หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

  สรุปการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

…………………….

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Industrial Management Technology

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)
  Bachelor of Science (Industrial Management Technology)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)
  B.Sc. (Industrial Management Technology)

 3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ อาชีพด้านเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมซึ่งจัดเป็นนักเทคโนโลยี ที่สามารถปฏิบัติงาน ด้านการจัดการอุตสาหกรรม โดยทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง ผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานช่างฝีมือเฉพาะด้าน หลักสูตรมีความยืดหยุ่นเปิดโอกาสให้มีการเลือกเรียนเหมาะสมเพื่อเข้าไปแก้ปัญหาในชุมชนและท้องถิ่น มุ่งเน้นการผสมผสานสภาพความเป็นจริงของสังคมและชุมชนโดยสามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ ด้านการวางแผน การออกแบบ การจัดองค์การ การควบคุม การตรวจสอบและการบำรุงรักษา ในงานเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรอบรู้และสามารถประกอบอาชีพทางด้านเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคุณสมบัติดังนี้

                1. มีสมรรถนะในการประกอบอาชีพ ด้านการวางแผน การออกแบบ การจัดองค์การ การควบคุม การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ทางด้านเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ
                2.มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในด้านการเลือกสรร การประดิษฐ์ การถ่ายทอด การนำไปใช้ เพื่อบริหารต้นทุน กำไร และผลตอบแทนได้
                3. มีจิตสำนึกในด้านความซื่อสัตย์ คุณธรรม จริยธรรมและ ความรับผิดชอบในวิชาชีพของตน

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกเข้าศึกษา

        ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วย การคัดเลือกนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่งๆแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ปกติ โดย 1ภาคการศึกษามีระยะการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9.ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 7 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนและ อาจารย์พิเศษ

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

รายวิชาที่รับผิดชอบ

1.

ผศ.สุรชัย บุญเจริญ

    -  กศ.ม (อุตสาหกรรมศึกษา)
    -  ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
    2. การจัดการอุตสาหกรรม
    3. การจัดการความปลอดภัย

งานวิจัย (วิจัยร่วม)

    1. การพัฒนาการท่องเทียวชุมชนตลาดน้ำบางประมุงแบบยั่งยืน อ.โกรกพระ
        จ.นครสวรรค์
    2. กระบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชนแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผลิตภัณฑ์ครื่องปั้น
        ดินเผา ต.บ้านแก่ง อ.เมือง จ.นครสวรรค์

    1. การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
    2. เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
    3. กลยุทธ์การจัดการงานอุตสาหกรรม

2.

ผศ.ธิติศักดิ์ โดรณ

    -  คอ.ม. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา)
    -  กศ.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. การบริหารความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม
    2. การเขียนรายงานด้านเทคนิค

    1. การเขียนรายงานด้านเทคนิค
    2. จิตวิทยาอุตสาหกรรมฯ

3.

นายศรวณะ แสงสุข

    -  บธ.ม (การบริหารธุรกิจ)
    -  อส.บ.(เทคโนโลยีการผลิต)

ประสบการณ์

    1. บริษัท เอ็น เอ็ม บี (N.M.B)จำกัด
    2. เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม

    1. วิชาการจัดการคุณภาพในงานอุตสาหกรรม
    2. การจัดการการผลิตในงานอุตสาหกรรม
    3. การวางแผนและควบคุมระบบการผลิต

4.

นายสนธยา แพ่งศรีสาร

    -  คอ.ม (การบริหารอาชีวศึกษา)
    -  ค.บ.(อุตสาหกรรมศิลป์)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. การจัดการการผลิตในงานอุตสาหกรรม
    2. การจัดการอุตสาหกรรม
    3. เทคโนโลยีการเพิ่มผลิตในงานอุตสาหกรรม

งานวิจัย

    -  การศึกษาความต้องการคุณลักษณะของบัณฑิตเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของ
       สถานประกอบการแบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

    1. การจัดการอุตสาหกรรม
    2. เทคโนโลยีการเพิ่มผลิตในงานอุตสาหกรรม
    3. ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

5.

นายจรรโลง พิรุณ

    -  ค.ม (หลักสูตรและการสอน)
    -  คอ.บ. (วิศวกรรมโยธา)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. เทคโนโลยีการก่อสร้าง
    2. การเขียนรายงานด้านเทคนิค

งานวิจัย

    -  การศึกษาความต้องการคุณลักษณะของบัณฑิตเทคโนโลยีอุตสาหกรรมของ
       สถานประกอบการแบบมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

    1. คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
    2. การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม
    3. การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอุตสาหกรรม

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

รายวิชาที่รับผิดชอบ

1.

