หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

  ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต
  การแก้ไขปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พุทธศักราช 2549

…………………

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์
ภาษาอังกฤษ Bachelor   of  Science Program in Ceramics Technology

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีเซรามิกส์)
  Bachelor   of  Science  (Ceramics Technology)
ชื่อย่อ : วท . บ . ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ )
  B.Sc.( Ceramics Technology )

3.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม   มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4.  ปรัชญาของหลักสูตร

        4.1  ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ มุ่งพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการสร้างสรรค์ผลงาน รู้จักคิด วิเคราะห์ วางแผนและพัฒนาเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม รู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองสามารถสอนและแนะนำเกี่ยวกับงานเซรามิกส์ให้กับประชาชนและผู้สนใจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นผู้มีน้ำใจ เมตตา กรุณาอดทน เสียสละ มีทัศนคติ   ที่ดีต่อวิชาชีพ

        4.2  วัตถุประสงค์ของหลักสูตรูตรูตรูตรูตรูตร

                1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเซรามิกส์    เพียงพอที่จะนำไปประกอบอาชีพอิสระ หรือในหน่วยงานอื่นๆที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเซรามิกส์ไปประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาการเทคโนโลยีเซรามิกส์และปฏิบัติงานด้วยความขยัน หมั่นเพียร ประหยัดมีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบและมีคุณธรรม

5.  กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6.  คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และหรือเป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7.  การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ / หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8.  ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่งๆแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ปกติ โดย      1 ภาคการศึกษามีระยะการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

9.  ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 7 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ   1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่า    เท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

10.  การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12.  อาจารย์ผู้สอน

       12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ - สกุล / วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ / ประสบการณ์

รายวิชาที่รับผิดชอบ

1.

นายประนอม   มานะกิจ

    -  กศ .ม .( อุตสาหกรรมศึกษา ) มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  ค .บ .( อุตสาหกรรมศิลป์ ) วิทยาลัยครูพระนคร

เอกสารประกอบการสอน

    -  “การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 1”

    -  เซรามิกส์เบื้องต้น
    -  ทฤษฎีการออกแบบ
    - 
เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
    -  ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
    - 
โครงการพิเศษเทคโนโลยีเซรามิกส์

2.

นายสันติ   พงษ์พรต

    -  ค .ม .( เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
    -  วท .บ .( เทคโนโลยีเซรามิกส์ ) สถาบันราชภัฏพระนคร

 

    -  การทำพิมพ์และการหล่อน้ำเคลือบ
    -  การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน
    - 
การทดสอบและการวิเคราะห์ฯ

3.

นายมนตรี ใจเยี่ยม

    -  วท .บ .( เทคโนโลยีเซรามิกส์ ) สถาบันราชภัฏลำปาง

เอกสารประกอบการสอน

    -  “ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา ”  

    -  เตาเผาและการเผาเซรามิกส์
    -  nbsp; การควบคุมคุณภาพ
    - 
วัสดุเซรามิกส์
    -  แก้วและโลหะ

4.

นายณัฐเศรษฐ์   น้ำคำ

    -  กศ .ม .( เทคโนโลยีและสื่อสารทางการศึกษา )ม . นเรศวร
    -  วท .บ .( เทคโนโลยีเซรามิกส์ ) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

เอกสารประกอบการสอน

    -  “การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ ”

การค้นคว้าวิจัย

    -  “ กระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์
         เครื่องปั้นดินเผาฯ ” (วิจัยร่วม )

    -  เขียนแบบเทคนิค
    -  การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
    - 
การขึ้นรูปด้วยใบมีด
    -  การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

5.

นางศุภลักษณ์    ใจเยี่ยม

    -  วท .บ .( เทคโนโลยีเซรามิกส์ ) สถาบันราชภัฏลำปาง

 

    -  เนื้อเซรามิกส์
    -  การประดิษฐ์เซรามิกส์
    - 
เครื่องมือและอุปกรณ์ฯ
    -  ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา

13.  จำนวนนักศึกษา

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

25 25 25 25 25

ชั้นปีที่ 2

  25 25 25 25

ชั้นปีที่ 3

    25 25 25

ชั้นปีที่ 4

      25 25

รวม

25 50 75 100 100

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

      25 25

14.  สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1  สถานที่อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเซรามิกส์

ที่

ประเภทห้อง

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการ เพิ่มในอนาคต

หมายเหตุ

1.

ห้องบรรยาย

1 ห้อง

2 ห้อง

 

2.

ห้องปฏิบัติการทางเคมี

 

1 ห้อง

 

3.

ห้องปฏิบัติการการขึ้นรูป

1 ห้อง

 

 

4.

ห้องทดสอบคุณภาพ

 

1 ห้อง

 

5.

ห้องเก็บสารเคมี

1 ห้อง

 

 

6.

ห้องศึกษาค้นคว้าของนักศึกษา

 

1 ห้อง

 

7.

ห้องปฏิบัติการเผา

1 ห้อง

 

 

8.

ห้องเขียนแบบและ ออกแบบ

1 ห้อง

 

ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น

9

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1 ห้อง

 

ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น

10

ห้องพักอาจารย์

1 ห้อง

 

 

        14.2  อุปกรณ์การสอน

ที่

รายงาน

จำนวน ที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการ เพิ่มในอนาคต

หมายเหตุ

1

Electronic Kiln

2

-

 

2

Gas Kiln

2

-

 

3

เตาทดลอง Electronic Kiln ( 1 ลบ . ฟ 3 )/ Gas Kiln

2

-

 

4

เครื่องบดความเร็วสูง

1

-

 

5

Ball Mill

1

-

 

6

เครื่องผสมปูนปลาสเตอร์สูญญากาศ

1

1

 

7

เครื่องชั่ง

1

1

 

8

Jigger

5

5

 

9

แป้นหมุนไฟฟ้า

10

5

 

10

แป้นหมุนมือ

5

-

 

11

แป้นหมุนตกแต่ง

20

-

 

12

เครื่องรีดดิน

1

-

 

13

เครื่องกวนน้ำสลิป

1

1

 

14

เครื่องแยกเหล็ก

1

-

 

15

เครื่องชั่งไฟฟ้า ทศนิยม 3 จุด

1

2

 

16

เครื่องทดสอบหาค่า ถ . พ .

2

2

 

17

ปั๊มลม

1

-

 

18

กาพ่นเคลือบ

2

5

 

19

แอร์บัส

3

 

 

15.  ห้องสมุด

        สำนักวิทยบริการและสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        15.1  วารสาร ควรมีวารสารภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

ที่

ชื่อตำรา / วารสาร /เอกสาร

1

วัตถุดิบ

2

เซรามิกส์

3

แก้วและซีเมนต์

4

วัสดุศาสตร์

5

โลหะวิทยา

6

บ้านและสวน

7

Glaze and Frit

8

Raw Material

9

New Ceramics

10

Refractory

11

เคลือบเซรามิกส์

12

น้ำเคลือบเครื่องปั้นดินเผา

13

เตาเผาและการเผา

14

สีสำเร็จรูป

15

การออกแบบผลิตภัณฑ์

16

เอกสารวิชาการทางเซรามิกส์

17

งานวิจัยเซรามิกส์

18

Ceramics design

19

Ceramics Refractories

20

Ceramics and Print

21

Ceramics Style

22

Abrasive

        15.2  เอกสารตำรา

            มีเอกสารตำราภาษาไทยหรืออังกฤษใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชาต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาเฉพาะด้านกลุ่มเนื้อหาบังคับครบทุกรายวิชาดังต่อไปนี้

