หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1.

ชื่อหลักสูตร

2.

ชื่อปริญญา

3.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4.

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.

กำหนดการเปิดสอน

6.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7.

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8.

ระบบการศึกษา

9.

ระยะเวลาการศึกษา

10.

การลงทะเบียนเรียน

11.

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12.

อาจารย์ผู้สอน

13.

จำนวนนักศึกษา

14.

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15.

ห้องสมุด

16.

งบประมาณ

17.

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชา

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18.

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19.

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก

  ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
  คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
  ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ

 

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พ.ศ. 2549

……………………………

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Industrial Technology Program in Mechanical Technology

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีเครื่องกล)
  Bachelor of Industrial Technology (Mechanical Technology)
ชื่อย่อ : อส.บ. (เทคโนโลยีเครื่องกล)
  B.Ind.Tech. (Mechanical Technology)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลจัดการศึกษาโดยยึดหลักมาตรฐานหลักสูตรและแนวทางการบริหารในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นการปฏิบัติ ทฤษฎี และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผลิตนักเทคโนโลยีทางด้านเทคโนโลยีเครื่องกลที่สามารถปฏิบัติงานด้านการควบคุมออกแบบ ซ่อมบำรุงและการบริหารงานเครื่องจักรกล ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานอุตสาหกรรรม หลักสูตรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงตามความต้องการของท้องถิ่น เปิดโอกาสให้มีการเลือกเรียนได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านเครื่องจักรกลจากชุมชนสู่ชุมชนและประเทศชาติ ยึดหลักความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

        4.2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานด้านการควบคุม ออกแบบ ซ่อมบำรุง และการบริหารงานเครื่องจักรกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถพัฒนาเทคนิควิธีการดำเนินงานด้านเครื่องจักรกลและเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเหมาะสมกับงานด้านเครื่องจักรกลได้อย่างดี
                3. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีเครื่องกลของคณาจารย์ให้มีความรู้ทัดเทียมกับความก้าวหน้าทางวิชาการด้านเทคโนโลยีเครื่องกล
                4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีความศรัทธา และมีคุณธรรม ในอาชีพทางด้านเทคโนโลยีเครื่องกล

5. กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตรปริญญาตรี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 8 ปี การศึกษาสำหรับหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา และไม่เกิน 12 ปีการศึกษาสำหรับหลักสูตร ที่เรียนไม่เต็มเวลา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา นักศึกษาภาคปกติจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต และในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต ส่วนนักศึกษาภาคพิเศษให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ-สกุล /วุฒิการศึกษา

ผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย/และประสบการณ์ทำงาน

รายวิชาที่จัดให้สอน

1

นายพิสิษฐ์ เพชรคง

    -  วศ.ม. วิศวกรรมเครื่องกล
    -  วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล

วิทยานิพนธ์

    -  การป้องกันความร้อนสำหรับผิวท่อที่มีก๊าซร้อนไหล ภายในโดยใช้ฟิล์มของน้ำ

งานวิจัย

    -  การวิจัยประยุกต์การขับเคลื่อนและอากาศพลศาสตร์เครื่องผลิตปุ๋ยอินทรีย์
       อัดเม็ด

ประสบการณ์ทำงาน

    -  บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด (เครือซิเมนต์ไทย) ตำแหน่ง วิศวกร
       เครื่องกล
    -  บริษัท เซาท์ อี๊สท์ เอเชีย เทคโนโลยี จำกัด ตำแหน่ง วิศวกรที่ปรึกษา
       โครงการก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน แห่งที่ 2 (อู่ตะเภา)
    -  นำเสนอบทความทางวิชาการในการสัมมนาเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกล
       แห่งประเทศไทยครั้งที่ 16 ณ จังหวัดภูเก็ต 14-16 ตุลาคม 2546
    -  นำเสนอบทความทางวิชาการในการสัมมนาเครือข่ายวิศวกรรมอากาศยาน
       แห่งประเทศไทยครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนนายเรืออากาศ 12-14 กุมภาพันธ์ 2546
    -  หัวหน้าศูนย์บริการข้อมูลทางวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  อาจารย์พิเศษ คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
       ศิลปากร นครปฐม
    -  ที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พลังงานแบบบูรณาการ ระดับจังหวัด
       (นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย)
    -  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

    1. กลศาสตร์วิศวกรรม
    2. พลศาสตร์วิศวกรรม
    3. กลศาสตร์ของแข็ง
    4. กลศาสตร์ของไหล
    5. เครื่องยนต์สันดาปภายใน
    6. การออกเครื่องกล2
    7. เครื่องต้นกำลังการเกษตร
    8. เครื่องจักรกลเกษตร2
    9. โครงงานวิศกรรมเครื่องกล

2

นายวีระชาติ จริตงาม

    -  ค.ม. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    -  วศ.บ. วิศวกรรมเครื่องกล

ปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์

    -  ชุดทดลองการควบคุมระดับของเหลวอัตโนมัติ
    -  สภาพปัญหา และความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน
       ระดับอาชีวศึกษา

ประสบการณ์ทำงาน

    1. บริษัท สตาร์-ไดนามิกส์ จำกัด (ประเทศไทย) ตำแหน่ง วิศวกรเครื่องกล
        ฝ่ายซ่อมบำรุง
        -  การติดตั้ง การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลเครื่องอัดลม เครื่องควบคุม
           ความชื้น ในโรงงานอุตสาหกรรมในไทยและ เมืองเกาชุงไต้หวัน
   2. กองบริการเครื่องจักรกล กรมอาชีวศึกษา ตำแหน่งวิศวกรเครื่องกล 3-5
       ฝ่ายโรงงาน
       -  ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไอน้ำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง
           ลำพูน สิงห์บุรี ประมงติณสูลานนท์
      
-  ตรวจซ่อมอุปกรณ์และเครื่องจักรในโรงงานผลิตภัณฑ์นม ระบบทำความเย็น
          ห้องเย็น เครื่องปิดฝากระป๋องในโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ วิทยาลัยเกษตร
       -  กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จัดทำคุณลักษณะครุภัณฑ์ สาขาวิชาช่างกล
          โรงงาน ช่างซ่อมบำรุง เครื่องกลอุตสาหกรรม เครื่องมือกล เครื่องกลเกษตร
          โรงงานแปรรูปนมและผลิตภัณฑ์ห้องปฏิบัติการกลาง
       -  กรรมการและเลขานุการ จัดโครงการฝึกอบรมซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร
          ซี เอ็น ซี ( CNC)
   3. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ตำแหน่งวิศวกรเครื่องกล 5
       ทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
        -  ตรวจซ่อมคอมพิวเตอร์ ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ งานสารสนเทศ
           เพื่อการเรียนการสอน เครื่องแม่ข่าย Server และห้องปฏิบัติการเครือข่าย
           คอมพิวเตอร์
        -  จัดฝึกอบรมเกี่ยวการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ให้กับ
           อาจารย์อาชีวศึกษา กรรมการจัดทำ spec ครุภัณฑ์ระบบเครื่อง
           คอมพิวเตอร์ Server ตรวจรับห้องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        -  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

    1. เขียนแบบวิศวกรรม2
    2. คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
    3. การออกแบบเครื่องกล1
    4. ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
    5. การออกแบบชิ้นส่วนและการผลิตโดยคอมพิวเตอร์
    6. เครื่องจักรกลเกษตร1
    7. เทคโนโลยีพลังงาน
    8. โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล

3

นายจุติพรรษ์ อนิวรรตกูล

    -  วท.ม. เทคโนโลยีอุณหภาพ
    -  วท.บ. เทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร

ปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์

    -  การศึกษาการกระจายตัวของคลื่นไมโครเวฟกับอาหารที่ใช้แปรรูป
    -  ค่าดัชนีการใช้พลังงานจำเพาะในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

ผลงานวิชาการ

    แต่งตำราหนังสือประกอบการสอนวิชา

      1. เทอร์โมไดนามิกส์สวิศวกรรม
      2. การถ่ายเทความร้อน
      3. วิทยากรกระบวนการผลิตอาหารให้มีคุณภาพโดยใช้ระบบ GHP

ประสบการณ์ทำงาน

    -  บริษัท ควิกพาร์ท (ประเทศไทย)จำกัด ตำแหน่ง ผู้จัดการ สาขา ลำปาง
    -  บริษัทวัชระโฮเต็ล จำกัด ตำแหน่ง ที่ปรึกษาออกแบบเครื่องอบแห้งแบบ
       ลมร้อน
    -  บริษัทพัฒนากรุ๊ป จำกัด ตำแหน่งวิศวกรสิ่งแวดล้อม
    -  บริษัทล็อกเลย์ จำกัด มหาชน ตำแหน่ง พนักงานขายเทคนิค ฝ่าย
       อุตสาหกรรม 2
    -  สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 8 ตำแหน่ง ประสานงานและเก็บข้อมูลการใช้
       พลังงานของจังหวัดนครสวรรค์
    -  อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

    1. วิศวกรรมโรงจักรผลิตไฟฟ้า
    2. การถ่ายเทความร้อน
    3. การทำความเย็นและการปรับอากาศ
    4. แก๊สเทอร์ไบน์
    6. การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน
    7. วิศวกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตร
    8. โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล

4

นายปิยลาภ มานะกิจ

    -  วศ.บ. วิศวกรรมเคมี

ปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์

    -  อิทธิพลของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบระบายอากาศแนวดิ่ง
    -  Implementation of JIT in Automation System

ประสบการณ์ทำงาน

    -  วิศวกรประจำบริษัท JAP Co.Ltd.
    -  อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผลงานวิชาการ

    -  วิทยากร การอบรมความปลอดภัยในการทำงาน
    -  วิทยากรการอบรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
    -  แต่งตำราหนังสือประกอบการสอนวิชา สถิติเพื่อการจัดการอุตสาหกรรม
    -  จัดทำ E-Learning วิชา คณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล

    1. เคมีวิศวกรรม
   
2. เทอร์โมไดนามิกส์1
    3. เขียนแบบวิศวกรรม1
    4. การปฎิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1,2
    5. เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
    6. การสัมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล
    7. โครงงานวิศวกรรมเครื่องกล
    8. การวางแผนและควบคุมการผลิต

5

นายวัชระ ชัยสงคราม

    -  วท.บ. วัสดุศาสตร์

ปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์

    -  การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของเซรามิกส์เลดแมกนีเซียมไนโอเบตที่มีขนาด
       เกรนต่างกัน

ประสบการณ์ทำงาน

    -  อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผลงานวิชาการ

    -  แต่งตำราหนังสือประกอบการสอนวิชาวัสดุศาสตร์

    1. วัสดุวิศวกรรม
    2. วัสดุเสริมเส้นใยเบื้องต้น
    3. การปฎิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1,2
    4. ปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรม
    5. วิศวกรรม.ความปลอดภัย
    6. องค์การและการจัดการวิศวกรรม
    7. การฝึกฝีมือเบื้องต้น
    8. หลักการทดสอบวัสดุ

        14.2 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ-สกุล /วุฒิการศึกษา

ผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย/และประสบการณ์ทำงาน

รายวิชาที่จัดให้สอน

1

รศ.ดร.สัมพันธ์ ไชยเทพ

    -  Ph.D. (Resource Engineeringl)
    -  วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  หัวหน้าโครงการจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์
       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา

    -  อากาศพลศาสตร์สำหรับวิศวกรรมศาสตร์
    -  อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์ของไหลเบื้องต้น

งานวิจัย

    -  การวิจัยประยุกต์การขับเคลื่อนและอากาศพลศาสตร์
    -  การวิจัยเครื่องยนต์กังหันก๊าซสำหรับอากาศยาน

ประสบการณ์

    -  ที่ปรึกษาเครือข่ายวิศวกรรมการบินและอากาศยานแห่งประเทศไทย
    -  ที่ปรึกษาเทศมนตรีฝ่ายช่างเทศบาลนครเชียงใหม่

    1. ทฤษฎีเครื่องจักรกลเกษตร
    2. การออกแบบเครื่องมือขนถ่ายวัสดุเกษตร
    3. การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร
    4. วิศวกรรมเครื่องสูบ
    5. การออกแบบเครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว

2.

ดร.ปิยะนันท์ เจริญสวรรค์

    -  Ph.D. (Mechanical)
    -  วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัด
       พิษณุโลก

วิทยานิพนธ์

    -  Heat Transfer Characteristics of Close-Loop Oscillating Heat Pipe

    1. เทอร์โมไดนามิกส์ 2
    2. กลศาสตร์ของของไหลขั้นสูง
    3. พลศาสตร์ของก๊าซ
    4. การออกแบบระบบความร้อน

3

นายขวัญชัย ไกรทอง

    -  วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
       มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

วิทยานิพนธ์

    -  การป้องกันการกัดกร่อนบนผิวภายนอกท่อของเครื่องอุ่นน้ำป้อนแบบ
       เทอร์โมไซฟอนด้วยการเคลือบอีนาเมล

งานวิจัย

    -  Productivity Improvement on Sunlight Drying Banana Ban Klong
       Kra-Ron , Bang Kra-Tum , Pitsanuloke.

ประสบการณ์

    -  บริษัท ไปป์ ไลน์ จำกัด
    -  บริษัท อี เอ็ม เอส เทคโนโลยี จำกัด ตำแหน่ง วิศวกรเครื่องกล

    1. ระบบท่อทางวิศวกรรม
    2. เครื่องจักรกลของไหล
    3. ระบบกำลังของไหล
    4. การคำนวณทางพลศาสตร์ของไหล

4

นายสมพจน์ วิบูลย์เกียรติ

    -  วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

วิทยานิพนธ์

    -  การทดสอบคุณสมบัติเชิงกลและการจำลองสภาพบีบอัดขึ้นรูปเนื้อหมูบด
       และปลาบด

งานวิจัย

    -  การวิจัยคุณสมบัติเชิงกลด้วยวิธีการไฟไนท์อิลิเม้นท์ประสบการณ์

ประสบการณ์

    -  บริษัท ทีม เอ็นเนอร์ยี่ เมเนจเม้นท์ จำกัด  ตำแหน่ง วิศวกรเครื่องกล
      
ประสบการณ์ 2 ปี ถึง ปัจจุบัน
    -  นำเสนอบทความทางวิชาการในวารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัย
       เชียงใหม่

    1. วิธีไฟไนต์อิลิเม็นต์เบื้องต้น
    2. การออกแบบระบบทางเครื่องกล
    3. การสั่นสะเทินเชิงกล
    4. การออกแบบระบบทางเครื่องกล

5

นายพงษ์ศิริ จรุยนนท์

    -  วศ.ม. (วิศวกรรมเครื่องกล)
    -  วศ.บ. (วิศวกรรมเครื่องกล)

วิทยานิพนธ์

    -  การปรับปรุงประเมินสมรรถนะใบพัดหน้าตัดรูปแพนอากาศสำหรับอุโมงลม
       ความเร็วต่ำ

งานวิจัย

    -  การวิจัยประยุกต์การขับเคลื่อนและอากาศพลศาสตร์

ประสบการณ์

    -  บริษัท สยามคราฟท์ อุตสาหกรรม จำกัด (เครือซิเมนต์ไทย) ตำแหน่ง
       วิศวกรเครื่องกล
    -  นำเสนอบทความทางวิชาการในการสัมมนาเครือข่ายวิศวกรรมอากาศยาน
       แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ณ โรงเรียนนายเรืออากาศ 12-14 กุมภาพันธ์
       2546
    -  ปัจจุบัน ตำแหน่ง วิศวกรที่ปรึกษาทางด้านพลังงาน บริษัท ทีม เอ็นเนอร์ยี่
       เมเนจเม้นท์ จำกัด

    1. อากาศพลศาสตร์เบิ้องต้น
    2. วิศวกรรมปรมาณู
    3. ระบบการแปลงพลังงาน
    4. ระบบลำเลียง

13. จำนวนนักศึกษา

นักศึกษา / ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

60

60

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

60

60

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

60

60

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

60

60

รวม

40

80

120

160

240

240

จำนวนที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา

-

-

-

-

40

40

14 สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

            1. อาคาร 5 ชั้น ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

                1.1 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ชั้น 1
                1.2 ห้องปฏิบัติการเขียนแบบวิศวกรรม ชั้น 4
                1.3 ห้องปฏิบัติการวัสดุศาสตร์ ชั้น 4
                1.4 ห้องปฏิบัติการเทอร์โมไดนามิกส์และกลศาสตร์ของไหล ชั้น 4
                1.5 ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอุณหภาพ ชั้น 4
                1.6 ห้องปฏิบัติการนิวแมติกส์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ชั้น 4 (ครุภัณฑ์งบฯผูกพัน ปี 2549)
                1.7 ห้องปฏิบัติพื้นฐานช่างอุตสาหกรรม ชั้น 1

            2. อาคาร คณะวิทยาศาสตร์

                2.1 ห้องปฏิบัติการเคมี
                2.2 ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์

            3. อาคาร คณะมนุษยศาสตร์

                3.1 ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ

        14.2 อุปกรณ์การเรียนการสอน

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1 เครื่องกลึง 2 4 หมวดค่าครุภัณฑ์

ปี 2547

ซื้อครุภัณฑ์สำหรับห้องประลองเทอร์โมไดนามิกส์และกลศาสตร์ของไหล

ปี 2548

ซื้อครุภัณฑ์สำหรับห้องประลองกลศาสตร์

ปี 2549

ซื้อครุภัณฑ์สำหรับห้องประลองยานยนต์

หมวดค่าสิ่งก่อสร้าง

ปี 2550 สร้างโรงฝึกงานอาคารชั้นเดียว เพิ่มเติม 1 อาคาร
2 ปั๊มลม 1 2
3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้า 5 5
4 เครื่องตัด 2 3
5 เครื่องเจาะ 3 4
6 เครื่องขัด 1 4
7 ชุดปฏิบัติการระบบปรับอากาศ 1 1
9 ชุดปฏิบัติการระบบปั๊ม 0 1
10 ชุดปฏิบัติการเครื่องอัดอากาศ 0 1
11 ชุดปฏิบัติแรงกระแทกของของไหล 1 2
12 ชุดปฏิบัติการการสูญเสียในท่อ 1 2
13 ชุดปฏิบัติการยานยนต์ 0 3
14 ชุดทดสอบวัสดุ 1 2
15 เครื่องวัดความแข็งวัสดุ 1 2
16 ชุดทดลองแก๊สเทอร์ไบน์ 1 2
17 เครื่องฉีดพลาสติก 1 2
18 เครื่องจักรซีเอ็นซี 0 2
19 ชุดอบแห้งโดยปั๊มความร้อน 1 2
20 ชุดทดลองการเผาไหม้เชื้อเพลิง 1 2
21 ชุดทดลองไดนาโมมิเตอร์สำหรับเครื่องยนต์เล็ก 1 2

        14.3 โครงการความร่วมมือ

            อนาคตจะมีโครงการความร่วมมือทางวิชาการ การใช้สถานที่ ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์การเรียนการสอน และคณาจารย์ จาก

                1. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
                2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
                3. วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์
                4. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน จ.นครสวรรค์

15. ห้องสมุด

        ใช้ห้องสมุดกลาง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคาร 8 ชั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหนังสือ 125,516 เล่ม วารสาร 563 เล่ม สื่อโสตทัศน์ 3,616 ชื่อเรื่อง Fulltext 1,095 titles และ Journals 5,235 titles

        15.1 การบริการ

                1. ระบบสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต WebPAC
                2. ระบบฐานข้อมูล Omnifile Full Text Select ประกอบด้วยบทความฉบับเต็ม(Full Text)รวบรวมจากวารสารมากกว่า 1,400 ชื่อเรื่อง ซึ่งย้อนหลังตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994
                3. ระบบ Webstreaming E-book และระบบฐานข้อมูลท้องถิ่น
                4. ระบบฐานข้อมูล Proquest - DAO เป็นฐานข้อมูลที่มีการรวบรวมข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis) ในระดับ ปริญญาเอก (Citations for Doctoral Dissertations) และในระดับปริญญาโท (Citations for Master Degrees) ในรูปแบบสาระสังเขป
                    (Abstracts) จากสถาบันที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกา (North American Education Institutions) และจากสถาบันการศึกษาอื่นๆทั่วโลก

        15.2 จำนวนวารสารและเอกสารอื่น ๆ

            รายการต่อไปนี้คือวารสารที่ทางสำนักหอสมุดเป็นสมาชิกอยู่แล้วสามารถใช้ศึกษา ค้นคว้าประกอบการเรียน การสอนได้และมีจำนวนหนังสือและตำราเรียนดังนี้

ลำดับ ชื่อหนังสือ – ตำราเรียน จำนวนที่มีอยู่แล้ว จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ หมายเหตุ
1. กลศาสตร์ของไหล 1 10  
2 การเขียนแบบวิศวกรรม 1 1 10  
3 การเขียนแบบวิศวกรรม 2 1 10  
4 การควบคุมคุณภาพทางเครื่องกล 0 10  
5 การควบคุมมลพิษทางเครื่องกล 0 10  
6 การควบคุมอัตโนมัติ 0 10  
7 การซ่อมและทดสอบเครื่องยนต์ดีเซล 2 0 10  
8 การถ่ายเทความร้อน 1 10  
9 การทดลองวิเคราะห์เครื่องยนต์ 0 10  
10 การทดสอบวัสดุ 1 10  
11 การทำความเย็น 1 10  
12 การทำความเย็นและการปรับอากาศ 1 10  
13 การบำรุงรักษาเครื่องจักรกล 0 5  
14 การประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1 1 10  
15 การประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 2 1 5  
16 การประลองทางไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์ 0 5  
17 การวัดและเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม 1 5  
18 การหล่อลื่น 0 5  
19 การอนุรักษ์พลังงาน 2 5  
20 การอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม 1 5  
21 การออกแบบเครื่องกล 1 2 5  
22 การออกแบบเครื่องกล 2 2 5  
23 เครื่องกลการเกษตร 0 5  
24 เครื่องยนต์สันดาปภายใน 1 5  
25 เครื่องสูบและเครื่องอัดอากาศ 1 5  
26 งานทดลองรถจักรยานยนต์ 0 5  
27 ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล 2 5  
28 ต้นกำลังโรงจักร 1 5  
29 เทคโนโลยีเกี่ยวกับเครื่องกล 0 5  
30 เทคโนโลยีตัวถังรถยนต์ 0 5  
31 เทคโนโลยีพื้นฐาน เทคโนโลยีพื้นฐานการประดิษฐ์ 0 5  
32 เทอร์โมไดนามิกส์วิศวกรรมเบื้องต้นเทอร์โมไดนามิกส์ 2 5  
33 พลศาสตร์วิศวกรรม 1 5  
34 พลังงานแสงอาทิตย์ 2 5  
35 พลังงานหมุนเวียน 2 5  
36 ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ 1 5  
37 โลหะวิทยาเชิงวิศวกรรม 0 5  
38 วิศวกรรมยานยนต์ 0 5  
39 วัสดุช่าง 1 5  
40 วัสดุวิศวกรรม 0 5  
41 วัสดุศาสตร์ 1 10  
42 วิศวกรรมความปลอดภัย 1 5  
43 อุณหพลศาสตร์และกลศาสตร์ของไหลเบื้องต้น 3 5  
44 อุณหพลศาสตร์สำหรับอุตสาหกรรมทีพีไอ 1 5  
45 ไฮดรอลิกส์และนิวเมติกส์ 1 5  
46 ไฮโดรลิกอุตสาหกรรม 1 3  
47 Acrodynamics 1 5  
48 Acrospace propulsion and Combustion 2 3  
49 Acrospace propulsion Power Plant 1 3  
50 A.C. and D.C. Machine 0 3  
51 Apply Combustion 0 3  
52 Apply HeatTransfer 0 3  
53 Boiling 0 3  
54 Continuumn Mechanics 1 3  
55 Convective Boiling and Condensation 1 2  
56 Convective Heat Transfer 1 2  
57 Engineering Mechanics (Static) 1 2  
58 Engineering Mechanics (Dynamics) 1 5  
59 Fluid Mechanics 1 5  
60 Fundamental of Thermodynamics 1 5  
61 Gas Turbine Dngine 1 5  
62 Heat and MassTransfer 1 5  
63 Heat Pipe Technology 1 3  
64 Heat Transfer 0 3  
65 Heat Transfer & Basic Appoach 1 2  
66 Internal Combustion Engine 0 5  
67 Introduction to Heat Transfer 1 5  
68 Machine Element 1 1  
69 Man and Space 5 5  
70 Measurement 1 3  
71 Mechanical Vibration 1 2  
72 Mechanic of Machinery 0 5  
73 Pump and Testing 1 3  
74 Rocket Propulsion 0 5  
75 Solid Mechanics 1 5  
76 Steam Power Engineering 1 2  
76 Steam Power Plant 1 5  
77 Strength of Material 1 5  
78 Turbo Machinery 1 5  
79 Wind Energy 1 3  
80 Wind Turbine 1 2  
81 ชื่อหนังสือ – ตำราเรียน 0 3  
82 กลศาสตร์ของไหล 1 3  

        15.3 จำนวนวารสารและเอกสารอื่น ๆ

            รายการวารสารที่ทางสำนักหอสมุดเป็นสมาชิกอยู่แล้วใช้ศึกษา ค้นคว้าประกอบการเรียน การสอนได้

ลำดับ

ชื่อวารสาร / เอกสารอื่น ๆ

ลำดับ

ชื่อวารสาร / เอกสารอื่นๆ

1

ควิกพีชี

13

โลกพลังงาน

2 คอมพิวเตอร์ทูเดย์ 14  
3 เทคโนโลยีการเกษตร 15 วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
4 เทคโนโลยีชาวบ้าน 16 วินโดว์แมกกาซีน
5 เทคโนโลยีชีวปริทรรศน์ 17 วิศวกรรมศาสตร์
6 เทคโนโลยีวัสดุ 18 อุตสาหกรรมการค้า
7 เทคโนโลยีสุรนารี 19 ASEAN JOURNAL FOR DEVELLOPPMENT
8 นโยบายพลังงาน 20 AU JOURNAL OF TECHNOLOGY
9 เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค 21 CORNELL SCIENCE AND TECHNOLOGY
10 ประสิทธิภาพพลังงาน 22 ENGINEERING TRANSACTION
11 ไมโครคอมพิวเตอร์ 23 MATERIAL SCIENCE AND TECHONLOGY
12 ยานยนต์    

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

2549

2550

2551

2552

2553

2554

งบดำเนินการ            

    -  ค่าตอบแทน

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

    -  ค่าใช้สอย

200,000

200,000

100,000

100,000

100,000

100,000

    -  ค่าวัสดุ

300,000

300,000

200,000

200,000

100,000

100,000

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

50,000

50,000

50,000

50,000

50,000

50,000

รวมงบดำเนินการ

650,000

650,000

450,000

450,000

350,000

350,000

งบลงทุน

 

 

 

     
    -  ค่าครุภัณฑ์

2,000,000

2,000,000

1,500,000

1000,000

500,000

400,000

    -  ค่าสิ่งก่อสร้าง

900,000

900,000

900,000

500,000

500,000

400,000

รวมงบลงทุน

2,900,000

2,900,000

2,400,000

1,500,000

1,000,000

800,000

รวมงบทั้งหมด

3,550,000

3,550,000

2,850,000

1,950,000

1,350,000

1,150,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

93

 

1. วิชาแกน

30

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

43

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

15

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

130

        * หมายเหตุ นักศึกษาต้องเรียนวิชาปรับพื้นฐานช่างอุตสาหกรรม ไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตรมีรายวิชาดังต่อไปนี้

6201811 การฝึกฝีมือเบื้องต้น 3(150)

6201812 ปฏิบัติการเครื่องจักรกลพื้นฐาน 3(150)

        17.3 รายวิชา

            1. รหัสวิชาประกอบด้วยตัวเลข 7 ตัว

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            2. รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

1 หมายถึง คณะครุศาสตร์

2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ

4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

            3. หมู่วิชาของคณะต่าง ๆ

                เมื่อนำรหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะ แล้วตามด้วยตัวเลขตัวที่ 2 และ 3 แทนหมู่วิชา จะได้รหัสวิชา 3 ตัวแรกแทนคณะวิชาและหมู่วิชาด้านอุตสาหกรรม ดังนี้

                รหัสวิชา 3 ตัวแรก

รหัสวิชา ชื่อวิชา รหัสวิชา ชื่อวิชา

600

อุตสาหกรรม

600

อุตสาหกรรม

611

อุตสาหการ

619

เครื่องกล

612

เซรามิกส์

620

วิศวกรรมเครื่องกล

613

ศิลปะหัตกรรม

621

เทคนิคการพิมพ์

614

ออกแบบผลิตภัณฑ์

622

เทคโนโลยีการพิมพ์

615

เขียนแบบสถาปัตย์

623

สถาปัตย์ภายใน

616

ก่อสร้าง-โยธา

624

ฟิสิกส์อุตสาหกรรม

617

ไฟฟ้ากำลัง

625

คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม

618

อิเลกทรอนิกส์

   

        ความหมายของเลขหลักที่ 5 ของหมู่วิชาวิศวกรรมเครื่องกล

            หมู่วิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดลักษณะเนื้อหากลุ่มวิชาดังนี้

                1. พื้นฐานวิศวกรรมทั่วไป (620-1- -)
                2. กลศาสตร์ประยุกต์และการออกแบบเครื่องจักรกล (620-2- -)
                3. ของไหลและความร้อน (620-3- -)
                4. ระบบความร้อนและพลังงาน (620-4- -)
                5. เทคโนโลยีเครื่องยนต์ และเครื่องจักรกลเกษตร (620-5- -)
                6. การแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาคารในการเกษตร (620-6- -)
                7. กระบวนการผลิต การจัดการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ (620-7- -)
                8. การปฏิบัติการ การฝึกฝีมือ และการทดลอง (620-8- -)
                9. สัมมนา หัวข้อพิเศษ ปัญหาพิเศษ โครงงานและ ปริญญานิพนธ์ (620-9- -)

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 93 หน่วยกิต

            1. วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม
English for Industrial Work

3(3-0-6)

4211305

ฟิสิกส์ 1
Physics 1

3(3-0-6)

4211306

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
Physics Laboratory 1

1(0-3-0)

4212301

ฟิสิกส์ 2
Physics 2

3(3-0-6)

4212302

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
Physics Laboratory 2

1(0-2-1)

4223713

เคมีวิศวกรรม
Engineering Chemistry

3(2-3-4)

4293710

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 1
Calculus for Mechanical Engineering 1

3(3-0-6)

4293711

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 2
Calculus for Mechanical Engineering 2

3(3-0-6)

6202111

เขียนแบบวิศวกรรม1
Engineering Drawing 1

1(0-3-5)

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
Industrial Computer

3(2-2-5)

6204111

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Economics

3(2-2-5)

6204711

องค์การและการจัดการอุตสาหกรรม
Organize and Industrial management

3(2-2-5)

            2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม
English for Engineering Work

3(3-0-6)

6173308

ไฟฟ้าอุตสาหกรรม
Industrial Electricity

3(3-0-6)

6173309

ปฏิบัติการไฟฟ้าอุตสาหกรรม
Industrial Electricity Laboratory

1(0-3-0)

6203733

การเขียนแบบกราฟฟิกเชิงวิศวกรรม
Engineering Graphic Drawing

3(2-3-4)

6202112

เขียนแบบวิศวกรรม 2
Engineering Drawing 2

1(0-3-5)

6202121

วัสดุวิศวกรรม
Engineering Materials

3(3-0-6)

6202211

กลศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Mechanics

3(2-2-5)

6202222

พลศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Dynamics

3(2-2-5)

6202311

เทอร์โมไดนามิคส์ 1
Thermodynamics 1

3(2-2-5)

6202321

กลศาสตร์ของไหล 1
Fluid Mechanics 1

3(2-2-5)

6202811

ปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรม
Engineering Materials Laboratory

1(0-3-5)

6203211

การออกแบบเครื่องกล 1
Machine Design 1

3(2-2-5)

6203311

การถ่ายเทความร้อน
Heat Transfer

3(2-2-5)

6203321

เครื่องยนต์สันดาปภายใน
Internal Combustion Engines

3(2-2-5)

6203711

การออกแบบชิ้นส่วนและการผลิตโดยคอมพิวเตอร์
Computer-Aided Design and Manufacturing Cad/Cam

2(1-3-5)

6203811

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1
Mechanical Engineering Laboratory 1

1(0-3-5)

6203812

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 2
Mechanical Engineering Laboratory 2

1(0-3-5)

6204911

โครงงานทางวิศวกรรมเครื่องกล
Project in Mechanical Engineering

3(0-6-3)

            3. วิชาเฉพาะด้านเลือก ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จากรายวิชา ดังต่อไปนี้

                แขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เลือกเรียนอย่างน้อย 15 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6202131

วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
Material and Technology

3(2-2-5)

6202141

วิศวกรรมการอบชุบเหล็ก
Iron & Steel Heat-Treatment Engineering

3(3-1-5)

6202151

อุตสาหกรรมโลหะวิทยา
Metallurgy Industry

3(2-2-5)

6202171

สถิติวิศวกรรม
Statistic Engineering

3(3-0-6)

6202831

หลักการทดสอบวัสดุ
Material Testing

3(2-3-4)

6203122

วัสดุเสริมเส้นใยเบื้องต้น
Introduction to Fibre-Reinforced Materials

3(2-2-5)

6203212

การออกแบบเครื่องกล 2
Machine Design 2

3(2-2-5)

6203221

กลศาสตร์ของแข็ง 1
Mechanics of Solids 1

3(2-2-5)

6203222

กลศาสตร์ของแข็ง 2
Advanced Mechanics of Solids 2

3(2-2-5)

6203231

ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
Element Machine

3(2-2-5)

6203241

กลศาสตร์ของเครื่องจักรกล
Mechanics of Machinery

3(2-2-5)

6203251

การสั่นสะเทือนเชิงกล
Mechanical Vibration

3(2-2-5)

6203731

ระบบลำเลียง
Conveying Systems

3(2-2-5)

6203761

ระบบสารสนเทศในการบริหารอุตสาหกรรม
Information Technology for Industrial Management

3(2-2-5)

6203791

การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
Using Computer and Networks

3(2-3-4)

6204211

การออกแบบระบบทางเครื่องกล
Design of Mechanical Systems

3(2-2-5)

6204231

กลศาสตร์การแตกหัก
Fracture Mechanics

3(2-2-5)

6204721

วิธีไฟไนต์อิลิเม็นต์เบื้องต้น
Introduction to Finite Element Method

3(2-2-5)

6204791

โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
Computer Application for Science and Industrial

3(2-3-4)

6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล
Seminar in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

6204931

หัวข้อพิเศษเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล
Special Topic in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

                แขนงวิชาพลังงาน เลือกรียนอย่างน้อย 15 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6202312

เทอร์โมไดนามิคส์ 2
Thermodynamics 2

3(2-2-5)

6202741

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
Industrail Instrumentation

3(2-2-5)

6203331

การทำความเย็นและระบบปรับอากาศ
Refrigeration and Air Conditioning

3(2-2-5)

6203351

ระบบกำลังของไหล
Fluid Power Systems

3(2-2-5)

6203361

เครื่องจักรกลของไหล
Turbomachines

3(2-2-5)

6203371

ระบบท่อทางวิศวกรรม
Engineering Piping Systems

3(2-2-5)

6203411

การออกแบบระบบความร้อน
Design of Thermal Systems

3(2-2-5)

6203421

วิศวกรรมโรงจักรผลิตกำลัง
Power Plant Engineering

3(2-2-5)

6203431

พลศาสตร์ของก๊าซ
Gas Dynamics

3(2-2-5)

6203441

การคำนวณทางพลศาสตร์ของไหล
Computing for Fluid Dynamics

3(2-2-5)

6203451

พลังงานทดแทน
Renewable Energy Resources

3(2-2-5)

6203461

ระบบการแปลงพลังงาน
Re-Energy System

3(2-2-5)

6203471

อากาศพลศาสตร์เบื้องต้น
Basic Aerodynamics

3(2-2-5)

6203741

การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน
Energy Conservation

3(2-2-5)

6203761

ระบบสารสนเทศในการบริหารอุตสาหกรรม
Information Technology for Industrial Management

3(2-2-5)

6203781

วิศวกรรมคุณค่า
Value Engineering

3(2-2-5)

6203791

การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
Using Computer and Networks

3(2-3-4)

6204311

กลศาสตร์ของไหล 2
Advanced Fluid Mechanics 2

3(2-2-5)

6204411

แก๊สเทอร์ไบน์
Gas Turbines

3(2-2-5)

6204431

วิศวกรรมปรมาณู
Nuclear Engineering

3(2-2-5)

6204751

วิศวกรรมความปลอดภัย
Safety Engineering

3(3-0-6)

6204791

โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
Computer Application for Science and Industrial

3(2-3-4)

6204451

เทคโนโลยีพลังงาน
Energy technology

3(2-2-5)

6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล
Seminar in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

6204941

หัวข้อพิเศษเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล
Special Topic in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

                แขนงวิชาเครื่องจักรกลเกษตร เลือกเรียนอย่างน้อย 15 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6112512

กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม
Manufacturing Process

3(2-2-5)

6203511

ทฤษฎีของเครื่องจักรกลเกษตร
Theory of Agricultural Machines

3(2-2-5)

6203521

เครื่องต้นกำลังทางการเกษตร
Power for Agricultural System

3(2-2-5)

6203531

เครื่องจักรกลเกษตร 1
Agricultural Machinery I

3(2-2-5)

6203532

เครื่องจักรกลเกษตร 2
Agricultural Machinery 2

3(2-2-5)

6203541

วิศวกรรมแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร
Agricultural Tractor Engineering

3(2-2-5)

6203581

วิศวกรรมการหล่อลื่นเบื้องต้น
Basic Lubrication Engineering

3(2-2-5)

6203651

วิศวกรรมโรงเรือนเกษตร
Agricultural Structure Engineering

3(2-2-5)

6203661

การแช่แข็งและการเก็บรักษาด้วยความเย็น
Freezing and Cold Storage

3(2-2-5)

6203671

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมการเกษตร
Agricultural Environment Management

3(2-2-5)

6203761

ระบบสารสนเทศในการบริหารอุตสาหกรรม
Information Technology for Industrial Management

3(2-2-5)

6203771

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
Supply Chain Management

3(2-2-5)

6203791

การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
Using Computer and Networks

3(2-3-4)

6204511

วิศวกรรมยานยนต์
Automotive Engineering

3(2-2-5)

6204521

การออกแบบเครื่องมือขนถ่ายวัสดุเกษตร
Agricultural Product Handling Equipment Design

3(2-2-5)

6204531

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร
Agricultural Machinery Design

3(2-2-5)

6204532

การออกแบบเครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว
Design of Harvesting Machinery

3(2-2-5)

6204541

วิศวกรรมเครื่องสูบ
Pump Application Engineering

3(2-2-5)

6204571

เครื่องพ่นสารเคมี
Chemical Spraying and Dusting Equipment

3(2-2-5)

6204611

วิศวกรรมโรงสี
Rice Mill Engineering

3(2-2-5)

6204651

วิศวกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตร
Agricultural Process Engineering

3(2-2-5)

6204681

การจัดการของเสียทางการเกษตร
Agricultural Waste Management

3(2-2-5)

6204781

การวางแผนและควบคุมการผลิต
Production Planning and Control

3(2-2-5)

6204791

โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
Computer Application for Science and Industrial

3(2-3-4)

6204812

การปฏิบัติการทดลองวิศวกรรมยานยนต์
Automotive Engineering Laboratary

1(0-3-5)

6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล
Seminar in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

6204951

หัวข้อพิเศษเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล
Special Topic in Mechanical Engineering

3(1-3-5)

            4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต มีรายวิชาดังนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6203891

การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล

5(450 ชั่วโมง)

            *  หมายเหตุ วิชาปรับพื้นฐานช่างอุตสาหกรรม ไม่นับหน่วยกิตรวมในหลักสูตรมีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6201811

การฝึกฝีมือเบื้องต้น

3(150 ชั่วโมง)

6201812

ปฏิบัติการเครื่องจักรกลพื้นฐาน

3(150 ชั่วโมง)

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

                เลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่เปิดสอนโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรของสาขาวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

 

xxxxxxx

เลือกเรียน 1 วิชา (จากรายวิชาศึกษาทั่วไป)

2(------)

4211305

ฟิสิกส์ 1

3(3-0-6)

 

4211306

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1

1(0-3-0)

 

4293710

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 1

3 (3-0-6)

 

6202111

เขียนแบบวิศวกรรม1

1(0-3-5)

 

4223713

เคมีวิศวกรรม

3(2-3-4)

 

6201811

การฝึกฝีมือเบื้องต้น (วิชาปรับพื้นฐานช่างฯ)

3(150 )

ไม่นับนก.รวมในหลักสูตร

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

xxxxxxx

เลือกเรียน 2 วิชา (จากรายวิชาศึกษาทั่วไป)

5(------)

 

4212301

ฟิสิกส์ 2

3(3-0-6)

 

4212302

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2

1(0-2-1)

 

4293711

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 2

3(3-0-6)

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

6202211

กลศาสตร์วิศวกรรม

3(2-2-5)

 

6201812

ปฏิบัติการเครื่องจักรกลพื้นฐาน

3 (150)

ไม่นับนก.รวมในหลักสูตร

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

xxxxxxx

เลือกเรียน 4 วิชา (จากรายวิชาศึกษาทั่วไป)

8(------)

 

6202121

วัสดุวิศวกรรม

3(3-0-6)

 

6202811

ปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรม

1(0-3-5)

 

6202112

เขียนแบบวิศวกรรม2

1(0-3-5)

 

6202311

เทอร์โมไดนามิกส์ 1

3(2-2-5)

6202222

พลศาสตร์วิศวกรรม

3(2-2-5)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี1

3(------)

 
       

รวม

22

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

xxxxxxx

เลือกเรียน 4 วิชา (จากรายวิชาศึกษาทั่วไป)

8(------)

 

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

6202321

กลศาสตร์ของไหล

3(2-2-5)

 

6203311

การถ่ายเทความร้อน

3(2-2-5)

 

6173308

ไฟฟ้าอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

6173309

ปฏิบัติการไฟฟ้าอุตสาหกรรม

1(0-3-0)

 
       

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6204711

องค์การและการจัดการอุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม

3(3-0-6)

 

6203211

การออกแบบเครื่องกล1

3(2-2-5)

 

6203711

การออกแบบชิ้นส่วนและการผลิตโดยคอมพิวเตอร์

2(1-3-5)

6203811

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1

1(0-3-5)

 

6203321

เครื่องยนต์สันดาปภายใน

3(2-2-5)

 

xxxxxxx

เลือกวิชาเอก1

3(------)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6204111

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

3(2-2-5)

 

6203733

การเขียนแบบกราฟฟิกเชิงวิศวกรรม

3(2-3-4)

 

6203812

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 2

1(0-3-5)

 

xxxxxxx

เลือกวิชาเอก2

3(------)

xxxxxxx

เลือกเสรี2

3(------)

 

รวม

13

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคฤดูร้อน

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6203891

การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล 5 (450)  

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6204911

โครงงานทางวิศวกรรมเครื่องกล

3(0-6-3)

 

xxxxxxx

เลือกวิชาเอก3

3(-------)

 

xxxxxxx

เลือกวิชาเอก4

3(-------)

 

รวม

9

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

620xxxxx

เลือกวิชาเอก5

3(-------)

 

รวม

3

 

รวมทั้งหมด

130

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน

รายวิชา 2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอุตสาหกรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์  บทความเกี่ยวกับอุตสาหกรรม คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์   ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน  ฝึกทักษะในการอ่าน  บันทึก   สรุปความ  ตีความ  ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 4211305

ฟิสิกส์ 1

3 (3-0-6)

 

Physics 1

 

        ศึกษาเวกเตอร์ กลศาสตร์การเคลื่อนที่ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน การเคลื่อนที่แบบเส้นตรง การเคลื่อนที่แบบวงกลม การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิก การซ้อนกันของสองซิมเปิลฮาร์โมนิก การออส-ซิเลตแบบแดมป์ การออสซิเลตด้วยแรง การจำแนกคลื่น สมการคลื่นนิ่ง คลื่นกระแทก บีตส์ ความเข้มและระดับความเข้มเสียง ปรากฏการดอปเปลอร์ โมเมนต์ความเฉื่อย สมการแห่งการหมุนทอร์ก โมเมนตัมเชิงมุม การกลิ้ง การเคลื่อนที่แบบไจโรสโคป สมการสมบัติของสสาร การส่งผ่านความร้อน สมการก๊าซอุดมคติ กฎแห่งอุณหพลศาสตร์ กลจักรความร้อนและหัวข้อการทดลองให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ฟิสิกส์ 1

รายวิชา 4211306

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1

1 (0-2-1)

 

Physics Laboratory1

 

        ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์ 1

รายวิชา 4212301

ฟิสิกส์ 2

3 (3-0-6)

 

Physics 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ฟิสิกส์ 1

        ศึกษาคุณสมบัติของคลื่น การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน ทัศนศาสตร์ทาง เรขาคณิต ทัศนอุปกรณ์ กฎของคูลอมป์ สนามไฟฟ้า กฎของเกาส์ ศักย์ไฟฟ้า สารไดอิเลกตริก ตัวเก็บประจุ สนามแม่เหล็ก แรงลอเรนท์ กฎของบิโอต์-สวาร์ท กฎของแอมแปร์ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ตัวเหนี่ยวนำ สารแม่เหล็ก วงจรกระแสสลับและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น การแผ่รังสีของวัตถุดำ อิทธิพลแสงไฟฟ้า การกระเจิงแบบคอมป์ตัน รังสีเอ็กซ์ อะตอมไฮโดรเจน ความทวิภาค อะตอมหลายอิเล็กตรอน ทฤษฎีแถบพลังงาน โครงสร้างนิวเคลียส กัมมันตภาพรังสี หัวข้อการทดลองให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ฟิสิกส์ 2

รายวิชา 4212302

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2

1 (0-2-1)

 

Physics Laboratory 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1

        ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาฟิสิกส์ 2

รายวิชา 4223713

เคมีวิศวกรรม

3 (2-3-4)

 

Engineering Chemistry

 

        ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการทางวิชาเคมีต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกร เนื้อหาประกอบด้วยเคมีของวัสดุ เคมีความร้อน จลนศาสตร์เคมี เคมีนิวเคลียร์ เคมีไฟฟ้าและการกัดกร่อนของโลหะ เคมีอินทรีย์ โครงสร้างและคุณสมบัติของสารโพลีเมอร์เชื้อเพลิง และสารหล่อลื่นของพื้นผิวการปฏิบัติของวิชาเคมี ในห้องทดลอง

รายวิชา 4293710

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 1

3 (3-0-6)

 

Calculus for Mechanical Engineering 1

 

        ศึกษาเซทและทฤษฎีของเซท ฟังก์ชันมาตรฐาน เรขาคณิตวิเคราะห์ พิกัดเชิงขั้ว สมการอิงตัวแปรเสริม พีชคณิตของเวคเตอร์ จำนวนเชิงซ้อน ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน อัตราการเปลี่ยนแปลงอนุพันธ์และการประยุกต์ การอินทิเกรต เทคนิคการอินทิเกรตและ การประยุกต์ การหารากของสมการไม่เชิงเส้น

รายวิชา 4293711

แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 2

3 (3-0-6)

 

Calculus for Mechanical Engineering 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : แคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมเครื่องกล 1

        ศึกษาเมตริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ การแก้ระบบสมการเชิงเส้น ปริภูมิเวคเตอร์ ปริภูมิย่อย ความอิสระเชิงเส้น ฐาน มิติ คุณสมบัติความฉากและขนาดในปริภูมิเวคเตอร์ ค่าเจาะจงและเวคเตอร์เจาะจง ความคล้ายและการแปลงเมตริกซ์ ฟังก์ชันหลายตัวแปร อนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์ อินทิกรัลซ้อนและการประยุกต์

รายวิชา 6202111

เขียนแบบวิศวกรรม 1

1(0-3-5)

 

Engineering Drawing 1

 

        ศึกษาการอ่านแบบ การเขียนแบบภาพฉายและการแสดงภาพตัดของชิ้นส่วนของเครื่องกล การเขียนแบบภาพคลี่ การเขียนแบบขั้นใช้งาน การออกแบบชิ้นส่วนมาตรฐาน การกำหนดผิวงาน พิกัดความเผื่อ การเขียนแบบแยกชิ้นส่วน แบบประกอบและการทำรายการประกอบแบบ การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบเขียนแบบ

รายวิชา 6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrial Computer

 

        ศึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช่ในงานอุตสาหกรรม ระบบการประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางวิศวกรรมโดยคอมพิวเตอร์ การออกแบบต่างๆ ตลอดจนการนำเข้าข้อมูลจากระบบ internet มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจนสามารถพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 6204111

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม

3 (2-2-5)

 

Engineering Economics

 

        วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ สำหรับการตัดสินใจทางวิศวกรรม กระแสเงินทุนผลของเวลาและอัตราดอกเบี้ย วิธีต่าง ๆ ในการประเมินทางเลือกมูลค่าต่ำสุด ระยะทำงาน มูลค่าทดแทน ภาษีและการลดมูลค่าการตัดสินใจภายใต้ภาวะเสี่ยงแหล่งเงินทุนและผลกระทบ

รายวิชา 6204711

องค์การและการจัดการอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Organize and Industrial Management

 

        ศึกษาโครงสร้าง และการจัดองค์กรสำหรับงานอุตสาหกรรม หลักการ การวางแผน การจัดโครงสร้าง การจัดบุคลากร จัดระบบการติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติสำหรับการจัดการงานอุตสาหกรรมแบบใหม่ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมในท้องถิ่น

 

            3. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านบังคับ

รายวิชา 2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Engineering Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิศวกรรม จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 6173308

ไฟฟ้าอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Electricity

 

        ไฟฟ้า Single phase และ Three phase การเดินวงจรไฟฟ้าแสงสว่าง การเดินวงจรไฟฟ้ากำลัง ระบบควบคุมความปลอดภัย วงจรอิเล็กทรอนิกส์ การทดลองใช้เครื่องมือไฟฟ้าชนิดต่างๆ เพื่อการตรวจสอบและการหาค่าการใช้งานเกี่ยวกับหม้อแปลงไฟฟ้าและการบำรุงรักษา

รายวิชา 6173309

ปฏิบัติการไฟฟ้าอุตสาหกรรม

1 (0-3-0)

 

Industrial Electricity Laboratory

 

        ปฏิบัติการทดลองเกี่ยวกับการติดตั้งไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ด้วยอุปกรณ์การติดตั้ง ได้แก่ ท่อร้อยสายไฟฟ้า รางเดินสายไฟฟ้า ทางเดินบัส การเลือกอุปกรณ์ป้องกัน การติดตั้งเครื่องจักรกลไฟฟ้า การออกแบบเพื่อการติดตั้งให้ได้มาตรฐาน

รายวิชา 2313705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 6203733

การเขียนแบบกราฟฟิกเชิงวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

Engineering Ghaphic Drawing

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : แคลคูลัส 2

        ศึกษาการเขียนแบบทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล แบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลต่างๆ ตามมาตรฐานสากล แบบภาพประกอบ ภาพฉาย ชิ้นส่วน 2 มิติ 3 มิติ การใช้ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ เขียนแบบ และการวิเคราะห์โครงสร้าง ทางด้านวิศวกรรม การคำนวณ น้ำหนัก ความแข็งแรงวัสดุ โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ช่วยในการเขียนแบบ

รายวิชา 6202112

เขียนแบบวิศวกรรม 2

1 (0-3-5)

 

Engineering Drawing 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เขียนแบบวิศวกรรม 1

        ศึกษาการเขียนแบบทั่วไปของวิศวกรรม การเขียนภาพฉาย การเขียนภาพคลี่ การเขียนภาพตัด การกำหนดขนาดและลักษณะผิวงาน การอ่านและวิเคราะห์แบบทางวิศวกรรม ภาพ-ประกอบ ภาพแยกชิ้น พิกัดความคลาดเคลื่อนและพิกัดการสวม มาตรฐานและสัญลักษณ์แบบทางวิศวกรรม แบบงานท่อ โดยการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ

รายวิชา 6202121

วัสดุวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

Engineering Materials

 

