3. คำอธิบายหมวดวิชาเฉพาะ

        3.1 วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย
        3.2 วิชาเอกพลศึกษา
        3.3 วิชาเอกภาษาไทย
        3.4 วิชาเอกภาษาอังกฤษ
        3.5 วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา
        3.6 วิชาเอกสังคมศึกษา
        3.7 วิชาเอกคณิตศาสตร์
        3.8 วิชาเอกวิทยาศาสตร์

        3.1 วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย

                วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย (บังคับ)

รายวิชา 1171101 จิตวิทยาพัฒนาการเด็กปฐมวัย

3(3-0-6)

  Child Development for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนักจิตวิทยาพัฒนาการ ธรรมชาติ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กปฐมวัย ความสัมพันธ์ของรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้

รายวิชา 1171301 ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Arts for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ และจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย หลักการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางศิลปะสร้างสรรค์ ทั้งกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์ด้านต่าง ๆ การวิเคราะห์ และประเมินผลงานศิลปะของเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติและทดลองสอนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1171403 b>สื่อสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Creative Materials for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ประเภทของสื่อสร้างสรรค์ การเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยประโยชน์ของสื่อในการพัฒนาเด็กปฐมวัย การเลือกซื้อ การออกแบบ การผลิตสื่อสร้างสรรค์จากวัสดุในท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ การจัดสื่อวัสดุอุปกรณ์ของเล่น การจัดศูนย์สื่อในโรงเรียนและ การให้บริการ การประเมินผลและการตรวจสอบคุณภาพของสื่อ

รายวิชา 1171501 บุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์สำหรับครูปฐมวัย

3(2-2-5)

  Early Childhood Teacher’s Personality and Relationship  

        ศึกษา ความหมาย แนวคิดลักษณะความสำคัญของบุคลิกภาพของครูปฐมวัย การสร้างบุคลิกภาพภายใน ได้แก่ การฝึกบริหารจิต การสร้างบุคลิกภาพภายนอก มนุษยสัมพันธ์การทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ทักษะชีวิตสำหรับครูปฐมวัยการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ

รายวิชา 1172101 การศึกษาปฐมวัย

3(3-0-6)

   Introduction to Early Childhood Education  

        ศึกษา ความหมาย จุดมุ่งหมายและนโยบายของการศึกษาปฐมวัย แนวคิดและทฤษฎีของนักการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย ประวัติความเป็นมาของการศึกษาปฐมวัยของต่างประเทศและในประเทศ รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย หน่วยงานที่จัด ลักษณะ การดำเนินงานและความเคลื่อนไหวทางการศึกษาปฐมวัย

รายวิชา 1172103 สวัสดิการและการสงเคราะห์เด็ก

2(1-2-3)

  Welfare and Services for Children  

        ศึกษา วิเคราะห์ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของสวัสดิการเด็ก หลักและวิธีสวัสดิการเด็ก กฎหมายคุ้มครองเด็ก สวัสดิการเด็กของประเทศไทย สถาบันและองค์การของรัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการเด็ก นโยบายของรัฐบาลในด้านสวัสดิการเด็ก

รายวิชา 1172202 การจัดโปรแกรมเพื่อพัฒนาเด็กบริบาล

3(2-2-5)

  Infant and Toddler Education Programs  

        ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิดและหลักการของการจัดโปรแกรมเพื่อพัฒนาเด็กบริบาล ทฤษฎีพัฒนาการเด็กวัย 0 – 3 ปี ทิศทางและวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การประเมินผลการพัฒนาเด็กบริบาล การสร้างและการจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้สำหรับเด็กบริบาล การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็ก บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง การบริหารจัดการสถานบริบาลหรือศูนย์พัฒนาเด็ก

รายวิชา 1172306 ศิลปะสำหรับครูปฐมวัย

2(1-2-3)

  Arts for Pre-school Teachers  

        ศึกษา ความรู้พื้นฐานทางศิลปะ การฝึกทักษะการเขียนภาพลายเส้น ภาพการ์ตูน การนำความรู้ด้านศิลปะไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำสื่อ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ หลักการจัดนิทรรศการ

รายวิชา 1172309 กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Movement Activities for Early Childhood  

        ศึกษา ค้นคว้า แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานทางดนตรีกับกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการผลิตสื่อและเครื่องประกอบจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย กระบวนการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและประเมินผลพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะของเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1173202 หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

3(2-2-5)

  Early Childhood Education Curriculum and Development Curriculum  

        ศึกษา วิเคราะห์ ความหมายและความสำคัญของหลักสูตร ประเภทของหลักสูตร วิวัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้หลักสูตรในด้านปรัชญา วิสัยทัศน์ หลักการ คุณลักษณะที่ต้องการเน้น การจัดการเรียนรู้ องค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น และการประเมินผลหลักสูตร

รายวิชา 1172601 การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Developmental Assessment of Early Childhood  

        ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย และความสำคัญของการวัดและประเมินผล ความหมายและความสำคัญของพัฒนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการประเมินผล และจุดมุ่งหมายของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิค วิธีการประเมินผลในระดับปฐมวัย การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลพัฒนาการ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างและใช้เครื่องมือเพื่อการประเมินพัฒนาการ การเสนอผลการประเมินผลและการร่วมมือกับผู้ปกครองในการประเมินผล

รายวิชา 1173204 ภาษาอังกฤษสำหรับครูปฐมวัย

3(3-0-6)

  English for Early Childhood Teacher  

        การเตรียมความพร้อมของครู ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาลักษณะและฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษ การลงเสียงเน้นหนักในคำและระดับเสียงสูงต่ำในประโยคอย่างถูกต้อง การอ่านสัทอักษร การวิเคราะห์และฝึกออกเสียงที่เป็นปัญหา ฝึกรูปแบบและวัฒนธรรม การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเบื้องต้น ตลอดจนโครงสร้างไวยากรณ์พื้นฐานในภาษาอังกฤษ การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 1173301 กระบวนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Learning and Experience Process for Early Childhood  

        ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาการและจิตวิทยาการเรียนรู้ การวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน ปฏิบัติการจัดประสบการณ์ตามสาระการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้

รายวิชา 1173304 ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Creative Thinking for Early Childhood  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่าย ทฤษฎี ประเภท ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคและทักษะสำหรับครูในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บทบาทของพ่อแม่และครอบครัวกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและการประเมินความคิดสร้างสรรค์

รายวิชา 1173602 การศึกษาพฤติกรรมเด็ก

3(2-2-5)

  Child Behavioral Study  

        ศึกษา วิเคราะห์ทฤษฎี หลักการและแนวคิดที่เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลักการศึกษาพฤติกรรม รูปแบบและแนวทางในการศึกษาพฤติกรรม และการฝึกปฏิบัติสังเกตพฤติกรรมเด็กในสถานการณ์จริง การเขียนบันทึก การแปลความหมายพฤติกรรม การรายงานผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและการนำไปใช้ปรับพฤติกรรมเด็ก

รายวิชา 1173608 ดนตรีและเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Musical for Early Childhood  

        ศึกษา ทักษะพื้นฐานในองค์ประกอบดนตรี ได้แก่การร้อง การฟัง การเล่น เครื่องดนตรี การเคลื่อนไหว ความนึกคิดของเพลงที่มีต่อเด็กปฐมวัย ดนตรีและเพลงสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย การเลือกใช้ดนตรีเพลง สื่อสำหรับเด็กปฐมวัย การประยุกต์ใช้ดนตรีและเพลงในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1173701 การจัดและบริหารสถานศึกษาเด็กปฐมวัย

3(3-0-6)

  Organization and Educational Management in Early Childhood Level  

         ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย และความมุ่งหมายของการบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ประเภทของสถานบริการเด็กปฐมวัย บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร หลักเบื้องต้นของการบริหารสถานพัฒนาเด็ก บุคลิกภาพของผู้บริหาร การเปิดดำเนินงานสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล การนิเทศและติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากร การทำงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน การจัดโครงสร้างขององค์การ และการจัดระบบงานเพื่อการประกันคุณภาพ

รายวิชา 1174501 การให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

3(2-2-5)

  Education for Early Childhood Parent  

        ศึกษา ความหมายและความสำคัญของครอบครัวต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย บทบาทหน้าที่ของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ความจำเป็นที่จะต้องให้การศึกษาแก่ผู้ปกครอง รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ฝึกปฏิบัติการจัดการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1174902 การวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย

3(2-2-5)

  Research in Early Childhood Education  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยการศึกษาปฐมวัย ประเภทของการวิจัย ทักษะกระบวนการทางการวิจัยในการแสวงหาความรู้ จรรยาบรรณ และคุณธรรมในการวิจัย การวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

รายวิชา 1174903 การสัมมนาการศึกษาปฐมวัย

3(2-2-5)

  Seminar in Early Childhood Education  

        ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนาการศึกษาปฐมวัย ปัญหาและแนวโน้มด้านการศึกษาปฐมวัย รูปแบบการสัมมนา กระบวนการจัดการสัมมนา ปฏิบัติการจัดสัมมนาการศึกษาปฐมวัย

                วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย (เลือก)

รายวิชา 1171405 หุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Puppets for Early Childhood  

        ศึกษา ความสำคัญของหุ่น ประวัติความเป็นมา และประเภทของหุ่น การสร้างหุ่นชนิดต่าง ๆ การเขียนบทเชิดหุ่น หลักการเชิดและการพากย์หุ่น ฝึกปฏิบัติการเชิดหุ่น การสร้างโรงหุ่น การแสดงละครหุ่น

รายวิชา 1172102 สุขภาพอนามัยสำหรับมารดาและเด็ก

2(2-0-4)

  Health and Hygiene for Mother and Child  

        ศึกษา ความสำคัญของสุขภาพเด็กปฐมวัย สุขภาพอนามัยมารดาและเด็กภาวะสุขภาพและความผิดปกติทางสุขภาพในวัย 0 – 6 ปี การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของมารดาและเด็กปฐมวัย หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เวชภัณฑ์ในบ้านและการให้บริการด้านสุขภาพต่อมารดาและเด็ก

รายวิชา 1172201 สิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Environmental Studies for Early Childhood  

        ศึกษา หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา ประเภทสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับชีวิตประจำวัน การพัฒนาจริยธรรม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทของครู ผู้ปกครองในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดประสบการณ์ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การฝึกทักษะการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การวัดและการประเมินผลการจัดประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 1172203 สุขภาพจิตเด็ก

2(2-0-4)

  Child Mental Health  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของสุขภาพจิต ทฤษฎีบุคลิกภาพ พัฒนาการบุคลิกภาพของวัยเด็ก อิทธิพลการเลี้ยงดูที่มีผลต่อสุขภาพจิตเด็ก ปัญหาสุขภาพจิตในระหว่างตั้งครรภ์ปัญหาสุขภาพจิตของเด็กในช่วงวัยต่าง ๆ ปฏิกิริยาการปรับตัวในวัยเด็ก พฤติกรรมแปรปรวนในวัยเด็ก การส่งเสริมสุขภาพจิตและการพัฒนาเด็ก

รายวิชา 1172302 เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

2(1-2-3)

  Early Childhood and Basic Skill in Mathematics  

        ศึกษา ความหมาย ความมุ่งหมาย หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ขอบข่าย ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กระบวนการจัดกิจกรรมและสื่อเพื่อส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1172303 เด็กปฐมวัยกับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2(1-2-3)

  Early Childhood and Science Process Skills  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ขอบข่าย เนื้อหา ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมและสื่อวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย การวัดและประเมินผลทางทักษะวิทยาศาสตร์

รายวิชา 1172304 เด็กปฐมวัยกับทักษะทางอารมณ์ สังคม

2(1-2-3)

  Emotional and Social Skills for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพของเด็ก การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและคุณธรรมที่สอดคล้องกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน บทบาทของครูและผู้ปกครองใน การส่งเสริมทักษะทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย การประเมินพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1172308 กิจกรรมพลศึกษาและนันทนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

 

  Physical Education Activities and Recreation for Early Childhood

        ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับพลศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาการและความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัย การเคลื่อนไหวพื้นฐานเกมและการเล่น การสร้างเกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดพื้นฐานที่สนามเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย การวัดและประเมินพัฒนาการทางร่างกาย

รายวิชา 1172310 เกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Games and Playing for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเกมและการเล่นของเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางการเล่นของเด็ก ประเภทของเกมและการเล่น เทคนิคการจัดกิจกรรมเกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย บทบาทของครูและผู้ปกครองในการจัดกิจกรรมเกมและการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ความปลอดภัยในการเล่น การประเมินพัฒนาการทางการเล่น การผลิตและการพัฒนาเกมและการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1172401 หนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Literature for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย คุณค่าและประเภทของหนังสือเด็ก ลักษณะของหนังสือที่ดี ระดับความพร้อมและความต้องการในการใช้หนังสือของเด็กแต่ละวัย การเลือกหนังสือให้เหมาะกับวัยหลักการสร้างและเขียนหนังสือสำหรับเด็กปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึกแต่งสร้างและวิจารณ์หนังสือเด็ก การส่งเสริมการใช้และการรักษาหนังสือ

รายวิชา 1172406 โรคเด็กและการป้องกัน

2(2-0-4)

  Pediatric Disease and Prevention  

        ศึกษา เรียนรู้และศึกษาโรค และภูมิแพ้ที่มักเกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัย รู้สาเหตุ วิธีป้องกันและการรักษา การให้ภูมิคุ้มกันโรค รวมทั้งการปฐมพยาบาล เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคและภูมิแพ้ต่าง ๆ

รายวิชา 1173201 กิจกรรมนาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Dramatics Activities for Early Childhood  

        ศึกษาการจัดนาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย เทคนิคในการจัดและเลือกชุดแสดงให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ หลักการแต่งหน้า ทำผม และการเลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับการแสดง การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมนาฏศิลป์ให้เหมาะสมวัยและสมัยนิยม ฝึกปฏิบัติกิจกรรมนาฏศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1173203 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

2(2-0-4)

  Early Childhood Curriculum  

        ศึกษาความหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย ประเภทของหลักสูตรและกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยของประเทศไทยในปัจจุบัน และการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรปฐมวัยของไทยและต่างประเทศ

รายวิชา 1173302 การพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Language for Early Childhood  

        ศึกษาความหมายและความมุ่งหมายของการสอนภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางภาษาของเด็ก 0 – 6 ปี การจัดกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะเกี่ยวกับการฟัง การพูด การเตรียมความพร้อมด้าน การอ่านและการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย การผลิตสื่อและของเล่นเพื่อส่งเสริมทักษะด้านภาษา การประเมินผลพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1173305 ทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Thinking Skills for Early Childhood  

        ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดของเด็กปฐมวัย พัฒนาการและการทำงานของสมองในช่วงอายุ 0 – 6 ปี ทักษะการคิดขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย การจัดประสบการณ์ส่งเสริมทักษะการคิด การวัดและประเมินความสามารถในการคิดของเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1173327 สวัสดิศึกษาเด็กสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Safety Education for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญ ของสวัสดิศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาสาเหตุลักษณะของอุบัติภัยและการป้องกันตามพัฒนาการเด็กปฐมวัยบทบาทหน้าที่ของครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการสร้างความปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัยและการป้องกันสารพิษจากอาหาร ของเล่นและสิ่งเสพติดให้โทษ

รายวิชา 1173401 การประดิษฐ์ตุ๊กตาสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

  Production of Dolls for Early Childhood  

        ศึกษา ความหมาย ความสำคัญของตุ๊กตาต่อเด็กปฐมวัย ความเป็นมา ของเล่น ประเภทตุ๊กตาประเภทตุ๊กตา สำหรับเด็ก ตุ๊กตาสำหรับเด็กวัยต่าง ๆ หลักการคัดเลือกวัสดุ การสร้างแบบตัดเย็บและประดิษฐ์ตุ๊กตา ปฏิบัติการประดิษฐ์ตุ๊กตาสำหรับเด็กปฐมวัย 1 – 2 ประเภท

รายวิชา 1173501 การแนะแนวผู้ปกครองเด็กปฐมวัย

2(2-0-4)

  Education for Parents of Pre-school Children  

        ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของพ่อแม่ ผู้ปกครองต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ความจำเป็นที่จะต้องให้การศึกษาแก่พ่อแม่ หลักการและแนวคิดในการจัดการศึกษาแก่พ่อแม่และการให้ความร่วมมือกับองค์กรในชุมชน เพื่อประสานงานการให้ความรู้ด้านพัฒนาเด็กแก่พ่อแม่

รายวิชา 1173625 การเล่นเครื่องดนตรีสำหรับครูปฐมวัย

3(2-2-5)

  Musical Instrument Practicum for Preschool Teacher  

        ศึกษา ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีประเภทประกอบจังหวะชนิดต่าง ๆ ศึกษาและฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรี 1 ชนิด โดยเฉพาะกีตาร์ หรือ เปียโน และพัฒนาทักษะปฏิบัติในระดับสูงขึ้น

รายวิชา 1174101 โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย

2(1-2-3)

   Nutrition for Pre-school Children  

        ศึกษา ความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลักการจัดและประกอบอาหารสำหรับเด็ก การจัดโปรแกรมอาหารและการจัดบริการอาหารในสถานศึกษาระดับปฐมวัย การส่งเสริมสุขนิสัยในการรับประทานอาหารสำหรับเด็ก

รายวิชา 1174401 คอมพิวเตอร์สำหรับครูปฐมวัย

3(2-2-5)

  Computer for Pre-school Teachers  

        ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัยการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การเลือกและการจัดโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการฝึกประสบการณ์การเรียนรู้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย การประเมินผลการใช้คอมพิวเตอร์ของเด็กปฐมวัย ครูและผู้ปกครองกับการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คอมพิวเตอร์สำหรับเด็กปฐมวัย

รายวิชา 1174402 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย

3(2-2-5)

  Innovation for Early Childhood  

                ศึกษา วิเคราะห์ ความหมาย ความสำคัญ ประเภทและประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย การเลือกใช้นวัตกรรมประเภทต่าง ๆ บทบาทของครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

        3.2 วิชาเอกพลศึกษา

                วิชาเอกพลศึกษา (บังคับ)

รายวิชา 1091101 ประวัติ ปรัชญา และหลักการพลศึกษา

2(2-0-4)

  History and Principles of Physical Education  

        ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการ ปรัชญาแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อการพลศึกษา วิวัฒนาและความเป็นมาของพลศึกษาในประเทศไทย นโยบายและแผนการศึกษาของชาติ ปัญหาและการแก้ไข การพัฒนาพลศึกษา แนวโน้มของการพลศึกษาแผนการพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฯลฯ

รายวิชา 1091201 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา

 3(2-2-5)

  Anatomy and Physiology  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของวิชากายวิภาคและสรีรวิทยา ความรู้เบื้องต้น และคำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา ศึกษาเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ โครงสร้าง รูปร่าง ตำแหน่งที่ตั้งส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์เนื้อเยื่อ อวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเป็นรากฐานความรู้ในการศึกษาวิชาอื่น ๆ เช่น วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว ชีวกลศาสตร์ สรีรวิทยาการออกกำลังกาย รวมทั้งนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้สัมพันธ์กับการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา

รายวิชา1091301 จิตวิทยาการกีฬา

2(2-0-4)

  Psychology of Sport  

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของจิตวิทยาการกีฬา องค์ประกอบและเนื้อหาของจิตวิทยาการกีฬา การศึกษาเทคนิคและกุสโลบาย ทางจิตวิทยาการกีฬากระบวนการข่าวสาร การแก้ไขความผิดพลาดด้วยผลย้อนกลับ การควบคุม ความวิตกกังวล ความตั้งใจ สมาธิ และแรงจูงใจ บุคลิกภาพกับนักกีฬา การฝึกปฏิบัติทักษะทางจิต การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความก้าวร้าวความรุนแรง อิทธิพลของผู้ชมที่มีต่อนักกีฬา จิตวิทยาการเป็นโค้ช การวางแผนการฝึกนักกีฬา และจิตวิทยาทางฝึกนักกีฬา

รายวิชา 1091406 กิจกรรมเข้าจังหวะ

2(1-2-3)

  Rhythmic Activities  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย หลักการเบื้องต้น กิจกรรมสร้างสรรค์ทางกิจกรรมเข้าจังหวะ เพื่อการพลศึกษา เทคนิคการเต้นรำขั้นพื้นฐานทั้งของไทยและสากล วิธีการสอน อุปกรณ์ที่ใช้ใน การสอนกิจกรรมเข้าจังหวะตามลำดับขั้น

รายวิชา 1091501 กรีฑา

2(1-2-3)

  Track and Field  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย กรีฑาประเภทลู่และลาน ประเภทลู่ ได้แก่ การวิ่งระยะสั้น ระยะยาว ระยะไกล วิ่งข้ามรั้วและวิ่งผลัดประเภทลาน ได้แก่ การทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร พุ่งแหลน กระโดดไกล กระโดดสูง กระโดดค้ำ เขย่งก้าวกระโดด ศึกษาเทคนิคในการฝึกซ้อม ตลอดจนการแก้ไขท่าทางต่างๆ ของการเล่นกรีฑาที่ไม่ถูกต้อง และให้มีความชำนาญเฉพาะอย่างเพิ่มขึ้น รวมทั้งการแข่งขันกรีฑาแต่ละประเภท กฏ กติกาการแข่งขัน ประเภทลู่และประเภทลาน การเป็นผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ เทคนิคกรีฑา การเตรียมนักกีฬาเพื่อการแข่งขัน การจัดการแข่งขันและการจัดการสำหรับนักกรีฑา

รายวิชา 1091505 ว่ายน้ำ

2(1-2-3)

  Swimming  

        ศึกษาและค้นคว้า เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาว่ายน้ำ มารยาทและข้อควรปฏิบัติในการใช้สระว่ายน้ำ ขนาดของสระว่ายน้ำ อุปกรณ์ และการบำรุงรักษา การฝึกทักษะการว่ายน้ำ การหายใจ การว่ายน้ำประเภทต่างๆ กติกาการแข่งขัน การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาว่ายน้ำ การวางแผน การแข่งขันและการจัดโปรแกรมการฝึก

รายวิชา 1091601 ฟุตบอล

 2(1-2-3)

   Football  

        ศึกษาและค้นคว้า เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาฟุตบอล การอบอุ่นร่างกาย การฝึกทักษะต่าง ๆ เทคนิคการเล่นทีม วิเคราะห์วิธีการเล่น การใช้หลักจิตวิทยาการแข่งขัน การเตรียมทีม วิธีเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิต กฎกติกามารยาท การมีน้ำใจนักกีฬา หลักการจัดการแข่งขัน การเป็นผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้นและเจ้าหน้าที่ ตลอดจนหลักการสอนและการวัดผลประเมินผลกีฬาฟุตบอล

รายวิชา1091602 บาสเกตบอล

2(1-2-3)

  Basketball  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของกีฬาบาสเกตบอล การฝึกทักษะเบื้องต้น การรับการส่ง การเลี้ยงลูก การยิงประตู การเล่นเป็นทีม กติกาการแข่งขัน หลักและเทคนิคการสอนกีฬาบาสเกตบอล การสร้างเสริมสมรรถภาพทักษะและความสามารถเฉพาะตัว การสร้างเสริมทักษะการใช้ลูกบาสเกตบอลประกอบการฝึกปฏิบัติ กลยุทธวิธีการฝึกปฏิบัติ เทคนิคและทักษะการเล่นเป็นทีมทั้งที่เน้นฝ่ายรุกและฝ่ายรับ การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับกีฬาบาสเกตบอล โภชนาการการกีฬาสำหรับ นักกีฬาบาสเกตบอล จิตวิทยาการกีฬาการเป็นโค้ช เทคนิคการเป็นเจ้าหน้าที่และผู้ตัดสินกีฬาบาสเกตบอล

รายวิชา 1091603 วอลเล่ย์บอล

2(1-2-3)

  Volleyball  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเล่ย์บอล อุ่นร่างกาย การฝึกทักษะต่างๆ เทคนิคการเล่นที วิเคราะห์วิธีการเล่น การใช้หลักวิทยาการแข่งขัน การเป็นผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ตลอดจนการสอนและการวัดผลประเมินผลกีฬาวอลเล่ย์บอล

รายวิชา 1091609 ตะกร้อ

2(1-2-3)

  Takraw  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ความเป็นมา เทคนิคของการเล่นตะกร้อแต่ละประเภท กติกาแข่งขันและวิธีการตัดสินตะกร้อประเภทต่างๆ ศึกษา การเล่นเป็นทีมและการแข่งขันเซปักตะกร้อ วิธีการสอนและการจัดการแข่งขัน ฯลฯ

รายวิชา 1091701 กระบี่กระบอง

2(1-2-3)

  Swords and Poles Fighting  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ประวัติความเป็นมาของกีฬา กระบี่ กระบอง การฝึกทักษะท่าไม้รำต่าง ๆ การฝึกทักษะไม้ตี ประโยชน์ของกระบี่กระบอง การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย กฎกติกามารยาท การมีน้ำใจนักกีฬา หลักการสอน และการวัดผลประเมินผล กีฬากระบี่กระบอง

รายวิชา 1092101 การบริหาร การจัดการพลศึกษาและกีฬา

 3(2-2-5)

  Administration and Management of Physical Education and Sports  

        ศึกษา ปรัชญา ขอบข่ายและความมุ่งหมายของพลศึกษาในโรงเรียนความสัมพันธ์ของวิชาพลศึกษากับวิชาอื่น ๆ และการศึกษาทั่วไป พลศึกษากับหลักการประชาธิปไตย พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยกับความต้องการทางพลศึกษา สภาพทั่วไปของพลศึกษาในเมืองและในชนบาทของประเทศไทย การวางโครงการของพลศึกษาในโรงเรียน การผลิต การคัดแปลง ปรับปรุง อุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวกทางพลศึกษา การจัดโปรแกรมกีฬาปัญหาการบริหารพลศึกษาในระดับการศึกษาต่าง ๆ

รายวิชา 1092201 สรีรวิทยาการออกกำลังกาย

 3(2-2-5)

  Physiology of Exercise  

        ศึกษาหน้าที่การทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา การใช้ออกซิเจนกับเชื้อเพลิงจากอาหารสรีรกายวิภาคต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ การทดสอบสมรรถภาพทางกาย การศึกษาถึงวิธีการทดลอง ขั้นตอนและวิธีการทดลอง เพื่อศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นโดยการศึกษาค้นคว้า และทดลองในห้องปฏิบัติการและจากการใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพชนิดต่าง ๆ ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลประทบต่อความสมบูรณ์ และสมรรถภาพทางกายทั้งปัจจัยภายในและภายนอก

รายวิชา 1092202 การทดสอบและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย

3(2-2-5)

  Physical Fitness Testing  

        ศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพทางกายการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทั่วไป การใช้เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกาย แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทางทดสอบสมรรถภาพทางกาย การทดสอบและประเมินผลสมรรถภาพทางกาย การทดสอบความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทดสอบความทนทานของระบบไหลเวียนและระบบหายใจ การทดสอบสมรรถภาพทางกลไก การทดสอบสมรรถภาพทางกลไกทั่วไป โปรแกรมการฝึกยกน้ำหนักเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางด้านร่างกาย และการยึดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล

รายวิชา 1092301 กีฬาเวชศาสตร์

 2(1-2-3)

  Sports Medicines  

        ศึกษา วิเคราะห์ อภิปรายชนิดของอันตราย สาเหตุของการบาดเจ็บทางการกีฬา การป้องกัน การช่วยเหลือเบื้องต้น แนวทางการรักษาพยาบาลการบาดเจ็บ กายภาพบำบัดการพื้นฟูสภาพนักกีฬา หลังการบาดเจ็บ

รายวิชา 1093103 การวัดผลและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษา

3(2-2-5)

  Measurement and Evaluation in Physical Education  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ความหมายการทดสอบการวัดผลและประเมินผลทางพลศึกษา หลักการทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา ความมุ่งหมายและประโยชน์ของการวัดผลและการประเมินผล แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ การเลือกแบบทดสอบ การสร้างแบบทดสอบทางพลศึกษา การดำเนินการทดสอบ การแปลความหมายจากผลการทดสอบ การวิเคราะห์ผล การทดสอบโดยใช้หลักสถิติเบื้องต้น การศึกษาถึงกระบวนการวิจัยทางพลศึกษา

รายวิชา 1093206 ชีวกลศาสตร์การกีฬา

 3(2-2-5)

  Biomechanics in Sports  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายของชีวกลศาสตร์ การใช้หลักกลศาสตร์ กายวิภาคศาสตร์ การเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหว และสรีรวิทยาของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อมาประยุกต์กับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ ตลอดจนการวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวทางการกีฬา เพื่อช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพในทักษะประเภทต่าง ๆ ให้ถูกต้อง และเหมาะสม สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนการสอนทักษะทางกีฬาอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติการทดลองหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายในการเล่นกีฬา

รายวิชา 1093618 เทคนิคการสอนและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา

3(2-2-5)

  Methods and Approaches in Teaching Physical Education and Health Education  

        ศึกษา วิเคราะห์ และอภิปรายเกี่ยวกับจุดประสงค์ เนื้อหา อัตราเวลาเรียนและเอกสารหลักสูตรพลศึกษาและสุขศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความหมายขอบข่ายและความสำคัญของทักษะและเทคนิคการสอนพลศึกษาและสุขศึกษา การนำเข้าสู่บทเรียนการเร้าความสนใจ การตั้งคำถาม การผลิตและการใช้สื่อการการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผล การเตรียมการสอน เช่น การกำหนดการสอน บันทึกการสอน การปฏิบัติการสอน การฝึกปฏิบัติการจัดกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในโรงเรียน

รายวิชา 2313714 ภาษาอังกฤษสำหรับครูพลศึกษา

3(3-0-6)

  English for Physical Education Teacher  

        ศึกษาภาษาอังกฤษที่ใช้ทางวิชาการพลศึกษา กีฬา และนันทนาการ ฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อให้มีความสามารถในการสื่อสารและการค้นคว้า อ้างอิง วิชาการในสาขาวิชา

รายวิชา 4271201  หลักและวิธีการสุขศึกษา

 3(3-0-6)

   Principles and Method Health Education  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและแนวคิดของสุขศึกษา ประเภทของงานสุขศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา กระบวนการทางการสุขศึกษา วิธีการทางสุขศึกษา พฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มการเรียนรู้ การจูงใจ การสื่อสารในงานสุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการเปลี่ยนแปลง

รายวิชา 4272503 สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน

2(2-0-4)

  Personal and Community Health  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของการดูแลสุขภาพตนเองและสุขภาพชุมชนองค์ประกอบสำคัญของการมีสุขภาพดี ความเชื่อ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาสุขภาพในชุมชนแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพการส่งเสริมสุขภาพชุมชน

รายวิชา 4272504 การปฐมพยาบาล

 3(3-0-6)