                เอกสารตำราเฉพาะด้าน ภายในเอกสารหรือตำราจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

                -  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา
                -  เซรามิกส์
                -  วัสดุศาสตร์
                -  ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
                -  New Ceramics
                -  การออกแบบผลิตภัณฑ์ในงานอุตสาหกรรม
                -  เคมีทั่วไป
                -  ขั้นตอนการประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์

        15.3  แหล่งวิทยาการ

                - ศูนย์พัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ จ . ลำปาง
                - กรมวิทยาศาสตร์บริการ   กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                - หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

16.  งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณ

2549

2550

2551

2612

2553

    -  ค่าตอบแทน

12,000.-

12,000.-

12,000.-

12,000.-

12,000.-

    -  ค่าใช้จ่าย

12,000.-

12,000.-

12,000.-

12,000.-

12,000.-

    -  ค่าวัสดุ

80,000.-

80,000.-

80,000.-

80,000.-

80,000.-

รวมงบดำเนินการ

104,000.-

104,000.-

104,000.-

104,000.-

104,000.-

    -  ค่าครุภัณฑ์

250,000.-

500,000.-

500,000.-

500,000.-

500,000.-

    -  ค่าสิ่งก่อสร้าง

-

-

-

-

-

รวมงบลงทุน

250,000.-

500,000.-

500,000.-

500,000.-

500,000.-

รวมทั้งสิ้น

354,000.-

604,000.-

604,000.-

604,000.-

604,000.-

17.  หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1  จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

         17.2  โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา / กลุ่มวิชา /วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก .  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1.  กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2.  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4.  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข .  หมวดวิชาเฉพาะ

93

 

1.  วิชาแกน

30

 

2.  วิชาเฉพาะด้านบังคับ

41

 

3.  วิชาเฉพาะด้านเลือก

15

 

4.  วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

7

ค .  หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

130

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

               จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละหมวดวิชามีดังนี

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        . หมวดวิชาเฉพาะ 93 หน่วยกิต

            (1 )  วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิตมีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

                ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

 

English for Science

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3603105

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Economics

 

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

Research in Science

 

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to   Physics

 

4221104

เคมีเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Chemistry

 

4222201

เคมีอนินทรีย์   1

3(2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 1

 

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 

Calculus 1

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

Computer for Science

 

6121101

เซรามิกส์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Ceramics

 

            (2)  วิชาฉพาะด้านบังคับ จำนวน 41 หน่วยกิตมีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

231 2 705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

6121201

การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2 -2 -5)

 

Introduction to Ceramics   Design

 

6121203

หลักการออกแบบและการเขียนแบบ

3(2- 2 -5)

 

Principles of Drawing and Design

 

6121204

คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเซรามิกส์

2(1- 2 -3)

 

Computer for Ceramics Design

 

6121401

เครื่องมือและอุปกรณ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Toos and Machines Equipment

 

6121402

เตาเผาและการเผาเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Kiln and Firing

 

6121501

วัสดุเซรามิกส์และวัสดุศาสตร์

3(3- 0 -6)

 

Materials and Ceramics Raw

 

6121502

การทดสอบและการวิเคราะห์ทางเซรามิกส์เบื้องต้น

2(1-2-3)

 

Introduction to Ceramics Testing and Analysis

 

6122102

ประวัติและวิวัฒนาการทางเซรามิกส์

2(1-2-3)

 

History and Evolution of Ceramics

 

6122301

การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Throwing

 

6122302

การทำพิมพ์และการหล่อเบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Mold Making and Casting

 

6122304

การขึ้นรูปด้วยใบมีดเบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Jiggering

 

6122501

น้ำเคลือบเบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Glazes

 

6124505

เนื้อเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2- 2 -5)

 

Introduction to Ceramics Bodies

 

6124903

โครงการพิเศษเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(1-2-3)

 

Special Project in Ceramics Technology

 

            (3 )  วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 15 หน่วยกิตมีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

                ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Computer

 

6121202

การออกแบบโดยการทดลอง

2(1-2-3)

 

Experimental Design

 

6122307

การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

3(2- 2 -5)

 

Under Glaze Decoration

 

6122308

การประดิษฐ์เซรามิกส์

2(1-2-3)

 

Ceramics Craft

 

6122502

วัสดุทนไฟและสิ่งขัดถู

3(2-2-5)

 

Refractories and Abrasive

 

6122504

แก้วและโลหะเคลือบ

3 ( 2 -2 - 5 )

 

Glass and Enamel

 

6122505

สีสำเร็จรูปเบื้องต้น

2(1- 2 -3)

 

Introduction to Ceramics Color

 

6122507

การทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ขั้นสูง

2(1-2-3)

 

Advance to   Ceramics Testing and Analysis

 

6122601

ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา

2(1-2-3)

 

Ceramics Sculpture

 

6122602

เซรามิกส์พื้นบ้าน

2(1-2-3)

 

Traditional Ceramics

 

6122603

เซรามิกส์ในงานก่อสร้าง

2(1-2-3)

 

Ceramics for Construction

 

6123101

แผนภาพสมดุลทางเซรามิกส์

2(2-0-4)

 

Phase Equilibrium for Ceramics

 

6123201

การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ขั้นสูง

3(2- 2 -5)

 

Advance to Ceramics Design

 

6123302

การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนขั้นสูง

3(2-2-5)

 

Advance to   Throwing

 

6124301

การทำพิมพ์และการหล่อขั้นสูง

3(2- 2 -5)

 

Advance to Mold Making and Casting

 

6124501

น้ำเคลือบขั้นสูง

3(2- 2 -5)

 

Advance to   Glaze

 

6124506

เนื้อเซรามิกส์ 2

3(2-2-5)

 

Ceramics Bodies 2

 

6124507

เซรามิกส์สมัยใหม่

3(2-2-5)

 

New   Ceramics

 

6124509

ภาษาอังกฤษในงานเซรามิกส์

3(3-0-6)

 

English for Ceramics Work

 

6124902

การศึกษาค้นคว้า

3(2-2-5)

 

Individual Study

 

            (4 )  วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิตมีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6123802

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(90)

 

Preparation for Professional Experience in Ceramics Technology

 

6124802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

5(450)

 

Training for Professional Experience in Ceramics Technology

 

        .  หมวดวิชาเลือกเสรี   เรียน 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนวิชาใดๆในหลักสูตรวิทยาลัยครูหรือหลักสูตรของมหาวิยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

        17.4  แผนการเรียน

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 ( 3-0-6 )

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3( 2 -3-4 )

แกน

รวม

18

 

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2000107

ชีวิตกับนาฏการ

2(2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2(2-0-4)

เลือกเรียน

1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

รวม

16

 

 

  ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

แกน

4221104

เคมีเบื้องต้น

3(2 -2-5)

แกน

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

แกน

6121101

เซรามิกส์เบื้องต้น

3(3-0-6)

แกน

6121203

หลักการออกแบบและการเขียนแบบ

3(2-2-5)

บังคับ

6121401

เครื่องมือและอุปกรณ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

6124505

เนื้อเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

รวม

21

 

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

แกน

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

แกน

6121201

การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2 -5)

บังคับ

6121502

การทดสอบและการวิเคราะห์ทางเซรามิกส์เบื้องต้น

2(1-2-3)

บังคับ

6122102

ประวัติวิและวัฒนาการเซรามิกส์

2(1-2-3)

บังคับ

6122302

การทำพิมพ์และการหล่อเบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

6122501

น้ำเคลือบเบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

 