นายพิสิษฐ์ เพชรคง

    -  วศ.ม.(วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    -  การป้องกันความร้อนสำหรับผิวท่อที่มีก๊าชร้อนไหลภายในโดยใช้ฟิล์มของน้ำ

งานวิจัย

    -  การวิจัยประยุกต์การขับเคลื่อนและอากาศพลศาสตร์เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์
       อัดเม็ด

ประสบการณ์ทำงาน

    -  บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด (เครื่องซิเมนต์ไทย) ตำแหน่ง วิศวกร
       เครื่องกล
    -  บริษัท เซาท์อี๊สท์ เอเชีย เทคโนโลยี จำกัด ตำแหน่ง วิศวกรที่ปรึกษา
       โครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งที่ 2 (อู่ตะเภา)
    -  นำเสนอบทความทางวิชาการในการสัมมนาเครือข่ายวิศวกรรมอากาศยาน
        แห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนนายเรืออากาศ

    -  วิศวกรรมความปลอดภัย
    -  เทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

2.

นายวัชระ ชัยสงคราม

    -  วศ.ม. (วิศวกรรมการจัดการ)  มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  วท.บ. (วัสดุศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

งานวิจัย

    -  การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของเซรามิกส์เลดแมกนีเซียมไนโอเบตที่มีขนาด
       เกรนต่างกัน

ผลงานวิชาการ

    -  แต่งตำราหนังสือประกอบการสอนวิชา วัสดุศาสตร์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
       มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

    -  วัศดุศาสตร์และเทคโนโลยี
    -  สถิติเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3.

นายสมชัย ช่อไสว

    -  ค.ม. (โสตทัศนศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  กศ.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์) วิทยาลัยครูพระนคร

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

   -  เทคโนโลยีพื้นบ้าน

    -  เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการอุตสาหกรรม
    -  เทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

4.

นายธัญพงษ์ ป้อมระเสริฐ

    -  วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์

    -  ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

5.

นายรัตนพล ชนยุทธ์

    -  คอ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ) สถาบันเทคโนโลยีพระจอม เกล้าธนบุรี

ประสบการณ์ทำงาน

    -  สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน(ภาคเหนือตอนล่าง) จังหวัดนครสวรรค์

    -  การศึกษาการทำงานและการวัดงานอุตสาหกรรม
    -  กระบวนการผลิตอุตสาหกรรม

6.

นายประยูร จันทรรังสีวรกุล

    -  วท.บ. (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครสวรรค์

    -  การวางแผนและควบคุมระบบผลิต

7.

น.ส.สุดารัตน์ ประดิษฐ์ผล

    -  วท.บ (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 :
       2004

    -  การจัดการความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

8.

นายสวัสดิพงษ์ พงษ์สวัสดิ์

    -  วท.บ (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

    -  การศึกษาการทำงานและการวัดการทำงานอุตสาหกรรม

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ-สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

รายวิชาที่รับผิดชอบ

1.

นายชวลิต ชัยนิวัฒนา

    -  วศ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
    -  วศ.บ. (อุตสาหการ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทเวศก์

 

งานวิจัย

    -  การแก้ไขปัญหาระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตวุ้นเส้น โดยการออกแบบ
       ทดสอบทางสถิติ (Design of Experiment)

ประสบการณ์ทำงาน

    -  หัวหน้าฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดนครสวรรค์

    -  การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม
    -  ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

2.

นายประทวน สุทธิอำนวยเดช

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    -  วศ.บ. (อุตสาหกรรม) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์

ประสบการณ์ทำงาน

    -  อุตสาหกรรม จังหวัดอุทัยธานี กระทรวงอุตสาหกรรม

    -  กฏหมายการอุตสาหกรรม

13. จำนวนนักศึกษา

        13.1 นักศึกษาที่จะรับเข้าและจบการศึกษา

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

40

รวม

40

80

120

160

160

160

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

-

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่ อาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (อาคาร 11)

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

หมายเหตุ

1.

ห้องบรรยาย ขนาด 8X8 ตรม.

3 ห้อง

3 ห้อง

 

2.

ห้องบรรยาย ขนาด 8X12 ตรม.

2 ห้อง

3 ห้อง

 
3. ห้องเขียนแบบและ ออกแบบ 1 ห้อง 1 ห้อง ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น
4. ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีพื้นฐานขนาด 8X12 1 ห้อง 1 ห้อง ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น
5. ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ขนาด 8X12 ตรม. 1 ห้อง 1 ห้อง ใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่น
6. ห้องแสดงผลงานนักศึกษา ขนาด8X12 ตรม. 1 ห้อง 1 ห้อง  
7. ห้องพักอาจารย์ที่มีขนาดพอเหมาะพื้นที่ขนาดไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร 2 ห้อง 2 ห้อง  

        14.2 อุปกรณ์การสอน

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะพอ

หมายเหตุ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

เครื่องมือ – อุปกรณ์ พื้นฐาน

เครื่องกลึง

สว่านมือ

สว่านแท่น

เครื่องตัดโลหะ

เครื่องขัดโลหะ

เครื่องดัดโลหะ

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า

เครื่องเชื่อมแก๊ส

ไวท์บอร์ด

O.H.Projector

เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ

จอรับภาพ

โทรทัศน์

วีดีทัศน์พร้อมอุปกรณ์

เครื่องขยายเสียง

คอมพิวเตอร์

10 ชุด

2 เครื่อง

2 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

1 เครื่อง

15 เครื่อง

2 เครื่อง

7 ชุด

2 ชุด

3 เครื่อง

5 ชุด

10 ชุด

5 ชุด

5 ชุด

2 ชุด

20 ชุด

3 เครื่อง

3 เครื่อง

4 เครื่อง

2 เครื่อง

2 เครื่อง

2 เครื่อง

-

3 เครื่อง

-

5 ชุด

4 เครื่อง

2 ชุด

-

2 ชุด

2 ชุด

5 ชุด

ใช้ร่วมกับโปรแกรมเทคโนโลยีเครื่องกล

15. ห้องสมุด

        สำนักวิทยบริการและสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ลำดับ

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

23

24

25

26

27

28

29

30

31

32

33

34

35

36

37

38

39

40

41

42

43

สัมมนางานอุตสาหกรรม

เขียนแบบเบื้องต้น

เขียนแบบทั่วไป

เขียนแบบวิศวกรรม

วัสดุศาสตร์

วัสดุวิศวกรรม

วัสดุอุตสาหกรรม

วิศวกรรมความปลอดภัย

การบริหารความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

การเพิ่มผลผลิต

TPM

สถิติเพื่อการจัดการอุตสาหกรรม

เศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการ

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

คอมพิวเตอร์ในงานอุสาหกรรม

การบริหารการผลิต

การวางแผนและควบคุมการผลิต

ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต

การประกันคุณภาพ

การควบคุมคุณภาพ

การบริหารคุณภาพ

QS 9000

TQM

TQC

การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน กลยุทธ์การบริหารงานอุตสาหกรรม

การบริหารเชิงกลยุทธ์

การศึกษาการทำงาน

การวิจัยดำเนินงาน

การวิเคราะห์เชิงปริมาณ

ความรู้พื้นฐานทางช่าง

เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม

กฎหมายอุตสาหกรรม

การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม

การบริหารการเงินในงานอุตสาหกรรม

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงานอุตสาหกรรม

การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

การจัดการด้านอุตสาหกรรม

กระบวนการผลิตด้านอุตสาหกรรม

การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการผลิต

การบริหารการตลาด

2

5

2

5

5

3

5

5

3

10

4

3

7

2

1

3

8

5

2

7

5

5

10

3

5

5

1

5

8

4

5

4

10

3

6

1

5

3

3

5

2

5

10

25

22

25

22

22

25

22

20

23

10

20

20

20

25

25

25

25

25

20

25

25

25

10

20

18

25

25

18

25

20

18

25

15

20

25

25

20

24

25

25

25

18

15

 

        15.2 จำนวนวารสารและเอกสารอื่นๆ

ลำดับ

ชื่อวารสาร/เอกสารอื่นๆ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่มในอนาคต

หมายเหตุ

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

17

18

19

20

21

22

เพิ่มผลผลิต

คิวซี

คอมพิวเตอร์ทูเดย์

เทคโนโลยีการเกษตร

เทคโนโลยีชาวบ้าน

เทคโนโลยีชีวปริทรรศน์

เทคโนโลยีวัสดุ

เทคโนโลยีสุรนารี

นโยบายพลังงาน

เนชั่นแนลจีโอกราฟิก

ประสิทธิภาพพลังงาน

เพชรบุรีวิทยาลงกรณ์

ไมโครคอมพิวเตอร์

ยานยนต์

โลกพลังงาน

วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

วินว์แมกกาซีน

วิศวกรรมศาสตร์

อุตสาหกรรมการค้า

ASEAN JOURNAL FOR DEVELOPMENTAL JOURNAL OF TECHNOLOGY

CORNEL SCIENCE AND TECHNOLOGY

ENGINEETING TRANSACTINO MATERIAL SCENCE AND TECHNOLOGY

5

-

2

5

7

10

2

2

3

2

5

2

5

3

2

4

7

5

3

3

5

5

10

15

13

5

10

10

15

10

15

15

15

15

15

18

15

20

20

20

15

15

10

10

 

 

 

 

 

 

        15.3 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์ http://127.0.0.1:5432 /HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทย-บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สามารถสืบค้น วารสาร (Journal) ทางด้านเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

        15.4 แหล่งวิทยาการและแหล่งฝึกงาน

            1. แหล่งวิทยาการ

                (1) สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์
                (2) อุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์
                (3) หอการค้าจังหวัดนครสวรรค์
                (4) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน (ภาคเหนือตอนล่าง)
                (5) มหาวิทยาลัยนเรศวร
                (6) อุตสาหกรรมจังหวัดชัยนาท
                (7) อุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี
                (8) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จังหวัดอยุธยา
                (9) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                (10) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุทหารลาดกระบัง
                (11) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
                (12) มหาวิทยาลัยสุรนารี
                (13) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

            2. แหล่งฝึกงาน

                (1) บริษัทโอบอ้อมอุตสาหกรรม (1994) จำกัด จังหวัดนครสวรรค์
                (2) บริษัทรวมผลอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดนครสวรรค์
                (3) บริษัทยนต์ผลดี จำกัด จังหวัดนครสวรรค์
                (4) บริษัทไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดนครสวรรค์
                (5) บริษัทเสริมสุขอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครสวรรค์
                (6) บริษัทอินเตอร์การเกษตร จำกัด จังหวัดนครสวรรค์
                (7) บริษัทชัยนาทอุตสาหกรรม จำกัด จังหวัดชัยนาท
                (8) บริษัทรวมผลการเกษตร จำกัด จังหวัดอุทัยธานี
                (9) นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
                (10) นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
                (11) บริษัท เอ็น เอ็น ซี สิทธิผล จำกัด
                (12) บริษัท ทีม เอ็นเนอร์ยี่ เมเนจเม้นท์ จำกัด
                (13) บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด
                (14) บริษัท เหล็กสยามยามาโต๊ะ จำกัด
                (15) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1
                (16) สำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
                (17) สถานประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
                (18) นิคมอุตสาหกรรมลำพูน
                (19) โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณ

2549

2550

2551

2552

2553

2554

งบดำเนินการ            

    -  ค่าตอบแทน

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

30,000

50,000

50,000

-

60,000

100,000

100,000

-

90,000

150,000

150,000

-

120,000

200,000

200,000

-

150,000

250,000

250,000

-

180,000

300,000

300,000

-

รวมงบดำเนินการ

130,000

260,000

390,000

520,000

650,000

780,000

งบลงทุน            

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าที่ดิน

150,000

-

200,000

-

250,000

-

300,000

-

350,000

-

400,000

-

รวมงบลงทุน

150,000

200,000

250,000

300,000

350,000

400,000

รวมทั้งหมด

280,000

460,000

640,000

820,000

1,000,000

1,180,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

96

 

1. วิชาแกน

23

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

48

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

20

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

133

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละหมวดวิชามีดังนี้

       ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 96 หน่วยกิต แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 23 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704 ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์ 3(3-0-6)  
  English for Science    
3201101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ 3(3-0-6)  
  Introduction to Business Operation    
4003901 วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์ 3(2-2-5)  
  Research in Science    
4211301 ฟิสิกส์ทั่วไป 3(3-0-6)  
  General Physics    
4211601 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1(0-2-1)  
  General Physics Laboratory    
4221101 เคมีทั่วไป 3(3-0-6)  
  General Chemistry    
4221102 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป 1(0-2-1)
  General Chemistry Laboratory    
4291401 แคลคูลัส 1 3(3-0-6)  
  Calculus 1    
4311701 คอมพิวเตอร์เพื่อวิทยาศาสตร์ 3(2-2-5)  
  Computer for Science    

              (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 48 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313705 ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม 3(3-0-6)  
  English for Industrial Work    
6111111 วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี 2 (1-2-3)  
  Material and Technology    
6111210 ปฏิบัติการเทคโนโลยีพื้นฐาน 2 (1-2-3)  
  Fundamental Technology Practice    
6112501 สถิติเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Statistic for Industrial Management    
6112502 การจัดการคุณภาพในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Quality Management    
6112503 เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม 2 (2-0-4)  
  Industrial Management Technology    
6112504 เทคโนโลยีการผลิตในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)
Production Technology
6112901 การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการอุตฯ 3 (2-2-5)  
  Industrial Management Research    
6113502 การจัดการการผลิตในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Production Management    
6113503 การวางแผนและควบคุมระบบการผลิต 3 (3-0-6)  
  Production Planning and Control Systems    
6113504 การศึกษาการทำงานและการวัดการทำงานอุตฯ 3 (3-0-6)  
  Industrial Measurement and Work Study    
6113506 การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Plant Design    
6003701 คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม 3 (2-2-5)  
  Industrial Computer    
6114501 การจัดการอุตสาหกรรม 3(3-0-6)  
  Industrial Management    
6114502 เทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้าน 3 (3-0-6)  
  Local Community Industrial Technology    
6114504 เศรษฐศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม 3(3-0-6)  
  Industrail Management Economic    
6114903 ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม 3 (2-2-5)  
  Special Problem in Industrial Management of Technological    

            (3) วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 20 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6112505 เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการอุตสาหกรรม 3 (2-2-5)  
  Information Technology for Industrial Management    
6112507 การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Human Resource Industrial Management    
6112508 วิศวกรรมความปลอดภัย 3 (3-0-6)  
  Safety Engineering    
6112509 กลยุทธ์การจัดการงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Management Strategy    
6112510 การบริหารงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Management    
6112511 การควบคุมคุณภาพการผลิต 3 (3-0-6)  
  Industrial Quality Control    
6112512 กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)
Manufacturing Process
6112513 การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Basic Industrial Business and Operation    
6112514 การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Efficiency Development    
6112515 เทคโนโลยีการปฏิบัติงานในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Operation Technology    
6112517 มนุษยสัมพันธ์ในการจัดการอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Human Relation in Industrial Management    
6113501 เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Productivity Technology    
6113505 การจัดการความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Safety Management    
6113507 การเขียนรายงานด้านเทคนิค 2 (2-0-4)  
  Technical Report    
6113508 จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร 3 (3-0-6)  
  Industrial Psychology and Organization    
6114503 กฎหมายการอุตสาหกรรม 3 (3-0-6)  
  Industrial Law    

            (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6114801 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีอุตฯ 5 (450)  
  Field Experience in Industrial Technology    

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนวิชาใดๆ ในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานั้นๆ

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2 (1-2-3)

 

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

 

6111111

วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี

2 (1-2-3)

บังคับ

6111210

ปฏิบัติการเทคโนโลยีพื้นฐาน

2 (1-2-3)

บังคับ

รวม

19

 
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

2 (2-0-4)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

รวม

18

 
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

แกน

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

แกน

4221101

เคมีทั่วไป

3(3-0-6)

แกน

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

แกน

4311701

คอมพิวเตอร์เพื่อวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

แกน

6112502

การจัดการคุณภาพในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6112503

เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

2(2-0-4)

บังคับ

รวม

18

 
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1(0-2-1)

แกน

6112501

สถิติเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6112504

เทคโนโลยีการผลิตในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6112505

เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

เลือก

6112901

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

บังคับ

xxxxxxx

เลือกเสรี 1

3(x-x-x)

เลือกเสรี

รวม

16

 
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3501101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

แกน

6113502

การจัดการผลิตในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6113503

การวางแผนและควบคุมระบบการผลิต

3(3-0-6)

บังคับ

6113504

การศึกษาการทำงานและการวัดการทำงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6113506

การวางแผนผังโรงงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

บังคับ

รวม

18

 
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

แกน

6113501

เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

เลือก

6113505

การจัดการความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

เลือก

6113507

การเขียนรายงานด้านเทคนิค

2(2-0-4)

เลือก

6113508

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

3(3-0-6)

เลือก

xxxxxxx

เลือกเสรี 2

3(x-x-x)

เลือกเสรี

รวม

17

 
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6114501

การจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6114502

เทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

3(3-0-6)

บังคับ

6114503

กฏหมายการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

เลือก

3604504

เศรษฐศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

บังคับ

6114903

ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

บังคับ

รวม

18

 
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6114801

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

5(450)

 

รวม

5

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 23 หน่วยกิต

รายวิชา 2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (0-6-3)

 

Research in Science

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการ วิจัย และการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือการค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา 4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัม และกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ 1 ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Chemistry Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับ เทคนิคเบื้องต้น และหลักปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติการเคมี การจัดสารเคมี เกรดของสาร และการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เทคนิคการใช้เครื่องมือพื้นฐาน จลน์ศาสตร์ สมดุลเคมี pH ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดและเบส

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา 4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Computer for Science

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การนำเสนอสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เรียน

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 48 หน่วยกิต

รายวิชา 2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอุตสาหกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3604504

เศรษฐศาสตร์การจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrail Management Economic

 

        ศึกษาความหมาย ประเภทและความสำคัญของอุตสาหกรรมที่มีผลต่อระบบ เศรษฐกิจ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและมาตรฐานการลงทุนของเอกชนภายในประเทศ ลักษณะของโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรม การตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิต การลงทุนและการเลือกทำเลที่ตั้งของอุตสาหกรรม แหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ๆที่ใช้ในการจัดการอุตสาหกรรม

รายวิชา 6111111

วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี

2(1-2-3)

 

Material and Technology

 

        ความสำคัญ คุณสมบัติ ประโยชน์ กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตวัตถุทนไฟ โลหะเคลือบ แก้ว ซีเมนต์และปูนพลาสเตอร์ สิ่งขัดถู ให้มีประสบการณ์ในการทดลองปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 6111210

ปฏิบัติการเทคโนโลยีพื้นฐาน

2(1-2-3)

 

Fundamental Technology Practice

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องมืออุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่เครื่องมือวัดเครื่องมือเจาะ เครื่องมือไสและแต่ผิว ตลอดจนการฝึกปฏิบัติการประกอบชิ้นงาน

รายวิชา 6112501

สถิติเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Statistic for Industrial Management

 

        ศึกษาหลักการทางสถิติ ประเภทของสถิติเทคนิค วิธีการแปลความหมายทางสถิติการวางแผน การจัดทำสถิติ และการนำเสนอในการแก้ปัญหา การจัดการอุสาหกรรมวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการตัดสินใจ โดยอาศัยกระบวนการทางสถิติ

รายวิชา 6112502

การจัดการคุณภาพในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Quality Management

 

        ประวัติความเป็นมาของการควบคุมคุณภาพ บทบาทของการควบคุม คุมภาพกับงานอุตสาหกรรม หลักการและเทคนิคในการจัดการคุณภาพ ระบบประกันคุณภาพ และการรับรองคุณภาพในงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6112503

เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

2(2-0-4)

 

Industrial Management Technology

 

        ศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานอุตสาหกรรม วิวัฒนาการจัดการทางอุตสาหกรรมและการผลิต ทฤษฏีพื้นฐานในการจัดการอุตสาหกรรมและแนวคิดการบริหารอุตสาหกรรมของนักบริหาร เทคนิคการแก้ปัญหาในงานอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่กับการจัดการอุตสาหกรรม

รายวิชา 6112504

เทคโนโลยีการผลิตในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Production Technology

 

        ศึกษาการผลิตของผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ด้วยกระบวนการผลิตทางเทคโนโลยีที่ส่งผลให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท เช่น การขึ้นรูป การทำแบบ การแปรรูปเครื่องมือกล การหล่อ ฯลฯ ตลอดจนการประกอบเป็น ผลิตภัณฑ์ ทั้งโลหะ อโลหะและวัสดุอื่น ๆ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 6112901