  Emergency Medical Technique  

        ศึกษาเกี่ยวกับการดูแลการบาดเจ็บ และการช่วยเหลือภาวะคุกคามต่อชีวิตการปฐมพยาบาล การบาดเจ็บในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การแพ้การได้รับพิษ การช่วยฟื้นคืนชีพ การใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 4273308 ยาและสารเสพติด

2(2-0-4)

  Drugs and Narcotic  

        ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของยา วิธีการใช้ยา คุณและโทษของการใช้ยา การติดยา การใช้ยาผิด การควบคุมยาพระราชบัญญัติยา ความหมายและชนิดของสารเทพติด โทษและอันตรายและสารเสพติด สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติด ปัญหาและการแก้ไขสารเสพติดในประเทศไทย วิธีป้องกัน การใช้สารเสพติด ในสถานที่ ให้การรักษาการติดสารเสพติด นโยบายเกี่ยวกับสารเสพติด ของหน่วยงานต่าง ๆ หลักการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสารเสพติด

                วิชาเอกพลศึกษา (เลือก)

รายวิชา 1091407 เกมและกีฬาพื้นเมือง

2(1-2-3)

  Games  

        ศึกษาและค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของเกมและกีฬาเมืองของไทย รวบรวมวิธีการเล่นเกมและกีฬาพื้นเมืองของไทย ประโยชน์ คุณค่าอนุรักษ์และส่งเสริมเกมและกีฬาพื้นเมืองของไทย วิธีการฝึก การมีน้ำใจนักกีฬา เป็นผู้นำกิจกรรม สามารถเข้าร่วมกิจกรรม การเป็นผู้ตัดสินและการบริหารจัดการเกมและกีฬาพื้นเมืองของไทยตามโอกาสต่าง ๆ ได้ หลักการสอนและการวัดผลประเมินผลเกมและกีฬา พื้นเมืองไทย

รายวิชา 1091502 ยิมนาสติก

2(1-2-3)

  Gymnastics  

        ศึกษา ค้นคว้าประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของกีฬายิมนาสติก ประเภทของยิมนาสติก อุปกรณ์และสถานที่ในการฝึกยิมนาสติก การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและการช่วยเหลือ การป้องกันอุบัติเหตุ เทคนิคการฝึกยิมนาสติก กติกาการแข่งขันและการตัดสิน โดยให้มีความรู้และทักษะในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
        1. ชาย การฝึกราวคู่ ราวเดี่ยว ม้ายาว ม้าหู แทรมโปลีน ห่วง ฟลอเอ็กเซอร์ไซส์ และการแสดงท่าแข่งขันเป็นชุดได้อย่างน้อย 1 อุปกรณ์
        2. หญิง การฝึกราวทรงตัว ราวต่างระดับ ม้าขวาง แทรมโปลิน ฟลอเอ็กเซอร์ไซส์ และการแสดงท่าแข่งขันเป็นชุดไทยอย่างน้อย 1 อุปกรณ์

รายวิชา 1091503 แบดมินตัน

2(1-2-3)

  Badminton  

        ศึกษา ค้นคว้าและอภิปรายความเป็นมา การจับแร็กเก็ต การตีลูกล่วง การตบ การรับ การส่งลูก การแข่งขันประเภทเดียว ประเภทคู่ และคู่ผสม หลักการฝึกสอน คุณสมบัติผู้ฝึกสอน หลักเกณฑ์ในการเลือกนักกีฬา การฝึกทักษะเฉพาะการดูแลรักษาอุปกรณ์การตัดสินและการจัดการแข่งขัน

รายวิชา 1091504 เทเบิลเทนนิส

2(1-2-3)

  Table Tennis  

        ศึกษาค้นคว้า และอภิปราย ประวัติความเป็นมา เทคนิคและทักษะต่าง ๆ การจับไม้ การตีลูกแบบต่าง ๆ การรับลูกแบบต่าง ๆ วิธีการเล่น หลักและกลยุทธ์ของการเล่นทั้งประเภทเดี่ยวและประเภทคู่ การเป็นเจ้าหน้าที่การดำเนินการแข่งขัน หลักวิธีการสอน ฝึกการแข่งขันประเภทบุคคลและประเภททีม กฎ กติกาการแข่งขัน การตัดสิน การสอน

รายวิชา 1091506 ยูโด

2(1-2-3)

  Yudo  

        ศึกษาค้นคว้า ประวัติ และประโยชน์ของยูโด อุปกรณ์ และสถานที่ในการฝึกยูโด หลักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการลงสู่พื้นพื้นและการทุ่ม ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะการลงสู้พื้นและเทคนิคการทุ่มท่าต่าง ๆ กฎ กติกาการแข่งขัน การตัดสินการเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิค และความปลอดภัยในการเล่นยูโด

รายวิชา 1091507 เทนนิส

2(1-2-3)

  Tennis  

        ศึกษาประวัติ ประโยชน์ การดูแลรักษาสนามและอุปกรณ์การเล่นเทนนิส มารยาทการเล่น ฝึกทักษะและเทคนิคเบื้องต้น การจับไม้ การตีลูกแบบต่าง ๆ การรับลูก วิธีการเล่น กติกาการแข่งขันการเล่นประเภทเดี่ยวและคู่ ศึกษาการเป็นผู้ฝึกสอน และการเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ตัดสิน การจัดการกีฬาเทนนิส รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับ ซอฟเทนนิส ( Soft Tennis)

รายวิชา 1091508 มวยสากล

2(1-2-3)

  Boxing  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปรายประวัติความเป็นมาของกีฬามวยสากล การฝึกทักษะเบื้องต้นของมวยสากล การชกในลักษณะต่าง ๆ ชั้นเชิงการชกและการปกป้อง หลีกทางและวิธีการฝึก กติกาการแข่งขัน ทั้งสมัครเล่นและอาชีพ การแข่งขัน การเป็นผู้ฝึก และการเน้นเจ้าหน้าที่กีฬา มวยสากลสมัครเล่นและอาชีพ การวางแผนการฝึกซ้อมและแข่งขัน

รายวิชา 1091510 มวยไทย

2(1-2-3)

  Muay Thai  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอภิปราย ประวัติความเป็นมาของกีฬามวยไทย การฝึกทักษะในการใช้ หมัดเท้า เขา ศอก การฝึกซ้อม เสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิต กฎ กติกามารยาท การมีน้ำใจนักกีฬาวิเคราะห์การการเป็นผู้ตัดสิน กรรมการให้คะแนน และเจ้าหน้าที่ให้เห็นคุณค่าศิลปะประจำชาติ การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของไทย ตลอดจนหลักการสอนและการวัดผลประเมินผลกีฬามวยไทย

รายวิชา 1091512 ยกน้ำหนัก

2(1-2-3)

  Weight Lifting  

        ศึกษา ค้นคว้าและอภิปรายประวัติความเป็นมา และประโยชน์ของกีฬายกน้ำหนัก ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะในการยกท่าต่าง ๆ หลักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับยกน้ำหนัก ศึกษากฎกติกา และระเบียบการแข่งขัน และการจัดการแข่งขัน ตลอดจนการฝึกเป็นผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่เทคนิค การดูแลรักษาอุปกรณ์ และความปลอดภัยในการฝึก

รายวิชา 1091514 กอล์ฟ

2(1-2-3)

  Golf  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ประวัติความเป็นมา สนามและอุปกรณ์การเล่นประเภทของไม้ตี ทักษะเบื้องต้น การเล่น การจับไม้ การทรงตัว การตี การเล่นลูกแบบต่าง ๆ ทักษะการใช้เหล็กไม้แซนด์เวดจ์ พัตเตอร์ การแนะนำและการสอนทักษะเบื้องต้น กฏ กติกาการแข่งขันตลอดจนการจัดการการเป็นผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่เทคนิคการเป็นผู้แนะนำและสอนทักษะเบื้องต้น ตลอดทั้งการดำเนินงานและ การบริหารงานกีฬากอล์ฟ

รายวิชา 1091519 เปตอง

2(1-2-3)

  Payton  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปรายประวัติความเป็นมาของกีฬาเปตอง กติกาการเล่นและการแข่งขัน การและเทคนิคการฝึกทักษะเบื้องต้นของกีฬาเปตอง การสร้างเสริมสมรรถภาพทักษะและความสามารถเฉพาะตัวสำหรับนักกีฬาเปตอง การสร้างเสริมทักษะการเปตองประกอบการฝึกปฏิบัติเทคนิคและวิธีการเล่นกีฬาเปตอง การฝึกปฏิบัติทักษะการเล่นเพื่อการแข่งขัน การเป็นผู้ฝึกและการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาเปตอง การทำสนามเปตอง เพื่อการฝึกซ้อมและแข่งขัน

รายวิชา 1091604 รักบี้ฟุตบอล

2(1-2-3)

  Rugby Football  

        ศึกษา ค้นคว้าและอภิปราย ประวัติกีฬารักบี้ฟุตบอล ฝึกปฏิบัติเทคนิคและวิธีการเล่นส่วนบุคคลและเป็นทีม รูปแบบการฝึกเพื่อให้เกิดทักษะและความชำนาญในการเล่นส่วนบุคคลและเป็นทีม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย กฎ กติกามารยาท ความมีน้ำใจนักกีฬา ฝึกปฏิบัติการเป็นผู้ตัดสินและผู้กำกับเส้นตลอดจนหลักการสอนและการจัดการแข่งขันกีฬารักบี้ฟุตบอล

รายวิชา 1091605 แฮนด์บอล

2(1-2-3)

  Handball  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และอภิปรายผล เทคนิคและวิธีการเล่นส่วนบุคคลและเป็นทีมระเบียบกติกา การฝึกการเป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ วิธีการและเทคนิคการสอน รูปแบบการเล่นเป็นทีมและการแข่งขัน

รายวิชา 1091606 ฟุตซอล

2(1-2-3)

  Futsal  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอภิปราย ประวัติความเป็นมาของกีฬา ฟุตซอล การอบอุ่นร่างกาย การฝึกทักษะต่าง ๆ เทคนิคการเล่นทีม วิเคราะห์วิธีการเล่น การใช้หลักจิตวิทยาการแข่งขัน การเตรียมทีม วิธีเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและจิต กฎกติกามารยาท การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา หลักการจัดการแข่งขัน การเป็นผู้ตัดสินการเป็นเจ้าหน้าที่ตลอดจนหลักการสอนและการวัดผลประเมินผลกีฬาฟุตซอล

รายวิชา 1092517 ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

2(1-2-3)

  Self Defence  

        ศึกษา ค้นคว้าประวัติความเป็นมาและประโยชน์ของศิลปะการป้องกันตัว ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะและวิธีการของการป้องกันตัว โดยเฉพาะศิลปะการป้องกันตัวแบบมวยไทย และยูโดการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายมารยาทและความปลอดภัยในการเล่น การปฐมพยาบาล การนำไปใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัว

รายวิชา 1092523 เทควันโด

2(1-2-3)

  Tackwondo  

        ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ อภิปรายผล ประวัติความเป็นมาของศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เทควันโดบทบัญญัติกีฬาเทควันโด การสร้างเสริมสมรรถภาพด้านร่างกายสำหรับนักกีฬาเทควันโด การฝึกปฏิบัติทักษะเบื้องต้น การใช้ส่วนของมือ การเตะเพื่อต่อสู้ และการป้องกันตัวในลักษณะต่าง ๆ กติกาการแข่งขันการเน้นผู้ฝึก และการเป็นเจ้าหน้าที่กีฬาเทควันโด

รายวิชา 1092609 ซอฟท์บอล

2(1-2-3)

  Softball  

        ศึกษา ค้นคว้าและอภิปราย ประวัติและประโยชน์ของกีฬาซอลฟท์บอล กติกาการเล่น การฝึกทักษะและเทคนิคการเล่นส่วนบุคคล และเป็นทีม การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย การดูแลรักษาอุปกรณ์ มารยาทและความปลอดภัยในการเล่น ตลอดจนการแข่งขันและฝึกเป็นผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ การแข่งขันกีฬาซอฟท์บอล

รายวิชา 1093403 ลีลาศ

2(1-2-3)

  Social Dance  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ประวัติการลีลาศ ประเภทของจังหวะในการลีลาศ มารยาททางสังคมของการลีลาศ ประโยชน์ของการลีลาศ การฝึกปฏิบัติการลีลาศจังหวะต่าง ๆ

รายวิชา 1093408 แอโรบิคแดนซ์

2(1-2-3)

  Aerobic Dances  

        ศึกษา ค้นคว้า และอภิปราย ความหมาย ประโยชน์ของแอโรบิคแดนซ์ ลำดับขั้นตอนในการประกอบกิจกรรมชนิดของแอโรบิคแดนซ์ การจับชีพจร การคำนวณหาอัตราการเต้นของหัวใจในท่าต่าง ๆ สำหรับอบอุ่นร่างกาย ลักษณะที่สำคัญของแอโรบิคแดนซ์ การผึกออกกำลังกายแบบแอโรบิคแดนซ์

รายวิชา 4271203 วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย

3(3-0-6)

  Safety Science  

        ความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของวิชา วิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ประเภทของอุบัติภัยสาเหตุของอุบัติภัย การสูญเสียที่เกิดขึ้น ทฤษฎีการเกิดอุบัติภัย การป้องกันอุบัติภัย เทคโนโลยีความปลอดภัย กฎหมายความปลอดภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและหลักการสัมมนาแนวทางการดำเนินงาน การป้องกันอุบัติภัยจากการทำงาน

รายวิชา 4272302 สุขภาพสิ่งแวดล้อม

3(3-0-6)

  Environmental Health  

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของสุขภาพสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในแง่นิเวศวิทยา องค์ประกอบต่าง ๆ ของสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีของมนุษย์ การสุขาภิบาลที่พักอาศัย โรงเรียน ชุมชน น้ำดื่ม น้ำใช้ การกำจัดและการควบคุมสิ่งปฏิกูล การระงับเหตุรำคาญ เสียง กลิ่น ควัน อากาศ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค

รายวิชา 4272305 เพศศึกษา 2(2-0-4)
  Sex Education  

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและความหมายของเพศ ความรู้เรื่องเพศ การเจริญเติบโต และพันธุกรรมทางเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ความรู้เรื่องเพศ การเจริญเติบโต และพันธุการทางเพศ ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความผิดปกติทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การวางแผนชีวิต ปัญหาเกี่ยวกับเพศ การสอนเพศศึกษา จิตเวชศาสตร์กับเพศศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการสอนเพศศึกษา

รายวิชา 4272404 โครงการสุขภาพในโรงเรียน

2(2-0-4)

  School Health Program  

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของโครงการสุขภาพในโรงเรียน การศึกษาปัญหาสุขภาพการวัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ บริการด้านสุขภาพในโรงเรียนการสอนสุขศึกษาในโรงเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างกันโรงเรียนและชุมชนในการแก้ปัญหาสุขภาพ ความสำคัญของการจัดบริหารและ การประเมินผลโครงการ

รายวิชา 4272506 โภชนาการ

3(3-0-6)

  Nutrition  

        ศึกษาความหมาย ประวัติ ความสำคัญของวิชาโภชนาการ อาหารหลักและสารอาหาร ลักษณะประเภทและคุณสมบัติ ของสารอาหารชนิดต่างๆ ความต้องการอาหารและวิธีการจัดอาหารสำหรับบุคคลวัยต่าง ๆ ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณอาหารหญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อน อาหารสำหรับบุคคลในภาวะและวัยต่าง ๆ การเลือกอาหารสำหรับครอบครัว สุขาภิบาลอาหาร

รายวิชา4273103 การระบาดวิทยา

3(3-0-6)

  Epidemiology  

        ความหมาย ขอบเขต จุดมุ่งหมาย และประโยชน์ของวิทยาการระบาดนิเวศวิทยาของมนุษย์ หลักการป้องกันโรค มาตรการการวัดการป่วยและการตามระบาดวิทยาการของโรคติดเชื้อ และปัญหาสุขภาพ การสืบสวนทางวิทยาการระบาด ระบาดวิทยาทางสังคม ความผิดพลาดที่พบได้บ่อยทางระบาดวิทยา

รายวิชา 4273409 การวัดและประเมินภาวะสุขภาพ

3(3-0-6)

  Measurement and Evaluation in Health  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ หลักและวิธีการวัดและประเมินภาวะสุขภาพ การวัด การเจริญเติบโต การวัดพัฒนาการเด็ก การวัดภาวะโภชนาการ การตรวจร่างกายเด็ก การใช้เครื่องมือในการวัดภาวะสุขภาพชนิดต่าง ๆ การประเมินผลการวัดภาวะสุขภาพ

รายวิชา 4273504 การส่งเสริมสุขภาพ

3(2-2-5)

  Health Promotion  

        ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการและสภาวะสุขภาพบุคคลวัยต่าง ๆ การสังเกตพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัญหา การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้เหมาะสมกับเพศและวัย

รายวิชา 4274421 การแนะแนวสุขภาพ

2(2-0-4)

  Health Guidance  

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ปรัชญาของการแนะแนว ความสำคัญของการแนะแนว สุขภาพ เทคนิคการแนะแนวสุขภาพ

รายวิชา 4312709 คอมพิวเตอร์สำหรับครูพลศึกษา

3(2-2-5)

  Computer for Physical Education Teacher  

        ศึกษาและฝึกการใช้คอมพิวเตอร์ใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนพลศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้า

        3.3 วิชาเอกภาษาไทย

                วิชาเอกภาษาไทย (บังคับ)

รายวิชา 1124603 วิธีสอนภาษาไทย 1

3(2-2-5)

  Methods of Teaching Thai Language 1  

        ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับช่วงชั้นที่ 1-2 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับ การจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน

รายวิชา 1124604 วิธีสอนภาษาไทย 2

3(2-2-5)

  Methods of Teaching Thai Language 2  

        ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาไทยระดับช่วงชั้นที่ 3-4 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับ การจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน

รายวิชา 2211103 หลักการอ่านและการเขียนคำไทย

2(2-0-4)

  Reading and Writing Systems in Thai  

        ศึกษาหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการอ่านและเขียนคำไทย ความจำเป็นและประโยชน์ของ การเรียนวิชานี้ ฝึกการอ่านและการเขียน เก็บรวบรวมคำที่มักเขียนหรืออ่านผิดเพี้ยนไปจากกฎเกณฑ์เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน วิเคราะห์และวิจัยข้อมูลเหตุที่ทำให้เกิดการอ่านและเขียนผิดกับคำที่อ่านและเขียนตามกฎเกณฑ์ อภิปรายและสรุปผลเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

รายวิชา 2212103 ภาษาศาสตร์สำหรับครูสอนภาษาไทย

3(3-0-6)

  Linguistics for Teacher of Thai  

        ศึกษาความหมาย ความเป็นมาและขอบข่ายของวิชาภาษาศาสตร์ ศึกษาระบบเสียง ระบบคำและระบบกลุ่มคำ การวิเคราะห์ภาษาตามวิธีการทางภาษาศาสตร์ การประยุกต์ใช้ความรู้และวิธีการทางภาษาศาสตร์ในการเรียนการสอนภาษาไทย

รายวิชา 2212104 หลักภาษาไทย

3(3-0-6)

  Grammar of Thai  

        ศึกษาความหมายและขอบข่ายของหลักภาษาไทย ศึกษาลักษณะภาษาไทย ในด้านเสียง พยางค์ คำ วลี ประโยค ลักษณะประโยค หลักเกณฑ์การอ่านการเขียนคำไทย คำราชาศัพท์ คำสุภาพ และสามารถใช้ภาษาให้ถูกต้องตามความนิยมของสังคมไทย

รายวิชา 2212202 การพัฒนาการฟังและการพูด

3(2-2-5)

  Listening and Speaking Skill Development  

        ศึกษาหลักการฟัง ฝึกฟังจับใจความเรื่องประเภทต่าง ๆ วิเคราะห์และประเมินค่าเรื่องที่ฟัง ทบทวนหลักการพูด ฝึกและพัฒนาการพูดในบทบาทและสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น พูดโทรศัพท์ พูดต้อนรับ พูดแนะนำตัว พูดขออภัย พูดโน้มน้าวใจ พูดบรรยายสรุป และอื่น ๆ เน้นประสิทธิผลการพูดตามวัตถุประสงค์

รายวิชา 2212207 การเขียนทั่วไป

3(2-2-5)

  Writing  

        ศึกษาหลักเกณฑ์และกระบวนการเขียนร้อยแก้ว ฝึกเขียนสรุปบทความที่ได้อ่านหรือได้ฟัง เขียนเล่าเรื่อง เขียนแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น เขียนอภิปรายและอื่น ๆ

รายวิชา 2212208 การอ่านเพื่อพัฒนาตน

3(3-0-6)

  Reading for Self Development  

        ศึกษาหลักเกณฑ์และกระบวนการอ่านออกเสียง การอ่านในใจ ฝึกอ่านอย่างผ่าน ๆ ในการอ่านข่าวและคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร และวรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อประเทืองสติปัญญาและความคิด ฝึกอ่านเพื่อนำความรู้ไปใช้ การอ่านเพื่อวิเคราะห์ วินิจสาร วิจารณ์และประเมินค่างานประพันธ์ชนิดต่าง ๆ ฝึกอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ เปรียบเทียบหาอัตลักษณ์ของ ผู้ประพันธ์

รายวิชา 2212210 การเขียนเพื่อพัฒนาตน

3(2-2-5)

  Writing for Self Development  

        ศึกษาวิธีการการเขียนรูปแบบต่าง ๆ ฝึกเขียนแสดงความรู้ อธิบายวิธีการทำงานหรือวิธีประกอบสิ่งของ บอกทิศทาง อธิบายความรู้เฉพาะวิชา ฝึกจดบันทึกข้อความที่มีผู้ส่งไว้ให้บอกแก่ผู้อื่น ฝึกเขียนแสดงความคิดเห็น เขียนจูงใจ เขียนโฆษณา ประชาสัมพันธ์

รายวิชา 2212401 วรรณกรรมศึกษา

2(2-0-4)

  Thai Literary Works  

        ศึกษาลักษณะและวิวัฒนาการของวรรณกรรมไทยและวรรณคดีไทยในด้านเนื้อหา รูปแบบ คุณค่า โลกทัศน์ ปรัชญา ความเชื่อและค่านิยมที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมและวรรณคดี ฝึกวิเคราะห์วรรณกรรมและวรรณคดีจากตัวอย่างที่ตัดตอนมาเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวรรณกรรมและวรรณคดีที่ลึกซึ้งต่อไป

รายวิชา 2212404 คติชนวิทยา

3(2-2-5)

  Thai Folklore  

        ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท และคุณค่าของคติชนวิทยา ศึกษาระเบียบวิธีการรวบรวม การจำแนกและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยี แสวงหาและถ่ายทอดข้อมูล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคติชนวิทยากับศาสตร์แขนงอื่น ๆ ศึกษาแนวคิดและวิธีการศึกษาภูมิปัญญาไทยเปรียบเทียบกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านคุณค่าของการสร้างสรรค์พัฒนา และสืบทอดภูมิปัญญาต่อวิถีชีวิตไทย เน้นการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 2214201 การอ่านตีความ

3(3-0-6)

  Reading Text for Interpretation  

        ศึกษาความหมาย หลักการ และกระบวนการการอ่านเพื่อการตีความ ฝึกอ่านตีความวรรณกรรมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

รายวิชา 2214402 วรรณกรรมปัจจุบัน

3(3-0-6)

  Contemporary Literature  

        ศึกษาวรรณกรรมไทยทั้งประเภทสารัตถคดี (Non-Fiction) บันเทิง (Fiction) โดยเน้นลักษณะที่เป็น นวัตกรรมในทางวรรณศิลป์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับวิวัฒนา การของวรรณกรรมและบทบาทของวรรณกรรมในการเสริมสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญาของบุคคลในสังคม

รายวิชา 2213405 วรรณคดีเอกของไทย

3(3-0-6)

  Prominent Literature  

        ศึกษาลักษณะของวรรณคดีสำคัญของแต่ละยุค ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองในแง่ประวัติ กลวิธีการแต่ง คุณค่าและอิทธิพลที่มีต่อการสร้างสรรค์งานของนักเขียนรุ่นหลัง ศึกษาวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องในรูปแบบต่าง ๆจากอดีตถึงปัจจุบัน เช่น ลิลิตพระลอ โครงกำสรวล กาพย์เห่เรือ อิเหนา ขุนช้างขุนแผน สามก๊ก พระอภัยมณี เป็นต้น เน้นการศึกษาวรรณคดีเพื่อ ความซาบซึ้งในคุณค่าต่าง ๆ

รายวิชา 2213406 วรรณกรรมวิจารณ์

2(2-0-4)

  Literary Criticism  

        ศึกษาทฤษฎีการวิจารณ์วรรณกรรม ศึกษาบทวิจารณ์วรรณกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน ฝึกเขียนบทวิเคราะห์วรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง

รายวิชา 2213409 วรรณคดีการละคร

3(3-0-6)

  Thai Dramatic Literature  

        ศึกษาความหมายของคำว่า นาฏกรรม และนาฏวรรณคดี กำเนิดวรรณคดีการละคร ทั้งฝ่ายตะวันตก – กรีก และฝ่ายตะวันออก – อินเดีย ความหมายและเรื่องนาฏการ ละครโศกหรือ Tragedy ละครรื่นรมย์หรือ Comedy ละครนอก หรือ force ความเป็นมาและลักษณะของละครไทย ละครรำ ละครใน ละครนอก ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง ละครพูด หรือพัฒนาการของละครกับศิลปะสาขาอื่น เช่น ดนตรี นาฎศิลป์ จิตรกรรมและประติมากรรม คุณค่าของวรรณคดีการละครอ่านวรรณคดี การละครอย่างน้อย 3 เรื่อง

รายวิชา 2214501 ผลการศึกษาค้นคว้าทางภาษาและวรรณคดีไทย

3(3-0-6)

  A Study of Research Work in Thai  

        ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยโดยสังเขป ศึกษาผลงานค้นคว้าวิจัยและวิธีการที่ใช้กับงานนั้น การนำผลหรือข้อเสนอแนะจากงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการสอนและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ศึกษางานวิจัยไม่น้อยกว่า 3 เรื่อง ให้ครอบคลุมสาขาวรรณคดี หลักภาษาและการใช้ภาษา

รายวิชา 2214902 การวิจัยทางภาษาไทย

3(3-0-6)

  Research Work in Thai  

        ศึกษาวิธีและรูปแบบการวิจัยทางภาษาไทย การเลือกหัวข้อและการเขียนเค้าโครงการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์และกรอบความคิด วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบต่าง ๆ การจำแนก วิเคราะห์และการตีความ ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย ฝึกเขียนงานวิจัยในขอบข่ายของวิชาภาษาไทย

รายวิชา 2214903 สัมมนาการใช้ภาษาไทย

3(2-2-5)

  Seminar on Thai Language  

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า วิธีการจัดการสัมมนา ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการใช้ภาษาไทยจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนรวบรวมคำ สำนวนภาษาและประโยคที่ใช้ในปัจจุบันทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน อภิปรายผลดีและผลเสียของการใช้คำ สำนวนและประโยค สรุปเป็นกฎเกณฑ์เพื่อนำไปพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผลดี รวมทั้งการศึกษา หาความรู้จากเอกสารตำราภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ตลอดจนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเพิ่มศักยภาพในการใช้ภาษาไทย

รายวิชา 2313701 ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษย์ศาสตร์

3(3-0-6)

  English for Humanities  

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี มานุษยวิทยา วัฒนธรรม โบรานคดี เป็นต้น เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

                วิชาเอกภาษาไทย (เลือก)

รายวิชา 2211401 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีไทย

3(3-0-6)

  Fundamental of Thai Literature  

        ศึกษาลักษณะทั่วไปและวิวัฒนาการของวรรณคดีไทย การจำแนกประเภทของวรรณคดีไทย ลักษณะเฉพาะของวรรณคดีไทย คุณค่าของวรรณคดี โลกทัศน์ ปรัชญา ความเชื่อ และค่านิยมที่ปรากฏ ในวรรณคดีไทย วรรณคดีกับวัฒนธรรมและสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีแบบฉบับและวรรณกรรมเน้นผู้เรียนตระหนักในคุณค่าของวรรณคดี ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและวัฒนธรรม

รายวิชา 2211702 การเขียนรายงานจากการค้นคว้า

3(2-2-5)

  Report Writing Form Reference Materials  

        ฝึกการเขียนรายงานการค้นคว้า เริ่มด้วยการตีความความหมายของหัวข้อเรื่อง การวางโครงเรื่อง วิธีค้นคว้าหรือวิธีรวบรวมข้อมูลจากการอ่าน การเรียบเรียงเนื้อความ การใช้ถ้อยคำที่มีน้ำหนัก การอ้างเหตุผล เชิงอรรถ ดรรชนีและบรรณานุกรม

รายวิชา 2212105 ลักษณะคำประพันธ์ไทย

3(2-2-5)

  Characteristic of Thai Poetry  

        ศึกษาที่มาและแบบแผนการแต่งคำประพันธ์ไทยและคำประพันธ์ในท้องถิ่น กลวิธีในการใช้ถ้อยคำ การใช้โวหาร วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และประเมินคุณค่าฝึกแต่งคำประพันธ์ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล

รายวิชา 2212405 วรรคดีขนบประเพณีและศาสนา

3(3-0-6)

  Literature on Thai Customs  

        ศึกษาลักษณะทั่วไปของวรรณคดีขนบประเพณีและศาสนา วรรณศิลป์ ปรัชญา ความเชื่อที่ปรากฏในวรรณคดีขนบประเพณีและศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ ศาสนาพิธีกรรมกับวรรณคดี ศึกษาทั้งวรรณคดีและวรรณกรรม

รายวิชา 2212701 ศิลปะการอ่านออกเสียง

3(3-0-6)

  Reading Technique  

        ฝึกการอ่านทำนองเสนาะ คำประพันธ์ไทยทุกชนิดที่ปรากฏในหนังสือเรียนภาษาไทย ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ฝึกอ่านออกเสียงให้ชัดเจนถูกต้องตามกฎข้อบังคับของ คำประพันธ์และถูกต้องตามลีลา ท่วงทำนองอันเป็นลักษณะเฉพาะของคำประพันธ์แต่ละชนิด รวมทั้งสอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหาฝึกอ่านบทร้อยแก้ว ร้อยกรอง เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งและเกิดอารมณ์คล้อยตาม

รายวิชา 2212702 คอมพิวเตอร์กับงานเอกสารภาษาไทย

3(2-2-5)

  Computer Word Processing for Thai Document  

        ศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดทำเอกสารภาษาไทย รูปแบบหนังสือราชการ และเอกสารที่ใช้ในการสื่อสารในองค์การ รูปแบบงานเอกสารทางวิชาการและเอกสารเผยแพร่ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล ฝึกปฏิบัติการจัดทำเอกสารภาษาไทย การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการนำเสนอสารภาษาไทย

รายวิชา 2213102 ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

3(3-0-6)

  Foreign Loanwords in Thai  

        ศึกษาประวัติการติดต่อกับชนชาติต่าง ๆ ได้แก่ เขมร จีน ขวา มลายู อังกฤษ ฯลฯ สาเหตุที่ไทยรับคำภาษาต่างประเทศมาใช้ลักษณะของภาษาต่างประเทศเหล่านี้เข้ามาปะปนในภาษาไทย หลักแห่งการยืมคำ การสร้างคำ การเปลี่ยนแปลงคำยืมในด้านเสียงและความหมาย การนำคำยืมมาใช้ในวรรณคดี ราชาศัพท์ และภาษาไทยในชีวิตประจำวัน ประมวลคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย หลักการสังเกตคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย

รายวิชา 2213201 การอ่านและการเขียนเอกสารทางราชการ

2(1-2-3)

  Reading and Writing in Government Document  

        ศึกษาความหมาย ลักษณะและประเภทของเอกสารทางราชการ ฝึกอ่านและวิเคราะห์เอกสารเหล่านั้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเขียนเอกสารทางราชการประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ

รายวิชา 2213210 ภาษาไทยธุรกิจ

3(3-0-6)

  Usage of Thai Language in Business  

        ศึกษาการใช้ภาษา สำนวนและคำพูดที่เหมาะสมในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจตามกาลเทศะ บุคคล และเครื่องมือสื่อสาร การใช้โทรศัพท์ การจัดข้อความตามคำสั่ง การกรอกแบบฟอร์ม การสัมภาษณ์ การเขียนคำอวยพร การเขียนข่าวแจก การประชุมชี้แจงข้อเท็จจริง การประชุมแถลงข่าว การเขียนข้อความโฆษณา และประชาสัมพันธ์ การเขียนและอ่านเอกสารเผยแพร่ทางธุรกิจ เสนอรายงานผลทางวิชาการ การเขียนและการเสนอรายงานผลการประชุม รายงานผลการวิจัย รายงานปกติ รายงานความก้าวหน้าและรายงานอื่น ๆ ที่ใช้ในวงการธุรกิจ

รายวิชา 2213301 อักษรไทย

3(3-0-6)

  Thai Alphabet  

        ศึกษาที่มาของอักษรไทย วิวัฒนาการของตัวอักษรไทยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง จนถึงปัจจุบัน โดยให้ฝึกอ่านและเขียนได้ศึกษาลักษณะอักษรไทยในท้องถิ่นและเปรียบเทียบกับอักษรไทยปัจจุบัน

รายวิชา 2213407 แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม

3(3-0-6)

  Thoughts from Literature  

         ศึกษาวรรณกรรมและวรรณคดีบางตอนที่มีแนวต่าง ๆ กันศึกษาด้านปรัชญา ความคิด ภาษา และอรรถรส ตลอดจนกลวิธีการแสดงออกของแนวคิดนั้น ๆ สังเกตอิทธิพลของสังคมที่มีต่อวรรณกรรม หรืออิทธิพลของวรรณกรรมที่มีต่อสังคม แง่คิดที่ได้รับจากวรรณคดีและวรรณกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม ปรัชญา ศาสนา ฯลฯ

รายวิชา 2213408 วรรณคดีนิราศ

3(3-0-6)

  Niras (a form of Poetry)  

        ศึกษาความหมายและลักษณะวรรณคดีนิราศ ในด้านจุดประสงค์ในการแต่ง เนื้อหา ธรรมเนียมหรือขนบ ลีลาการเขียน แรงบันดาลใจให้กวีสร้างสรรค์วรรณคดีนิราศ อ่านวรรณคดีนิราศอย่างน้อย 3 เรื่อง เลือกได้ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน โดยมีลักษณะคำประพันธ์ต่าง ๆ กัน

รายวิชา 2213410 วรรณกรรมสดุดี

3(3-0-6)

  Panegyric Literature  

         ศึกษาวรรณคดีสดุดี ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาด้านลักษณะโครงสร้าง กลวิธีการเสนอเรื่อง ลักษณะคำประพันธ์ การใช้ถ้อยคำและโวหาร การสอดแทรกข้อเท็จจริงและเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ โดยศึกษาเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์และของแต่ละยุค

รายวิชา 2213411 วรรณคดีสังคมและการเมือง

3(3-0-6)

  Social and Political Literature  

        ศึกษาความหมายและองค์ประกอบของสังคมและการเมือง ลักษณะของวรรณกรรมทางสังคมและการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม วิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะสังคมการเมือง วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ การปกครอง และค่านิยมที่ปรากฏในวรรณกรรมเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์แต่ละยุค

รายวิชา 2213412 วรรณกรรมเด็ก

3(3-0-6)

  Children’s Literature  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของนิยาย นิทาน เรื่องเล่า บทเพลงสำหรับเด็กตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ทั้งไทยและต่างประเทศ ศึกษาเปรียบเทียบจุดมุ่งหมายในการแต่ง ท่วงทำนอง การเขียน การสร้าง โครงเรื่อง ฯลฯ

รายวิชา 2213414 วรรณกรรมท้องถิ่น

2(2-0-4)

  Thai Local Literature  

        ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะร่วม และลักษณะเฉพาะ ของวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมท้องถิ่นกับวรรณกรรมแบบฉบับ ฝึกอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น

รายวิชา 2214102 ภาษาบาลีและสันสกฤตในภาษาไทย

3(3-0-6)

  Pali and Sanskrit in Thai  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของภาษาบาลีและสันสกฤตโดยสังเขป เปรียบเทียบลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤตกับภาษาไทย การนำคำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย ในลักษณะต่างๆ การกลายเสียง กลายความหมายของคำบาลีสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย อิทธิพลของภาษาบาลีสันสกฤตที่มีต่อภาษาไทย

รายวิชา 2214103 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

3(3-0-6)

  Language and Culture Relationship  

        ศึกษาการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ทั้งในด้านการสื่อสารที่เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล สถานการณ์ สุนทรียภาพ ความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมทุกสาขา รวมทั้งวัฒนธรรมต่างชาติ ศึกษาบทบาทของครูในการส่งเสริมให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของภาษาในการสืบทอดวัฒนธรรมไทย โดยฝึกและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาที่มีใช้ในอดีตทุกระดับ เน้นการนำมาใช้ได้อย่างมีวิจารณญาณ สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ได้

รายวิชา 2214104 ภาษาถิ่น

2(2-0-4)

  Dialectology  

        ศึกษาความหมายของภาษาถิ่น การจำแนกภาษาไทยถิ่นในประเทศไทย ความแตกต่างของภาษาไทยถิ่นในด้านเสียง คำ ประโยค ความหมาย ฝึกเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ภาษาไทยถิ่นประยุกต์ ใช้ความรู้วิชาภาษาถิ่นในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย

รายวิชา 2214202 การเขียนเชิงสร้างสรรค์

2(1-2-3)

  Creative Writing  

        ศึกษาความหมายและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ศิลปะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ฝึกเขียนเรื่องจากความคิดและจินตนาการ ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี โดยคำนึงถึงความถนัด และความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน

รายวิชา 2214404 อิทธิพลของวรรณกรรมต่างประเทศต่อวรรณกรรมไทย

3(3-0-6)

  Influence of Foreign Literature on Thai Literature  

        ศึกษาอิทธิพลของวรรณกรรมต่างประเทศที่สำคัญทั้งตะวันออกและตะวันตกที่มีต่อวรรณกรรมไทย ตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบันในด้านเนื้อหา แนวคิด ภาษา และ รูปแบบ

รายวิชา 2214502 หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย

3(3-0-6)

  Thai Text Books  

        ศึกษาพัฒนาการของหนังสือเรียนภาษาไทยพอสังเขป ศึกษาหนังสือเรียนภาษาไทยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในปัจจุบัน ทั้งหนังสือเรียน หนังสืออ่านประกอบและหนังสืออ่านเพิ่มเติมตามรายชื่อหนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ ทั้งด้านเนื้อหา กิจกรรมและแบบฝึก รวมถึงศึกษาคู่มือวิชาภาษาไทยควบคู่กัน เพื่อวิเคราะห์ความคิดหลักและความคิดเสริม สำหรับเป็นแนวทางในการวางแผนจัดการเรียนการสอนและแสวงหากลวิธีสอนตามความเหมาะสม

รายวิชา 2214503 การสร้างบทเรียนภาษาไทย

3(2-2-5)

  Production of Teaching Materials  

        สำรวจ วิเคราะห์และประเมินค่าบทเรียนภาษาไทย แนวคิดการสร้างบทเรียนภาษาไทย ศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อสร้างบทเรียนภาษาไทยให้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายวิชา 2214706 ความคิดสร้างสรรค์ทางภาษาไทย

3(2-2-5)

  Creative Thinking in Thai  

        ศึกษาความหมาย กระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ศิลปะการใช้ถ้อยคำสำนวนโวหาร เรื่องราว และรูปแบบที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ทั้งในการพูดและการเขียนจากวรรณกรรมและสื่อมวลชนที่แสดงการสร้างสรรค์ทางภาษา ส่งเสริมการสร้างความคิดสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิดที่ได้จากการศึกษา

รายวิชา 2214707 การจัดทำหนังสือสำหรับเด็ก

3(2-2-5)

  Writing Children  

        ศึกษาความหมาย จุดมุ่งหมาย ประเภทและพัฒนาการของหนังสือสำหรับเด็ก หลักการสร้างหนังสือสำหรับเด็ก โดยพิจารณาด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ เทคนิคการเลือกสร้างเรื่อง สอดแทรกคุณธรรม ภาพประกอบ การเลือกขนาดอักษร และการจัดรูปเล่ม สำรวจหนังสือและนิตยสารสำหรับเด็ก การวิเคราะห์และประเมินค่าหนังสือสำหรับเด็ก ฝึกทำหนังสือและนิตยสารสำหรับเด็ก

        3.4 วิชาเอกภาษาอังกฤษ

                วิชาเอกภาษาอังกฤษ (บังคับ)

รายวิชา 1124601 วิธีสอนภาษาอังกฤษ 1

3(2-2-5)

  Methods of Teaching English Language 1  

        ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับช่วงชั้นที่ 1-2 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน

รายวิชา 1124602 วิธีสอนภาษาอังกฤษ 2

3(2-2-5)

  Methods of Teaching English Language 2  

        ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรภาษาอังกฤษระดับช่วงชั้นที่ 3-4 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการจัดรูปแบบการเรียนรู้แบบต่าง ๆ ทักษะการผลิตและการใช้สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ การทดลองสอนในชั้นเรียน

รายวิชา 1124616 การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ

3(2-2-5)

  English Language Learning Based on Learner  

        การเรียนภาษาอังกฤษโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผลตามสภาพจริง

        An examination of the principles of learner-centered English language learning , teaching and learning activities, instructionl materials, and authentic assessments.

รายวิชา 1124903 การสัมมนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

3(2-2-5)

  Seminar in Teaching English  

        ในคอร์สการเรียนรู้นี้จะมุ่งเน้นไปในเรื่องการจัดประชมสัมมนาที่ต้องใช้กระบวนการทางเทคนิคที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านการสอนภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นโดยนักเรียน และชุมชนร่วมกันจัดกิจกรรมขึ้น

        This course focuses on the seminar process using various techniques and sources of information for the solution of English teaching issues raised by students and communities.

รายวิชา 2303107 สัทศาสตร์และสัทวิทยา 1

3(3-0-6)

  Phonetics and Phonology 1  

        ในคอร์สนี้จะแนะนำเกี่ยวกับหลักการของหน่วยเสียง และสัทศาสตร์สัญลักษณ์ การวิเคราะห์และการเกิดเสียง ทฤษฎีของหน่วยเสียงและรวมไปถึงหน่วยเสียงสูง-ต่ำ และที่ไม่สามารถใช้สัญลักษณ์ในการแทนเสียงนั้น ๆ ได้

        This course introduces basic principles of phonetics and phonetic terminology. Emphasis is on the identification and production of English speech sounds. Phonological theories and analysis are introduced with attention to non-segmental features.

รายวิชา 2311101 ไวยากรณ์อังกฤษ 1

3(3-0-6)

  Introduction to Grammar 1  

        ศึกษาวิเคราะห์ภาษาพูดและภาษาเขียนในปริบทของการสื่อสารโดยเน้นโครงสร้างภาษาเรื่องประโยค อนุประโยค กาล ลำดับคำ ความสอดคล้องระหว่างประธานกับกริยา โดยเอาใจใส่ในเรื่อง ความถูกต้องด้านวากยสัมพันธ์ ตามหลักไวยากรณ์

        Analyze spoken and written text in a communicative context focusing on language structures such as sentences, clauses, tenses, word orders, subject-verb agreement. Particular attention is paid to syntactic accuracy.

รายวิชา 2311104 ไวยากรณ์อังกฤษ 2

3(3-0-6)

  Introduction to Grammar 2  

        เป็นรายวิชาต่อเนื่องจากไวยากรณ์อังกฤษ 1(2311101) โดยศึกษาให้ละเอียดมากขึ้น ให้นักศึกษาสามารถสาธิตการใช้โครงสร้างภาษาที่เหมาะสมในสถานการณ์เฉพาะอย่างตามที่กำหนดไว้

        As a continuation of Introduction to English Grammar 1, this course deals with more detailed study. The language is of increasing linguistic complexity. Students are required to demonstrate the ability to use the language structures appropriately to specific situation.

รายวิชา 2311211 การพูดสื่อสาร 1

3(3-0-6)

  Oral Communication 1  

        นักเรียนจะได้ฝึกฝนการฟังและการพูดที่เป็นกิจวัตรประจำวัน รวมไปถึงความหลากหลายในรูปแบบการสนทนาตามสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นการพูดที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

        Students practice listening and speaking skills for everyday spoken discourse through a variety of functional situations. Formal and informal registers are included.

รายวิชา 2311212 การพูดสื่อสาร 2

3(3-0-6)

  Oral Communication 2  

        นักเรียนจะได้ฝึกฝนทักษะด้านการฟังและพูดเพื่อประโยชน์ในการใช้ติดต่อสื่อสารกันภายในสถาบันการศึกษาและการสมัครงาน การฟังจะเป็นการฟังเพื่อมุ่งเน้นการหาใจความหลักและการจดบันทึกการเรียน-การประชุมด้วย

        Students practice listening and speaking skills for communicative purposes through a variety of extended spoken discourse in academic and job related situations. Listening strategies include listening for gist, main idea and note-taking.

รายวิชา 2311231 การเขียนตามรูปแบบ

3(3-0-6)

  Guided Writing  

        ในคอร์สนี้จะแนะนำเกี่ยวกับการเขียนที่เป็นแบบฟอร์มต่าง ๆ ทางภาษาอังกฤษการตีความ วิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างของการเขียน (ทางธุรกิจ บัตรอวยพร ในประกาศ ใบปลิว และอื่น ๆ) ในคอร์สนี้ยังมุ่งเน้นในเรื่องของโครงสร้างที่ถูกต้องของไวยากรณ์ ภาษาอังกฤษทั้งในด้านการเขียน ซึ่งต้องการการตอบกลับทางจดหมาย

        This introductory writing course focuses on the production of practical forms of communicative language. The emphasis is on the basic stylistic features of a variety of written forms (business letters, postcards, publicity posters, and so forth). Grammar is studied within the context of the written form to which it corresponds.

รายวิชา 2312104 กลวิธีการอ่านอนุเฉท

3(3-0-6)

  Paragraph Reading Strategies  

        นักเรียนจะได้ฝึกการอ่านย่อหน้าของบทความ และวิเคราะห์บทความที่ได้อ่าน รวมทั้งศึกษากลวิธีในการอ่านเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สูงสุด รวดเร็วในการตีความ

        Students practice reading at the paragraph level from various sources with an emphasis on reading strategies to improve reading speed and comprehension.

รายวิชา 2312109 วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ 1

3(3-0-6)

  Morphology and Syntax 1  

        ในคอร์สนี้จะแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างภายนอกของคำ การหาหัวข้อเรื้องที่แตกต่างกันในประโยค การวิเคราะห์หากฎ และโครงสร้างที่ยึดถือในทฤษฎีทางภาษาศาสตร์จากเจ้าทฤษฎีสำนักต่างๆ

        This course introduces the study of the internal structure of words. Topics include the different ways words are formed and how words are used in sentences. The analysis of sentences using traditional and structural linguistic theories is presented.

รายวิชา 2312213 การพูดสื่อสาร 3

3(3-0-6)

  Oral Communication 3  

        นักเรียนจะได้ฝึกฝนการฟังและพูดที่ถูกเลือกบทสนทนาและเหตุการณ์และเหตุการณ์ มีการนำเสนอรูปแบบของการโต้วาทีและการรายงานผลหน้าชั้นเรียน อุปกรณ์พิเศษถูกนำมาใช้ช่วยในการฟังจากบริบท วิเคราะห์ตำแหน่งของคำที่ถูกใช้ในภาษาอังกฤษและสอดแทรกลักาณะคำพูดที่เป็นวัฒนธรรมท้องที่ต่าง ๆ ที่เจ้าของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก

        Students practice listening and speaking skills on selected topics through discussion, debate and presentation. Listening materials include authentic texts. Emphasis is placed on using English to convey local culture and knowledge to speakers of English.

รายวิชา 2312222 การอ่านเพื่อการตีความ

3(3-0-6)

  Reading for Interpretation  

        นักเรียนได้ฝึกฝนการอ่านการบริบทที่ยาวมากยิ่งขึ้นจากบทความทางวิชาการและบทความทั่วไป โดยในคอร์สนี้จะมุ่งเน้นที่การแสดงให้เห็นถึงการแสดงความคิดเห็นและความจริงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร การสนทนาที่มีลักษณะพิเศษ การระบุถึงวัตถุประสงค์ของผู้เขียน การหาความหมายโดยนัยจากบริบท และความเข้าใจถึงลักษณะพิเศษทางภาษา

        Students practice reading extended texts both from academic and non-academic sources. Special attention is given to differentiating fact from opinion, recognizing discourse markers, identifying the author's purpose, detecting implied meaning and understanding figurative language.

รายวิชา 2312304 วรรณคดีเบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Literature  

        Understanding of English literature especially pose and poetry. Study the definition of literature and feature of literariness of British, American, Asian and Thai literature and distinguish literary from non- literary language by introducing basic vocabulary and literary terms for perceiving and discussing literature through selected reading sample of poetry and prose, and eventually, express thoughts and ideas at written report. The course aims at teaching English skill through literature.

รายวิชา 2313105 การเขียนอนุเฉทภาษาอังกฤษ

3(2-3-4)

  Paragraph Writing  

        เน้นองค์ประกอบพื้นฐานในการเขียนข้อความระดับอนุเฉท โดยมีหัวข้อใจความสำคัญและรายละเอียดสนับสนุน มีการโยงประเด็นเพื่อแสดงความต่อเนื่องของความคิด ในการเพิ่มประเด็น การเรียงลำดับ การเปรียบเทียบ การยกตัวอย่างเหตุผลเป็นต้น

        This course focuses on the basic organisation of written text at paragraph level: topic, main idea and supporting details. Discourse markers are introduced to show the development of ideas in terms of addition, sequence, comparison, contrast, exemplification, cause and effect, and so on.

รายวิชา 2313201 การแปล 1

3(2-2-5)

  Translation 1  

        ศึกษาหลักเบื้องต้นในการแปล แปลไทยเป็นอังกฤษและอังกฤษเป็นไทย อย่างตามระบบ ตั้งแต่ระดับประโยคจนถึงระดับข้อความสั้น ๆ ฝึกแปลบทความ, ปาฐกถา และข้อมูลโฆษณาผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ วิธีทำต่าง ๆ

        This course introduces fundamental principles of translation. Students systematically practise translating English to Thai and Thai to English, from sentence level to short passages. Practical applications include the translation of articles, speeches and commercial descriptions of products, directions, etc.

รายวิชา 2313509 วัฒนธรรมของประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

  Culture in the English Speaking World  

        นักเรียนจะได้ศึกษาถึงพื้นฐานทางวัฒนธรรมภาษาของประเทศเจ้าของภาษาอังกฤษ โดยเทียบเคียงความเหมือนความต่างของวัฒนธรรมในการพูดติดต่อสื่อสาร

        Students examine the background culture of English speaking countries and their own cultural stereotypes to gain understanding of the similarities and differences between their own culture and that of English speaking countries. Conflicts in cross-cultural communication will be highlighted to enhance intercultural tolerance and awareness.

รายวิชา 1124703 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือและแบบทดสอบทางภาษา

3(2-2-5)

  Construction and Development of Language Tests and Tools  

        ในคอร์สการเรียนการรู้นี้จะแนะนำเรื่องของการทดสอบบทเรียนด้วยการใช้วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่มีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ว่าจะเป็นการออกแบบ และการหมุนเวียนการใช้เครื่องมือการทดสอบทางภาษา (มาตรฐาน บทเรียน กระบวนการ ความถูกต้องของคำตอบ การกำหนดรูปแบบของคำตอบให้มีความแม่นยำถูกต้อง ข้อสอบชนิดพิเศษ และข้อสอบทั่วไป) ศึกษาในด้านของกระบวนการที่สัมพันธ์กันระหว่างเครื่องมือและแบบทดสอบทางภาษา รวมถึง ความหลากหลายในกระบวนการทดสอบทางภาษา

        This course introduces language testing and tools, types of test purpose, the criterion, design, and the testing cycle (constraints, content, method, authenticity of response, fixed and constructed response formats, test specification, and test trial). The rating process and validation of language test.

                วิชาเอกภาษาอังกฤษ (เลือก)

รายวิชา 1123701 การสอนภาษาอังกฤษด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

   Instruction of English with Computers  

        เรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษด้วยการใช้คอมพิวเตอร์ ตามหัวข้อดังนี้ ข้อดีของคอมพิวเตอร์ ทฤษฎีเบื้องต้นของคอมพิวเตอร์ การสอนภาษาอังกฤษด้วยสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ ความแตกต่างของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการสอนภาษาอังกฤษด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การสื่อสารคอมพิวเตอร์

        The application of computers in language teaching and learning, overing the following topics: advantages of computers, basic principles of computers, application to language teaching, different types of programs, and software for teaching English.

รายวิชา 1123708

การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้สำหรับบทเรียนภาษาอังกฤษ

3(2-2-5)

  Developing of Learning Units for English Lessons  

        การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้สำหรับบทเรียนภาษาอังกฤษ การออกแบบโครงสร้างการสอน โครงสร้างของหน่วยเรียนที่เป็นมาตรฐาน (คามรู้พื้นฐาน ความรู้พื้นฐานด้านทักษะ สังคมและจริยธรรม) วิธีการสอนภาษาอังกฤษ) ทั้งนี้รวมถึงภาษาที่ใช้ในบทเรียนภาษาอังกฤษด้วย

        A study of English language curriculum, syllabus designs, learning-unit construction models (Knowledge Based, Skills-Based, Social/ Moral-Based, and Content Based) , English teaching models (Structural-type, Situational-type and Notional - functional type) , and language contents in English textbooks

รายวิชา 1124919

การศึกษาอิสระในการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ

3(2-2-5)

  Independent Studies in Learning Process of English  

        ทักษะทางด้านการวิจัยจะนำมาศึกษาในคอร์สนี้ นักเรียนจะมีความกล้าคิดและกล้าแสดงออกในเรื่องหัวข้อที่ตนสนใจ ซึ่งอาจจะเป็น โครงการพิเศษ งานที่ได้รับมอบหมายต่าง ๆ หรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่วางแผนการสอนไว้ก่อนแล้ว เพื่อให้เหมาะสมกับความสนใจในแต่ละรูปแบบที่นักเรียนถนัดและทางสถาบันการศึกษามีความต้องการด้วย โดยสามารถหาได้จากกแหล่งข้อมูลดังนี้ หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ผลงานวิจัย บทสัมภาษณ์ ประชาพิจารณ์แบบสอบถาม ฯลฯ

        Research skills are introduced to class. Students are encouraged to discuss educational topics which interest them. Special projects, assignments, or activities in teaching and learning are planned and undertaken by individual students under close supervision to fulfill each student’s academic need. Sources of information can be various: textbooks, journals, magazines, newspapers, Internet, research reports, interviews questionnaires, etc.

รายวิชา 2301103 ภาษาศาสตร์เบื้องต้น

2(2-0-4)

  Introduction to Linguistics  

        นักเรียนจะได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะทางภาษาศาสตร์และการเขียนบรรยายด้านวิชาภาษาศาสตร์ สัทธาสตร์ หน่วยเสียง หน่วยคำ โครงสร้างประโยค วากยสัมพันธ์ และปฏิบัตินิยม นักเรียนจะได้รับความรู้พื้นฐานเรื่องของสังคมทางภาษาศาสตร์ จิตวิทยาทางภาษา และการประยุกต์การใช้ในภาษาอังกฤษ

        Students learn the characteristics of language and descriptive linguistics: phonetics, phonology, morphology, syntax and pragmatics. Students receive grounding in interdisciplinary fields like sociolinguistics, psycholinguistics and applied linguistics.

รายวิชา 2303312 อรรถศาสตร์

3(2-2-5)

  Semantics  

        The study of patterns of meaning in language; a critical survey of theories and issues. In this course, we will examine meaning from a variety of perspective, including: how it is encoded in words and sentences, how native speakers interpret language, and how truth and falsehood can emerge from the complexity of the grammar. We will also touch on various aspects of pragmatics- the function of meaning in a communicative setting.

รายวิชา 2312107 การเขียนเชิงวิชาการ

3(2-3-4)

  Academic Writing  

        ฝึกเขียนงานที่เรียบเรียงตามองค์ประกอบที่ดี แสดงความคิดเห็นจากสังเกตการณ์ของงาน ทำความเข้าใจกับลักษณะภาษาเขียน โดยเน้นด้านศัพท์ วากยสัมพันธ์ และความต่อเนื่องของภาษาเขียนในตำรา สื่อประสม คู่มือ คำสั่งในห้องปฏิบัติการ วิธีใช้ วิธีทำต่าง ๆ ตลอดจนบทคัดย่องานวิจัย สามารถเขียนสรุปหัวข้อจากเรื่องที่อ่านได้ สามารถสืบค้นหัวข้อที่กำหนดให้จากห้องสมุดได้ จากแหล่งข้อมูลอย่างน้อย 4 ถึง 5 แหล่งมารวบรวมเขียนเป็นรายงานความยาว 300 ถึง 500 คำนั้นได้ ผลิตแผ่นพับนำเที่ยวได้มีแบบฝึกหัดจดบันทึก การเขียนย่อความและการเขียนอ้างอิงก่อนให้ทำรายงานจริง และย้ำในเรื่องความคงเส้นคงวาในรูปแบบที่ใช้ในแต่ละงานเขียน

        Practise in writing relatively well- organised objective papers based not on one’s opinions, but only on one’s observations. Understand specific feature of written English, with emphasis on lexis, syntax and discourse used in textbooks, multimedia, manuals, laboratory instructions, directions, research abstract. Write summaries of material, read to develop an idea or theme. Be able to research a topic in the library, collect information from four or five sources and combine the material into a single paper of 300 to 500 words. Produce travel brochure as suggested. Do exercises on note - taking, precis writing, making references are introduced as preparation before actual writing of the papers. Consistency of any formats concerned must be emphasized.

รายวิชา 2312110 วจีวิภาคและวากยสัมพันธ์ 2

3(3-0-6)

  Morphology and Syntax 2  

        ในคอร์สนี้จะขยายความรวมไปถึงขอบข่ายของโครงสร้างแบบลึกของไวยากรณ์ที่ต้องนำเอาประโยคในหลากรูปแบบมาวิเคราะห์ในด้านของตัวเชื่อม ที่มีผลต่อประโยคและการติดต่อสื่อสาร

        This course extends and refines both theoretical and practical aspects of the generative-transformational syntax to account for various types of English sentences. It also analyzes the ways in which word combinations and word order affect communication.

รายวิชา 2312403 ร้อยแก้วภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

  Prose  

        เป็นองค์ประกอบพื้นฐานในเรื่องร้อยแก้วภาษาอังกฤษโดยการอ่าน การสนทนาและการวิเคราะห์โดยเลือกจากการวิเคราะห์คำพูด เรียงคาม ประวัติบุคคล วรรณกรรมเรื่องสั้น และบทละคร เป็นต้น

        Students study elements of fiction and examine prose through reading, iscussing and analyzing selected speeches, essays, biographies, novels, short stories and plays.

รายวิชา 2313108 ภาษาศาสตร์จิตวิทยาเบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Psycholinguistics  

        ในคอร์สนี้จะแนะนำเกี่ยวกับภาษาศาสตร์จิตวิทยา กับการวิเคราะห์วิวัฒนาการทางภาษาของมนุษย์และการเรียน – การสอนภาษาอังกฤษฐานะเป็นภาษาที่ 2 และเรียนรู้ถึงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ทางด้านสังคม ทั้งด้านภูมิสำเนามีผลต่อการพูดของมนุษย์อย่างไร ?

        This course introduces psycholinguistics with special emphasis on the discussion of language acquisition and second language teaching and learning. Neurological and sociological factors in language acquisition, as well as causes and rehabilitation of speech disorders are included.

รายวิชา 2313109 ภาษาศาสตร์สังคมวิทยาเบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Sociolinguistics  

        คอร์สนี้เป็นคอร์สแนะนำพื้นฐานขอบข่ายของภาษาในสังคมในสังคม ด้วยบริบทที่เกี่ยวข้องกับสังคม ประเด็นหลักคือสังคมที่ผลต่อปัจจัย ดังนี้อย่างไร ได้แก่ เพศ อายุ ชนชั้นทางสังคม อาชีพ และลักษณะการพูดที่แตกต่างกัน

        This course is an introduction to the basic concepts of language in its social contexts. The main focus is on the influence of social factors like gender, age, social class, occupation and speech style on variation and change.

รายวิชา 2313112 วัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Pragmatics  

        ในคอร์สนี้แนะนำเกี่ยวกับแนะทฤษฎีของวัจนปฏิบัติศาสตร์เบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ด้านความแตกต่างของวัฒนธรรม และบทบาททางสังคมของทั้งผู้ฟังและผู้พูด

        This course introduces the concepts of pragmatics, especially the awareness of the differences of cultures and social roles of the listener and speaker.

รายวิชา 2313214 การนำเสนอ 1

3(3-0-6)

  Oral Presentation 1  

        ในคอร์สนี้แนะนำเกี่ยวกับองค์ประกอบการนำเสนอรวมถึงเทคนิคการใช้ภาษาท่าทาง อาจจะด้วยสายตาและเสียง นักเรียนทำการนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดให้

        This course introduces effective presentation components and techniques including the use of posture, eye contact, gesture and voice inflection. Students make presentations on selected topics.s.and audience questions. Students deliver a variety of presentations within academic, social and business contexts.

<
รายวิชา 2313218 การแปล 2

3(2-2-5)

  Translation 2  

        เป็นรายวิชาต่อเนื่องกับการแปล 1 โดยศึกษาหลักการและเทคนิคการแปลไทยเป็นอังกฤษ และอังกฤษเป็นไทยที่ยากและซับซ้อนขึ้น ยาวขึ้น ทั้งข้อความและบทความหลากหลายรูปแบบภายใต้บริบททางวิชาการและอาชีพ และให้โอกาสเลือก แปลหัวข้อที่นักศึกษาเองมีความสนใจ

This course is the continuation of Translation 1 and aims to introduce more difficult and complex principles and techniques of translation with focus on translating English to Thai and Thai to English. Practical application include more complex, difficult and longer passages and articles in various styles and contexts mainly used in academic fields of study and careers. Students are allowed to have choice of translation their interesting topics.

รายวิชา 2313223 การอ่านเพื่อความคิดเห็นและเจตคติ

3(3-0-6)

  Critical Reading  

        นักเรียนจะได้อ่านประเภทของบทความที่หลากหลายในหน้าหนังสือพิมพ์ โฆษณา บทบรรณาธิการและการวิพากษ์วิจารณ์ ที่ต้องแสดงความคิดเห็นและทัศนคติของผู้เขียน

        Students read a variety of texts including newspaper articles, advertisements, editorials, and critical reviews to determine and make comments on the opinions and attitudes of the writer

รายวิชา 2313233 การเขียนเรียงความ

3(3-0-6)

  Essay Writing  

        คอร์สนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับโครงสร้างทางภาษาของบทร้อยแก้ว โดยเฉพาะการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น บทสนทนาและกระบวนการทางความคิดที่สามารถปฏิบัติให้เห็นจริงได้ ทั้งนี้รวมถึง วิธีการเขียน บทสรุปและการเขียนย่อหน้าด้วย

        This course examines the structural, stylistic and rhetorical features of the essay with special attention to the organization of ideas, discourse features, and the logical progression of thought. Outlining, note taking, summary writing and paraphrasing are included.

รายวิชา 2313404 ร้อยกรองภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

  Poetry  

        นักเรียนจะได้ศึกษาประเภทของร้อยกรองที่แตกต่างกันในด้านรูปแบบและศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบร้อยกรองด้วยการวิเคราะห์และวิจารณ์

        Students study different types of poetry concentrating on content and form. Elements of poetry are provided as tools for analysis and criticism.

รายวิชา 2313405 เรื่องสั้นภาษาอังกฤษ

3(3-0-6)

  Short Stories  

        ในคอร์สนี้จะเป็นการวิเคราะห์และวิจารณ์การเรียนภาษาอังกฤษด้วยเรื่องสั้นมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยดังนี้ รายละเอียดเนื้อเรื่อง ตัวละคร ฉาก ความคิดเห็นข้อขัดแย้ง

        This course is an analytical and critical study of English language short stories focusing on the elements of fiction: plot, characterization, setting, point of view, irony and theme.

รายวิชา 2313407 วรรณกรรมร่วมสมัย

3(3-0-6)

  Contemporary Literary Works  

        นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของภาษาวรรณคดีสมัยใหม่ และการแปลภาษา โดยการตีความตามรูปแบบการวิจารณ์วรรณคดีและงานด้านวรรณกรรมที่มีแนวความคิดเกี่ยวเนื่องกับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทั้งนี้ ยังสามารถพัฒนาและวิจารณ์วรรณกรรมได้ด้วยการอ่าน

        Students learn significant modern English language literary works and those from various languages translated into English to comprehend their literary styles, the social and cultural concepts reflected in those works, and to develop analytical and critical reading skills.

รายวิชา 2313410 วรรณกรรมเอเชีย

3(3-0-6)

  Asian Literature  

        นักเรียนจะได้อ่านและวิเคราะห์งานด้านวรรณกรรมที่เป็นงานเขียนและถอดคามจากนักเรียนชาวเอเชีย รวมถึงนักเรียนสมัครเล่น เพื่ออ่านจับใจความที่แสดงถึง ผลกระทบของงานทางวัฒนธรรมและเป็นการฝึกทักษะการอ่านอีกด้วย

        Students read analytically and critically selected literary works written in or translated into English by remarkable Asian writers, including local writers to get a deeper and broader views of Asian cultures reflected in those works and to consolidate their reading skills.

รายวิชา 2313502 การจัดห้องเรียนสำหรับครูภาษา

3(3-0-6)

  Classroom Management for Language Teachers  

        ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอนบทเรียนภาษาอังกฤษ โดยเน้นการใช้ภาษาอังกฤษตลอดบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ในการอธิบายความหรือขยายความทางภาษา การตั้งคำถาม การออกคำสั่ง การจัดห้องเรียน การควบคุมห้องเรียน การให้ข้อมูลย้อนกลับในการเรียนการสอน

        A study of the language of classroom discourse leading to practical training in teaching an English lesson entirely through the medium of the target language for all levels; metalanguage techniques and questioning techniques; display and instruction and interaction; signaling and organization through the medium of English for class or group responses; controlling and monitoring group and pair work; feedback/report sessions on group work through the medium of English.

รายวิชา 2313510 ไทยศึกษา

3(3-0-6)

  Thai Studies  

          คอร์สนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ชาติไทย วัฒนธรรม ประเพณีไทย ศาสนา และความเชื่อ ศิลปะการเมืองการปกคอรง การศึกษาและเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงการวิเคราะห์ลักษณะของวัฒนธรรมไทยที่เชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่น ๆ

        The course examines Thai geography, history, culture, tradition, religion and beliefs, arts, politics, education and economy with emphasis on the unique characteristics of the Thai cultural heritage. Current events and relevant local knowledge are also examined.

รายวิชา 2313708 การอภิปรายและการโต้วาที

2(1-3-2)

  Discussion and Debate  

        ศึกษาหลักการและเทคนิคในการอภิปรายและโต้วาทีโดยใช้ภาษาอังกฤษ ฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มในการอภิปรายและโต้วาที

        A study of principles and techniques of discussions and debates in English. Group practice in performing panel discussions as well as debates.

รายวิชา 2313904 ค่ายภาษาเพื่อพัฒนาทักษะ

2(90)

  Skills Development through English Camp  

        รายวิชานี้เน้นการพัฒนาด้านภาษา โดยจัดนอกห้องเรียนด้วยบรรยากาศที่ผ่อนคลาย นักศึกษามีโอกาสในการเรียนเพื่อจัดตั้งค่าย (ปฐมนิเทศ กิจกรรมแค้มป์ การประเมินผล และการติดตามผล รวมทั้งการฝึกปฏิบัติ) และฝึกภาษาอังกฤษตามธรรมชาติในสถานการณ์จริงกับเจ้าของภาษา นักศึกษาจะได้รับและเพิ่มพูนทักษะทางภาษาอังกฤษด้วย การปฏิบัติจริง และการให้ความตระหนักกับวัฒนธรรม

        This course focuses on language development outside the classroom in a free and relaxed atmosphere. Students have an opportunity to learn how to organize camps (orientation, camping, assessment and follow-up as well as practice) , and to practice their English with native and non-native speakers in a natural and realistic setting. In this English saturated atmosphere, the students will gain and increase English skills through language practices and cultural awareness.

รายวิชา 2314111 ภาษาศาสตร์ประยุกต์

3(3-0-6)

  Applied Linguistics  

        คอร์สนี้ศึกษาเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่แนะนำถึงองค์ประกอบของภาษาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการแปล การใช้คำศัพท์ภาษาถิ่น และที่เกี่ยวกับการพูดในการติดต่อสื่อสาร ที่สามารถประยุกต์ใช้กับการสอนภาษาอังกฤษ

        This course explores the fields of applied linguistics with an introduction to the application of linguistics to the fields of translation, lexicography, dialectology, computational linguistics and speech disorder communication. Emphasis is on how linguistic sub-fields can be applied to the study or the teaching of English.

รายวิชา 2314112 การวิเคราะห์สัมพันธสารเบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Discourse Analysis  

        ในคอร์สนี้แนะนำเกี่ยวกับแนวความคิดพื้นฐานในการวิเคราะห์คำพูด ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูด

        This course introduces the basic concepts of discourse analysis, both in spoken and written forms.

รายวิชา 2314309 วรรณคดีสำหรับเด็ก

3(3-0-6)

  Children’s Literature  

        A general survey and critical study of children literature including folklore, fairy tales, riddles, lullabies, nursery rhymes, children’s poetry and stories. Study of the major elements of children’s literature and modern fairy tales.

รายวิชา 2314406 เทวตำนานและคติชนวิทยา

3(3-0-6)

  Mythology and Folklore  

        นักเรียนสำรวจความเชื่อ และความลี้ลับของวรรณคดีตะวันตก เพื่อการอ่าน จากเรื่องเล่าโบราณ

        Students survey the myths and folklore in western literature focusing on classical mythology and biblical background.

รายวิชา 2314408 นวนิยายสมัยใหม่

3(3-0-6)

  Modern Novels  

        นักเรียนจะได้ศึกษานวนิยายจากประเทศอังกฤษและอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน โดยเน้นองค์ประกอบของนวนิยายในเรื่องรายละเอียดเรื่อง ความคิดเห็น ตัวละคร โครงสร้าง ฉากและการวิจารณ์นวนิยายสมัยใหม่

        Students study British and American novels from 1900 to the present. The major elements of a novel - plot and setting, narrator and point of view, characters and characterization, style, structure and theme - are provided as tools for the novel analysis and criticism.

รายวิชา 2314409 นวนิยายและสังคม

3(3-0-6)

  Novels and Society  

        เป็นการศึกษาและวิเคราะห์นวนิยายจากสังคม มีพื้นฐานการศึกษาจากผู้เขียน และระยะเวลาร่วมสมัยของนวนิยาย ที่มีอิทธิพลต่อสังคม

        Realistic novels are studied analytically to extract their view of society. Background studies of the authors and their time period are used to understand the influences behind the selected works.

รายวิชา 2314411 วรรณกรรมสตรี

3(3-0-6)

  Feminism and Feminist Literature  

        นักเรียนจะได้ศึกษางานเขียนของผู้แต่งเพศสตรีจากหลากหลายวัฒนธรรมและสถานภาพทางสังคมที่แตกต่างกันของผู้แต่งและรวมถึงการวิจารณ์วรรณกรรมด้วย

        Students examine selected works by female authors from various cultures to comprehend attitudes to women’s roles and social status as well as the author’s responses to those concepts. Literary criticism is included.

รายวิชา 2314412 การเรียนภาษาด้วยการแสดง

3(2-2-5)

  Language Learning through Drama  

        This course aims at improving students’ abilities to speak English naturally with application of dramatic techniques. Revision of English pronuciation is necessary. Students will have to act in provided dialogues, scenes and plays as well ad those created by their groups.

รายวิชา 2314413 ละครสมัยใหม่

3(3-0-6)

  Modern Drama  

        ในคอร์สนี้ นักเรียนจะต้องเลือกการเขียนละครสมัยใหม่ของชาวอังกฤษและชาวอเมริกัน

        This course exposes students to selected modern plays written by British and American playwrights.

รายวิชา 2314414 ละครก่อนยุคศตวรรษที่ 20

3(3-0-6)

  Drama before the 20th century  

        นักเรียนศึกษาการอ่านที่หลากหลายในช่วง ค.ศ. 1900 โดยเน้นหนักถึงผลกระทบที่มีต่อการละครและการประสบความสำเร็จของละครเวที

        Students read plays of various styles and periods up to the 1900, with a focus on how dramatic effects are achieved on stage.

        3.5 วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา

                วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา (บังคับ)

รายวิชา 2313704 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3(3-0-6)

  English for Technology  

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟังและการพูดที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของนักศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อมข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4311103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึม

3(2-2-5)

  Computer Programming and Algorithm  

        ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอัลกอริทึม องค์ประกอบและหน้าที่ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ หลักการเขียนโปรแกรมและการทำงานของโปรแกรมขั้นตอน การเขียน และการพัฒนาโปรแกรม การเขียนผังงานการวิเคราะห์ และการออกแบบอัลกอริทึมแบบ Sequential decision, repetitions, modular, recursion

รายวิชา 4311201 การประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล

3(2-2-5)

  Data and File Processing  

        ความหมาย วิวัฒนาการและหลักการประมวลผลข้อมูล ชนิดและหน้าที่ของหน่วยความจำสำรอง การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ การจัดระเบียบแฟ้มข้อมูล ความหมายลักษณะและชนิดของแฟ้มข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลการค้นหาและการจัดการแฟ้มข้อมูล เป็นต้น

รายวิชา 4311401 ระบบปฏิบัติการ

3(2-2-5)

  Operating Systems  

        ศึกษาหลักการพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ ชนิดของระบบดำเนินงาน ขบวนการ การโปรแกรมขนาน การติดต่อแบบได้จังหวะ บริเวณวิกฤต ซีมาฟอร์ ล็อคถาวร ระบบการจัดแฟ้มข้อมูล การป้องกันทรัพยากรหน่วยความจำโดยตรง หน่วยความจำแคชและหน่วยความจำเสมือน

รายวิชา 4311402 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Data Communications and Computer Networks  

        ศึกษาทฤษฏีและเทคโนโลยีที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย การส่งข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูลและการควบคุมความผิดพลาด อุปกรณ์ทางด้านการสื่อสาร สื่อกลาง มาตรฐานระบบเปิด พื้นฐานอินเตอร์เน็ทและทีซีพี/ไอพีโปรโตคอล เทคโนโลยีของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้และระยะไกล

รายวิชา 4312101 การจัดการโครงการ

3(2-2-5)

  Project Management  

        ศึกษากระบวนการจัดการโครงการซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสำเร็จ โดยเน้นขั้นตอนการวางแผน และควบคุมโครงการ การควบคุมต้นทุน การควบคุมกำหนดการ การจัดสรรทรัพยากร การประสานประโยชน์ในระหว่างผู้เกี่ยวข้องโครงการ ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ ที่มีผลต่อโครงการ การแข่งขันเพื่อให้ได้โครงการกระบวนการจัดทำสัญญาว่าจ้างในธุรกิจอุตสาหกรรม และหน่วยงานราชการ ในฐานะ ผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง

รายวิชา 4312201 ระบบฐานข้อมูล

3(2-2-5)

  Database System  

        ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูล เป้าหมายของระบบจัดการฐานข้อมูล ความไม่พึ่งพิงของข้อมูล บูรณภาพและความเชื่อถือได้ การจัดองค์การเชิงตรรกะและเชิงกายภาพ เค้าร่างและเค้าร่างย่อย ตัวแบบข้อมูลเชิงลำดับชั้น เชิงข่ายงาน และเชิงสัมพันธ์ บรรทัดฐานข้อมูล ภาษานิยามข้อมูลพจนานุกรมข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การจัดแฟ้ม ข้อมูล ความปลอดภัยของแฟ้มข้อมูล ระบบการสำรอง ข้อมูลและการเรียกคืน การวิเคราะห์ออกแบบข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล

รายวิชา 4312402 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

3(2-2-5)

  System Analysis and Design  

        หลักการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ระบบ และการวางแผนแก้ปัญหา ขอบข่ายของการวิเคราะห์ การตรวจสอบระบบ ศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์รายละเอียดระบบที่ใช้ใหม่กับระบบเดิมการออกแบบการนำข้อมูลเข้าและข้อมูลออก การออกแบบแฟ้มข้อมูล เอกสารระบบงาน การทดสอบระบบที่ออกแบบ และการนำไปใช้รวมถึงการแก้ไขและบำรุงรักษา การทำผังระบบการสื่อสาร

รายวิชา 4312601 การออกแบบวงจรดิจิตอล

3(2-2-5)

  Digital Circuit Design  

        ศึกษาเกี่ยวกับระบบเลขฐานต่างๆ ลอจิกเกต โครงสร้างของวงจรรวมประเภททีทีแอล และซีมอส คณิตศาสตร์ของ บูลีน และกฏของดิมอร์แกน การวิเคราะห์วงจรคอมบิเนชั่น การลดตัวแปรในฟังก์ชัน วงจรมัลติเพล็กซ์ ดีมัลติเพล็กซ์ ดีโค้ดเดอร์ เอ็นโค๊ดเดอร์และคอมพาราเตอร์ วงจรโมโนสเตเบิ้ล และสัญญาณนาฬิกาฟลิปฟลอป วงจรนับ และชิฟรีจิสเตอร์แบบต่างๆ วงจรพื้นฐานการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลและแอนาล็อกและการนำไปใช้งาน โครงสร้างและการใช้งานหน่วยความจำแบบต่างๆ ปฏิบัติทดสอบวงจรลอจิกเกต วงจรคอมบิเนชัน วงจรมัลติเฟล็กซ์ ดีมัลติเฟล็กซ์ ดีโค้ดเดอร์เอ็นโค้ดเดอร์ คอมพาราเตอร์โมโนสเตเบิ้ล สัญญาณนาฬิกา วงจรฟลิปฟลอป วงจรนับและรีจิสเตอร์ วงจรพื้นฐานการเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลและแอนาล็อก วงจรหน่วยความจำ

รายวิชา 4312602 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Computer Architecture  

        ศึกษาลักษณะของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ผลกระทบที่มีต่อการออกแบบและขีดความสามารถของระบบการประเมินราคาต่อขีดความสามารถ โครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลาง วัฏจักรคำสั่ง สถาปัตยกรรมชุดคำสั่ง ภาษาเครื่องและภาษาแอสเซมบลี ไปป์ไลน์ การขัดจังหวะ ระบบอินพุต/เอาต์พุต ลำดับขั้นของหน่วยความจำ การทำงานแบบสายท่อ เวกเตอร์ และรูปแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

รายวิชา 4312607 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการศึกษา

3(2-2-5)

   Software Package for Education  

        ศึกษาพัฒนาการ แนวคิด โครงสร้างการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของไมโครคอมพิวเตอร์ และ การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในวงการศึกษา ฝึกปฏิบัติการออกแบบและผลิตผลงานจากโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการบริการจัดการ เช่น ตัดเกรด จัดทำฐานข้อมูล ครู เป็นต้น

รายวิชา 4312701 เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

3(2-2-5)

  Multimedia Technology  

        ศึกษาถึงการออกแบบงานทางด้านกราฟิกด้วยซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ รวมไปถึงงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบมัลติมีเดีย

รายวิชา 4313401 โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึ่ม

3(2-2-5)

  Data Structure and Algorithm  

        ศึกษาโครงสร้างการเก็บข้อมูลแบบแสตก คิว ลิงค์ลิส ทรี กราฟ ตารางแฮช เทคนิคการจัดเรียง และการค้นหาข้อมูล การออกแบบและการวิเคราะห์อัลกอริทึม หลักพื้นฐานการจัดการหน่วยความจำ

รายวิชา 4313614 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3(2-2-5)

  Computer – Assisted Instruction  

        ศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นตอนการออกแบบและประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิธีการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ใน การเรียนการสอน การสร้างโปรแกรมหรือการนำโปรแกรมสำเร็จมาพัฒนาการเรียนการสอน

รายวิชา 4313627 เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

3(2-2-5)

  Computer Network in Education  

        ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีและอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย การเชื่อมโยงเครือข่าย การบริหารทรัพยากรเครือข่าย การรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การใช้เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์กับการศึกษา

รายวิชา 4313703 การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

  E-learning  

        ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอิเลิร์นนิง (e-learning) เช่นประวัติของเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ ความหมายและประโยชน์ของอีเลิร์นนิง รากฐานของอีเลิร์นนิง การจัดการความรู้ (Knowledge management) ระบบบริหารจัดการรายวิชา (LMS) การออกแบบการสอนสำหรับอีเลิร์นนิง การออกแบบเว็บ การเลือกเครื่องมือ

รายวิชา 4313901 สัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์

2(1-2-3)

  Seminar in Computer Science  

        ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดสัมมนาเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ศึกษาผลงานหรือเข้ารับฟังบรรยายวิชาการเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาสัมมนา

รายวิชา 4313905 โครงงานพิเศษสำหรับคอมพิวเตอร์ศึกษา

3(0-6-3)

  Special Project in Computer Education  

        ปัญหาทั่วไปและปัญหาเฉพาะเรื่องเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา การเขียนผังงานเพื่อแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งหรือหลายภาษาเพื่อใช้งานหรือแก้ปัญหานั้น ตลอดจนการทำโครงการพิเศษทางคอมพิวเตอร์ศึกษา

รายวิชา 4314701 ระบบบริหารจัดการรายวิชาด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

  Learning Management System for Electronic media  

        ศึกษาทฤษฎีการออกแบบระบบการเรียนการสอน การจัดการด้านหลักสูตรการติดตาม การประเมินผลการเรียนการสอน ศึกษาการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning) และการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) บนระบบเครือข่าย ฝึกปฏิบัติออกแบบและสร้างบทเรียน หลักสูตร online โดยใช้โปรแกรม เช่น Moodle, Blackboard, Web CT, Chula Online และอื่น ๆ

                วิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา (เลือก)

รายวิชา 4311302 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Computer Programming  

        ศึกษาการพัฒนาและการสร้างโปรแกรมด้วยภาษาชั้นสูง การออกแบบโครงสร้างของโปรแกรมที่ดี การจัดทำเอกสาร การตรวจสอบการทำงานของโปรแกรม การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม

รายวิชา 4312104 การใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียน

3(2-2-5)

  Using Computer in School  

        การศึกษาวิเคราะห์และจัดระบบใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนให้เหมาะสมทั้งด้านการบริหาร การบริการและการเรียนการสอน ศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนคอมพิวเตอร์และศึกษา

รายวิชา 4312301 การเขียนโปรแกรมสำหรับเว็บ

3(2-2-5)

  Web Programming  

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บ และโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การเขียนภาษาสคริปต์ การเขียนโปรแกรมด้านลูกข่าย การเขียนโปรแกรมด้านแม่ข่าย ระบบฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต การสร้างเว็บไซต์ในการทำธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ต่างๆ

รายวิชา 4312302 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ

3(2-2-5)

  Computer Programming in Business  

        ศึกษาการประยุกต์คอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ สภาวะแวดล้อมของธุรกิจ รายการข้อมูลธุรกิจ การประยุกต์ทางการบัญชี และระบบข่าวสารทางบัญชี การจ่ายเงินเดือน บัญชีรายจ่าย บัญชีรายรับ การแจ้งหนี้สิน บัญชีแยกประเภท วัสดุและการควบคุมการปฏิบัติงาน การออกใบสั่งของ การควบคุมสินค้าคงคลังและการคาดคะเน การจัดซื้อ การวิเคราะห์ การขาย การประยุกต์กับงานธุรกิจและธนาคาร

รายวิชา 4312604 โปรแกรมสำเร็จรูปและการประยุกต์ใช้งาน

3(2-2-5)

  Software Package and Application  

        โครงสร้าง วิธีการใช้ รวมทั้งการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ในปัจจุบันประเภทต่าง ๆ เช่น ระบบฐานข้อมูล เวิร์ดโปรเซสเซอร์ สเปรดชีต การนำเสนอ ฯลฯ

รายวิชา 4312605 โปรแกรมประยุกต์ด้านเส้นภาพและภาพประกอบ

3(2-2-5)

  Programming Application in Graphics and Picture  

        หลักการเขียนกราฟ รูปเรขาคณิตและโทโพโลยีรูปหลายเส้นแผนภูมิทางสถิติภาพการ์ตูน ภาพเคลื่อนไหวการออกแบบโปรแกรมเขียนภาพอย่างง่าย และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านภาพและภาพประกอบ

รายวิชา 4312606 b>โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

3(2-2-5)

  Programming Application in Management Information System  

        ข้อมูลเพื่อการบริหาร เช่น หลักการด้านข้อมูล การจัดระบบข้อมูล การจัดองค์การ การวัดผลและการประเมินผล การจัดทำรายงาน ฝึกเขียนโปรแกรม และการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

รายวิชา 4312702 ภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Computer Animation  

        ศึกษาการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านกราฟิกที่เหมาะสมเพื่อสร้างโมเดลสามมิติ ภาพเคลื่อนไหว โดยรวมถึงโมเดลขั้นต้น โดยใช้รูปหลายเหลี่ยมและรูปทรงพื้นฐาน เช่น กล่อง ทรงกลม การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรมสำเร็จรูปใน การใส่ลายผิว การใส่แสง มุมกล้อง การทำภาพเคลื่อนไหว และการเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับงานการออกแบบสามมิติ

รายวิชา 4312704 การออกแบบเว็บเพจ

3(2-2-5)

  Web Page Design  

        ศึกษาหลักการและขั้นตอนพื้นฐานในการออกแบบเว็บเพจ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการสร้างเว็บเพจ รวมถึงการพัฒนาเว็บไซต์

รายวิชา 4312903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Special Topics in Computer  

        ปัญหาหรือความก้าวหน้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในงานเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อสนเทศและข้อมูล ซอฟต์แวร์ ทฤษฎีและการคำนวณ ระบบวิธีการ การประยุกต์ใช้งานฮาร์ดแวร์และ ระบบเครื่อง เป็นต้น

รายวิชา 4313102 การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3(2-2-5)5)

  Designing of Computer–Assisted Instruction  

        ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์บทเรียนคอมพิวเตอร์รูปแบบต่างๆ ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ใช้ระบบนิพนธ์ บทเรียน(Authoring systems) ทดลองสร้างและใช้บทเรียน รวมทั้งหาประสิทธิภาพของบทเรียน

รายวิชา 4313203 ระบบการจัดการฐานข้อมูล

3(2-2-5)

  Database Management System  

        ทบทวนความรู้เรื่องฐานข้อมูลสถาปัตยกรรมข้อมูล แบบจำลองของฐานข้อมูลรูปแบบฐานข้อมูล การใช้ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง ฯลฯ ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล การประยุกต์ linked list ความสัมพันธ์ระหว่าง record ในฐานข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การใช้คีย์ต่าง ๆ ในการประมวลผล การป้องกันข้อมูล ระบบการสำรวงข้อมูลและการเรียกคืน การวิเคราะห์ออกแบบข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล

รายวิชา 4313305 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ชั้นสูง

3(2-2-5)

  Advanced Programming Language  

        หลักการเกี่ยวกับองค์ประกอบและลักษณะคำสั่งและการเขียนโปรแกรมภาษาชั้นสูงอื่นๆ หลักการเขียน รูปแบบไวยกรณ์ ภาษาคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบและลักษณะคำสั่งการเขียนโปรแกรมภาษาชั้นสูง เพื่อพัฒนาเป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับใช้งานด้านต่าง ๆ

รายวิชา 4313402

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบแบบกระจาย

3(2-2-5)

 

Network and Distributed System

 

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบกระจาย ขั้นตอนวิธี การออกแบบระบบประมวลผลแบบแบบกระจาย การออกแบบระบบปฏิบัติการแบบกระจาย ระบบสารสนเทศแบบกระจาย มิดเดิลแวร์ เช่น โอดีบีซี คอร์บา ไอไอออร์บ

รายวิชา 4313403 คอมพิวเตอร์กราฟิก

3(2-2-5)

  Computer Graphics  

        ศึกษาทฤษฎีและเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิกในเรื่องจุด เส้นตรงและรูปเรขาคณิต ส่วนของภาพหน้าต่างและการตัดรูปในกรอบ การแปลงภาพแบบสองมิติและสามมิติ กราฟิกในระบบโฮโมจีเนียส ทฤษฎีการลงสี แสง และการแลเงา การสร้างภาพเคลื่อนไหว พื้นฐานการแสดงภาพกราฟิกแบบเวกเตอร์ และแรสเตอร์ และหัวข้อต่างๆ ทางกราฟิก

รายวิชา 4313406 โปรแกรมควบคุมระบบ

3(2-2-5)

  System Programming  

         ด้านฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุมระบบ ชุดคำสั่งโครงสร้าง หน่วยนำข้อมูลเข้า – ออกและอินเตอร์รัพท์ การจัดตำแหน่งข้อมูล ไมโครโปรแกรมมิง การจัดหน่วยความจำ การเขียนโปรแกรมภาษาเพื่อควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แบบต่าง ๆ

รายวิชา 4313601 ไมโครโพรเซสเซอร์

3(2-2-5)

  Microprocessor  

        ศึกษาประวัติของไมโครโพรเซสเซอร์ โครงสร้างหน่วยความจำ ขนาดของคำในหน่วยความจำ แอดเดรสของหน่วยความจำ การแปลเนื้อหาของคำในหน่วยความจำ การแปลรหัสข้อมูลฐานสอง รหัสตัวอักขระ รหัสคำสั่ง รีจิสเตอร์ของซีพียู การใช้งาน รีจิสเตอร์ของซีพียู หน่วยกระทำคณิตศาสตร์ และลอจิก หน่วยควบคุมแฟลกสถานะ การเอกซีคิ้วคำสั่ง การส่งข้อมูลภายในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ การโปรแกรมอินพุต/เอาต์พุตการอินเตอร์รัพท์ ระบบ ดีเอ็มเอ ระบบบัส พื้นฐานการโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี การอ้างแอดเดรสแบบต่าง ๆ ชุดคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมให้ไมโครโพรเซสเซอร์ติดต่อกับหน่วยความจำและอุปกรณ์ภายนอกเบื้องต้น และการประยุกต์ใช้งานอื่นๆ

รายวิชา 4313603 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย

3(2-2-5)

  Application for Statistics and Research  

        การคำนวณและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการคำนวณค่าร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับเฉลี่ย ค่าสัดส่วน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดความสัมพันธ์ การวัดความเชื่อมั่น และเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสองทาง การทดสอบนอนพาราเมตริก เช่นไคสแควร์ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัย

รายวิชา 4313604 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบงานห้องสมุด

3(2-2-5)

  Application for Libraries  

        งานห้องสมุด ดัชนีรายชื่อหนังสือ ดัชนีผู้แต่ง ดัชนีหัวเรื่องการจัดหมวดหนังสือ การยืม การส่งหนังสือและระบบงานห้องสมุดต่าง ๆ ฝึกเขียนโปรแกรมและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับงานห้องสมุด

รายวิชา 4313605 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี

3(2-2-5)

  Application for Finance and Accounting  

        ข้อมูลทางด้านการเงินและการบัญชี เช่น บัญชีเงินเดือน บัญชีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ บัญชี สินค้า คงคลัง บัญชีวิเคราะห์ต้นทุนบัญชีต้นทุนบัญชีต้นทุนการผลิต ตามคำสั่ง บัญชีเพื่อการวิเคราะห์การเงิน การเขียนโปรแกรมประยุกต์และการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานนี้

รายวิชา 4313606 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคล และการจ่ายเงินเดือน

3(2-2-5)

  Application for Personal Record and Payroll  

        ข้อมูลพื้นฐานทางด้านทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน เช่น ประวัติบุคคลการบันทึกเวลาเข้า–ออก การคำนวณค่าล่วงเวลา การจัดทำเงินเดือน และการออกแบบรายงานผลทางด้านนี้ ฝึกเขียนโปรแกรมและนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานด้านนี้ได้

รายวิชา 4313607 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนและวัดผลในสถานศึกษา

3(2-2-5)

  Application for School Registration and Records  

        เกี่ยวกับการจัดตารางสอน ตารางสอบ การวางแผนการเปิดวิชา การลงทะเบียนวิชาเรียน การตรวจข้อสอบ การวัดและการประเมินผล การแจ้งผลการเรียน และการฝึกเขียนโปรแกรมตลอดจนการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ให้เหมาะสมกับงาน

รายวิชา 4313608 โปรแกรมประยุกต์ด้านการบริหารในสถานศึกษา

3(2-2-5)

  Application for School Administration  

        การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารสถานศึกษา เช่น การลงทะเบียนนักศึกษา ระบบบุคลากร ระบบควบคุมพัสดุครุภัณฑ์ ระบบควบคุมงบประมาณ

รายวิชา 4313609 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ

3(2-2-5)

  Application for General Affairs  

        การทำงานในสำนักงานเกี่ยวกับโครงสร้างการเก็บเอกสารเครื่องมือ เพื่อจัดให้เข้าระบบงานคอมพิวเตอร์ และการจัดทำเอกสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์

รายวิชา 4313610 โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

  Application for Science and Mathematics  

        โปรแกรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น อันดับและอนุกรม การจัดหมู่ การจัดลำดับ ความน่าจะเป็น ทฤษฎีบททวินาม ฟังก์ชัน การแก้สมการ เวคเตอร์ ความเร็ว ความเร่งเรขาคณิตวิเคราะห์ และแคลคูลัสเบื้องต้น ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเนื้อหาวิชาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

รายวิชา 4313611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

3(2-2-5)

  Computer Applications for Business  

        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจด้านต่าง ๆ เช่น ระบบสินค้าคงคลัง ระบบบัญชี ระบบการบริหารงาน

รายวิชา 4313612 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า

3(2-2-5)

  Application for Inventory Control  

        เกี่ยวกับการจัดซื้อ การรับ การจัดส่งสินค้า การควบคุมสินค้าคงคลังการตัดบัญชีสินค้า การวิเคราะห์ การขยายและการยึดครองตลาด ฝึกเขียนโปรแกรมและการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานด้านควบคุมสินค้า

รายวิชา 4313613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ

3(2-2-5)

  Computer – Aided Design  

        หลักการทางด้านหลักการออกแบบ เช่น องค์ประกอบของการออกแบบ ทฤษฎีสี ฯลฯ วิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการเขียนกราฟรูปเรขาคณิตและเทคโนโลยี แผนภูมิสถิติ รูปลายเส้น ภาพการ์ตูน งานเขียนแบบ ฯลฯ

รายวิชา 4313618 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานโรงแรม

3(2-2-5)

  Computer Applications for Hotel  

        ระบบโรงแรม และการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้ในงานโรงแรมด้านต่างๆ เช่น งานบริการส่วนหน้า งานอาหารและเครื่องดื่ม งานแม่บ้าน งานบัญชีการเงินการโปรแกรมสำนักงาน

รายวิชา 4313620 คอมพิวเตอร์สำหรับครูประถมศึกษา

3(2-2-5)

  Computer for Primary School Teacher  

        การนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านการจัดการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาในด้านต่าง ๆ การสร้างบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ การสร้างบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสร้างและประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลและระบบมัลติมีเดียการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอน

รายวิชา 4313623 ระบบคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีการศึกษา

3(2-2-5)

  Computer System and Applications for Educational Technology  

        พัฒนาการ ส่วนประกอบและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ การบริหารและการจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน การผลิตสื่อ โดยใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การนำเสนอข้อมูล การผลิตแผ่นใส การผลิตรายการโทรทัศน์ การบันทึกและตัดต่อเสียง ฯลฯ

รายวิชา 4313625 เกมและสถานการณ์จำลองเพื่อการศึกษา

3(2-2-5)

  Game and Simulation in Education  

        ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประเภทเกมและสถานการณ์จำลอง ที่ใช้ในวงการศึกษา การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเกมและสถานการณ์จำลอง การสร้างโปรแกรม ตอลดจนการใช้และ การประเมินผลเกมและสถานการณ์จำลองในการศึกษา

รายวิชา 4313626 ความจริงเสมือนสำหรับการศึกษา

3(2-2-5)

  Virtual Reality in Education  

        คอมพิวเตอร์กราฟิก การสร้างภาพสามมิติ การสร้างภาพแอนนิเมชั่นระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบสำหรับการสร้าง การใช้โปรแกรมความจริงเสมือน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปความจริงเสมือนในการเรียนการสอน การฝึกอบรมและการประเมินผลโปรแกรมความจริงเสมือน

รายวิชา 4313628 อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา

3(2-2-5)

  Internet for Education  

        ความเป็นมา และแนวคิดของการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตกับสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society) การศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (e-education) การเข้าสู่ระบบ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ของระบบอินเทอร์เน็ต การสร้างและการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

รายวิชา 4313629 โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

3(2-2-5)

  Programming Language in Education  

        หลักการเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ การใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาโปรแกรมทางการศึกษา

รายวิชา 4313630 การประมวลเสียงและภาพระบบดิจิตอล

3(2-2-5)

  Audio and Visual Digital System Processing  

        กระบวนการในการสร้าง การบันทึก การปรับแต่ง การตัดต่อเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

รายวิชา 4313633 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ

3(2-2-5)

  Application for office Automation Management  

        หลักการเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประเภทและลักษณะสำคัญของโปรแกรมสำเร็จรูป การฝึกเขียนโปรแกรมและการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานในสำนักงาน เช่น การเก็บเอกสารงานธุรกิจ

รายวิชา 4313906 การสัมมนาคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Seminar in Computer  

        หลักการสัมมนา ความก้าวหน้า แนวคิดที่แปลกใหม่และผลงานที่มีคุณค่าทางคอมพิวเตอร์จากเอกสาร วารสาร งานวิจัยหรือการที่ปฏิบัติงานจริง

รายวิชา 4314501 ปัญญาประดิษฐ์

3(2-2-5)

  Artificial Intelligence  

        ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ แผนการแก้ปัญหา การค้นหาแบบ State graph การกำหนดขั้นปัญหา จุดประสงค์ย่อย และโครงการย่อย Representation of Knowledge โปรแกรมการเล่นเกมโดยใช้ Heuristics รูปแบบการจำได้ และการเรียนรู้ และการควบคุมหุ่นยนต์ (Robots) Fuzzy logic วิธีแก้ปัญหาในปัญญาประดิษฐ์ การรับรู้ภาพ การแทนความรู้และระบบผู้เชี่ยวชาญ

รายวิชา 4314502 การจำลองและโมเดล

3(2-2-5)

  Simulation and Model  

        ศึกษาการจำลองแบบ การเปรียบเทียบการจำลองแบบกับเทคนิคอื่น ตัวแบบจำลองแบบต่อเนื่อง งานที่ประยุกต์ใช้ในตัวแบบจำลองแบบต่อเนื่อง ตัวแบบ จำลองแบบเต็มหน่วย ทบทวนทฤษฎีแถวคอยและขบวนการสุ่มขั้นต้นระเบียบวิธีการจำลอง ประกอบด้วย การสร้างตัวเลขสุ่มและตัวแปรสุ่ม การออกแบบทดลองจำลองแบบที่เหมาะสมตัวอย่างประยุกต์ใช้งานการจำลองตัวแบบ

รายวิชา 4314507 การสร้างคอมไพเลอร์

3(2-2-5)

  Compiler Construction  

        วิธีการวิเคราะห์ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม การสร้างอ๊อบเจ๊กต์โค้ดที่มีประสิทธิภาพ การทำงานของคอมไพเลอร์ และตัวอย่างการสร้างคอมไพเลอร์ขนาดเล็ก

รายวิชา 4314604 การตกแต่งภาพด้วยคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

  Computerized Photography Improvement  

        ความสำคัญ คุณค่าของการตกแต่งภาพที่มีต่อการศึกษาและโฆษณา ประชาสัมพันธ์ วิธีการนำภาพเข้าสู่ระบบดิจิตอลด้วยเครื่องมือประกอบต่าง ๆ โปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ ระบบการทำงาน นำความรู้เรื่องทฤษฎีสี การจัดองค์ประกอบภาพมาประยุกต์ใช้ในการสร้างภาพใหม่ การแก้ไขและตกแต่งภาพ การเตรียมภาพเพื่อใช้งานในระบบงานพิมพ์แบบออฟเซตหรือระบบดิจิตอลในลักษณะอื่น ๆ ต่อไป

รายวิชา 4314605 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3(2-2-5)

  Information and communication technology  

        ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารข้อมูล และคอมพิวเตอร์ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูลฐานข้อมูล การจัดการและการใช้งานข้อมูลอินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่าย การใช้โปรแกรมระบบและโปรแกรมสำเร็จรูป และการสืบค้นข้อมูลจากระบบ เครือข่ายและจากระบบฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น internet, LAN, CD-ROM, e-mail, FTP ฯลฯ เช่น Word, PowerPoint, Excel ฯลฯ

รายวิชา 4314704 ระบบสื่อการสอนอัจฉริยะ

3(2-2-5)

  Intelligent Media System  

        หลักการและทฤษฎีของ artificial intelligence, expert system, intelligent tutoring system, active hypermedia รวมทั้งทฤษฎีและหลักการของระบบสื่อการสอนอัจฉริยะอื่น ๆ ฝึกทักษะการประยุกต์การใช้โปรแกรม เพื่อพัฒนาระบบสื่อการสอนอัจฉริยะ การนำไปทดสอบการใช้งานและการประเมินผลจากการใช้งานจริง

รายวิชา 4314705 โปรแกรมด้านภาพนิ่งและผลิตรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอล

  3(2-2-5)

  Program for still Picture and Digital Television Production  

        หลักการและทฤษฎีการถ่ายภาพ และการผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตระบบดิจิทัล ฝึกทักษะการใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง และกล้องวิดีโอดิจิทัล การตกแต่งรูปภาพ การตัดต่อวิดีโอ การจัดเก็บข้อมูลด้วยสื่อดิจิทัล รวมทั้งการนำเสนอด้วยสื่อดิจิทัลด้วยโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง เช่น Adobe Photoshop, Adobe Premiere, Macromedia Director ฯลฯ

รายวิชา 4314706 คอมพิวเตอร์สำหรับการศึกษาพิเศษ

3(2-2-5)

  Computer in Handicapped Education  

        การนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับการศึกษาพิเศษในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ เกมและสถานการณ์จำลอง การสร้างบทเรียน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และระบบมัลติมีเดีย การใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอน เป็นต้น

รายวิชา 4314707 การบริหารและการจัดการระบบเครือข่าย

3(2-2-5)

  Administration and Management of Network System  

        การทำงานของโปรโตคอลสำหรับการบริหารเครือข่าย วิธีการเลือก การติดตั้งและการควบคุมอุปกรณ์เครือข่าย หลักการทำงานของโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการระบบเครือข่ายหน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้ดูแลระบบเครือข่าย การรักษาความปลอดภัยและวินัยในการปฏิบัติงานในฐานะผู้ดูแลระบบเครือข่าย

        3.6 วิชาเอกสังคมศึกษา

                วิชาเอกสังคมศึกษา (บังคับ)

รายวิชา 1124607 วิธีสอนสังคมศึกษา

3(2-2-5)

  Methodology of Teaching Social Studies  

        ศึกษาเอกสารหลักสูตรสังคมศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ 1-4 การวิเคราะห์หลักสูตร หลักการและเทคนิคในการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ ทักษะการผลิตและการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลทางสังคมศึกษา การทดลองสอนในชั้นเรียน

รายวิชา 2313702 ภาษาอังกฤษสำหรับสังคมศาสตร์

3(3-0-6)

  English for Social Science  

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา พัฒนาชุมชน สารสนเทศ เป็นต้น เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 2431101 หลักสังคมวิทยา

3(3-0-6)

  Principles of Sociology  

        ศึกษาขอบข่ายประวัติความเป็นมา แนวคิดของนักสังคมวิทยา ความสำคัญของสังคมวิทยาในฐานะเป็นศาสตร์ทางสังคมและหลักการของสังคมวิทยา ได้แก่ การจัดระเบียบสังคม การจัดช่วงชั้นทางสังคม กลุ่มสังคม สถาบันสังคม วัฒนธรรม การขัดเกลาทางสังคม เป็นต้น

รายวิชา 2433110 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น

3(2-2-5)

  Introduction to Social Science Research Methodology  

        ศึกษาเกี่ยวกับจุดประสงค์และความหมายของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ วิธีการต่าง ๆ ในการวิจัย การดำเนินการวิจัย การใช้สถิติ แหล่งข้อมูล การรวบรวมข้อมูล การเขียนรายงาน การอ่านผลการวิจัย การเขียนโครงการวิจัย การนำวิธีการและผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน ฝึกปฏิบัติการดำเนินงานวิจัยภาคสนามทุกขั้นตอน

รายวิชา 2433309 การพัฒนาแบบยั่งยืน

3(3-0-6)

  Sustainable Development  

        ศึกษาแนวคิด ความหมาย หลักการของการพัฒนาแบบยั่งยืน ศึกษาการมีส่วนร่วมขององค์กรต่าง ๆ ที่มีต่อชุมชนเพื่อเป็นแนวทางและวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองในชุมชนตามวิถีไทย เน้นศึกษาโครงการพระราชดำริ อุดมการณ์แผ่นดินธรรมแผ่นดินทองและอื่น ๆ

รายวิชา 2433702 ปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคม

3(3-0-6)

  Philosophy of Politics, Economy and Society  

        ศึกษาความหมายและขอบเขตของปรัชญาการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคม ระบบเศรษฐกิจและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ปัญหาอันเป็นผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตย การใช้จริยธรรมและศีลธรรมเป็นบรรทัดฐานในการแก้ปัญหา

<
รายวิชา 2434401ภูมิปัญญาไทย

2(2-0-4)

  Thai Wisdom Holder  

        ศึกษาแนวคิด ความหมาย หลักการ ความสำคัญของภูมิปัญญาไทย วิวัฒนาการและกระบวนการเรียนรู้ของภูมิปัญญาไทย ความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนและสังคม กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญา ภูมิปัญญากับการแก้ปัญหาทางสังคมไทย การปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาไทย

รายวิชา 2434903 สัมมนาสังคมศึกษา

3(2-2-5)

  Seminar in Social Studies  

        การศึกษาและอภิปรายสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาและวัฒนธรรม โดยให้นำความเข้าใจจากหลายสาขาวิชามาเป็นเครื่องมือศึกษาพิจารณาแบบสหวิทยาการ

รายวิชา 2442701 ภูมิศาสตร์กายภาพ

3(3-0-6)

  Physical Geography  

        ศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างเป็นระบบเชิงภูมิศาสตร์เกี่ยวกับการโคจรของโลก โครงสร้างภูมิประเทศ ดิน หิน แร่ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวโลก สภาพทางภูมิอากาศ น้ำ พืช สัตว์และความสัมพันธ์ระหว่างปรากฏการณ์ดังกล่าวกับการดำรงชีวิตมนุษย์

รายวิชา 2443407 ภูมิสารสนเทศ

3(2-2-5)

  Geo-informatics  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายของภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ การสำรวจข้อมูลพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีการกำหนดตำแหน่งบนพื้นผิวโลก การสำรวจข้อมูลระยะไกล การประมวลผลข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร ด้วยโปรแกรมประยุกต์ด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ การฝึกปฏิบัติและ การสำรวจภาคสนาม

รายวิชา 2451102 การเมืองการปกครองของไทย

3(3-0-6)

  Thai Politics and Government  

        ศึกษาความรู้พื้นฐานทางการเมืองการปกครอง ความเป็นมา หน้าที่ของรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม ประชาชนกับบทบาททางการเมืองพฤติกรรมทางการเมืองของไทย วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย สถาบันทางการเมืองของไทย วิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบแนวความคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของไทย

รายวิชา 2461102 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

3(3-0-6)

  Principles of Jurisprudence  

        ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ได้แก่ ความหมาย ประเภท ความสำคัญ การจัดทำ การใช้ การยกเลิกและกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ศึกษากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญาเฉพาะในส่วนที่เป็นความรู้เบื้องต้น

รายวิชา 2463501 กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครอง

3(3-0-6)

  Constitutional Laws and Public Laws  

        ศึกษาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญทั่วไป ประวัติของรัฐธรรมนูญ ประเทศที่เป็นต้นแบบรัฐธรรมนูญประเภทต่าง ๆ รัฐธรรมนูญของไทยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและกฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรทราบซึ่งจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

รายวิชา 2471207 เหตุการณ์โลกปัจจุบัน

3(3-0-6)

  Contemporary World Affairs  

        ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญของโลกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดจนศึกษาการเคลื่อนไหวและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกที่ก่อให้เกิดวิกฤตและสร้างผลกระทบต่อสังคมโลก โดยเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้สามารถอภิปรายและวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งในและนอกประเทศให้เป็นผู้ทันโลกทันเหตุการณ์ ในฐานะที่เป็นครูผู้สอนวิชาสังคม

รายวิชา 2472101 ท้องถิ่นศึกษา

3(2-2-5)

  Local Studies  

        ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความเชื่อและอิทธิพลของอารยธรรมต่าง ๆ ที่มีต่อรูปแบบการดำเนินชีวิต ภูมิปัญญา พัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรม การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจของท้องถิ่น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวทางการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการศึกษาจากภาคสนามในท้องถิ่น

รายวิชา 2472102 ประวัติศาสตร์ไทย

3(3-0-6)

  Thai History  

        ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย ลักษณะการปกครองเศรษฐกิจ สังคมและความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยสังเขป การปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคม จนถึงปัจจุบัน

รายวิชา 2493101 ศาสนาเปรียบเทียบ

3(3-0-6)

  Comparative Religions  

        ศึกษาประวัติและหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ โดยการศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อ หลักคำสอน พิธีกรรม และแนวทางการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนในแต่ละศาสนา เพื่อให้เข้าใจในศาสนาต่าง ๆ และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

รายวิชา 3501102 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

3(3-0-6)

  Introduction to Economics  

        ศึกษาความหมายและความสำคัญของวิชาเศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีการผลิต พฤติกรรมของผู้บริโภค ตลาด ทฤษฎีราคา รายได้ประชาชาติ การเงิน การธนาคาร การคลังและการค้าระหว่างประเทศ

รายวิชา 3502201 เศรษฐกิจประเทศไทย

3(3-0-6)

  Economy of Thailand  

        ศึกษากลไก โครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทย ปัจจัยการผลิตทรัพยากร กลไกการตลาด รายได้ประชาชาติ การคลัง การค้าระหว่างประเทศและปัญหาของโครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทย

                วิชาเอกสังคมศึกษา (เลือก)

รายวิชา 2411102 หลักมานุษยวิทยา

3(3-0-6)

  Principles of Anthropology  

        ศึกษาขอบข่ายประวัติความเป็นมา แนวคิดของนักมานุษยวิทยา ความสำคัญของมานุษยวิทยาในฐานะเป็นศาสตร์ทางมานุษยวิทยา และหลักการของมานุษยวิทยา ได้แก่ วิวัฒนาการของมนุษย์ ความเชื่อ ประเพณี เป็นต้น

รายวิชา 2431102 สังคมวิทยาเบื้องต้น

2(2-0-4)

  Introduction to Sociology  

        ศึกษาความหมาย ขอบเขตและประวัติความเป็นมาของสังคมวิทยา การจัดระเบียบทางสังคม กลุ่มสังคม สถาบันสังคม ลักษณะทั่วไปของสังคมและวัฒนธรรม ปัญหาสังคมปัจจุบันและแนวทางแก้ไข

รายวิชา 2431201 สังคมศาสตร์กับการพัฒนา

2(2-0-4)

  Social Sciences and Development  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและบทบาทของวิชาสังคมศาสตร์ การใช้ความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในการวางแผนพัฒนาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย โดยเน้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันเป็นกรณีศึกษา

รายวิชา 2431202 ครอบครัวและชุมชนไทย

2(2-0-4)

  Thai Family and Community  

        ศึกษาแนวคิด ความหมาย หลักการของครอบครัวและชุมชนไทย วิวัฒนาการของครอบครัวและชุมชนไทย ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ครอบครัวอบอุ่นและชุมชนไทยเข้มแข็ง เพื่อพัฒนาชีวิตและคุณภาพของคนในชุมชน บทบาทของภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาชุมชน การพิทักษ์ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของบุคคล ครอบครัวและชุมชน

รายวิชา 2432101 สังคมวิทยาชนบทและเมือง

3(3-0-6)

  Rural and Urban Sociology  

        ศึกษาความหมายของคำว่าสังคมวิทยาชนบทและเมือง ความหมายของชุมชนแบบชนบทและเมือง ลักษณะสังคมชนบทและเมือง ด้านนิเวศวิทยา ประชากร การอาชีพและเศรษฐกิจ สถาบันสังคม กลุ่มและองค์การทางสังคม ลักษณะค่านิยม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง ปัญหาและการแก้ปัญหาของสังคมชนบทและสังคมเมือง การวางผังเมือง

รายวิชา 2432102 สังคมและวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

  Thai Society and Culture  

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของสังคมและวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ของสังคมไทย การรักษาเสถียรภาพของสังคม วัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญ การพัฒนาและการสืบทอดวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

รายวิชา 2432301 การพัฒนาชุมชน

2(2-0-4)

  Community Development  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของการพัฒนา หลักและวิธีการดำเนินงานพัฒนาชุมชน ผู้นำท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนในประเทศไทย โครงการพัฒนาชุมชน ผลของการพัฒนาชุมชน ความสัมพันธ์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนในบางประเทศที่น่าสนใจ

รายวิชา 2433102 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

3(3-0-6)

  Social and Cultural Change  

        ศึกษาความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย

รายวิชา 2433103 ปัญหาสังคม

3(3-0-6)

  Social Problems  

        ศึกษาความหมายและขอบเขตของปัญหาสังคม หลักการทฤษฎีและวิธีวิเคราะห์ปัญหาสังคม สาเหตุของปัญหาสังคม ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป สังคมชนบท สังคมเมือง ผลกระทบของปัญหาสังคมที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและสังคม วิธีดำเนินการแก้ไขปัญหาสังคม

รายวิชา 2433201 ประชากรศึกษา

3(3-0-6)

  Population Education  

        ศึกษาองค์ประกอบของประชาการ การเปลี่ยนแปลงของประชากรซึ่งมีผลกระทบจากการเกิด การตายและการย้ายถิ่น การกระจายตัวของประชากร กำลังแรงงาน ความสัมพันธ์ระหว่างประชากร และปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ปัญหาและนโยบายประชากร การใช้ข้อมูลทางประชากรเพื่อการวางแผนพัฒนาบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติ

รายวิชา 2433202 สังคมวิทยาการศึกษา

3(3-0-6)

  Educational Sociology  

        ศึกษาความหมายและขอบเขตของสังคมวิทยาการศึกษา ระบบและกระบวนการทางการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษากับสถาบันทางสังคมอื่น ๆ รวมทั้งลักษณะประชากร บทบาทของสถาบันการศึกษาในการเปลี่ยนแปลงของสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับองค์การทางสังคมอื่นๆ

รายวิชา 2433204 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

3(3-0-6)

  Human Resource Development  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผลดีที่เกิดจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองการปกครอง

รายวิชา 2434203 สังคมวิทยาการบริหาร

3(3-0-6)

  Sociology of Administration  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของสังคมวิทยา การบริหารแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบองค์การบริหารองค์การ การจัดระเบียบสังคมในองค์การ บทบาทของการบริหารองค์การต่อการพัฒนาสังคม วัฒนธรรมการบริหารของชนกลุ่มต่าง ๆ สถาบันการบริหารกับสถาบันสังคมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ

รายวิชา 2434204 สังคมวิทยาการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

  Sociology of Tourism  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของสังคมวิทยาการท่องเที่ยว สถาบันสังคมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การจัดระเบียบสังคมเพื่อให้การท่องเที่ยวเกิดหน้าที่ ประโยชน์ (Functions) ต่อสังคมสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม ที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว คุณภาพของกลุ่มชนในการพัฒนาการท่องเที่ยว ลักษณะทางสังคมวิทยาของการท่องเที่ยวในสังคมไทย การท่องเที่ยวกับการพัฒนาวัฒนธรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ นโยบายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวในสังคมไทย

รายวิชา 2434205 สังคมวิทยาการพัฒนาเศรษฐกิจ

3(3-0-6)

  Sociology of Economic Development  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของสังคมวิทยา การพัฒนาเศรษฐกิจ ความคิดเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการความก้าวหน้า พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงสู่สภาวะความทันสมัย ลักษณะของการพัฒนาสังคมที่ปรากฏในแนวความคิดหรือทฤษฎีทางการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ลัทธิเมอรแคนไดล์ (Mercantilism) แนวความคิดของอาดัม สมิธ (Adam Smith) ทฤษฎีเศรษฐกิจคาร์ลมาร์กซ์ (Karl Marx) ทฤษฎีของเมย์นาร์ด เคนส์ (John Maymard Keynes) แนวความคิดหรือทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ทฤษฎีเกี่ยวกับความเป็นปึกแผ่นทางสังคมของ Derlheim ทฤษฎีทุนนิยมของ Max Weber ทฤษฎีวิวัฒนาการของระบบสังคมของ Talcott Porson และ Edward Shils และแนวคิดหลากหลายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสู่ภาวะความทันสมัย (Modernization) ลักษณะทางสังคมวิทยาที่มีผลต่อทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ระบบค่านิยม ทัศนคติ ระบบครอบครัววงศาคณาญาติ การมีส่วนร่วมทางการเมือง การปกครอง การศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้จริง การพัฒนาอุตสาหกรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

รายวิชา 2434206 สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง

3(3-0-6)

  Political Sociology  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของสังคมวิทยาการเมืองการปกครอง การเมืองการปกครองในฐานะที่เป็นสถาบันสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองของกลุ่มชนต่าง ๆ ระบบความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครอง การจัดองค์การทางการเมืองการปกครองในแบบอรูปนัยและรูปนัย ลักษณะทางสังคมวิทยาบางประการที่มีต่อระบบการเมืองการปกครอง คุณภาพประชาชนที่มีผลต่อการพัฒนา สถาบันการเมืองการปกครอง เป้าหมายสูงสุดของสังคม (Social Ultimate Goals) ในการพัฒนาการเมืองการปกครองเพื่อพัฒนาสังคมระดับชาติ

รายวิชา 2434210 สังคมวิทยาศาสนา

3(3-0-6)

  Sociology of Religion  

        ศึกษาความหมาย ขอบข่ายและความสำคัญของสังคมวิทยาศาสนา ศาสนาในฐานะสถาบันสังคม การจัดองค์การทางศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับสังคม บทบาทของศาสนาต่อสถาบันสังคมอื่น ๆ บทบาทของศาสนาต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

รายวิชา 2434405 เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน

3(2-2-5)

  Network of Learning in Community Development  

        ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญ องค์ประกอบ ลักษณะและกระบวนการในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน

รายวิชา 2434406 การอนุรักษ์และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

3(2-2-5)

  Environment Conservation in Community Development  

        ความหมาย ขอบข่าย ความสำคัญ แนวคิด หลักการ วิธีการ การปลูกฝัง การสร้างจิตสำนึกของชุมชนในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

รายวิชา 2441204 สัมมนาภูมิศาสตร์

3(0-6-3)

  Seminar in Geography  

        สัมมนาปัญหาเฉพาะเรื่องทางภูมิศาสตร์จากการศึกษาปัญหาพิเศษ หรือการวิจัยทางภูมิศาสตร์ หรือการศึกษาปัญหาเฉพาะเรื่องใหม่ ตามที่สนใจเกี่ยวกับภูมิศาสตร์กายภาพ วัฒนธรรม ประชากร สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและสิ่งแวดล้อม และเขียนรายงานผลเชิงการวิจัยและการเสนอผลการศึกษาเป็นรายบุคคล โดยอาจจัดสัมมนาทางวิชาการเต็มรูปอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือจะนำผลการศึกษาไปเสนอในการประชุมสัมมนาภูมิศาสตร์แห่งชาติ หรือการสัมมนาทางภูมิศาสตร์ระหว่างสถาบันต่าง ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

รายวิชา 2441401 แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่

3(3-0-6)

  Map and Map Interpretation  

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่ องค์ประกอบของแผนที่ การอ่าน การตีความ การใช้แผนที่ ภูมิประเทศมาตราส่วนต่าง ๆ ให้ฝึกฝนการอ่าน การตีความและให้มีการปฏิบัติการภาคสนามโดยใช้แผนที่ภูมิประเทศประกอบการศึกษา

รายวิชา 2442401 การสำรวจข้อมูลระยะไกลเบื้องต้น

3(2-2-5)

  Introduction to Remote Sensing  

        ศึกษาประวัติและหลักการเบื้องต้นของการสำรวจข้อมูลระยะไกล การสำรวจข้อมูลธรรมชาติด้วยดาวเทียม สัญญาณภาพดาวเทียม การใช้ประโยชน์จากภาพดาวเทียมในงานด้านภูมิศาสตร์ ฝึกปฏิบัติการและตรวจสอบข้อมูลในภาคสนาม

รายวิชา 2442402 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เบื้องต้น

3(2-2-5)

  Introduction to Geographic Information System  

        ศึกษาแหล่งและระเบียบวิธีการรวบรวมข้อมูลสถิติด้านภูมิศาสตร์ ได้แก่ ข้อมูลกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ประชากร ด้วยวิธีการต่าง ๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์ เทคนิคการประยุกต์ใช้ การจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างเป็นระบบ

รายวิชา 2442403 การทำแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์

3(3-0-6)

  Computer Mapping  

        วิธีการออกแบบและการเขียนแผนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ ในการสร้างและวิเคราะห์แผนที่ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางภูมิศาสตร์

รายวิชา 2442702 ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวไทย

3(3-0-6)

  Geography of Thai Tourism  

        ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยเกี่ยวกับที่ตั้ง การเข้าถึงและเส้นทางคมนาคม สภาพทางธรรมชาติและการดำเนินการของแหล่งท่องเที่ยว สภาพทางด้านวัฒนธรรมและประวัติของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว องค์ประกอบที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยว สถานบริการและหน่วยงานที่ดำเนินงานการท่องเที่ยว การวางแผน จรรยาบรรณของนักภูมิศาสตร์สำหรับการจัดการท่องเที่ยวและฝึกปฏิบัติงานภาคสนาม

รายวิชา 2443201 ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

3(3-0-6)

  Geography of Thailand  

        ศึกษาลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศเกี่ยวกับที่ตั้งและขนาดบริเวณแวดล้อมพรมแดน ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประชากร สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นถึงความสำคัญของการกระจายทางพื้นที่ขององค์ประกอบเหล่านี้ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 2443301 ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Geography  

        ศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นทางสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ ประชากร ระบบโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันทางสังคม วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขท้องถิ่น ให้นักศึกษาฝึกเก็บข้อมูลในภาคสนาม แล้วนำมาวิเคราะห์สภาพท้องถิ่น

รายวิชา 2443405 ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผน

3(2-2-5)

  Geographic Information System for Planning  

        ศึกษาการสำรวจข้อมูลทางภูมิศาสตร์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวางแผนและพัฒนาสำหรับงานเฉพาะด้าน ได้แก่ การวางผังชุมชน การกำหนดเขตการปกครอง การจำแนกสมรรถภาพทางพื้นที่ การประยุกต์ใช้และการปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 2443703 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

3(3-0-6)

  Natural Resources and Environmental Management  

        ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะและขอบเขตของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมตามแผนพัฒนาประเทศ แนวนโยบายแห่งรัฐ กฎหมายและการส่งเสริมองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายองค์กร การพัฒนาแบบยั่งยืน การส่งเสริม การอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตร ตลอดจนข้อตกลงและพันธกรณีการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศและการปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 2443705 ภูมิศาสตร์การเกษตร

3(3-0-6)

  Agricultural Geography  

        ศึกษารูปแบบของการเกษตรกรรม ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน และปัญหาการใช้ที่ดินด้านการเกษตรกรรม ได้แก่ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมง และการทำป่าไม้ การแบ่งภูมิภาคทางด้านการเกษตรของไทย ลักษณะการเกษตรกรรมหลักของแต่ละภูมิภาค แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรมของภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย

รายวิชา 2444206 มลภาวะสิ่งแวดล้อม

3(3-0-6)

  Environmental Pollution  

        ศึกษาเชิงภูมิศาสตร์เกี่ยวกับมลสภาวะสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ มลภาวะของน้ำ มลภาวะของอากาศ มลภาวะของดิน มลภาวะของสังคม และมลภาวะทางทัศนียภาพ เน้นศึกษาเกี่ยวกับการเกิด สภาพปัญหาเมื่อเกิด และวิธีการแก้ไขกรณีมลภาวะสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

รายวิชา 2444719 ภูมิศาสตร์การเมือง

3(3-0-6)

  Political Geography  

        ศึกษาแนวคิดของนักภูมิศาสตร์การเมือง ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อความมั่นคงของรัฐ การรวมกลุ่มทางการเมืองระหว่างประเทศ วิเคราะห์พฤติกรรมทางการเมืองของรัฐ และปัญหาอันสืบเนื่องมาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ทั้งในอดีตและในปัจจุบัน

รายวิชา 2444723 ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ

3(3-0-6)

  Economic Geography  

        ศึกษาลักษณะและปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในบริเวณต่าง ๆ ของโลกโดยศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้ และการกระจายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม การคมนาคมขนส่ง การค้าระหว่างประเทศ และการบริการแก่ประชาชนในดินแดนต่าง ๆ ของโลกและปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 2451101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์

3(3-0-6)

  Introduction to Political Science  

        ศึกษาขอบข่ายและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างวิชารัฐศาสตร์กับสาขาวิชาอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างอำนาจกับกฎหมาย กระบวนการทางการเมือง รัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ ลัทธิและอุดมการณ์ทางการเมืองที่สำคัญ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยสังเขป

รายวิชา 2451106 ทฤษฎีการเมือง

3(3-0-6)

  Political Theory  

        ศึกษาการสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ ในทางรัฐศาสตร์ในสมัยปัจจุบัน เช่น ทฤษฎีระบบ ทฤษฎีโครงสร้าง หน้าที่ ทฤษฎีเกม ทฤษฎีบทบาท ทฤษฎีการสื่อสารความหมาย และทฤษฎีการพัฒนาทางการเมือง รวมทั้งแนวคิดทางการเมืองของนักการเมืองต่าง ๆ

รายวิชา 2452101 การปกครองท้องถิ่นไทย

3(3-0-6)

  Thai Local Government  

        ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการปกครองท้องถิ่น ที่เป็นรากฐานของการปกครองและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยจากแนวคิดตะวันตก และเน้นการปกครองท้องถิ่นไทย ประวัติและพัฒนาการ ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองท้องถิ่นกับการปกครองส่วนกลางในแง่อำนาจ รูปแบบ ปัญหาและผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน

รายวิชา 2453102 ลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจ

3(3-0-6)

  Political and Economic Doctrine  

        ศึกษาลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงสมัยปัจจุบันในทางอุดมการณ์ ทฤษฎีและการใช้ปฏิบัติ เน้นวิวัฒนาการของลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในแง่ความสำเร็จ และหรือความล้มเหลว กับการปรับตัวเข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิการเมืองกับลัทธิเศรษฐกิจ และผลของความสัมพันธ์ต่อสังคมแห่งชาติกับต่อการเมืองระหว่างประเทศ

รายวิชา 2461303 กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

3(3-0-6)

  Juristic Act and Contract  

        ศึกษาลักษณะของนิติกรรม การก่อให้เกิดนิติกรรม การแสดงเจตนาเหตุอันทำให้เจตนาเสื่อมเสีย เจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง การตีความแสดงเจตนา โมฆะและโมฆียะกรรม เงื่อนไขและเงื่อนเวลา อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 4 ถึง ลักษณะ 6 และลักษณะของสัญญา การก่อให้เกิดสัญญา ผลแห่งสัญญา สัญญาซึ่งมีมัดจำและเบี้ยปรับ การเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 2

รายวิชา 2462417 กฎหมายเกี่ยวกับการสหกรณ์ของไทย

3(3-0-6)

  Cooperative Laws  

        ศึกษาพระราชบัญญัติสหกรณ์ กฎกระทรวง กฤษฎีกา พระราชกำหนด กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

รายวิชา 2461505 กฎหมายปกครอง

3(3-0-6)

  Administrative Laws  

        ศึกษาประวัติ แนวความคิด และลักษณะทั่วไปของฝ่ายปกครองและกฎหมายปกครอง ที่มาของกฎหมายปกครอง การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง การจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ระบบราชการไทย ความเกี่ยวพันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับรัฐตามกฎหมาย การควบคุมฝ่ายปกครอง ศาลปกครอง คดีปกครอง และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองฉบับปัจจุบัน

รายวิชา 2462503 กฎหมายภาคอาญา 1 : ภาคทั่วไป

3(3-0-6)

  Criminal Law 1 : General Principles  

        ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ตั้งแต่มาตรา 11-106 และภาค 3 ลหุโทษมาตรา 367-398

รายวิชา 2462504 กฎหมายภาคอาญา 2 : ภาคความผิด

3(3-0-6)

  Criminal Law 2 : Offences  
วิชาบังคับก่อน : 2462503 กฎหมายภาคอาญา 1 : ภาคทั่วไป

        ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตั้งแต่มาตรา 107-366

รายวิชา 2463313 กฎหมายครอบครัว

3(3-0-6)

  Family Laws  

        ศึกษาความเป็นมาของกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร และค่าอุปการะเลี้ยงดูตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5

รายวิชา 2471102 ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทย

3(3-0-6)

  History of Thai Politics  

        ศึกษาพัฒนาการและความสัมพันธ์ของบ้านเมืองและอาณาจักรในดินแดนประเทศไทย ตั้งแต่เริ่มแรก จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์โดยสังเขป ลักษณะสำคัญของการวางรูปแบบการปกครอง และการปรับปรุงการปกครองของสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการรับแนวความคิดทางการเมืองตามแนวตะวันตก การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง พ.ศ. 2475

รายวิชา 247110303 ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมไทย

3(3-0-6)

  Thai Economic and Social History  

        ศึกษาวิวัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ตั้งแต่สุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจไทย อันเป็นผลจากความสัมพันธ์กับต่างประเทศ นโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจของไทย ตั้งแต่สมัยหลัง พ.ศ. 2475 จนถึงสมัยปัจจุบัน อิทธิพลทางเทคโนโลยีต่อเศรษฐกิจและสังคมของไทย และความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของไทยปัจจุบัน

รายวิชา 2471105 ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานในดินแดนประเทศไทย

3(3-0-6)

  History of Thai Settlement  

        ศึกษาถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การพัฒนาเป็นบ้านเมืองเป็นแว่นแคว้นในยุคต้นประวัติศาสตร์ที่อยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย อิทธิพลของอารยธรรมที่มาจากภายนอกที่มีต่อการสร้างสรรค์อารยธรรมของชนชาติไทยในยุคต้นประวัติศาสตร์ การพัฒนาของรัฐและอาณาจักรชนชาติไทยสมัยก่อนสุโขทัย การก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย การก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา การผสมผสานทางสังคมและวัฒนธรรมของไทยในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา

รายวิชา 2471206 อารยธรรมตะวันออกและตะวันตก

3(3-0-6)

  Eastern and Western Civilization  

        ศึกษาอารยธรรมของจีน อินเดีย และญี่ปุ่น ที่มีอิทธิพลต่อสังคมโลก เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับอารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย กรีกและโรมัน การกำเนิดศาสนาคริสต์ การกำเนิดศาสนาอิสลาม ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ และผลของสงครามครูเสดที่มีต่ออารยธรรมของชาวตะวันตก

รายวิชา 2471301 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19

3(3-0-6)

  History of Southeast Asia before the Nineteen Cert.  

        ศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับตั้งแต่การก่อตั้งอาณาจักรโบราณ อิทธิพลของวัฒนธรรมจีน อินเดีย อิสลาม วิวัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมของประเทศต่าง ๆ ก่อนการเข้ายึดครองของชาติตะวันตก

รายวิชา 2472301 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก

3(3-0-6)

  History of East Asia  

        ศึกษาอารยธรรมจีนตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยปฏิวัติ ใน ค.ศ. 1911 เน้นให้เห็นปัจจัยต่าง ๆ อันสนับสนุนให้อารยธรรมจีนได้ชื่อว่าเด่นที่สุดในเอเชียตลอดมา ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชนชาติอื่น ๆ ในเอเชียและชนชาติตะวันตกปัญหาการเมือง สังคมและเศรษฐกิจอันก่อให้เกิดการปฏิวัติ บทบาทของจีนในสงครามโลกครั้งที่ 2 ความขัดแย้งภายในจีนอันเป็นผลให้เกิดการแยกประเทศ และบทบาทของจีนทั้งสองในปัจจุบัน ลักษณะทั่วไปของอารยธรรมญี่ปุ่นสมัยโบราณ เน้นความคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นก่อนรับอิทธิพลจากภายนอก การปรับปรุงประเทศภายหลังจากได้รับอิทธิพลตะวันตก อันเป็นผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจ วิวัฒนาการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของญี่ปุ่นก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นโยบายในการเป็นผู้นำกลุ่มเอเชีย ญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และบทบาทในการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์สังเขปของเกาหลี ความสัมพันธ์กับจีนญี่ปุ่น และบทบาทของเกาหลีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

รายวิชา 2472306 ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยใหม่

3(3-0-6)

  History of Modern Southeast Asia  

        ศึกษาอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมที่มีต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ขบวนการชาตินิยม การเรียกร้องเอกราช การยึดครองของญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลก ครั้งที่ 2 ปัญหาและสภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ได้รับเอกราชจนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาค

รายวิชา 2472307 ประวัติศาสตร์เอเชียใต้

3(3-0-6)

  History of South Asia  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียใต้โดยสังเขป การแผ่อิทธิพลของจักรวรรดินิยมตะวันตก ขบวนการเรียกร้องเอกราชในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียใต้ การพัฒนาประเทศและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังที่ประเทศต่าง ๆ ในของเอเชียใต้ได้รับเอกราช ศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในเอเชียใต้ในปัจจุบัน

รายวิชา 2472308 ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

3(3-0-6)

  History of the People’s Republic of China  

        ศึกษาพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของการสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1949 พัฒนาการทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การทหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 จนถึงปัจจุบัน ศึกษาสาเหตุและผลกระทบของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม การโค่นล้มแก๊งค์สี่คน การปฏิรูปประเทศตามนโยบาย 4 ทันสมัยของเติ้งเสี่ยวผิง และบทบาทของจีนต่อสังคมโลกในปัจจุบัน

รายวิชา 2472502 ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

3(3-0-6)

  History of The United States of America  

        ศึกษาประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรปในทวีปอเมริกาเหนือ การตั้งอาณานิคมของอังกฤษในอเมริกา สาเหตุการทำสงครามประกาศอิสรภาพของชาวอเมริกัน การสร้างชาติของชาวอเมริกาภายหลังได้รับเอกราช การขยายดินแดนไปเขตชายแดนตะวันตก สาเหตุและผลกระทบของสงครามกลางเมือง การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอเมริกา การก้าวเป็นประเทศมหาอำนาจของอเมริกา ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 บทบาทของอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่ 1 และในสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทของอเมริกาในฐานะเป็นประเทศอภิมหาอำนาจภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาทของอเมริกาที่มีต่อสังคมโลกในปัจจุบัน

รายวิชา 2472701 โบราณคดี

3(2-2-5)

  Archaeology  

        ศึกษาความหมายของคำว่า วิชา “โบราณคดี” ประวัติ ประโยชน์ และประเภทของวิชาโบราณคดี ความสัมพันธ์ของวิชาโบราณคดีกับวิชาการแขนงอื่น ศึกษาหลักและสังกัปของวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ กฎหมายคุ้มครองโบราณคดี ศิลปวัตถุสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การวางแผน การบริหาร การประชาสัมพันธ์ และการฝึกปฏิบัติงานโบราณคดี

รายวิชา 2473103 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local History  

        ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสมัยต่าง ๆ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ความคิดความเชื่อของท้องถิ่น อิทธิพลของอารยธรรมต่าง ๆ ที่มีต่อท้องถิ่น โดยจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของสถาบันการศึกษา

รายวิชา 2473106 ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยสมัยใหม่

3(3-0-6)

  History of Modern Thai Politics  

        ศึกษาการเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก่อนปี พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสร้างอำนาจของจอมพล ป.พิบูลสงคราม บทบาทของขบวนการเสรีไทย ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บทบาททางการเมืองของขบวนการสังคมนิยม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร สาเหตุของผลกระทบของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พัฒนาการทางการเมืองภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 สาเหตุและผลกระทบของเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 สภาพการเมืองไทยในปัจจุบันและแนวโน้มการเมืองไทยในอนาคต

รายวิชา 2473205 สิทธิมนุษยชนในสังคมโลก

3(3-0-6)

  World Society Human Rights  

        ศึกษาหลักการ แนวคิด และความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในส่วนต่าง ๆ ของโลก ประวัติศาสตร์ของขบวนการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แนวทางการศึกษาและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน

รายวิชา 2473206 สันติภาพในสังคมโลก

3(3-0-6)

  World Society Peace  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของสันติภาพที่มีต่อสังคมมนุษย์ การเคลื่อนไหวของ ขบวนการเรียกร้องสันติภาพที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทในการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องการรักษาสันติภาพและการเสริมสร้างสันติภาพขององค์กรระหว่างประเทศและองค์กรภาคประชาชน การเคลื่อนไหวของขบวนการเรียกร้องสันติภาพในประเทศไทย ความพยายามสร้างสันติภาพในสังคมไทย แนวทางศึกษาและรักษาสันติภาพของโลกในปัจจุบัน

รายวิชา 2473301 ประวัติศาสตร์ลัทธิการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3(3-0-6)

  History of Political Ideology in Southeast Asia  

        ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเข้ามาของลัทธิการเมืองที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บทบาทและผลกระทบจากการขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจที่มีต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

รายวิชา 2473703 ประวัติศาสตร์นิพนธ์

3(2-2-5)

  Historiography  

        ศึกษาวิวัฒนาการ การบันทึกและแนวคิดทางประวัติศาสตร์ของโลกตะวันออกและโลกตะวันตก งานเขียนประวัติศาสตร์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อิทธิพลของสำนึกความคิดประวัติศาสตร์ที่มีต่องานเขียนประวัติศาสตร์ของไทย ฝึกการค้นคว้า การเขียน และเรียบเรียงงานด้านประวัติศาสตร์

รายวิชา 2473705 ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุสถาน แหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Principle History Sources and Culture Sources in Local Area  

        ศึกษาประวัติศาสตร์ ความสำคัญของโบราณวัตถุสถานแหล่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ตลอดจนศึกษาแนวคิด วิธีการในการดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์จากโบราณวัตถุสถาน

รายวิชา 2474102 สตรีกับสังคมไทย

3(3-0-6)

  Woman and Thai Society  

        ศึกษาความหมาย พัฒนาการของทฤษฎี และแนวคิดของสตรีนิยม (Feminism) สถานภาพ บทบาท สิทธิและหน้าที่ของสตรีในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ศึกษาบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของสตรีไทยในปัจจุบัน

รายวิชา 2474203 ประวัติศาสตร์ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในสังคมไทย

3(3-0-6)

  History of Political and Social Movement in Thai Society  

        ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับขบวนการปฏิวัติสังคม ขบวนการปฏิรูปศาสนา ขบวนการแรงงาน ขบวนการชาวนา ขบวนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและขบวนการของภาคประชาชนต่าง ๆ ที่มีบทบาทในสังคมและการเมืองในปัจจุบัน ศึกษาทฤษฎี แนวคิด เป้าหมาย ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มและผลกระทบที่มีต่อการเมืองและสังคมของไทยของขบวนการทางการเมือง และสังคมที่ศึกษาวิเคราะห์บทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองในประเทศไทยปัจจุบัน

รายวิชา 2474302 ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง

3(3-0-6)

  History of the Middle East  

        ศึกษาความหมาย ความสำคัญของตะวันออกกลาง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมในสมัยโบราณในตะวันออกกลาง การกำเนิดศาสนาอิสลาม การสถาปนาจักรวรรดิอิสลาม บทบาทของจักรวรรดิออตโตมันในตะวันออกกลาง การเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของชาติอาหรับ ปัญหาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เกิดในประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลางภายหลังได้รับเอกราช สาเหตุและผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับและอิสราเอล ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บทบาทของประเทศมหาอำนาจต่อปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง วิเคราะห์ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่สำคัญในปัจจุบัน

รายวิชา 2474401 ประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่

3(3-0-6)

  History of Modern Europe  

        ศึกษาสภาพการณ์ด้านสังคมและการเมืองของยุโรปหลังปี ค.ศ. 1815 อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมทำให้เกิดการรวมประเทศอิตาลีและเยอรมนี บทบาทของประเทศทั้งสองหลังการรวมประเทศจนนำไปสู่วิกฤติการณ์ต่าง ๆ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ความสำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมยุโรป กำเนิดลัทธิฟาสซิสต์และนาซี ความสัมพันธ์ของประเทศต่าง ๆ ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และความร่วมมือของนานาประเทศก่อนสงครามยุติ

รายวิชา 2480101 ปรัชญาเบื้องต้น

2(2-0-4)

  Introduction to Philosophy  

        ศึกษาความหมาย ลักษณะและขอบข่ายของแนวคิดทางปรัชญา ปัญหาสำคัญในปรัชญา สาขาอภิปรัชญา-ทฤษฎีความรู้ จริยศาสตร์และตรรกศาสตร์ ปรัชญาชีวิตของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย

รายวิชา 2480601 ตรรกวิทยาทั่วไป

2(2-0-4)

  General Logic  

        ศึกษาลักษณะของเหตุผล การวิเคราะห์ความหนักแน่นของเหตุผลแบบอุปนัย และแบบนิรนัย การนำความรู้ความเข้าใจเรื่องเหตุผลไปใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

รายวิชา 2482102 ปรัชญาจีนและญี่ปุ่น

2(2-0-4)

  Chinese and Japanese Philosophy  

        ศึกษาแนวคิดของลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ ลัทธิเซ็น และลัทธิบูชิโด เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตที่ดี อุดมคติของชีวิต ตลอดจนความเชื่อเรื่องพิธีการ ระบบต่าง ๆ

รายวิชา 2482401 จริยศาสตร์

3(3-0-6)

  Ethics  

        ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีสำคัญทางจริยศาสตร์ ทฤษฎีที่ตัดสินการกระทำดี–ชั่ว ถูก-ผิด และทฤษฎีที่ตัดสินถูกผิดที่เป็นผลของการกระทำในจริยศาสตร์ อุดมคติของชีวิตที่มนุษย์ทุกคนควรแสวงหา หลักการปฏิบัติต่อตนเอง และหน้าที่หรือหลักการที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติต่อผู้อื่น ปัญหาจริยศาสตร์ร่วมสมัย

รายวิชา 2483101 พุทธปรัชญา

2(2-0-4)

  Buddhist Philosophy  

        ศึกษาความหมายและขอบข่ายของพุทธปรัชญา ลักษณะทั่วไปของพุทธปรัชญา โดยเปรียบเทียบกับปรัชญาสาขาอื่น ๆ สาระสำคัญของพุทธปรัชญา โดยเฉพาะทรรศนะเกี่ยวกับโลกและชีวิต ความสุข ความหลุดพ้น แนวคิดที่เป็นพื้นฐานของจริยธรรม

รายวิชา 2483103 ปรัชญาสมัยกลาง สมัยใหม่ และร่วมสมัย

3(3-0-6)

  Mediaeval Modern and Contemporary Philosophy  

        ศึกษาแนวความคิด ความหมายของปรัชญายุคกลาง ยุคใหม่ และยุคร่วมสมัย วิวัฒนาการความคิด เกี่ยวกับทฤษฎี ความรู้ ความจริง โดยมุ่งเน้นความคิดของนักปรัชญา และกระแสความคิดหลังนวยุคนิยม (Postmodernism) ลัทธิที่มีชื่อเสียงของแต่ละยุค

รายวิชา 2483302 ญาณวิทยา

3(3-0-6)

  Epistemology  

        ศึกษาความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหา ความหมายของญาณวิทยา กำเนิดความรู้ตามแนวคิดและทฤษฎีสำคัญทางญาณวิทยา ศึกษาความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาญาณวิทยา คุณลักษณะ ความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก เหตุผลนิยมและประสบการณ์นิยม ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีความรู้ในพุทธปรัชญา และการจัดการความรู้เพื่อชีวิตและสังคม

รายวิชา 2491102 ปรัชญาและศาสนา

3(3-0-6)

  Philosophy and Religion  

        ศึกษาความหมาย ขอบเขตเนื้อหา และวิธีการคิดทางปรัชญา แนวคิดที่สำคัญของสำนักปรัชญาต่าง ๆ ทั้งตะวันตกและตะวันออก ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญากับศาสนาสำคัญของโลก อาทิ พุทธศาสนา คริสตศาสนา อิสลาม พราหมณ์-ฮินดู เพื่อให้เข้าใจศาสนาต่าง ๆ ในแง่มุมปรัชญาและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

รายวิชา 2491210 จริยธรรมกับชีวิต

2(2-0-4)

  Ethics and Life  

        ศึกษาความหมายของจริยธรรมกับมนุษย์ จริยธรรมกับการครองชีพ จริยธรรมแบบพุทธ วิธีการแห่งปัญญาในการพัฒนาตนเองในด้านคุณธรรม การฝึกปฏิบัติตนเองกับสังคมในชีวิตประจำวัน

รายวิชา 2491211 พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตและสังคม

3(3-0-6)

  Buddhist Ethics for Life and Society  

        ศึกษาพุทธธรรมในฐานะเป็นธรรมนูญสำหรับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม เพื่อความเป็นสมาชิกที่ดีของมนุษยชาติ สังคมชุมชนและรัฐ ศึกษาสภาวการณ์ปัจจุบันของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ภาวะเสื่อมโทรมในวงการพระพุทธศาสนา สาเหตุและวิธีการแก้ไข ศึกษาการดำเนินชีวิตที่ดีงาม การรู้จักตนเอง การพัฒนาตน การพัฒนาสังคม และบทบาทที่ถูกต้องของผู้ครองเรือน ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา อุบาสก อุบาสิกา และพระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนลักษณะการดำเนินชีวิตของผู้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน

รายวิชา 2492201 พุทธศาสน์

3(2-2-5)

  Buddhism  

        ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมของพุทธศาสนา ได้แก่ หลักเบญจขันธ์ ไตรลักษณ์ อริยสัจ ฯลฯ เชิงปกครองและเศรษฐศาสตร์ ศึกษาพิธีกรรมต่าง ๆ เน้นการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการทำวัตรสวดมนต์ในเทศกาลและวันสำคัญทางศาสนา สามารถปฏิบัติจริงและเป็นผู้นำในพิธีการต่าง ๆ ได้

รายวิชา 2493418 วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของสังคมไทย

3(3-0-6)

  Thai Buddhist Literature  

        ศึกษาวรรณกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน โดยศึกษาสาระสังเขปของวรรณกรรมที่สำคัญและวิเคราะห์วรรณกรรมนั้น ๆ ในแง่ของคุณค่าและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทยและพระพุทธศาสนาในแต่ละยุค พร้อมทั้งวิวัฒนาการของวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาของไทย

รายวิชา 2494402 ศาสนาคริสต์

2(2-0-4)

  Christianity  

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของศาสนาคริสต์ การแบ่งเป็นนิกายต่าง ๆ หลักธรรมที่สำคัญ พิธีกรรมและแนวทางการดำเนินชีวิตของคริสตศาสนิกชน การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย

รายวิชา 2494501 ศาสนาอิสลาม

2(2-0-4)

  Islam  

        ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของศาสนาอิสลาม ประวัติศาสนาอิสลามและคัมภีร์อัลกุรอาน ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักศรัทธา ความรู้เรื่องการปฏิบัติกิจกรรม วัฒนธรรมและอุดมการณ์แห่งศาสนาอิสลาม ศาสนาอิสลามในประเทศไทย

รายวิชา 2494502 วัฒนธรรมและสังคมอิสลาม

3(3-0-6)

  Islamic Culture and Society  

        ศึกษาอิสลามในด้านที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ได้แก่ ภาคศีลธรรม เรียนรู้ หลักทั่วไปแห่งศาสนาอิสลาม เช่น กัลยาณธรรม การครองเรือน โลกธรรมและสังคม บัญญัติต่าง ๆ ตลอดจนความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมและสังคมอื่น ๆ

รายวิชา 3213133 แรงงานสัมพันธ์

3(3-0-6)

  Labour Relations  

        ศึกษาความหมาย แนวคิด และระบบของการแรงงานสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง ประวัติและวิวัฒนาการของสหภาพแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปัญหาแรงงานสัมพันธ์ ระบบแรงงานสัมพันธ์ที่นำมาใช้ในประเทศไทย องค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย สภาพข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง สภาพการจ้างและข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้าง กระบวนการยื่นข้อเรียกร้องและการเจรจาต่อรอง การปิดงานและการนัดหยุดงาน การระงับข้อพิพาทแรงงานและกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 3501103 หลักและวิธีการสหกรณ์

3(3-0-6)

  Cooperative Principle and Practice  

        ศึกษาและวิเคราะห์หลักสหกรณ์ การประยุกต์หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสหกรณ์ แนวความคิดเกี่ยวกับกำไรในธุรกิจอื่นและสหกรณ์ การจำแนกประเภท หน้าที่และกิจการสหกรณ์ การจัดโครงสร้าง และการดำเนินงานสหกรณ์ การผสมผสานสหกรณ์ การจัดการสหกรณ์ การเงินสหกรณ์ ความรับผิดชอบทางกฎหมายของสหกรณ์รัฐกับสหกรณ์

รายวิชา 3502104 เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ

3(3-0-6)

  International Economics  

        ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศสมัยต่าง ๆ ผลกระทบของต้นทุนค่าขนส่งต่อการค้าระหว่างประเทศและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ กระบวนการปรับดุลการชำระเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

รายวิชา 3502202 เศรษฐศาสตร์การเกษตร

3(3-0-6)

  Agricultural Economics  

        ศึกษาขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ บทบาทการเกษตรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเกษตร ปัญหาด้านการเกษตร หลักเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร สินเชื่อการตลาดและราคาผลผลิตการเกษตร การบริโภค สหกรณ์การเกษตร ธุรกิจการเกษตร นโยบายของการเกษตรทางการค้าระหว่างประเทศและการผลิต

รายวิชา 3503202 โครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

3(2-2-5)

  Economics of Construction  

        ศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างของเศรษฐกิจของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน โครงสร้างเศรษฐกิจการเกษตร โครงสร้างและนโยบายส่งเสริมการอุตสาหกรรมการพาณิชยกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ดุลการค้าและดุลการชำระเงิน บทบาทของภาครัฐบาลในระบบเศรษฐกิจกลุ่มผูกขาดทางธุรกิจ บทบาทธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่น ๆ ปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจต่าง ๆ ในปัจจุบันและอนาคต (ศึกษานอกสถานที่)

รายวิชา 3503307 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

3(3-0-6)

  Economic and Social Development  

        ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ ทฤษฎีการพัฒนาสังคม นโยบายและแผนงาน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย กระบวนการพัฒนาชุมชนในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

        3.7 วิชาเอกคณิตศาสตร์

                วิชาเอกคณิตศาสตร์ (บังคับ)

รายวิชา 1123217 หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

3(2-2-5)

  Curriculum and Learning Management in Mathematics  

        ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับพัฒนาการของหลักสูตรคณิตศาสตร์และกระบวนการเรียน การสอนคณิตศาสตร์ ปรัชญาคณิตศาสตร์ ธรรมชาติและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ หลักการสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ การนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินหลักสูตรและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น แนวทางการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สื่อและกิจกรรม การวัดและประเมินผล

รายวิชา 1123646

การวิเคราะห์เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

2(1-2-3)

 

Analysis of School Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นมโนมติทางคณิตศาสตร์ และการเข้าสู่เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พร้อมทั้งการใช้สื่อประกอบ

รายวิชา 2312704 ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

  English for Science  

         ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 4291201

หลักการคณิตศาสตร์

3(3-0-6)

 

Principles of Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์ธรรมชาติและโครงสร้างของคณิตศาสตร์ จำนวนจริง ตรรกศาสตร์ วิธีการพิสูจน์แบบต่าง ๆ เซต ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน ลำดับและอนุกรม

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาและวิเคราะห์เส้นตรง ภาคตัดกรวย ลิมิต และความต่อเนื่อง อนุพันธ์ของฟังก์ชัน และอินทิกรัล

รายวิชา 4291701

เทคนิคการเขียนโปรแกรมทางคณิตศาสตร์

3(2-2 -5)

  Programming Technique in Mathematics  

        ศึกษาและวิเคราะห์หลักการและขั้นตอนการเขียนโปรแกรม อัลกอริทึม เครื่องมือการออกแบบโปรแกรม (ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้สอน) คำสั่งและฟังก์ชันต่าง ๆ วิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สามารถออกแบบโปรแกรมและเขียนโปรแกรม รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงได้

รายวิชา 4292201

ระบบจำนวน

3(3-0-6)

 

Number System

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การสร้างระบบจำนวน จำนวนธรรมชาติ จำนวนเต็ม สมบัติต่าง ๆ ของจำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ จำนวนจริง จำนวนเชิงซ้อน

รายวิชา 4292202

ตัวแบบทางคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

 

Introduction to Mathematical Modeling

 

        ศึกษาและวิเคราะห์ตัวแบบทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ขั้นตอน เทคนิคในการสร้างตัวแบบ การวิเคราะห์ ปัญหา การกำหนดนัยทั่วไป การตรวจสอบนัยทั่วไป การสรุปเป็นตัวแบบ การแปลความหมายของคำตอบ และการนำตัวแบบทางคณิตศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในด้านต่าง ๆ

รายวิชา 4292401

แคลคูลัส 2

3(3-0-6)

 

Calculus 2

 

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน 4291401 แคลคูลัส 1

        ศึกษาและวิเคราะห์ ลำดับ อนุกรม อนุกรมกำลัง หลักเกณฑ์โลปิตาล อินทิกรัลจำกัดเขต อินทิเกรต การประยุกต์อินทิกรัลไม่ตรงแบบ อนุพันธ์และอินทกรับของฟังก์ชันสองตัวแปร

รายวิชา 4292601

พีชคณิตเชิงเส้น 1

3(3-0-6)

 

Linear Algebra 1

 

        ศึกษาและวิเคราะห์เมตริกซ์และการดำเนินการบนเมตริกซ์ ตัวกำหนด ระบบสมการเชิงเส้น ปริภูมิเวกเตอร์ ปริภูมิคูณภายใน การแปลงเชิงเส้นของปริภูมิเวกเตอร์ ค่าเจาะจง เวกเตอร์เจาะจง และการประยุกต์

รายวิชา 4293201

ทฤษฎีเซต

3(3-0-6)

 

Set Theory

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การสร้างทฤษฎีเซตโดยอาศัยระบบสัจพจน์ สัจพจน์ของการเลือก เซตอันดับ จำนวนเชิงการนับ จำนวนเชิงอันดับที่

รายวิชา 4293301

พีชคณิตนามธรรม 1

3(3-0-6)

 

Abstract Algebra 1

 

        กลุ่ม วง อินทริกรัลโดแมน สนาม

รายวิชา 4293303

คณิตศาสตร์เต็มหน่วย

3(3-0-6)

 

Discrete Mathematics

 

        การนับและความสัมพันธ์เวียนบังเกิด ทฤษฎีกราฟ การแทนกราฟด้วยเมทริกซ์ ต้นไม้ การแยกจำพวกข่ายงาน พีชคณิตบูลีน วงจรเชิงวิธีจัดหมู่ออโตมาต้า ไวยกรณ์และภาษา ระบบพีชคณิตแบบโพเซตและแลตทิต

รายวิชา 4293402

สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ

3(3-0-6)

 

Ordinary Differential Equations

 

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4292401 แคลคูลัส 2

         ศึกษาการเกิดสมการเชิงอนุพันธ์ สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง สมการอันดับหนึ่งระดับขั้นสูงกว่าหนึ่ง การประยุกต์สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง ระดับขั้นหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้น สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัวและไม่เป็นค่าคงตัว ระบบสมการเชิงอนุพันธ์ ผลการแปลงลาปลาซ

รายวิชา 4292501

เรขาคณิตเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Geometry

 

        ระบบสัจพจน์ เรขาคณิตของยุคลิค พัฒนาเรขาคณิตของยุคลิค โดยใช้แนวทางอื่น วิเคราะห์ เนื้อหาเรขาคณิตของยุคลิค โดยใช้ระบบสัจพจน์ การค้นพบเรขาคณิตนอกแบบยุคลิค

รายวิชา 4294201

ทฤษฎีจำนวน

3(3-0-6)

 

Theory of Numbers

 

        ศึกษาการหารลงตัว จำนวนเฉพาะ สมภาค ทฤษฎีบทส่วนตกค้างกำลังสอง สมการไดโอแฟนไทน์ ฟังก์ชันของออยเลอร์ สัญลักษณ์ของเลอจองค์ บทตั้งของเกาส์ สัญลักษณ์ของยาโคบี

รายวิชา 4294404 การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์

3(3-0 -6 )

  Mathematical Analysis  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4292401 แคลคูลัส 2

        ศึกษาระบบจำนวนจริง ระบบจำนวนเชิงซ้อน ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์

รายวิชา 4294504 ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น

3(3-0 -6 )

  Introduction to Graph Theory  

        จุดกำเนิดของทฤษฎีกราฟ กราฟต้นไม้ ออยเลอร์เลียน ฮามิลโทเนียนกราฟ พลานาลิตี้ ภาวะคู่กัน การระบายสีกราฟ ไดกราฟ และแมทซิ่ง

รายวิชา 4302201

ความน่าจะเป็นและสถิติเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Probability and Statistics

 

        ศึกษาความหมาย ขอบเขต และประโยชน์ของสถิติ ระเบียบวิธีการทางสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูลการนำเสนอข้อมูล การจัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เปอร์เซนต์ไทล์ เกไซล์ และควอโทล์การวัด การกระจาย ความเบ้ ความโด่ง ความน่าจะเป็นเบื้องต้น ค่าคาดหมาย และความแปรปรวนของตัวแปรสุ่ม การแจกแจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนืองและแบบต่อเนื่อง ทฤษฎีการสุ่มตัวอย่าง ทฤษฎี การประมาณคาและการทดสอบสมมุติฐาน เกี่ยวกับค่าเฉลี่ย สัดส่วน และความแปรปรวนของประชากรหนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม

                วิชาเอกคณิตศาสตร์ (เลือก)

รายวิชา 1124605 พฤติกรรมการสอนวิชาคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

 

Methods and Approaches in Teaching Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร หนังสือเรียน คู่มือครู และเอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ จิตวิทยาการเรียนรู้ เช่น บรูเนอร์ กาเย เปียเจต์ สกินเนอร์ เป็นต้น การวิเคราะห์หลักสูตรและหนังสือเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอนคณิตศาสตร์ ทักษะการสอน เช่นทักษะการใช้คำถาม ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน ทักษะการเขียนกระดานดำ ทักษะการสรุปบทเรียน เป็นต้น การผลิตและการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตามระเบียบการวัดผลและประเมินผล การนำโครงการสอน แผนการสอน การทดลองสอนเนื้อหาคณิตศาสตร์ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

รายวิชา 1132103 การสืบค้นทางคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

  Search Information in Mathematics  

        ศึกษาสาระทางคณิตศาสตร์จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายวิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิธีการนำเสนอ

รายวิชา 1133305

การสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์

3(2-2-6)

 

Media Construction for Mathematics

 

        ศึกษาบทบาทของสื่อที่มีต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ การสร้างและการใช้สื่อ/แหล่งการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สื่อประเภทสิ่งพิมพ์และสื่อประดิษฐ์เน้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สร้างบทเรียนคณิตศาสตร์

รายวิชา 1143202 การสร้างแบบทดสอบคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

  Test Construction in Mathematics  

        ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ประเภทต่าง ๆ เช่น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์และแบบทดสอบวินิจฉัย เป็นต้น การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ การตีความหมายผลการสอบและการกำหนดเกรด

รายวิชา 1144903

การศึกษาปัญหาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียน

3(2-2-5)

 

Study Issue of Mathematics Education in Classrooms

 

        ศึกษาและวิเคราะห์ ปัญหาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งเสนอแนะวิธีการปรับปรุงแก้ไข และรายงานการศึกษาส่วนตนอย่างน้อย 1 เรื่อง

รายวิชา 1144904

การศึกษาเอกเทศด้านคณิตศาสตร์ศึกษา

3(2-2-5)

 

Independent Study in Mathematics Education

 

        ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์หรือหัวข้อที่สนใจหรือได้รับคำแนะนำจากผู้สอน ดำเนินการศึกษาภายใต้การให้คำปรึกษาแนะนำของอาจารย์และรายงานการศึกษาส่วนตนอย่างน้อย 1 เรื่อง

รายวิชา 4292602

พีชคณิตเชิงเส้น 2

3(3-0-6)

 

Linear Algebra 2

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน 4292301 พีชคณิตเชิงเส้น 1

        ศึกษาและวิเคราะห์พหุนามแบบบัญญัติ ปริภูมิฟังก์ชัน เชิงเส้น รูปแบบเชิงเส้นคู่ รูปแบบกำลังสองและการประยุกต์

รายวิชา 4293101

ประวัติคณิตศาสตร์

3(3-0-6)

 

History of Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์คณิตศาสตร์ว่าด้วยระบบจำนวนของชาติต่าง ๆ ก่อนศตวรรษที่ 17 ปรัชญาคณิตศาสตร์ และแนวคิดบางประการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ปัจจุบัน ประวัติและผลงานเด่น ๆ ของ นักคณิตศาสตร์ที่สำคัญๆ ความเป็นมาของการศึกษาคณิตศาสตร์ในประเทศไทย

รายวิชา 4293401

แคลคูลัส

3(3-0-6)

 

Calculus 3

 

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน 4292401 แคลคูลัส 2

        ศึกษาอนุกรมอนันต์และการขยายฟังก์ชันหลายตัวแปรเป็นอนุกรมอนันต์ เส้นตรง ระนาบและพื้นผิวในปริภูมิสามมิติ เวกเตอร์ อนุพันธ์และอินทิกรัลของฟังก์ชันหลายตัวแปรและการประยุกต์และสมการเชิงอนุพันธ์เบื้องต้น

รายวิชา 4293501

รากฐานเรขาคณิต

3(3-0-6)

 

Foundations of Geometry

 

        ศึกษาพัฒนาการเรขาคณิตยุคต่าง ๆ เรขาคณิตแบบยุคลิด เรขาคณิตการแปลงเรขาคณิตเชิงภาพฉาย เรขาคณิตนอกแบบยุคลิด

รายวิชา 4293604

กำหนดการเชิงเส้น

3(3-0-6)

 

Linear Programming

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การกำหนดการเชิงเส้น ปัญหากำหนดการเชิงเส้น ผลเฉลยโดยกราฟ ระเบียบวิธีซิมเพลกซ์ ปัญหาคู่เสมอกันสภาพเสื่อมคลาย กำหนดการเชิงจำนวนเต็ม การประยุกต์ของกำหนดการเชิงเส้น เช่น ปัญหาการขนส่ง , ปัญหาการจัดงาน

รายวิชา 4293605

คณิตศาสตร์ประกันภัย

3(3-0-6)

 

Actuarial Mathematics

 

                ศึกษาและวิเคราะห์ทฤษฎีและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันภัย ทฤษฎีความน่าจะเป็นของการประกันภัย ความหมายและลักษณะของการประกันภัย การประกันและการประกันภัยอื่น ๆ ความน่าจะเป็นของการมีชีวิตและ การตาย การคิดดอกเบี้ย ตารางมรณะ ค่ารายปี การคำนวณค่าประกันแบบต่าง ๆ เงินสำรองประกันชีวิต

รายวิชา 4293708

โปรแกรมสำเร็จรูปด้านคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

 

Programming Package for Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในด้านคณิตศาสตร์โดยยกตัวอย่างในการบรรยายและการฝึกปฏิบัติ รวมไปถึงการสร้างโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนั้น ๆ เพื่อหาผลเฉลยของปัญหา

รายวิชา 429370 9

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

 

Computer Assisted Instruction in Mathematics

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน การสร้างโปรแกรม หรือการนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาพัฒนาการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์

รายวิชา 4293901

โครงงานพิเศษ

3(2-2 -5)

 

Special Project

 

        ศึกษาสำรวจและวิจัยในหัวข้อที่สนใจ และเขียนรายงานทางวิชาการถึงที่มาและความสำคัญของเรื่อง ที่นำเสนอ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน และข้อสรุปที่ได้ โดยการเขียนรายงานและนำเสนอ

รายวิชา 4294202

ตรรกศาสตร์เชิงคณิตศาสตร์

3(3-0-6)

 

Mathematical Logic

 

        ศึกษาโครงสร้างคณิตศาสตร์ กฎแห่งการอ้างอิง ความสมเหตุสมผลการพิสูจน์

รายวิชา 4294301

พีชคณิตนามธรรม 2

3(3-0-6)

  Abstract Algebra 2  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน 4293301 พีชคณิตนามธรรม 1 และ 4292301 พีชคณิตเชิงเส้น 1

         ศึกษาและวิเคราะห์ไอดีล ยุคลิคเดียน โดเมน ริงพหุนาม ฟิลด์ภาคขยาย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีของกาลัวล์

รายวิชา 4294303 ทฤษฎีสมการ

3(3-0 -6 )

  Theory of Equations  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4292401 แคลคูลัส 3 และ 4293402

         ศึกษาและวิเคราะห์สมการเชิงอนุพันธ์สามัญสมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์อันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงวงรี สมการเชิงอนุพันธ์เชิงไฮเพอร์โบลา สมการเชิงอนุพันธ์เชิงพาราโบลา อินทิกรัลของอนุพันธ์

รายวิชา 4294401

สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย

3(3-0-6)

  Arial Differential Equations  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4293401 แคลคูลัส และเรขาคณิตวิเคราะห์ 3

        ศึกษาสมการเชิงอนุพันธ์สามัญสมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์อันดับสอง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงวงรี สมการเชิงอนุพันธ์เชิงไฮเพอร์โบลา สมการเชิงอนุพันธ์เชิงพาราโบลา อินทิกรัลของอนุพันธ์

รายวิชา 4294402

แคลคูลัสชั้นสูง

3(3-0 -6 )

 

Advanced Calculus

 

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4293401 แคลคูลัส และเรขาคณิตวิเคราะห์ 3

         ศึกษาลำดับและอนุกรมของฟังก์ชัน ฟังก์ชันพิเศษ ฟังก์ชันของตัวแปรหลายตัว อินทิกรัลตามเส้น อินทิกรัลตามผิว การทดสอบการลู่เข้าของอินทิกรัลไม่ตรงแบบ

รายวิชา 4294403

การวิเคราะห์เวกเตอร์

3(3-0-6)

 

Vector Analysis

 

        ศึกษาและวิเคราะห์พีชคณิตของเวกเตอร์ อนุพันธ์ของเวกเตอร์ อินทิกรัลของเวกเตอร์พิกัดเชิงเส้นโค้ง และการวิเคราะห์เทนเซอร์

รายวิชา 4294405 การวิเคราะห์จำนวนจริงเบื้องต้น

3(3-0 -6 )

  Introduction to Real Analysis  

        ศึกษาและวิเคราะห์ระบบจำนวนจริง ทอพอโลยีบนเส้นจำนวนจริง ลำดับและอนุกรมของจำนวนจริง ลิมิตและความต่อเนื่อง อนุพันธ์ รีมันน์อินทิกรัล

รายวิชา 4294406 การวิเคราะห์จำนวนเชิงซ้อนเบื้องต้น

3(3-0 -6 )

 

Introduction to Complex Analysis

 

        ศึกษาและวิเคราะห์ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน ฟังก์ชันวิเคราะห์ ฟังก์ชันมูลฐาน อนุพันธ์ อินทิกรัล ลำดับและอนุกรมของฟังก์ชันตกค้าง การส่งคงแบบ

รายวิชา 4294407

การวิเคราะห์เชิงตัวเลข

3(3-0-6)

 

Numerical Analysis

 

        การวิเคราะห์ค่าผิดพลาด ผลต่างจำกัด การประมาณค่าในช่วง วิธีกำลังสองน้อยที่สุด การหาอนุพันธ์เชิงตัวเลข การอินทิเกรตเชิงตัวเลขโดยสูตรนิวตัน-โคตัสและกรณีเฉพาะของสูตรนี้ ผลรวมอนุกรม ผลเฉลยเชิงตัวเลขของสมการเชิงพีชคณิต และสมการเชิงอนุพันธ์

รายวิชา 4294501

เรขาคณิตนอกแบบยุคลิค

3(3-0-6)

 

Non-Euclidean Geometry

 

        ศึกษาและวิเคราะห์เรขาคณิตนอกแบบยุคลิค เรขาคณิตเชิงไฮเพอร์โบลา เรขาคณิตเชิงวงรี เรขาคณิตทรงกลม ความคล้องจองของเรขาคณิตนอกแบบยุคลิค

รายวิชา 4294502

เรขาคณิตเชิงภาพฉาย

3(3-0-6)

 

Projective Geometry

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การเกิดจุดและเส้น ภาวะคู่กัน ภาวะเชิงภาพฉาย อัตราส่วนไขว้ทฤษฎีบทของเดซาร์กส์ และปัปปุส เอกพันธ์ พิกัดแบบจุด พิกัดแบบเส้นโฟกัสของภาคตัดกรวย สิ่งหุ้มผิวโค้งกำลังสอง ภาพฉายของเส้น

รายวิชา 4294505 ทอพอโลยีเบื้องต้น

3(3-0 -6 )

  Introduction to Topology  

        ศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับทอพอโลยี ทอพอโลยีบนเส้นจำนวนจริง ปริภูมิอิงระยะทาง ปริภูมิเชิงทอพอโลยี ความกระชับและความเชื่อมโยง

รายวิชา 4294901 สัมมนาคณิตศาสตร์

3(3-0 -6 )

  Seminar in Mathematics  

        สัมมนาในเรื่องที่นักศึกษาสนใจ ให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ผู้สอน

รายวิชา 4302101 สถิติวิเคราะห์ 1

3(3-0 -6 )

  Statistical Analysis 1  

        ศึกษาและวิเคราะห์ความหมายขอบเขตและประโยชน์ของสถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข (ค่ากลาง การกระจายของข้อมูล ตำแหน่งของข้อมูล ความเบ้และความโด่ง) ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มค่าคาดหมายและความแปรปรวน การแจกแจงแบบทวินาม แบบปัวส์ซอง และแบบปกติ ทฤษฎีตัวอย่างสุ่ม การแจกแจงแบบที แบบไคสแควร์ และแบบเอฟ การประมาณค่าและการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย สัดส่วน และความแปรปรวนของประชากร หนึ่งกลุ่มและสองกลุ่ม

รายวิชา 4302102 สถิติวิเคราะห์ 2

3(3-0 -6 )

  Statistical Analysis 2  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน 4302101 สถิติวิเคราะห์ 1

        ศึกษาและวิเคราะห์การทดสอบภาวะสารูปสนิทดี การทดสอบความเป็นอิสระ การทดสอบความเท่ากันของความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสองทาง การวิเคราะห์ การถดถอยเชิงเส้น และสหสัมพันธ์แบบธรรมดา สถิตินอนพาราเมตริกเบื้องต้น อนุกรมเวลาเบื้องต้น และเลขดรรชนี

รายวิชา 4302202 สถิติเชิงคณิตศาสตร์ 1

3(3-0 -6 )

  Mathematical Statistics 1  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4292401 แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2

        ศึกษาและวิเคราะห์ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น ค่าคาดหมายของตัวแปรสุ่มโมเมนต์และฟังก์ชันที่ให้โมเมนต์ การแจกแจงหนึ่งตัวแปรที่สำคัญ การแจกแจงร่วมและการแจกแจงทางเดียว การแจกแจงที่มีเงื่อนไขและตัวแปรสุ่มอิสระ ความแปรปรวนร่วม โมเมนต์ร่วมและฟังก์ชันที่ได้โมเมนต์ร่วมค่าคาดหมายที่มีเงื่อนไข การแจกแจงหลายตัวแปรที่สำคัญ ฟังก์ชันของตัวแปรสุ่ม ทฤษฎีตัวอย่างสุ่ม และการแจกแจงของตัวสถิติ กฎของเลขจำนวนมาก และทฤษฎีลิมิตสู่ส่วนกลาง

รายวิชา 4302203 สถิติเชิงคณิตศาสตร์ 2

3(3-0 -6 )

  Mathematical Statistics 2  

        ศึกษาและวิเคราะห์รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4302202 สถิติเชิงคณิตศาสตร์ 1 การอนุมานเชิงสถิติ การประมาณค่าแบบจุด ตัวประมาณค่าที่ดี (ไม่เอนเอียง มีประสิทธิภาพ มีความแนบนัยและมีความเพียงพอ) การหาตัวประมาณค่าโดยวิธีโมเมนต์ วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุดและวิธีของเบย์ การประมาณค่าแบบช่วงและวิธีหาช่วงความเชื่อมั่น ทฤษฎีการทดสอบสมมุติฐานของนีย์แมนและเพียร์สัน การทดสอบที่มีอำนาจสูงสุดในรูปแบบเดียวกัน การทดสอบ อัตราส่วนภาวะน่าจะเป็นและการทดสอบไคสแควร์

รายวิชา 4302701 สถิติเพื่อการวิจัย

3(3-0 -6 )

  Statistics for Research  

        ศึกษาและวิเคราะห์การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจาย การสุ่มตัวอย่าง การแจกแจงค่าที่ได้จากตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและหลายทาง สัมประสิทธิ์การทดสอบและสหสัมพันธ์ การทดสอบ ไค-สแควร์ (Chi – Square)

รายวิชา 4303301 การวิเคราะห์การถดถอย

3(3-0 -6 )

  Regression Analysis  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4302102 สถิติวิเคราะห์ 2

        ศึกษาและวิเคราะห์ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นแบบธรรมดาและแบบพหุคูณ และข้อสมมุติที่เกี่ยวข้อง การประมาณค่าพารามิเตอร์โดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด การประมาณค่าแบบช่วงของสัมประสิทธิ์การถดถอย การพยากรณ์ การทดสอบความมีนัยสำคัญของสัมประสิทธิ์การถดถอย การตรวจสอบความเหมาะสมของตัวแบบเชิงเส้น และการแก้ปัญหาของตัวแบบการใช้ตัวแปรหุ่นสำหรับตัวแปรเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์การถดถอย การสร้างตัวแบบที่เหมาะสม การคัดเลือกตัวแปรวิธีต่าง ๆ การเปรียบเทียบตัวแบบและการถดถอยที่ไม่ใช่เชิงเส้น

รายวิชา 4303302 สถิตินอนพาราเมตริก

3(3-0 -6 )

  Nonparametric Statistics  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4302102 สถิติวิเคราะห์ 2

        ศึกษาและวิเคราะห์การทดสอบภาวะสารรูปสนิทดี การทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับพารามิเตอร์ต่าง ๆ โดยสถิติที่ไม่อิงพารามิเตอร์ของประชากรหนึ่งกลุ่ม สองกลุ่มและหลายกลุ่ม การทดสอบความสุ่ม และสหสัมพันธ์แบบนอนพาราเมตริก

รายวิชา 4303501 การวิจัยดำเนินงาน 1

3(3-0 -6 )

  Operation Research 1  

        ศึกษาและวิเคราะห์ตัวแบบการวิจัยดำเนินงาน กำหนดการเชิงเส้น ปัญหาคู่กัน(Duality) การวิเคราะห์ความไว ปัญหาการขนส่ง ปัญหาการจัดงาน การตัดสินใจและทฤษฎีเกม

รายวิชา 4303601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย

3(3-0 -6 )

  Programming Application for Statistics and Research  

        ศึกษาและวิเคราะห์การคำนวณและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับค่าร้อยละการวัดแนวโน้มสู่ส่วนกลาง การวัดการกระจายการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยค่าสัดส่วน และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวัดความสัมพันธ์ การวัดความเชื่อมั่นและเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสองทางการทดสอบนอนพาราเมตริก เช่น ไคสแควร์ การทำโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัย

รายวิชา 4304201 ทฤษฎีความน่าจะเป็น 1

3(3-0 -6 )

  Theory of Probability 1  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4292401 แคลคูลัสและเรขาคณิตวิเคราะห์ 2

        ปริภูมิความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและเวกเตอร์สุ่ม โมเมนต์ของตัวแปรสุ่ม และเวกเตอร์สุ่ม ศึกษาและวิเคราะห์ฟังก์ชันก่อกำเนิด (Generating function) และฟังก์ชันลักษณะเฉพาะ (Characteristic function) การแปลงตัวแปรและผลประสาน(Convolution) การลู่เข้าในเชิงความน่าจะเป็น การลู่เข้าในเชิงการแจกแจง กฎของเลขจำนวนมาก และทฤษฎีลิมิตสู่ส่วนกลาง

รายวิชา 4304202 ทฤษฎีความน่าจะเป็น 2

3(3-0 -6 )

  Theory of Probability 2  

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4304201 ทฤษฎีความน่าจะเป็น 1

        ศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการเชิงสุ่ม กระบวนการปัวส์ซอง กระบวนการปรับใหม่ (Renewal Process) ทฤษฎีแถวคอย การวิเคราะห์สเปคตรัล กระบวนการแบบเกาส์ การวิเคราะห์อนุกรมเวลา กระบวนการไวเนอร์และเลวี กระบวนการมาร์คอฟ การพยากรณ์เชิงสุ่มและกระบวนการแตกสาขา

รายวิชา 4311103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม

3(2-2 -5 )

  Computer Programming and Algorithm  

        ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบและหน้าที่ของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดต่าง ๆ หลักการเขียนโปรแกรมและการทำงานของโปรแกรมขั้นตอนการเขียนและการพัฒนาโปรแกรม และการเขียนผังงานการวิเคราะห์ และการออกแบบ อัลกอริทึ่มแบบ Sequential decision, Repetition, Modular, Recursion

รายวิชา 4311201 การประมวลผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล

3(2-2 -5 )

  Data and File Processing  

        ศึกษาและวิเคราะห์ความหมาย วิวัฒนาการและหลักการประมวลผลข้อมูล ชนิดและหน้าที่ของหน่วยความจำสำรอง การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ลักษณะโครงสร้างข้อมูลแบบต่างๆ ความหมายลักษณะและชนิดของแฟ้มข้อมูล เช่น Sequential, Random, Index, ISAM, MSAM, Tree, B-tree, Invert การเข้าถึงข้อมูล การค้นหาและการจัดการแฟ้มข้อมูล

รายวิชา 4311401 ระบบปฏิบัติการ

3(2-2 -5 )

  Operating Systems  

        ศึกษาและวิเคราะห์ความหมาย และวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ การจ่ายงานหรือการจัดสรรหน่วยประมวลผล การบริหาร และการจัดการหน่วยความจำ การจัดคิวงาน และการจัดสรรทรัพยากร การจัดการข้อมูลและการแสดงผลระบบแฟ้ม การควบคุม การคืนสู่สภาพเดิม

รายวิชา 4312402 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

3(2-2 -5 )

  System Analysis and Design  

        ศึกษาและวิเคราะห์หลักการเกี่ยวการวิเคราะห์ระบบ และการวางแผนแก้ปัญหา ขอบข่ายของการวิเคราะห์ การตรวจสอบระบบศึกษาความเป็นไปได้ การวิเคราะห์รายละเอียด ระบบที่ใช้ใหม่กับระบบเดิม การออกแบบการนำข้อมูลเข้าและข้อมลออก การออกแบบแฟ้ม ข้อมูล เอกสารระบบงาน การทดสอบระบบที่ออกแบบ และการนำไปใช้ รวมถึงการแก้ไขและบำรุงรักษา การทำผังระบบ การสื่อสาร การประเมินและการตัดสินใจ การควบคุม และความปลอดภัย

รายวิชา 4312607 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการศึกษา

3(2-2 -5 )

  Computer Program for Education  

        ศึกษาพัฒนาการ แนวคิด โครงสร้างการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของไมโครคอมพิวเตอร์และการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในวงการศึกษาฝึกปฏิบัติการออกแบบและผลิตผลงานจากโปรแกรมสำเร็จรูป

รายวิชา 4313203 ระบบการจัดการฐานข้อมูล

3(2-2 -5 )

  Database Management System  

        ทบทวนความรู้เรื่องฐานข้อมูลสถาปัตยกรรมข้อมูล แบบจำลองของฐานข้อมูลรูปแบบฐานข้อมูล การใช้ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง ฯลฯ ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล การประยุกต์ linked list ความสัมพันธ์ระหว่าง record ในฐานข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การใช้คีย์ต่าง ๆ ในการประมวลผล การป้องกันข้อมูล ระบบการสำรวงข้อมูลและการเรียกคืน การวิเคราะห์ออกแบบข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล

รายวิชา 4313702 ระบบการสื่อสารข้อมูล

3(2-2 -5 )

  Data Communication System  

        ศึกษาและวิเคราะห์การทำงานของระบบการเก็บข้อมูลและการสื่อสาร อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ระบบสื่อสาร อุปกรณ์ที่ใช้ ระบบสื่อสาร ระบบการส่งข้อมูลแบบทางเดียว แบบสองทางไปพร้อมกัน แบบสองทางพร้อมกัน ชนิดของการส่งข้อมูล Analog และ Digital สถาปัตยกรรมของ network protocol, ระบบเครือข่าย, WAN, LAN และ Distributed Network

รายวิชา 4313602 การศึกษาวงจรและซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์

3(2-2 -5 )

  Circuit Description and Microcomputer Maintenance  

        ศึกษาการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ การอินเตอร์เฟสภายในและภายนอกหน่วยความจำ หน่วยป้อนข้อมูล    หน่วยแสดงผล อุปกรณ์ประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง หลักการติดตั้ง และซ่อมบำรุง ฝึกปฏิบัติการติดตั้งและซ่อมบำรุงระบบคอมพิวเตอร์

        3.8 วิชาเอกวิทยาศาสตร์

                วิชาเอกวิทยาศาสตร์ (บังคับ)

รายวิชา 2312704 ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

  English for Science  

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 4003901 วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

  Research in Science  

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการวิจัยและการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือการค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา 4211301 พิสิกส์ทั่วไป

3(3-0-6)

  General Physics  

        ศึกษาเกี่ยวกับการวัด เวกเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรง งานกำลังและพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก คลื่น สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ไฟฟ้าแม่เหล็ก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง และฟิสิกส์นิวเคลียร์

รายวิชา 4211601 ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

  General Physics Laboratory  

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ทั่วไปไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4212313 กลศาสตร์

3(3-0-6)

  Mechanics  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4211301 ฟิสิกส์ทั่วไป

        ศึกษา วิเคราะห์การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์ แรงศูนย์กลาง พลวัตของระบบอนุภาคแรงดึงดูดระหว่างมวล สนามโน้มถ่วง กลศาสตร์ของไหล การเคลื่อนที่ของวัตถุแข็งแกร่ง พลวัตของไจโรสโคปและกลาสตร์แบบลากรานจ์

รายวิชา 4212314 แม่เหล็กไฟฟ้า 1

3(3-0-6)

   Electricity and Magnetism 1  

        ศึกษาเรื่องไฟฟ้าสถิต พลังงานไฟฟ้าสถิต ไดอิเล็กตริก สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแสไฟฟ้าคงที่ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า สารแม่เหล็ก พลังงานแม่เหล็ก สมการแม็กซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

รายวิชา 4213321 ฟิสิกส์ของคลื่น

3(3-0-6)

  Physics of Wave  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4211301 ฟิสิกส์ทั่วไป

        ศึกษา วิเคราะห์กฎเกณฑ์ทางฟิสิกส์ของคลื่นเกี่ยวกับชนิด และการเคลื่อนที่ของคลื่นในตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลวและก๊าซ สมการคลื่นและผลเฉลยของสมการ พลังงานและโมเมนตัมของคลื่น การรวมกันของคลื่น ปรากฎการณ์ดอปเปลอร์ การแทรกสอดและการเลี้ยวเบนของคลื่น โพลาไรซ์ของคลื่น อันตรกิริยาของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับสสาร ประโยชน์และการประยุกต์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

รายวิชา 4221101 เคมีทั่วไป

3(3-0-6)

  General Chemistry  

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้น คุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลน์พลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4221102 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1(0-2-1)

  General Chemistry Laboratory  

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคเบื้องต้นและหลักปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติการเคมี การจัดสารเคมี เกรดของสารและการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เทคนิคการใช้เครื่องมือพื้นฐานจลน์ศาสตร์สมดุลเคมี pH ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดและเบส

รายวิชา4222201 เคมีอนินทรีย์ 1

3(2-3-4)

  Inorganic Chemistry 1  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4221101 เคมีทั่วไป

        ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดสารประกอบไอออนิก สารประกอบโควาเลนต์และสมบัติของสารประกอบไอออนิก และโควาเลนต์ ทั้งด้านกายภาพและเคมี สมบัติและสารประกอบของธาตุ โลหะ อโลหะ เคมีของสารอนินทรีย์ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำและไม่ใช่น้ำ และปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก การเตรียมสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์

รายวิชา 4222301 เคมีอินทรีย์ 1

3(2-3-4)

  Organic Chemistry 1  

        ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ ไฮบริไดเซชันของคาร์บอน พันธะในสารประกอบอินทรีย์ การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ สเตอริโอเคมี ชนิดและกลไกของปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ สมบัติทางกายภาพ การเตรียมปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอะโรมาติกและสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันชนิดต่างๆ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำสารให้บริสุทธิ์ การแยกสารผสม การวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบในสารอินทรีย์ ทดสอบหมู่ฟังก์ชัน การเตรียมอนุพันธ์สารอินทรีย์ ปฏิกิริยาชนิดต่าง ๆ ของสารอินทรีย์

รายวิชา 4223601 เคมีวิเคราะห์

3(2-3-4)

  Analytical Chemistry  

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการวิเคราะห์ วิธีเบื้องต้นในการทำคุณภาพวิเคราะห์แบบกึ่งจุลภาค การคำนวณปริมาณสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดปริมาตร การคำนวณหาปริมาณสารเคมีและการวิเคราะห์โดยปริมาตรในปฏิกิริยากรด-เบส ปฏิกิริยาตกตะกอน ปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน จากการไทเทรตสารละลายประเภทต่าง ๆ ในน้ำ

รายวิชา 4231101 ชีววิทยาทั่วไป

3(3-0-6)

  General Biology  

        ศึกษาสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ พลังงานในสิ่งมีชีวิตและการสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบต่าง ๆ ของสัตว์ ชีวิตกับสภาพแวดล้อม การจัดจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตและเทคโนโลยีทางชีวภาพ

รายวิชา 4231102 ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1(0-2-1)

  General Biology Laboratory  

        ปฏิบัติการเรื่องสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์และการแบ่งเซลล์เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์ การจำแนกสิ่งมีชีวิต การแลกเปลี่ยนสาร การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การทำงานของระบบต่าง ๆ ในสัตว์ ฮอร์โมนพืช และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4231301 สัตววิทยา

3(2-3-4)

  Zoology  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4231101 ชีววิทยาทั่วไป

        ศึกษาชีววิทยาของสัตว์ เซลล์ เนื้อเยื่อ การจำแนกประเภท การศึกษาด้านสัณฐานวิทยา กายวิภาค สรีรวิทยา การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต นิเวศวิทยาของสัตว์ วิวัฒนาการ การรวบรวมและเก็บตัวอย่างสัตว์ การศึกษาภาคสนาม

รายวิชา 4232201 พฤกษศาสตร์

3(2-3-4)

  Botany  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4231101 ชีววิทยาทั่วไป

        ศึกษาชีววิทยาของพืช เซลล์ เนื้อเยื่อ สัณฐานวิทยา กายวิภาคของพืชมีดอก สรีรวิทยานิเวศวิทยาของพืช วิวัฒนาการ การจำแนกประเภท การรวบรวมเก็บตัวอย่างพืช การศึกษาภาคสนาม

รายวิชา 4232601 จุลชีววิทยา

3(2-3-4)

  Microbiology  

        ศึกษาค้นคว้าความรู้พื้นฐานจุลชีววิทยา ศึกษาเปรียบเทียบโพรคาริโอตและยูคาริโอต การจำแนกประเภทสัณฐานวิทยา สรีรวิทยา การเจริญเติบโต การสืบพันธุ์ การควบคุมและการจำแนกจุลินทรีย์ ความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ต่ออาหาร น้ำ ดิน อากาศ การอุตสาหกรรม การสุขาภิบาล โรคติดต่อและภูมิต้านทาน

รายวิชา 4252302 อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น

2(1-2-3)

  Meteorology  

        ศึกษาความหมายของบรรยากาศของโลก องค์ประกอบและสมบัติของบรรยากาศ สาเหตุและผลการเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ การอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น การพยากรณ์อากาศ การศึกษาวิทยาศาสตร์เบื้องต้น การศึกษาภูมิอากาศของไทย

รายวิชา 4254101 วิทยาศาสตร์ของโลก

3(2-2-5)

  Earth Science  

        ศึกษาความสำคัญของธรณีวิทยาต่อชีวิตประจำวัน ธรณีประวัติ ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ถึงยุคปัจจุบัน ธรณีวิทยา โครงสร้างและลักษณะภูมิประเทศ การสำรวจทางธรณีวิทยา การศึกษาถึงแหล่งกำเนิดของดิน หิน แร่ ธรณีประยุกต์และธรณีวิทยาของประเทศไทย ดาราจักรของเราและเอกภพ ทรงกลม ท้องฟ้า นภา ระบบสุริยะ และมิติที่แท้จริง โครงสร้างและวิวัมนาการของดวงดาว รวมทั้งความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับดาวเคราะห์ ห้วงใน ห้วงนอก ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ ประวัติการกำเนิดทะเลและมหาสมุทร ลักษณะทางกายภาพ ส่วนประกอบทางเคมี ความสัมพันธ์ ทางด้านชีววิทยาของมหาสมุทร ซึ่งจะก่อให้เกิดผลผลิตทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ทั้งของไทยและโลก

รายวิชา 4261101 พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

2(1-2-3)

  Fundamental of Environmental Science  

        ศึกษาความหมายและขอบเขตของสิ่งแวดล้อม สมดุลธรรมชาติโลกทั้งระบบ (Earth as System) ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมกับการแก้ไขปัญหา การป้องกัน การพัฒนาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยทั่วไป และเน้นปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยทั่วไป และเน้นปัญหาสิ่งแวดล้อมในแต่ละภาคที่กำลังประสบปัญหาในสภาวะปัจจุบัน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาความสัมพันธ์ในระบบสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4261601 ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

1(0-2-1)

  Environmental Science Laboratory  

        ปฏิบัติการพื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โลกทั้งระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาพื้นฐานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการเรื่องดิน น้ำ อากาศ สิ่งปกคลุมดิน และสิ่งมีชีวิตในระบบสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4291401 แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

  Calculas 1  

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน พีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

                วิชาเอกวิทยาศาสตร์ (เลือก)

                        หมู่วิชาความรู้เพิ่มเติม

รายวิชา 1123601 ทักษะสำหรับครูวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

  Teaching Skills for Science Teachers  

        วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูวิทยาศาสตร์ ทักษะสำคัญและจำเป็นสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ความสำคัญของทักษะสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ฝึกทักษะในการจัดกิจกรรม โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมวิทยาศาสตร์เชิงเทคโนโลยี โครงงานวิทยาศาสตร์ การออกแบบและการสร้างสื่อการสอนทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน ทักษะอื่น ๆ ที่จำเป็นการประเมินทักษะและแนวทางพัฒนาทักษะสำหรับครูวิทยาศาสตร์

รายวิชา 1123602 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2(2-0-4)

  Science Process Skills  

        ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ความหมาย และโครงสร้างของวิทยาศาสตร์ ประเภทของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยาศาสตร์ ประเภทและลักษณะของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การวัดและประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

รายวิชา 1124606 การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

  Science Learning Management  

        ศึกษาหลักสูตรและเอกสารหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์หลักสูตร เทคนิคการจัดประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เทคนิคการใช้ห้องปฏิบัติการ การใช้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทักษะในการผลิตและการใช้สื่อต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการสอน การทำหน่วยและแผนการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติการจัดการเรียนรู้

รายวิชา 4004301 การผลิตอุปกรณ์การสอนวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

  Construction of Science Materials  

        ศึกษาและปฏิบัติ หลักการออกแบบอุปกรณ์เพื่อการสอน การทดลอง การสาธิตการผลิตอุปกรณ์ทดแทน การเลือกวัสดุและวัสดุทดแทน การผลิตอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา เช่น การทำสไลด์เพื่อใช้กับกล้องจุลทรรศน์ การเก็บและรักษาตัวอย่าง ทางชีววิทยา การผลิตอุปกรณ์อื่น ๆ

รายวิชา 4234202 สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 1

3(2-2-5)

  Botanical Garden in School 1  

        ศึกษา ความสำคัญและคุณค่าของพืชพรรณต่อชีวิต ความหลากหลายของพรรณพืชภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากพืชพรรณ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การอนุรักษ์และการพัฒนาพืชพรรณ เรียนรู้พระราชปรารถ พระราชดำริฯ ความเป็นมา องค์ประกอบสวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนการสร้างและการจัดปัจจัยพื้นฐานในโรงเรียนให้เป็นปัจจัยแห่งการเรียนรู้ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางดำเนินงาน การจัดทำแผนการดำเนินงาน การประเมินผล ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน

รายวิชา 4234203 สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2

3(2-2-5)

  Botanical Garden in School 2  

        ศึกษาการจัดทำแผนการดำเนินงาน การประเมินผล ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในด้านต่าง ๆ ได้ และการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การใช้ธรรมชาติรอบกายเป็นปัจจัยแห่งการเรียนรู้ โดยวิธีการให้เห็นความงาม ความมีเสน่ห์ของธรรมชาติ ความตื่นเต้นของชีวิตตน ท่ามกลางความหลายของธรรมชาติ ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน นำตนไปสู่ การดำรงชีวิตที่เบิกบาน จนเกิดเป็นบูรณาการแห่งชีวิต

รายวิชา 4313610 โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

3(2-2-5)

  Application for Science and Mathematics  

        โปรแกรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เช่น อันดับและอนุกรม การจัดหมู่ การจัดลำดับ ความน่าจะเป็นทฤษฎีบททวินาม ฟังก์ชัน การแก้สมการ เวคเตอร์ ความเร็ว ความเร่งเรขาคณิตวิเคราะห์ และแคลคูลัสเบื้องต้น ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเนื้อหาวิชาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

                        หมู่วิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก

รายวิชา 4212304 อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

3(2-2-5)

  General Electronics  

        ศึกษาทฤษฎีและการใช้งานเกี่ยวกับตัวนำ ตัวต้านทาน ฉนวน สารกึ่งตัวนำ โครงสร้างสัญลักษณ์แบบและชนิดตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ รีเลย์ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ ไดโอด วงจรกรองกระแส (Rectifier) แบบต่าง ๆ Operating point กราฟลักษณะสมบัติ ค่าพารามิเตอร์ และค่าสำคัญ ๆ ที่บอกไว้ในคู่มือของไดโอด และทรานซิสเตอร์ วงจรทรานซิสเตอร์แบบ CB, CE และ CC การไบแอสทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ Load Line ไอซีออปแอมป์ การวัดและการทดสอบไอโอด สารกึ่งตัวนำ วงจรกรองกระแสแบบต่าง ๆ โดยใช้ออสซิลโลสโคป และมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การไบแอสวงจรทรานซิสเตอร์ วงจรออปแอมป์ วงจรกำเนิดความถี่และวงจรเครื่องขยายสัญญาณ หลักการ แผนแบบ และการออกแบบวงจร วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็ก (Small Signal Amplifier) วงจรขยายกำลังแบบต่าง ๆ วงจรชมิททริกเกอร์ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ ชนิดต่างๆ ความถี่ การไบแอสเอฟ อี ที โครงสร้างและคุณสมบัติยูเจทีและพียูที วงจรสื่อสารและการมอดูเลชั่นแบบต่าง ๆ ให้มีการสาธิตและปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 4212314 ฟิสิกส์นิวเคลียร์

3(3-0-6)

  Nuclear Physics  

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม แรงยึดเกาะและเสถียรภาพของนิวเคลียส ทฤษฎีการสลายตัวในรังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมาของนิวเคลียส กฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี สมดุลของการสลายตัว สารกัมมันตรังสีทั้งที่มีในธรรมชาติ และการประดิษฐ์ขึ้น ตารางนิวไคลด์และแผนผังการสลายตัวของนิวเคลียส ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องวัดรังสี ประโยชน์ โทษ และการป้องกันอันตรายจากสีสภาพการสลายตัวในกระบวนการ ชั้นพลังงานที่ได้จากการสลายตัวของนิวเคลียส กระบวนการเกิดปฏิกิริยา และแรงนิวเคลียร์ (Nuclear Reaction and Nuclear Force) ปฏิกิริยาแยกสลาย (fission) เครื่องเร่งอนุภาค อันตรกิริยานิวคลีออน- นิวคลีออน (Nucleon-nucleon Interaction) Nuclear Spin and Magnetism แรงนิวเคลียร์แบบจำลองนิวเคลียส รังสีคอสมิก และ Sub-nuclear Particles ฟิสิกส์พลังงานสูงเบื้องต้น (Introduction to High Energy Physics)

รายวิชา 4212315 อุณหพลศาสตร์

3(3-0-6)

  Thermodynamics  

        ศึกษากฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซในอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของก๊าซกฎข้อที่หนึ่งของอุณหพลศาสตร์ ความดัน อุณหภูมิของก๊าซ ระยะทางเฉลี่ยความเร็วเฉลี่ยของอนุภาค การเคลื่อนที่แบบราวเนียน สมการแสดงสถานะของแวนเดอร์วาลล์ เอนโทรปีกับกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ กระบวนการแปรผันกลับได้ และแบบแปรผันกลับไม่ได้ วัฎจักรของคาร์โน ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์และการประยุกต์

รายวิชา 4212401 ฟิสิกส์ แผนใหม่

3(3-0-6)

  Modern Physics  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4211301 ฟิสิกส์ทั่วไป

        ศึกษา วิเคราะห์ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ คุณสมบัติคู่ของคลื่นและอนุภาคหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก ทฤษฎีอะตอม สเปกตรัมของอะตอม รังสีเอ็กซ์ เลเซอร์ กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น อะตอมโมเลกุลของของแข็ง นิวเคลียสของอะตอม กัมมันตภาพรังสี และอนุภาคมูลฐาน

รายวิชา 4213301 กลศาสตร์ควอนตัม 1

3(3-0-6)

  Quantum Mechanics 1  

        ศึกษา วิเคราะห์ มโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม สมการคลื่นของ schrodinger ฟังก์ชั่น Probability density Harmonics และระดับพลังงาน การประยุกตใช้สมการคลื่นกับอะตอมของไฮโดรเจน สเปกตรัมของไฮโดรเจน Quantization of angular momentum Zemman effect spin orbit interaction อะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน (Atom with many electron)

รายวิชา 4213305 ฟิสิกส์สถานะของแข็ง

3(2-2-5)

 

Solid State Physics

 

        ศึกษา วิเคราะห์ กฎเกณฑ์และทฤษฎีเบื้องต้นของฟิสิกส์ของของแข็งเกี่ยวกับโครงสร้างของผลึก การตรวจสอบโครงสร้างของผลึกด้วยวิธีการดิฟแฟรกชั่นของคลื่น การสั่นสะเทือนของแลททิสของผนึก ซึ่งทำให้เกิดสมบัติทางเสียงและแสงของวัตถุ ทฤษฎีอิเล็กตรอนอิสระ ทฤษฎีแบนด์ของของแข็ง (Band of Solid) สมบัติของโลหะทางด้านความร้อนและทางไฟฟ้า โดยให้ศึกษาในเชิงบรรยาย และนำสมการทางคณิตศาสตร์มาประกอบตามสมควร

รายวิชา 4213511 พลังงานแสงอาทิตย์

3(3-0-6)

  Solar Energy  

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของพลังงานแสงอาทิตย์และการวัดรังสีดวงอาทิตย์ การหากระบวนการถ่ายเทความร้อนที่เกี่ยวข้อง การออกแบบอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครื่องทำความร้อน เตาหุงอาหาร เครื่องอบแห้ง เครื่องทำความเย็นแบบดูดซึม เครื่องกลั่นน้ำ เครื่องยนต์ความร้อน วิธีการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง

รายวิชา 4213513 เทคโนโลยีปิโตรเคมี

3(3-0-6)

   Petrochemical Technology  

        ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัตถุดิบ การแบ่งกลุ่มทางเคมีของน้ำมันตามสภาพ แหล่งกำเนิด กระบวนการผลิตสารเคมีอินทรีย์โดยมีสารตั้งต้น เช่น มีเทน อีเทน โพนเพน แอซิทิลีน และปิโตรเลียม อโรมาติก การผลิตปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ผลซักฟอก การสังเคราะห์วัตถุอื่น ๆ จากน้ำมัน

รายวิชา 4213514 พลังงานชีวมวล

3(3-0-6)

   Biomass Energy  

        ศึกษารูปแบบของพลังงานชีวมวล การเปลี่ยนรูปชีวมวลเป็นพลังงาน เช่น จากอาหารชีวมวลเป็นพลังงานเส้นใยจากชีวมวลเป็นพลังงาน สารเคมีและเชื้อเพลิงจากชีวมวลเป็นพลังงาน เป็นต้น กระบวนการสังเคราะห์แสง ปฏิกริยาเคมีที่ใช้แสงเป็นตัว กระตุ้นในพืช การผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากการสังเคราะห์แสง กระบวนการหมัก การแปลงรูปของเสียทางเกษตรกรรมเป็นเชื้อเพลิงและพลังงานการหมักแอลกอฮอล์ การผลิตแก๊สมีเทนเป็นเชื้อเพลิง การออกแบบถังหมักเพื่อผลิตแก๊สมีแทน

รายวิชา 4214314 สนามและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

3(3-0-6)

  Electrical Measurement  

        ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เวกเตอร์ สนามไฟฟ้าสถิต สนามแม่เหล็กสถิต แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กแปรตามเวลา ความเหนี่ยวนำ การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก การแกว่งทางแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสการกระจัด กระแสการพาและการนำสนามแม่เหล็ก เนื่องจากกระแสแรงบิดที่กระทำต่อบ่วงกระแสในสนามแม่เหล็ก สมการของแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวกลางชนิดไอโซทอนิกและไอโซทรอปิก ในตัวกลางที่เป็นตัวนำฉนวน ไดอิเล็กทริก ความจุไฟฟ้า การวัดขั้วคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏการณ์ของคลื่นระนาบเอกรูป สมการคลื่น การแพร่กระจายของคลื่น การสะท้อน การหักเห และการเบี่ยงเบนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สายส่ง สายอากาศ คลื่นนำแสง ท่อนำคลื่น ท่อสั่นพ้อง สมการลาปลาซ สมการของปัวส์ซอง และเวกเตอร์พอยน์เตอร์พอยน์ติงกับการไหลของพลังงานไฟฟ้า ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 4214521 การจัดการและอนุรักษ์พลังงาน

3(3-0-6)

  Energy Management and Conservation  

        ศึกษาบทนำและการใช้พลังงานในประเทศไทย หลักการเบื้องต้นทางการจัดการพลังงานการวางแผนเพื่อการจัดการพลังงาน การตรวจสอบพลังงาน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านพลังงาน การจัดการด้านการทำความร้อน ความเย็น โหลดไฟฟ้า และแสงสว่าง การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการพลังงานและด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้พลังงาน

                        หมู่วิชาเคมี

รายวิชา 4221103 เสริมทักษะปฏิบัติการเคมี

3(2-3-4)

  Chemistry Laboratory Skill Improvement  

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี การจำแนกประเภทของสารเคมี การเก็บและการเลือกใช้สารเคมี อุปกรณ์เครื่องแก้วและพลาสติก การเตรียมรีเอเจนต์ การคำนวณในการเตรียมสารละลาย เทคนิคการทดลองด้วยเครื่องมือมูลฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี ขั้นตอนในการดำเนินงานในห้องปฏิบัติการเคมี

รายวิชา 4222401 เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3(2-3-4)

  Physical Chemistry 1  

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของแก๊ส และทฤษฏีจลน์โมเลกุลของแก๊ส กฎต่าง ๆ ของอุณหพลศาสตร์ อุณหเคมี เอนทัลปี เอนโทรปี และพลังงานเสรี สมดุลเคมี สมดุลระหว่างวัฏภาค กฏของวัฏภาค ผลึกและของเหลว

รายวิชา 4223105 เคมีสภาวะแวดล้อม

3(2-3-4)

  Environmental Chemistry  

        ศึกษามลพิษทางน้ำ ดินและอากาศ การสุ่มตัวอย่างน้ำ ดิน การวิเคราะห์น้ำเสีย ดิน พืช ยาฆ่าแมลง โลหะหนักในดิน น้ำ อากาศ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี ค่าความต้องการออกซิเจนทางเคมี การวิเคราะห์หาไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถันในดิน การวิเคราะห์ยาฆ่าแมลง โลหะหนักในพืช ในดิน ในน้ำ และในอากาศ

รายวิชา 4223305 วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

3(3-0-6)

  Polymer Science  

        ศึกษาความรู้เกี่ยวกับพอลิเมอร์ โครงสร้างของพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบการเติมและแบบเป็นขั้น การสังเคราะห์พอลิเมอร์ การหาขนาดโมเลกุล การไหลของพอลิเมอร์ สัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ สมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์

รายวิชา 4223501 ชีวเคมี 1

3(2-3-4)

  Biochemistry 1  

        ศึกษาความสำคัญของบัฟเฟอร์ในสิ่งมีชีวิต เทคนิคการทำสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง วิธีโครมาโทกราฟี การเคลื่อนย้ายสู่ขั้วไฟฟ้า (electrophoresis) การหมุนเหวี่ยง (centrifugation) ศึกษาองค์ประกอบของเซลล์โครงสร้าง สมบัติทางเคมี หน้าที่ทางชีวภาพของคาร์โบไฮเดรตลิพิดโปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และให้ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำให้ชีวโมเลกุลบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิกและวิตามินบางชนิดและเกลือแร่

รายวิชา 4223701 ปริมาณสัมพันธ์ทางเคมี

3(3-0-6)

  Chemical Stoichiometry  

        ศึกษาการวิเคราะห์และการแปลผลของข้อมูลที่ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี การทำสมดุลมวลสารที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี การทำสมดุลพลังงานโดยใช้ข้อมูลสมดุลเคมี สมดุลวัฏภาค ข้อมูลทางกายภาพ และ ข้อมูลทางอุณหพลศาสตร์ การแก้ปัญหาสมดุลมวลสาร และพลังงาน ในสภาวะไม่คงตัว

รายวิชา 4223706 ความปลอดภัยจากสารเคมี

2(2-0-4)

  Chemical Safety  

        ศึกษาชนิดของสารเคมีที่เป็นอันตราย สารไวไฟ วัตถุระเบิด สารกัมมันตรังสี และสารกัดกร่อน วิธีที่ถูกต้องในการเคลื่อนย้าย การเก็บ การใช้ และการทำลายสารเคมี วิธีป้องกันอุบัติภัยจากสารอันตรายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รายวิชา 4223752 เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3(3-0-6)

  Chemistry of Natural Products  

        ศึกษาเกี่ยวกับเคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อันได้แก่ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น แป้ง น้ำตาล อนุพันธ์ของน้ำตาล กัม วุ้น ไขมัน น้ำมัน เรซิน บาลซัม โปรตีน แอลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ ซาโพนิน และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุและสารประกอบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์

รายวิชา 4224726 เคมีประยุกต์

3(2-2-5)

  Applied Chemistry  

        ศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในบ้านบางชนิด เช่น การทำสบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ สมบัติของสารผสมที่ใช้ในการผลิต ปริมาณสารปลอมปนในหัวแชมพู กระบวนการและเทคนิคการผลิตในทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและผลผลิตสูง การประยุกต์อุณหพลศาสตร์ในทางอุตสาหกรรม การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

                        หมู่วิชาชีววิทยาและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา4232101 สรีรวิทยาทั่วไป

3(2-3-4)

  General Physiology  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4231101 ชีววิทยาทั่วไป

        ศึกษาและวิเคราะห์ความรู้พื้นฐานทาง สรีรวิทยาของสิ่งมีชีวิต กระบวนการต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจ การขนส่งและการลำเลียง ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ กลไกการประสานงานและ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ

รายวิชา 4232103 ชีววิทยาของเซลล์และโมเลกุล

3(2-3-4)

  Cell and Molecular Biology  

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์โพรคาริโอตและยูคาริโอต วัฏจักรของเซลล์ การแบ่งเซลล์ เมตาบอลิซึมของเซลล์ สารพันธุกรรมในเซลล์โพรคาริโอติกและเซลล์ยูคาริโอติก การแสดงออกของจีน พันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล กลไกการถ่ายแบบและซ่อมแซมดีเอ็นเอ การควบคุมการแสดงออกของจีน กลไกการรวมจีน พันธุศาสตร์ของจุลินทรีย์ เทคโนโลยีดีเอ็นเอสายผสม การส่งถ่ายจีนในพืชและสัตว์ การประยุกต์ชีววิทยาระดับโมเลกุลสำหรับการปรับปรุงพันธ์พืชและสัตว์ การแพทย์และอุตสาหกรรม

รายวิชา 4232401 พันธุศาสตร์

3(2-3-4)

  Genetics  

        ศึกษา ค้นคว้าความรู้พื้นฐานทางพันธุศาสตร์ หลักการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การคาดคะเนผลลัพธ์ที่เกิดในลูกผสม ความน่าจะเป็นและการทดสอบทางสถิติ จีนและโครโมโซม การถ่ายแบบสารพันธุกรรม การกำหนดเพศ มัลติเพิลอัลลีล การควบคุมของจีนเชิงปริมาณและคุณภาพ ความแปรปรวนของลูกผสม การกลายระดับจีนและระดับโครโมโซม พันธุวิศวกรรม พันธุศาสตร์ประชากร การถ่ายทอดพันธุกรรมนอกนิวเคลียส และหลักการพันธุวิศวกรรมศาสตร์เบื้องต้น

รายวิชา 4233101 เสริมทักษะปฏิบัติการชีววิทยา

3(2-3-4)

  Essential Skills for Biological Laboratory  

         หลักการปฏิบัติเบื้องต้นในการปฏิบัติการทางชีววิทยา การใช้ การดูแล รักษาการซ่อมแซมอุปกรณ์และเครื่องมือทางชีววิทยาเบื้องต้น ฝึกทักษะการเตรียม สารเคมีพื้นฐาน เทคนิคการเก็บตัวอย่างพืชและสัตว์

รายวิชา 4233103 อนุกรมวิธาน

3(2-3-4)

  Taxonomy  

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน:4231101 ชีววิทยาทั่วไป

        ศึกษาความรู้พื้นฐานในการจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิต หลักเกณฑ์การจำแนกประเภท ปฏิบัติการจำแนกประเภทสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ การสร้างไดโคโทมัสคีย์ (Dichotomous Key) จากตัวอย่างในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม การรวบรวมและเก็บตัวอย่าง การศึกษาภาคสนาม

รายวิชา 4233701 เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐาน

3(3-0-6)

  Introduction to Biotechnology  

        ศึกษา ค้นคว้า ความหมาย หลักการ และพื้นฐานของเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมการหมัก การใช้จุลินทรีย์ทางอุตสาหกรรม จีโนม เมกะจีโนม เทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ การปรับปรุงพันธุ์พืช สัตว์และจุลินทรีย์โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม กระบวนการและเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพ การผลิตโดยเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน

รายวิชา 4234201 การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช

3(2-3-4)

  Plant Tissue Culture  

        การศึกษาเทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยใช้อาหารสังเคราะห์ และฮอร์โมนในสภาวะปลอดเชื้อ การนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้ในการขยายพันธุ์พืช ปรับปรุงพันธุ์พืช การเก็บรักษา

รายวิชา 4234209 วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น

2(1-3-2)

  Local Science  

        ศึกษาและวิเคราะห์บริบทของแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ฝึกปฏิบัติการสำรวจทั่วไปเพื่อค้นหาองค์ความรู้หรือสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ แบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย เช่น ครู นักเรียน นักศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน และ/หรือ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น นำข้อมูลที่ได้มาวางแผนการดำเนินงาน ปฏิบัติการตามแผน ประเมินผล วิเคราะห์และสรุปผล นำผลที่ได้มาสร้างบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น นำบทเรียนไปทดลองใช้ ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขจนกระทั่งได้บทเรียนฉบับสมบูรณ์

รายวิชา 4261602 ปฏิบัติการนิเวศวิทยากับสิ่งแวดล้อม

1(0-2-1)

  Ecology and Environment Laboratory  

        ศึกษาเชิงปฏิบัติการทั้งระบบนิเวศทางธรรมชาติบนบกและในน้ำ และระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม การเกิดแทนที่ (Succession) ความหลากหลายทางชีวภาพและปัจจัยจำกัด ศึกษาโครงสร้าง หน้าที่และความสัมพันธ์ของระบบนิเวศแต่ละระบบ โลกนิเวศ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศกับสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4261701 นิเวศวิทยากับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

   Ecology and Environment  

        ศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของระบบนิเวศแต่ละระบบและความสัมพันธ์ระหว่างระบบนิเวศแต่ละระบบกับสิ่งแวดล้อม ผลการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4263507 การจัดการสิ่งแวดล้อม

 2(1-2-3)

  Environmental Management  

        ศึกษาหลักการวิเคราะห์และการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม สำรวจ รวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบ เพื่อการวางแผนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการจัดการและพัฒนาแบบยั่งยืน

                3.6 วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

รายวิชา 1003803 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 1

2(1-2-3)

  Practicum 1  

        ศึกษา สังเกต และฝึกการเป็นผู้ช่วยครู เกี่ยวกับธรรมชาติและพัฒนาการและการเรียนรู้รู้ของนักเรียนการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกการศึกษาสังเกตและมีส่วนร่วมที่สถานศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

รายวิชา 1124801 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 2

1(0-2-1)

  Practicum 2  

        วางแผนและจัดทำแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ อภิปราย แผนการเรียนรู้ ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาวิชาในช่วงชั้นที่ 1 และ 2 แล้วนำมาทดลองใช้ในสถานศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขภายใต้การนิเทศของผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาชีพครู

รายวิชา 1124802 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพครูระหว่างเรียน 3

1(0-2-1)

  Practicum 3  

        วางแผนและจัดทำแผนการเรียนรู้ วิเคราะห์ อภิปราย แผนการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ สาขาวิชาในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 แล้วนำมาทดลองใช้ในสถานศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขภายใต้การนิเทศของผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาชีพครู

รายวิชา 1005801 การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1

5 (450)

  Internship 1  

        ปฏิบัติงานในสถานศึกษาตามระดับช่วงชั้นและสาระการเรียนรู้ของสาขาวิชาและบันทึกผล การปฏิบัติงานครูด้านต่าง ๆ ได้แก่ งานครูประจำชั้นงานธุรการชั้นเรียน งานบริการ งานแนะแนว งานกิจกรรมนักเรียน และงานความสัมพันธ์กับชุมชนในลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหา การพัฒนางานและการประเมินการเรียนรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ

รายวิชา 1005802 การปฏิบัติการสอนในสถานศึคษา 2

5 (450)

  Internship 2  

        ปฏิบัติงานในสถานศึกษาต่อเนื่องจากการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1 และนำปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนมาวางแผนและดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นระบบในลักษณะการวิจัยในชั้นเรียน วิเคราะห์รายงานผลการปฏิบัตในด้านการพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

ไปบนสุด
หน้าก่อนหน้า
หน้าถัดไป
กลับไปหน้าหลัก