หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญาบัตร

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาศึกษา

10

การลงทะเบียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

แผนการรับนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

  17. 1 จำนวนหน่วยกิต
  17. 2 โครงสร้างหลักสูตร
  17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต
  17.4 แผนการศึกษา
  17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก
  กระบวนการร่างหลักสูตร
  คณะกรรมการร่างหลักสูตร
  วิทยากรวิพากษ์หลักสูตร
  กระบวนการยกร่างหลักสูตร

 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พุทธศักราช 2548
ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

…………

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น)
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Public Administration Program (Local Government)

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น)
  Bachelor of Public Administration (Local Government )
ชื่อย่อ : รป.บ. (การปกครองท้องถิ่น)
 

B.P.A. (Local Government)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญา

                หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างนักบริหารจัดการงานเชิงบูรณาการ ที่มีความรู้ กระบวนทัศน์ และทักษะในการใช้หลักการบริหารจัดการที่ดีและปฏิบัติงานการปกครองท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น

        4.2 วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

                1. มีความรู้กว้างไกล และลึกซึ้ง ในด้านการเมือง การบริหารจัดการ การพัฒนา และสัมพันธภาพระหว่างประเทศ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล
                2. มีความสามารถในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์ความรู้ในระดับท้องถิ่น และสากล ตามกรอบของคุณธรรม จริยธรรมที่แตกต่างกัน และสามารถติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3. มีทักษะ ความสามารถ และเต็มใจร่วมแก้ไขปัญหาสังคม การเมือง การบริหารและสิ่งแวดล้อม ด้วยสันติวิธี และเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และปกป้องสิทธิมนุษยชน

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง และหรือเป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาชาวไทยและชาวต่างชาติ บุคลากรที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาคัดเลือก

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาภาคปกติแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ สำหรับนักศึกษาภาคพิเศษให้เป็นไปตามระเบียบของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือ
                กิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ชื่อ – สกุล

วุฒิการศึกษา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1.  ดร. สนั่น กัลป์ปา

    -  Ph.D. (Political Science)
    -  M.A.  (Political Science)
    -  พธ.บ. (ศาสนา)

    -  Maratthawada
    -  University India
    -  มหาจุฬาลงกรณ์ฯ

    -  The Impact of Buddhism on Politics in
       Thailand
    -  กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน เพื่อแก้ไข
       ปัญหาความยากจนอย่าง                               ยั่งยืนชุมชนเขาทอง

2.  ผศ.ปรีชา สนธิรักษ์

    -  ศศ.ม. (การบริหารการศึกษา)
    -  กศ.บ.(คณิตศาสตร์)

    -  มหาวิทยาลัยนเรศวร
      -วิทยาลัยวิชาการศึกษาพระนคร

งานวิจัย

    -  1 เรื่อง

3.  นายประสพ ยลสิริธัม

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ศศ.บ.(ภาษาฝรั่งเศล)

    -  มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    -  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

งานวิจัย

    -  1 เรื่อง

4.  นางสาวพรสิริ เอี่ยมแก้ว

    -  ศษ.ม. (หลักสูตรและการนิเทศ)
    -  ค.บ.(วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
    -  น.บ. (นิติศาสตร์)

    -  มหาวิทยาลัยศิลปากร
    -  วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม
    -  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

งานวิจัย

    -  1 เรื่อง

5.  นางสาวจิตราภรณ์ เพ็งดี

    -  ศศ.ม. (บรรณารักษ์และ
    - สารนิเทศศาสตร์)
    -  ค.บ. (บรรณารักษ์ศาสตร์)

    -  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    -  วิทยาลัยครูสกลนคร

งานวิจัย

    -  1 เรื่อง

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ – สกุล

ความรับผิดชอบวิชาที่สอน

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย (สาขา)ประสบการณ์

1

ผศ. ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์

    -  M.A. (Political Science)
    -  พธ.บ. (สังคมศึกษา)

วิชาที่สอน

    - การบริหารทรัพย์มนุษย์
    - จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอน 2 เรื่อง
    -  ผลงานวิจัย (สาขา) 7 เรื่อง

ประสบการณ์

    - อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
    - อดีตคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ฯ

2

ผศ.ปรีชา สนธิรักษ์

    -  กศ.ม. (การบริหารการศึกษา)
    -  กศ.บ.(คณิตศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - สหกิจศึกษาทางการปกครองท้องถิ่น

 

3

นายพิสิษฐ์ จอมบุญเรือง

    -  M.A. (Public Admn.)
    -  พธ.บ. (ครุศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - นโยบายสาธารณะและการวางแผน
    - ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น

งานวิจัย

    -  1 เรื่อง
    -  กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
       อย่างยั่งยืนชุมชนเขาทอง

4

ดร. ไชยรัตน์ ปราณี

    -  กศ.ด.(วิจัยและวางแผน)
    -  กศ.ม.(การมัธยมศึกษา)
    -  ค.บ.(สังคมศึกษา)
    -  น.บ.(นิติศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบูรณาการ
    - สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น
    - การจัดการวิสาหกิจชุมชน

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาระเบียบ
    -  วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

ผลงานวิจัย (สาขา)

    -  มีผลงานวิจัย 8 เรื่อง

ประสบการณ์

    -  อดีตศึกษานิเทศก์

5

ดร. สนั่น กัลปา

    -  Ph.D.(Political science)
    -  M.A. (Political Science)
    -  พธ.บ. (ศาสนา)

วิชาที่สอน

    - การเมืองและการปกครองส่วน ท้องถิ่นไทย
    - แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 2 เรื่อง
    -  บทความทางวิชาการ 6 เรื่อง

6

นายประสพ ยลสิริธัม

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ศศ.บ.(ภาษาฝรั่งเศล)

วิชาที่สอน

    - ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 1 เรื่อง

7

นายสมญา อินทรเกษตร

    -  พบ.ม.(การบริหารการคลัง)
    -  ศศ.บ.(รัฐศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - การบริหารการพัฒนา
    - การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น
    - เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 6 เรื่อง
    -  กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อแก้ไข ปัญหาความยากจน
       อย่างยั่งยืนชุมชนเขาทอง
       ฯลฯ

8

นายเสริมศักดิ์ รูปต่ำ

    -  M.A.(Public Admn.)
    -  พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ)

วิชาที่สอน

    - รัฐประศาสนศาสตร์
    - นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง
    - สังคมและวัฒนธรรมชุมชุนท้องถิ่น 9;

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอน

งานวิจัย 2 เรืjอง

    1. A study on the Socio-economic condition of the dalit
        community at Arie colony, Ponnery block ,Thiruvalur distrist
    2. กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อแก้ไข ปัญหาความยากจนอย่าง
        ยั่งยืนชุมชนเขาทอง
    3. บทความ 4 เรื่อง

9

นางสาววณิชยา พ่วงเจริญ

    -  น.ม.(อาญา)
    -  น.บ.

วิชาที่สอน

    - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

ผลงานทางวิชาการ

.   -  งานวิจัย 1 เรื่อง

10

นางสาวสุกัญญา บุตรสีทัด

    -  เนติบัณฑิตไทย
    -  น.บ.

วิชาที่สอน

    - กฎหมายสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น

-

11

นางสาวชนันทิพย์

    -  จันทรโสภา
    -  ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)
    -  ศศ.บ (นิเทศศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - ภาวะผู้นำ

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 3 เรื่อง
    -  บทความทางวิชาการ 1 เรื่อง

12

นางสาวพรสิริ เอี่ยมแก้ว

    -  ศษ.ม (หลักสูตรและการนิเทศ)
    -  ค.บ. (วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
    -  น.บ. (นิติศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 1 เรื่อง

13

นางสาวจิตราภรณ์ เพ็งดี

    -  ศศ.ม.(บรรณารักษและสารนิเทศศาสตร์)
    -  ค.บ. (บรรณารักษศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 1 เรื่อง

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ – สกุล

ความรับผิดชอบวิชาที่สอน

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย (สาขา)ประสบการณ์

1

นายปรีชา สุขรอด

    -  พบ.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์)
    -  ศศ.บ. (รัฐศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - กลยุทธการวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ

ผลงานทางวิชาการ

    -  งานวิจัย 1 เรื่อง
    -  ตำแหน่ง

ประสบการณ์

    -  ข้าราชการระดับ 9

2

นายกิจจา มหาวิจิตร

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ค.บ.(สังคมศึกษา)
    -  น.บ.(นิติศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนการเมืองการปกครองของไทย
    -  เอกสารประกอบการสอนความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้น

งานวิจัย 1 เรื่อง

    -  งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
       กรณีศึกษา จังหวัดนครสวรรค์

3

นายปิยชาติ อ้นสุวรรณ

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ค.บ.(สังคมศึกษา)

วิชาที่สอน

    - การบริหารการศึกษาท้องถิ่น

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ

งานวิจัย 1 เรื่อง

    -  การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษากรณีศึกษา
       อำเภอเมืองจังหวัด นครสวรรค์

4

นายปัญญา เล็กกระจ่าง

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ร.ม.(รัฐศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น

งานวิจัย 1 เรื่อง

ตำแหน่ง

    -  ปลัดอำเภออาวุโส

5

พ.ต.ท. นิกร ขวัญเมือง

    -  พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)
    -  รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
    -  น.บ.(นิติศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น

งานวิจัย 1 เรื่อง

ตำแหน่ง

    -  รองผู้กำกับสถานีตำรวจอำเภอโกรกพระ

6

ด.ต.วิรัตน์ ศิริกุล

    -  ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)
    -  ศศ.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

วิชาที่สอน

    - สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

งานวิจัย 1 เรื่อง

ตำแหน่ง

    -  รองนายกมนตรีเทศบาลโกรกพระ

13. แผนการรับนักศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

100

100

100

100

 

ชั้นปีที่ 2

-

100

100

100

 

ชั้นปีที่ 3

-

-

100

100

 

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

100

 

รวม

100

200

300

400

 

บัณฑิตที่คาดว่าจะจบการศึกษา

-

-

-

100

 

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14. 1 จัดการเรียนการสอนตามห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กำหนด

        14.2 ห้องปฏิบัติการทางรัฐประศาสนศาสตร์ 1 ห้อง

        14.3 โสตทัศนวัสดุ เช่น โปรเจกเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์

        14. 4 แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เช่น ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ศาล สถานีตำรวจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการอื่น ๆ

15. ห้องสมุด

        15.1 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดรัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

1. ศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์

ติน ปรัชญพฤทธิ์

3

2. รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (ค.ศ. 1887-ค.ศ. 1970)

พิทยา บวรวัฒนา

6

3. รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1980)

พิทยา บวรวัฒนา

6

4. หลักรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและทฤษฎี

สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์

4

5. หลักและวิธีการศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์

มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช

4

6. รัฐประศาสนศาสตร์ : ขอบข่ายและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2

7. การบริหารรัฐกิจเบื้องต้น

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

3

8. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

2

9. รัฐประศาสนศาสตร์ : ทฤษฎี และการประยุกต์

วรเดช จันทรศร อัจราพรรณ เทศะบุรณะ

3

10. สาธารณบริหารศาสตร์

สร้อยตระกูล อรรถมานะ

10

11. การบริหารการพัฒนา

ติน ปรัชญพฤทธิ์

19

12. การบริหารการพัฒนา

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

7

13. รัฐประศาสนศาสตร์ : ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ

อุทัย เลาหวิเชียร

4

14. การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีสกุล

5

15. การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

ศุภชัย ยาวประภาษ

7

16. การวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์

สุจิตรา บุญยรัตพันธ์

4

17. การกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ : ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้

ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์

3

18. นโยบายสาธารณะและการวางแผน

มสธ.

7

19. การวางแผนนโยบายสาธารณะ โครงการ และการบริหารโครงการ

มสธ

6

20. นโยบายสาธารณะ

ศุภชัย ยาวประภาษ

8

21. นโยบายสาธารณะ : แนวคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์

3

22. นโยบายสาธารณะ : หลักและวิธีปฏิบัติ

สมพร เฟืองจันทร์

3

23. นโยบายสาธารณะและการวงแผน

สมพิศ สุขแสน

5

24. การสัมมานาการบริหารรัฐกิจ : การประเมินผลนโยบายสาธารณะ

กวี รักษ์ชน

2

25. การวิเคราะห์นโยบาย : ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง

จุมพล หนิมพานิช

5

26. เทคนิควิธีการวิเคราะห์นโยบาย

ทศพร ศิริสัมพันธ์

6

27. หลักและเทคนิคการวางแผน

อนันต์ เกตุวงศ์

4

28. เทคนิคการประเมินโครงการ

สมคิด พรมจุ้ย

4

29. การวางแผนและการควบคุมทางการบริหาร

สุรัสวดี ราชกุลชัย

 

30. เทคนิคการบริหารโครงการโดย PERT และ CPM

พิภพ ลลิตาภรณ์

 

31. การบริหารการคลังรัฐบาล

พนม ทินกร ณ อยุธยา

5

32. การคลัง : ว่าด้วยการจัดสรรและกระจาย

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม

7

33. การคลังรัฐบาล

นคร ยิ้มศิริ

3

34. การคลังรัฐบาล

อเนก เธียรถาวร

4

35. หลักการงบประมาณแผ่นดิน

ไกรยุทธ์ ธีรตยาคีนันท์

4

36. งบประมาณแผ่นดิน : ทฤษฎีและปฏิบัติ

ณรงค์ สัจพันโรจน์

6

37. การจัดซื้อและการบริหารพัสดุ

สุมน อยู่โพธิ์

3

38. ศักยภาพทางการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล

จรัส สุวรรณมาลา

5

39. การบริหารงานบุคคลในภาครัฐ

ยุวดี ศรีธรรมรัฐ

3

40. การบริหารงานบุคคลในภาครัฐของไทย

ศุภชัย ยาวประภาษ

2

        15.2 ตัวอย่างหนังสือหมวดการปกครองส่วนท้องถิ่น

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

1. การบริหารเมืองหลวงและการบริหารส่วนท้องถิ่น

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

3

2. อบต. ในกระบวนทัศน์ใหม่

โกวิทย์ พวงงาม

2

3. การปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

โกวิทย์ พวงงาม

2

4. การปกครองส่วนท้องถิ่น

อุทัย หิรัญโต

2

5. การปกครองท้องถิ่น

ประทาน คงฤทธิศึกษากร

2

6. การบริหารส่วนท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4

7. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4

8. คู่มือการปฏิบัติงานด้านการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5

9. การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นันทวัฒน์ บรมานันท์
และแก้วคำ ไกรสรพงษ์

4

10. รัฐบาล-ท้องถิ่น ใครควรจัดบริการสาธารณะ

จรัส สุวรรณมาลา

6

11. เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น

อเนก เหล่าธรรมทัศน์

3

12. กระจายอำนาจอย่างไรสร้างประชาธิปไตย

สังศิต พิริยะรังสรรค์
และผาสุก พงษ์ไพจิต

6

13. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ

นครินทร์ มฆไตรรัตน์

3

        15.3 ตัวอย่างหนังสือหมวดการพัฒนาชุมชน/ชนบท

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

1. การบริหารการพัฒนาชนบท

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

6

2. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชุมชน

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

5

3. การศึกษาการพัฒนาชุมชน

วิไล ตั้งจิตสมคิด

7

4. การพัฒนาชนบท

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

6

5. กระบวนการและเทคนิคของนักพัฒนา

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ

12

6. โครงสร้างและพลังพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา

สุทธิวงษ์ พงษ์ไพบูลย์

5

7. จากรากหญ้าถึงขอบฟ้า

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์

3

8. ธุรกิจชุมชน เส้นทางที่เป็นไปได้

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

4

9. การพัฒนาองค์ชุมชน

นันทิยาและณรงค์ หุตานุวัตร

4

10. มติทางวัฒนธรรมในยุคเศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

5

11. เศรษฐกิจไทยในระบบทุนนิยมโลก

จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย

12

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2549

2550

2551

2552

2553

งบดำเนินการ

    -  ค่าตอบแทน

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าวัสดุ

20,000

50,000

50,000

20,000

50,000

50,000

20,000

50,000

50,000

20,000

50,000

50,000

20,000

50,000

50,000

 

90,000

90,000

90,000

90,000

90,000

งบลงทุน

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าที่ดิน

20,000

-

20,000

-

20,000

-

20,000

-

20,000

-

รวมงบลงทุน

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

รวมทั้งหมด

101,000

101,000

101,000

101,000

101,000

        * หมายเหตุ : เป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเป็นรายปีจากมหาวิทยาลัย

17. หลักสูตร

        17. 1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

        17. 2 โครงสร้างหลักสูตร

                ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
                ข. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต
                ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

        17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์

                2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ

                4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ x 2

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        รายวิชาตามหลักสูตรมีดังต่อไปนี้

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข.หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

1163306 การบริหารการศึกษาท้องถิ่น

3 (3-0-6)

Local Education Administration
2432210 สังคมและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น

 3 (3-0-6)

  Social and Culture of Local Community  
2433310 การจัดการวิสาหกิจชุมชน

3 (3-0-6)

  Management of Community Enterprises  
2451302 รัฐประศาสนศาสตร์

3 (3-0-6)

  Public Administration  
2451401 แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น

3 (3-0-6)

 

Concept and Theory of Local Government

 
2451402 การเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

3 (3-0-6)

  Thai Local Politics and Government  
2452301 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

3 (3-0-6)

  Human Resource Administration  
2452303 นโยบายสาธารณะและการวางแผน

3 (3-0-6)

  Public Policy and Planning  
2452305 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Local Infrastructure Administration  
2452306 การบริหารการพัฒนา

3 (3-0-6)

  Development Administration  
2452309 ภาวะความเป็นผู้นำ

3 (3-0-6)

  Leadership  
2452312 การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Local Financial and Fiscal Administration  
2453302 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

 3 (3-0-6)

  Management Information System for Administration  
2453311 การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Local Public Health Administration  
2453312 นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3 (3-0-6)

  Innovation and Change Management  
2453402 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Peace Study for Local Development  
2453403 จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Ethics for Local Administrator  
2453404 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ

3 (3-0-6)

  Strategic Planning for Integrated Spatial Development  
2453410 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบูรณาการ

3 (3-0-6)

  Integrated Research Methodology  
2453702 สหกิจศึกษาทางการปกครองท้องถิ่น

9 (0-27-0)

  Cooperative Education in Local Government  
2454402 ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Strategies of Local Government  
2461101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

3 (3-0-6)

  Introduction to Law  
2462701 กฎหมายสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Law for Local Government  
35011109 เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Economy of Local Community  
4263510 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Local Natural Resource and Environment Management  
4303603 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Statistics for Local Executive  

         ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ หรือรายวิชาใด ๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย โดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2452702

สังคมวิทยาการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Political Sociology in Local Government  

2453314

การบริหารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น

3 (3-0-6)

  Local Tourism Development Administration  

        17.4 แผนการศึกษา

ภาคเรียนที่ 1/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

ทั่วไป

 

2551107 มนุษย์กับสังคมและวัฒนธรรม 3(3-0-6)
2551110 การใช้ภาษาไทย 3(3-0-6)

เฉพาะด้าน

   
2451302 รัฐประศาสนศาสตร์ 3(3-0-6)
2451401 แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น 3(3-0-6)
2551114 โลกาภิวัตน์กับท้องถิ่น 3(3-0-6)

15 (15-0-30)

ภาคเรียนที่ 2/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

ทั่วไป

 

2551111 มนุษย์กับธรรมชาติ 3(3-0-6)
2551108 ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1 3(3-0-6)

เฉพาะด้าน

   
2432210 สังคมและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น 3(3-0-6)
2461101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป 3(3-0-6)
   

12(12-0-24)

ภาคเรียนที่ 3/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

ทั่วไป

 

2551113 มนุษย์กับอารยธรรม 3 (3-0-6)
2551109 ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2 3 (3-0-6)

เฉพาะด้าน

   
3501109 เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น 3 (3-0-6)
2451402 การเมืองและการปกครองท้องถิ่นไทย 3 (3-0-6)
2452305 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

15(15-0-30)

ภาคเรียนที่ 4/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

ทั่วไป

 

2552303 มนุษยสัมพันธ์ 3 (3-0-6)
2552107 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 3 (3-0-6)

เฉพาะด้าน

   
2452303 นโยบายสาธารณะและการวางแผน 3 (3-0-6)
2462701 กฎหมายสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

12(12-0-24)

ภาคเรียนที่ 5/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

ทั่วไป

 

2552105

คอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำสำหรับนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3 (2-2-5)

เฉพาะด้าน

   
2452301 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 3 (3-0-6)
2452309 ภาวะความเป็นผู้นำ 3 (3-0-6)
2453403 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ 3 (3-0-6)
   

12(11-2-2-

ภาคเรียนที่ 6/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

เฉพาะด้าน

 

2452306 การบริหารการพัฒนา 3 (3-0-6)
4263510 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น 3 (3-0-6)
2452312 การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น 3 (3-0-6)

เลือกเสรี

   
2452702 สังคมวิทยาการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

12(12-0-1-

ภาคเรียนที่ 7/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

เฉพาะด้าน

 

2453302 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3 (3-0-6)
2433310 การจัดการวิสาหกิจชุมชน 3 (3-0-6)
2453402 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 3 (3-0-6)
1163306 การบริหารการศึกษาท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

12(12-0-24)

ภาคเรียนที่ 8/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

เฉพาะด้าน

 

 

4303603 สถิติสำหรับนักวิจัยท้องถิ่น 3 (3-0-6)
2454402 ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น 3 (3-0-6)
2453311 การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น 3 (3-0-6)
เลือกเสรี    

2453314

การบริหารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

12(12-0-24)

ภาคเรียนที่ 9/…..

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก / คาบ

เฉพาะด้าน

 

 
2453410

ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบูรณาการ

3 (3-0-6)
2453402 สหกิจศึกษาทางการปกครองท้องถิ่น 9 (0-27-0)
2453312 นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง 3 (3-0-6)
2453403 จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น 3 (3-0-6)
   

18(9-27-18)

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

                    1.1 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

รายวิชา 1000103 มนุษยสัมพันธ์

 3(3-0-6)

  Human Relations  

        ลักษณะธรรมชาติของมนุษยสัมพันธ์ พฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มพื้นฐานของการจูงใจมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน พื้นฐานภาวะความเป็นผู้นำการจัดการความขัดแย้งและการเปลี่ยนแปลงและเทคนิคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์

รายวิชา 2000109 มนุษย์กับธรรมชาติ

3(3-0-6)

  Man and Nature  

        วิวัฒนาการและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มระบบธรรมชาติ การดำรงอยู่กันกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนและสันติสุขทั้งในระดับบุคคล ประชาคมท้องถิ่น และประชาคมโลก

รายวิชา 2000110 มนุษย์กับอารยธรรม

 (3-0-6)

  Man and Civilization  

        พัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโลก โดยเน้นอารยธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อปัญญาความคิดและการสร้างสรรค์งานศิลปะตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของอารยธรรมตะวันตกกับตะวันออก

รายวิชา 2000111 มนุษย์กับสังคมและวัฒนธรรม

3(3-0-6)

  Man Society and Culture  

         กำเนิดและพัฒนาการของสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ การจัดระเบียบทางสังคมความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสถาบันทางสังคมต่าง ๆ การติดต่อสื่อสารในสังคมการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ความสัมพันธ์อย่างสันติและการแก้ไขความขัดแย้งในสังคม สังคมอุดมคติ

รายวิชา 2000112 โลกาภิวัตน์กับการท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Globalization and the Local  

        กระบวนการโลกาภิวัตน์ที่สัมพันธ์ในระดับนานาประเทศ และขยายลงระดับท้องถิ่นการเชื่อมโยงผ่านกระแสพึ่งพาซึ่งกันและกัน ความสำคัญของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น การปรับตัวของบุคลากรส่วนท้องถิ่นให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์เพื่อให้เกิดการบริหารองค์การส่วนท้องถิ่นให้มีดุลยภาพ

            1.2 กลุ่มวิชาภาษา

รายวิชา 2210102 การใช้ภาษาไทย

3(3-0-6)

  Thai Usage  

        ฝึกฝนและพัฒนาสมรรถภาพในการใช้ภาษาไทย คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน และการใช้คำ

รายวิชา 2310103 ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

1 3(3-0-6)

  English for Humanities and Social Sciences 1  

        พัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการเขียน การฟัง การพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่าน เพื่อให้นักศึกษาใช้ภาษาสื่อความหมายในการเรียนวิชาอื่น ๆ และในชีวิตประจำวันได้ สำหรับนักศึกษาสาขาการบริหารการปกครองท้องถิ่น

รายวิชา 2310104 ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2 3(3-0-6)

  English for Humanities and Social Sciences II  

        เพิ่มเติมการพัฒนาความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษ ด้านการเขียน การฟัง การพูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่าน เพื่อให้นักศึกษาใช้ภาษาสื่อความหมายในการเรียนวิชาอื่น ๆ และในชีวิตประจำวันได้ สำหรับนักศึกษาสาขาการบริหารการปกครองท้องถิ่น

            1.3 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

รายวิชา 4000105 วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

3(3-0-6)

  Science in Everyday Life  

        ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการอธิบายปรากฏการณ์ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์

รายวิชา 4000106 คอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำสำหรับนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3 (2-2-5)

  Introduction to Computers for Humanities and Social Sciences Students  

        ความรู้ขั้นแนะนำเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และ ซอฟแวร์การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์สำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ และการประยุกต์ใช้งาน อินเทอร์เน็ต

 

        2. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต

รายวิชา 1163306 การบริหารการศึกษาท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Education Administration  

        แนวคิดและหลักการการบริหารการศึกษา องค์ประกอบของการบริหาร ได้แก่ แนวคิด การบริหารแนวใหม่ การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติ การจัดองค์การกลุ่มกิจกรรม การประสานงาน กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา การบริหารบุคลากรการบริหารทรัพยากรอื่น ๆ การอำนวยการและการประสานงาน สารสนเทศเพื่อการบริหารการเงินและงบประมาณความสัมพันธ์เชิงระบบและการบูรณาการการพัฒนาท้องถิ่น การบริหารการศึกษาท้องถิ่น ความเคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงและกรณีศึกษา

รายวิชา 2432210 สังคมและวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Social and Cultural of Local Community  

        ขอบเขต ความหมาย ความสำคัญของสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โครงสร้างสังคมท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น วิธีการศึกษาชุมชนนโยบายเพื่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

รายวิชา 2433310 การจัดการวิสาหกิจชุมชน

3(3-0-6)

  Management of Community Enterprise  

        ความหมายและความสำคัญของเศรษฐกิจชุมชน ครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจ ชุมชนท้องถิ่น ความหมาย แนวคิด ลักษณะ ประเภท วิธีการ กระบวนการ รูปแบบและพัฒนาการของวิสาหกิจชุมชน การจัดการการตลาด การจัดการ การผลิต การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การพัฒนาความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน ปัญหาและข้อเสนอแนะ

รายวิชา 2451302 รัฐประศาสนศาสตร์

3(3-0-6)

  Public Administration  

        แนวคิดทฤษฎี และพัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ การบริหารกับสภาพแวดล้อมการบริหารกับนโยบายสาธารณะ กระบวนการบริหาร เช่น การวางแผนการจัดองค์การ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การอำนวยการ การประสานงาน การรายงาน การงบประมาณ และพฤติกรรมทางการบริหาร ตลอดจนความรับผิดชอบของการบริหารราชการ

รายวิชา 2451401 แนวคิดและทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Concepts and Theory of Local Government  

        ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับรัฐและการปกครอง หลักการจัดการปกครองและบริหารทฤษฎีการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นของต่างประเทศที่สำคัญและการปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต

รายวิชา 2451402 การเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย

3(3-0-6)

  Thai Local Politics and Government  

        การจัดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการปกครองของไทย ความสัมพันธ์ระหว่าง การปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายประจำขององค์กรปกครองท้องถิ่นไทย ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายประจำความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชน สถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย

รายวิชา 2452301 การบริหารทรัพยากรมนุษย์

3(3-0-6)

  Human Resource Administration  

        แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความท้าทายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์กรบริหารทรัพยากรมนุษย์สำหรับการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น และกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการปกครองส่วนท้องถิ่น

รายวิชา 2452303 นโยบายสาธารณะและการวางแผน

3(3-0-6)

  Public Policy and Planning  

        หลักการนโยบายสาธารณะและการวางแผน ขั้นตอน กระบวนการ นโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นโยบายการพัฒนาทางสังคม นโยบายการพัฒนาทางการเมืองและนโยบายท้องถิ่น

รายวิชา 2452305 การบริหารงานสาธารณูปโภคท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Infrastructure Administration  

        การบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยงานด้านถนน ทางเดินเท้าไฟฟ้าสาธารณะประปาโทรศัพท์สาธารณะรวมทั้งพื้นที่สาธารณะระดับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของคน ท้องถิ่น การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

รายวิชา 2452306 การบริหารการพัฒนา

3(3-0-6)

  Development Administration  

        แนวคิดการบริหารการพัฒนา ระบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารปกครองระดับต่าง ๆ ที่เน้นการพัฒนา ตัวแบบแนวคิดการบริหารการพัฒนา การจัดองค์กรพัฒนายุทธศาสตร์และกระบวนการบริหารที่เน้นผลสัมฤทธิ์ เงื่อนไขของการบริหารการพัฒนาท้องถิ่นวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารพัฒนาท้องถิ่นโดยกรณีศึกษา

รายวิชา 2452309 ภาวะความเป็นผู้นำ

3(3-0-6)

  Leadership  

        แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับผู้นำ คุณสมบัติและคุณลักษณะ บทบาทหน้าที่ และความสามารถของผู้นำ ประเภทและที่มาของผู้นำ แรงผลักดันที่ทำให้เกิดภาวะผู้นำแบบต่าง ๆ องค์ประกอบที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ภาวะผู้นำ การพัฒนาความเป็นผู้นำและการประเมินภาวะผู้นำ

รายวิชา 2452312 การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Financial and Fiscal Administration  

        แนวคิดเกี่ยวกับระบบการเงินการคลังท้องถิ่น การบริหารรายได้และรายจ่ายของหน่วยปกครองระดับท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการคลังท้องถิ่นกับรัฐบาลแห่งชาติ กระบวนการบริหารงบประมาณที่เน้นผลงานบริการสาธารณะและการพัฒนาท้องถิ่น ข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาระบบการคลังของท้องถิ่น

รายวิชา 2453302 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร

3(3-0-6)

  Management information System for Administration  

        แนวคิดเกี่ยวกับข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สารสนเทศกับการบริหารจัดการ แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ องค์ประกอบและโครงสร้างของระบบ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ การประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหารจัดการท้องถิ่น

รายวิชา 2453311 การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Public Health Administration  

        หลักการและแนวคิด การสาธารณสุขท้องถิ่น ระบบสาธารณสุขท้องถิ่น การวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหาสาธารณสุขท้องถิ่น การบริหารงานสาธารณสุขท้องถิ่นเชิงกลยุทธ์ การประเมินโครงการสาธารณสุขท้องถิ่น การถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุข

รายวิชา 2453312 นวัตกรรมและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3(3-0-6)

  Innovation and Change Management  

        ความหมาย แนวคิด ลักษณะ ประเภทขององค์กรท้องถิ่น การจัดการองค์กรท้องถิ่นที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีการบริหารจัดการที่สามารถรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยใช้เทคนิคและการตัดสินใจที่ทันต่อสถานการณ์เพื่อให้องค์กรท้องถิ่นทุกรูปแบบพัฒนาไปสู่องค์การแห่งคุณภาพ

รายวิชา 2453402 สันติศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Peace Studies for Local Development  

        ชุมชนท้องถิ่นกับเสถียรภาพและความมั่นคง บทบาทวิธีการและกระบวนการสร้าง การมีส่วนร่วมของสาธารณะชน ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎีสันติศึกษาและความขัดแย้ง ทักษะการเจรจาการต่อรองและการไกล่เกลี่ย การอำนวยความสะดวก และการจัดประชาพิจารณ์ กลยุทธ์และกลวิธีในการจัดการความขัดแย้งอย่างสันติ ทักษะและกลไกในการบริหารความขัดแย้ง วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการสร้างสมานฉันท์ สันติสุขชุมชน

รายวิชา 2453403 จริยธรรมสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Ethics for Local Administrator  

        ความรู้พื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับจริยศาสตร์ จรรยาบรรณทางการบริหารและคุณธรรมพื้นฐานสำหรับนักบริหาร ธรรมาภิบาลกับการบริหารท้องถิ่น จริยธรรมกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรท้องถิ่น วัฒนธรรมพื้นบ้านกับการ บริหารท้องถิ่น การประยุกต์ใช้ศาสนธรรมในการบริหารท้องถิ่น กรณีศึกษาปัญหาทางการบริหารการปกครองท้องถิ่น

รายวิชา 2453404 กลยุทธ์การวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่นเชิงบูรณาการ

3(3-0-6)

  Strategic Planning for Integrated Spatial Development  

        แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น เมืองและชนบท ชุมชนท้องถิ่นในอุดมคติ แนวคิดนโยบายและแผนการพัฒนาพื้นที่ การศึกษาและวิเคราะห์ ระบบภูมินิเวศท้องถิ่น กลยุทธ์ กระบวนการ และเทคนิคการวางแผนพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น เทคนิคภูมิสนเทศ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ท้องถิ่น การกำหนดเขตการจัดการ การวางผังเมืองและท้องถิ่นชุมชนน่าอยู่ การจัดการภูมิทัศน์และพื้นที่สาธารณะ การพัฒนาท้องถิ่นในลักษณะบูรณาการ

รายวิชา 2453410 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบูรณาการ

3(3-0-6)

  Integrated Research Methodology  

        แนวคิดวิจัย การกำหนดหัวข้อประเด็นปัญหา ประเภทและการออกแบบการวิจัย การสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือวิจัย การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัย

Cooperative Education in Local Government
รายวิชา 2453702 สหกิจศึกษาทางการปกครองท้องถิ่น

9(0-27-0)

   

        การปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน การสัมมนาประสบการณ์ สังเกตการการบริหารงาน การนำเสนอแนวคิดและกลยุทธ์การบริหารงานการปกครองท้องถิ่น

รายวิชา 2454402 ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Government Strategies  

        แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับท้องถิ่น ความสัมพันธ์เชิงสถาบันของระบบการบริหารระดับท้องถิ่น ยุทธศาสตร์และกระบวนการบริหารนโยบาย แผนการคลังและการบริหารที่เน้นผลงาน การบริการสาธารณะเชิงคุณภาพ วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารของหน่วย ปกครองส่วนท้องถิ่นจากกรณีศึกษา

รายวิชา 2461101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

3(3-0-6)

  Introduction to Law  

        แนวคิด หลักเกณฑ์พื้นฐานของกฎหมายโดยทั่วไป การแยกประเภทของกฎหมาย ขอบเขตที่กฎหมายบังคับใช้ ศัพท์กฎหมายที่ควรรู้ หลักสำคัญในการกระทำผิดทางอาญาและกฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ของครอบครัว ทั้งนี้เพื่อให้รู้จักสิทธิ หน้าที่ และเสรีภาพอันพึงได้รับตามกฎหมาย

รายวิชา 2462701 กฎหมายสำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Law for Local Government  

        ประวัติรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 สิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ หลักการปกครองของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ การบริการสาธารณะ คำสั่งทางปกครอง นิติกรรมและสัญญาทางปกครอง การควบคุมอำนาจรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ นิติวิธีทางปกครอง กฎหมายเกี่ยวกับงานบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น

รายวิชา 3501109 เศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Economy of Local Community  

        ขอบเขต ความหมาย และความสำคัญของเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ครัวเรือนในระบบเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น เศรษฐกิจนอกตลาดและแนวนโยบายเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น

รายวิชา 4263510 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Natural Resources and Environment Management  

        องค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรท้องถิ่น สถานการณ์ สถานภาพ และวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น การศึกษาสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น การประเมินสถานภาพและผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดใช้ประโยชน์ การจัดการอนุรักษ์และการจัดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4303603 สถิติสำหรับนักบริหารท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Statistics for Local Executive  

        ข้อมูลสถิติสำหรับการบริหาร กระบวนการดำเนินงานทางสถิติ ข้อมูล สถิติ การเก็บรวบรวมข้อมูล การอธิบายข้อมูล การวัดแนวโน้มสู่ค่ากลางและการ กระจายข้อมูล การแจกแจงปกติ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การคิดการ วิเคราะห์ และแปลผลข้อมูลสถิติเพื่อการบริหารส่วนท้องถิ่น

 

        3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

รายวิชา 2452702 สังคมวิทยาการเมืองในการปกครองส่วนท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Political Sociology in Local Government  

        ความหมาย ขอบเขต และกำเนิดของสังคมวิทยาการเมือง ประเด็นหลัก และแนวทางการศึกษาสังคมวิทยาการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างทางสังคมวัฒนธรรม สถาบันทางสังคมอื่น ๆ ในท้องถิ่น และพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ในกระบวนการทางการเมืองการวิเคราะห์โครงสร้างอำนาจและบทบาทของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในสังคมท้องถิ่น พินิจศึกษาวัฒนธรรมทางการเมือง และการขัดเกลาทางการเมืองระบบประชาธิปไตย ภาวะผู้นำทางการเมือง พินิจ ศึกษา วัฒนธรรมทางการเมือง การขัดเกลาทางการเมือง ระบบประชาธิปไตย ภาวะผู้นำทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

รายวิชา 2453314 การบริหารเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น

3(3-0-6)

  Local Tourism Development Administration  

        ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นโยบาย สถานการณ์และสถานภาพการท่องเที่ยวไทย การศึกษาและการวิเคราะห์พื้นที่ท้องถิ่นเชิงการท่องเที่ยว การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น กลยุทธ์และกลวิธีการบริหารจัดการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเชิงเศรษฐกิจและเพื่อคุณภาพชีวิตท้องถิ่น

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพหลักสูตรในประเด็น ดังนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

 

ภาคผนวก

1. กระบวนการร่างหลักสูตร

        หลักสูตรการปกครองท้องถิ่นนี้เป็นหลักสูตรความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นโครงร่างหลักสูตรจึงเป็นไปตามความต้องการของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสำคัญ ดังนั้นกระบวนการเสนอร่างหลักสูตร จึงมีดังนี้

        1.1 พิจารณาร่างหลักสูตรของกรมส่งเสริมการปกครอง
        1.2
พิจารณาจัดทำแผนการเรียน
        1.3 พิจารณาหาความเหมาะระหว่างผู้สอนกับรายวิชา

2. คณะกรรมการร่างหลักสูตร  

        รายชื่อคณะกรรมการร่างหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ดังมีรายนาม ดังนี้

1. ผศ.ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์ ประธานกรรมการ
2. ดร.สนั่น กัลปา กรรมการ
3. นายสมญา อินทรเกษตร กรรมการ
4.

นายเสริมศักดิ์ รูปต่ำ

กรรมการ
5. นางสาวชนันทิพย์ จันทรโสภา กรรมการและเลขานุการ

3. วิทยากรวิพากษ์หลักสูตร

        รายชื่อวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในการวิพากษ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ดังมีรายนาม ดังนี้

        1. ดร.สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
        2. นาวาอากาศเอก ดร.สมจิตร แก้วนาค โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
        3. นาวาอากาศโทประภาส สอนใจดี โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ
        4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
        5. คณะกรรมการผู้เข้าร่วมวิพากษ์ร่างหลักสูตร

        รายชื่อคณาจารย์และคณาจารย์พิเศษภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์และนิติศาสตร์ที่เข้าร่วมการวิพากษ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต (รป.บ.) ในโครงการความร่วมมืองกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ ห้องประชุมดุสิตา อาคาร 14 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังมีรายนาม ดังนี้

ที่ รายชื่อ ที่ รายชื่อ

1.

ผศ.ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์

16.

อาจารย์ปิยชาติ อ้นสุวรรณ

2.

อาจารย์พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง

17.

อาจารย์ปัญญา เล็กกระจ่าง

3.

อาจารย์สวัสดิ์ มานิตย์

18.

อาจารย์วิรัช วัฒนธรรม

4.

ดร.ไชยรัตน์ ปราณี

19.

พ.ต.ท.นิกร ขวัญเมือง

5.

ดร.สนั่น กัลปา

20.

อาจารย์พงษ์ศักดิ์ รัตนวิภา

6.

อาจารย์สมญา อินทรเกษตร

21.

อาจารย์ประโยชน์ ชาญธัญกรรม

7.

อาจารย์เสริมศักดิ์ รูปต่ำ

22.

พ.ต.ท.วิริยะบัณฑิต สถิตสุวชาติ

8.

อาจารย์วณิชยา พ่วงเจริญ

23.

พ.ต.ต.สุพจน์ พรหมพิทักษ์

9.

อาจารย์พรสวัสดิ์ บุญยิ่ง

24.

อาจารย์สุพรรณี อภิสิทธิสันติกุล

10.

อาจารย์ธรรมนูญ โพธิยาสานนท์

25.

อาจารย์เกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล

11.

อาจารย์เสน่ห์ เชื้อมอญ

26.

อาจารย์สุโรจน์ จันทรพิทักษ์

12.

อาจารย์ปรีชา สุขรอด

27.

อาจารย์สุเมธ นภาพร

13.

อาจารย์สมลักษณ์ กีรติศิริกุล

28.

พ.ต.ต.ประชิด สะท้าน

14.

อาจารย์กิจจา มหาวิจิตร

29.

อาจารย์ชนันทิพย์ จันทรโสภา

15.

ด.ต.วิรัตน์ ศิริกุล

30.

อาจารย์สุกัญญา บุตรสีทัด

4. กระบวนการยกร่างหลักสูตร

        4.1 วางแผนเพื่อเตรียมการสำหรับการดำเนินการ

        4.2 เตรียมการดำเนินการ

                1. ติดต่อวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
                2. ต่อต่อสถานที่
                3. จัดเตรียมเอกสาร

        4.3 ดำเนินการวิพากษ์หลักสูตรเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมีผู้ร่วมในการวิพากษ์หลักสูตรครั้งนี้จำนวน 34 ท่าน

 

************

 

 

 

 

 

 

หลักสูตรใหม่

พ.ศ. 2548

 

 

 

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก