ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ว่าด้วยการเก็บเงินบำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียมนักศึกษาในระดับปริญญาตรีภาคปกติ
พ.ศ.
๒๕๕๐
-------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๒) และ (๑๒) แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ ประกอบมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในคราวประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วยการเก็บเงิน
บำรุงการศึกษาและค่าธรรมเนียมนักศึกษาในระดับปริญญาตรีภาคปกติ พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ว่าด้วยการเก็บเงินค่าธรรมเนียมการศึกษานักศึกษาภาคปกติ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ บรรดา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครสวรรค์ที่ขัดหรือแย้ง กับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
มหาวิทยาลัย หมายความว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สภามหาวิทยาลัย หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
อธิการบดี หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
นักศึกษา หมายความว่า นักศึกษาภาคปกติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เงินบำรุงการศึกษาแบบเหมาจ่าย หมายความว่า เงินค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิต ค่าธรรมเนียมพิเศษ ค่าบำรุงห้องสมุด ค่าบำรุงห้องพยาบาล ค่ากิจกรรม ค่าบำรุงกีฬา ค่าจัดบริการคอมพิวเตอร์ และค่าประกันอุบัติเหตุ แต่ไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บเป็นรายครั้งในกรณีอื่น ๆ
ข้อ ๖ ให้มหาวิทยาลัยเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาแบบเหมาจ่ายเป็นรายภาคเรียน ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบนี้
ข้อ ๗ ให้มหาวิทยาลัยเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษา แก่นักศึกษาที่ไม่ถือสัญชาติไทย เพิ่มอีกภาคเรียนละหนึ่งพันห้าร้อยบาท
ข้อ ๘ ให้มหาวิทยาลัยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายครั้ง ดังนี้
(๑) ค่ารักษาสภาพการเป็นนักศึกษา ภาคเรียนละห้าร้อยบาท
(๒) ค่าขอคืนสภาพการเป็นนักศึกษาครั้งละหนึ่งพันบาท ทั้งนี้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการรักษาสภาพการเป็นนักศึกษาอีกภาคเรียนละหนึ่งพันบาท ให้ครบทุกภาคเรียนที่หยุดการศึกษา
(๓) ค่าปรับการชำระเงินบำรุงการศึกษาหลังกำหนด วันละยี่สิบบาท
(๔) ค่าโอนผลการเรียน คนละสองร้อยบาท
(๕) ค่ายกเว้นการเรียนรายวิชาจากการศึกษาในระบบ หน่วยกิตละห้าสิบบาท
(๖) ค่ายกเว้นการเรียนรายวิชาจากการศึกษานอกระบบ และ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัยรายวิชาละ สองร้อยห้าสิบบาท
(๗) ค่าออกเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ ใบแทนเอกสารที่มหาวิทยาลัยเคยออกให้แล้ว หนังสือรับรองต่าง ๆ การออกเอกสารฉบับภาษาอังกฤษ ใบรายงานผลการศึกษา ฉบับละหนึ่งร้อยบาท
(๘) ค่าออกหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา ฉบับละยี่สิบบาท
(๙) ค่าขอรับประกาศนียบัตร อนุปริญญาบัตร ปริญญาบัตรที่เกินกว่าหกเดือนนับตั้งแต่วันที่มหาวิทยาลัยประกาศกำหนดให้รับ ฉบับละห้าร้อยบาท
(๑๐) ค่าบำรุงหอพัก ให้มหาวิทยาลัยจัดทำเป็นประกาศมหาวิทยาลัยโดยความเห็นชอบ
จากสภามหาวิทยาลัย
(๑๑) ค่าสมัครคัดเลือกเข้าเรียนสำหรับหนึ่งโปรแกรมวิชาสองร้อยบาท สำหรับผู้สมัครคัดเลือกเกินหนึ่งโปรแกรมวิชาสามร้อยบาท
(๑๒) ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเมื่อแรกเข้า
(ก) ค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ ห้าร้อยบาท
(ข) ค่าบัตรประจำตัวนักศึกษา หนึ่งร้อยบาท
(ค) ค่าเอกสารคู่มือนักศึกษา สองร้อยบาท
(ง) ค่าประกันของเสียหาย ห้าร้อยบาท
เงินค่าประกันของเสียหายให้แยกบัญชีไว้ต่างหาก เป็นเงินฝากถอนคืนให้แก่นักศึกษาที่มิได้ทำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเสียหาย จะคืนให้เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาและมายื่นคำร้องขอคืนภายในหกเดือนนับตั้งแต่วันสำเร็จการศึกษา หรือวันสิ้นสภาพการเป็นนักศึกษา หากไม่มายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนดดังกล่าว ให้มหาวิทยาลัยโอนเงินค่าประกันของเสียหายส่งเข้าเป็นรายได้ของมหาวิทยาลัย
กรณีที่นักศึกษาทำทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเสียหาย เมื่อหักเงินจากค่าประกันของเสียหายไปเท่าใด นักศึกษาต้องชำระเงินเพิ่มให้ครบห้าร้อยบาท ภายในหกสิบวันนับจากวันที่มหาวิทยาลัยหักเงินจากค่าประกันของเสียหาย
ในกรณีที่ทำให้ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเสียหายเกินห้าร้อยบาท นักศึกษาต้องชำระค่าเสียหายให้ครบถ้วนตามความเสียหายจริง และต้องชำระเงินประกันค่าเสียหายให้ครบห้าร้อยบาทอีกด้วย
ข้อ ๙ ให้มหาวิทยาลัยเรียกเก็บเงินบำรุงการศึกษาแบบเหมาจ่าย ในวันที่มหาวิทยาลัยกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเปิดภาคเรียน ในกรณีที่มีความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ อธิการบดีอาจเลื่อนกำหนดการเก็บเงินตามวรรคหนึ่งได้ตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๐ อธิการบดีอาจใช้ดุลยพินิจผ่อนผันการชำระเงินบำรุงการศึกษา ช้ากว่าที่
มหาวิทยาลัยกำหนดได้ตามเหตุอันควร
ข้อ ๑๑ นักศึกษาผู้ใดที่ไม่ชำระเงินเพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา ก่อนวันเริ่มสอบปลายภาค ให้นักศึกษาผู้นั้นพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
ข้อ ๑๒ ให้อธิการบดีเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดใน
กรณีที่เกิดปัญหาจากการใช้ระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ลงชื่อ พลเอก ศิริ ทิวะพันธุ์
(ศิริ ทิวะพันธุ์)
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
บัญชีแนบท้ายระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ว่าด้วยการเก็บเงินบำรุงการศึกษานักศึกษาภาคปกติ พ.ศ.๒๕๕๐ (ปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๒)
หลักสูตร / สาขา |
ค่าธรรมเนียม (บาท) /ภาคเรียน |
||||
จำนวนหน่วยกิต |
|||||
๑-๕ |
๖-๑๐ |
๑๑-๑๕ |
๑๖-๒๐ |
มากกว่า ๒๐ |
|
๑. ครุศาสตรบัณฑิต |
|
|
|
|
|
๑.๑ หลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๑.๒ หลักสูตรด้านศิลปศาสตร์ |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๒. วิทยาศาสตรบัณฑิต |
|
|
|
|
|
๒.๑ วิทยาศาสตรบัณฑิต |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๒.๒ หลักสูตรนานาชาติ |
๙,๕๐๐ |
๑๓,๐๐๐ |
๑๖,๕๐๐ |
๒๐,๐๐๐ |
๒๓,๕๐๐ |
๓. ศิลปศาสตรบัณฑิต |
|
|
|
|
|
๓.๑ ศิลปศาสตรบัณฑิต |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๓.๒ หลักสูตรนานาชาติ |
๙,๒๕๐ |
๑๓,๒๐๐ |
๑๖,๕๐๐ |
๑๙,๘๐๐ |
๒๓,๐๐๐ |
๔. บริหารธุรกิจบัณฑิต |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๕. นิติศาสตรบัณฑิต |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๖. บัญชีบัณฑิต |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๗. รัฐศาสตรบัณฑิต |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๘. ศิลปบัณฑิต |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๙. นิเทศศาสตรบัณฑิต |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๑๐. เศรษฐศาสตรบัณฑิต |
๒,๘๐๐ |
๓,๘๐๐ |
๔,๘๐๐ |
๕,๘๐๐ |
๖,๘๐๐ |
๑๑. อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต |
๓,๐๐๐ |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๑๒. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต |
๔,๐๐๐ |
๕,๐๐๐ |
๖,๐๐๐ |
๗,๐๐๐ |
๘,๐๐๐ |