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Management Research

 

        หลักการและแนวคิดในการวิจัย เทคนิควิธีการวิจัย กระบวนการวิจัย การทำเค้าโครงการวิจัยทางการจัดการงานอุตสาหกรรม ฝึกปฏิบัติการทำสารนิพนธ์ (Baby Thesis) และนำเสนอรายงานการวิจัย

รายวิชา 6113502

การจัดการผลิตในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Production Management

 

        ลักษณะและความสำคัญของการผลิต และปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจการผลิต ซึ่งรวมถึงระบบการผลิต การจัดองค์การเพื่อการผลิต การวางแผนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และกำลังการผลิต การวางแผนและกระบวนการผลิต การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน การควบคุมคุณภาพและปริมาณ ระบบการบำรุงรักษา ระบบการจัดซื้อ และระบบการควบคุมสินค้าคงเหลือ

รายวิชา 6113503

การวางแผนและการควบคุม ระบบการผลิต

3(3-0-6)

 

Production Planning and Control Systems

 

        ศึกษาถึงระบบการวางแผนผลิตในขบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การคาดคะเนความต้องการสินค้า การควบคุมพัสดุกองคลัง และการวางแผนโครงการเพื่อจะวางโปรแกรมแผนงานในการทำงานแต่ละโครงการ นักศึกษาจะต้องศึกษาการวางแผนการผลิตในกรณีตัวอย่าง

รายวิชา 6113504

การศึกษาการทำงาน และการวัดงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Measurement and Work Study

 

        ศึกษาเวลาทำงานของตน วิธีจัดเวลาทำงาน เทคนิคการสร้างแผนภูมิ การผลิตหลักการเคลื่อนไหวแบบประหยัด ความเมื่อยล้า การพักผ่อนในขณะปฏิบัติและวิธีการทำงานให้ง่ายขึ้น วิเคราะห์การเคลื่อนไหวอย่างละเอียด การจัดงานทฤษฏีและปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาเวลาและหาเวลามาตรฐานในการทำงานของตน

รายวิชา 6113506

การวางแผนโรงงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Plant Design

 

        ศึกษาถึงชนิดของอุปกรณ์ที่สำคัญในการลำเลียงวัสดุภายในโรงงาน การจัดระบบต่างๆ ของโรงงาน เช่น แสง สี เสียง การจัดวางอุปกรณ์และเครื่องมือ เส้นทางการเคลื่อนย้ายวัสดุในโรงงาน ตลอดจนถึงการออกแบบโรงงาน

รายวิชา 6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Industrial Computer

 

        ศึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม ระบบการประมวลข้อมูลการนำ โปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบต่างๆ ตลอดจนการนำข้อมูลจากระบบ Internet มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจนสามารถพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 6114501

การจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับหลักการจัดการ การวางแผน การจัดโครงการและองค์การ การจัดบุคลากร การควบคุมคุณภาพงาน จัดระบบการติดต่อสื่อสาร การจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการจัดการด้านอุตสาหกรรม

รายวิชา 6114502

เทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้าน

3(3-0-6)

 

Local Community Industrial Technology

 

        ศึกษาค้นคว้า ประวัติและวิวัฒนาการของการผลิตผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมพื้นบ้านชนิดต่างๆ ในท้องถิ่น และใกล้เคียง กระบวนการผลิต การบรรจุภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ การจัดการวางแผนการตลาด

รายวิชา 6114903

ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

Special Problem in Industrial Management of Technological

 

        ศึกษาค้นคว้าทดลองทางทฤษฏีและปฏิบัติเกี่ยวกับปัญหาทางเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม และเรื่องที่น่าสนใจ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 20 หน่วยกิต

รายวิชา 6112505

เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Information Technology for Industrial Management

 

        ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศกับการจัดการ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์กับการจัดการอุตสาหกรรม

รายวิชา 6112507

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Human Resource Industrial Management

 

        ความหมายและความสำคัญของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขอบข่าย บทบาทความรับผิดชอบ แนวคิดและทฤษฏีในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ขั้นตอนในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวิเคราะห์งาน การวางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับการผลิต การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนาการโยกย้ายและแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6112508

วิศวกรรมความปลอดภัย

3(3-0-6)

 

Safety Engineering

 

        ศึกษาหลักการขั้นพื้นฐานทางวิศวกรรม เพื่อการป้องกันอุบัติเหตุในโรงงาน การวางแผน และมาตรการเพื่อความปลอดภัยในโรงงาน การวางผังโรงงาน เพื่อลดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุด การออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในงานเชื่อม งานไฟฟ้า งานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและสารที่เป็นพิษ การจัดหน่วยงานเพื่อบริหารงานด้านการวางแผนเพื่อความปลอดภัย

รายวิชา 6112509

กลยุทธ์การจัดการงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Management Strategy

 

        ศึกษาหลักการจัดการเชิงกลยุทธ์ การกำหนดกลยุทธ์ในการจักดการงานทาง อุตสาหกรรม การนำกลยุทธ์มาสู่การปฏิบัติ การตัดสินใจในการบริหาร ความเป็นผู้นำ วัฒนธรรมและจรรยาบรรณของนักบริหาร

รายวิชา6112510

การบริหารงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Management

 

        แนะนำให้รู้จักพื้นฐานของแนวคิดในการจัดตั้งองค์การหน่วยงานหรือบริษัทตลอดจนวิธีการบริหาร มีวิธีการที่จะนำบุคคลในส่วนต่าง ๆ ของหน่วยงานอื่น ๆ ร่วมทำงานอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ การแก้ปัญหาการบริหารระดับคนงาน การฝึกงานของคนงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน การผล การทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ การจัดการเลื่อนเงินเดือน ค่าแรงพิเศษ ตลอดจนการแบ่งปันผลประโยชน์

รายวิชา 6112511

การควบคุมคุณภาพการผลิต

3(3-0-6)

 

Industrial Quality Control

 

        ศึกษาจากข้อมูลงานผลิต วางแผน ตลอดถึงนโยบายควบคุมคุณภาพ นำเอาเทคนิคทางวิชาสถิติ เข้ามาช่วยการตรวจสอบผลการผลิตการตั้งขีดจำกัดในการยอมรับงานผลิตว่าอยู่ในช่วงที่เสียหรือดี จากการสุ่ม ตัวอย่าง ใช้เทคนิคในการบำรุงขวัญคนงาน เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพในการผลิต ตลอดจนแผนการบริหาร

รายวิชา 6112512

กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Manufacturing Process

 

        ศึกษาขั้นตอนของการผลิตระบบต่างๆในงานอุตสาหกรรมซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานอุตสาหรรมมีประสิทธิภาพเทคนิคการเลือกใช้เครื่องจักรแต่ละขั้นตอนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

รายวิชา 6112513

การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Basic Industrial Business and Operation

 

        ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมรูปแบบและการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ กระบวนการผลิต การตลาด การเงิน การบริหารหน่วยงานและบุคคล การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมกับสังคม

รายวิชา 6112514

การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Efficiency Development

 

        ความหมาย ของเขต ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง บุคลิกภาพและการสำรวจบุคลิกภาพ การปรับแต่งบุคิกภาพของตนเอง และผู้อื่นตามความต้องการของมนุษย์ ค่านิยม กาสำรวจ และการแลกเปลี่ยนค่านิยม ค่านิยมที่สัมพันธ์กับการทำงานวัฒนธรรม การทำงาน การตั้งเป้าประสงค์ของชีวิตและการทำงาน การสำรวจ ความรู้สึกปัญหา อุปสรรคและวิธีการพิชิตอุปสรรคในการทำงาน การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลในการทำงาน

รายวิชา 6112515

เทคโนโลยีการปฏิบัติงานในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Operation Technology

 

        ศึกษาหน่วยงานการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดำเนินงานแบบต่างๆ ที่ใช้ในงานผลิตทั่วไป และในระบบอุตสาหกรรม การเรียกใช้เทคนิควี เทคโนโลยี การตรวจสอบคุณภาพการประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากล

รายวิชา 6112517

มนุษยสัมพันธ์ในการจัดการอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Human Relation in Industrial Management

 

    ความหมายและความสำคัญของหลักการมนุษยสัมพันธ์ความต้องการ กระบวนการ กลุ่ม ความพึงพอใจ แรงจูงใจ การสื่อสารในองค์การอุตสาหกรรม บทบาท ของมนุษยสัมพันธ์ ต่อการจัดการตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต

รายวิชา 6113501

เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม 9;

3(3-0-6)

 

Industrial Productivity Technology

 

        ความหมาย หลักการและวิธีการเพิ่มผลผลิตในงานอุตสาหกรรม แนวทางการเพิ่มผลผลิต กลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน   

รายวิชา 6113505

การจัดการความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

Industrial Safety Management

 

        ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัย แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุและป้องกันอุบัติเหตุ โดยอาศัยหลักการจัดการความปลอดภัย เทคนิคการตรวจสอบระบบความปลอดภัยเทคนิคการวิเคราะห์เพื่อความปลอดภัย การควบคุมความสูญเสีย การอบรมความปลอดภัย การจัดระบบสารสนเทศความปลอดภัย การประชาสัมพันธ์และการรณรงค์ความปลอดภัยในการทำงาน กฎหมายความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการด้านความปลอดภัย

รายวิชา 6113507

การเขียนรายงานด้านเทคนิค

2 (2-0-4)

 

Technical Report

 

        ศึกษารูปแบบของการเขียนรายงานด้านเทคนิค ได้แก่ การรายงานผลต่อการผลิต การรายงานการบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การรายงานผลการตรวจซ่อมเครื่องจักรกล สภาพการทำงาน การเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ตลอดจนรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6113508

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร

3(3-0-6)

 

Industrial Psychology and Organization

 

        ศึกษาการปฏิบัติทางอุตสาหกรรมและผลของการปฏิบัติทางอุตสาหกรรมที่มีต่อมนุษย์ ทฤษฏีองค์การ ความเป็นมาของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ แนวความคิดที่สำคัญของจิตวิทามาประยุกต์กับปัญหาที่น่าสนใจ เช่น ทัศนคติ แรงจูงใจ ความคับข้องใจ ความเหนื่อยล้า ความปลอดภัย การสื่อสารและการเป็นผู้นำ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาของมนุษย์ในอุตสาหกรรมและองค์การ

รายวิชา 6114503

กฎหมายการอุตสาหกรรม #9;

3 (3-0-6)

 

Industrial Law

 

        ศึกษาเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรในการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน ภาษีศุลกากร ภาษีศุลกากร กฎหมายโรงงานอุตสาหกรรม และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ เป็นต้น

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หนวยกิต

รายวิชา 6114801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

5(450)

 

Field Experience in Industrial Technology

 

        ศึกษาลักษณะและประเภทของธุรกิจอุตสาหกรรม คุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม จรรยาบรรณที่จำเป็นเพื่อให้นักศึกษาได้มีความรอบรู้ในด้านการออกแบบ การควบคุมและตรวจสอบ ในสถานประกอบหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับแขนงวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรมที่ศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง โดยได้รับความเห็นชอบจากกรรมการของคณะวิชา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

ภาคผนวก

 

1. สรุปการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม พุทธศักราช 2549

        ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

ปรับปรุงจากหลักสูตร 2 ปี เป็นหลักสูตร 4 ปี

2

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
 (แขนงเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

เปลื่ยนชื่อหลักสูตรใหม่

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3 ข้อ

3 ข้อ

ปรับปรุงใหม่

5

หลักสูตร

 

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 น.ก.
เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 น.ก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก.
และหมวดศึกษาเฉพาะ 6 น.ก. คอมพิวเตอร์ในหมวดวิชาศึกษา
ทั่วไป 2 น.ก. และในหมวดวิชาเฉพาะ 3 น.ก.

 

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต

 
 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     
 

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

18 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 
 

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

56 หน่วยกิต

96 หน่วยกิต

 
 

2.1 วิชาแกน

12 หน่วยกิต

23 หน่วยกิต

 
 

2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

 6 หน่วยกิต

48 หน่วยกิต

 
 

2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

24 หน่วยกิต

20 หน่วยกิต

 
 

2.4 วิชาประสบการณ์ ฯ

 5 หน่วยกิต

 5 หน่วยกิต

 
 

2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

 9 หน่วยกิต

 6 หน่วยกิต

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

 

(3) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 
 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ
เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 
 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี........รายวิชา

ปรับปรุงคำอธิบายใหม่.........รายวิชา

ตัดออก......รายวิชา
เพิ่มใหม่......รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

4 คน (ช่วยตรวจด้วย)

5 คน (ช่วยตรวจด้วย)

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

มีจำนวน 5 คน (สูงกว่าเกณฑ์)

 

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

1.     รองศาสตราจารย์.ดร.สมพร ไชยะ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2.     ดร.สมชัย วงษ์พานิช

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม

3.     ดร.นิวัติ พัฒนะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

4.     นายศรวณะ แสงสุข บธ.ม (การบริหารธุรกิจ)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

5.     ผศ.ธิติศักดิ์ โดรณ คอ.ม. (เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

6.     นายสนธยา แพ่งศรีสาร คอ.ม (การบริหารอาชีวศึกษา)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7.     ผศ.สุรชัย บุญเจริญ กศ.ม (อุตสาหกรรมศึกษา)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8.     นายจรรโลง พิรุณ ค.ม (หลักสูตรและการสอน)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

9.     นายพิสิษฐ์ เพชรคง วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล) วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

10.   นายวัชระ ชัยสงคราม วศ.ม. (วิศวกรรมการจัดการ) วท.บ. (วัสดุศาสตร์)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

11.   นายสมชัย ช่อไสว ค.ม. (โสตทัศนศึกษา) กศ.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์)

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

12.   นายธัญพงษ์ ป้อมประเสริฐ วศ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์

13.   นายรัตนพล ชนยุทธ์ คอ.บ. (วิศวกรรมอุตสาหการ)

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานนครสวรรค์

14.   นายประยูร จันทรรังสีวรกุล วท.บ. (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครสวรรค์

15.   น.ส.สุดารัตน์ ประดิษฐ์ผล วท.บ. (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

สถานประกอบการ

16.   นายสวัสดิพงษ์ พงษ์สวัสดิ์ วท.บ. (เทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม)

สถานประกอบการ

17.   นายชวลิต ชัยนิวัฒนา วศ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม) วศ.บ. (อุตสาหการ)

สถานประกอบการ

18.   นายประทวน สุทธิอำนวยเดช บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) วศ.บ. (อุตสาหกรรม)

อุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี

3. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

        1. ดำเนินการประชุมโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญา และแนวทางการจัดทำหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักสูตร เดือนกรกฎาคม 2548

        2. เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2548

        3. สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เดือนสิงหาคม 2548

        4. จัดประชุม เพื่อจัดทำหลักสูตรฉบับร่างหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยี อุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2548

        5. จัดประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตร ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

        6. จัดประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อ 19-20 กันยายน 2548

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก