มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับอนุปริญญา, ปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้ระบบการศึกษา (Educational System) ตามหลัก สากล ซึ่งหลักสูตรการศึกษาปกติ จำแนกเป็นหลักสูตร 2 ปี, 4 ปี และหลักสูตร 5 ปี
เปิดสอนในระดับอนุปริญญาและระดับปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาภาคปกติ 2 ปี และ 4 ปี ตามลำดับ ในสาขาต่าง ๆ ดังนี้
  คณะครุศาสตร์
  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
     วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
     วิชาเอกพลศึกษา
     วิชาเอกภาษาไทย
     วิชาเอกภาษาอังกฤษ
     วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
     วิชาเอกสังคมศึกษา
     วิชาเอกคณิตศาสตร์
     วิชาเอกวิทยาศาสตร์
  คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
       สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
     สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
     สาขาวิชาดนตรี
          สาขาวิชาดนตรีสากล
          สาขาวิชาดนตรีไทย
     สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
     สาขาวิชานิติศาสตร์
     สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
     สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
          สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น (ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย)
     สาขาวิชารัฐศาสตร์
          แขนงวิชาการเมืองการปกครอง
          แขนงวิชาการปกครองท้องถิ่น
          แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์
          แขนงวิชากระบวนการบริหารงานยุติธรรม
     สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
     สาขาวิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
     สาขาวิชาภาษาอังกฤษภาษาจีน
     สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
     สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ (ต่อเนื่อง)
     สาขาวิชาภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
     สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
  คณะวิทยาการจัดการ
       สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
        สาขาวิชาการตลาด
        สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
        สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
     สาขาวิชาการบัญชี
     สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
     สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
     สาขาวิชานิเทศศาสตร์
        วิชาเอกการโฆษณา
        วิชาเอกการประชาสัมพันธ์
        วิชาเอกวารสารศาสตร์
  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       สาขาวิชาคณิตศาสตร์
     สาขาวิชาชีววิทยา
     สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
     สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
     สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
     สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (นานาชาติ)
             ภาษาไทย
             ภาษาอังกฤษ
     สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
     สาขาวิชาสถิติ
     สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
     สาขาวิชาเคมี
     สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์
     สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถิติ
  คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
       สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
             แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
             แขนงวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
             แขนงวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
     สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
     สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
     สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
     สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
     สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
     สาขาวิชาไฟฟ้าอุตสาหกรรม
     สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร
     สาขาวิชาการออกแบบ
               แขนงออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
               แขนงคอมพิวเตอร์กราฟิก
               แขนงออกแบบบรรจุภัณฑ์
  บัณฑิตศึกษา
  ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
     สาขาวิชาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
     สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
     สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
     สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
     สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
     สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
     สาขาวิชาการจัดการการเกษตร
ประกาศนียบัตรบัณฑิต
     สาขาวิชาวิชาชีพครู
การแบ่งระยะเวลาการศึกษาสำหรับนักศึกษาภาคปกติเป็นแบบทวิภาค คือ 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา มีเวลาเรียนประมาณ 16 สัปดาห์ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ อาจเปิดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ซึ่งเป็นภาคการศึกษาไม่บังคับได้ โดยใช้เวลาเรียนประมาณ 8 สัปดาห์ และจัดชั่วโมงเรียน ให้เท่ากับภาคการศึกษาปกติ สำหรับการแบ่งระยะเวลาการศึกษาสำหรับนักศึกษาภาคพิเศษอื่น ๆ จะจัดการศึกษาเป็นแบบไตรภาค คือ 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ภาคเรียน มีเวลาเรียนภาคเรียนละ 16 สัปดาห์
  กำหนดเวลาเปิดการการศึกษา
  ภาคต้น ระหว่างเดือน มิถุนายน-ตุลาคม
ภาคปลาย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม
ภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน-พฤษภาคม
  ระบบหน่วยกิต
  การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาเรียนเป็นหน่วยกิต (Credit System) มหาวิทยาลัยฯ จัดเนื้อหาวิชาที่จะสอนออกเป็นรายวิชา (Course) และกำหนดให้รายวิชาที่ใช้ เวลาบรรยาย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในภาคเรียนปกติ ให้ถือว่ามีค่าเป็น 1 หน่วยกิต หรือรายวิชาที่ใช้เวลาเรียนในการปฏิบัติการทดลอง 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในภาคเรียนปกติ มีค่าเป็น 1 หน่วยกิต ทั้งนี้ 1 ภาคการศึกษาจะใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์
ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอนุปริญญา และปริญญาตรี จะได้รับอนุปริญญา หรือปริญญาตามที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์อนุมัติ
ระดับอนุปริญญา

1. สาขาวิชาการศึกษา

ชื่ออนุปริญญา อนุปริญญาครุศาสตร์ (Associate Degree of Education)
ชื่ออนุปริญญาย่อ อ.คศ. (A.Ed.)
2. สาขาวิชาศิลปศาสตร์
ชื่ออนุปริญญา อนุปริญญาศิลปศาสตร์ (Associate Degree of Arts)
ชื่ออนุปริญญาย่อ อ.ศศ. (A.A.)
3. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ชื่ออนุปริญญา อนุปริญญาวิทยาศาสตร์ (Associate Degree of Science)
ชื่ออนุปริญญาย่อ อ.วท. (A.S.)
4. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ชื่ออนุปริญญา อนุปริญญาบริหารธุรกิจ (Associate Degree of Business Administration)
ชื่ออนุปริญญาย่อ อ.บธ. (A.B.A)

ระดับปริญญาตรี

1. สาขาวิชาการศึกษา
ชื่อปริญญา ครุศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Education)
ชื่อปริญญาย่อ ค.บ. (B.Ed.)
2. สาขาวิชาศิลปศาสตร์
ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts)
ชื่อปริญญาย่อ ศศ.บ. (B.A.)
3. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Science)
ชื่อปริญญาย่อ วท.บ. (B.S.)
4. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ชื่อปริญญา บริหารธุรกิจบัณฑิต (Bachelor of Business Administration)
ชื่อปริญญาย่อ บธ.บ. (B.B.A)
5. สาขาวิชาบัญชี
ชื่อปริญญา บัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy)
ชื่อปริญญาย่อ บช.บ. (B.Acc.)
6. สาขาวิชานิติศาสตร์
ชื่อปริญญา นิติศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws)
ชื่อปริญญาย่อ น.บ. (LL.B.)
7. สาขาวิชารัฐศาสตร์
ชื่อปริญญา รัฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts Program In Political Science)
ชื่อปริญญาย่อ ร.บ. (B.A. (Political Science))
8. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อปริญญา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Public Administration)
ชื่อปริญญาย่อ รป.บ. (B.P.A.)
9. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
ชื่อปริญญา เศรษฐศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Economics)
ชื่อปริญญาย่อ ศษ.บ. (B.Econ.)
10. สาขาวิชานิเทศศาสตร์
ชื่อปริญญา นิเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts Program In Communication Arts)
ชื่อปริญญาย่อ นศ.บ. (B.A. (Communication Arts))

11. อุตสาหกรรมศาสตร์

ชื่อปริญญา อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Industrial Technology)
ชื่อปริญญาย่อ อส.บ. (B.Ind.Tech.)
12. ศิลปกรรม
ชื่อปริญญา ศิลปบัณฑิต (Bachelor of Fine Arts)
ชื่อปริญญาย่อ ศป.บ. (B.F.A.)
ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
1. ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
ชื่อประกาศนียบัตรเต็ม ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
Graduate Diploma of Teaching Professional
ชื่อปริญญาย่อ ป.บัณฑิต (วิชาชีพครู)
Grad.Dip. (Teaching Professional)
ระดับปริญญาโท
1. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
ชื่อปริญญาเต็ม ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
Master of Education (Educational Administration)
ชื่อปริญญาย่อ ค.ม. (การบริหารการศึกษา)
M.Ed. (Educational Administration)
2. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ชื่อปริญญาเต็ม ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา)
Master of Education (Curriculum and Instruction)
ชื่อปริญญาย่อ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
M.Ed. (Curriculum and Instruction)
3. สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา
ชื่อปริญญาเต็ม ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา
Master of Arts Program in Development Strategy
ชื่อปริญญาย่อ ศศ.ม (ยุทธศาสตร์การพัฒนา)
M.A. (Development Strategy)
4. สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
ชื่อปริญญาเต็ม ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ
Master of Education in Health Promotion
ชื่อปริญญาย่อ ค.ม. (การส่งเสริมสุขภาพ)
M.Ed. (Health Promotion)
5. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
ชื่อปริญญาเต็ม ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
Master of Education in Educational Research and Evaluation
ชื่อปริญญาย่อ ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา)
M.Ed. (Educational Research and Evaluation)
6. สาขาวิชาการจัดการการเกษตร
ชื่อปริญญาเต็ม วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการเกษตร
Master of Science Program in Agricultural Management
ชื่อปริญญาย่อ วท.ม. (การจัดการการเกษตร)
M.Sc. (Agricultural Management)
ระดับปริญญาเอก
1. สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้
ชื่อปริญญาเต็ม ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้
Doctor of Education Program in Educational and Learning Management
ชื่อปริญญาย่อ ค.ด. (การจัดการการศึกษาและการเรียนรู้)
Ed.D. (Educational and Learning Management)