เลือกเสรี

2( )

 

รวม

21

 

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

แกน

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

แกน

6121204

คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเซรามิกส์

บังคับ

6121402

เตาเผาและการเผาเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

6121501

วัสดุเซรามิกส์และวัสดุศาสตร์

3(3-0-6)

บังคับ

6122304

การขึ้นรูปด้วยใบมีดเบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

 

เลือกเสรี

2(   -   - )

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

3603105

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

3(3-0-6)

แกน

6122301

การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเบื้องต้น

3(2-2-5)

บังคับ

6122307

การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

3(2-2-5)

เลือก

6122505

สีสำเร็จรูปเบื้องต้น

2(1-2-3)

เลือก

6124501

น้ำเคลือบขั้นสูง

3(2-2-5)

เลือก

 

เลือกเสรี

2(  -  - )

 

รวม

19

 

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

เลือก

6122504

แก้วและโลหะเคลือบ

2(1-2-3)

เลือก

6123802

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(90)

 

6124301

การทำพิมพ์และการหล่อขั้นสูง

3(2-2-5)

เลือก

6124903

โครงการพิเศษเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(1-2-3)

บังคับ

รวม

12

 

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6124802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

5(450)

 

รวม

5

 

 

รวมทั้งหมด

131

 

 

        17.5  คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา  2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา   3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคลการบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา   3603105

เศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย และโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม กับการพัฒนาเศรษฐกิจ การตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน การผลิต และการเลือกทำเล    ที่ตั้งของอุตสาหกรรม วิธีหาแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในภาค อุตสาหกรรม

รายวิชา   4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

Research in Science

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการวิจัยและการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือ การค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา   4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction   to   Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆโมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น       คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา   4221104

เคมีเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction   to   Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง        ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3(2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 1

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดสารประกอบไอออนิก    สารประกอบโคเวเลนต์   และสมบัติของสารประกอบไอออนิกและโคเวเลนต์   ทั้งด้านกายภาพและเคมี   สมบัติและสารประกอบของธาตุ   โลหะ   อโลหะ   เคมีของสารอนินทรีย์ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำและไม่ใช่น้ำ   และปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก   การเตรียมสารประกอบไอออนิก   และ   สารประกอบโคเวเลนต์

รายวิชา   4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิตฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา   4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

Computer   for   Science

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การนำเสนอสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เรียน

รายวิชา   6121101

เซรามิกส์เบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Ceramics

 

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของเซรามิกส์ ประเภทและกระบวนการผลิต เน้นให้เห็นวิวัฒนาการของเซรามิกส์ จนถึงยุคปัจจุบัน

 

            3. คำอธิบายรายหมวดวิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน   41   หน่วยกิต

รายวิชา  2312705 

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม    

3(3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอุตสาหกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์   สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์    บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม    คู่มือการใช้เครื่องมือ    การใช้อุปกรณ์    เครื่องจักร    ผลิตภัณฑ์     ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน    ฝึกทักษะในการอ่าน    บันทึก    สรุปความความ    ตีความ    ขยายความ    รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร    โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา   6121201

การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Ceramics  Design

 

        ศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ การออกแบบในระบบ   อุตสาหกรรม ให้ปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ทั้งทางด้านโครงสร้างทั่วไป และการตกแต่ง

รายวิชา   6121203 

หลักการการออกแบบและการเขียนแบบ

3(2-2-5)

 

Principles of Drawing and Design

 

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนแบบ เครื่องมือ เครื่องใช้และการเก็บรักษา ชนิดและลักษณะของเส้น สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในงานเขียนแบบทั่วไป มาตราส่วน ต่าง ๆ ตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้ในงานเขียนแบบ การเขียนรูปทรงเรขาคณิต การเขียนภาพ Orthographic Projection, Oblique, Isometric และ Perspective การเขียน Chart และ Diagram องค์ประกอบของงานเขียนแบบ หลักการออกแบบ แนวความคิดในงานออกแบบ ภายใน การโฆษณา ในการนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน รวบรวมลักษณะของงานออกแบบต่าง ๆ และฝึกหัดอ่านแบบ เขียนแบบและการออกแบบ

รายวิชา   6121204 

คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเซรามิกส์

2(1-2-3)

 

Computer for Ceramics Design

 

        ศึกษาการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ 2 มิติและ 3 มิติ โดยเน้นการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์      เซรามิกส์ เช่น การเขียนแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย การเขียนภาพ 3 มิติ ฯลฯ ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ เขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

รายวิชา   6121401 

เครื่องมือและอุปกรณ์เซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Toos and Machines Equipment

 

        ศึกษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับงานการผลิตเซรามิกส์ และมีประสิทธิภาพ ศึกษาและออกแบบดัดแปลง สร้างเครื่องมืออย่างง่าย ๆ ประหยัดและนำมาใช้ประโยชน์ได้พร้อมทั้งฝึกการใช้     เครื่องมือทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์

รายวิชา   6121402 

เตาเผาและการเผาเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Kiln and Firing

 

        ศึกษาให้มีความรู้เรื่องเตาที่ใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ชนิดต่าง ๆ การใช้เตาและการเผาผลิตภัณฑ์และการศึกษาเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการเผาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการใช้และการบำรุงรักษา

รายวิชา 6121501

วัสดุเซรามิกส์และวัสดุศาสตร์

3(3-0-6)

 

Materials and Ceramics Raw

 

        ศึกษาวัตถุดิบต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และอุตสาหกรรมอื่นๆ แหล่งกำเนิด กระบวนการผลิตตลอดจนการนำมาใช้ในงานผลิตทางเซรามิกส์และในทางอุตสาหกรรมในงานทั่ว ๆ ไปฝึกปฏิบัติการทดสอบวัสดุในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และอุตสาหกรรมอื่นๆ

รายวิชา  6121502

การทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์เบื้องต้น

2(1-2-3)

 

Introduction to Ceramics Testing and Analysis

 

        ศึกษาหลักการทฤษฎีการทดสอบ การวิเคราะห์เซรามิกส์ในห้องปฏิบัติการตามระเบียบมาตรฐานสากลในเรื่อง ความหนาแน่น ความหนืด ความถ่วงจำเพาะ   การหดตัว ความละเอียด การกระจายตัวของอนุภาคความแข็งและความแข็งแรง ฝึกปฏิบัติการทดสอบและการวิเคราะห์ในทางเซรามิกส์

รายวิชา  6122102

ประวัติและวิวัฒนาการทางเซรามิกส์

2(1-2-3)

 

History and Evolution of Ceramics

 

        ศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติและลักษณะของการสร้างสรรค์เซรามิกส์ที่ปรากฏในแหล่งชุมชนที่สำคัญในประเทศไทย และต่างประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาในส่วนของกรรมวิธีการผลิต ลักษณะ       รูปทรงและลวดลายการตกแต่ง เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ และสร้างสรรค์ผลงานเซรามิกส์ได้อย่าง เหมาะสมในสังคมปัจจุบัน ฝึกปฏิบัติการพัฒนารูปแบบเทคนิควิธีการต่าง ๆ ทางเซรามิกส์

รายวิชา  6122301

การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Throwing

 

        ศึกษาให้ความรู้และทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การใช้แป้นหมุนให้มีความสามารถในการขึ้นรูปทรงกระบอก   ชาม   จาน   ฝึกการขูด และตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เรียบ (Finishing)

รายวิชา  6122302

การทำพิมพ์และการหล่อเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Mold Making and Casting

 

        ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำแบบพิมพ์ ปลาสเตอร์ (Plaster Mold) แบบพิมพ์ชนิดต่าง ๆ ให้มีทักษะในการสร้างต้นแบบ (Model) แบบพิมพ์ (Working Model) ที่ใช้ในระบบงาน        อุตสาหกรรมทั้งชนิดหล่อกลวง (Drain Casting) และชนิดหล่อตัน (Solid Casting ) ตลอดจนการหล่อด้วยน้ำดิน   (Slip Casting)

รายวิชา  6122304

การขึ้นรูปด้วยใบมีดเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Jiggering

 

        ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยใบมีด หลักการออกแบบ เทคนิคต่างๆ ในการผลิต การเตรียมใบมีดชนิดต่าง ๆ การสร้างแบบด้วยเครื่อง (Jigger) การสร้างต้นแบบ (Model) การสร้างแม่แบบ (Block Mold) แบบพิมพ์ถ่าย (Case Mold) และแบบพิมพ์ (Working Mold) การทำใบมีดทั้งชนิดแบบภายนอก (Jiggering) และชนิดแบบภายใน (Joylleying) พร้อมทั้งการสร้างแบบที่ซับซ้อนและมีลวดลาย หรือเส้นขอบที่ผลิตภัณฑ์

รายวิชา  6122501

น้ำเคลือบเบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Glazes

 

        ศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับน้ำเคลือบ วิวัฒนาการของการเคลือบ การเกิดเคลือบวัตถุดิบในการทำเคลือบการคำนวณเคลือบด้วยวิธีตารางสามเหลี่ยม , ตารางสี่เหลี่ยม , Chemical Analysisc และวิธีของเซเกอร์ และการเตรียมเคลือบ เป็นต้น

รายวิชา  6124505

เนื้อเซรามิกส์เบื้องต้น

3(2-2-5)

 

Introduction to Ceramics Bodies

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการคำนวณ การเตรียมเนื้อเซรามิกส์ ทดสอบเนื้อเซรามิกส์ ด้วยวิธีต่าง ๆ และวิจัยวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทำเนื้อดินปั้น (Bodies) ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ประเภทต่าง ๆ ทางด้านคุณสมบัติกรรมวิธีการเตรียมเนื้อดินที่ปั้น และกรรมวิธีการผลิต

รายวิชา   6124903

โครงการพิเศษเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(1-2-3)

 

Special Project in Ceramics Technology

 

        ศึกษาค้นคว้าและวิจัยเกี่ยวกับงานเซรามิกส์ที่น่าสนใจ ให้ปฏิบัติการทดลองทำด้วยตนเองตามโครงการเพื่อให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านตามกระบวนการ และขั้นตอนที่ศึกษาค้นคว้า เช่น การทำสีสำเร็จรูป การสร้างเตาเผาชนิดต่าง ๆ การทำน้ำเคลือบชนิดต่าง ๆ การทำเนื้อดิน หรือการทำผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

 

            4. คำอธิบายรายหมวดวิชาเฉพาะด้านเลือก   จำนวน     15    หน่วยกิต

รายวิชา   6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Computer

 

        ศึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม ระบบการประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบต่าง ๆ ตลอดจนการนำข้อมูลจากระบบ Internet มาใช้ในโรงงาน           อุตสาหกรรมจนสามารถพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา   6121202

การออกแบบโดยการทดลอง

2(1-2-3)

 

Experimental Design

 

        ศึกษาและฝึกฝนการออกแบบสร้างผลงานในลักษณะสามมิติ โดยการทดลองสร้างผลงานที่เกิดจากการแสดงออกทางความคิดหรืออาศัยแนวทางจากรูปทรงธรรมชาติ และรูปทรงที่ได้จากการประดิษฐ์ โดยให้มีความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง (form) เนื้อที่ว่าง (Space) แสง เงา และสี เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา

รายวิชา   6122307

การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์

3(2-2-5)

 

Under Glaze Decoration

 

        ศึกษาและปฏิบัติการตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์และใช้สีบนเคลือบ , สีใต้เคลือบและออกแบบตกแต่งลวดลายผลิตภัณฑ์ทางเซรามิกส์ได้โดยใช้วิธีการเขียน การทำรูปลอกใต้เคลือบ การทำซิลค์สกรีนใต้เคลือบ พร้อมทั้งเทคนิควีธีการตกแต่งด้วยวิธีต่างๆ เช่น Engobe, Incising, Scraffito, Photograph.   Stamping, Wax Resist เป็นต้น

รายวิชา   6122308

การประดิษฐ์เซรามิกส์

2(1-2-3)

 

Ceramics Craft

 

        ศึกษาและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเซรามิกส์   เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ       เช่นครื่องประดับ ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์พื้นบ้านอื่น ๆ

รายวิชา  6122502

วัสดุทนไฟและสิ่งขัดถู

3(2-2-5)

 

Refractories and Abrasive

 

        ศึกษาเกี่ยวกับวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมวัตถุทนไฟและสิ่งขัดถู สมบัติประโยชน์ ตลอดจนกรรมวิธีการผลิตและการนำไปใช้

รายวิชา  6122504

แก้วและโลหะเคลือบ

3(2-2-5)

 

Glass and Enamel

 

        ศึกษาสมบัติ วัตถุดิบ ความสำคัญ ประโยชน์ เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมทั้งเทคนิคและกรรมวิธีการผลิตแก้วและโลหะเคลือบ ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา การผลิต การประยุกต์ใช้ และสมบัติของแก้วชนิดต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบกับสมบัติ และศึกษาเกี่ยวกับการตกผลึก ของแก้ว

รายวิชา   6122505

สีสำเร็จรูปเบื้องต้น

2(1-2-3)

 

Introduction to Ceramics Color

 

        ศึกษาถึงวัตถุดิบ และกระบวนการทำสีสำเร็จรูป เพื่อใช้ในงานทำสีบนเคลือบ ใต้เคลือบ และในเคลือบคิดค้นหาสีที่แปลกใหม่ และการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสีสำเร็จรูป ฝึกปฏิบัติการในการทำสีสำเร็จรูป

รายวิชา  6122507

การทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ขั้นสูง

2(1-2-3)

 

Advance to   Ceramics Testing and Analysis

 

        ศึกษาหลักการทฤษฎีการทดสอบ      และการวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ในห้องปฏิบัติการตามระบบมาตรฐานสากล ในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของสารเซรามิกส์เมื่อได้รับความร้อน (DTA, TG) กล้องถ่ายจุลโครง โดยอิเล็กตรอนแบบส่องกราด และเครื่องมือทาง Spectroscopy ได้แก่ UV-VIS Atomic Absorption และ X-ray เป็นต้น

รายวิชา   6122601

ประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา

2(1-2-3)

 

Ceramics Sculpture

 

        ศึกษาหลักการและทฤษฎีงานประติมากรรมและกระบวนการงานประติมากรรมทางด้านเซรามิกส์ในลักษณะต่างๆ ฝึกทักษะในการสร้างสรรค์งานประติมากรรมทางด้านเซรามิกส์

รายวิชา   6122602

เซรามิกส์พื้นบ้าน

2(1-2-3)

 

Traditional Ceramics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์งานผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในท้องถิ่น ตลอดจนกรรมวิธีผลิตในระบบอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น   เช่น ผลิตภัณฑ์เซราคอน ผลิตภัณฑ์ด่านเกวียน ผลิตภัณฑ์โอ่งน้ำ เป็นต้น

รายวิชา   6122603

เซรามิกส์ในงานก่อสร้าง

2(1-2-3)

 

Ceramics for Construction

 

        ศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการนำไปใช้กับการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อิฐกระเบื้องมุงหลังคา ท่อระบายน้ำ กระเบื้องตกแต่ง เป็นต้น

รายวิชา  6123101

แผนภาพสมดุลทางเซรามิกส์

2(2-0-4)

 

Phase Equilibrium for Ceramics

 

        ศึกษาสมดุลวิวิธพันธ์ในระบบอินทรีย์ ระบบหนึ่ง สอง และสามองค์ประกอบ สารละลายของแข็ง การแทนที่ของไอออนในสภาวะรูปร่างเหมือนกัน เส้นแอลคีเมด สมดุลอุปเสถียร เส้นทางการตกผลึก

รายวิชา  6123201

การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ขั้นสูง

3(2-2-5)

 

Advance to Ceramics Design

 

        ศึกษาและฝึกฝนการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาในขั้นสูง โดยเน้นการออกแบบ เพื่อการผลิตในระบบ อุตสาหกรรม ตลอดจนศึกษาปัญหาในการผลิตที่อาจจะเกิดขึ้นในการออกแบบ การฝึกออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในระบบอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในงานก่อสร้าง งาน ตกแต่งอาคาร งานสุขภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม และผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ

รายวิชา   6123302

การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนขั้นสูง

3(2-2-5)

 

Advance to   Throwing

 

        ศึกษาการออกแบบและฝึกทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตามระบบอุตสาหกรรม

รายวิชา   6124301

การทำพิมพ์และการหล่อขั้นสูง

3(2-2-5)

 

Advance to Mold Making and Casting

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการทำพิมพ์หลายชิ้นประเภทรูปคน รูปสัตว์ ฯลฯ การทำพิมพ์ชุด (Gang Mold) เช่นจานเปล   เป็นต้น ตลอดจนการใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำพิมพ์ในระบบอุตสาหกรรมศึกษาและฝึกทักษะการสร้างแบบพิมพ์ แบบใช้แรงดัด (Pressure Mold)   ตลอดจนศึกษาฝึกฝนการผสมเนื้อดินปั้นสำหรับการขึ้นรูปด้วยแรงอัด

รายวิชา   6124501

น้ำเคลือบขั้นสูง

3(2-2-5)

 

Advance to   Glaze

 

        ศึกษาฝึกฝนการใช้น้ำเคลือบทางด้านการตกแต่งเคลือบ (Glaze Decoration)          การทดสอบหาประสิทธิภาพของเคลือบที่เคลือบบนผิวผลิตภัณฑ์ เช่น ทดสอบความแข็ง ทดสอบการรวมตัว ทดสอบการ   ไหลตัว เป็นต้น ศึกษาฝึกฝนหลักการทำฟริต (Frit) การหาคุณสมบัติทางกายภาพของแก้ว และการนำ Frit ไปใช้งานผสมเคลือบและสีสำเร็จรูป

รายวิชา   6124506

เนื้อเซรามิกส์ 2

3(2-2-5)

 

Ceramics Bodies 2

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการคำนวณ   การเตรียมเนื้อเซรามิกส์   ทดสอบเนื้อเซรามิกส์   ด้วยวิธีต่าง   ๆ   ปรับปรุงคุณภาพเนื้อเซรามิกส์ที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยกรรมวิธีต่าง   ๆ   ที่เหมาะสมกับสภาวะของเนื้อเซรามิกส์ เช่น  Powder Slip, Plastic  เป็นต้น

รายวิชา   6124507

เซรามิกส์สมัยใหม่

3(2-2-5)

 

New   Ceramics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ คุณสมบัติของเซรามิกส์สมัยใหม่ และลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ในวงการเซรามิกส์รวมทั้งกระบวนการผลิตจำพวก High Alumina Translucent Alumina, Zirconia, Silicon Carbide เป็นต้น รวมทั้งศึกษาสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัสดุ และกระบวนการผลิตวัสดุที่ใช้งานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เฟอร์ไรด์ เฟอร์โรแมกเนติก ไดอิเล็กทริก เทอร์โมอิเล็กทริก เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นต้น

รายวิชา   6124509

ภาษาอังกฤษในงานเซรามิกส์

3(2-2-5)

 

English for Ceramics Work

 

        ศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานด้านอุตสาหกรรมเซรามิกส์       โดยมุ่งพัฒนาและฝึกฝนทักษะด้านการอ่าน   การเขียน   การฟังและการพูดในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์   เช่น   การอ่านบทความ   ด้านเทคนิค   บันทึกข้อความ   คู่มือการใช้เครื่องมือ   อุปกรณ์   เครื่องจักร   ผลิตภัณฑ์   ตามระบบมาตรฐานอุตสาหกรรม

รายวิชา  6124902

การศึกษาค้นคว้า

3(2-2-5)

 

Individual Study

 

        ศึกษา ค้นคว้า และวิจัย เกี่ยวกับงานเซรามิกส์ที่น่าสนใจ ให้ปฏิบัติการทดลองทำด้วยตนเองตาม     โครงการ เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านตามกระบวนการและขั้นตอนที่ศึกษาค้นคว้า เช่น การทำสีสำเร็จรูปการสร้างเตาเผาชนิดต่าง ๆ การทำเคลือบชนิดต่าง ๆ การทำเนื้อดิน หรือการทำผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น

 

            5. คำอธิบายรายวิชาวิชาประสบการณ์วิชาชีพ       จำนวน   7   หน่วยกิต

รายวิชา   6123802

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

2(90)

 

Preparation for Professional Experience in Ceramics Technology

        จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเตรียมพร้อมของผู้เรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ ลักษณะ และโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาด้านตัวผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และ              คุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ โดยการกระทำในสถานการณ์หรือรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานใน    วิชาชีพนั้น ๆ

รายวิชา  6124802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีเซรามิกส์

5(450)

 

Training for Professional Experience in Ceramics Technology

 

        ต้องออกฝึกงานในโรงงาน หรือสถานประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ หรือสถานศึกษา หรือสถาบันวิจัยทางเซรามิกส์ ไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง โดยอยู่ภายใต้การนิเทศของคณะกรรมการภาควิชาและ    คณะวิชา

18.  การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพ     หลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1  การบริหารหลักสูตร

                1.  กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2.  แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ / หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3.  จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4.  จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5.  มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6.  จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7.  มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8.  มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9.  ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10.  จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2  ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1.  จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2.  จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3.  จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4.  ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5.  มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6.  มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3  การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1.  จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2.  จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3.  จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4.  ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5.  จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4  ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1.  สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2.  สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปีเพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิต บัณฑิต
                3.  สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4.  สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19.  การพัฒนาหลักสูตร

        19.1  การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1.  คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรมาจากผู้มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ / หรือมีประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้อง
                2.  มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3.  มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4.  มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5.  มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6.  มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2  การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1.  ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอน ปีละครั้ง
                2.  ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียน รวบยอด
                3.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา   ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4.  ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษาทุก 4 ปี
                5.  มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

******************************

 

ภาคผนวก

   

1.  สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์   พุทธศักราช 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์

วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ )

 

2

ชื่อแขนงวิชา

เทคโนโลยีเซรามิกส์

เทคโนโลยีเซรามิกส์

 

3

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ )

วิทยาศาสตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ )

 

4

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

5

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5 ข้อ

3 ข้อ

 

6

หลักสูตร

 

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 3 นก . 
เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก .

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น .ก .
และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น .ก .

 

 

 

6.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

 

6.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

 

 

   (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33   หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

   (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(95 หน่วยกิต )

(93 หน่วยกิต )

 

        2.1 วิชาแกน

-

30 หน่วยกิต

รวมวิชากลุ่มการจัดการ 6 หน่วยกิต

        2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

40 หน่วยกิต

41 หน่วยกิต

 

        2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

33 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

 

        2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

7 หน่วยกิต

 

   (3) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลข 2 หลักแรกให้ตรงกับรหัส
คณะ เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

 

5.4 คำอธิบายวิชา

72 รายวิชา

37 รายวิชา

ตัดออก 35รายวิชา

เพิ่มใหม่ 2 รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหล กสูตร

 

5 คน

 

2.  คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร   และผู้ทรงคุณวุฒิ

2.1     รศ . อายุวัฒน์    สว่างผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

2.2     นายประนอม   มานะกิจ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

2.3     นายมนตรี   ใจเยี่ยม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

2.4     นายสันติ   พงษ์พรต

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

2.5     นายณัฐเศรษฐ์   น้ำคำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

2.6     นางศุภลักษณ์   ใจเยี่ยม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

2.7     น.ส.จิตราภา   ปั้นเพ็ง

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

2.8     นายณัฐวุฒิ พีบขุนทด

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

2.9     ภานุมาศ     พรหมเทศ   

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

2.10   นายแวอีเลียด   บินโซดโอะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

2.11   ดร . ปัญญา   พลรักษ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

3.  ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ )

        1.  ดำเนินการประชุมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม   เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์   ปรัชญา และแนวทางการจัดทำหลักสูตร   พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักสูตร เดือนกรกฎาคม   2548

        2.  สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต   เดือนสิงหาคม   2548

        3.  จัดประชุม   เพื่อจัดทำหลักสูตรฉบับร่างหลักสูตร   ณ   ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยี อุตสาหกรรม   เมื่อวันที่   14-15   สิงหาคม 2548

        4.  ประชุมปฏิบัติการวิพากหลักสูตร โรงแรมอัมรินทร์ลากูน   จ . พิษณุโลก เมื่อวันที่ 15-16 กันยายน 2548 โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีเซรามิกส์ส์ รศ. อายุวัฒน์ สว่างผล อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร อาจารย์จาก
             มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม   มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและบุคคลจากสถานประกอบการให้ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้คำแนะนำในส่วนของหลักสูตรและรายวิชาต่างๆรวมทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางที่ส่งขอมูลการจัดทำหลักสูตร
             ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมาประกอบ

        5.  ดำเนินการประชุมภายในโปรแกรมวิชาเพื่อปรับปรุง แก้ไขหลักสูตรจากการที่ผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะเมื่อ   19-20   กันยายน 2548

        6.  นำเสนอหลักสูตร   และปรับปรุงแก้ไขต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ   มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์   เดือนกันยายน   2548

        7.  นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์   ระหว่างเดือน   กันยายน   - ตุลาคม   2548

        8.  นำมาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะและนำเสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        9.  ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ   เมื่อวันที่   1-15 ตุลาคม 2548

        10.  นำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548

        11.  นำเสนอหลักสูตรต่อสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548

        12.  นำเสนอหลักสูตรต่อคณะอนุกรรมการวิชาการ   สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548

        13. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของสภาวิชาการและอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

        14.  นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์   เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2548  สภามหาวิทยาลัย   โดยมีมติอนุมัติหลักสูตรนี้

4.  ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาตรบัณฑิต ( เทคโนโลยีเซรามิกส์ ) ดังนี้

        -  รศ . อายุวัฒน์   สว่างผล   กล่าวโดยสรุปไว้ว่า   การทำหลักสูตรต้องสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย  

        -  กลุ่มวิชาพื้นฐาน 34 หน่วยกิตให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับสาขาอื่นๆเป็นวิชาพื้นฐานที่ทุกคนต้องเรียน

        - กลุ่มวิชาแกน   เป็นวิชาที่บอกถึงคุณลักษณะของบัณฑิตที่จะจบไปเป็นหน้าเป็นตาของบัณฑิตโยกลุ่มวิชาแกนน่าจะให้ทำการศึกษาเนื้อหาให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่เปิดในกลุ่มวิชาแกนบางรายวิชาไม่สอดคล้องกับเซรามิกส์ต้องมีการปรับรายวิชา
          เช่นวิชาชีวทั่วไป เป็นต้น

        - กลุ่มวิชาเฉพาะหรือกลุ่มวิชาเอกที่จะทำการศึกษาโดยให้ปรับปรุงจากหลักสูตรเดิมซึ่งเนื้อหาของรายวิชาในหลักสูตรเดิมมีความซ้ำซ้อน   ให้มีการปรับรวมรายวิชาที่มีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันและเพิ่มรายละเอียดของคำอธิบายให้ทันต่อสภาพการณ์ และมีการปรับ
          เพิ่มจำนวนรายชั่วโมงหรือหน่วยกิตให้เหมาะสมกับเนื้อหา

5.  การแก้ไขปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      ภาษาอังกฤษในงานเซรามิกส์  / ภาษาอังกฤษ      English for Ceramics     

รหัสวิชาใหม่ 6121701  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม -  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ในงานด้านอุตสาหกรรมเซรามิกส์   โดยมุ่งพัฒนาและฝึกฝนทักษะด้านการอ่าน   การเขียน   การฟังและการพูดในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์   เช่น   การอ่านบทความ  ด้านเทคนิค   บันทึกข้อความ   คู่มือการใช้เครื่องมือ  อุปกรณ์  เครื่องจักร  ผลิตภัณฑ์  ตามระบบมาตรฐานอุตสาหกรรม

    เป็นวิชาใหม่ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยฯ

ชื่อวิชาภาษาไทย      คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบเซรามิกส์  / ภาษาอังกฤษ      Computer   for Ceramics   Design

รหัสวิชาใหม่ 6121204  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม -  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ 2 มิติและ 3 มิติ โดยเน้นการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ เช่น การเขียนแบบแปลน รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย การเขียนภาพ 3 มิติ ฯลฯ ฝึกปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ เขียนแบบ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

    เป็นวิชาใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์เบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Ceramics   Design

รหัสวิชาใหม่ 6121201  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5521201  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์  การออกแบบในระบบอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ทั้งทางด้านโครงสร้างทั่วไป และการตกแต่ง

    ศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจในหลักการของการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ การออกแบบในระบบอุตสาหกรรมให้ฏิบัติการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ทั้งทางด้านโครงสร้างทั่วไป และการตกแต่ง

    แก้ไขชื่อวิชาเพื่อความเหมาะสม

ชื่อวิชาภาษาไทย      เครื่องมือและอุปกรณ์เซรามิกส์เบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Tools and Machines Equipment

รหัสวิชาใหม่ 6121401  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5521401  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับงานการผลิตเซรามิกส์  และมีประสิทธิภาพ  ศึกษาและออกแบบดัดแปลง  สร้างเครื่องมืออย่างง่าย ๆ ประหยัดและนำมาใช้ประโยชน์ได้พร้อมทั้งฝึกการใช้เครื่องมือทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์     ศึกษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับงานการผลิตเซรามิกส์  และมีประสิทธิภาพ    ศึกษาและออกแบบดัดแปลง  สร้างเครื่องมืออย่างง่าย ๆ   ประหยัดและนำมาใช้ประโยชน์ได้     ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      หลักการการออกแบบและการเขียนแบบ  / ภาษาอังกฤษ     Principles of Drawing and Design

รหัสวิชาใหม่ 6121203  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม -  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของการเขียนแบบ เครื่องมือ เครื่องใช้และการเก็บรักษา ชนิดและลักษณะของเส้น สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในงานเขียนแบบทั่วไป มาตราส่วน    ต่าง ๆ ตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้ในงานเขียนแบบ การเขียนรูปทรงเรขาคณิต การเขียนภาพ Orthographic Projection, Oblique, Isometric และ Perspective การเขียน  Chart และ Diagram องค์ประกอบของงานเขียนแบบ หลักการออกแบบ แนวความคิดในงานออกแบบ ภายใน การโฆษณา ในการนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน รวบรวมลักษณะของงานออกแบบต่าง ๆ และฝึกหัดอ่านแบบ เขียนแบบและการออกแบบ

 

    เป็นวิชาใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      เตาเผาและการเผาเซรามิกส์เบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Kiln and Firing

รหัสวิชาใหม่ 6121402  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5521402  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาให้มีความรู้เรื่องเตาที่ใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ชนิดต่าง ๆ   การใช้เตาและการเผาผลิตภัณฑ์และการศึกษาเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการเผาผลิตภัณฑ์  ตลอดจนการใช้และการบำรุงรักษา

    ศึกษาให้มีความรู้เรื่องเตาที่ใช้ในการเผาผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ชนิดต่าง ๆ การใช้เตาและการเผาผลิตภัณฑ์ และการศึกษาเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการเผาผลิตภัณฑ์ตลอดจนการใช้และการบำรุงรักษา

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      วัสดุเซรามิกส์และวัสดุศาสตร์  / ภาษาอังกฤษ       Materials and Ceramics Raw

รหัสวิชาใหม่ 6122501  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม -  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาวัตถุดิบต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และอุตสาหกรรมอื่นๆ  แหล่งกำเนิด    กระบวนการผลิตตลอดจนการนำมาใช้ในงานผลิตทางเซรามิกส์และในทางอุตสาหกรรมในงานทั่ว ๆ ไป ฝึกปฏิบัติการทดสอบวัสดุในอุตสาหกรรมเซรามิกส์และอุตสาหกรรมอื่นๆ

 

    เป็นวิชาใหม่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      การทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์เบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Ceramics Testing and Analysis

รหัสวิชาใหม่ 6121502  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5521502  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาหลักการ ทฤษฎีการทดสอบ   การวิเคราะห์เซรามิกส์ในห้องปฏิบัติการตามระเบียบมาตรฐานสากลในเรื่อง   ความหนาแน่น  ความหนืด ความถ่วงจำเพาะ  การหดตัว   ความละเอียด   การกระจายตัวของอนุภาคความแข็งและความแข็งแรง  ฝึกปฏิบัติการทดสอบและการวิเคราะห์ในทางเซรามิกส์

    ศึกษาหลักการ ทฤษฎีการทดสอบ  การวิเคราะห์เซรามิกส์ในห้องปฏิบัติการตามระเบียบมาตรฐานสากลในเรื่องความหนาแน่น  ความหนืด ความถ่วงจำเพาะ   การหดตัว   ความละเอียด   การกระจายตัวของอนุภาคความแข็งและความแข็งแรง

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      การขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเบื้องต้น / ภาษาอังกฤษ        Introduction to Throwing

รหัสวิชาใหม่ 6122301  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5522301  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาให้ความรู้และทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนการใช้แป้นหมุนให้มีความสามารถในการขึ้นรูปทรงกระบอก   ชาม   จาน   ฝึกการขูด และตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เรียบ (Finishing)

    ศึกษาให้ความรู้และทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน การใช้แป้นหมุนให้มีความสามารถในการขึ้นรูปทรงกระบอก ชาม จาน ฝึกการขูด และตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เรียบ ( Finishing)

    ปรับชื่อรายวิชาให้มีความเหมาะสมทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      การทำพิมพ์และการหล่อเบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Mold Making and Casting

รหัสวิชาใหม่ 6122302  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5522302  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำแบบพิมพ์   ปลาสเตอร์ (Plaster Mold)         แบบพิมพ์ชนิดต่างๆ ให้มีทักษะในการสร้างต้นแบบ (Model)   แบบพิมพ์ (Working Model)   ที่ใช้ในระบบงานอุตสาหกรรมทั้งชนิดหล่อกลวง (Drain   Casting   ) และชนิดหล่อตัน ( Solid   Casting ) ตลอดจนการหล่อด้วยน้ำดิน (Slip Casting)

    ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการทำแบบพิมพ์   ปลาสเตอร์ (Plaster Mold) แบบพิมพ์ชนิดต่างๆให้มีทักษะในการสร้างต้นแบบ (Model)   แบบพิมพ์ (Working Model)   ตลอดจนการหล่อด้วยน้ำดิน (Slip Casting)

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      การขึ้นรูปด้วยใบมีดเบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ      Introduction to Jiggering

รหัสวิชาใหม่ 6122304  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5522304  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยใบมีด   หลักการออกแบบ     เทคนิคต่าง ๆ ในการผลิต     การเตรียมใบมีดชนิดต่าง ๆ  การสร้างแบบด้วยเครื่อง (Jigger)  การสร้างต้นแบบ (Model) การสร้างแม่แบบ (Block Mold)    แบบพิมพ์ถ่าย (Case Mold)   และแบบพิมพ์ (Working Mold) การทำใบมีดทั้งชนิดแบบภายนอก   (Jiggering)   และชนิดแบบภายใน (Joylleying)   พร้อมทั้งการสร้างแบบที่ซับซ้อนและมีลวดลาย หรือเส้นขอบที่ผลิตภัณฑ์

    ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยใบมีด   หลักการออกแบบ     เทคนิคต่าง ๆ ในการผลิต     การเตรียมใบมีดชนิดต่าง ๆ      การสร้างแบบด้วยเครื่อง (Jigger)     การสร้างต้นแบบ (Model)    การสร้างแม่แบบ (Block Mold)    แบบพิมพ์ถ่าย (Case Mold)   และแบบพิมพ์ (Working Mold)        การทำใบมีดทั้งชนิดแบบภายนอก   (Jiggering)   และชนิดแบบภายใน (Joylleying)

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      น้ำเคลือบเบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ    Introduction to Glazes

รหัสวิชาใหม่ 6122501  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5522501  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับน้ำเคลือบ   วิวัฒนาการของการเคลือบ   การเกิดเคลือบวัตถุดิบในการทำเคลือบการคำนวณเคลือบด้วยวิธีตารางสามเหลี่ยม , ตารางสี่เหลี่ยม , Chemical Analysisc และวิธีของเซเกอร์   และการเตรียมเคลือบ เป็นต้น

    ศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับน้ำเคลือบ   วิวัฒนาการของการเคลือบ   การเกิดเคลือบวัตถุดิบในการทำเคลือบ   และการเตรียมเคลือบ

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      เนื้อเซรามิกส์เบื้องต้น  / ภาษาอังกฤษ    Introduction to Ceramics Bodies

รหัสวิชาใหม่ 6124505  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5524505  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาและฝึกทักษะการคำนวณการเตรียมเนื้อเซรามิกส์   ทดสอบเนื้อเซรามิกส์   ด้วยวิธีต่าง ๆ และวิจัยวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทำเนื้อดินปั้น (Bodies)      ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ประเภทต่าง ๆ ทางด้านคุณสมบัติ กรรมวิธีการเตรียมเนื้อดินที่ปั้น และกรรมวิธีการผลิต

    ศึกษาและวิจัยวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ทำเนื้อดินปั้น (Bodies) ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ประเภทต่าง ๆ ทางด้านคุณสมบัติ กรรมวิธีการเตรียมเนื้อดินที่ปั้น และกรรมวิธีการผลิต

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ขั้นสูง  / ภาษาอังกฤษ    Advance to Ceramics Design

รหัสวิชาใหม่ 6123201  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5523201  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาและฝึกฝนการออกแบบเครื่องปั้นดินเผาในขั้นสูง   โดยเน้นการออกแบบ   เพื่อการผลิตในระบบอุตสาหกรรม   ตลอดจนศึกษาปัญหาในการผลิตที่อาจจะเกิดขึ้นในการออกแบบ การฝึกออกแบบผลิตภัณฑ์ครื่องปั้นดินเผาในระบบอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในงานก่อสร้าง   งานตกแต่งอาคาร   งานสุขภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม และผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ

    ศึกษาและฝึกฝนการออกแบบครื่องปั้นดินเผาในขั้นสูง    โดยเน้นการออกแบบ  เพื่อการผลิตในระบบอุตสาหกรรม     ตลอดจนศึกษาปัญหาในการผลิตที่อาจจะเกิดขึ้นในการออกแบบ การฝึกออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาในระบบอุตสาหกรรม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในงานก่อสร้าง   งานตกแต่งอาคาร   งานสุขภัณฑ์เครื่องถ้วยชาม และผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      การตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์  / ภาษาอังกฤษ    Ceramic Decoration

รหัสวิชาใหม่ 6122307  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม -  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาและปฏิบัติการตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์และใช้สีบนเคลือบ , สีใต้เคลือบและออกแบบตกแต่งลวดลายผลิตภัณฑ์ทางเซรามิกส์ได้โดยใช้วิธีการเขียน   การทำรูปลอกใต้เคลือบ   การทำซิลค์สกรีนใต้เคลือบ พร้อมทั้งเทคนิควีธีการตกแต่งด้วยวิธีต่างๆ เช่น Engobe, Incising, Scraffito, Photograph.   Stamping, Wax Resist   เป็นต้น

    ศึกษาและตกแต่งผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น Engobe, Incising, Scraffito, Photograph, Stamping, Wax Resist    เป็นต้น

    ปรับปรุงคำอธิบายรายวิชาให้ครอบคลุมและทันสมัยและปรับชื่อรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย      การทดสอบและวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ขั้นสูง  / ภาษาอังกฤษ    Advance to   Ceramics Testing and Analysis

รหัสวิชาใหม่ 6122507  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5522507  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาหลักการ ทฤษฎีการทดสอบ และการวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ในห้อง ปฏิบัติการตามระบบมาตรฐานสากล   ในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของสาร   เซรามิกส์เมื่อได้รับความร้อน (DTA, TG)   กล้องถ่ายจุลโครง  โดยอิเล็กตรอนแบบส่องกราด   และเครื่องมือทาง Spectroscopy ได้แก่ UV-VIS Atomic Absorption และ X-ray เป็นต้น

    ศึกษาหลักการทฤษฎีการทดสอบและการวิเคราะห์ทางเซรามิกส์ในห้องปฏิบัติการตามระบบมาตรฐานสากล ในเรื่องเกี่ยวกับการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของสารเซรามิกส์เมื่อได้รับความร้อน (DTA, TG) กล้องถ่ายจุลโครง โดยอิเล็กตรอนแบบส่องกราด และเครื่องมือทาง Spectroscopy  ได้แก่  UV-VIS Atomic Absorption และ X-ray เป็นต้น

    ปรับชื่อรายวิชาให้มีความเหมาะสมทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทยการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนขั้นสูง  / ภาษาอังกฤษ    Advance to   Throwing

รหัสวิชาใหม่ 6123302  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5523302  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาการออกแบบและฝึกทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน     ตามระบบอุตสาหกรรม

    ศึกษาการออกแบบและฝึกทักษะในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตามระบบอุตสาหกรรม

    ปรับชื่อรายวิชาให้มีความเหมาะสมทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      การทำพิมพ์และการหล่อขั้นสูง  / ภาษาอังกฤษ    Advance to Mold Making and Casting

รหัสวิชาใหม่ 6124301  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5524301,5524302  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาและฝึกทักษะการทำพิมพ์หลายชิ้นประเภทรูปคน รูปสัตว์ ฯลฯ การทำพิมพ์ชุด (Gang Mold)   เช่น   จานเปล  เป็นต้น ตลอดจนการใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำพิมพ์ในระบบอุตสาหกรรมศึกษาและฝึกทักษะการสร้างแบบพิมพ์  แบบใช้แรงดัด   (Pressure Mold)   ตลอดจนศึกษาฝึกฝนการผสมเนื้อดินปั้นสำหรับการขึ้นรูปด้วยแรงอัด

    ศึกษาและฝึกทักษะการทำพิมพ์หลายชิ้นประเภทรูปคน   รูปสัตว์ ฯลฯ การทำพิมพ์ชุด (Gang Mold)   เช่น จานเปล  เป็นต้น ตลอดจนการใช้วัสดุต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำพิมพ์ในระบบอุตสาหกรรม ศึกษาและฝึกทักษะการสร้างแบบพิมพ์ แบบใช้แรงดัด   (Pressure Mold) ตลอดจนศึกษาฝึกฝนการผสมเนื้อดินปั้นสำหรับการขึ้นรูปด้วยแรงอัด

    รวมรายวิชาและปรับชื่อรายวิชาให้มีความเหมาะสมทันสมัย

ชื่อวิชาภาษาไทย      น้ำเคลือบขั้นสูง  / ภาษาอังกฤษ    Advance to   Glaze

รหัสวิชาใหม่ 6124501  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5524502  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาฝึกฝนการใช้น้ำเคลือบ   ทางด้านการตกแต่งเคลือบ (Glaze Decoration)   การทดสอบหาประสิทธิภาพของเคลือบที่เคลือบบนผิวผลิตภัณฑ์ เช่น   ทดสอบความแข็ง   ทดสอบการรวมตัว   ทดสอบการไหลตัว  เป็นต้น ศึกษาฝึกฝนหลักการทำฟริต (Frit) การหาคุณสมบัติทางกายภาพของแก้ว   และการนำ Frit ไปใช้งานผสมเคลือบและสีสำเร็จรูป

 

    ปรับชื่อรายวิชาให้เหมาะสม

ชื่อวิชาภาษาไทย      เซรามิกส์สมัยใหม่  / ภาษาอังกฤษ    New   Ceramics

รหัสวิชาใหม่ 6124507  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 5524507,5524508  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

    ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ     คุณสมบัติของเซรามิกส์สมัยใหม่ และลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมของวัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ในวงการเซรามิกส์   รวมทั้งกระบวนการผลิตจำพวก  High Alumina, Translucent Alumina, Zirconia,    Silicon   Carbide เป็นต้น รวมทั้งศึกษาสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าของวัสดุ และกระบวนการผลิตวัสดุที่ใช้งานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่  เฟอร์ไรด์  เฟอร์โรแมกเนติก ไดอิเล็กทริก   เทอร์โมอิเล็กทริก  เซมิคอนดัคเตอร์  เป็นต้น

 

    รวมรายวิชาเซรามิกส์สมัยใหม่
1, และเซรามิกส์สมัยใหม่
2 เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในด้นเนื้อหา และเวลา

 

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ . ศ . 2549

 

 

 

 

 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก