หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

 

สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

………………………………………….

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Industrial Technology Program in Industrial Electricity

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม)
  Bachelor of Industrial Technology (Industrial Electricity)
ชื่อย่อ : อส.บ. (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม)
  B.Ind.Tech. (Industrial Electricity)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                จัดการศึกษาโดยยึดหลักมาตรฐานหลักสูตรและแนวทางการบริหารในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติ และทฤษฎีที่เหมาะสม ผลิตนักเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าอุตสาหกรรมที่สามารถปฏิบัติงานด้านการควบคุม ออกแบบ ซ่อมบำรุง และการบริหารงานทางไฟฟ้าอุตสาหกรรม ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานทางด้านอุตสาหกรรม หลักสูตรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงตามความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าอุตสาหกรรม จากชุมชนสู่ชุมชน และประเทศชาติ ยึดหลักความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม สร้างเสริมประสบการณ์ มีแนวคิดสู่การประกอบอาชีพ สามารถปฏิบัติงานในระบบอุตสาหกรรมได้
                2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้า ทั้งภาครัฐและเอกชนได้
                3 เพื่อสนองความต้องการของผู้สำเร็จการศึกษามัธยมตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือผู้สำเร็จการศึกษาตามระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาไฟฟ้า
                4 เพื่อปลูกฝังให้บัณฑิตมีคุณธรรม มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร สำนึกในจรรยาวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

5. กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต ระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ – นามสกุล

ผลงานทางวิชาการ

รายวิชาที่รับผิดชอบ

1.

นายเกษม ภู่เจริญธรรม

    -  วศ.ม. (ไฟฟ้าระบบ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    -  คอ.บ. (ไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

เอกสารประกอบการสอน

    -  รายวิชาคณิตศาสตร์
    -  วิศวกรรม

รายวิชาที่สอน

    -  วิศวกรรมวัสดุไฟฟ้า
    -  เครื่องกลไฟฟ้า
    -  การผลิตกำลังไฟฟ้า
    -  คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

2.

นายชัชชัย เขื่อนธรรม

    -  คอ.ม. (ไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครหนือ
    -  วท.บ. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (การผลิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

เอกสารประกอบการสอน

    -  รายวิชาระบบทำความเย็นและปรับอากาศ

สื่อการสอน

    -  ชุดสาธิตเครื่องทำความเย็น
    -  แบบหอคอยน้ำบนจอคอมพิวเตอร์

รายวิชาที่สอน

    -  การออกแบบระบบไฟฟ้า
    -  เครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    -  ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
    -  ระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรม
    -  การป้องกันระบบไฟฟ้า
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

3.

นายอนุสรณ์ สินสะอาด

    -  ค.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
    -  วท.บ. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม) สถาบันราชภัฏ -
      
กำแพงเพชร

    -  Active Learning
    -  วิชาติดตั้งไฟฟ้าา

รายวิชาที่สอน

    -  การติดตั้งไฟฟ้า
    -  วิศวกรรมวัสดุไฟฟ้า
    -  เครื่องกลไฟฟ้า
    -  สถิติวิศวกรรมม
    -  การผลิตกำลังไฟฟ้า
    -  การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1
    -  การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2
    -  ไมโครโปรเซสเซอร์
    -  วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า
    -  วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
    -  ระบบไฟฟ้ากำลังและการส่งจ่าย
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

4.

นายสุริยา อดิเรก

    -  วท.บ. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏ -
      
นครสวรรค์

 

รายวิชาที่สอน

    -  อิเล็กทรอนิกส์กำลัง
    -  ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ
    -  การศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

5.

นายสมชัย ช่อไสว

    -  ค.ม. (โสตทัศนศึกษา)
    -  กศ.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์)

 

รายวิชาที่สอน

    -  การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    -  สัมมนาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
    -  การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้า
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

13. จำนวนนิสิตนักศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

รวม

40

80

120

160

160

จำนวนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

-

-

-

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่ในการจัดการเรียนการสอน

                ใช้อาคารเรียนรวม และห้องปฏิบัติการส่วนกลาง ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตึกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สำหรับการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติในรายวิชาเฉพาะด้าน มีสถานที่ที่เป็นห้องปฏิบัติการ ดังนี้

ที่

สถานที่

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1.

ห้องปฏิบัติการติดตั้งไฟฟ้า

1 ห้อง

1 ห้อง

ขนาดของห้อง

8 x 8 เมตร

ใช้งานร่วมกับสาขาวิชา

ไฟฟ้า

สื่อสาร

2.

ห้องปฏิบัติการเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

1 ห้อง

1 ห้อง

3.

ห้องปฏิบัติการเครื่องกลไฟฟ้า

1 ห้อง

1 ห้อง

4.

ห้องปฏิบัติการนิวส์เมติกส์และไฮโดรลิกส์

1 ห้อง

1 ห้อง

5.

ห้องปฏิบัติการเครื่องมือวัด

1 ห้อง

2 ห้อง

6.

ห้องปฏิบัติการดิจิตอล อิเล็กทรอนิกส์ และไมโครโปรเซสเซอร์

1 ห้อง

2 ห้อง

7.

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1 ห้อง

2 ห้อง

8.

ห้องเครื่องมือและอุปกรณ์

1 ห้อง

1 ห้อง

        14.2 อุปกรณ์การสอน

ที่

รายการ

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตู

1.

Electronic Circuit Trainer

7 Set

20 set

 

2.

Fiber Optic Trainer

1 Set

5 set

 

3.

Industrial Electronics Trainer

1 Set

20 set

 

4.

Motor Control with Electronics & PC Lab

1 Set

5 set

 

5.

Power Electronics Training Set

2 Set

5 set

 

6.

Semiconductor Training Set

1 Set

5 set

 

7.

AM/FM Transmitter and Receiver Set

1 Set

2 set

 

8.

Fiber Optic Board

2 Set

5 set

 

9.

Electronics Logic Trainer

7 Set

5 set

 

10.

Opto Electronics Lab Set

2 Set

5 Set

 

11.

Pulse Circuit Trainer

1 Set

5 Set

 

12.

Transducer Training Kit

4 Set

5 Set

 

13.

Cable Meter

1 Set

5 Set

 

14.

Frequency Counter

2 Set

5 Set

 

15.

Function Generator

3 Set

20 Set

 

16.

L C R Meter

2 Set

5 Set

 

17.

Multimeter ; Digital ; Precision

5 Set

20 Set

 

18.

Power Supply ; Triple Output

4 Set

20 Set

 

19.

Scopemeter ; Handheld

1 Set

5 Set

 

20.

Storage Oscilloscope ; 60 MHz

5 Set

5 Set

 

21.

Oscilloscope ; 100 MHz ; 2 Channel

2 Set

20 Set

 

22.

Clamp Meter ; Digital

9 Set

10 Set

 

23.

Multimeter ; Digital

12 Set

20 Set

 

24.

Voltmeter ; AC/DC

5 Set

5 Set

 

25.

ชุดทดลองดิจิตอล

20 ชุด

20 ชุด

 

26.

ชุดทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ET-Board V.4

30 ชุด

40 ชุด

 

27.

ชุดทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ET-Board V.5

20 ชุด

40 ชุด

 

28.

ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์

20 ชุด

40 ชุด

 

29.

มัลติมิเตอร์ ; Analog

40 ชุด

40 ชุด

 

30.

ชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ; Module

4 ชุด

5 ชุด

 

31.

ชุดฝึกเครื่องกลไฟฟ้า

1 ชุด

5 ชุด

 

32.

ชุดทดลองนิวส์เมติกส์และไฮดรอลิกส์

1 ชุด

5 ชุด

 
 

ฯลฯ

     

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ / ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตู

1.

การออกแบบระบบแสงสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

2.

การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

3.

ทฤษฎีการออกแบบวงจรพัลส์และสวิทชิ่ง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

4.

เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

5.

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

2 เล่ม

20 เล่ม

 

6.

หลักการออกแบบวงจรลอจิก : วงจรคอมไบเนชั่น

1 เล่ม

20 เล่ม

 

7.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

8.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

9.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 3

1 เล่ม

10 เล่ม

 

10.

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

11.

ไมโครโปรเซสเซอร์

2 เล่ม

20 เล่ม

 

12.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

13.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

14.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 3

1 เล่ม

10 เล่ม

 

15.

เครื่องมือวัดไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

16.

ทฤษฎีเครื่องเสียง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

17.

อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

18.

เครื่องปรับอากาศ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

19.

หลักการทำงานและเทคนิคการประยุกต์ใช้งาน PC/PLC

1 เล่ม

10 เล่ม

 

20.

การส่องสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

21.

ไฟฟ้าอุตสาหกรรมเบื้องต้น

1 เล่ม

10 เล่ม

 

22.

เครื่องกลไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

23.

ทฤษฎีและการใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

24.

ดิจิตอลเทคนิค 1

1 เล่ม

20 เล่ม

 

25.

ดิจิตอลเทคนิค 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

26.

เขียนแบบไฟฟ้า

1 เล่ม

20 เล่ม

 

27.

นิวเมติกส์อุตสาหกรรม

1 เล่ม

10 เล่ม

 

28.

การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

1 เล่ม

10 เล่ม

 

29.

ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า

2 เล่ม

10 เล่ม

 

30.

อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

31.

ปฏิบัติการวงจรพัลส์และสวิตชิ่ง

2 เล่ม

10 เล่ม

 

32.

วิศวกรรมการส่องสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

33.

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

34.

สถิติเพื่องานวิจัย

1 เล่ม

10 เล่ม

 

35.

ไมโครคอนโทรลเลอร์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

36.

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

37.

โปรแกรมภาษาซี

1 เล่ม

10 เล่ม

 

38.

โรงต้นกำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

39.

Microsoft Visual Basic Professional 6.0

2 เล่ม

10 เล่ม

 

40.

การสื่อสารข้อมูล

1 เล่ม

10 เล่ม

 

41.

การใช้งาน Protel

1 เล่ม

10 เล่ม

 

42.

การสื่อสารดาวเทียม

1 เล่ม

10 เล่ม

 

43.

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

2 เล่ม

10 เล่ม

 

44.

เครื่องรับวิทยุ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

45.

วิศวกรรมสายอากาศ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

46.

วิศวกรรมโทรศัพท์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

47.

ไมโครเวฟ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

48.

การสื่อสารใยแสง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

49.

หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

-

   
 

ฯลฯ

     

        15.2 จำนวนวารสารและเอกสารอื่น ๆ

ที่

ชื่อหนังสือ / ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตู

1.

วารสารเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์

14 เล่ม (รับรายเดือน)

-

 

2.

วารสารวิศวกรรมสาร

3 เล่ม

   

3.

วารสาร COMPUTER TODAY

50 เล่ม

   

4.

วารสาร เทคนิค เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ

2 เล่ม

   

        15.3 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์ http://127.0.0.1:5432/HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณ

2549

2550

2551

2552

2553

    -  ค่าตอบแทน

50,000

100,000

150,000

200,000

200,000

    -  ค่าใช้สอย

50,000

100,000

150,000

200,000

200,000

    -  ค่าวัสดุและอื่น ๆ

100,000

200,000

300,000

400,000

400,000

รวมงบดำเนินการ

200,000

400,000

600,000

800,000

800,000

    -  ค่าครุภัณฑ์

1,000,000

1,000,000

750,000

500,000

250,000

    -  ค่าสิ่งก่อสร้าง

         

รวมงบลงทุน

1,000,000

1,000,000

750,000

500,000

250,000

รวมทั้งสิ้น

1,200,000

1,400,000

1,350,000

1,300,000

1,050,000

17. หลักสูตร

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

96

 

1. วิชาแกน

30

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

43

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

18

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

133

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 102 หน่วยกิต แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6172103

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1
Electrical Circuit Analysis 1

3(2-2-5)

6172201

การติดตั้งไฟฟ้า
Electrical Installation

3(2-2-5)

6172301

เครื่องกลไฟฟ้า
Electrical Machinery

3(3-0-6)

6172401

การผลิตกำลังไฟฟ้า
Electrical Power Generation

3(3-0-3)

6173104

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2
Electrical Circuits Analysis 2

3(3-0-6)

6173106

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetics Engineering

3(3-0-6)

6174202

การออกแบบระบบไฟฟ้า
Electrical Design

3(2-2-5)

6174203

วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง
High Voltage Engineering

3(3-0-6)

6181104

อิเล็กทรอนิกส์
Electronics

3(2-2-5)

6182601

เครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
Electrical and Electronics Measurement

3(2-2-5)

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม
English for Industrial Work

3 (3-0-6)

2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม
English for Engineering Work

3(3-0-6)

3211101

องค์การและการจัดการ
Organization and Management

3(3-0-6)

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป
General Economics

3(3-0-6)

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น
Introduction to Physics

3(2-2-5)

4221104

เคมีเบื้องต้น
Introduction to Chemistry

3(2-2-5)

4291401

แคลคูลัส 1
Calculus 1

3(3-0-6)

4292401

แคลคูลัส 2
Calculus 2

3(3-0-6)

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
Industrial Computer

3(2-2-5)

6172109

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
Electrical and Electronics Drafting

3(2-2-5)

6173105

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า
Electrical Engineering Mathematics

3(3-0-6)

6173403

การป้องกันระบบไฟฟ้า
Power System Protection

3(3-0-6)

6173701

สถิติวิศวกรรม
Engineering Statistics

3(3-0-6)

6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
Electronics and Electronic Appliance Repairs

1(0-3-1)

6174903

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้า
Research for Power Electrical Technology Development

3(2-2-5)

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 18 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
Introduction to Business Operation

3(3-0-6)

3221101

หลักการตลาด
Principles of Marketting

3(3-0-6)

6183409

อิเลกทรอนิกส์กำลัง
Power Electronics

3(2-2-5)

6171302

หม้อแปลงไฟฟ้า
Transformers

3(2-2-5)

6172303

เครื่องกลไฟฟ้าและการควบคุม
Electrical Machines and Control

3(2-2-5)

6172402

ระบบไฟฟ้ากำลังและการส่งจ่าย
Electrical Power System and Distribution

3(3-0-6)

6172501

ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
Refrigeration and Air Conditioning Systems

3(2-2-5)

6173107

วิศวกรรมวัสดุไฟฟ้า
Engineering Material

3(3-0-6)

6173201

วิศวกรรมส่องสว่าง
illumination Engineering

3(2-2-5)

6173304

การซ่อมบำรุงมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
Motor and Generators Maintenance and Repair

3(2-2-5)

6173306

การแปรสภาพพลังงานกลไฟฟ้า
Electromechanical Energy Conversion

3(3-0-6)

6173307

การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
Electric Drives

3(3-0-6)

6173704

ระบบไฮดรอลิกส์และนิวเมติกส์
Hydraulics and Pneumatics Systems

3(2-2-5)

6173705

การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
Computer Drawing and Design

3(2-2-5)

6173706

การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์
Computer Aided Engineering Management

3(2-2-5)

6173901

การบริหารโครงการทางไฟฟ้า
Project Management Electrical

3(3-0-6)

6174106

กฎหมายและมาตรฐานไฟฟ้าและความปลอดภัย
Electrical Rules and Regulations and Safty

3(3-0-6)

6174108

การจัดการและควบคุมคุณภาพในงานไฟฟ้า
Electrical Quality Management

3(3-0-3)

6174301

ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ
Feedback Control Systems

3(3-0-6)

6174308

การวัดและควบคุมทางอุตสาหกรรม
Industrial Control and Measurement

3(2-2-5)

6174302

ปฏิบัติการระบบควบคุมอุตสาหกรรม
Industrial Control Laboratory

3(2-2-5)

6174502

ระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศภายในโรงงานอุตสาหกรรม
Industrial Refrigeration and Air-Conditioning Systems

3(2-2-5)

6174601

ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
Computer Control For Industrial Application

3(2-2-5)

6174602

การออกแบบระบบดิจิตอล
Digital System Design

3(3-0-6)

6174603

ไมโครโปรเซสเซอร์
Microprocessor

3(2-2-5)

6174604

การศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป
Software Package

3(1-3-4)

6174605

การออกแบบวงจรพัลส์ และสวิตชิ่ง
Pulse and Switching Circuit Design

3(2-2-5)

6174606

การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม
Energy Conservation in Factory

3(3-0-6)

6174902

สัมมนาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
Seminar in Industrial Electricity Technology

3(1-3-4)

6183410

ระบบควบคุมอัตโนมัติ
Automatic Control Systems

3(2-2-5)

6183702

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1
Computer Programming 1

3(2-2-5)

6183703

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2
Computer Programming 2

3(2-2-5)

            (3) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6174801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

5 (450)

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต รวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

 

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิต

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

4221104

เคมีเบื้องต้น

3(2-2-5)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

เลือกเพียง

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2(2-0-4)

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2(2-0-4)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

 

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

 
 

รวม

22

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6182601

เครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

6172109

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

6172703

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

6172103

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

3(2-2-5)

 

6172401

การผลิตกำลังไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 
 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม

3(3-0-6)

 

6172201

การติดตั้งไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

6172501

ระบบเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

3(2-2-5)

 

6172402

ระบบไฟฟ้ากำลังและการส่งจ่าย

3(3-0-6)

 

6172301

เครื่องกลไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

4292401

แคลคูลัส 2

3(3-0-6)

 
 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6173701

สถิติวิศวกรรม

3(3-0-6)

 

6173106

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

6173104

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

3(3-0-6)

 

6173105

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

6173107

วิศวกรรมวัสดุไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี 1

3(x-x-x)

 
 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6173901

การบริหารโครงการทางไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

6173201

วิศวกรรมส่องสว่าง

3(2-2-5)

 

6174203

วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง

3(3-0-6)

 

6173403

การป้องกันระบบไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

6183409

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

3(2-2-5)

 

6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1(0-3-1)

 
 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6174801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้า

5(450)

 
 

รวม

5

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6174301

ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

3(3-0-6)

 

6174902

สัมมนาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

3(1-3-4)

 

6174903

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

617xxxx

เฉพาะด้านเลือก

3(x-x-x)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี 2

3(x-x-x)

 
 

รวม

15

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

           1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา 6172103

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

3(2-2-5)

 

Electrical Circuit Analysis 1

 

        กฎของโอห์ม การต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ กฎของเคอร์ซอฟ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ไฟฟ้าสลับ 1 เฟส 3 เฟส คุณสมบัติของตัวต้านทานขดลวดเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุ ในวงจรกระแสตรงและกระแสสลับ ค่ารีแอคเตนซ์ อิมพีแตนซ์ แอทมิแตนซ์ เพาเวอร์ แฟคเตอร์ และการแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ การวิเคราะห์เทอร์เนเตอร์แบบเฟสเดียวและสามเฟส ปฏิบัติการต่อวงจร วัดความต้านทาน แรงดันไฟฟ้า หาค่ารีแอคแตนซ์ อิมพีแตนซ์และแอทมิแตนซ์ของวงจร

รายวิชา 6172201

การติดตั้งไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

Electrical Installation

 

        การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร โรงงานอุตสาหกรรม การติดตั้งภายนอกอาคาร คุณสมบัติและการใช้งานของอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ สวิตซ์เกียร์รีเลย์ป้องกัน เครื่องกลไฟฟ้า อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า อุปกรณ์ป้องกันการลัดวงจร การวางแผน สร้างตู้สวิตซ์บอร์ด การวางแผนการเดินสาย การปักเสาพาดสาย การติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าและปฏิบัติงานตามรายวิชา

รายวิชา 6172301

เครื่องกลไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Machinery

 

        การเปลี่ยนรูปพลังงานกล แม่เหล็กไฟฟ้า ลักษณะพิเศษเฉพาะของมอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลักการเปลี่ยนรูปพลังงาน การควบคุมความเร็ว การควบคุมค่าต่าง ๆ การทดสอบประสิทธิภาพหม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและ กระแสสลับทั้งยกเดียวและหลายยก การติดตั้ง ตรวจซ่อมมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ การติดตั้งระบบการควบคุมความเร็วและความปลอดภัย

รายวิชา 6172401

การผลิตกำลังไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Power Generation

 

        แหล่งกำเนิดของไฟฟ้า การเปลี่ยนรูปพลังงานต่าง ๆ มาเป็นพลังงานไฟฟ้า ประเภทของโรงงานไฟฟ้า หลักการและการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หลักการ และการทำงานของหม้อแปลงไฟฟ้า สถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย การควบคุมการผลิต และการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันไฟฟ้าที่ใช้ในโรงต้นกำลัง

รายวิชา 6173104

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

3(3-0-6)

 

Electric Circuits Analysis 2

 

        วิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีวงจรข่าย องค์ประกอบสะสมพลังงาน วงจร R-C และ R-L วงจรอันดับสองเฟสเซอร์และการกระตุ้นไซนูซอยด์ การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวไฟสลับ กำลังงานในสถานะอยู่ตัวไฟสลับ วงจรสามเฟส ความถี่เชิงซ้อนและฟังก์ชั่น วงจรข่าย ผลตอบสนองความถี่ อนุกรมฟูเรียร์ และการแปลงฟูเรียร์ การแปลงลาปลาซ

รายวิชา 6173106

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electromagnetics Engineering

 

        ทบทวนการวิเคราะห์เวกเตอร์ กฎของคูลอมป์และความเข้มสนามไฟฟ้า ความหนาแน่นฟลักซ์ไฟฟ้า กฎของเกาส์และไดเวอร์เจนซ์ พลังงานและศักย์ไฟฟ้า ตัวนำ ไดอิเล็กตริก และความจุไฟฟ้า สมการของปัวซ์ซองและของลาปลาซ สนามแม่เหล็กสถิต แรงกระทำในสนามแม่เหล็ก สารแม่เหล็กและความเหนี่ยวนำ สนามที่เปลี่ยนแปลงกับเวลา และสมการของแมกซเวลล์

รายวิชา 6174202

การออกแบบระบบไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Design

 

        ศึกษาเกี่ยวกับสัญลักษณ์ความปลอดภัย มาตรฐานการติดตั้ง การเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้า การออกแบบระบบแสง ชนิดของระบบไฟฟ้า หลักการออกแบบอุปกรณ์ไฟฟ้า สัญลักษณ์และวงจรระบบแสงสว่างสำหรับอาคาร มอเตอร์และการควบคุม การออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับที่พักอาศัย ธุรกิจการค้า ระบบไฟฟ้ากำลังในโรงงานอุตสาหกรรม การคิดค่าแรงงาน การประมาณราคาและการปฏิบัติงานตามรายวิชา

รายวิชา 6174203

วิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง

3(3-0-6)

 

High Voltage Engineering

 

        ความหมายของวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูง การดิสชาร์จในก๊าซ ในฉนวนเหลว ในฉนวนแข็ง ในสารไดอิเล็กตริกผสม การสร้างไฟฟ้าแรงดันสูง การวัดไฟฟ้าแรงดันสูง อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง การทดสอบฉนวนไฟฟ้าแรงสูง แรงดันเกินและการประสานการฉนวน

รายวิชา 6181104

อิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

Electronics

 

        ทฤษฎีเกี่ยวกับตัวนำ ตัวต้านทาง ฉนวน สารกึ่งตัวนำ โครงสร้างสัญลักษณ์คุณสมบัติ การใช้งาน แบบ และชนิดของตัวต้านทาง ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำคุณสมบัติฟิสิกส์ ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำไดโอด และทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ การให้ไบแอส และการทำงานของทรานซิสเตอร์ แบบคอมมอนต่าง ๆ กราฟแสดงคุณลักษณะ ค่าพารามิเตอร์ และค่าสำคัญต่าง ๆ ที่บอกไว้ในคู่มือของไดโอด ทรานซิสเตอร์ และเอฟอีที ศึกษาไอซีแบบต่าง ๆ ทั้งแบบดิจิตอล และลิดเนียร์ไอซี ไอซีออปแอมป์ ถึงชนิดและการประยุกต์ใช้งาน งานปฏิบัติ การต่อวงจร วัดและทดสอบตัวเซมิคอนดักเตอร์ไดโอด วงจรเรคติไพเออร์แบบต่าง ๆ พร้อมฟิลเตอร์ โยใช้ออสซิลโลสโคป และ มัลติมิเตอร์การต่อวงจร การให้ไปแอสประกอบวงจร วัด อ่านค่า ทดสอบวงจรขยายทรานซิสเตอร์ เอฟอี ทีไอซี แบบต่าง ๆ ปฏิบัติการกับวงจรออปแอมป์ สร้างวงจรกำเนิดความถี่ และวงจรเครื่องขยายสัญญาณ

รายวิชา 6182601

เครื่องวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

Electrical and Electronics Measurement

 

        มาตรฐานเครื่องมือวัดและการวัด ค่าผิดพลาดในการวัด โครงสร้าง หลักการทำงานและการนำไปใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้า ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เครื่องวัดความถี่ เครื่องวัดเพาเวอร์แฟคเตอร์ เครื่องวัดแบบบริดจ์ออสซิลโลสโคป มิเตอร์แบบดิจิตอล

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต

รายวิชา 2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอุตสาหกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Engineering Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4221104

เคมีเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 

Calculus 1

 

        เส้นตรง ภาคตัดกรวย ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน และอินทิกรัล

รายวิชา 4292401

แคลคูลัส 2

3(3-0-6)

 

Calculus 2

 

        ลำดับ อนุกรม อนุกรมกำลัง หลักเกณฑ์โลปิตาล อินทิกรัลจำกัดเขต เทคนิคการอินทิเกรต การประยุกต์อินทิกรัลจำกัดเขต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ อนุพันธ์และอินทิกรัลของฟังก์ชันสองตัวแปร

รายวิชา 6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Computer

 

        ศึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม ระบบการประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบต่าง ๆ ตลอดจนการนำข้อมูลจากระบบ Internet มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจนสามารถพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 6172109

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3(1-3-4)

 

Electrical and Electronics Drafting

 

        สัญลักษณ์ที่ใช้งานทางไฟฟ้า ระบบเอสไอ แบบงานเดิมสายไฟประกอบแสงสว่าง ระบบไฟฟ้ากำลัง งานเครื่องกล งานควบคุมระบบ One line Diagram, Schematic Diagram, Wiring Diagram ศึกษาสัญลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบสากล บล๊อกไดอะแกรม ซิงเกิลไลน์ ไออะแกรม วงจรแบบต่าง ๆ การแสดงส่วนต่าง ๆ เฉพาะวงจร การบอกค่า การให้ขนาดความเหมาะสม รายละเอียดการเขียนฟิคทรอเรียลไดอะแกรม การเขียนแบบทางงานจริง สเกตซ์แบบจากวงจรภายในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแบบพริ้นและงานเขียนแบบวงจรอินทิเกรด แบบเพื่อทำฟิล์มสำหรับซิลค์สกรีน แบบเดินสายมากเส้น การย่อและการขยายแบบ

รายวิชา 6173105

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Engineering Mathematics

 

        ฟังก์ชั่นของตัวแปรเชิงซ้อน สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่งประเภทต่าง ๆ สมการเชิงเส้นทุกอันดับ ทั้งวิธีใช้สมการช่วยและวิธีใช้ตัวดำเนินการและ การประยุกต์ผลเฉลยในรูปของอนุกรมอนันต์ ฟังก์ชั่นเชิงฉาก การแปลงลาปลาซและผลประสาน วิธีเชิงตัวเลขในการแก้สมการอนุพันธ์ย่อย อนุกรมฟูเรียร์ ความสัมพันธ์ระหว่างการแปลงฟูเรียร์ และการแปลงลาปลาซ การวิเคราะห์เมตริกซ์ การหาคำตอบของสมการคลื่น สมการของการนำความร้อนและการแพร่การประยุกต์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า

รายวิชา 6173403

การป้องกันระบบไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Power System Protection

 

        ปัญหาทั่วไปในระบบ ระบบการป้องกันเมื่อลัดวงจร การกำหนดค่ารีแอคแตนซ์ หลักการและคุณสมบัติของวงจรเบรกเกอร์ ฟิวส์ รีเลย์ การป้องกันระบบจ่าย ระบบส่งและเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันจากฟ้าผ่า แรงดันเกิน กระแสวิ่งไหลลงดินและลัดวงจร

รายวิชา 6173701

สถิติวิศวกรรม

3(3-0-6)

 

Engineering Statistics

 

        ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ ระเบียบวิธีทางสถิติด้านอุตสาหกรรม การรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล ความน่าจะเป็นเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง ตัวแปรเชิงสุม และการแจกแจงตัวแปรเชิงสุ่ม การประมาณค่า พารามิเตอร์ การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐาน แจกแจงแบบปกติ ทวินาม ไฮเปอร์จีโอเมตริก ปัวส์ซอง แกมม่า ไควสแควร์ การแปลงค่าตัวแปรและโมเมนต์ การวิเคราะห์การถดถอยและสหพันธ์เชิงเส้น อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การใช้สถิติในการพยากรณ์ทางธุรกิจและอุตสาหกรรม

รายวิชา 6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1(0-3-1)

 

Electronics and Electronic Appliance Repairs

 

        หลักการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน งานตรวจซ่อมระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรต่าง ๆ ฝึกหัดซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านและระบบควบคุมเครื่องจักรต่าง ๆ

รายวิชา 6183409

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

3(2-2-5)

 

Power Electronics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับทรานสดิวเซอร์ สเตรนเกจ อุปกรณ์โฟโต้อิเล็กตริก การใช้งานทางอุตสาหกรรมของอุปกรณ์แอคตีฟไทรีสเตอร์ เพาเวอร์ทรานซีสเตอร์ บทบาทของอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับการนำไปใช้เพื่อป้องกันการทำงานผิดพลาดของระบบไฟฟ้า วงจรรีเลย์ คุณสมบัติและการวิเคราะห์หาคุณสมบัติของวัสดุอุปกรณ์ การขยายในย่านและแบบต่าง ๆ เซอร์โวและคอนเวอร์ดเตอร์แบบต่าง ๆ

รายวิชา 6174903

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง

3(2-2-5)

 

Research for Power Electrical Technology Development

 

        การเสนอผลงานวิจัยและทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง เพื่อสร้างชิ้นงานให้สอดคล้องกับกลุ่มวิชาที่เลือกเรียน โดยคำนึงถึง เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเองของชุมชนและสังคมอย่าง
มั่นคง

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 18 หน่วยกิต

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างขององค์การธุรกิจทั่วไป หลักเกณฑ์และแนวความคิดในการจัดตั้งองค์การธุรกิจ ลักษณะและประเภทของการประกอบธุรกิจ จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ หลักการบริหารและหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหารทุก ๆ ด้าน ในแง่ของการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การนำการควบคุมปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งไว้ และเทคนิคการจัดการสมัยใหม่

รายวิชา 3221101

หลักการตลาด

3 (3-0-6)

 

Principle of Marketing

 

        ศึกษาถึงความหมายและความสำคัญของการตลาด ในฐานะเป็นกิจกรรมหลักทางธุรกิจอย่างหนึ่ง โดยกล่าวถึงแนวทางการศึกษา แนวความคิดหรือปรัชญาทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด ระบบการตลาดและเป้าหมาย แรงจูงใจ พฤติกรรมผู้บริโภค ความเข้าใจเกี่ยวกับส่วนผสมการตลาด และประเภทของตลาด

รายวิชา 3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และกลไกทำงานของระบบราคา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบธุรกิจ การจัดหาและใช้ทรัพยากร การบริโภค การผลิต ตลาด สถาบันการเงิน การภาษีอากร การค้า การลงทุน ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหา

รายวิชา 6171302

หม้อแปลงไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

Transformers

 

        ส่วนประกอบและโครงสร้างหม้อแปลงเฟสเดียว และสามเฟสแบบออโต และแบบออดินารี่ การนำไปใช้งาน การออกแบบ การทดสอบแกนและคุณสมบัติของหม้อแปลงปฏิบัติการพันขดลวด การใส่แกน การอบอาบฉนวนวานิช การหาขั้ว การต่อการทดสอบ หม้อแปลง

รายวิชา 6172303

เครื่องกลไฟฟ้าและการควบคุม

3(2-2-5)

 

Electrical Machines and Control

 

        ชนิดโครงสร้างการทำงานและการต่อ เพื่อใช้หม้อแปลง 1 เฟส และ 3 เฟสแบบเดลต้าโอเพนเดลต้า และแบบวาย ชนิดและการทำงานของเครื่องกำเนิดและมอเตอร์ไฟฟ้าแบบต่าง ๆ การต่อและกลับทางเมน และควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟตรง หลักการทำงานโครงสร้าง เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส สมการกระแสและแรงดันของไลน์และเฟส เมื่อต่อแบบสตาร์และเดลต้าขณะสมดุลและไม่สมดุลหลักการทำงาน โครงสร้างและส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับ 1 เฟส และแบบสปลิทเฟสคาปาซิเตอร์ ซีพัลชั่น เชดเดดโปล ยูนิเวอร์แซลและมอเตอร์ 3 เฟสสไควรัลเคซ แบบวางไรเตอร์ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบ ความถี่และขั้วแม่เหล็ก ความเร็ว ซิงโครนัสและสลิปอุปกรณ์และการควบคุมการเริ่มต้น การจำกัดกระแส ควบคุมทิศทาง ควบคุมกระแส ควบคุมความเร็วมอเตอร์แบบต่าง ๆ และแบบวงจรสำหรับควบคุมแต่ละแบบงานปฏิบัติการ หาขั้วและต่อหม้อแปลงแบบต่าง ๆ เดินเครื่องและควบคุมการจ่ายไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต่อและควบคุมมอเตอร์แบบต่าง ๆทั้งเฟสเดียวและ 3 เฟส ตรวจสอบและเช็คเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบบต่าง ๆ 1 เฟส และ 3 เฟส

รายวิชา 6172402

ระบบไฟฟ้ากำลังและการส่งจ่าย

3(3-0-6)

 

Electrical Power System and Distribution

 

        สายส่งและค่าพารามิเตอร์ การจำลองแบบระบบการวิเคราะห์การไหลของโหลด การควบคุมกำลังรีแอคทีฟและแรงดัน การควบคุมกำลังงานและความถี่ วิธีการทำงานของอุปกรณ์ในระบบกำลัง สมบัติของโหลดไดอะแกรมเส้นเดียวและระบบต่อหน่วย การรักษาแรงดันและระบบการต่อลงดิน ส่วนประกอบซิมเมตริคอล และการวิเคราะห์การลัดวงจร การวิเคราะห์เสถียรภาพคลื่นเดิน ทางความเชื่อถือได้ในระบบกำลัง การวิเคราะห์ระบบกำลังโดยดิจิตอลเทคนิค

รายวิชา 6172501

ระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

3(2-2-5)

 

Refrigeration and Air Conditioning Systems

 

        ทฤษฎีความร้อน ความร้อนกับอุณหภูมิ ความร้อนจำเพาะ ความร้อนแฝง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารเนื่องจากอุณหภูมิและความดัน หลักการส่งถ่ายความร้อนหลักการทำความเย็น ระบบทำความเย็น น้ำยาเครื่องเย็น ส่วนประกอบเครื่องทำความเย็น หน้าที่ ชนิดของแต่ละส่วน เช่น คอมเพรสเซอร์คอนเดนเซอร์ อีแวปโปเรเตอร์ แอคเชนชั่นวาว ดรายเออร์ การทำงานของระบบตู้เย็น ถังน้ำเย็น ตู้แช่แข็ง ตู้ทำน้ำแข็ง วัฏจักรของเครื่องเย็น คุณสมบัติของน้ำ เทอร์โมไดนามิกส์ของระบบเครื่องเย็น ไดอะแกรม HP โหลดความร้อน ห้องเย็น และคอนเดนเซอร์ ระบบติดตั้งห้องเย็นปฏิกิริยาตรวจวงจร การทำงาน การควบคุม การทำงานของเครื่อง การเติมน้ำยา งานซ่อม งานบริการต่าง ๆ ของตู้เย็น ตู้แช่แข็งและห้องเย็นแบบต่าง ๆ

รายวิชา 6173107

วิศวกรรมวัสดุไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Engineering Material

 

        ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของของแข็ง การหาลักษณะโครงสร้างของวัสดุ การเตรียมวัสดุ คุณสมบัติเชิงกล คุณสมบัติทางความร้อน ไฟฟ้า แม่เหล็กและความนำไฟฟ้ายวดยิ่งของวัสดุ

รายวิชา 6173201

วิศวกรรมส่องสว่าง

3(3-0-6)

 

Ilumination Engineering

 

        พฤติกรรมของแสง การกำเนิดแสง กฎการส่องสว่าง การวัดการส่องสว่าง แหล่งกำเนิดแสงและองค์ประกอบ หลอดไฟฟ้าที่ใช้แสงสว่างชนิดต่าง ๆ การเลือกใช้งาน ชนิดและหน้าที่ของดวงโคม คำนวณและออกแบบในการติดตั้งหลอดไฟฟ้าภายในอาคารสำหรับที่อยู่อาศัยในร้านค้าธุรกิจต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรม การคำนวณและออกแบบติดตั้งหลอดไฟฟ้าภายในอาคาร ภายนอกอาคารสำหรับสนามกีฬา ถนน สะพาน และ

รายวิชา 6173304

การซ่อมบำรุงมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

Motor and Generators Maintenance and Repair

 

        ศึกษาเกี่ยวกับหลักการของเครื่องกำเนิดและมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับเฟสเดียวหลักของการสปลิทเฟส รวมถึงการใช้แคแปซิเตอร์ช่วยในการสตาร์ทของมอเตอร์ขนาดต่าง ๆ หลักการของรีพูลชั่นมอเตอร์ และซิงโครนัสมอเตอร์ขนาดเล็กสำหรับงานเฉพาะอย่างปฏิบัติการพันเตเตอร์ และอาร์เมอเจอร์แบบต่าง ๆ ของเครื่องกำเนิดและมอเตอร์ไฟฟ้าสลับเฟสเดียว การทดสอบกำลังและคุณสมบัติเฉพาะ

รายวิชา 6173306

การแปรสภาพพลังงานกลไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electromechanical Energy Conversion

 

        ระบบแม่เหล็ก วงจรแม่เหล็ก วงจรแม่เหล็กไฟฟ้าและธรรมชาติ พฤติกรรมของระบบแม่เหล็ก พลังงานในสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์แม่เหล็ก การสูญเสียในแกนเหล็ก สารแม่เหล็กและสารแม่เหล็กถาวร หม้อแปลงอุดมคติ วงจรสมมูลเชิงเส้นของหม้อแปลงแบบสองขด สมรรถนะของหม้อแปลง การสร้างหม้อแปลงกำลังสูง องค์ประกอบในการออกแบบหม้อแปลง วงจรสมมูลสำหรับระบบแม่เหล็กเชิงซ้อน หม้อแปลงสำหรับหลายเฟส หลักการของเครื่องจักรกลไฟฟ้ารูปทรงกระบอก เงื่อนไขแรงบิดคงที่ เครื่องจักรกลไฟฟ้า รูปทรงกระบอก เงื่อนไขแรงบิดคงที่เครื่องจักรไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส เครื่องจักรกลชนิดมีขั้วมากกว่า 2 ขั้ว การสร้างเครื่องจักรกลแม่เหล็กไฟฟ้า

รายวิชา 6173307

การขับเคลื่อนไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electric Drives

 

        การพัฒนาการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า โมเมนต์ต่าง ๆ ของการขับเคลื่อน ลักษณะการทำงาน วิธีการหยุดมอเตอร์ พลังงานที่ใช้ในการหยุดและการเริ่มเดินเครื่อง การคำนวณการเคลื่อนที่ การหมุนของมอเตอร์โดยวิธีวิเคราะห์และวิธีค่าพิกัดของมอเตอร์ ชนิดของมอเตอร์ที่ใช้ขับเคลื่อนที่สำคัญ วงจรควบคุมและวิธีการควบคุมมอเตอร์ขับเคลื่อนที่สำคัญ ๆ วงจรควบคุมและวิธีการควบคุมมอเตอร์ขับเคลื่อน การคำนวณการใช้งานของมอเตอร์ในโรงงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6173704

ระบบไฮดรอลิกส์และนิวเมติกส์

3(2-2-5)

 

Hydraulics and Pneumatics Systems

 

        ระบบไฮดรอลิกส์ หลักการพื้นฐานของระบบไฮดรอลิกส์ ชุดต้นกำลัง ไฮดรอลิกส์ ท่อน้ำมันไฮดรอลิกส์และข้อต่อถังพัก การซีลในระบบไฮดรอลิกส์ ปั๊ม ไฮดรอลิกส์ การปรับค่าแรงบิดหรือแรงดันของอุปกรณ์ทำงาน การควบคุมทิศทาง และความเร็วของอุปกรณ์ ทำงาน การออกแบบวงจรและการกำหนดขนาดของอุปกรณ์ วาล์วควบคุมระบบไฮดรอลิกส์ระบบไฮดรอลิกส์แบบผสม วงจรไฮดรอลิกส์ในงานอุตสาหกรรม น้ำมัน ไฮดรอลิกส์และการบำรุงรักษาตามความเหมาะสม ความรู้เบื้องต้นของระบบนิวแมติกส์ เครื่องอัดลม การทำความสะอาด ลมอัด การจ่ายลมอัดและการเลือกขนาดต่ออุปกรณ์ ทำงานของระบบนิวแมติกส์วาล์วและสัญลักษณ์ หลักการเขียนและออกแบบวงจรนิวแมติกส์ วงจรนิวแมติกส์แยก สัญญาณควบคุม วงจรนิวแมติกส์ควบคุมการทำงานด้วยลอจิก การควบคุมการทำงานของระบบ นิวแมติกส์ด้วยไฟฟ้า อุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบนิวแมติกส์ การบำรุงรักษาระบบนิวแมติกส์ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม ทำการทดลองต่อวงจรการทำงานทั้งทางด้านไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์ในทาง อุตสาหกรรม เรื่องของการควบคุมความเร็ว ความดัน ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ

รายวิชา 6173705

การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Computer Drawing and Design

 

        เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาหลักการและวิธีใช้โปรแกรม (CAD) ในการออกแบบวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผนภูมิสถิติในงานอุตสาหกรรม และฝึกปฏิบัติการเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม (CAD)

รายวิชา 6173706

การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Computer Aided Engineering Management

 

ให้เน้นทฤษฎีและปฏิบัติคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ และคอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตในโรงงาน การประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจรลอจิก วงจรบอร์ด องค์ประกอบและระบบเชิงกล อินเตอร์เฟสระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบแคด และคอมพิวเตอร์นิวเมอริกัล คอนโทล (ซี เอ็น ซี) หุ่นยนต์ เทคโนโลยีโครงข่าย การจัดการคอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตในโรงงานวิศวกรรม

รายวิชา 6173901

การบริหารโครงการทางไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Project Management Electrical

 

        การวางพื้นฐานแนวความคิดในการจัดการและการบริหารโครงการ เทคนิคในการวางแผนและควบคุมโครงการทางไฟฟ้า โดยวิธีแผนภูมิแกนต์ ซีพีเอ็ม เพิท การวิเคราะห์การทำงานที่ประหยัดเวลาและการนำไปประยุกต์ใช้ในงานไฟฟ้าสถานที่สาธารณะอื่น ๆ และการประมาณราคาในการติดตั้งระบบแสงสว่าง

รายวิชา 6174106

กฎหมายและมาตรฐานทางไฟฟ้าและความปลอดภัย

3(3-0-6)

 

Electrical Rules and Regulations and Safty

 

        กฎหมายแรงงาน มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม กฎเกณฑ์การเดินสาย การติดตั้งไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและกฎเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานไฟฟ้า ศึกษาหลักการขั้นพื้นฐานทางวิศวกรรม เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน การวางแผนและมาตรการเพื่อความปลอดภัยในโรงงาน การวางผังโรงงาน เพื่อลดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด การออกแบบอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในงานเชื่อม งานไฟฟ้า งานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและสารที่เป็นพิษ การจัดหน่วยงานเพื่อบริหารงานด้านการวางแผนเพื่อความปลอดภัย

รายวิชา 6174108

การจัดการและควบคุมคุณภาพในงานไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Quality Management

 

        ประวัติความเป็นมาของการบริหารคุณภาพ บทบาทของการบริหารคุณภาพกับงานไฟฟ้าอุตสาหกรรม หลักการและวิธีในการบริหารคุณภาพ ระบบการบริหารคุณภาพ ISO, QS, TQM และอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ วิธีการรับรองคุณภาพในงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6174301

ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

3(3-0-6)

 

Feedback Control Systems

 

        คำจำกัดความ ลาปลาซและการแปลงลาปลาซ การแทนระบบและการจำลองระบบผลตอบสนองเชิงเวลา การวิเคราะห์เสถียรภาพ 1 : Routh Hurwitz Criterion การวิเคราะห์ผลตอบสนองเชิงความถี่ การวิเคราะห์เสถียรภาพจากโดเมนความถี่ การสร้างและวิเคราะห์ทางเดินราก

รายวิชา 6174308

การวัดและควบคุมทางอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Control and Measurement

 

        หลักการเกี่ยวกับการวัดและการควบคุม การวัดแรง การวัดความเร็ว การวัดกำลัง อุปกรณ์ทรานส์ดิวเซอร์ การวัดอุณหภูมิและเครื่อง วัดอุณหภูมิ การวัดความดัน การวัดระดับ การวัดอัตราการไหล การวิเคราะห์หลักการและวิธีการควบคุม กระบวนการทางอุตสาหกรรม ระบบการควบคุมแบบอัตโนมัติและปฏิบัติตามรายวิชา

รายวิชา 6174302

ปฏิบัติการระบบควบคุมอุตสาหกรรม

3(1-3-4)

 

Industrial Control Laboratory

 

        งานสตาร์ทมอเตอร์แบบกรงกระรอก 3 เฟส งานติดอุปกรณ์ที่จำเป็นเฉพาะงานได้แก่ งานควบคุมระดับน้ำและแรงดันน้ำของปั๊มน้ำ งานควบคุมแรงดันลมและน้ำมัน งานควบคุมอุณหภูมิร้อนและเย็น งานควบคุมระยะทาง น้ำหนัก งานติดตั้งอุปกรณ์และกลไกป้องกันมอเตอร์ เช่น ไฟรั่ว กระแสเกิน แรงดันและอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม

รายวิชา6174502

ระบบเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศในโรงงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Refrigeration and Air-Conditioning Systems

 

        ศึกษาการทำงานของเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรม เช่น ตู้แช่แข็ง ห้องเย็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้ง การควบคุม การบำรุงรักษา การตรวจซ่อมและปฏิบัติตามรายวิชา

รายวิชา 6174601

ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Computer Control For Industrial Application

 

        เทคนิคการเก็บข้อมูล การติดต่อหน่วยป้อนข้อมูล การแสดงผลจากการเก็บข้อมูล ภาษา คำสั่ง การเขียนโปรแกรม การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานควบคุมอุตสาหกรรม การเชื่อมต่อ

รายวิชา 6174602

การออกแบบระบบดิจิตอล

3(3-0-6)

 

Digital System Design

 

        ระบบตัวเลขและรหัส พีชคณิตบูลลีน การวิเคราะห์และออกแบบวงจรรวม วิเคราะห์และออกแบบวงจรลำดับ โครงการตรรกะและการประยุกต์ใช้งาน

รายวิชา 6174603

ไมโครโปรเซสเซอร์

3(2-2-5)

 

Microprocessor

 

        โครงสร้างของคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ คำสั่ง การเขียนโปรแกรมแอสเซมบลี ตารางเวลา การต่อหน่วยความจำชิพ คำสั่งของไมโครคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์ใช้งาน การเขียนโปรแกรมควบคุม ออกแบบระบบไมโครโปรเซสเซอร์ และปฏิบัติงานตามรายวิชา

รายวิชา 6174604

การศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปทั่วไป

3(1-3-4)

 

Software Package

 

        โครงสร้างและวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปประเภทต่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เวิร์คชีต เวิร์ด โปรเซสเซอร์และโปรแกรมที่ใช้งานเฉพาะด้านการศึกษา

รายวิชา 6174605

การออกแบบวงจรพัลส์และสวิตชิ่ง

3(2-2-5)

 

Pulse and Switching Circuit Design

 

        สัญญลักษณ์แบบต่าง ๆ ตลอดจนวงจรแปลงรูปสัญญาณต่าง ๆ หลักการอิเล็กทรอนิกส์สวิตชิ่ง หลักการเวฟฟอร์ม เยนเนอร์เรเตอร์ทริกเกอริ่ง และซิงโครไนซิ่ง ศึกษาหลักการและการทำงานของวงจรพัลส์แบบต่าง ๆ และการนำไปใช้งาน

รายวิชา 6174606

การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Energy Conservation in Factory

 

        การตรวจสอบและวิเคราะห์การใช้พลังงาน การประหยัดพลังงานในระบบไอน้ำ การสูญเสียพลังงานความร้อนในระบบการเผาไหม้ การใช้ฉนวนกันความร้อน การประหยัดพลังงานในอากาศ ระบบหม้อแปลงไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง การนำระบบความร้อนร่วมมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6174902

สัมมนาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

3(1-3-4)

 

Seminar in Industrial Electricity Technology

 

        การบรรยายและอภิปรายเรื่องที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

รายวิชา 6183410

ระบบควบคุมอัตโนมัติ

3(2-2-5)

 

Automatic Control Systems

 

        การควบคุมอัตโนมัติ หลักการควบคุม การลูปปิดวงจรและเปิดวงจร ระบบควบคุมลูปปิดวงจรอัตโนมัติ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบควบคุม อุปกรณ์ในการวัดและตรวจจับ การวัดแรง การวัดความเร็ว การวัดกำลัง อุปกรณ์ทรานดิวเซอร์ชนิดต่าง ๆ การวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดอุณหภูมิ การวัดความดัน การวัดระดับ การวัดอัตราการไหล การวิเคราะห์ วิธีการควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม

รายวิชา 6183702

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1

3(2-2-5)

 

Computer Programming 1

 

        ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง ภาษาใดภาษาหนึ่ง เน้นภาษาเบสิก โดยศึกษาในเรื่องคำสั่ง ตัวแปร ฟังก์ชั่นต่าง ๆ การเขียนโฟลว์ชาร์ท และฝึกการเขียนโปรแกรมในปัญหาต่าง ๆ เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การหาข้อมูล ฯลฯ การเขียนโปรแกรมการจัดการ จนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเดียวกันได้

รายวิชา 6183703

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2

3(2-2-5)

 

Computer Programming 2

 

        หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมคำสั่งภาษาระดับสูงอื่น ๆ การออกแบบพัฒนาโปรแกรมเพื่อประยุกต์กับปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้ภาษาระดับสูง เช่น Visual basic, Visual C หรือภาษาอื่น ๆ

 

        5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

            วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รายวิชา 6174801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าอุสาหกรรม

5(450)

 

Field Experience in Electrical Industrial

 

        ให้นักศึกษาได้ออกฝึกงานในสถานประกอบหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับแขนงวิชาที่ศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรรมการของคณะวิชา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม กำหนดประเด็นการประเมินคุณภาพหลักสูตรไว้ดังต่อไปนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. จัดให้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่ออย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษ

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรจากผู้มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชา และจัดให้มีการประเมินผลรวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษา
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***********

 

ภาคผนวก

 

1. สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม พุทธศักราช 2549

        ตาราง แสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
(แขนงเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม)
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

ปรับปรุงจากหลักสูตร 2 ปีเป็นหลักสูตร 4 ปี

2

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต
โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
(แขนงเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม)

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

เปลี่ยนชื่อปริญญาใหม่

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

6 ข้อ

3 ข้อ

 

5

หลักสูตร

 

เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก. เรียนคอมพิวเตอร์
อย่างน้อย 5 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก.
และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

คอมพิวเตอร์จัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2 น.ก.
และหมวดวิชาเฉพาะ 3 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

     (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

18 หน่วยกิต

34 หน่วยกิต

 

    (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(56 หน่วยกิต)

96 หน่วยกิต

 

         2.1 วิชาแกน

12 หน่วยกิต

30 หน่วยกิต

 

         2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

6 หน่วยกิต

43 หน่วยกิต

 

         2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

24 หน่วยกิต

18 หน่วยกิต

 

         2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

5 หน่วยกิต

 5 หน่วยกิต

 

         2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

9 หน่วยกิต

 

จัดรวมไว้ในวิชาเฉพาะด้านบังคับ 6 หน่วยกิต

    (3) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ใช้ระบบเลขรหัส 7 ตัว เลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ
เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี..........รายวิชา

ปรับปรุงคำอธิบายใหม่.......รายวิชา

ตัดออก....รายวิชา

เพิ่มใหม่.....รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

5 คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

มีจำนวน 5 คน

 

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร และผู้ทรงคุณวุฒิ

1.

ดร.พูนศักดิ์ โกษียาภรณ์

    -  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

2.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สุรสิทธิ์ ราตรี

    -  หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์วิศวกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

3.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์

    -  วศ.ม. (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  รองคณบดีกำกับดูแลงานด้านพัฒนาและกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
       เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

4.

นายวิรัช ตั้งประดิษฐ์

    -  สภาอุตสาหกรรม

5.

นายเกษม ภู่เจริญธรรม

    -  วศ.ม. (ไฟฟ้าระบบ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

6.

นางสาวอิสรี ศรีคูณ

    -  Ph.d (Electrical Engineering Power) University of Bath (กำลังศึกษา)

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7.

นายธีรพล ทรัพย์บุญ

    -  วศ.ม. (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  ผู้ประกอบการ

8.

นายทวีศักดิ์ ไวยมิตรา

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

9.

นายธีรพจน์ แนบเนียน

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏลพบุรี

10.

นายทวีศักดิ์ ตันอร่าม

    -  วศ.ม. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

11.

นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์

    -  คอ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

12.

นายชัชชัย เขื่อนธรรม

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

13.

นายอนุสรณ์ สินสะอาด

    -  วท.บ. (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม) สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

14.

นายเกียรติชัย บรรลุผลสกุล

    -  อส.บ. (อิเล็กทรอนิกส์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

15.

นางสาวณัฐนันท์ สังข์เลี่ยมทอง

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

3. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

        1. มหาวิทยาลัยฯ จัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        2. ดำเนินการประชุมโปรแกรมวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญา และแนวทางการจัดทำหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักสูตร เดือนกรกฎาคม 2548

        3. เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิษถ์ เมื่อวันที่ 8 –9 สิงหาคม 2548

        4. สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เดือนสิงหาคม 2548

        5. จัดประชุม เพื่อจัดทำหลักสูตรฉบับร่างหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยี อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2548

        6. จัดประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตร ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

        7. จัดประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อ 19-20 กันยายน 2548

        8. ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามประกาศมหาวิทยาลัย

        9. นำเสนอหลักสูตร และปรับปรุงแก้ไขต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2548

        10. นำเสนอหลักสูตรต่อคณะอนุกรรมการวิชาการ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2548

        11. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของสภาวิชาการและอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

        12. นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2548 สภามหาวิทยาลัย โดยมีมติอนุมัติหลักสูตรนี้

 

 

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก