40

40

รวม

40

80

120

160

160

        13.2 จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

ปีการศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

2553

40

2554

40

2555

40

2556

40

2557

40

รวม

200

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 อาคารสถานที่

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

หมายเหตุ

1

ห้องพักอาจารย์ที่มีขนาดพอเหมาะ

1

1

 

2

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (20 เครื่อง)

1

-

 

3

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (30 เครื่อง)

4

4

 

        14.2 อุปกรณ์

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

หมายเหตุ

1

เครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์

2

2

 

2

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

155

130

 

3

เครื่องฉายภาพโปรเจคเตอร์

6

4

 

4

เครื่องฉายภาพ 3 มิติ

1

1

 

5

เครื่องแปลงสัญญาณภาพคอมพิวเตอร์

6

-

 

6

กล้องดิจิตอล

1

1

 

7

กล้องวิดีโอ

1

1

 

8

เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์

2

2

 

9

เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก

2

1

 

10

เครื่องสแกนเนอร์

2

1

 

11

เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

2

-

 

12

ชุดฝึกเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์

2

6

 

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

                15.1.1 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ รวมจำนวน 837 เล่ม
                15.1.2 ห้องสมุดภาควิชาคอมพิวเตอร์ มีหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับภาษาไทย และฉบับภาษาอังกฤษ รวมจำนวน 376 เล่ม

        15.2 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

        15.3 แหล่งวิทยาการและแหล่งฝึกงาน

            1. แหล่งวิทยาการ

                1.1 ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                1.2 ห้องสมุดในองค์กรอื่น ๆ

            2. แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

                แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานเอกชน ต่าง ๆ

                2.1 บริษัท ดับเบิ้ล พี คอมพิวเตอร์เซอร์วิส
                2.2 โรงพยาบาลเอกชนเมืองกำแพงเพชร
                2.3 ฝ่ายสื่อสารข้อมูล บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)
                2.4 โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ
                2.5 บริษัท ดาต้าเมต เอสทูเคชั่น จำกัด
                2.6 โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว
                2.7 โรงพยาบาลหนองฉาง
                2.8 บริษัท พีพีพี โซลูชั่น จำกัด
                2.9 สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                2.10 สาธารณสุข จังหวัดนครสวรรค์
                2.11 โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
                2.12 บริษัท นครสวรรค์อินเทอร์เน็ต จำกัด
                2.13 บริษัทสตราค์กรุ๊ปคอมพิวเตอร์ซับพาย
                2.14 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด
                2.15 โรงงานวัตถุระเบิด กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร
                2.16 สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
                2.17 บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด
                2.18 บริษัท วัชระคอมพิวเตอร์ เนทเวอร์ค แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด
                2.19 บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)
                2.20 อินเนอร์เทค ครอปอเรชั่น จำกัด
                2.21 สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครสวรรค์
                2.22 กลุ่มปฐีธรณีวิทยา ส่วนวิศวกรรมบริหาร สำนักชลประทานที่ ๓
                2.23 ร้าน ARK คอมพิวเตอร์
                2.24 บริษัท เอกคอมพิวเตอร์ นิว เทคโนโลยี จำกัด
                2.25 สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครสวรรค์
                2.26 บริษัท ดาต้า บิซิเนส ไอที จำกัด
                2.26 บริษัท ยูเนียนคอมพ์ แอนด์ เน็ตเวิร์ก จำกัด
                2.27 บริษัท Mappoint Asia (Thailand) จำกัด
                2.28 บริษัทโอบอ้อมอุตสาหกรรม(1994) จำกัด
                2.29 บริษัท เอส เจ ซี คอมพิวเตอร์ จำกัด
                2.30 ศูนย์คอมพิวเตอร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี
                2.31 บริษัท ดีโฟร์ดี จำกัด
                2.32 ฝ่ายข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โรงพยาบาลอุทัยธานี
                2.33 บริษัท ไทยแอฟพลิเคชั่นซอฟต์แวร์ จำกัด
                2.34 บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
                2.35 บริษัท Good living Maintenance Service จำกัด
                2.36 บริษัท TPN FLEX PAK จำกัด
                2.37 บริษัททรินิตี้ จำกัด
                2.38 ร้านเทคคอม เซอร์วิส
                2.39 ร้านแฮปปี้ แอ็ด
                2.40 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ชัยนาท แผนกห้องศูนย์ข้อมูลร่วมและระบบเครือข่าย
                2.41 ร้านเทคคอม เซอร์วิส แผนกช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
                2.42 ศูนย์เทคโนโลยีสาระสนเทศและสื่อสารหน่วยงานกลุ่มพัฒนาระบบบริการสุขภาพโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์แผนกศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร
                2.43 ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ แผนก LAN Server
                2.44 ค.ซี.คอมพิวเตอร์
                2.45 ร้าน เอส เค คอมพิวเตอร์ แอนด์ ซิสเต็ม
                2.45 โรงพยาบาลกองบิน 4แผนกศูนย์คอมพิวเตอร์

16. งบประมาณ

        ในการจัดการศึกษามีประมาณการงบประมาณภายในระยะ 5 ปี ดังนี้

หมวดรายจ่าย

ปีงบประมาณ พ.ศ.

2549

2550

2551

2552

2553

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าตอบแทน

1,200,000

200,000

80,000

80,000

1,200,000

300,000

80,000

80,000

1,200,000

400,000

80,000

80,000

1,200,000

500,000

100,000

80,000

1,200,000

500,000

100,000

80,000

รวม

1,560,000

1,660,000

1,760,000

1,880,000

1,880,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาชาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

94

 

1. วิชาแกน

31

 

2. วิชาเอกบังคับ

37

 

3. วิชาเอกเลือก

21

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวม

131

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 94 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 31 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

 

English for Science

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3553301

เศรษฐศาสตร์การจัดการ

3(3-0-6)

 

Managerial Economics

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3(3-0-6)

General Physics

4211302

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

4291606

คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์

3(3-0-6)

 

Mathematics for Computer

 

4302201

ความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Probability and Statistics

 

4311301

หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Principles of Programming

 

4311402

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Data Communications and Computer Networks

 

4312201

ระบบฐานข้อมูล

3(2-2-5)

 

Database System

 

4312203

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

3(2-2-5)

 

Management Information Systems

 

            (2) วิชาเอกบังคับ จำนวน 37 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3(3-0-6)

 

English for Technology

 

4311303

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

3(2-2-5)

 

Object Oriented Programming

 

4311403

ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน

3(2-2-5)

 

Operating Systems and Application

 

4312103

การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

Information Technology Project Management

4312204

ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

Information System Security

 

4312502

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

Information Technology Management

4312404

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(2-2-5)

Software Engineering

4312405

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

Information System Development

4312406

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

Information System Analysis and Design

 

4313402

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบแบบกระจาย

3(2-2-5)

 

Network and Distributed System

 

4313903

สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2(1-2-3)

 

Information and Communication Technology Seminar

 

4313904

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1

2(90)

 

Independent Study in Information and Communication Technology 1

4314904

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2

3(150)

 

Independent Study in Information and Communication Technology 2

            (3) วิชาเอกเลือก ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4311104

กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์

2(2-0-4)

Legal and Ethical Issues in Informatics Profession

4311203

สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า

3(2-2-5)

Information Science for Study and Research

4311202

ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ

3(2-2-5)

Office Automation Information Systems

4311304

การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล

3(2-2-5)

 

Visual Programming

 

4312102

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

Human-Computer Interaction

4312206

ระบบค้นคืนสารสนเทศ

3(2-2-5)

Information Retrieval Systems

4312301

การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ

3(2-2-5)

 

Web Programming

 

4312302

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ

3(2-2-5)

 

Computer Programming in Business

 

4312401

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

3(2-2-5)

 

Network Operating System

 

4312403

การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

3(2-2-5)

 

Object-Oriented Analysis and Design

 

4312407

การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

Quality Management for Information Systems

4312701

เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

3(2-2-5)

 

Multimedia Technology

 

4312702

ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Computer Animation

 

4312703

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

3(2-2-5)

Internet Technology

4312704

การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

 

Web Page Design

 

4312705

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

Electronic Commerce

 

4312706

การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Design and Development of Computer Assisted Instruction

 

4312707

คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต

3(2-2-5)

 

Computer Aids Design and Manufacturing

 

4312902

หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

 

Special Topics in Information and Communication Technology

4313101

การจัดการศูนย์สารสนเทศ

3(2-2-5)

Information Center Management

4313201

การทำเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล

3(2-2-5)

 

Data Mining and Data Warehousing

 

4313202

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Geographic Information System

 

4313402

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบแบบกระจาย

3(2-2-5)

 

Network and Distributed System

 

4313501

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

3(2-2-5)

 

Decision Support Systems

 

4313602

การศึกษาวงจรและซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Circuit Description and Microcomputer Maintenance

 

            (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4314802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5(450)

 

Field Experience in Information and Communication Technology

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

                แผนการการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ดังนี้

 ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

 รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

2210101

2000104

4000103

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

บัณฑิตอุดมคติไทย

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

7 หน่วยกิต

3(2-2-5)

2(2-0-4)

2(1-2-3)

วิชาแกน

2310103

4291606

4311301

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์

หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

9 หน่วยกิต

3(3-0-6)

3(3-0-6)

3(2-2-5)

วิชาเอกบังคับ

4311403

4312103

ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน

การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

 

รวม

22 หน่วยกิต

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

 รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

2310101

1000101

4000101

ภาษอังกฤษพื้นฐาน

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

7 หน่วยกิต

3(3-0-6)

2(2-0-4)

2(2-0-4)

วิชาแกน

4311402

4312201

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบฐานข้อมูล

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

วิชาเอกบังคับ

4313402

2313704

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบแบบกระจาย

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

6 หน่วยกิต

3(3-0-6)

3(3-0-6)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

 

3 หน่วยกิต

3(2-2-5)

 

รวม

22 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

2310102

2400101

2000102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

การใช้สารสนเทศ

วิถีโลก

7 หน่วยกิต

3(3-0-6)

2(2-0-4)

2(2-0-4)

วิชาแกน

4302201

ความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น

3 หน่วยกิต

3(3-0-6)

วิชาเอกบังคับ

4312406

4311303

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

 

3 หน่วยกิต

3(2-2-5)

 

รวม

19 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

 รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

2000103

4000102

2000107

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

คณิตศาสตร์ทั่วไป

ชีวิตกับนาฏการ

6 หน่วยกิต

2(2-0-4)

2(2-0-4)

2(2-0-4)

วิชาแกน

4312203

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

3 หน่วยกิต

3(2-2-5)

วิชาเอกบังคับ

4312404

4312405 

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

 

3 หน่วยกิต

3(2-2-5)

วิชาเลือกเสรี

 

3 หน่วยกิต

 

รวม

21 หน่วยกิต

ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

 รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

2000101

วิถีไทย

2 หน่วยกิต

2(2-0-4)

วิชาแกน

4211301

4211302

ฟิสิกส์ทั่วไป

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

4 หน่วยกิต

3(3-0-6)

1(0-3-0)

วิชาเอกบังคับ

4312103

4312204

การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

6 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

 

3 หน่วยกิต

3(2-2-5)

 

รวม

15 หน่วยกิต

ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

 รหัสิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาศึกษาทั่วไป

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 หน่วยกิต

2(2-0-4)

วิชาเอกบังคับ

4313903

4313904

สัมมนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1

2 หน่วยกิต

2(1-2-3)

2(90)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

431xxxx...

 

2 หน่วยกิต

3(2-2-5)

3(2-2-5)

วิชาวิทยาการจัดการ

3201101 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 หน่วยกิต

3(3-0-6)

 

รวม

15 หน่วยกิต

ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

รายวิชา

 

จำนวนหน่วยกิต

วิชาเอกบังคับ

4314904

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2

3 หน่วยกิต

3(150)

วิชาเอกเลือก

431xxxx...

 

3 หน่วยกิต

3(2-0-4)

วิชาวิทยาการจัดการ

3553301

เศรษฐศาสตร์การจัดการ

3 หน่วยกิต

3(3-0-6)

วิชาเลือกเสรี

 

3 หน่วยกิต

 

รวม

12 หน่วยกิต

ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

 รหัสวิชา

รายวิชา

จำนวนหน่วยกิต

วิชาปฏิบัติการ และ
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

4314802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5 หน่วยกิต

5(450)

 

รวม

5 หน่วยกิต

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 33 หน่วยกิต

รายวิชา 2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3553301

เศรษฐศาสตร์การจัดการ

3(3-0-6)

 

Managerial Economics

 

        ศึกษาหลักและวิธีการตัดสินใจในเชิงธุรกิจภายใต้สภาวการณ์ต่าง ๆ วิธีการพยากรณ์ธุรกิจ การวิเคราะห์ความยืดหยุ่นอุปสงค์และอุปทาน การกำหนดราคาสินค้าและบริการในตลาด การกำหนดราคาในทางปฏิบัติ การว่างจ้างแรงงาน การวิเคราะห์ต้นทุนผลิตและผลตอบแทนจากการลงทุน การวางแผนงบประมาณและการวางแผนกำไร การวิเคราะห์ผลตอบแทนต่อธุรกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ต่าง ๆ โดยใช้วิธีกรณีศึกษา (Case Study)

รายวิชา 4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3(3-0-6)

  General Physics  

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรงงาน งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มรการสาธิต และการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4211302

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

  General Physics Laboratory  

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 1 ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4291606

คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์

3(3-0-6)

  Mathematics for Computer  

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ เซต ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ระบบเลขฐานต่างๆ โดยเฉพาะเลขฐาน 2 เลขฐาน 8 และเลขฐาน16 เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ พีชคณิตบูลีน

รายวิชา 4302201

ความน่าจะเป็นและสถิติ

3(3-0-6)

  Probability and Statistics  

        ศึกษาวิธีการทางสถิติต่างๆ การใช้สถิติเชิงบรรยาย การแจกแจงแบบต่อเนื่องและแบบไม่ต่อเนื่อง ทฤษฎีความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มเดี่ยวและร่วม ฟังก์ชันของตัวแปร ความน่าจะเป็นแบบเงื่อนไข การกระจายแบบต่างๆ เช่น แบบปกติ แบบทวินาม แบบปัวซอง แบบเอกซ์โพเนนเชียล การใช้สถิติเชิงอนุมานที่เกี่ยวกับการทดสอบสมมุติฐาน การประมาณค่า การสุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์แบบถดถอย การทดสอบความเชื่อถือได้ การออกแบบทดลองอย่างง่าย

รายวิชา 4311301

หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Principles of Programming  

        ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาโปรแกรมที่เหมาะสมในการโปรแกรม รวมถึง การกำหนดตัวแปร ชนิดของตัวแปร ค่าที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม การรับข้อมูลเข้า การแสดงผลข้อมูล โครงสร้างควบคุมการเลือกทำ และการทำซ้ำ การสร้างฟังก์ชัน การสร้างตัวแปรแบบผู้ใช้กำหนดเอง ตัวแปรแบบอาร์เรย์ พอยน์เตอร์ และการดำเนินการกับไฟล์

รายวิชา 4311402

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Data Communications and Computer Networks  

        ศึกษาทฤษฏีและเทคโนโลยีที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย การส่งข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูลและการควบคุมความผิดพลาด อุปกรณ์ทางด้านการสื่อสาร สื่อกลาง มาตรฐานระบบเปิด พื้นฐานอินเตอร์เน็ทและทีซีพี/ไอพีโปรโตคอล เทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้และระยะไกล

รายวิชา 4312201

ระบบฐานข้อมูล

3(2-2-5)

  Database System  

        ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูล เป้าหมายของระบบจัดการฐานข้อมูล ความไม่พึ่งพิงของข้อมูล บูรณภาพและความเชื่อถือได้ การจัดองค์การเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ เค้าร่างและเค้าร่างย่อย ตัวแบบข้อมูลเชิงลำดับชั้น เชิงข่ายงาน และเชิงสัมพันธ์ บรรทัดฐานข้อมูล ภาษานิยามข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การจัดแฟ้มข้อมูล ความปลอดภัยของแฟ้มข้อมูล ระบบการสำรอง ข้อมูลและการเรียกคืน การวิเคราะห์ออกแบบข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล

รายวิชา 4322203

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

3(2-2-5)

  Management Information Systems  

        ศึกษาโครงสร้างของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ แนวความคิดและการออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการประมวลผล เทคนิคการประมวลผลข้อมูลตามความต้องการขององค์กรโดยอาศัยทรัพยากรเท่าที่องค์กรสามารถจัดหาได้ การจัดหาเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การจัดจ้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านสารสนเทศ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้ในระบบข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง และเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการแข่งขัน แนวโน้มของระบบสารสนเทศทางธุรกิจในอนาคต กรณีศึกษา

       

            3. คำอธิบายวิชา วิชาเอกบังคับ จำนวน 37 หน่วยกิต

รายวิชา 2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4311303

การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

3(2-2-5)

  Object Oriented Programming  

        ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ โครงสร้างโปรแกรมในภาษาเชิงวัตถุ ความหมายของวัตถุและกลุ่มของวัตถุ คุณลักษณะและพฤติกรรมของวัตถุ กลุ่มวัตถุพื้นฐาน การสืบทอด แถวลำดับ การนำเอาส่วนประกอบของซอฟต์แวร์กลับมาใช้อีก กราฟฟิก การสร้างและจัดการโครงสร้างข้อมูลพลวัต

รายวิชา 4311403

ระบบปฏิบัติการและการประยุกต์ใช้งาน

3(2-2-5)

  Operating Systems and Application  

        ศึกษาหลักการพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ หน้าที่ องค์ประกอบ และการทำงาน และการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ การติดตั้งและใช้งานระบบปฏิบัติการ การป้องกันและรักษาความปลอดภัย การบำรุงรักษา

รายวิชา 4312102

การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Human-Computer Interaction  

        ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยของมนุษย์และการออกแบบอินเตอร์เฟสที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ระบบการให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา รูปแบบการ ปฏิสัมพันธ์ และหลักการออกแบบที่มองเห็นได้ แบบจำลองการอินเตอร์เฟสของผู้ใช้ และเครื่องมือที่นำมาพัฒนา ผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษย์ วางแผนในการเลือกใช้เทคโนโลยี การนำมาปฏิบัติและการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ผลกระทบปรากฏออกมาในเชิงบวก

รายวิชา 4312103

การจัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information Technology Project Management  

        ศึกษาการบริหารโครงการ การบริหารการผสมผสาน การบริหารขอบเขตโครงการ การบริหารเวลาโครงการ การบริหารงบประมาณโครงการ การบริหารคุณภาพโครงการ การบริหารทรัพยากรบุคคลของโครงการ การบริหารการติดต่อสื่อสารของโครงการ การบริหารความเสี่ยง การบริหารการจัดหาโครงการ ขั้นตอนการบริหารโครงการ การเริ่มต้นและการวางแผน การดำเนินการ การควบคุมและการปิดโครงการ และการนำเสนอสารสนเทศของโครงการ

รายวิชา 4312204

ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information System Security  

        ศึกษาเทคนิคที่สำคัญในการบ่งชี้ปัญหาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์ พัฒนาทักษะและความรู้สำคัญในการรักษาความปลอดภัยให้แก่ระบบ ภัยคุกคามต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ไวรัส หนอนคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจัน ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย เช่น ไอพีเซ็ค ระบบความปลอดภัยของเว็บ การโจมตีแบบดีโอเอส วิทยาการรหัสลับแบบสมมาตรและอสมมาตร อัลกอริธึมอาร์เอสเอ เมสเสจไดเจส
ลายเซ็นต์ดิจิตัล เอสเอสแอล เทคโนโลยีไฟร์วอลล์ การตรวจสอบการรุกรานระบบ

รายวิชา 4312404

วิศวกรรมซอฟต์แวร์

3(2-2-5)

  Software Engineering  

        ศึกษาการวางแผนโครงการการจัดทำซอฟต์แวร์ วิธีวิเคราะห์ความต้องการ พื้นฐานการออกแบบซอฟต์แวร์ การพัฒนาซอฟต์แวร์และการนำไปใช้งาน การตรวจสอบคุณภาพของซอฟต์แวร์ เทคนิคและกลยุทธ์ในการทดสอบซอฟต์แวร์ การบำรุงรักษาซอฟต์แวร์และการจัดการโครงแบบ

รายวิชา 4312405

การพัฒนาระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information System Development  

        ศึกษาถึงทฤษฎีของการออกแบบระบบสารสนเทศ ความหมาย และสถานะของระบบสารสนเทศ วัฎจักร ของการพัฒนาระบบ การบริหารจัดการระบบ แผนภาพกระแสข้อมูล และขีดความสามารถของโปรแกรม

รายวิชา 4312406

การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information System Analysis and Design  

        ศึกษาความรู้เกี่ยวกับระบบ รูปแบบของระบบสารสนเทศ วัฎจักรของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การสืบค้นและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ระบบแผนภาพการไหลของข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล การอธิบายการประมวลผล การออกแบบแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูลและส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ การพัฒนาซอฟต์แวร์ การทดสอบระบบ การนำระบบไปใช้งาน การจัดทำเอกสาร การวัดและประเมินผลระบบ การดูแลและบำรุงรักษาระบบ กรณีศึกษา

รายวิชา 4312502

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information Technology Management  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาองค์กร เน้นเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กร โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ เน้นแนวคิด เทคนิค และวิธีการ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ

รายวิชา 4313903

สัมมนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2(1-2-3)

Information and Communication Technology Seminar

        ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดสัมมนาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศึกษาผลงานหรือเข้ารับฟังบรรยายวิชาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อนำมาสัมมนา

รายวิชา 4313904

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1

2(90)

 

Independent Study in Information and Communication Technology 1

        ศึกษาปัญหาทั่วไป และปัญหาเฉพาะเรื่อง เพื่อหาวิธีแก้ปัญหา การเขียนผังงานเพื่อแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา

รายวิชา 4314904

การศึกษาเอกเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2

3(150)

 

Independent Study in Information and Communication Technology 2

       พัฒนาวิธีหรือเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งหรือหลายภาษา เพื่อใช้งานหรือแก้ปัญหานั้น ตลอดจนการทำโครงการพิเศษด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

            4. วิชาเอกเลือก ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้

รายวิชา 4311104

กฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพคอมพิวเตอร์

2(2-0-4)

  Legal and Ethical Issues in Informatics Profession  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรม นิยามของจริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาชีพคอมพิวเตอร์ กฎหมายสิทธิทางทรัพย์สินและลิขสิทธิ์ในยุคสารสนเทศ ความเป็นส่วนตัว อาชญากรรมผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ ความรับผิดชอบและความเสี่ยงในการประมวลผลผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ การใช้และการล่วงละเมิดข้อมูลคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานราชการและเอกชน เทคโนโลยีสารสนเทศและการแข่งขัน ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสังคม บทบาทของวิชาชีพที่มีต่อสังคมในเชิงจริยธรรม

รายวิชา 4311203

สารสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษาค้นคว้า

3(2-2-5)

  Information Science for Study and Research  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญและประเภทของแหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ บริการฐานข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การเลือก การสังเคราะห์ และการนำเสนอสารสนเทศ ตลอดจนการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดี และมีนิสัยในการใฝ่หาความรู้

รายวิชา 4311202

ระบบสารสนเทศสำนักงานอัตโนมัติ

3(2-2-5)

  Office Automation Information Systems  

        ศึกษาองค์ประกอบของระบบสำนักงานอัตโนมัติ วิวัฒนาการของระบบสำนักงานอัตโนมัติ การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์และฐานข้อมูลในองค์กร เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูล การประมวลข้อมูลหลัก และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารในองค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติ การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติเพื่อสนับสนุนงานด้านต่างๆในองค์กร ระบบเครือข่ายภายในสำนักงานอัตโนมัติ นิสิตต้องทำโครงงานประกอบการเรียนด้วย

รายวิชา 4311304

การเขียนโปรแกรมแบบวิชวล

3(2-2-5)

  Visual Programming  

        ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคสำคัญในการเขียนโปรแกรมแบบวิชวล องค์ประกอบของการเขียนโปรแกรมแบบวิชวล การทำงานกับโค้ดและฟอร์ม การใช้วัตถุควบคุม พื้นฐานในการเขียนโปรแกรม การเขียนโปรแกรมที่ติดต่อกับฐานข้อมูล

รายวิชา 4312206

ระบบค้นคืนสารสนเทศ

3(2-2-5)

Information Retrieval Systems

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบค้นคืนสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อความแบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์คำศัพท์และสตอบลิส ขั้นตอนวิธีสเตมมิ่ง การจัดทำอรรถาภิธาน หลักการค้นคืน การดำเนินการแบบบูล การหาเลขที่อยู่แบบแฮช ขั้นตอนวิธีการจัดหมวดหมู่ โครงสร้างแฟ้มข้อมูล แฟ้มผกผัน แฟ้มซิกเนเจอร์แพตทรี การประเมินผล การจัดลำดับ

รายวิชา 4312301

การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ

3(2-2-5)

  Web Programming  

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ และโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนภาษาสคริปต์ การเขียนโปรแกรมด้านลูกข่าย การเขียนโปรแกรมด้านแม่ข่าย ระบบฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต การสร้างเว็บไซต์ในการทำธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ต่างๆ

รายวิชา 4312302

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ

3(2-2-5)

  Computer Programming in Business  

        ศึกษาการประยุกต์คอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ สภาวะแวดล้อมของธุรกิจ รายการ ข้อมูลธุรกิจ การประยุกต์ทางการบัญชี และระบบข่าวสารทางบัญชี การจ่ายเงินเดือน บัญชีรายจ่าย บัญชีรายรับ การแจ้งหนี้สิน บัญชีแยกประเภท วัสดุและการควบคุมการปฏิบัติงาน การออกใบสั่งของ การควบคุมสินค้าคงคลังและการคาดคะเน การจัดซื้อ การวิเคราะห์ การขาย การประยุกต์กับงานธุรกิจและธนาคาร

รายวิชา 4312401

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

3(2-2-5)

  Network Operating System  

        ศึกษาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการนำความรู้และหลักการจากวิชาระบบปฏิบัติการ และวิชาที่เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปนำปฏิบัติ เช่น การออกแบบ และการทดลองนำเทคโนโลยีด้านระบบปฏิบัติการและระบบเครือข่ายต่างๆ ไปใช้งานจริง

รายวิชา 4312403

การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

3(2-2-5)

  Object-Oriented Analysis and Design  

        ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดหลักเชิงวัตถุ วัฏจักรโครงงานเชิงวัตถุ การวิเคราะห์ การออกแบบ การเขียนโปรแกรมและการทดสอบด้วยวิธีการเชิงวัตถุ เครื่องมือช่วยออกแบบวิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ งานประยุกต์ในเชิงวัตถุ

รายวิชา 4312407

การจัดการคุณภาพสำหรับระบบสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Quality Management for Information Systems  

        ศึกษาวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มผลผลิตและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การออกแบบ การติดตาม และปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การ เนื้อหาครอบคลุมการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มีคุณภาพ การติดตั้งที่มีคุณภาพ การวัดประสิทธิภาพ การควบคุมกระบวนการทางสถิติ การปรับปรุงต่อเนื่อง การเปรียบเทียบ วิธีการและเครื่องมือในการแก้ปัญหา

รายวิชา 4312701

เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

3(2-2-5)

  Multimedia Technology  

        ศึกษาถึงการออกแบบงานทางด้านกราฟิกด้วยซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ รวมไปถึงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบมัลติมีเดีย

รายวิชา 4312702

ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Computer Animation  

        ศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านกราฟิกที่เหมาะสม เพื่อสร้างโมเดลสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว โดยรวมถึงโมเดลขั้นต้น โดยใช้รูปหลายเหลี่ยมและรูปทรงพื้นฐาน เช่น กล่อง ทรงกลม การใช้เครื่องมือต่างๆของโปรแกรมสำเร็จรูปใน การใส่ลายผิว การใส่แสง มุมกล้อง การทำภาพเคลื่อนไหว และการเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับงานการออกแบบสามมิติ

รายวิชา 4312703

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

3(2-2-5)

  Internet Technology  

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เทคนิคและเครื่องมือสำหรับอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ การออกแบบและการพัฒนาเว็บไซต์ ธุรกิจและการพาณิชย์ในอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต ระบบฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมประยุกต์บนอินเทอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บ

รายวิชา 4312704

การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

  Web Page Design  

        ศึกษาหลักการและขั้นตอนพื้นฐานในการออกแบบเว็บเพจ การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการสร้างเว็บเพ็จ รวมถึงการพัฒนาเว็บไซต์

รายวิชา 4312705

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

  Electronic Commerce  

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โมเดลธุรกิจ การวิเคราะห์ห่วงโซ่ มูลค่า สถาปัตยกรรมเทคโนโลยีสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน พฤติกรรมผู้บริโภค กฎหมายและจริยธรรม ระบบรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือและการควบคุมความผิดพลาด การกู้คืน การวางแผนโซลูชั่น การพัฒนาและติดตั้งใช้งาน การออกแบบไซด์ มาตรฐานและการทำงานบนระบบอินเทอร์เน็ต การออกแบบโซลูชั่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ระบบชำระเงิน การขนส่ง

รายวิชา 4312706

การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Design and Development of Computer Assisted Instruction

        ศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ วิเคราะห์ ข้อดี ข้อจำกัด ของโปรแกรมสร้างบทเรียนเพื่อนำมาออกแบบสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ บทเรียนคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ ขั้นตอนการสร้างบทเรียน และใช้ Authoring Program ทำการทดลองสร้างและใช้บทเรียนฝึกปฏิบัติการออกแบบและสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ ต่างๆ

รายวิชา 4312707

คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการผลิต

3(2-2-5)

  Computer Aids Design and Manufacturing  

        ศึกษาหลักการและประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับงาน ออกแบบ ที่ใช้ในการออกแบบ และตกแต่งภาพ ฝึกสร้างชิ้นงาน ทั้ง 2 มิติ 3 มิติ และการสร้างภาพเคลื่อนไหว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

รายวิชา 4312902

หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

 

Special Topics in Information and Communication Technology

        ศึกษาปัญหาหรือความก้าวหน้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในงานเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อสนเทศและข้อมูล ซอฟต์แวร์ การประยุกต์ใช้งาน เป็นต้น

รายวิชา 4313101

การจัดการศูนย์สารสนเทศ

3(2-2-5)

  Information Center Management  

        ศึกษาหลักการจัดการศูนย์สารสนเทศ วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของศูนย์สารสนเทศ วิธีการจัดการองค์กร การดำเนินงาน การจัดการ การประเมินศูนย์สารสนเทศ การจัดการด้านบุคลากร การนำเสนอ การเตรียมงานและการปฏิบัติงานในศูนย์ การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการดำเนินงาน และพัฒนาศูนย์สารสนเทศ

รายวิชา 4313201

การทำเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล

3(2-2-5)

  Data Mining and Data Warehousing  

        ศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเหมืองข้อมูล แรงจูงใจในการทำเหมืองข้อมูล เทคนิคและตัวแบบรวมถึงการประยุกต์ใช้งานทางด้านการสร้างเหมืองข้อมูลและคลังข้อมูล

รายวิชา 4313202

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น

3(2-2-5)

  Introduction to Geographic Information System  

        ศึกษาความรู้เกี่ยวกับภูมิสารสนเทศโดยทั่วไป องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ แผนที่และการอ่านแผนที่ แบบจำลองข้อมูลภูมิศาสตร์ แหล่งข้อมูล ภูมิสารสนเทศ การรับรู้จากระยะไกล ระบบหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม การประมวลผลข้อมูลภูมิสารสนเทศ การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การแสดงผลข้อมูลภูมิสารสนเทศภูมิ ความถูกต้องของข้อมูล แนวโน้มของพัฒนาการของภูมิสารสนเทศ

รายวิชา 4313402

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบแบบกระจาย

3(2-2-5)

  Network and Distributed System  

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบกระจาย ขั้นตอนวิธี การออกแบบระบบประมวลผลแบบแบบกระจาย การออกแบบระบบปฏิบัติการแบบกระจาย ระบบสารสนเทศแบบกระจาย มิดเดิลแวร์ เช่น โอดีบีซี คอร์บา ไอไอออร์บ

รายวิชา 4313501

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

3(2-2-5)

  Decision Support Systems  

        ศึกษาเกี่ยวกับเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดของการดำเนินการตัดสินใจ ทฤษฎีการตัดสินใจ กระบวนการตัดสินใจ ชนิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ การสำรวจ การออกแบบ การแปลงปัญหาและการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการตัดสินใจ ตัวอย่างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

รายวิชา 4313602

การศึกษาวงจรและซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Circuit Description and Microcomputer Maintenance  

        ศึกษาการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ การอินเตอร์เฟสภายในและภายนอกหน่วยความจำ หน่วยป้อนข้อมูล หน่วยแสดงผล อุปกรณ์ประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง หลักการติดตั้ง และซ่อมบำรุง ฝึกปฏิบัติการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์

 

            5. วิชาปฏิบัติการและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รายวิชา 4314802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

5(450)

  Field Experience in Information and Communication Technology  

        จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์การหรือหน่วยงานที่สถานประกอบธุรกิจที่เหมาะสมเพื่อได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติและประสบการณ์ในอาชีพในระดับนักวิทยาการกึ่งวิชาชีพชั้นสูงและระดับเทคนิค

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

******************

ภาคผนวก

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

        1.มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ

        2. ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวะพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        3. การประชุมกำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548

        4. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาตม 2545 ได้มาตรฐานหลักสูตร ชื่อหลักสูตรวิชาแกน วิชาบังคับและบางส่วนวิชาเลือก

        5. การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือนธันวาคม 2547

        6. การดำเนินการประชุมภาควิชาคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดทำร่างหลักสูตร เมื่อเดือน มกราคม 2547

        7. เดินทางไปศึกษาการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2547

        8. ประชุมเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาไทย โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ เชียงใหม่ 6 มิถุนายน 2548

        9. ประชุมภาควิชาภาควิชาคอมพิวเตอร์ พัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2548

        10. ประชุมปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ด

        11. ประชุมปรับปรุง แก้ไขหลักสูตร ตามที่คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรเสนอ

        12. นำเสนอสภาวิชาการ และสภาวิชาการเห็นชอบหลักสูตร 8 ตุลาคม 2548

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

        คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

                1. นายวิฑูร สนธิปักษ์
                2. นายธนพัฒน์ ภัยพยบ
                3. นางนงเยาว์ ในอรุณ
                4. นางภัคจิรา ศิริโสม
                5. นางกาญจนา ยลสิริธัม
                6. นายถุงเงิน ปานสำลี
                7. นายณรงค์ ทองอิสาณ
                8. นายประยุทธ สุระเสนา
                9. นายพงษ์ศักดิ์ ศิริโสม
                10. นายถิรภัทร มีสำราญ
                11. นายนฤพนธ์ พนาวงศ์
                12. นางสาวพิมพ์ชนก เทียมทิพร
                13. นางสาววัฒนาพร วัฒนชัยธรรม

        ผู้ทรงคุณวุฒิ

                1. ผศ.ดร. จันทร์บูรณ์ สถิตวิริยวงศ์ อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                2. ผศ.ดร. ภัทรชัย ลลิตโรจน์วงศ์ อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                3. รศ.ดร. นพพร โชติกกำธร อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
                4. รศ.ดร. มนต์ชัย เทียนทอง อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                5. ดร. พยุง มีสัจ อาจารย์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

3. มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามประเด็นของการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้เพิ่มเติม โดยภาควิชาคอมพิวเตอร์ จะดำเนินการตรวจสอบคุณลักษณะของบัณฑิตโดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

                1. ด้านความรู้
                2. ด้านทักษะการปฏิบัติ
                3. ด้านคุณลักษณะ

        ทั้งนี้จะมีการประเมินเป็นระยะ ๆ และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของภาควิชาคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้

            1. คุณลักษณะบัณฑิตด้านความรู้

                1. มีความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำไปใช้ใน
                    การประกอบอาชีพได้
                2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสามารถนำระบบมาใช้ในองค์กรเพื่อประโยชน์ในการจัดการ การวางแผน การตัดสินใจเพื่อความสำเร็จขององค์กร และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
                3. มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสาขาที่เกี่ยวข้อง
                4. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

            2. คุณลักษณะบัณฑิตด้านทักษะปฏิบัติ

                1. สามารถประยุกต์ทฤษฎีและปฏิบัติการ ไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                3. มีทักษะวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่โดยวิธีการวิจัย และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
                4. มีทักษะการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
                5. มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถคิดอย่างมีเหตุผล และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้
                6. มีทักษะด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            3. คุณลักษณะบัณฑิตด้านคุณลักษณะ

                1. มีความสนใจ ใฝ่รู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
                2. มีความอดทน ประหยัด ขยันหมั่นเพียร สู้งาน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับ ผิดชอบ และตรงต่อเวลา มีความเป็นธรรมและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
                3. มีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ (leadership) และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                4. มีความสุภาพ อ่อนโยน รู้จักกาลเทศะในการพูด การแต่งกายที่เหมาะสม
                5. มีนิสัยของความเป็นระเบียบ มีความละเอียดรอบคอบ และยึดหลักปฏิบัติของ 5 ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
                6. มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                7. มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                8. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น มีความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย
                9. มีจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
                10. มีความซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม
                11. มีความตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                12. มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจ ทั้งส่วนตนและส่วนรวม

4. ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรปรับปรุง

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร

เปลี่ยนชื่อสาขาวิชา

2

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)

 

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5 ข้อ

5 ข้อ

ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม

5

หลักสูตร

 

เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก.
และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 143 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

(100 หน่วยกิต)

(94 หน่วยกิต)

 

2.1 วิชาแกน

- หน่วยกิต

25 หน่วยกิต

 

2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

48 หน่วยกิต

37 หน่วยกิต

 

2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

30 หน่วยกิต

21 หน่วยกิต

 

2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

 

2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

(15 หน่วยกิต)

(6 หน่วยกิต)

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

(2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ใช้ระบบเลข 7 หลัก จัดเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ
เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี 38 รายวิชา

มี 43 รายวิชา ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 31 รายวิชา

ตัดออก 2 รายวิชา เพิ่มใหม่ 7 รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

11 คน

15 คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ไม่ได้ระบุชัดเจน

มีจำนวน 5 คน

 

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์