หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป พุทธศักราช 2542

        หมวดวิชาการศึกษาทั่วไปจัดขึ้น เพื่อให้มีความเป็นวิชาที่บูรณาการให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อพัฒนาและเสริมสร้าง
คุณลักษณะ ความเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองดีให้แก่บัณฑิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงต้องมีในยุคนี้และอนาคต ในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันอย่างรุนแรงในสังคมและให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 4 กลุ่ม และมีความมุ่งหมาย ดังนี้

ความมุ่งหมายของกลุ่มวิชา
จุดประสงค์และการจัดการเรียนการสอน
ตารางสรุปโครงสร้างของหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป

ความมุ่งหมายของกลุ่มวิชา

กลุ่มที่ 1 ภาษาและการสื่อสาร
กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์
กลุ่มที่ 3 สังคมศาสตร์
กลุ่มที่ 4 คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มที่ 1 ภาษาและการสื่อสาร

มุ่งให้ผู้เรียน

        1. มีสมรรถภาพในการพูด อ่าน เขียนและฟังทั้งในชีวิตจริงและเชิงวิชาการ

        2. มีทักษะในการติดต่อ สื่อสาร และสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        3. มีความสามารถในการใช้สารสนเทศ การสืบค้น ค้นคว้า หาแหล่งข้อมูล ความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตลอดชีวิต

กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์

มุ่งให้ผู้เรียน

        1. รู้จักตนเอง ท้องถิ่น สังคมไทยและสังคมโลก

        2. รู้จักความจริงของชีวิต คุณค่าของความเป็นมนุษย์ สันติภาพและสันติสุข

        3. ซาบซึ้งในความดี และความงามในสุนทรียภาพ

        4. อนุรักษ์และพัฒนาขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมไทยและของโลก

กลุ่มที่ 3 สังคมศาสตร์

มุ่งให้ผู้เรียน

        1. ดำรงและพัฒนาชีวิตในสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ   และการเมืองการปกครองตามวิถีไทย และวิถีโลกแบบพึ่งพาตนเองและการพัฒนาที่ยั่งยืน

        2. ใช้และพัฒนาภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมและให้มีความเป็นสากลสามารถดำรง ปรับปรุงและพัฒนาสภาพแวดล้อมตามวิถีไทยและวิถีโลก

        3. สามารถเป็นผู้นำและผู้ตามในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

กลุ่มที่ 4 คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มุ่งให้ผู้เรียน

        1. ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนตน ท้องถิ่นและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

        2. มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ ใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเป็นพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ ในการดำรงชีวิตประจำวัน

        3. สามารถดำรงชีวิตและเรียนรู้ตลอดชีวิต ในสังคมยุคเทคโนโลยีและสารสนเทศ

        4. ได้ปรับปรุง พัฒนาจรรโลงสภาพและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและสังคมให้อยู่แบบยั่งยืน

จุดประสงค์และการจัดการเรียนการสอน

หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป
จุดประสงค์ทั่วไป
การจัดการเรียนการสอน

หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

        หลักสูตรหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป เป็นหลักสูตรที่มุ่งเสริมสร้างความเป็นบัณฑิต ความเป็นมนุษย์และพลเมืองดี ให้มีความสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตน ใฝ่รู้ เจริญงอกงาม ด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญา และสังคม เข้าถึงความบรรสานสอดคล้อง ของความรู้ ปัญญา ความดีงาม คุณธรรม จริยธรรม และความสุขในการดำเนินชีวิต วิชาการศึกษาทั่วไป ประกอบด้วยเนื้อหาสาระของ 4 กลุ่มวิชาได้แก่ กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ และกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยต้องจัดบูรณาการเนื้อหาสาระเข้าด้วยกัน เพื่อให้เห็นการเชื่อมโยงขององค์ความรู้ และการใช้ประโยชน์ เป็นรายวิชาที่ทุกคนต้องเรียน ทั้งในระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

จุดประสงค์ทั่วไป

        จุดประสงค์ทั่วไปของหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีดังต่อไปนี้

        1. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การเมือง การปกครองของไทย และความรู้ความเข้าใจเพื่อนร่วมโลก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

        2. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์และตามหลักธรรม การอนุรักษ์ดูแลและพัฒนาการสิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าและผลกระทบทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        3. ให้มีความทักษะการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ตลอดชีวิต การคิดอย่างมีเหตุผล รู้จักวิเคราะห์และปัญหาต่าง ๆ ได้ ตลอดจนมีทักษะด้านภาษาและการใช้สารสนเทศที่ติดต่อสื่อความหมายกับผู้อื่นและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        4. ให้มีเจตคติที่ดีและซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบ ซาบซึ้งในศิลปะและสุนทรียภาพ ตระหนักในการปฏิบัติตนตามวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย

การจัดการเรียนการสอน

        1. รายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ไม่เป็นรายวิชาพื้นฐานของหมวดวิชาเฉพาะด้าน

        2. รายวิชาการศึกษาทั่วไปเป็น 4 กลุ่มวิชา ต้องจัดให้เรียนครบทุกกลุ่มวิชาตามข้อกำหนด

        3. หน่วยกิตรวมของหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ให้จัดการเรียนการสอน ดังนี้

            3.1 ระดับอนุปริญญา กำหนดให้เรียน 18 หน่วยกิต ตามกลุ่มวิชาและหน่วยกิต ดังนี้

                3.1.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร บังคับเรียน 6 หน่วยกิต

                3.1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ บังคับเรียน 3 หน่วยกิต

                3.1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ บังคับเรียน 3 หน่วยกิต

                3.1.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บังคับเรียน 6 หน่วยกิต

            3.2 ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) กำหนดให้เรียน 18 หน่วยกิต ตามกลุ่มวิชาและหน่วยกิต ดังนี้

                3.2.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร บังคับเรียน 6 หน่วยกิต

                3.2.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ บังคับเรียน 3 หน่วยกิต

                3.2.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ บังคับเรียน 3 หน่วยกิต

                3.2.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีบังคับเรียน 6 หน่วยกิต

            3.3 ระดับปริญญาตรี กำหนดให้เรียน 33 หน่วยกิต ตามกลุ่มวิชาและหน่วยกิต ดังนี้

                3.3.1 กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร บังคับเรียน 9 หน่วยกิต

                3.3.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ บังคับเรียน 9 หน่วยกิต

                3.3.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ บังคับเรียน 6 หน่วยกิต

                3.3.4 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บังคับเรียน 9 หน่วยกิต

        4. การเรียนการสอน เน้นรูปแบบการบูรณาการวิชาในกลุ่มวิชาเดียวกัน

        5. ไม่ควรเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป ที่มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับรายวิชากลุ่มวิชาเนื้อหา

        6. การจัดรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป จัดแยกตามระดับการศึกษาคือ ระดับปริญญาตรีชุดหนึ่ง ระดับอนุปริญญาชุดหนึ่ง และระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)เป็นอีกชุดหนึ่ง

        7. จัดให้เรียนตามรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษา
ทั่วไปบังคับเรียนทุกกลุ่มวิชา

        8. การจัดรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ควรจัดเรียนในระยะต้น ๆ ของระดับการศึกษา เช่น ระดับปริญญาตรี ควรจัดให้เรียนในชั้นปีที่ 1 หรือจัดให้เสร็จสิ้นภายในปีที่ 2

ตารางสรุปโครงสร้างของหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป

กลุ่ม

อนุปริญญา

ปริญญาตรี (หลังอนุฯ)

ปริญญาตรี 4 ปี

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6
3
3
6

3
6
3/6
3/6

9
9
6
9

รวม

18

18

33

ระดับอนุปริญญา
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
ระดับปริญญาตรี

ระดับอนุปริญญา

        ทุกสาขาวิชาเรียน 18 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียนมีดังนี้

      1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ให้เรียน 6 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

1500101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น    3(3-0)
1500102 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น    3(3-0)

      2. กลุ่มมนุษยศาสตร์ ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

1500104

ความจริงของชีวิต

3(3-0)

      3. กลุ่มสังคมศาสตร์ ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

2500102

วิถีไทย

3(3-0)

        4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เรียน 6 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

4000101   

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

3(3-0)

4000103   

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต

3(2-2)

ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

        ทุกสาขาวิชาเรียน 18 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียนมีดังนี้

        1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

1500103 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน 3(3-0)

        2. กลุ่มมนุษยศาสตร์ ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

2500101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

3(3-0)

        3. กลุ่มสังคมศาสตร์ ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

2500103

วิถีโลก

3(3-0)

        และ/หรือ

25000104

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

3(3-0)

        4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิตแต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

4000102

การคิดและการตัดสินใจ

3(2-2)

และ/หรือ

4000104

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

3(2-2)

ระดับปริญญาตรี

        1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ทุกสาขาวิชาให้เรียน 9 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

1500101 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น    3(3-0)

1500102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น   

3(3-0)

1500103

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน

3(3-0)

        2. กลุ่มมนุษยศาสตร์ ทุกสาขาวิชาให้เรียน 9 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

1500104

ความจริงของชีวิต

3(3-0)

2000101

สุนทรียภาพของชีวิต

3(3-0)

2500101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

3(3-0)

        3. กลุ่มสังคมศาสตร์ ให้เรียน 3 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

2500102

วิถีไทย

3(3-0)

2500103

วิถีโลก

3(3-0)

2500104

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

3(3-0)

        4. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เรียนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิตแต่ไม่เกิน 6 หน่วยกิต รายวิชาที่กำหนดให้เรียน ดังนี้

4000101

วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

3(3-0)

4000102

การคิดและการตัดสินใจ

3(2-2)

4000104

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

3(2-2)

คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป

รหัสวิชา

วิชาและคำอธิบายรายวิชา

หน่วยกิต

1500101

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น (Thai for Communication and Informa-tion Retrieval)

ศึกษาให้เห็นความสำคัญของภาษาไทยที่เป็นเครื่องมือสื่อสารและการสืบค้นสารต่าง ๆ จากทรัพยากรสารนิเทศ การสรุป การตีความ การขยายความ และการนำเสนอผลการสืบค้น จากสารที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

 

3(3-0)

1500102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น (English for Communication and Information Retrieval)

ศึกษาและพัฒนาด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ เพื่อการติดต่อและการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การทักทาย การกล่าวลา การแนะนำตนเองและผู้อื่น การให้ข้อมูลและคำแนะนำ การสนทนา การแสดงความรู้สึก การอ่านและการเขียนเพื่อการสื่อความหมายและการติดต่อ เช่น การอ่านประกาศ โฆษณา ฉลาก ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การสืบค้นและการใช้พจนานุกรม การกรอกแบบฟอร์มและการเขียนข้อความง่าย ๆ ฯลฯ และโดยอาศัยการสืบค้น (query) ข้อมูลสนเทศ ผ่านระบบสารนิเทศรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาของตนเองจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่ายข้อมูลสนเทศ เป็นต้น

 

3(3-0)

1500103

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน (English for Communication and Study Skills)

พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการการฟัง การพูด เพื่อให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่นขนบธรรมเนียมประเพณี งานอดิเรก กีฬา ข่าว ปัญหาสังคม ฯลฯ ให้มีทักษะในการอ่านโดยใช้เทคนิคการอ่านขั้นสูงขึ้น เช่น การอ่านเพื่อหาหัวข้อเรื่อง การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญและรายละเอียด ให้สามารถเขียนข้อสรุป ความเพื่อรายงานข้อความที่อ่าน และมีทักษะในการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ตรงกับสาขาวิชาที่เรียนจากแหล่งข้อมูลสิ่งพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้โดยเน้นทักษะการอ่าน การเขียนและการสืบค้น

 

3(3-0)

2500101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน (Human Behavior and Self Development)

ศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสาเหตุปัจจัยแห่งพฤติกรรม การพัฒนาตนเอง มนุษยสัมพันธ์เพื่อการทำงานร่วมกันและการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

 

3(3-0)

2000101

สุนทรียภาพแห่งชีวิต (Aesthetic Appreciation)

ศึกษาและจำแนกข้อต่างในศาสตร์ทางความงาม ความหมายของสุนทรียศาสตร์ เชิงการคิดกับสุนทรียศาสตร์เชิงพฤติกรรมโดยสังเขป ความสำคัญของการรับรู้กับความเป็นมาของศาสตร์ทางการเห็น (The Art of Imagery) ศาสตร์ทางการได้ยิน (The Art of Sound) และศาสตร์ทางการเคลื่อนไหว (The Art of Movement) สู่ทัศนศิลป์ (Visual Arts) ศิลปะดนตรี (Musical Arts) และศิลปะการแสดง (Performing Arts) ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้เชิงคุณค่า จาก (1) ระดับการรำลึก (Recognitive) (2) ผ่านขั้นตอนความคุ้นเคย (Acquantive) และ (3) นำเข้าสู่ขั้นความซาบซึ้ง (Appreciative) เพื่อให้ได้มาซึ่งประสบการณ์ของความซาบซึ้งทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Appreciation)

 

3(3-0)

1500104

ความจริงของชีวิต (Meaning of Life)

ศึกษาความจริงของชีวิต ความหมายของชีวิต การดำรงชีวิตในสังคมและโลกยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเอาหลักความจริงและหลักศาสนธรรมไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาปัญญา ชีวิตและสังคม การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักศาสนธรรมชีวิตที่มีสันติสุข และสังคมที่มี สันติภาพ

 

3(3-0)

2500102

วิถีไทย (Thai Living)

ศึกษาลักษณะทั่วไป วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ทั้งในเมืองและชนบท วัฒนธรรมและประเพณีไทย สภาพปัญหาและแนวทางขจัดปัญหาสังคมไทย โดยศึกษาการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภูมิปัญญาชาวบ้านและท้องถิ่น การดำเนินชีวิตแบบเพียงพอตลอดถึงวิสัยทัศน์ด้านสังคมเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองที่คนไทยอยากเห็น

 

3(3-0)

2500104

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (Human being and Environment)

ความหมาย ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น การดำเนินกิจกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมและพลังงานการส่งเสริม บำรุงรักษาและคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

3(3-0)

2500103

วิถีโลก (Global Society and living)

ศึกษาวิวัฒนาการสังคม ระบบเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองของประเทศไทยและของสังคมโลก การจัดระเบียบโลกในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครองตลอดถึงการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจการเมืองและการปกครองของประเทศไทย เพื่อปรับตัวเข้ากับการจัดระเบียบของสังคมโลก

 

3(3-0)

4000102

การคิดและการตัดสินใจ (Thinking and Decision Making)

หลักการและกระบวนการคิดของมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสารตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล กระบวนการตัดสินใจ กระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กำหนดการเชิงเส้น และการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

 

3(2-2)

4000101

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต (Science for Quality of Life)

ศึกษากระบวนการและการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ีและนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่อย่างเป็นสุขและมีประสิทธิภาพ โดยตระหนักถึงผลกระทบของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อมนุษย์ สภาพแวดล้อม สังคม การเมืองและวัฒนธรรม

 

3(3-0)

4000103

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต (Imformation Technology for Life)

ศึกษาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) และคอมพิวเตอร์ที่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ไดแก่ เครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การประมวลข้อมูล การแสวงหาความรู้ และการสื่อสารข้อมูล บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และจากระบบฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น Internet Intranet, LAN, CD-ROM, E-mail, FTP, BBP, ICQ ฯลฯ สำหรับการศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน การนำเสนอผลงานและการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเคารพสิทธิทางปัญญา

 

3(2-2)

4000104

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ (Information Technology for Learning)

ศึกษาความสำคัญระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology : IT) และระบบสารนิเทศเพื่อการสืบค้นและแสวงหาความรู้ในสังคมยุคตัวเลข (digital society) และยุคแห่งปัญญา (intellectual society) ที่มีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ การศึกษารวบรวมข้อมูล การจัดเก็บสนเทศบนระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer and networking) เช่น LAN, WAN, Internet, Intranet ฯลฯ การใช้ระบบมัลติมีเดีย ระบบ Vidio On Demand ระบบ Virtual Reality ฯลฯ การสร้างสารนิเทศและสารสนเทศ การควบคุมและจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพและการเรียนรู้สังคมยุคข่าวสารข้อมูล

 

3(2-2)