หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะ
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

 

การตรวจสอบคุณลักษณะบัณฑิตเทคโนโลยีชีวภาพ

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พุทธศักราช 2549

.....................................

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Biotechnology

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีชีวภาพ)
  Bachelor of Science in Biotechnology
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ)
  B.Sc. (Biotechnology)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะด้านปฏิบัติและการวิจัย สามารถนำไปประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่น

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1.  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะปฏิบัติด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                2.  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านภาษาและเทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ในการค้นคว้าหาความรู้และพัฒนาตนเอง
                3.  เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติในการประกอบอาชีพอย่างมีจรรยาบรรณและจริยธรรม มีความเป็นผู้นำมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
                4.  เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถนำความรู้ไปใช้ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นายณรงค์ชัย ทองอยู่

    -  M.Phil. (Biochemistry) University College London, UK.
    -  วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยบูรพา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  Malarial Laboratory Wellcome - Mahidol University Oxford Tropical
       Medicine Research Programme, Mahidol University

งานวิจัย

    -  Bacillus cereus and B. pumilus associated with epizootic ulcerative
       syndrome in Siamese tiger fish.

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน
    -  ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล
    -  เทคโนโลยีชีวภาพของจุลิน ทรีย์ และอุตสาหกรรม
    -  ชีวเคมี
    -  ปฏิบัติการชีวเคมี
    -  โครงงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ
    -  จุลินทรีย์อุตสาหกรรม
    -  พันธุวิศวกรรม
    -  การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
    -  สารสนเทศทางชีววิทยา

2

นายรัตนะ ยศเมธากุล

    -  วท.ม. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัย ศิลปากร
    -  ค.บ. (ชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  สอนวิชาชีววิทยาในระดับ อุดมศึกษามาเป็นเวลา 4 ปี
    -  ศึกษาดูงานด้าน DNA technology จาก Sheffield Hallam University,
       England
    -  ศึกษาดูงานด้านบริการจัดการกิจกรรมของมหาวิทยาลัยการศึกษากวางโจว
       ประเทศจีน
    -  ผ่านการอบรมหลักสูตรการผลิตสุราแช่ และสุรากลั่นในระดับอุตสาหกรรม จาก
       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่ม จากมหาวิทยาลัย
       เกษตรศาสตร์

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้าน
    -  การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
    -  สัมมนาเทคโนโลยีชีวภาพ

3

ผศ.สุมิตรา หมู่พยัคฆ์

    -  วท.ม. (การสอนชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (ชีววิทยา) วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  สิ่งมีชีวิตพวกจุลินทรีย์
    -  พันธุศาสตร์

งานวิจัย

    -  การเพาะเลี้ยง สาหร่าย Chlorococcum sp. และ Diatom ด้วยอาหารสูตร
       ผสมสารจากวัชพืช
    -  การแพร่กระจาย ของแพลงก์ตอนพืชในบึงบอระเพ็ด
    -  การเก็บรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายพอลิแซ็คคาร์ไรด์เพื่อผลิตสารปรับปรุงคุณภาพ
       ดิน

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีสาหร่าย
    -  เทคโนโลยีการผลิตเห็ด
    -  จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

4

นางสาวเสาวลักษณ์ วงศ์เทียนหลาย

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยศิลปากร
    -  วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ประสบการณ์การทำงาน

    -  หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพบริษัท บี.เอส.เอ. ฟู๊ด โปรดักส์ จำกัด
    -  การชี้บ่งและการศึกษาคุณลักษณะของยีนเมทธิลพาราไธออนไฮโดรเลสจาก
       เชื้อ Burkholderia cepacia (วิทยานิพนธ์)
    -  ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะพร้าวในกลุ่มต้นเตี้ย โดยการสนับสนุน
       งบประมาณโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐาน
       ราก ปีงบประมาณ 2548 (หัวหน้าโครงการ)
    -  ความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะพร้าวในตำบลบางครก อ.บ้านแหลม
       จ.เพชรบุรี ดัวยเทคนิค RAPD (ผู้ร่วมวิจัย)

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ชีววิทยาพื้นฐาน
    -  วิทยาเอ็มบริโอ
    -  การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพชีววิทยาประยุกต์
    -  พันธุวิศวกรรม
    -  จุลชีววิทยาทางอาหาร
    -  เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม
    -  สารสนเทศทางชีววิทยา
    -  จุลินทรีย์อุตสาหกรรม
    -  จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม
    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน
    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์และอุตสาหกรรม
    -  กฎหมายและมาตรฐานการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหาร
    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและสัตว์
    -  เทคโนโลยีอาหารท้องถิ่น

5

นางสาวดวงสุรีย์ แสนสุรีระ

    -  วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
       ลาดกระบัง
    -  วท.บ. (เกษตรศาสตร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
       ลาดกระบัง

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์อัตราจ้างโปรแกรมวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สอนเคมี
    -  ตำแหน่งนักวิจัยโครงการอะฟลาทอกซินฝ่ายเครื่องมือวิทยาศาสตร์กลาง
       บางเขน มหาวิทยา -ลัยเกษตรศาสตร์ ตรวจหาปริมาณอะฟลาทอกซินใน
       อาหารโดยวิธีทางเคมีด้วย HPLC
    -  นักวิจัยโครงการสมุนไพรทางเครื่องสำอางสถาบันผลิตผลทางการเกษตรทาง
       การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรผลิตภัณฑ์เครื่องเครื่องสำอางที่ได้จากพืช
       สมุนไพร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  นักวิจัยโครงการรวบรวมการคัดเลือกพันธุ์และการศึกษาและเขตกรรมพืช
       สมุนไพร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำการวิเคราะห์ปริมาณสาระสำคัญในพืช
       สมุนไพร
    -  ตำแหน่งนักวิจัย (พนักงานมหาวิทยาลัย) สถาบัน เทคโนโลยีชีวภาพ และ
       วิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานวิจัยในโครงการ
       วิเคราะห์ปริมาณโปรตีนในยีสต์ด้วยเอนไซม์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ชีววิทยา 2
    -  ปฏิบัติการชีววิทยา 2
    -  หลักการแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร
    -  วิศวกรรมกระบวนการทางชีววิทยา
    -  พันธุวิศวกรรม
    -  สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน
    -  เอนไซม์เทคโนโลยี
    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้าน
    -  การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรม
    -  โครงการวิจัยทางทคโนโลยีชีวภาพ

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

ดร.สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์

    -  วท.ด. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  วท.ม. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  ศษ.บ. (การมัธยมศึกษา)มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  อนุกรมวิธานพืช
    -  สรีรวิทยาทั่วไป
    -  นิเวศวิทยา

งานวิจัย

    -  ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายพันธุ์เอื้องไผ่ และเอื้องดินใบหมากในสภาพปลอดเชื้อ
    -  ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายพันธุ์เอื้องพร้าวในสภาพปลอดเชื้อ
    -  การกำจัดหอยเชอรีโดยวิธีธรรมชาติ
    -  การขยายพันธุ์ไม้ท้องถิ่นยืนต้น เพื่อการฟื้นฟูป่าในภาคเหนือของประเทศไทย
    -  การขยายพันธุ์ไม้ท้องถิ่นยืนต้นเพื่อการฟื้นฟูป่าบริเวณอุทยาน แห่งชาติดอย
       สุเทพ–ปุย
    -  การศึกษาสำรวจแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของนกยูง ณ หน่วยพิทักษ์
       ป่าแม่เรวา อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.นครสวรรค์
    -  การสร้างบทเรียน วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
       ทรัพยากรธรรมชาติเขาชอนเดื่ออย่างยั่งยืน
    -  การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเขา แม่กระทู้ อำเภอแม่วงก์
       จ.นครสวรรค์
    -  ท้องถิ่นวัฒนารากหญ้าจันเสน
    -  เกษตรปลอดภัยเมืองอุทัยธานี
    -  ปลูกป่าเขาแม่กระทู้สู่ประปาภูเขา
    -  การสร้างบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์
       ระบบนิเวศเขาชอนเดื่อ จันเสน และบึงกระจังงาม จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อ
       การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
    -  การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพป่าชุมชนบ้านเขาดิน
       อำเภอไพศาลี จ.นครสวรรค์
    -  การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากบัวบึงบอระเพ็ด

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
    -  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล
    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
    -  เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
    -  เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม
    -  ชีววิทยาทั่วไป
    -  ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป
    -  สารสนเทศทางชีวภาพ
    -  สถิติทางชีววิทยา
    -  เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
    -  เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

2

 

ผศ.มนตรี แก้วเกิด

    -  วท.ม. (การสอนชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  วท.บ. (ประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  น.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เอกสารทางวิชาการ

    -  พันธุศาสตร์
    -  นิเวศวิทยา

ประสบการณ์การทำงาน

    -  ศึกษาดูงานด้านการทำบทปฏิบัติการชีววิทยาจาก Sheffield Hallam
       University, England
    -  สอนวิชาชีววิทยาในระดับอุดมศึกษามาเป็นเวลา 28 ปี

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและสัตว์
    -  พันธุศาสตร์
    -  สรีรวิทยาสัตว์

3

นางกันยา กาวิน

    -  วท.ม. (สัตววิทยา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  วท.บ. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  ชีวโมเลกุล
    -  สัตววิทยา เน้นไพรเมต
    -  วิทยาศาสตร์การแพทย์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  ทำงานวิจัยที่ Department of Cellular and Molecular Biology, Primate
       Research Institute, Kyoto University นาน 2 เดือน
    -  ทำงานวิจัยที่ Department of Cellular and Molecular and
       Phylogenetic, Primate Research Institute, Kyoto University
       นาน 4 เดือน

รายวิชาที่จัดสอน

    -  ชีววิทยาทั่วไป
    -  ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป
    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์
    -  โครงงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ
    -  อนุกรมวิธาน
    -  สรีรวิทยาสัตว์
    -  การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์
    -  ชีวสถิติ
    -  ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล
    -  พันธุศาสตร์

4

ผศ.จรูญ สุขะพัฒน์

    -  กศ.ม. (ชีววิทยา) วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
    -  กศ.บ. (ชีววิทยา) วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  พันธุศาสตร์
    -  ชีววิทยาทั่วไป 1

รายวิชาที่จัดให้สอน

    -  ชีววิทยาทั่วไป 1
    -  ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป 1
    -  พันธุศาสตร์
    -  เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้
    -  เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ
    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช

5

ผศ.เกษม ศรีเดิมมา

    -  กศ.ม.(ชีววิทยา) วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
    -  กศ.บ. (ชีววิทยา) วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร
    -  น.บ. เกียรตินิยมอันดับ 1 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  พันธุศาสตร์
    -  พฤกษศาสตร์
    -  วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

รายวิชาที่จัดสอน

    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
    -  ชีววิทยาทั่วไป
    -  ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป
    -  พันธุศาสตร์
    -  โครงงานวิจัยทางทคโนโลยีชีวภาพ

6

อาจารย์นิรมล ศรีชัย

    -  วท.ม. (ชีววิทยา)  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
    -  วท.บ. (ชีววิทยาประยุกต์) สถาบันราชภัฏเชียงราย

ประสบการณ์การทำงาน

    -  อาจารย์ช่วยสอนระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะเวลา 2 ปี
    -  อาจารย์สอนระดับมัธยม ระยะเวลา 3เดือน
    -  ผ่านการอบรมความหลากหลายทางชีวภาพ BRT
    -  วิทยานิพนธ์ การแยกและการคัดเลือก จุลินทรีย์ในดินที่สลายฟอสเฟต

รายวิชาที่จัดสอน

    -  สรีรวิทยาจุลินทรีย์
    -  อนุกรมวิธาน
    -  ชีววิทยาพื้นฐาน
    -  ชีวิตกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    -  จุลชีววิทยาทางอาหาร
    -  จุลินทรีย์อุตสาหกรรม
    -  จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม
    -  เทคโนโลยีสาหร่าย
    -  เทคโนโลยีการผลิตเห็ด
    -  เทคโนโลยีอาหารพื้นบ้าน
    -  เทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้าน
    -  เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์และอุตสาหกรรม
    -  การแปรรูปอาหาร

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

รศ.ดร. ศศิธร วงษ์เรือง

    -  Ph.D. (Agricultural Botany) The University of Reading, UK
    -  วท.ม. (ชีวววิทยาโมเลกุล)  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  วท.บ. (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    -  Effect of chitosan sprays as a crop protection on Petsai(Brassica
       campestris spp. pekinensis)
    -  The effects of chitosan on food spoilage bacteria
    -  Screening of exopolysaccharide producing lactic acid bacteria
       strains from traditional thai pork sausage
    -  Exopolysaccharide producing from Peddio-cocus urinae-equi by
       Solie fermentation
    -  Coagulation as pre- treament of dairy wastewater by lactic acid
       bacteria
    -  Fishy friuts: studies on Afp-transgenic Strawberries

 

2

ดร.ศุภวัฒน์ สินสุวงศ์วัฒน์

    -  Ph.D.(Molecular) Ehime University
    -  วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    -  วท.บ. (ชีววิทยา) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง

งานวิจัย

    -  Molecular and genetic transformation studies towards production
       of frost tolerant strawberries
    -  Fishy friuts: studies on Afp-transgenic strawberries
    -  Studies on expression of a modified Afp Gene in transformed
       strawberry plants
    -  Effect of chitosan sprays a crop protection on petsai (brassica
       campestris spp. pekinensis)

งานวิจัย

    -  Characterization of local rhizobia in Thailand and the distribution of
       malic enzymes
    -  Cloning and charecterization of a NADP+- malic enzyme gene from
       Bradyrhizobium japonicum USDA 110
    -  Phylogeny and diversity of malic enzymes among local rhizobia from
       Thailand
    -  Production of a cellulose free xylanase from agricultural waste
       materials by a hermotolerant Streptomyces sp.
   
-  Survey of technique for analyzing the significance of malic enyme
       on energy metabolism in nitrogen fixing Bradyrhizobium japonicum,
       and the malic enzyme distributions among various Bradyrhizobium
       and Rhizobium isolates from Thailand.
    -  Feasibility of cellulase-free xylanase production in agricultural waste
       materials by hermotolerant microorganisms.
    -  Japonicum and Rhizobium isolated by PCR and introduction of site-
       directed mutagenesis to the module forming bacteria. Proceeding
       of nitrogen fixation seminar under programme of large scale
       cooperation

 

3

ดร.วรางคณา สงวนพงษ์

    -  วท.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  วท.ม. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  วท.บ. (เทคโนโลยีชีวภาพ) มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสบการณ์การทำงาน

    -  งานวิจัยในสาขา เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร
    -  อาจารย์ที่ปรึกษาสถานประกอบการในโครงการ GMPเอื้ออาทร ของ
       สาธารณสุขจังหวัด

4

รศ.ดร.นัยทัศน์ ภู่ศรัณย์

    -  Ph.D.(Biotechnology) The University of New South Wales
    -  วท.ม. (วิทยาศาสตร์การอาหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  วท.บ. (วิทยาศาสตร์การอาหาร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานวิจัย

    -  ส่วนประกอบทางเคมีและชีวภาพของผลิตภัณฑ์น้ำหมักลูกยอบ้าน
    -  การลดปริมาณกรดนิวคลีอิกของยีสต์ก่อนใช้เป็นอาหารเสริมโปรตีน
    -  ศึกษาการสกัดเพกตินจากส่วนเหลือใช้ของจำปาดะ
    -  การศึกษาการทำน้ำส้มสายชู
    -  การศึกษาสภาวะในการทำไวน์ผลมะม่วงหิมพานต์
    -  การศึกษาและวิเคราะห์สภาพปริมาณของเสียจากโรงงานแปรรูปผลิตผล
       การเกษตรในภาคใต้ของประเทศไทย เน้นอุตสาหกรรมยางพารา
    -  การวิเคราะห์คุณภาพทางด้านจุลินทรีย์ของอาหารบางชนิดจากร้านค้าต่าง ๆ
       ในเขตบางเขน
    -  การคัดเลือกสายพันธุ์บัคเตรีเพื่อใช้ในการผลิตวุ้นน้ำส้มจากมะพร้าว
    -  Application of response surface methodology to optimization
       condition for xylanase production by Streptomyces sp.
    -  Characterization and kinetic studies of cellulase-free xylanase
       produce from thermotolerant Streptomyces sp
    -  การผลิตแอลกอฮอล์จากกากมัสตาร์ด
    -  ไวน์และบรั่นดีลำไย
    -  การผลิตลิเคอร์ลำไย
    -  การควบคุมแผ่นฟิล์มชีวภาพยึดเกาะเมมเบรนในถังปฏิกรชีวภาพชนิดใช้
       เมมเบรน

 

13. จำนวนนักศึกษา

        แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

40

รวม

40

80

120

160

160

160

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

-

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

ที่

อาคารสถานที่

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่มในอนาคต

1

ห้องพักอาจารย์ที่มีขนาดพอเหมาะ (อาจารย์แต่ละคนควรมีพื้นที่ทำงานไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร)

4

4

2

ห้องปฏิบัติการชีววิทยา

6

4

3

ห้องเก็บสารเคมีอุปกรณ์วัสดุ

1

2

4

ห้องเก็บและแสดงตัวอย่างทางชีววิทยา

-

1

5

ห้องเครื่องมือวิจัย

1

2

6

ห้องปฏิบัติการวิจัยปัญหาพิเศษของนักศึกษา

1

2

7

ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

2

-

8

ห้องสัมมนาหรือบรรยายมีเครื่องขยายเสียง และเครื่อง ฉายข้ามศีรษะพร้อม 2 ห้อง

2

-

9

ห้องสมุดประจำโปรแกรมวิชา

1

-

10

เรือนเพาะชำขนาด 28 x 20

1

-

11

โรงเพาะเห็ด

-

1

12

โรงเรือนทดลองปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิก

-

1

        14.2 อุปกรณ์

ที่

อุปกรณ์

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ

30 กล้อง

30 กล้อง

2

กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ

20 กล้อง

20 กล้อง

3

กล้องจุลทรรศน์ชนิดติดกล้องถ่ายรูป

1 กล้อง

2 กล้อง

4

กล้องจุลทรรศน์ต่อออกทีวี

1 กล้อง

2 กล้อง

5

กล้องดิจิตอล

1 กล้อง

2 กล้อง

6

กล้องถ่ายรูปธรรมดา

1 กล้อง

2 กล้อง

7

โทรทัศน์

3 เครื่อง

3 เครื่อง

8

กล้องวิดีโอ

1 เครื่อง

1 เครื่อง

9

เครื่องคอมพิวเตอร์

3 ชุด

5 ชุด

10

เครื่องพิมพ์สี

1 เครื่อง

2 เครื่อง

11

กล้องส่องทางไกล

20 กล้อง

20 กล้อง

12

ตู้เย็นไม่ต่ำกว่า 8 คิว

1 ตู้

6 ตู้

13

เครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง

3 เครื่อง

3 เครื่อง

14

เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง

2 เครื่อง

2 เครื่อง

15

Autoclave ขนาดความจุไม่ต่ำกว่า 20 ลิตร

3 เครื่อง

3 เครื่อง

16

pH meter แบบตั้งโต๊ะ

2 เครื่อง

2 เครื่อง

17

pH meter แบบมือถือ

2 เครื่อง

2 เครื่อง

18

Colony counter

1 เครื่อง

1 เครื่อง

19

Water bath

2 เครื่อง

4 เครื่อง

20

Spectrophotometer

1 เครื่อง

2 เครื่อง

21

Spectrophotometer ; UV-Vis

1 เครื่อง

2 เครื่อง

22

Lamina air flow สำหรับเพาะเลี้ยงพืช

4 เครื่อง

4 เครื่อง

23

Lamina air flow สำหรับจุลินทรีย์

-

1 เครื่อง

24

Rotary microtome

1 เครื่อง

1 เครื่อง

25

เครื่องลับมีดสำหรับใบมีดไมโครโตม

1 เครื่อง

1 เครื่อง

24

Slide warmer

1 เครื่อง

1 เครื่อง

26

Hot air oven

3 เครื่อง

3 เครื่อง

27

Incubator

2 เครื่อง

3 เครื่อง

28

Incubator Low temp

2 เครื่อง

2 เครื่อง

29

Microwave

2 เครื่อง

3 เครื่อง

30

Incubator Low temp

2 เครื่อง

2 เครื่อง

31

Shaker Refrigerate

1 เครื่อง

2 เครื่อง

32

Magnetic stirrer

5 เครื่อง

5 เครื่อง

33

Refractometer

2 เครื่อง

4 เครื่อง

34

Anaerobic jar

5 เครื่อง

5 เครื่อง

35

Electrophoresis ( vertrical ) set

-

1 เครื่อง

36

Electrophoresis (Horizontal) set

1 เครื่อง

2 เครื่อง

37

Auto pipette set

5 เครื่อง

10 เครื่อง

38

Pipette washer

1 เครื่อง

1 เครื่อง

39

Centrifuge : high speed : refrigerator

1 เครื่อง

3 เครื่อง

40

Microcentrifuge

3 เครื่อง

6 เครื่อง

41

Plankton net

2 เครื่อง

2 เครื่อง

57

เครื่องตีป่น(blender)

1 เครื่อง

1 เครื่อง

58

เครื่องมือล้างเครื่องแก้ว

-

1 เครื่อง

59

เครื่องฉายสไลด์

1 เครื่อง

1 เครื่อง

60

ตู้เก็บเครื่องมือ

5 เครื่อง

5 เครื่อง

61

ทีวีสี 29 นิ้ว

2 เครื่อง

4 เครื่อง

62

เครื่องฉายโปรเจคเตอร์

1 เครื่อง

2 เครื่อง

63

ถังหมัก (fermentor) ขนาดไม่ต่ำกว่า 5 ลิตร

1 เครื่อง

2 เครื่อง

64

ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อแบบมีแผ่นกรองและหลอดยูวี

2 เครื่อง

2 เครื่อง

65

2D-gel electrophoresis system

-

1 เครื่อง

66

จอฉายภาพโปร่งแสง

2 เครื่อง

2 เครื่อง

67

เครื่องบรรจุกระป๋อง

2 เครื่อง

2 เครื่อง

68

เครื่องผนึกฝาขวดน้ำอัดลม

2 เครื่อง

2 เครื่อง

69

Stomacher

2 เครื่อง

2 เครื่อง

70

Petroff Hausser bacteria counter

10 เครื่อง

10 เครื่อง

71

Homoginizer

-

1 เครื่อง

72

Sonicator

-

1 เครื่อง

73

ชุดกล้องถ่ายรูปแบบ Polarloid

-

2 เครื่อง

74

UV transluminator พร้อมหน้ากากกัน UV

-

3 เครื่อง

75

Vortex เครื่องผสมสารในหลอดทดลอง

-

2 เครื่อง

76

Portable centrifuge

-

2 เครื่อง

77

SDS – PAGE System

-

1 เครื่อง

78

Vaccumn centrifuge

-

1 เครื่อง

79

Bioreactor

-

2 เครื่อง

80

Pulse field gel electrophoresis system

-

2 เครื่อง

81

Ultracentrifuge

-

2 เครื่อง

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

สาหร่าย

4 เล่ม

4 เล่ม

2

จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม

2 เล่ม

2 เล่ม

3

จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์

1 เล่ม

2 เล่ม

4

อนุกรมวิธานของแบคทีเรียและปฏิบัติการ

2 เล่ม

2 เล่ม

5

การจัดจำแนกแบคทีเรียกลุ่มแอโรบส์

6 เล่ม

6 เล่ม

6

วิทยาภูมิคุ้มกัน

3 เล่ม

3 เล่ม

7

จุลชีววิทยาทั่วไป

3 เล่ม

3 เล่ม

8

ไวรัสวิทยาฉบับพื้นฐาน

1 เล่ม

2 เล่ม

9

จุลชีววิทยาปฏิบัติการ

5 เล่ม

5 เล่ม

10

จุลชีววิทยาทางอาหาร

2 เล่ม

2 เล่ม

11

สาหร่ายวิทยาประยุกต์

7 เล่ม

7 เล่ม

12

เทคโนโลยีชีวภาพ

8 เล่ม

8 เล่ม

13

ชีวสารสนเทศศาสตร์

4 เล่ม

4 เล่ม

14

สรีรวิทยาของพืช

6 เล่ม

6 เล่ม

15

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

7 เล่ม

7 เล่ม

16

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืชเพื่อการเกษตร

1 เล่ม

2 เล่ม

17

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของพืชเพื่อการเกษตร

2 เล่ม

2 เล่ม

18

จุลชีววิทยาทางอาหาร

3 เล่ม

1 เล่ม

19

ชีววิทยาของเซลล์

1 เล่ม

1 เล่ม

20

เทคนิคทางชีววิทยา

1 เล่ม

2 เล่ม

21

การบำบัดน้ำเสีย

1 เล่ม

2 เล่ม

22

เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร

2 เล่ม

1 เล่ม

23

ชีวสารสนเทศ

2 เล่ม

1 เล่ม

24

ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ ชีววิทยา

1 เล่ม

2 เล่ม

25

ไวรัสวิทยาทั่วไป

2 เล่ม

2 เล่ม

26

อิมมูโนวิทยา

1 เล่ม

1 เล่ม

27

แบคทีเรียพื้นฐาน

1 เล่ม

1 เล่ม

28

Application

2 เล่ม

2 เล่ม

29

Biology of Microorganisms

2 เล่ม

2 เล่ม

30

Biological science control and Coordination in organis a laboratory guide

1 เล่ม

2 เล่ม

31

Bioinformatics

1 เล่ม

1 เล่ม

32

Biology – Laboratory guides.

2 เล่ม

1 เล่ม

33

Biotechnology

2 เล่ม

2 เล่ม

34

Biologcal sciences invitations to discovery

1 เล่ม

1 เล่ม

35

Biological anthropology

1 เล่ม

1 เล่ม

36

Bergey's Manual of Determinative Bacteriology Cell and Molecular Biology Concepts and Experiments

2 เล่ม

2 เล่ม

        15.2 จำนวนวารสารและเอกสารอื่น ๆ

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

1

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

2 เล่ม

2 เล่ม

2

วารสารวิทยาศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ

1 เล่ม

6 เล่ม

3

วารสารนิเวศวิทยา

1 เล่ม

6 เล่ม

4

วารสารกีฏและสัตววิทยา

2 เล่ม

2 เล่ม

5

เกษตรก้าวหน้า

1 เล่ม

2 เล่ม

6

วารสารสุขภาพ

2 เล่ม

2 เล่ม

7

วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

6 เล่ม

6 เล่ม

8

วารสารวิจัยสภาวะแวดล้อม

1 เล่ม

2 เล่ม

9

วารสารวิทยาศาสตร์ มข.

2 เล่ม

2 เล่ม

10

วารสารวิทยาศาสตร์ มศว.

2 เล่ม

2 เล่ม

11

พิษวิทยาสาร

3 เล่ม

3 เล่ม

12

ใกล้หมอ

2 เล่ม

2 เล่ม

13

สมุนไพรพึ่งตนเอง

1 เล่ม

1 เล่ม

14

หมอชาวบ้าน

2 เล่ม

2 เล่ม

15

Journal of Cell Biology

4 เล่ม

4 เล่ม

16

Journal of Applied Microbiology

3 เล่ม

3 เล่ม

17

Journal of Applied Phycology

1 เล่ม

3 เล่ม

18

Journal of Bacteriology

5 เล่ม

5 เล่ม

19

Bioscience

2 เล่ม

2 เล่ม

21

DNA and Cell Biology

1 เล่ม

1 เล่ม

22

Applied Environmental Microbiology

1 เล่ม

1 เล่ม

23

Biotechnology & Bioengineering

1 เล่ม

1 เล่ม

24

Mycologia

2 เล่ม

2 เล่ม

25

Science

2 เล่ม

2 เล่ม

26

Microbiology

1 เล่ม

2 เล่ม

        15.3 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์ http://127.0.0.1:5432/HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สามารถสืบค้น วารสาร (Journal) ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ทั่วโลก

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

2549

2550

2551

2552

2553

2554

งบดำเนินการ

    -  ค่าตอบแทน

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

20,000

50,000

100,000

-

20,000

50,000

100,000

-

20,000

50,000

100,000

-

20,000

50,000

100,000

-

20,000

50,000

100,000

-

20,000

50,000

100,000

-

รวมงบดำเนินการ

170,000

170,000

170,000

170,000

170,000

170,000

งบลงทุน            

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าที่ดิน

150,000

-

150,000

-

150,000

-

150,000

-

150,000

-

150,000

-

รวมงบลงทุน

150,000

150,000

150,000

150,000

150,000

150,000

รวมทั้งหมด

320,000

320,000

320,000

320,000

320,000

320,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาชาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 131 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

94

 

1. วิชาแกน

30

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

41

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

18

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

131

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก แต่ละหลักมีความหมายดังนี้

                หลักแรก แทนคณะ

                หลักที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                หลักที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                หลักที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                หลักที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            คณะที่เปิดสอน

                1. หมายถึง คณะครุศาสตร์

                2. หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3. หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ

                4. หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5. หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

                6. หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

            หมู่วิชาของคณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

                400 วิทยาศาสตร์

                421 ฟิสิกส์

                422 เคมี

                423 ชีววิทยา

                429 คณิตศาสตร์

                430 สถิติประยุกต์

                431 คอมพิวเตอร์

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป         

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 91 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Economics

 

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Research in Science

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Physics

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Chemistry

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Chemistry Laboratory

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Biology

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Biology Laboratory

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Computer for Science

 

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 41 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

4033705

กฎหมายและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร

3 (2-2-5)

 

Regulations Standard and Quality Control of Food Products

 

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Biochemistry

 

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

Analytical Chemistry

 

4232103

ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล

3 (2-3-4)

 

Cell and Molecular Biology

 

4232401

พันธุศาสตร์

3 (2-3-4)

 

Genetics

 

4232601

จุลชีววิทยา

3 (2-3-4)

 

Microbiology

 

4233701

เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน

3 (3-0-6)

Introduction to Biotechnology

4233702

เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและสัตว์

3 (2-3-4)

 

Plant and Animal Biotechnology

 

4233703

เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์และอุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

 

Microbial and Industrial Biotechnology

 

4233704

วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ

3 (3-0-6)

 

Bioprocess Engineering

 

4234901

ชีวสถิติ

3 (3-0-6)

 

Biostatistics

 

4234902

สัมมนาวิชาการทางเทคโนโลยีชีวภาพ

1 (0-2-1)

 

Seminar in Biotechnology

 

4234903

สัมมนาวิชาการหัวข้อทางเทคโนโลยีชีวภาพปัจจุบัน

1 (0-2-1)

 

Seminar in Current Topics in Biotechnology

 

4234904

โครงงานวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ

3 (0-3-6)

 

Project in Biotechnology

 

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 18 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4232204

การแปรรูปอาหาร

3 (2-2-5)

 

Principles of Food Processing

 

4233602

จุลินทรีย์อุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

 

Industrial Microbiology

 

4233603

จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

3 (2-3-4)

 

Environmental Microbiology

 

4233604

จุลชีววิทยาทางอาหาร

3 (2-3-4)

 

Food Microbiology

 

4234610

เทคโนโลยีการหมัก

3 (2-3-4)

 

Fermentation Technology

 

4234711

พันธุวิศวกรรม

3 (2-3-4)

 

Genetic Engineering

 

4234712

การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรม

2 (2-0-4)

 

Biotechnological and Industrial Design

 

4234713

เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Biotechnology

 

4234714

สารสนเทศทางชีวภาพ

2 (2-0-4)

 

Bioinformatics

 

4234715

การบำบัดและการใช้ประโยชน์จากของเสีย

3 (2-3-4)

 

Waste and Water Treatment and Utilization

 

4234716

เอนไซม์เทคโนโลยี

3 (2-3-4)

 

Enzyme Technology

 

4234717

เอนไซม์จากจุลินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Microbial Enzymes

 

4234718

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและเทคโนโลยี

3 (2-3-4)

 

Bioactive Products and Technology

 

4234719

เทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้าน

3 (2-3-4)

 

Local Community Biotechnology

 

4234720

การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี

3 (2-3-4)

 

Biological Control of Insect Pest

 

4234721

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

3 (2-3-4)

 

Plant Growth and Regulators

 

4234722

พาโธจินิกทางพืช สัตว์ และจุลินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Plant Animal and Microbial Pathology

 

4234723

การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์

3 (2-3-4)

 

Animal Cell Culture

 

4234724

เทคโนโลยีการผลิตเห็ด

3 (2-3-4)

 

Mushroom Production Technology

 

4234725

เทคโนโลยีสาหร่าย

3 (2-3-4)

 

Algal Technology

 

4234726

เทคโนโลยีอาหารท้องถิ่น

3 (2-3-4)

 

Food Technology for Local Community

 

4234727

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้

3 (2-3-4)

 

Orchid Cultural Technology

 

4234728

เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

3 (2-3-4)

 

Floriculture and Ornamental Plant Technology

 

4234729

เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

3 (2-3-4)

 

Post Harvest Technology

 

             4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4234806

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ

5 (450)

 

Field Experience in Biotechnology

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

บังคับ

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

บังคับ

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

บังคับ

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

บังคับ

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

บังคับ

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

บังคับ

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

บังคับ

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

แกน

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-2-1)

แกน

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

บังคับ

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

บังคับ

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2000107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3 (2-2-5)

บังคับ

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3 (3-0-6)

บังคับ

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

บังคับ

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2 (1-2-3)

รวม

16

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

แกน

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

แกน

4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

แกน

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-2-1)

แกน

4232103

ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล

3 (2-3-4)

บังคับ

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

บังคับ

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 1

3 (3-0-6)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

บังคับ

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

แกน

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-2-1)

แกน

4232401

พันธุศาสตร์

3 (2-3-4)

บังคับ

4232601

จุลชีววิทยา

3 (2-3-4)

บังคับ

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

แกน

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 2

3 (3-0-6)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

แกน

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

แกน

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

บังคับ

4233701

เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน

3 (3-0-6)

บังคับ

4233702

เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและสัตว์

3 (2-3-4)

บังคับ

xxxxxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 1 รายวิชา

3 (2-2-5)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

แกน

4033705

กฎหมายและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร

3 (2-2-5)

บังคับ

4233703

เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์และอุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

บังคับ

4234903

สัมมนาวิชาการหัวข้อทางเทคโนโลยีชีวภาพปัจจุบัน

1 (0-2-1)

บังคับ

xxxxxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 3 รายวิชา

9 (6-6-15)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4234806

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ

5 (450)

 

รวม

5

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4233704

วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ

3 (3-0-6)

บังคับ

4234901

ชีวสถิติ

3 (3-0-6)

บังคับ

4234902

สัมมนาวิชาการทางเทคโนโลยีชีวภาพ

1 (0-2-1)

บังคับ

4234904

โครงการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ

3 (0-3-6)

บังคับ

xxxxxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 2 รายวิชา

6 (x-x-x)

 

รวม

16

 

รวมทั้งหมด

131

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา 2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาถึงลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคลการบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และกลไกทำงานของระบบราคา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบธุรกิจ การจัดหาและใช้ทรัพยากร การบริโภค การผลิต ตลาด สถาบันการเงิน การภาษีอากร การค้า การลงทุน ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหา

รายวิชา 4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Research in Science

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการ วิจัย และการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือการค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา 4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่างๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงานการเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 1 ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Chemistry Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับ เทคนิคเบื้องต้น และหลักปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติการเคมี การจัดสารเคมี เกรดของสาร และการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เทคนิคการใช้เครื่องมือพื้นฐาน จลน์ศาสตร์ สมดุลเคมี pH ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดและเบส

รายวิชา 4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Biology

 

        ศึกษาสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ พลังงานในสิ่งมีชีวิต และการสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบต่าง ๆ ของสัตว์ ชีวิตกับสภาพแวดล้อม การจัดจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตและเทคโนโลยีทางชีวภาพ

รายวิชา 4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Biology Laboratory

 

        ปฏิบัติการเรื่องสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์และการแบ่งเซลล์เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์ การจำแนกสิ่งมีชีวิต การแลกเปลี่ยนสาร การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การทำงานของระบบต่าง ๆ ในสัตว์ ฮอร์โมนพืช และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา 4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Science for English

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การนำเสนอสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เรียน

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 41 หน่วยกิต

รายวิชา 2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4033705

กฎหมายและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร

3 (2-2-5)

 

Regulations Standard and Quality Control of Food Products

 

        ศึกษา ค้นคว้า กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตจรรยาบรรณและจริยธรรมการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และโรงงานอุตสาหกรรมทางอาหาร ตลอดจนการควบคุมคุณภาพและการประเมินในขั้นวัตถุดิบ ในขั้นกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายรวมทั้งการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้มาตรฐาน รวมถึงความสำคัญ หลักการ วิธีการ และเทคนิคการควบคุมคุณภาพอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารในทางอุตสาหกรรมในด้านเคมี กายภาพของจุลินทรีย์ เพื่อให้มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และ ISO HACCP GMP

รายวิชา 4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 1

 

        ศึกษาความสำคัญของบัฟเฟอร์ในสิ่งมีชีวิต เทคนิคการทำสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์โดยวิธีต่างๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง โครมาโทกราฟี การเคลื่อนย้ายสู่ขั้วไฟฟ้า (electrophoresis) การหมุนเหวี่ยง (centrifugation) ศึกษาองค์ประกอบของเซลล์โครงสร้าง สมบัติทางเคมี หน้าที่ทางชีวภาพของ คาร์โบไฮเดรต ลิปิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และให้ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำให้สารชีวโมเลกุลบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต ลิปิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก และวิตามินบางชนิดและเกลือแร่

รายวิชา 4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

Analytical Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการวิเคราะห์ วิธีเบื้องต้นในการทำคุณภาพวิเคราะห์แบบกึ่งจุลภาค การคำนวณปริมาณสัมพันธ์ และการวิเคราะห็ข้อมุลเชิงสถิติ การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดปริมาตร การคำนวณหาปริมาณสารเคมีและการวิเคราะห์โดยปริมาตรในปฏิกิริยากรด-เบส ปฏิกิริยาตกตะกอน ปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนจากการไทเทรตสารละลายประเภทต่างๆ ในน้ำ

รายวิชา 4232103

ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล

3 (2-3-4)

 

Cell and Molecular Biology

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์โพรคาริโอตและยูคาริโอต วัฏจักรของเซลล์ การแบ่งเซลล์ เมตาบอลิซึมของเซลล์ สารพันธุกรรมในเซลล์โพรคาริโอติกและเซลล์ยูคาริโอติก การแสดงออกของจีน พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล กลไกการถ่ายแบบและซ่อมแซมดีเอ็นเอ การควบคุมการแสดงออกของจีน กลไกการรวมจีน พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม การส่งถ่ายจีนในพืชและสัตว์ การประยุกต์ชีววิทยาระดับโมเลกุลสำหรับการปรับปรุงพันธ์พืชและสัตว์ การแพทย์และอุตสาหกรรม

รายวิชา 4232401

พันธุศาสตร์

3 (2-3-4)

 

Genetics

 

        ศึกษา ค้นคว้าความรู้พื้นฐานทางพันธุศาสตร์ หลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การคาดคะเนผลลัพธ์ที่เกิดในลูกผสม ความน่าจะเป็นและการทดสอบทางสถิติ จีนและโครโมโซม การถ่ายแบบสารพันธุกรรม การกำหนดเพศ มัลติเพิลอัลลีล การควบคุมของจีนเชิงปริมาณและคุณภาพ ความแปรปรวนของลูกผสม การกลายระดับจีนและระดับโครโมโซม พันธุวิศวกรรม พันธุศาสตร์ประชากร การถ่ายทอดพันธุกรรมนอกนิวเคลียส และหลักการพันธุวิศวกรรมศาสตร์เบื้องต้น

รายวิชา 4232601

จุลชีววิทยา

3 (2-3-4)

 

Microbiology

 

        ศึกษา ค้นคว้าความรู้พื้นฐานจุลชีววิทยา ศึกษาเปรียบเทียบโพรคาริโอตและยูคาริโอต การจำแนกประเภทสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การควบคุมและการจำแนกจุลินทรีย์ ความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ต่ออาหาร น้ำ ดิน อากาศ การอุตสาหกรรม การสุขาภิบาล โรคติดต่อและภูมิต้านทาน

รายวิชา 4233701

เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน

3 (3-0-6)

 

Introduction to Biotechnology

 

        ศึกษา ค้นคว้า ความหมาย หลักการ และพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการหมัก การใช้จุลินทรีย์ทางอุตสาหกรรม จีโนม เมกะจีโนม เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์และจุลินทรีย์โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม กระบวนการและเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตโดยเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน

รายวิชา 4233702

เทคโนโลยีชีวภาพทางพืชและสัตว์

3 (2-3-4)

 

Plant and Animal Biotechnology

 

        ศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านพืชแบบดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเพาะเลี้ยงโพรโทพลาสต์ เซลล์แขวนลอย การวิเคราะห์จีโนมพืช โคลนนิ่งในพืช ดีเอ็นเอสายผสมพืชที่ได้รับการดัดแปลงสารพันธุกรรม การฉายรังสี พืชกลายพันธุ์ การแปรปรวนของจำนวนโครโมโซมที่เกิดในพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ ผลผลิตพืชและการนำไปใช้ประโยชน์ ผลของเทคโนโลยีชีวภาพต่อสภาพแวดล้อมศึกษา ค้นคว้า และปฏิบัติการพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านสัตว์ การประยุกต์เทคโนโลยี ชีวภาพกับสิ่งมีชีวิตชั้นสูง พันธุวิศวกรรมด้านสัตว์ การวิเคราะห์จีโนมสัตว์ มนุษย์และการใช้ประโยชน์
จากข้อมูลทางพันธุกรรม เทคโนโลยีชีวภาพทางด้านสัตว์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและด้านอื่น ๆ

รายวิชา 4233703

เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์และอุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

 

Microbial and Industrial Biotechnology

 

        ศึกษาค้นคว้า และปฏิบัติการ เทคโนโลยีชีวภาพทางจุลินทรีย์ รีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอเทคโนโลยี จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรม การหมัก จุลินทรีย์กับอุตสาหกรรมอาหาร การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมและการบำบัดโดยจุลินทรีย์ เทคโนโลยีชีวภาพทางอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ในจุลชีวอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ

รายวิชา 4233704

วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ

3 (3-0-6)

 

Bioprocess Engineering

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4291401 แคลคูลัส 1

        ศึกษากระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพ การหมัก การปฏิบัติการถังหมัก ยูนิตโอเพอเรชัน ฮีททรานสเฟอร์ เกี่ยวกับเคมีอุตสาหกรรมและจุลชีวอุตสาหกรรม

รายวิชา 4234901

ชีวสถิติ

3 (3-0-6)

 

Biostatistics

 

        การศึกษาข้อมูลและตัวอย่างข้อมูลทางชีววิทยา การหาสถิติมูลฐานเกี่ยวกับข้อมูล อัตราส่วนและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสถิติต่าง ๆ เช่น การทดสอบไควสแคว์ สหสัมพันธ์ ความถดถอยเชิงเส้น และการวิเคราะห์ความแปรปรวน เป็นต้น รวมถึงการวางแผนการทดลองแบบต่าง ๆ ทางชีววิทยา

รายวิชา 4234902

สัมมนาวิชาการทางเทคโนโลยีชีวภาพ

1 (0-2-1)

 

Seminar in Biotechnology

 

        การค้นคว้าและการนำเสนองานวิจัยหรืองานวิจัยที่เกี่ยวกับงานวิจัยของผู้ศึกษา หรือการค้นคว้าและการนำเสนอเรื่องที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีชีวภาพ

รายวิชา 4234903

สัมมนาวิชาการหัวข้อทางเทคโนโลยีชีวภาพปัจจุบัน

1 (0-2-1)

 

Seminar in Current Topics in Biotechnology

 

        การศึกษาและนำเสนอเรื่องที่น่าสนใจทางเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน

รายวิชา 4234904

โครงการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ

3 (0-3-6)

 

Project in Biotechnology

 

        การศึกษา ค้นคว้าทดลอง ทำการวิจัย รวบรวมข้อมูลพร้อมทั้งเสนอผลงานและเขียนรายงานการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 18 หน่วยกิต

รายวิชา 4232204

การแปรรูปอาหาร

3 (2-2-5)

 

Principles of Food Processing

 

        ศึกษาและทดลองเกี่ยวกับการเลือกคุณภาพวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรการการแปรรูปอาหาร การเลือกอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ และการบรรจุหีบห่อ

รายวิชา 4233602

จุลินทรีย์อุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

 

Industrial Microbiology

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4232601 จุลชีววิทยา

        ศึกษา ปฏิบัติการจุลินทรีย์ที่มีความสำคัญทางอุตสาหกรรม หลักการคัดเลือกจุลินทรีย์ อาหารเลี้ยงเชื้อ และปัจจัยที่สำคัญสร้างสารผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ กระบวนการหมักแบบต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ การเก็บเกี่ยวผลผลิตและทำให้ผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ กระบวนการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษางานนอกสถานที่เยี่ยมชมโรงงาน

รายวิชา 4233603

จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม

3 (2-3-4)

 

Environmental Microbiology

 

        ศึกษาค้นคว้าชนิดของจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ในอาหาร น้ำ ดิน และการสุขาภิบาล อิทธิพลของจุลินทรีย์ต่อสิ่งแวดล้อมและการควบคุมแก้ไข จุลินทรีย์กับอุตสาหกรรม ประโยชน์และโทษของจุลินทรีย์

รายวิชา 4233604

จุลชีววิทยาทางอาหาร

3 (2-3-4)

 

Food Microbiology

 

        ศึกษาจุลินทรีย์กับอาหาร จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสีย เชื้อโรคและสารพิษจากจุลินทรีย์ในอาหาร องค์ประกอบของอาหารที่มีผลต่อการเจริญของจุลินทรีย์และลักษณะการเน่าเสีย การเน่าเสียของอาหารประเภทต่าง ๆ การสุ่มตัวอย่าง วิธีการตรวจหาจุลินทรีย์ในอาหาร น้ำ นมและผลิตนม มาตรฐานอาหารทางจุลินทรีย์ วิธีป้องกัน และกำจัดจุลินทรีย์ในอาหาร การถนอมอาหารทางจุลชีววิทยา

รายวิชา 4234610

เทคโนโลยีการหมัก

3 (2-3-4)

 

Fermentation Technology

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4232601 จุลชีววิทยา

        ศึกษา ค้นคว้าวิธีการและขั้นตอนการแยกจุลินทรีย์จากแหล่งต่าง ๆ การคัดเลือก การปรับปรุงพันธุ์ การเก็บรักษาและการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ ถังหมัก กระบวนการหมักและจลน์ศาสตร์ของการหมักแบบต่าง ๆ การหมักไวน์ เบียร์ ยาปฏิชีวนะ กรด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมถึงการแยกและการทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักให้บริสุทธิ์

รายวิชา 4234711

พันธุวิศวกรรม

3 (2-3-4)

 

Genetic Engineering

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4232401 พันธุศาสตร์ และ 4232103 ชีวของเซลล์และโมเลกุล

        ศึกษาจีน พลาสมิด การตัดต่อจีน รีคอมบิแนนท์เทคโนโลยี การวิเคราะห์รหัสดีเอ็นเอ ปฏิกิริยาห่วงโซ่พอลีเมอเรส (Polymerase Chain Reaction) เทคนิคอิเล็กโตโฟเรซิส (Electrophoresis) เอสดีเอส-เพจ (SDS–PAGE) และการประยุกต์ทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์

รายวิชา 4234712

การออกแบบทางเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรม

2 (2-0-4)

 

Biotechnological and Industrial Design

 

        ศึกษา ค้นคว้าพื้นฐานการออกแบบ การเขียนแบบเบื้องต้น การออกแบบถังหมัก การออกแบบกระบวนการผลิตและโรงงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 4234713

เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Biotechnology

 

        ศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมการหมัก การผลิตอาหาร ยา และเครื่องดื่มต่าง ๆ เทคโนโลยี ชีวภาพในการบำบัดน้ำและของเสีย จากโรงงานอุตสาหกรรม การปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์เศรษฐกิจ ในอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิตสารชีวโมเลกุลจากสิ่งมีชีวิต ที่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรมในอุตสาหกรรม และกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม

รายวิชา 4234714

สารสนเทศทางชีวภาพ

2 (2-0-4)

 

Bioinformatics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับฐานข้อมูลดีเอ็นเอ โปรตีน และโครงสร้างของโปรตีน การสืบค้นและโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศชีวภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวภาพ รวมไปถึงเทคนิคทางสารสนเทศชีวภาพ เช่น การหา open reading frames การหาตำแหน่งการจับของไรโบโซม start และ stop site ของจีน การทำ alignment การทำ phylogenetic trees คุณสมบัติของโปรตีน การสร้างโครงสร้างจำลอง 2 และ 3 มิติของโปรตีน

รายวิชา 4234715

การบำบัดและใช้ประโยชน์จากของเสีย

3 (2-3-4)

 

Waste and Water Treatment and Utilization

 

        ศึกษา ปฏิบัติการการบำบัด ขั้นตอน และบ่อบำบัดของเสีย น้ำเสีย และน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมแบบต่าง ๆ การนำของเสียมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ การวางแผนและการออกแบบระบบการบำบัดของเสีย

รายวิชา 4234716

เอนไซม์เทคโนโลยี

3 (2-3-4)

 

Enzyme Technology

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4022503 ชีวเคมี และ 4022504 ปฏิบัติการชีวเคมี

        ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับเอนไซม์ โครงสร้าง ปฏิกิริยา จลศาสตร์ของเอนไซม์ การใช้เอนไซม์ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ พันธุวิศวกรรมโปรตีนและเอนไซม์

รายวิชา 4234717

เอนไซม์จากจุลินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Microbial Enzymes

 

        การศึกษาเอนไซม์จากจุลินทรีย์ การวิเคราะห์หาเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ การผลิตและการใช้ประโยชน์เอนไซม์จากจุลินทรีย์ทางอุตสาหกรรม

รายวิชา 4234718

สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและเทคโนโลยี

3 (2-3-4)

 

Bioactive Products and Technology

 

        ศึกษาเกี่ยวกับสารผลิตภัณฑ์จากจุลชีพ เช่น สารปฏิชีวนะ กรดอะมิโน วิตามิน และโมเลกุลที่สามารถนำมาสังเคราะห์โมเลกุลเคมีที่เป็นประโยชน์ การผลิตชีวโมเลกุลและโปรตีนจากจุลชีพเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและทางการแพทย์

รายวิชา 4234719

เทคโนโลยีชีวภาพพื้นบ้าน

3 (2-3-4)

 

Local Community Biotechnology

 

        ศึกษา ค้นคว้า ประวัติและวิวัฒนาการของผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ ในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในท้องถิ่น กระบวนการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการควบคุมคุณภาพ การจัดการวางแผนการตลาด

รายวิชา 4234720

การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี

3 (2-3-4)

 

Biological Control of Insect Pest

 

        ศึกษาความหมายของการควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี ความหลากหลายของแมลงและการนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมทางชีวภาพ ลักษณะการทำลาย การประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจ การควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยใช้จุลินทรีย์ สารสกัดจากพืชและวิธีการกำจัดแบบผสมผสาน

รายวิช 4234721

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

3 (2-3-4)

 

Plant Growth and Regulators

 

        ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของการค้นพบฮอร์โมนพืช และสารสังเคราะห์ที่สามารถควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การจำแนกประเภทฮอร์โมนและสารสังเคราะห์ ตลอดจนทำการทดลองใช้ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์ในการขยายพันธ์พืช การสุก การร่วง และการเพิ่มผลผลิต

รายวิชา 4234722

พาโธจินิกทางพืช สัตว์ และจุลินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Plant Animal and Microbial Pathology

 

        ศึกษา ค้นคว้าพยาธิวิทยาของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ วัฏจักรชีวิต การวินิจฉัยพยาธิวิทยา การแพร่ระบาด ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพาโธเจนกับโฮสต์ระดับเซลล์ และการควบคุม

รายวิชา 4234723

การเพาะเลี้ยงเซลล์สัตว์

3 (2-2-5)

 

Animal Cell Culture

 

        ศึกษา ค้นคว้า หลักการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อสัตว์ การเจริญเติบโตของเซลล์และเนื้อเยื่อที่เพาะเลี้ยง ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การประยุกต์แนวปฏิบัติและการนำไปใช้ในอนาคต เทคนิคเบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อสัตว์ การเตรียมอาหารเทคนิคปลอดเชื้อ โครงงานรายบุคคลและการนำเสนอผลการทดลอง

รายวิชา 4234724

เทคโนโลยีการผลิตเห็ด

3(2-3-4)

 

Mushroom Production Technology

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4232601 จุลชีววิทยา

        ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด อนุกรมวิธาน ชีววิทยาของเห็ด เห็ดที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หลักและวิธีการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ อุตสาหกรรมการผลิตเห็ด การศึกษาสภาพแวดล้อมของเห็ดในระบบนิเวศ

รายวิชา 4234725

เทคโนโลยีสาหร่าย

3 (2-3-4)

 

Algal Technology

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4232601 จุลชีววิทยา

        ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสาหร่าย อนุกรมวิธาน การเก็บรวบรวมสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยง การแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากสาหร่าย การศึกษาบทบาทสาหร่ายในระบบนิเวศ สาหร่ายกับอุตสาหกรรมการเกษตร สาหร่ายกับการผลิตอาหารเสริมสุขภาพ

รายวิชา 4234726

เทคโนโลยีอาหารท้องถิ่น

3 (2-3-4)

 

Food Technology for Local Community

 

        ศึกษา ค้นคว้าความหลากหลายของผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น การผลิต การบรรจุ การควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารในท้องถิ่น และมาตรฐานอาหารท้องถิ่น

รายวิชา 4234727

เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้

3 (2-3-4)

 

Orchid Cultural Technology

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของกล้วยไม้ การจำแนกประเภทของกล้วยไม้ สกุลของกล้วยไม้ ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต โรงเรือนและวัสดุอุปกรณ์ การขยายพันธุ์ การปลูกและการดูแลรักษา ปัญหาและอุปสรรคในการปลูกกล้วยไม้ การประกวดและการตัดสินการบรรจุหีบห่อและการจัดจำหน่าย

รายวิชา 4234728

เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ

3 (2-3-4)

 

Floriculture and Ornamental Plant Technology

 

        ศึกษาความสำคัญและประโยชน์ของไม้ดอกไม้ประดับ ประเภทของไม้ดอกไม้ประดับ ปัจจัยที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต อุปกรณ์ที่ใช้ปลูก วิธีการปลูก การดูแลรักษาในเรือนเพาะชำ ในแปลงปลูก และในกระถาง การจัดแต่งไม้ประดับ ศัตรูและการป้องกันกำจัด การเก็บเกี่ยวและการจัดจำหน่าย

รายวิชา 4234729

เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

3 (2-3-4)

 

Post Harvest Technology

 

        ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพผลผลิตภายหลังการเก็บเกี่ยว สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยว การควบคุมการสุก วิธีการเก็บเกี่ยว และการยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รายวิชา 4234806

การฝึกประสบการณ์การวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ

5(450)

 

Field Experience in Biotechnology

 

        การฝึกงานทางเทคโนโลยีชีวภาพและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ณ สถานที่ซึ่งมหาวิทยาลัยเห็นชอบ มีการเสนอผลงานและรายงานเป็นหลักฐานว่าผ่านการฝึกงานแล้ว

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ กำหนดแนวประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

ภาคผนวก

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ

        1.1 มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ. ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ และ พลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        1.2 การประชุมกำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545

        1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัตการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์รีสร์ท จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2545 ทำให้ได้หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ : มาตรฐานหลักสูตร ชื่อหลักสูตร วิชาแกน วิชาบังคับ
              และบางส่วนวิชาเลือก

        1.4 การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2546

        1.5 ดำเนินการประชุมโปรแกรมชีววิทยาเพื่อจัดทำร่างหลักสูตร เมื่อเดือน มกราคม 2547

        1.6 ศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2547

        1.7 ประชุมปฏิบัติการวิพากหลักสูตร ณ ห้องนนทรี เมื่อ 20 สิงหาคม 2547

        1.8 ประชุมปรับปรุง แก้ไขหลักสูตร ณ โปรแกรมวิชา เมื่อ กันยายน 2547

        1.9 นำเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร และได้รับการอนุมัติปลายปี 2547

        1.10 ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาทั่วไป และวิทยาการจัดการ

        1.11 วิพากหลักสูตร ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ท จ.อุทัยธานี เมื่อ 9 กันยายน 2548

        1.12 ปรับปรุง แก้ไข นำเสนอต่อมหาวิทยาลัย 15 กันยายน 2548

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

        1. ดร.วรางคณา สงวนพงษ์ วท.ด. (เทคโนโลยีชีวภาพ)

        2. ดร.ศุภวัฒน์ สินสุวงศ์วัฒน์ Ph.D. (Molecular genetics) Kagawa University, Japan

        3. รองศาสตรารย์ปรียานันท์ แสนโภชน์ วท.ม. (พันธุศาสตร์)

        4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม ศรีเดิมมา กศ.ม. (ชีววิทยา)

        5. ดร.สุภาวรรณ วงค์คำจันทร์ วท.ด. (ชีววิทยา)

        6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรูญ สุขะพัฒน์ กศ.ม. (ชีววิทยา)

        7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี แก้วเกิด วท.ม. (การสอนชีววิทยา)

        8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุมิตรา หมู่พยัคฆ์ วท.ม. (การสอนชีววิทยา)

        9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประทีป แก้วเหล็ก วท.ม. (การสอนฟิสิกส์)

        10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชเนศ คงการค้า วท.ม. (การสอนเคมี)

        11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณ คงมี วท.ม. (การสอนเคมี)

        12. อาจารย์กันยา กาวิน วท.ม. (สัตววิทยา)

        13. อาจารย์รัตนะ ชังวัดดี วท.ม. (ชีววิทยา)

        14. อาจารย์ณรงค์ชัย ทองอยู่ M.Phil. (Biochemistry)

        15. อาจารย์มนัส นิโครธ กศ.ม. (ชีววิทยา)

        16. อาจารย์อุรา บุบผาชาติ ศศ.ม. (สิ่งแวดล้อม)

        17. อาจารย์พิมรา ทองแสง ศศ.ม. (สิ่งแวดล้อมศึกษา)

        18. อาจารย์ทินพันธุ์ เนตรแพร วท.ม. (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

        19. อาจารย์ภาคิน อินทร์ชิดจุ้ย วท.ม. (การสอนฟิสิกส์)

        20. อาจารย์ปกิจ สังสิริ วท.ม. (การสอนฟิสิกส์)

        21. นายณรงค์รัตน์ วิเชียรรัตน์ หัวหน้าผู้จัดการ บ. เบียร์ไทย 1991 จำกัด (มหาชน)

        22. นางสาวศิริพร กอผจญ หัวหน้าผู้จัดการ บ.เอสซีลอร์ เมนูแฟ็คเจอริ่ง(ประเทศไทย)

        23. อาจารย์วรารินทร์ แก้วแดง ค.บ. (ชีววิทยา)

3. มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

        3.1 บัณฑิตโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีคุณสมบัติ ด้านคุณลักษณะของบัณฑิต 3 ด้าน ดังนี้ คือ

            3.1.1 ด้านความรู้

                1. มีความรู้ ความเข้าใจบทบาท หน้าที่ ของนักวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการทฤษฎี และปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
                2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความคิดรวบยอดทางเทคโนโลยีชีวภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                3. มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของเทคโนโลยีชีวภาพและสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในด้านชีววิทยา และสาขาที่เกี่ยวข้อง
                4. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและเกณฑ์ มาตรฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
                5. มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสังคมและวิชาการใหม่ ๆ โดยเฉพาะความเข้าใจระบบ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การเมือง การปกครอง ของไทย ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า
                    ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            3.1.2 ด้านทักษะด้านการปฏิบัติ

                1. มีความสามารถในการประยุกต์ทฤษฎี และปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และทักษะการปฏิบัติการทางเทคโนโลยีชีวภาพ
                3. มีทักษะวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ โดยวิธีการวิจัยและสามารถนำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพ
                4. มีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
                5. มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสามารถคิดอย่างมีเหตุผล และสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้
                6. มีทักษะในด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

            3.1.3 ด้านคุณลักษณะ

                1. มีความสนใจ ใฝ่รู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
                2. มีความอดทน ประหยัดขยันหมั่นเพียร สู้งาน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา มีความเป็นธรรมและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
                3. มีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ ( leadership) และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                4. มีความสุภาพ อ่อนโยน รู้จักกาละเทศะในการพูด การแต่งกายที่เหมาะสม
                5. มีนิสัยของความเป็นระเบียบ มีความละเอียดรอบคอบ และยึดหลักปฏิบัติของ 5 ส ( สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย )
                6. มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                7. มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                8. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความรัก และผูกพันต่อท้องถิ่น มีความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย
                9. มีจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
                10. มีความซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม
                11. มีความตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                12. มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจทั้งส่วนตนและส่วนรวม

4. การตรวจสอบคุณลักษณะของบัณฑิตเทคโนโลยีชีวภาพ

        โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ จะดำเนินการตรวจสอบคุณลักษณะของบัณฑิต โดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

                1. ด้านความรู้
                2. ด้านทักษะการปฏิบัติ
                3. ด้านคุณลักษณะ

        โดยจะมีการประเมินเป็นระยะ ๆ และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตเพื่อให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

 

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

 

 

 

 

 

หลักสูตรใหม่

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์