        ศึกษาการผลิตเหล็กและเหล็กกล้า โลหะวิทยาเบื้องต้น แผ่นภาพสมดุลของโลหะผสมและเหล็กคาร์บอน การแบ่งประเภทและคุณสมบัติของเหล็กกล้า เหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กหล่อ และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก สัญลักษณ์ของเหล็กกล้าตามมาตรฐาน การปรับปรุงคุณภาพของเหล็กกล้าด้วยความร้อน อโลหะที่สำคัญที่ใช้ในงานวิศวกรรม หลักการเบื้องต้นของการ-ตรวจสอบวัสดุโดยทำลายและไม่ทำลาย

รายวิชา 6202211

กลศาสตร์วิศวกรรม

3 (2-2-5)

 

Engineering Mechanics

 

        ศึกษาเรื่องของแรงและการรวมแรงในสามมิติ การสมดุลของแรงในสามมิติ แรงเสียดทาน จุดศูนย์ถ่วง โมเมนต์ความเฉื่อย และวิเคราะห์ในชิ้นส่วนของโครงสร้างชิ้นส่วนภาพวัตถุของเครื่องจักรกล

รายวิชา 6202222

พลศาสตร์วิศวกรรม

3 (2-2-5)

 

Engineering Dynamics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษาจลนศาสตร์และพลศาสตร์ของอนุภาค กลุ่มอนุภาคและวัตถุแข็งเกร็ง กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน สมดุลพลวัต หลักของงานและพลังงาน กฎการอนุรักษ์พลังงาน การกระทบ ของอนุภาค หลักการดลและโมเมนตัม กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม การเคลื่อนที่เฉพาะตัวและการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กับแกนอ้างอิงที่กำลังเลื่อนและหมุน

รายวิชา 6202311

เทอร์โมไดนามิคส์ 1

3 (2-2-5)

 

Thermodynamics 1

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ฟิสิกส์

        ศึกษาเทอร์โมไดนามิกเบื้องต้น หลักการและนิยามพื้นฐาน คุณสมบัติและสถานะของสารบริสุทธิ์ งานและความร้อน แก๊สในอุดมคติ อุณหภูมิกับการวัดความร้อน กฎข้อแรกของเทอร์โมไดนามิกส์ ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ความดัน อุณหภูมิของแก๊ส แรงระหว่างอนุภาคของแก๊ส ความร้อนจำเพาะและการแบ่งพลังงานของแก๊ส คุณสมบัติของสารบริสุทธิ์ เอ็นโทปี กับกฎข้อที่สองของเทอร์โมไดนามิกส์ กระบวนการแบบผันกลับไม่ได้ วัฏจักรของคาร์โน วัฏจักรความร้อนและประสิทธิภาพ วัฏจักรทำความเย็น

รายวิชา 6202321

กลศาสตร์ของไหล 1

3 (2-2-5)

 

Fluid Mechanics 1

 

        ศึกษาคุณสมบัติของของไหล การอนุรักษ์มวลและปริมาตร สมดุลสถิตย์ของของไหล สมการของเบอร์นูลลี สนามการไหล การไหลแบบไม่ทรงตัวและแบบอัดตัวได้ สมการโมเมนตัมและพลังงาน ความสัมพันธ์ทางความเค้นความเครียดของของไหล สมการความต่อเนื่องและการเคลื่อนที่ การวิเคราะห์มิติและความคล้าย การวัดการไหล การไหลในท่อ

รายวิชา 6202811

ปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรม

1 (0-3-5)

 

Engineering Materials Laboratory

 

        ปฏิบัติการทดลองให้สอดคล้องกับวิชาวัสดุวิศวกรรม

รายวิชา 6203211

การออกแบบเครื่องกล 1

3 (2-2-5)

 

Machine Design 1

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็ง

        ศึกษาข้อพิจารณาทั่วไปในการออกแบบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน ทบทวนการคำนวณหาค่าความเค้นและความเครียดของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล คุณสมบัติและการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม ทฤษฎีความเสียหาย การล้าตัวของวัสดุและแนวคิดเกี่ยวกับกลศาสตร์การแตกร้าวเบื้องต้น ความเสียหายเนื่องจากการกระแทก ความเชื่อถือได้และค่าความปลอดภัย การออกแบบเพลาและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดอยู่บนเพลา การออกแบบสปริง การออกแบบสลักเกลียว การออกแบบหมุดย้ำและรอยเชื่อม

รายวิชา 6203311

การถ่ายเทความร้อน

3 (2-2-5)

 

Heat Transfer

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิคส์ 1

        ศึกษาการนำความร้อนแบบทรงตัวในหนึ่งและสองมิติ แบบไม่ทรงตัวในหนึ่งมิติ การแผ่รังสีความร้อน คุณสมบัติในการแผ่รังสี ตัวประกอบทางรูปทรงและผิวเชิงซ้อน การพาความร้อน ชั้นชิดผิวแบบราบเรียบและปั่นป่วนกับการถ่ายเทความร้อน การไหลในท่อ การพาความร้อนแบบธรรมชาติ การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

รายวิชา 6203321

เครื่องยนต์สันดาปภายใน

3 (2-2-5)

 

Internal Combustion Engines

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิคส์ 1

        ศึกษาวิเคราะห์ทางเทอร์โมไดนามิกของเครื่องยนต์ที่สันดาปด้วยการจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าและด้วยการอัดแก๊ส ทั้งแบบลูกสูบและแบบ ทั้งนี้รวมถึงการวัดและวิเคราะห์ปริมาณอากาศและเชื้อเพลิง ไอเสียและการควบคุม การคำนวณประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ภายใต้ภาระต่างๆ

รายวิชา 6203711

การออกแบบชิ้นส่วนและการผลิตโดยคอมพิวเตอร์

2 (1-3-5)

 

Computer-Aided Design and Manufacturing Cad/Cam

 

        ศึกษาพื้นฐานของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการออกแบบ อธิบายรูปทรงเรขาคณิต การจำลองไฟไนท์อิลิเมนท์ การวิเคราะห์ไฟไนอิลิเมนท์โดยใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการประยุกต์ ระบบ CAD/CAM รวมศึกษาเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมกระบวนการผลิต เช่น ซีเอ็นซี หุ่นยนต์ และการรวมระบบกระบวนการผลิตเข้าด้วยกัน

รายวิชา 6203811

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1

1 (0-3-5)

 

Mechanical Engineering Laboratory 1

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล หรือ เทอร์โมไดนามิก

        ปฏิบัติการทดลองต่างๆ ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล โดยเน้นด้านขบวนการของไหลและความร้อน เพื่อเสริมสร้างให้มีความเข้าใจความรู้พื้นฐาน และเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับเครื่องมือพื้นฐานและเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานในการออกแบบทางวิศวกรรมด้วย โดยนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในการออกแบบชุดทดลองด้วย

รายวิชา 6203812

การปฏิบัติการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 2

1 (0-3-5)

 

Mechanical Engineering Laboratory 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็งหรือ พลศาสตร์วิศวกรรม

        ปฏิบัติการทดลองต่างๆ ในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยเน้นด้านกลศาสตร์ประยุกต์ และพลศาสตร์และการควบคุมเป็นหลัก เพื่อเสริมสร้างให้มีความเข้าใจความรู้พื้นฐาน และเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับเครื่องมือพื้นฐาน และเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานในการออกแบบทางวิศวกรรมด้วย โดยนักศึกษาจะต้องทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มในการออกแบบชุดทดลองด้วย

รายวิชา 6204911

โครงงานทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (0-6-3)

 

Project In Mechanical Engineering

 

        โครงงานสำหรับนักศึกษาที่มีจำนวนหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า 70% ของจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตรหรือได้รับความเห็นชอบจากภาควิชาฯ โดยเป็นการนำความรู้ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาออกแบบหรือสร้างระบบทางกลตามเงื่อนไขหน้าที่ที่กำหนด โดยจะต้องมีการสอบเสนอโครงงานก่อนดำเนินการเพื่อหาหัวข้อที่เหมาะสม ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงงาน วางแผนการดำเนินงาน รวมถึงศึกษาหาข้อมูลในโครง-งานที่เกี่ยวข้องและค่าใช้จ่ายโดยประมาณ นักศึกษาจะดำเนินงานตามแผนงานที่ได้วางไว้ ส่วนการประเมินผลจะทำเป็นขั้นสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นโครงงานแล้วโดยจะเน้นการสอบเสนอรายละเอียดทั้งหมดในการดำเนินงานและสรุปผลการออกแบบเป็นหลัก

 

            4. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านเลือก

                        4.1 แขนงวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

รายวิชา 6202131

วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี

3 (2-2-5)

 

Material and Technology

 

        ศึกษาความสำคัญ คุณสมบัติ ประโยชน์ กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตวัตถุทนไฟ โลหะเคลือบ แก้ว ซีเมนต์และปูนพาสเตอร์ สิ่งขัดถูให้มีประสบการณ์ในการทดลองปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 6202141

วิศวกรรมการอบชุบเหล็ก

3 (3-1-5)

 

Iron & Steel Heat-Treatment Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : วัสดุวิศวกรรม

        ศึกษาโลหะวิทยาของเหล็ก แผ่นภาพสมดุลเหล็ก-คาร์บอน การเปลี่ยนโครงสร้างของเหล็กขณะได้รับความร้อนและขณะเย็นตัว หลักการบำบัดเหล็กด้วยความร้อน การอบอ่อนลักษณะต่างๆ การชุบแข็งทั้งชิ้นงาน การชุบผิวแข็งแบบต่างๆ การอบคืนตัว เตาอบและเตาชุบแข็ง การควบคุมบรรยากาศภายในเตา การกำหนดตัวแปรในการอบและชุบแข็งเหล็กกล้า และเหล็กหล่อชนิดต่างๆ การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพของการอบและชุบแข็งเหล็ก

รายวิชา 6202151

อุตสาหกรรมโลหะวิทยา

3 (2-2-5)

 

Metallurgy Industry

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กรรมวิธีการผลิต

        ศึกษากรรมวิธีการหล่อโลหะ สภาพยืดหยุ่นแบบพลาสติกของโลหะ กรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะ กรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะแผ่น การอัดขึ้นรูปโลหะผง โพลิเมอร์และพลาสติก กรรมวิธีการขึ้นรูปพลาสติก

รายวิชา 6202171

สถิติวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

Statistic Engineering

 

        ศึกษาหลักการสถิติเชิงพรรณนาของข้อมูลที่มีตัวแปรเดี่ยวและคู่ หลักของความน่าจะเป็น การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบต่างๆ ได้แก่ แบบไบโนเมียล แบบปัวซองและแบบปกติ ตัวอย่างการแจกแจงของการประมาณค่าทางสถิติต่างๆ และการทดสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ การทดสอบแบบ Z การทดสอบแบบ t การทดสอบแบบกำลังสองของ x และการทดสอบแบบ F การประยุกต์ใช้การแจกแจงแบบ
ไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนเบื้องต้น

รายวิชา 6202831

หลักการทดสอบวัสดุ

3 (2-3-4)

 

Material Testing

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน: วัสดุวิศวกรรม

        ศึกษาการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางกล การทดสอบแรงดึง การทดสอบความแข็ง การทดสอบแรงกระแทก การทดสอบการล้า การตรวจสอบหาสิ่งบกพร่องในวัสดุแบบไม่ทำลาย การตรวจสอบด้วย อุลตร้าโซนิค การตรวจสอบด้วยรังสี การตรวจสอบด้วยอนุภาคแม่เหล็ก การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึม สิ่งบกพร่องในโลหะ การวิเคราะห์ส่วนผสมในโลหะ หลักการเบื้องต้นในการวิเคราะห์การเสียหาย

รายวิชา 6203122

วัสดุเสริมเส้นใยเบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction to Fibre-Reinforced Materials

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็ง

        ศึกษาวัสดุเสริมเส้นใยทิศทางเดียว วัสดุเสริมเส้นใยแบบหลายชั้น กลศาสตร์อนุภาคของวัสดุเสริมเส้นใย ความแข็งแรงของวัสดุเสริมเส้นใย การวิเคราะห์โครงสร้างและการออกแบบของวัสดุเสริมเส้นใย

รายวิชา 6203212

การออกแบบเครื่องกล 2

3 (2-2-5)

 

Machine Design 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การออกแบบเครื่องกล 1

        ศึกษาเนื้อหาวิชาต่อเนื่องจาก การออกแบบเครื่องกล 1 การหล่อลื่น เจอร์นัลแบริ่ง ตลับลูกปืน การออกแบบเฟืองชนิดต่างๆ คลัทซ์และเบรค สายพาน และโซ่

รายวิชา 6203221

กลศาสตร์ของแข็ง 1

3 (2-2-5)

 

Mechanics of Solids 1

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษาความเค้นและความเครียด คุณสมบัติทางกลของของแข็ง แรงแนวแกน การบิดของเพลา ความเค้นและการเปลี่ยนรูปทรงของคาน การโก่งของคาน ไดอะแกรมของโมเมนต์ดัดและแรงเฉือน ความเค้นในระนาบและวงกลมของโมร์ เสถียรภาพของการสมดุลและการโก่งงอของเสายาว

รายวิชา 6203222

กลศาสตร์ของวัสดุแข็ง 2

3 (2-2-5)

 

Advanced Mechanics Of Solids 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็ง

        ศึกษาวิเคราะห์ความเค้นและความเครียดสำหรับปัญหาในสองและสามมิติ ความเค้นเนื่องจากความร้อน ความเค้นที่รวมตัวเฉพาะที่ การโค้งตัวของคานที่มีหน้าตัดไม่สมมาตร จุดศูนย์กลางแรงเฉือน การรับภาระของคานโค้ง คานที่อยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่น การบิดตัวของแท่งวัสดุที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปแบบทั่วไป รวมทั้งแท่งวัสดุที่มีหน้าตัดเป็นผิวบาง (รังผึ้ง) ทรงกระบอกหนาและแผ่นหมุน วิธีวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางพลังงาน

รายวิชา 6203231

ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล

3 (2-2-5)

 

Element Machine

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษาลักษณะของส่วนประกอบ หน้าที่และการทำงานขององค์ประกอบของเครื่องจักร Bearing Clutches สายพาน โซ่ เฟือง Irregular motion devices Connections and Joint Piston ลิ้นประเภทต่างๆ เช่น ลิ้นกันกลับ ลิ้นนิรภัย และลิ้นนำทาง เป็นต้น เครื่องช่วยแรง Boosters or Servomechanism ทั้งที่เป็นแบบ Mechanical Pneumatics and Hydraulics Stuffing boxes Seals Cross heads และส่วนประกอบอื่นๆ ของเครื่องกล

รายวิชา 6203241

กลศาสตร์ของเครื่องจักรกล

3 (2-2-5)

 

Mechanics of Machinery

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : พลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษาจลนศาสตร์ของเครื่องจักรกล การวิเคราะห์ระยะขจัด ความเร็ว ความเร่ง ชิ้นส่วน เครื่องจักรกล ชุดลูกเบี้ยว ชุดเฟืองทด และกลไกในระนาบต่าง ๆ การวิเคราะห์แรงสถิตและแรงเฉื่อยในชิ้นส่วนเครื่องจักรกล การดุลกันแบบสถิตและแบบพลวัตในชิ้นส่วนหมุนและชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ไปกลับ

รายวิชา 6203251

การสั่นสะเทือนเชิงกล

3 (2-2-5)

 

Mechanical Vibration

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วิศวกรรม หรือ พลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษาการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิค การสั่นสะเทือนแบบอิสระและแบบบังคับของระบบระดับความเสรีขั้นเดียว การสั่นสะเทือนของระบบระดับความเสรี สองขั้นและหลายขั้นทั้งแบบอิสระและแบบบังคับ การแก้ไขปัญหาการสั่นสะเทือน สมการลากรานจ์ ปัญหาของไอเกน และการคำนวณเชิงตัวเลข การสั่นสะเทือนของระบบต่อเนื่อง การวิเคราะห์การสั่นสะเทือน โดยใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

รายวิชา 6203731

ระบบลำเลียง

3 (2-2-5)

 

Conveying Systems

 

        ศึกษาทฤษฎีและเทคนิคการลำเลียงวัสดุ การออกแบบการลำเลียง การเลือกใช้ระบบลำเลียง การทำงานของระบบลำเลียงแบบต่างๆ

รายวิชา 6203761

ระบบสารสนเทศในการบริหารอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Information Technology for Industrial Managment

 

        ศึกษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งสารสารสนเทศกับการบริหาร ระบบสำนักงานอัตโนมัติ การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์กับการบริหารอุตสาหกรรม

รายวิชา 6203791

การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย

3 (2-3-4)

 

Using Computer and Networks

 

        ศึกษาและเน้นทฤษฎีและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกลุ่มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งในระดับแนวคิด ตรรกะ และกายภาพ งานการจัดการทรัพยากร การบริหารทั่วไป เทคนิคการบริหาร การสนับสนุนผู้ใช้ปลายทาง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบหน่วยอุปกรณ์ประกอบ ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ การประยุกต์ระบบซอฟท์แวร์ เทคโนโลยีเครือข่าย ภาพรวมของเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN)) ระดับเมือง (MAN ระดับสากล(WAN) มีการฝึกทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ติดตั้งในงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 6204211

การออกแบบระบบทางเครื่องกล

3 (2-2-5)

 

Design of Mechanical Systems

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การออกแบบเครื่องกล 1

        ศึกษาการประยุกต์แนวคิดและวิธีของความน่าจะเป็นในการออกแบบระบบทางกล สถิติและคณิตศาสตร์เชิงวิศวกรรมของตัวแปรสุ่ม ดรรชนีความปลอดภัยและความน่าจะเป็นของการวิบัติโดยการแทรกสอดของความเค้น-ความแข็ง โมเมนต์ขั้นสองระดับหนึ่ง การสุ่มแบบที่สำคัญที่สุดและวิธีการตอบสนองของผิว ภาระรวมทางสถิติและการประเมินความน่าเชื่อถือของระบบ การหาค่าเหมาะสมที่สุดเชิงสถิติ

รายวิชา 6204231

กลศาสตร์การแตกหัก

3 (2-2-5)

 

Fracture Mechanics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็ง

        ศึกษาการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของความยืดหยุ่นและพลาสติกเชิงเส้นเพื่อหาความเค้นรอบรอยร้าว หลักความเข้มของความเค้น การหาค่าตัวประกอบชดเชยด้วยการทดลอง การหาความเครียดและความเค้นระนาบ และการประยุกต์ใช้งานเพื่อการออกแบบจริง

รายวิชา 6204721

วิธีไฟไนต์อิลิเม็นต์เบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction To Finite Element Method

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของแข็ง หรือ การถ่ายเทความร้อน

        ศึกษาหลักการเบื้องต้นของวิธีการไฟไนต์เอลิเมนต์ การประยุกต์ใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมเครื่องกล ปัญหาโครงสร้างแบบทรัสท์ ปัญหาโครงสร้างแบบเฟรม ปัญหาความเค้นและความเครียดในระนาบ ปัญหาสมมาตรรอบแกน ปัญหาการสั่นสะเทือนทางกล ปัญหาด้านการถ่ายเทความร้อน ปัญหากลศาสตร์ของไหล การใช้ซอฟท์แวร์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์

รายวิชา 6204791

โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

3 (2-3-4)

 

Computer Application for Science and Industrial

 

        ศึกษาและเน้นทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่นอันดับ และอนุกรม การจัดหมู่ การจัดลำดับ ความน่าจะเป็น ทฤษฎีบททวินาม ฟังก์ชัน การแก้สมการ เวกเตอร์ ความเร็ว ความเร่ง เรขาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์และแคลคูลัสเบื้องต้น และทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ตลอดจนเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษา ด้านงานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม หรือศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเนื้อหาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม

รายวิชา 6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Seminar in Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ภาควิชาเห็นชอบ

        การอภิปรายและรายงานเกี่ยวกับปัญหาพิเศษต่างๆทางวิศวกรรมเครื่องกล

รายวิชา 6204931

หัวข้อพิเศษเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Special Topic in Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : โดยความเห็นของอาจารย์ผู้สอน

        ศึกษาในวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลทางด้านกลศาสตร์ประยุกต์และการออกแบบเครื่องจักรกล ที่ทันสมัยหรือที่ใช้งานเฉพาะด้าน

 

                        4.2 แขนงวิชาพลังงาน

รายวิชา 6202312

เทอร์โมไดนามิคส์ 2.

3 (2-2-5)

 

Thermodynamics 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิกส์ 1

        ศึกษาเอ็นโทรปี การย้อนกลับได้และการใช้ประโยชน์ได้ วัฏจักรอากาศของคาร์โนท์ วัฏจักรไอน้ำ วัฏจักรเครื่องยนต์ วัฏจักรความเย็น วัฏจักรความร้อน ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงาน เทอร์โมไดนามิกของของผสม

รายวิชา 6202741

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrail Instrumentation

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : พลศาสตร์วิศวกรรม หรือ กลศาสตร์ของแข็ง

        ศึกษาระบบเครื่องมือวัดโดยทั่วไป การบ่งลักษณะของเครื่องมือวัด เช่น ความไว ความถูกต้อง และผลตอบสนองความถี่ การประยุกต์ใช้หลักทางสถิติในการวิเคราะห์และปรับปรุงข้อมูล หลักการทำงานของอุปกรณ์หยั่งสัญญาณชนิดต่าง ๆ ทั้งทางกลและไฟฟ้า เช่น การวัดระยะทาง ความเร็ว ความเร่ง ขนาดและทิศทางของแรง ความเครียด ความเค้น ความดัน อัตราไหล อุณหภูมิ เป็นต้น อุปกรณ์ปรับปรุงสัญญาณ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ และอุปกรณ์ประมวลและแสดงผลชนิดต่างๆ

รายวิชา 6203331

การทำความเย็นและการปรับอากาศ

3 (2-2-5)

 

Refrigeration and Air Conditioning

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิคส์ 1

        ศึกษาหลักการเบื้องต้นของการทำความเย็น วัฏจักรทางเทอร์โมไดนามิกของการทำความเย็น ระบบทำความเย็นระบบต่าง ๆ น้ำยาของระบบทำความเย็น คอมเพรสเซอร์ อีวาปโปเรเตอร์ คอมเดนเซอร์ระบบควบคุมการทำงาน. ท่อน้ำยาและอุปกรณ์ ห้องเย็นและห้องแช่แข็งระบบปรับอากาศแบบต่าง ๆ การหาภาระของการปรับอากาศ การหาภาระของการทำความเย็น ความชื้นในอากาศ การถ่ายเทอากาศและกระจายลม การออกแบบท่อลม

รายวิชา 6203351

ระบบกำลังของไหล

3 (2-2-5)

 

Fluid Power Systems

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาบทนำ หลักการเบื้องต้นของกลศาสตร์ของของไหล แหล่งกำลังของไหล ถังเก็บและระบบการส่งของไหล อุปกรณ์ทำงาน วงจรพื้นฐาน การออกแบบวงจร การเลือกอุปกรณ์และการออกแบบ ตัวกลางส่งกำลัง การบำรุงรักษาระบบ การควบคุมอัตโนมัติ

รายวิชา 6203361

เครื่องจักรกลของไหล

3 (2-2-5)

 

Turbomachines

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาบทนำ ปั๊มของเหลว กังหันของเหลว เครื่องอัดก๊าซและพัดลมแบบหอยโข่ง เครื่องอัดก๊าซและพัดลมแบบไหลตามแกนนอน กังหันไอน้ำและกังหันก๊าซแบบไหลตามแนวแกน กังหันก๊าซแบบไหลตามแนวรัศมี

รายวิชา 6203371

ระบบท่อทางวิศวกรรม

3 (2-2-5)

 

Engineering Piping Systems

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาการกำหนดขนาดและออกแบบระบบท่อในอาคาร การออกแบบระบบท่อไอน้ำ การออกแบบท่อส่งก๊าซ

รายวิชา 6203411

การออกแบบระบบความร้อน

3 (2-2-5)

 

Design of Thermal Systems

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิกส์ หรือการถ่ายเทความร้อน

        ศึกษากระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ที่จำเป็นในการพิจารณาออกแบบทางวิศวกรรม การเลือกอุปกรณ์ตามความต้องการของระบบความร้อน การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของอุปกรณ์

รายวิชา 6203421

วิศวกรรมโรงจักรผลิตกำลัง

3 (2-2-5)

 

Power Plant Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิคส์ 1

        ศึกษาระบบโรงจักรต้นกำลังและการเปลี่ยนแปลงพลังงาน การคำนวณภาวะเศรษฐศาสตร์โรงจักรต้นกำลัง เชื้อเพลิงและการเผาไหม้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน เครื่องกำเนิดไอน้ำและพลังงานนิวเคลียร์ เครื่องควบแน่นและอุปกรณ์ช่วย โรงจักรไอน้ำ กังหันแก๊สและไอน้ำณ์ความร้อน การจำลองสถานการณ์

รายวิชา 6203431

พลศาสตร์ของก๊าซ

3 (2-2-5)

 

Gas Dynamics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิก หรือกลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นทางพลศาสตร์ของก๊าซ ปรากฏการณ์ของคลื่น การไหลด้วยความเร็วต่ำกว่าและสูงกว่าเสียง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพลศาสตร์ของก๊าซและการประยุกต์ใช้งาน

รายวิชา 6203441

การคำนวณทางพลศาสตร์ของไหล

3 (2-2-5)

 

Computing for Fluid Dynamics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : อากาศพลศาสตร์

        ศึกษาพื้นฐานวิธีไฟไนท์ดิฟเฟอเรนซ์ การประยุกต์วิธีผลต่างสืบเนื่องในพลศาสตร์ของไหล สมการควบคุมพลศาสตร์ของไหล วิธีการเชิงตัวเลขสำหรับสมการไหลไม่หนืด สมการชั้นชิดผิว เนเวียร์สโตรกส์

รายวิชา 6203451

พลังงานทดแทน

3 (2-2-5)

 

Renewable Energy Resorces

 

        ศึกษาแหล่งกำเนิดของพลังงาน การเปลี่ยนรูปของพลังงาน ปัญหาเกี่ยวกับพลังงาน การนำพลังงานจากแหล่งต่างๆ มาใช้งาน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำไหล พลังงานน้ำตก พลังงานคลื่นทะเล พลังงานก๊าซธรรมชาติ พลังงานชีวภาพ พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานอื่นๆ

รายวิชา 6203461

ระบบการแปลงพลังงาน

3 (2-2-5)

 

Re-Energy System

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิก

        ศึกษาการประยุกต์ใช้งานเทอร์โมไดนามิกส์ สมดุลของปฏิกิริยาเคมีและจลนศาสตร์เคมีที่ใช้กับระบบการแปลงพลังงาน การวิเคราะห์เชิงคำนวณของการกระจาย การใช้พลังงานและแหล่งพลังงานของระบบพลังงานแบบต่างๆ การสันดาปของเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับการทำความร้อนและการผลิตกำลัง พลังงานจากถ่านหิน พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากผลผลิตทางการเกษตร และการควบคมมลภาวะในระบบการแปลงพลังงาน

รายวิชา 6203471

อากาศพลศาสตร์เบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Basic Aerodynamics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาประวัติและการพัฒนาอากาศยาน หน่วยและคุณสมบัติของอากาศ การไหลของอากาศ ปีกและ อุปกรณ์เพิ่มแรงยก แรงทางอากาศพลศาสตร์ การขับเคลื่อนอากาศยาน สมรรถนะ เสถียรภาพการบินและการควบคุม บทนำสู่การไหลแบบยุบตัวได้

รายวิชา 6203741

การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน

3 (2-2-5)

 

Energy Conservation

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การถ่ายเทความร้อน

        ศึกษาพระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ระบบเชื้อเพลิงและการเผาไหม้ หม้อน้ำและระบบไอน้ำ การอนุรักษ์พลังงานในเตาเผา การอนุรักษ์พลังงานในเครื่องอัดอากาศ การอนุรักษ์พลังงานในระบบ การปรับสภาวะอากาศ การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ การอนุรักษ์พลังงานในระบบแสงสว่าง การอนุรักษ์พลังงานในหม้อแปลงไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงานในมอเตอร์ไฟฟ้า การควบคุมกำลังไฟฟ้าสูงสุด การตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน

รายวิชา 6203781

วิศวกรรมคุณค่า

3 (2-2-5)

 

Value Engineering

 

        ศึกษาและแนะนำวิศวกรรมคุณค่า ประวัติและความเป็นมา แผนงานวิศวกรรมคุณค่า หลักการพื้นฐาน ความหมายของคุณค่า การวิเคราะห์คุณค่า การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หน้าที่ การสร้างสรรค์ความคิด การนำเสนอเพื่อปฏิบัติ การประยุกต์ใช้วิศวกรรมคุณค่าในอุตสาหกรรมและกรณีศึกษา

รายวิชา 6204311

กลศาสตร์ของไหล 2

3 (2-2-5)

 

Advanced Fluid Machanics

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาสมการความต่อเนื่อง สมการจลนศาสตร์ และสมการอนุรักษ์ของของไหล การไหลแบบอีโรเตชันแนล สมการพื้นฐานของการไหลแบบหนืดและอัดตัวได้ หลักการของชั้นชิดผิวเสถียรภาพและเทอร์บิวเลนซ์เบื้องต้น คลื่นบนผิวน้ำ ทฤษฎีของคลื่นน้ำขนาดเล็ก การตั้งปัญหาและการแก้ปัญหา

รายวิชา 6204411

แก๊สเทอร์ไบน์

3 (2-2-5)

 

Gas Turbines

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิก หรือ การถ่ายเทความร้อน

        ทบทวนแก๊สไดนามิก บทนำเกี่ยวกับเครื่อง3กังหันแก๊ส อุณหพลศาสตร์ของเครื่องกังหันแก๊สการไหลในแนวแกนของใบกังหัน คอมเพรสเซอร์แรงเหวี่ยง คอมเพรสเซอร์ แนวแกน แมตซิ่งคอมโพเนนต์ การเผาไหม้ ระบบการเผาไหม้การขับดัน ทฤษฎีแอโรฟอยล์ จรวดขับดัน กังหันแก๊ส ระบบการจุดระเบิด

รายวิชา 6204431

วิศวกรรมปรมาณู

3 (2-2-5)

 

Nuclear Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิก 2

        ทบทวนเกี่ยวกับอะตอมและโครงสร้างปรมาณู ปฏิกิริยาแบบแยกตัว แบบรวมตัวและแบบลูกโซ่ การตรวจสอบและการป้องกันการแผ่รังสี การถ่ายเทความร้อนของปรมาณู ส่วนประกอบต่างๆและการเดินเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

รายวิชา 6204451

เทคโนโลยีพลังงาน

3 (2-2-5)

 

Energy Technology

 

ÈÖ¡ÉÒà¡ÕèÂǡѺÃٻẺ෤â¹âÅÂÕ·Ò§´éÒ¹¾Åѧ§Ò¹áʧÍÒ·ÔµÂì ¾Åѧ§Ò¹ÅÁ ¾Åѧ§Ò¹ªÕÇÁÇÅ ¾Åѧ§Ò¹ªÕÇÀÒ¾ ¾Åѧ§Ò¹¹ÔÇà¤ÅÕÂÃì ¾Åѧ§Ò¹¹éÓ ¾Åѧ§Ò¹¤ÇÒÁÃé͹ãµé¾ÔÀ¾ »ÔâµÃà¤ÁÕ ÈÖ¡ÉÒ ¡ÒÃá»Å§ÃÙ»¢Í§¾Åѧ§Ò¹ áÅСÒûÃÐÂØ¡µìãªé»ÃÐâª¹ì µÅÍ´¨¹¡ÒÃÍ͡Ẻ¾Ñ²¹ÒÍØ»¡Ã³ì´éÒ¹¾Åѧ§Ò¹à¾×èÍãªé»ÃÐ⪹ìã¹´éÒ¹µèÒ§æ

รายวิชา 6204751

วิศวกรรมความปลอดภัย

3 (2-2-5)

 

Safety Engineering

 

        ศึกษาสาเหตุและความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ อันตรายและการควบคุมอันตรายจากเครื่องจักรไฟฟ้า หม้อไอน้ำ และภาชนะทนความดัน การขนถ่ายวัสดุ ความร้อน แสง เสียง การสั่นสะเทือน สารเคมี ชีวภาพ การป้องกันและระงับอัคคีภัย ฯลฯ การประเมินอันตรายการระบายอากาศ มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

รายวิชา 6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Seminar In Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ภาควิชาเห็นชอบ

        การอภิปรายและรายงานเกี่ยวกับปัญหาพิเศษต่าง ๆ ทางวิศวกรรมเครื่องกล

รายวิชา 6204941

หัวข้อพิเศษเฉพาะทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Special Topic in Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : โดยความเห็นชอบของอาจารย์

        ศึกษาในวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลด้าน อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและวิศวกรรมพลังงาน ที่ทันสมัยหรือที่ใช้งานเฉพาะด้าน

 

                        4.3 แขนงวิชาเครื่องจักรกลเกษตร

รายวิชา 6112512

กระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Manufacturing Process

 

        ศึกษาขั้นตอนของการผลิตระบบต่างๆ ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้การบริหารงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพ เทคนิคการเลือกใช้เครื่องจักรแต่ละขั้นตอนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม

รายวิชา 6203511

ทฤษฎีของเครื่องจักรกลเกษตร

3 (2-2-5)

 

Theory of Agricultural Machines

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วิศวกรรม

        ศึกษา ชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล ข้อต่อเชื่อม การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวและการกระจัด การวิเคราะห์ความเร็วและความเร่งของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ กลไกและเครื่องจักรกลพื้นฐาน การวิเคราะห์แรงสถิตและ แรงเฉื่อย ในเครื่องจักรกล ล้อตุนกำลัง ดุลของมวลที่เคลื่อนที่แบบหมุนและแบบชักกลับไปกลับมา แรงสะเทือนที่เกิดขึ้นในเครื่องจักรกล

รายวิชา 6203521

เครื่องต้นกำลังทางการเกษตร

3 (2-2-5)

 

Power for Agricultural System

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิกส์

        ศึกษา ต้นกำลังที่ใช้ในการเกษตร ทฤษฎีเครื่องยนต์สันดาปภายใน ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ที่ใช้ในการเกษตร คุณลักษณะการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบคาร์บูเรเตอร์และการฉีด ระบบการจุดระเบิด การสึกหรอของเครื่องยนต์ การหล่อลื่น การหล่อเย็น การแก้ข้อขัดข้อง การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่ใช้กับรถแทรกเตอร์ การทดสอบเครื่องยนต์

รายวิชา 6203531

เครื่องจักรกลเกษตร1

3 (2-2-5)

 

Agricultural Machinery I

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เครื่องต้นกำลังทางการเกษตร

        การวิเคราะห์แรง การใช้งานและการปรับตั้งเครื่องมือเตรียมดินขั้นแรกและขั้นหลัง เครื่องหยอดเมล็ด เครื่องปลูกต้นกล้า เครื่องหว่านเมล็ดพืช เครื่องพรวนกำจัดวัชพืช เครื่องพรวนระหว่างแถว การซ่อมบำรุงและความปลอดภัยในการใช้งาน

รายวิชา 6203532

เครื่องจักรกลเกษตร2

3 (2-2-5)

 

Agricultural Machinery 2

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เครื่องจักรกลเกษตร 1

        การวิเคราะห์แรง การใช้งานและการปรับตั้งเครื่องพ่นยา พ่นฝุ่นและให้ปุ๋ย เครื่องโรยปุ๋ย เครื่องตัดหญ้า เครื่องเกลี่ยหญ้า เครื่องอัดฟ่อน เครื่องมือและเครื่องเก็บเกี่ยว การซ่อมบำรุง และความปลอดภัยในการใช้งาน การคิดราคาลงทุน เครื่องจักรกลเกษตร

รายวิชา 6203541

วิศวกรรมแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Tractor Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เครื่องต้นกำลังทางการเกษตร

        ศึกษาชนิดและโครงสร้างมูลฐานของรถแทรกเตอร์ กลศาสตร์ของตัวรถแทรกเตอร์ การทรงตัว การถ่ายทอดกำลัง ระบบต่อติด ระบบไฮดรอลิกส์ การยึดเกาะและเครื่องช่วยยึดเกาะ ความปลอดภัยในการใช้รถแทรกเตอร์ การทดสอบ การซ่อมบำรุงรักษาและการออกแบบ หลักเศรษฐศาสตร์ในการใช้รถแทรกเตอร์

รายวิชา 6203581

วิศวกรรมการหล่อลื่นเบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Basic Lubrication Engineering

 

        ศึกษาแนวความคิดเบื้องต้นของแรงเสียดทาน การหล่อลื่นและการสึกหรอ โหมดของการหล่อลื่น ชนิดและการเลือกใช้สารหล่อลื่น/สารหล่อเย็น ชนิดและการออกแบบของระบบการหล่อลื่น การทดสอบสารหล่อลื่นและข้อกำหนดจำเพาะ การหล่อลื่นชิ้นส่วนเครื่องจักรกลชนิดต่างๆ การติดตามคุณสมบัติของสารหล่อลื่นเพื่อประเมินสภาพเครื่องจักร การจัดเก็บ/การขนถ่ายสารหล่อลื่น สุขลักษณะและความปลอดภัยในการทำงานกับสารหล่อลื่นสำหรับผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 6203651

วิศวกรรมโรงเรือนเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Structure Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์วัสดุ

        การวางแผนสําหรับโรงเรือนในฟารม การวิเคราะหโครงสราง ชนิดของวัสดุกอสรางออกแบบโครงสรางพื้นฐานตาง ๆ ที่ใชงานทางการเกษตร อาคารสําหรับสัตว พืชและเรือนกระจก และการระบายอากาศในโรงเรือน

รายวิชา 6203661

การแช่แข็งและการเก็บรักษาด้วยความเย็น

3 (2-2-5)

 

Freezing and Cold Storage

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การถ่ายเทความร้อน

        ศึกษาหลักการของการทําความเย็น ระบบการทําความเย็น การอัดไอ การดูดซึมการอัดเจตไอน้ำ
องคประกอบของระบบทําความเย็น เครื่องอัด ตัวระเหย เครื่องควบแนน หอคอยน้ำ การควบคุมอัตโนมัติสําหรับระบบทําความเย็น ฉนวนความรอน และตัวกั้นไอสารทําความเย็น การคํานวณภาระความเย็น การออกแบบระบบทําความเย็น หลักการเบื้องตนสําหรับการแชแข็ง การประยุกตการทําความเย็นทางอุตสาหกรรมเกษตร และการเก็บรักษาดวยความเย็น

รายวิชา 6203671

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมการเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Environment Management

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอร์โมไดนามิกส์1 หรือ กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาสัตวและสิ่งแวดลอม ความรอนและการถายเทมวลสาร ความชื้นและผลที่มีตอสัตว การถายเทความรอนและไอน้ำผานอาคาร การระบายอากาศในอาคาร ระบบการทําฟารมแบบผสมผสานของเสียจากสัตวและพืช การใชประโยชนจากของเสียของสัตวและพืชสําหรับพัฒนาชนบท

รายวิชา 6203771

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

3 (2-2-5)

 

Supply Chain Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับระบบโซ่อุปทาน เช่น การปฏิบัติการ ระบบสารสนเทศ การจัดซื้อ การขนส่งและ การตลาด รวมถึงเทคนิคที่สำคัญที่เกี่ยวกับการจัดหา การเก็บ การบริหารวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง และความสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อุปทาน และการศึกษาจากกรณีศึกษาจริง

รายวิชา 6204511

วิศวกรรมยานยนต์

3 (2-2-5)

 

Automotive Engineering

 

        ศึกษาการหากำลังจากเครื่องยนต์แรงต้านทานการเคลื่อนที่ของรถยนต์แรงฉุดลาก ความสัมพันธ์ระหว่างรอบของเครื่องยนต์และความเร็วของรถยนต์ การหาอัตราการทดของเกียร์ การกระจายน้ำหนักของรถยนต์ เสถียรภาพการทรงตัวในทางลาดของรถยนต์ การหาอัตราเร่งสูงสุดและปฏิกิริยาโต้ตอบเมื่อขับเคลื่อนล้อหน้า ขับเคลื่อนล้อหลัง และขับเคลื่อนสี่ล้อเสถียรภาพการทรงตัวของรถยนต์ขณะขับเลี้ยว ระบบขับเลี้ยว ระบบส่งถ่ายกำลัง ระบบเบรค ระบบรองรับการสั่นสะเทือนของรถยนต์

รายวิชา 6204521

การออกแบบเครื่องมือขนถ่ายวัสดุเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Product Handling Equipment Design

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การออกแบบเครื่องกล

        ศึกษาหลักการของเครื่องมือลำเลียงผลิตภัณฑ์อาหาร การออกแบบเครื่องมือลำเลียงประเภทสายพานโซ่ กระพ้อ นิวแมติก ลูกกลิ้ง รางแขวนและเขย่า เกลียวและแบบการไหลต่อเนื่อง การเลือกใช้เครื่องมือสำหรับขนถ่ายและระบบการทำงานของเครื่องมือขนถ่ายชนิดต่างๆ

รายวิชา 6204531

การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Machinery Design

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การออกแบบเครื่องกล

        การวิเคราะห์และออกแบบชิ้นส่วนและระบบของเครื่องจักรกลก่อนการเก็บเกี่ยว เครื่องจักรเก็บเกี่ยวและเครื่องจักรกลหลังการเก็บเกี่ยว โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน

รายวิชา 6204532

การออกแบบเครื่องจักรกลในการเก็บเกี่ยว

3 (2-2-5)

 

Design of Harvesting Machinery

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การออกแบบเครื่องจักรกลเกษตร

        ศึกษาลักษณะเฉพาะทางกายภาพของผลิตผลเกษตรชนิดตางๆ หลักการตัดตนพืชและชนิดของใบมีดตัด หลักการโนมตนพืชและดึงตนพืช การลําเลียงตนพืช การนวด ระบบการทําความสะอาดเมล็ดพืช เครื่องมือเก็บเกี่ยวเฉพาะอยาง

รายวิชา 6204541

วิศวกรรมเครื่องสูบ

3 (2-2-5)

 

Pump Application Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษา หลักการทํางานของเครื่องสูบชนิดตาง ๆ สาเหตุและการแกไข การตอเครื่องสูบแบบอนุกรม และแบบขนาน ปรากฎการณน้ำากระแทก สาเหตุและการแกไข การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในเครื่องสูบ อัตราการไหลปลอดภัย การใชเครื่องสูบกับของเหลวตาง ๆ การปรับแกเสนสมรรถนะของเครื่องสูบเพื่อใชกับของเหลวตาง ๆ การออกแบบทางเขาและบอรับน้ำ การติดตั้งเครื่องสูบและการแกปญหาที่เกิดขึ้น

รายวิชา 6204571

เครื่องพ่นสารเคมี

3 (2-2-5)

 

Chemical Spraying and Dusting Equipment

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : กลศาสตร์ของไหล

        ศึกษาปญหาการใชสารเคมีในการปองกันกําจัดแมลงและวัชพืชในประเทศไทย เครื่องพน และหัวพนสารเคมี การออกแบบและเลือกใชระบบ ทดสอบสมรรถนะ การใชและปรับแตงเครื่องพนสารเคมีชนิดตาง ๆ การลองลอยของสารเคมี อิทธิพลของความสั่นสะเทือนและเสียงของเครื่องพนสารเคมี การพนสารเคมีโดยใชเครื่องบิน ความปลอดภัยในการใชสารเคมี

รายวิชา 6204611

วิศวกรรมโรงสี

3 (2-2-5)

 

Rice Mill Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : วิศวกรรมการแปรรูปผลผลิตการเกษตร

        ศึกษาการออกแบบระบบสีขาว การออกแบบอุปกรณที่ใชในระบบโรงสีขาว การทําความสะอาดและการสีขาวเปลือก การแยกแกลบออกจากขาวสาร การขัดขาวและขัดมันขาวสาร การคัดขนาดขาวสาร การบรรจุถุง อุปกรณทดสอบคุณภาพขาวสาร

รายวิชา 6204651

วิศวกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Process Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : เทอรโมไดนามิกส 1

        ศึกษาความสมดุลของมวลสาร และพลังงานในกระบวนการแปรรูปผลิตผลเกษตร การควบคุมและบันทึกสภาพการแปรรูป การแปรสภาพดวยความรอนและความเย็น เครื่องมือลดขนาด เครื่องมือผสมและเครื่องมือขนถายวัสดุ

รายวิชา 6204681

การจัดการของเสียทางการเกษตร

3 (2-2-5)

 

Agricultural Waste Management

 

        ศึกษาปญหาของเสียและภาวะมลพิษ จากการผลิตทางการเกษตร การวิเคราะหของเสีย วิธีบําบัดขจัดของเสีย การบําบัดของเสียที่เปนของแข็ง ลักษณะของน้ำเสียจากการเกษตร แหลงที่มาของสิ่งมีพิษ ขีดจํากัดความเปนพิษของน้ำเสียที่ยอมรับ เทคนิคในการตรวจและวัดน้ำาเสีย วิธีกําจัดน้ำเสียขั้นแรกและขั้นที่สอง การควบคุมภาวะความเปนพิษของแหลงน้ำ

รายวิชา 6204781

การวางแผนและควบคุมการผลิต

3 (2-2-5)

 

Production Planning and Control

 

        ศึกษาถึงระบบการวางแผนผลิตในกระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง โดยเริ่มตั้งแต่การคาดคะเนความต้องการสินค้า การควบคุมพัสดุคงคลัง และการวางแผนโครงการเพื่อจะวางโปรแกรมแผนงานในการทำงานแต่ละโครงการ

รายวิชา 6204812

การปฏิบัติการทดลองวิศวกรรมยานยนต์

1 (0-3-5)

 

Automotive Engineering Laboratary

 

        ปฏิบัติการทดลองที่เกี่ยวข้องกับวิชาวิศวกรรมยานยนต์

รายวิชา 6204921

การสัมมนาทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Seminar in Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : ภาควิชาเห็นชอบ

        ให้นักศึกษาเลือกที่จะศึกษาหรือวิจัยปัญหาเฉพาะด้านทำงานค้นคว้าในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร และวิศวกรรมยานยนต์ที่ตนเองสนใจ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากทางสาขาวิชา

รายวิชา 6204951

หัวข้อพิเศษทางวิศวกรรมเครื่องกล

3 (1-3-5)

 

Special Topic in Mechanical Engineering

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : โดยความเห็นชอบของอาจารย์

        ศึกษาในวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเครื่องกลเน้นทางด้าน เทคโนโลยียานยนต์ที่ทันสมัยหรือเครื่องจักรกลเกษตร เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลการเกษตร หรือที่ใช้งานเฉพาะด้าน

 

            5. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

รายวิชา 6203891

การฝึกงานทางวิศวกรรมเครื่องกล

5 (450)

 

Training on Mechanical Engineering

 

        เป็นวิชาสำหรับนักศึกษาที่มีจำนวนหน่วยกิตสะสมไม่ต่ำกว่า 50% ของจำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหลักสูตร เน้นการฝึกงานทั่วไปทางวิศวกรรมเครื่องกลหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในฐานะของผู้ช่วยวิศวกรหรือวิศวกร ภายใต้การดูแลของวิศวกรที่มีประสบการณ์ประจำบริษัทเอก-ชนหรือหน่วยงานราชการที่ทางภาควิชาฯ รับรอง โดยมีวัตถุประสงค์การฝึกงานอย่างชัดเจน ภายหลัง เสร็จสิ้นการฝึกงานนักศึกษาต้องส่งรายงานการฝึกงานต่อภาควิชาฯ เพื่อรายงานถึงงานที่ได้รับผิดชอบในระหว่างการฝึกงาน

 

            6. รายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต

รายวิชา 6201811

การฝึกฝีมือเบื้องต้น

3 (150)

 

Basic Workshop

 

        นักศึกษาฝึกฝีมือในโรงงานของทางสถาบันฯ เพื่อเสริมทักษะทางด้านช่าง และเรียนรู้ถึงการใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอ่านแบบ ไปจนถึงการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสิ่งของตามแบบที่รับมอบหมาย โดยใช้ทักษะทางกล้ามเนื้อ สายตา และเครื่องมือกลพื้นฐานช่วยอำนวยความสะดวก การฝึกฝีมือเบื้องต้นนี้จะต้องฝึกไม่น้อยกว่า 150 ชั่วโมง นักศึกษาจะต้องส่งผลงานและรายงานจากการปฏิบัติงานตามเวลาที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด ซึ่งจะมีการวัดผลด้วยระดับ Sหรือ U ขึ้นอยู่กับคุณภาพของงาน

รายวิชา 6201812

ปฏิบัติการเครื่องจักรกลพื้นฐาน

3 (150)

 

Mechanical Workshop

 

วิชาบังคับที่ต้องเรียนก่อน : การฝึกฝีมือเบื้องต้น

        ฝึกทักษะการทำงานบนเครื่องจักรกลการผลิตพื้นฐาน เช่น เครื่องกลึง เครื่องไส เครื่องกัด เครื่องเจียระไน การฝึกทักษะการเชื่อมไฟฟ้าและเชื่อมแก๊ส การฝึกฝีมือเบื้องต้นนี้ จะต้องฝึกไม่น้อยกว่า150 ชั่วโมง นักศึกษาจะต้องส่งผลงานและรายงานจากการปฏิบัติงานตามเวลาที่อาจารย์กำหนด ซึ่งจะมีการวัดผลด้วยระดับ S หรือ U ขึ้นอยู่กับคุณภาพของงานที่ไดรับมอบหมาย รวมถึงพฤติกรรมในโรงงานของนักศึกษา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

ภาคผนวก

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล

        1.1 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดประชุมชี้แจงแนวทางและขั้นตอนการทำหลักสูตรใหม่ เดือนมิถุนายน 2548

        1.2 ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จัดประชุมทิศทางและ แนวทางการทำหลักสูตรใหม่ใน

        1.3 ประชุมคณาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล เรื่อง การจัดทำหลักสูตรใหม่ โดยเน้นความต้องการของท้องถิ่น ศักยภาพ ทำเลที่ตั้งของท้องถิ่น และยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นสำคัญ ในที่ประชุมมีมติให้ทำหลักสูตรใหม่ ในชื่อ หลักสูตร
              อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล

        1.4 แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

        1.5 แต่งตั้ง ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ในการพิจารณาหลักสูตร

        1.6 สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต ในตลาดแรงงานของท้องถิ่น

        1.7 ศึกษาหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อเป็นแนวทางในการร่างหลักสูตร

        1.8 ส่งร่างหลักสูตรใหม่ ให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ พิจารณาหลักสูตร เพื่อความถูกต้อง และปรับปรุงแก้ไข

        1.9 จัดประชุมเชิงปฏิบัติ การวิพากษ์ร่างหลักสูตรใหม่ ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่15-16 กันยายน 2548 โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ร่วมวิพากษ์ ทำให้ได้หลักสูตรใหม่ ที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ ตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน
              หลักสูตร ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

        1.10 ประชุมคณาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล เพื่อปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรใหม่ให้สอดคล้องตามแนวทางที่ได้จาการวิพากษ์หลักสูตรใหม่ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ

        1.11 จัดทำรูปเล่ม และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2548

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

        1. อาจารย์พิสิษฐ์ เพชรคง วศ.ม. วิศวกรรมเครื่องกล

        2. อาจารย์วีระชาติ จริตงาม ค.ม. เทคโนโลยีอุตสาหกรรม

        3. อาจารย์จุติพรรษ์ อนิวรรตกูล วท.ม. เทคโนโลยีอุณหภาพ

        4. อาจารย์ปิยลาภ มานะกิจ วศ.บ. วิศวกรรมเคมี

        5. อาจารย์วัชระ ชัยสงคราม วท.บ. วัสดุศาสตร์

3. ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ

        1. ศาสตราจารย์ ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ D.Eng. (Energy Technology)

        2. รองศาสตรจารย์ ดร.สัมพันธ์ ไชยเทพ Ph.D. (Resource Engineering)

        3. ดร. ปิยะนันท์ เจริญสวรรค์ วศ.ด. วิศวกรรมเครื่องกล

        4. นายวิรัช ตั้งประดิษฐ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์

 

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล

 

 

.

หลักสูตรใหม่

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก