หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

จำนวนหนังสือและตำราเรียน

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก

 

สรุปปรับปรุงหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา

 

สรุปสาระสำคัญคำวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ

 

การแก้ไขปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Cultural Studies

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา)
  Bachelor of Arts (Cultural Studies)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (วัฒนธรรมศึกษา)
  B.A. (Cultural Studies)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการวัฒนธรรมที่เข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และสืบสานความเป็นไทยในสากล และใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทางด้านวัฒนธรรม และความรู้ทางทักษะเกี่ยวกับการจัดการทางวัฒนธรรม
                2. ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรม มีเจตคติที่ดีและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม
                3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกสรรวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้
                4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนางานด้านวัฒนธรรมในหน่วยงานทางวัฒนธรรมและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
                5. เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้เพื่อศึกษาด้านวัฒนธรรมระดับสูงต่อไป รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาใน
การศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางสาวสุภรณ์ โอเจริญ

    -  อ.ม. (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  อ.บ. (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง
    -  พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครสวรรค์
    -  มอญในเมืองไทย
    -  วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัด
       นครสวรรค์
    -  บทความเรื่องเจ้าพ่อเจ้าแม่เมืองปากน้ำโพ และคำในสารานุกรมวัฒนธรรม
       ภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์, บึงบอระเพ็ด, มังกรทองนครสวรรค์,
       เขากบ, ชุมชนโบราณในจังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ

2. ประสบการณ์

    -  ประธานโปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา
    -  หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์
    -  รองหัวหน้าสำนักส่งเสริมวิชาการ

ตำแหน่งบริหาร

    -  ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

วิชาที่สอน

    1. ประวัติศาสตร์ไทย
    2. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
    3. การจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม
    4. การศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

2

ผศ.พรทิพย์ ชูศักดิ์

    -  อ.ม. (ปรัชญา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    -  อ.บ. (ปรัชญา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ปรัชญาทั่วไป
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาความจริงของชีวิต

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าภาควิชาปรัชญาและศาสนา
    -  ประธานโปรแกรมวิชาพระพุทธศาสนา
    -  หัวหน้าฝ่ายจริยธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. บัณฑิตอุดมคติไทย
    2. มนุษย์กับความสุข

3

นายณัฏฐ์ชรัชช์ สาระหงส์

    -  อ.ม. (จริยศาสตร์ศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  ศศ.บ. (ปรัชญาและศาสนา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาและศาสนา เรื่องปรัชญากับชีวิต
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาความจริงของชีวิต เรื่องความสุข

2. ประสบการณ์

    -  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    -  หัวหน้าฝ่ายพัสดุสำนักวางแผนและพัฒนา

ตำแหน่งบริหาร

    -  รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

วิชาที่สอน

    1. ศาสนาเปรียบเทียบ

    2. ศาสนา วัฒนธรรม และพุทธสถาบัน

4

นายธีรพร พรหมมาศ

    -  อ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้) มหาวิทยาลัยศิลปากร
    -  ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีโลก

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป

วิชาที่สอน

    1. วิถีโลก
    2. อารยธรรมตะวันตก

5

นายนพดล เกษตรเวทิน

    -  ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา) มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  ศศ.บ. (รัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง)มหาวิทยาลัย
รามคำแหง

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีไทย
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษย์กับสังคม
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักสังคมวิทยา

2. งานวิจัย

    -พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมจากนครสวรรค์-อุทัยธานี

วิชาที่สอน

    1. มานุษยวิทยาเบื้องต้น
    2. สัมมนาปัญหาทางวัฒนธรรม
    3. วิถีไทย

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

นางสาวสุภรณ์ โอเจริญ

    -  อ.ม. (ประวัติศาสตร์)
    -  อ.บ. (ประวัติศาสตร์)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง
    -  พัฒนาการทางวัฒนธรรมของเมืองนครสวรรค์
    -  มอญในเมืองไทย
    -  วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัด
       นครสวรรค์
    -  บทความเรื่องเจ้าพ่อเจ้าแม่เมืองปากน้ำโพ และคำในสารานุกรมวัฒนธรรม
       ภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์, บึงบอระเพ็ด, มังกรทองนครสวรรค์,
       เขากบ, ชุมชนโบราณในจังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ

2. ประสบการณ์

    -  ประธานโปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา
    -  หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์
    -  รองหัวหน้าสำนักส่งเสริมวิชาการ

ตำแหน่งบริหาร

    -  ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

วิชาที่สอน

    1. ประวัติศาสตร์ไทย
    2. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
    3. การจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม
    4. การศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

2

ผศ.พรทิพย์ ชูศักดิ์

    -  อ.ม. (ปรัชญา)
    -  อ.บ. (ปรัชญา)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ปรัชญาทั่วไป
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาความจริงของชีวิต

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าภาควิชาปรัชญาและศาสนา
    -  ประธานโปรแกรมวิชาพระพุทธศาสนา
    -  หัวหน้าฝ่ายจริยธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. บัณฑิตอุดมคติไทย
    2. มนุษย์กับความสุข

3

ผศ.สุชาติ พงษ์พานิช

    -  กศ.ม. (ภาษาและวรรณคดีไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  การเขียนเพื่อการสื่อสาร

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าฝ่ายธุรการ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์
    -  รองหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย

วิชาที่สอน

    1. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารการสร้างงานเขียน

4

ผศ.สุวนีย์ พระแก้ว

    -  อ.ม. (ภาษาไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม

2. งานวิจัย

    -  การศึกษาวิเคราะห์กาพย์เรื่อง สังข์ทอง

3. ประสบการณ์

    -  ประธานโปรแกรมวิชาภาษาไทย
    -  หัวหน้าฝ่ายทะเบียนสถาบันราชภัฏนครสวรรค์

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. ภาษาไทยเพื่อการค้นคว้า
    2. วรรณกรรมท้องถิ่น
    3. การวิเคราะห์วัฒนธรรมจาก วรรณคดีไทย

5

รศ.วิเชียร เกษประทุม

    -  ค.ม. (การสอนภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (การสอนภาษาไทย)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
   
-  คติชนวิทยา
    -  ราชาศัพท์
    -  สำนวนไทย
    -  ภาษาไทยที่มักใช้ผิด
    -  เพลงพื้นบ้านจากพยุหะคีรี
    -  นิทานพื้นบ้านนครสวรรค์

ตำแหน่งทางวิชาการ

- รองศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. คติชนวิทยา
    2. คติชนวิทยาเปรียบเทียบ

6

นายณัฏฐ์ชรัชช์ สาระหงส์

    -  อ.ม. (จริยศาสตร์ศึกษา)
    -  ศศ.บ. (ปรัชญาและศาสนา)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาปรัชญาและศาสนา เรื่องปรัชญากับชีวิต
    - เอกสารประกอบการสอนวิชาความจริงของชีวิต เรื่องความสุข

2. ประสบการณ์

    -  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    -  หัวหน้าฝ่ายพัสดุสำนักวางแผนและพัฒนา

ตำแหน่งบริหาร

    -  รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม

วิชาที่สอน

    1. ศาสนาเปรียบเทียบ
    2. ศาสนา วัฒนธรรม และพุทธสถาบัน

7

ผศ.เสรี ซาเหลา

    -  สส.ม. (พัฒนาชุมชน)
    -  กศ.บ. (ชีววิทยา)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  การพัฒนาความสามารถของบุคคลและกลุ่ม
    -  การใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชน
    -  บทบาทของ อบต. กับการวางแผนพัฒนาตำบล 5 ปี

2. ประสบการณ์

    -  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    -  ประธานโปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งบริหาร

    -  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์

วิชาที่สอน

    -  การวิจัยทางวัฒนธรรม
    -  บริบททางสังคมกับการเรียนรู้

8

นางจุไรวรรณ โพธิ์แก้ว

    -  ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
    -  ค.บ. (สังคมศึกษา)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีไทย
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาสังคมวิทยาการท่องเที่ยว
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาสวัสดิการสังคม

วิชาที่สอน

    1. สังคมและวัฒนธรรมไทย
    2. วิถีไทย

9

รศ.บุศราคำ เริงโกสุม

    -  ศศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่)
    -  กศ.บ. (ศิลปศึกษา)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ภาพพิมพ์
    -  เทคนิคการออกแบบปกนิตยสาร

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าภาควิชาศิลปศึกษา

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  รองศาสตราจารย์

ตำแหน่งบริหาร

    -  หัวหน้าภาควิชาศิลปกรรม

วิชาที่สอน

    1. ชีวิตกับศิลปะ
    2. ประวัติศาสตร์ศิลป์เปรียบเทียบ
    3. ศิลปกรรมพื้นเมือง

10

ผศ.กันยา จันทรวรชาติ

    -  กศ.ม. (ภูมิศาสตร์)
    -  กศ.บ. (ภูมิศาสตร์)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์
    -  เทคนิคการศึกษาภูมิศาสตร์
    -  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
    -  บทความเรื่องนครสวรรค์ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน

2. งานวิจัย

    -  การศึกษาภูมินามของหมู่บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ กรณีอำเภอไพศาลี

3. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์
    -  รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ตำแหน่งทางวิชาการ

  -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ
    2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

11

นายไชยา อู๋ชนะภัย

    -  วท.ม. (ภูมิศาสตร์)
    -  วท.บ. (ภูมิศาสตร์)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยว

2. ประสบการณ์

    -  ประธานโปรแกรมวิชาสังคมศึกษา

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์

วิชาที่สอน

    1. ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม
    2. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

12

นายธีรพร พรหมมาศ

    -  อ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
    -  ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีโลก
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป

วิชาที่สอน

    1. วิถีโลก
    2. อารยธรรมตะวันตก

13

นายนพดล เกษตรเวทิน

    -  ศศ.ม. (พัฒนาชนบทศึกษา)ศศ.บ. (รัฐศาสตร์การเมือง
การปกครอง)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีไทย
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชามนุษย์กับสังคม
    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาหลักสังคมวิทยา

2. งานวิจัย

    -  พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมจากนครสวรรค์-อุทัยธานี

วิชาที่สอน

    1. มานุษยวิทยาเบื้องต้น
    2. สัมมนาปัญหาทางวัฒนธรรม
    3. วิถีไทย

14

นางสาวณัฏฐิรา กาญจนศิลป์

    -  อ.ม. (ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
    -  ศศ.บ. (ภาษาไทย)

ผลงานทางวิชาการ

    -  เอกสารประกอบการสอนวิชาวิถีโลก

วิชาที่สอน

    1. วิถีโลก 
   
2. อารยธรรมตะวันออก

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

ผศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์

    -  ศศ.บ. (โบราณคดี) เกียรตินิยมอันดับ 1
    -  M.Sc. Environmental Remote Sensing & Geo-Information System for Development. AIT.

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  โบราณคดีสีคราม
    -  โบราณคดีล้านนา
    -  แหล่งเตาเมืองน่านบ้านบ่อสวก
    -  เตาแม่น้ำน้อย
    -  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโบราณคดีเครื่องถ้วยไทย: เครื่องถ้วยสังคโลก
    -  กระบวนการโบราณคดีชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
       เพื่อเสริมสร้างความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากร
       วัฒนธรรมในจังหวัดน่าน

2. ประสบการณ์

    -  นักโบราณคดีประจำภาคเหนือ

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิชาที่สอน

    1. ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ-สถานในท้องถิ่น

2

นายพีรพน พิสณุพงศ์

    -  ศศ.บ. (โบราณคดี)
    -  M.A. (Archaeology)
    -  M.A. (Anthropology)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  รายงานการขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานสระมรกต
    -  ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ เล่ม 1-2
    -  หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
    -  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
    -  ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 12 ภูเก็ต
    -  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช

ตำแหน่งบริหาร

    -  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 13 สงขลา

วิชาที่สอน

    1. โบราณคดี

3

นางอมรา ศรีสุชาติ

    -  ศศ.บ. (โบราณคดี)

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ศิลปะถ้ำเขาปลาร้า อุทัยธานี
    -  สายรากภาคใต้: ภูมิลักษณ์ รูปลักษณ์ จิตลักษณ์

ตำแหน่งบริหาร

    -  ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย

วิชาที่สอน

    1. พิพิธภัณฑสถานวิทยา

13. จำนวนนักศึกษา

        แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

30

30

30

30

30

30

ชั้นปีที่ 2

-

30

30

30

30

30

ชั้นปีที่ 3

-

-

30

30

30

30

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

30

30

30

รวม

30

60

90

120

120

120

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

30

30

30

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

            14.1 จัดการเรียนการสอนตามห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กำหนด

        14.2 ห้องปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้าข้อมูลทางวัฒนธรรม 1 ห้อง

        14.3 โสตทัศนวัสดุ เช่น โปรเจกเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์

        14.4 แหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

15. จำนวนหนังสือและตำราเรียน

        หนังสือ ตำราเรียน วารสาร และเอกสารอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาในสำนัก วิทยบริการมีประมาณ 500 ฉบับ ดังต่อไปนี้

        15.1 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดประวัติศาสตร์

ที่

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

อารยธรรมสมัยโบราณ - สมัยกลาง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15 เล่ม

2

อารยธรรมสมัยใหม่ - ปัจจุบัน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

15 เล่ม

3

อารยธรรมตะวันออก

ศรีสุรางค์ พูลทรัพย์

6 เล่ม

4

ประวัติศาสตร์และอารยธรรมโลก

นันทนา กปิลกาญจน์

7 เล่ม

5

อารยธรรมไทยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

6 เล่ม

6

ปรัชญาประวัติศาสตร์

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

7 เล่ม

7

โฉมหน้าศักดินาไทย

จิตร ภูมิศักดิ์

6 เล่ม

8

การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย

พรรณี บัวเล็ก

5 เล่ม

9

ปากไก่และใบเรือ

นิธิ เอียวศรีวงศ์

6 เล่ม

10

ชนชั้นนำไทยกับการรับวัฒนธรรมตะวันตก

วิไลเลขา ถาวรธนสาร

5 เล่ม

11

ประวัติศาสตร์สุโขทัย : พลังคน อำนาจผี บารมีพระ

ธิดา สาระยา

6 เล่ม

12

ลักษณะไทย

คึกฤทธิ์ ปราโมช

7 เล่ม

13

ประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม : สยามประเทศไทย

สุจิตต์ วงษ์เทศ

5 เล่ม

14

สยามประเทศ : ภูมิหลังของประเทศไทย ตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาราชอาณาจักรสยาม

ศรีศักร วัลลิโภดม

5 เล่ม

15

สังคมและวัฒนธรรมไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6 เล่ม

16

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

ธิดา สาระยา

6 เล่ม

17

ไทยศึกษา

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

8 เล่ม

18

ไทยคดีศึกษา

สุนทรี อาสะไวย์

5 เล่ม

20

นครสวรรค์ : รัฐกึ่งกลาง

สุภรณ์ โอเจริญ

7 เล่ม

21

ตามรอยพระยุคลบาท เสด็จประพาสต้นเมืองนครสวรรค์

วัชรินทร์ เงินสุข

6 เล่ม

22

นครสวรรค์

ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์

8 เล่ม

        15.2 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลป์

ที่

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

พิพิธภัณฑสถานวิทยา

จิรา จงกล

7 เล่ม

2

โบราณคดีปฏิบัติ

ปรีชา กาญจนาคม

5 เล่ม

3

แนวทางศึกษาโบราณคดี

ปรีชา กาญจนาคม

4 เล่ม

4

โบราณคดีเบื้องต้น

ปรีชา กาญจนาคม

6 เล่ม

5

การวิจัยทางโบราณคดี

ปรีชา กาญจนาคม

7 เล่ม

6

ทฤษฏีและแนวทางปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งโบราณคดี

นิคม มูสิกะคามะ

6 เล่ม

7

โบราณคดีประวัติศาสตร์

คงเดช ประพัฒน์ทอง

5 เล่ม

8

แหล่งโบราณคดีประเทศไทย

กองโบราณคดี กรมศิลปากร

5 เล่ม

9

สถานภาพความรู้ด้านโบราณคดีของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศิลปากร

5 เล่ม

10

โบราณคดีสีคราม

กองโบราณคดี กรมศิลปากร

5 เล่ม

11

โบราณคดีสี่ภาค

กองโบราณคดี กรมศิลปากร

6 เล่ม

12

โบราณคดีชุมชน

สายันต์ ไพรชาญจิตร์

6 เล่ม

13

ปฐพีวิทยาประยุกต์ทางโบราณคดี

ชาติชาย ร่มสนธิ

5 เล่ม

14

ศรีทวารวดีถึงศรีรัตนโกสินทร์

สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์

5 เล่ม

15

มรดกจากอดีต

สว่าง เลิศฤทธิ์

4 เล่ม

16

พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย : โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์

สุรพล นาถะพินถุ

5 เล่ม

17

เมืองโบราณ : การสืบสานอารยธรรมสยามประเทศ

ศรีศักร วัลลิโภดม

8 เล่ม

18

รายงานการวิจัยเรื่องเมืองโบราณในอาณาจักรสุโขทัย

ศรีศักร วัลลิโภดม

10 เล่ม

19

ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ

ศรีศักร วัลลิโภดม

8 เล่ม

20

ค้นหาอดีตจากเมืองโบราณ

ศรีศักร วัลลิโภดม

8 เล่ม

21

ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย

พิริยะ ไกรฤกษ์

6 เล่ม

22

ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย (ฉบับย่อ)

สันติ เล็กสุขุม

7 เล่ม

23

ประวัติศาสตร์ศิลป์

กฤศวัฒน์ บรรลือทรัพย์

8 เล่ม

24

ประวัติศาสตร์ศิลปะประเทศใกล้เคียง

สุภัทรดิศ ดิศกุล

7 เล่ม

25

สังคมและวัฒนธรรมจันเสน

สุจิตต์ วงษ์เทศ

7 เล่ม

26

เพลงพื้นบ้านจากพยุหะคีรี

วิเชียร เกษประทุม

8 เล่ม

        15.3 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ที่

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

พื้นฐานทางสังคมวิทยาการศึกษา

ดนัย ไชยโยธา

6 เล่ม

2

วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

5 เล่ม

3

ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนและชนชาติไท

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

6 เล่ม

4

สถานภาพไทยศึกษา : - การสำรวจเชิงวิพากษ์

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

18 เล่ม

5

วัฒนธรรมพื้นบ้านและคติความเชื่อ

เพ็ญศรี ดุ๊ก

6 เล่ม

6

ทฤษฎีคติชนวิทยา

ศิราพร ณ ถลาง

6 เล่ม

7

คติชนกับคนไทย – ไท

ศิราพร ณ ถลาง

7 เล่ม

8

ความเป็นไทยที่ควรธำรงไว้

สถาบันไทยศึกษา

6 เล่ม

9

ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

อมรา พงศาพิชญ์

5 เล่ม

10

การวิจัยในมิติวัฒนธรรม

อานันท์ กาญจนพันธ์

5 เล่ม

11

พัฒนาการสังคมและวัฒนธรรมไทย

ศรีศักร วัลลิโภดม

7 เล่ม

12

รูปแบบและการสืบเนื่องของศิลปะวัฒนธรรมไทย

ศรีศักร วัลลิโภดม

5 เล่ม

13

พื้นฐานอารยธรรมไทย

ภารดี มหาขันธ์

6 เล่ม

14

พจนานุกรม หัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ์

5 เล่ม

15

มองอนาคต บทวิเคราะห์เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทางสังคมไทย

นิธิ เอียวศรีวงศ์

6 เล่ม

16

มนุษย์กับวัฒนธรรม

ยศ สันตสมบัติ

8 เล่ม

17

หลักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม

งามพิศ สัตย์สงวน

5 เล่ม

18

สังคมและวัฒนธรรมในประเทศไทย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

5 เล่ม

19

วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา

อมรา พงศาพิชญ์

7 เล่ม

20

วิธีคิดเชิงซ้อนในการวิจัยชุมชน : พลวัตและศักยภาพของชุมชนในการพัฒนา

อานันท์ กาญจนพันธ์

6 เล่ม

21

มิติชุมชน : -วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร

อานันท์ กาญจนพันธ์

5 เล่ม

22

มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์

สุเทพ สุนทรเภสัช

6 เล่ม

        15.4 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดปรัชญาและศาสนา

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

ศาสนาเปรียบเทียบ

เสถียร พันธรังษี

4 เล่ม

2

ศาสนาและวัฒนธรรมแนวคิดตะวันตก – ตะวันออก

ประยงค์ สุวรรณบุปผา

4 เล่ม

3

พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย

คูณ โทขันธ์

5 เล่ม

4

พุทธศาสนา : ทัศนะและวิจารณ์

เสฐียรพงษ์ วรรณปก

5 เล่ม

5

พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม

สมบูรณ์ สุขสำราญ

5 เล่ม

6

พุทธประวัติ

พระเทพวิสุทธิเมธี

6 เล่ม

7

ศาสนากับสังคมไทย

ส.ศิวรักษ์

8 เล่ม

8

พุทธธรรม

พระธรรมปิฏก

8 เล่ม

9

พุทธศาสนากับคุณค่าต่อชีวิต

พระไพศาล วิสาโล

8 เล่ม

10

วิถีแห่งชีวิต

พระธรรมโกศาจารย์

5 เล่ม

11

วิชาศาสนา

เดือน คำดี

5 เล่ม

12

พุทธธรรมที่เป็นรากฐานสังคมไทย

สุภาพรรณ ณ บางช้าง

5 เล่ม

13

ความรู้พื้นฐานทางศาสนา

ภัทรพร สิริกาญจน

7 เล่ม

        15.5 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดภาษาและวรรณคดีไทย

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย

กุหลาบ มัลลิกะมาส

7 เล่ม

2

วรรณคดีศึกษา

วิภา กงกะนันท์

4 เล่ม

3

วรรณคดีท้องถิ่นพินิจ

สุกัญญา สุจฉายา

5 เล่ม

4

คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ดวงมน จิตร์จำนงค์

7 เล่ม

5

การเขียนเพื่อการสื่อสาร

สุชาติ พงษ์พานิช

10 เล่ม

6

ภูมิปัญญาและมรดกไทย

อุดม เชยกีวงศ์

6 เล่ม

7

คู่มือการใช้ราชาศัพท์

กระทรวงศึกษาธิการ

6 เล่ม

8

วรรณกรรมวิเคราะห์

บุญยงค์ เกศเทศ

7 เล่ม

9

จากความคิดสู่ความอ่านผ่านภาษา

เจตนา นาควัชระ

7 เล่ม

10

วัฒนธรรมทางภาษา

ประภาศรี สีหอำไพ

4 เล่ม

11

ภาษาศาสตร์สังคม

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

7 เล่ม

12

การเขียนสำหรับการสื่อสาร

เสาวนีย์ สิกขาบัณทิต

4 เล่ม

13

การเขียน

สุทธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์

4 เล่ม

        15.6 ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดภูมิศาสตร์

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

การแปลความหมายในแผนที่และการถ่ายภาพทางอากาศ

ธวัช บุรีรักษ์

6 เล่ม

2

ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน

วันทนีย์ ศรีรัฐ

6 เล่ม

3

ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น

ประยุทธ เกิดนวล

4 เล่ม

4

ภูมิศาสตร์ประเทศไทย

ยุพดี เสตพรรณ

6 เล่ม

5

ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

บุญเลิศ สดสุชาติ

6 เล่ม

6

ภูมิศาสตร์กับวิถีชีวิตไทย

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

6 เล่ม

7

ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทย

ปรียา พหลเทพ

6 เล่ม

8

การอ่านแผนที่และตีความรูปถ่ายทางอากาศ

สรรค์ใจ กลิ่นดาว

8 เล่ม

9

หลักการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียม

วนิตา เผ่านาค

8 เล่ม

10

ภูมิศาสตร์กายภาพของประเทศไทย

วิโรจน์ เอี่ยมเจริญ

5 เล่ม

12

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : หลักการเบื้องต้น

สรรค์ใจ กลิ่นดาว

5 เล่ม

13

รีโมทเซนซิงเบื้องต้น และกรณีศึกษารีโมทเซนซิง

สมพร สง่าวงศ์

4 เล่ม

14

การแปลภาพถ่าย

วันทนีย์ ศรีรัฐ.

5 เล่ม

        15.7 ตัวอย่างรายชื่องานวิจัยด้านวัฒนธรรม

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

สังคมไทยในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 - 2416

อคิน ระพีพัฒน์

7 เล่ม

2

พิธีกรรม ตำนาน นิทาน เพลง : บทบาทของคติชนกับสังคมไทย

สุกัญญา สุจฉายา

5 เล่ม

3

ภาพรวมภูมิปัญญาไทย

เอกวิทย์ ณ ถลาง

6 เล่ม

4

ศักยภาพไทวิถี

เอกวิทย์ ณ ถลาง

7 เล่ม

5

อัตลักษณ์ ชาติพันธ์ และความเป็นชายขอบ

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

7 เล่ม

6

สังคมและวัฒนธรรมจันเสน

สุจิตต์ วงษ์เทศ

5 เล่ม

7

เพลงพื้นบ้านจากพยุหะคีรี

วิเชียร เกษประทุม

6 เล่ม

8

หัวเชือกวัวชน

อาคม เดชทองคำ

6 เล่ม

9

ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยศ สันตสมบัติ

8 เล่ม

10

กระบวนการกลายเป็นคนชายขอบ

สุริชัย หวันแก้ว

5 เล่ม

11

อัตลักษณ์

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล

5 เล่ม

        15.8 ตัวอย่างรายชื่อสารานุกรม

                1. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
                2. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
                3. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
                4. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
                5. สารานุกรมประวัติศาสตร์โลก ระพิน ทองระอา
                6. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลฉบับใหม่ : เอเชีย ราชบัณฑิตยสถาน
                7. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลฉบับใหม่ : ยุโรป ราชบัณฑิตยสถาน
                8. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์ กระทรวงศึกษาธิการ
                9. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดอุทัยธานี กระทรวงศึกษาธิการ
                10. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดชัยนาท กระทรวงศึกษาธิการ

        15.9 ตัวอย่างรายชื่อวารสารทางวิชาการ

                1. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
                2. วารสารราชบัณฑิตยสถาน ราชบัณฑิตยสถาน
                3. วารสารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                4. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                5. วารสารรูสะมิแล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                6. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                7. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
                8. วารสารวัฒนธรรมไทย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
                9. วารสารสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
                10. วารสารภาษาและหนังสือ สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย

        15.10 ตัวอย่างรายชื่อตำราภาษาต่างประเทศ

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ชื่อผู้แต่ง

จำนวน

1

A History of Thailand

Rong Sayamananda

6 เล่ม

2

History of Anglo – Thai Relations

M.L. Manich Jumsai

6 เล่ม

3

History of Thai Revolution

Thawatt Mokarapong

6 เล่ม

4

The Encyclopedia of World History

Jeremy Black

4 เล่ม

5

Thai Arts & Culture

Henry Ginnsburg

5 เล่ม

6

Thai Folklore Insights into Thai Culture

Siraporn Nathalang

5 เล่ม

7

The Cultural Studies reader

Simon During

6 เล่ม

8

The Practice of Social Research

Earl Babbie

6 เล่ม

9

Perspective in Sociology

E.C.Cuff

6 เล่ม

10

Cultural Geography

J.E. Spencer

8 เล่ม

11

Cultural studies : theory and practice

Chris Barker

5 เล่ม

12

Cultural authropology

Conrad Phillip Kottak

5 เล่ม

13

Religion and Culture

Raymond Scupin

5 เล่ม

14

The Tapestry of Culture

Abraham Rosman

5 เล่ม

15

Culture and Global Change

Tracy Skelton

5 เล่ม

16

Culture and Environment in Thailand

The Siam Society

4 เล่ม

17

Getting Started with Geographic Information Systems

Keith C. Clarke

5 เล่ม

18

Geosystems

Robert W. Christoperson

4 เล่ม

    15.11 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

        การสืบค้นจากเว็บไซต์ http://127.0.0.1:5432/HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สามารถสืบค้นวารสาร (Journal) ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ทั่วโลก

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

2549

2550

2551

2552

2553

2554

งบดำเนินการ            
    -  ค่าตอบแทน 20,000 20,000 20,000

20,000

20,000

20,000

    -  ค่าใช้สอย 30,000 30,000 30,000

30,000

30,000

30,000

    -  ค่าวัสดุ 30,000 30,000 30,000

30,000

30,000

30,000

    -  ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

           

รวมงบดำเนินการ

80,000

80,000

80,000

80,000

80,000

80,000

งบลงทุน            

    -  ค่าครุภัณฑ์

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

รวมงบลงทุน

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

รวมทั้งหมด

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

         * หมายเหตุ : ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตร 1,500 บาท/ปี

17. หลักสูตร

        หลักสูตศิลปศาสตรบัณฑิต สาชาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

93

 

1. วิชาแกน

24

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

42

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

20

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

7

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

130

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

               จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        รายละเอียดของหลักสูตรแต่ละหมวดวิชามีดังนี

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 63 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 24 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2212209

การพูดในที่ชุมชน

3 (2-2-5)

 

Speech for Public

 

2213212

การสร้างงานเขียนทั่วไป

3 (2-2-5)

 

General Writing

 

2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3 (3-0-6)

 

English for Learning

 

2411101

มานุษยวิทยาเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Anthropology

 

2472102

ประวัติศาสตร์ไทย

3(3-0-6)

 

Thai History

 

2472701

โบราณคดี

3(2-2-5)

 

Archaeology

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

4311702

คอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ

3 (2-2-5)

 

Computer for Career

 

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 42 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2102204

ประวัติศาสตร์ศิลป์เปรียบเทียบ

2(1-2-3)

 

Comparative History of Arts

 

2154205

ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

3(2-2-5)

 

Folk Music and Folk Dance

 

2212404

คติชนวิทยา

3(2-2-5)

 

Folklore

 

2213413

การวิเคราะห์วัฒนธรรมจากวรรณกรรมไทย

3(3-0-6)

 

Cultural Analysis from Thai Literary works

 

2313701

ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษย์ศาสตร์

3(3-0-6)

 

English for Humanities

 

2471202

อารยธรรมตะวันออก

2(2-0-4)

 

Eastern Civilization

 

2471203

อารยธรรมตะวันตก

2(2-0-4)

 

Western Civilization

 

2473103

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

3(3-0-6)

 

Local History

 

2473702

พิพิธภัณฑสถานวิทยา

3(2-2-5)

 

Museology

 

2474101

องค์การและการบริหารงานวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Organization and Cultural Administration

 

2432102

สังคมและวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

 

Thai Society and Culture

 

2443714

ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

3(3-0-6)

 

Cultural Geography

 

3113102

การประชาสัมพันธ์และสารสนเทศทางวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Public Relation and Information for Cultural Studies

 

2502901

สัมมนาปัญหาวัฒนธรรม

3(3-0-6)

 

Seminar on Cultural Problems

 

2502902

การวิจัยทางวัฒนธรรม

3 (2-2-5)

 

Cultural Research

 

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

1133201

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรม

2(1-2-3)

 

Technology and Innovation for Cultural Promotion

 

2492218

มนุษย์กับความสุข

2(2-0-4)

 

Human Being and Happiness

 

2112202

ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศใกล้เคียง

2(2-0-4)

 

History of Neighbor Arts

 

2112103

ศิลปกรรมพื้นเมือง

3(3-0-6)

 

Local Arts

 

2121117

การวาดเส้นทัศนศิลป์

2(1-2-3)

 

Drawing in Visual Arts

 

2213302

อักษรและเอกสารโบราณ

2(2-0-4)

 

Paleography and Ancient Documentary

 

2213414

วรรณกรรมท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

Thai Local Literature

 

2213415

คติชนวิทยาเปรียบเทียบ

2(2-0-4)

 

Comparative Folklore

 

2214104

ภาษาถิ่น

2(2-0-4)

 

Dialectology

 

2214405

วรรณกรรมท้องถิ่นเปรียบเทียบ

2(2-0-4)

 

Comparative Local Literature

 

2313428

ภาษาอังกฤษในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

English in Cultural Perspectives

 

2431301

ประเพณีประจำท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

Local Tradition

 

2432103

สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

Local Society and Culture

 

2441403

แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่และรูปถ่ายทางอากาศ

3(2-2-5)

 

Maps and Aerial Photo Interpretations

 

2472702

การศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3(2-2-5)

 

Expost Facto Studies

 

2472703

การจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม

2(2-0-4)

 

Cultural Data System

 

2473701

ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุสถานในท้องถิ่น

2(2-0-4)

 

Knowledge of the Local Ancient Places

 

2493101

ศาสนาเปรียบเทียบ

3(3-0-6)

 

Comparative Religions

 

2492201

ศาสนา วัฒนธรรม และพุทธสถาบัน

2(2-0-4)

 

Religion, Culture and Buddhism Institute

 

3103209

การถ่ายภาพทางวัฒนธรรม

2(1-2-3)

 

Photography of Culture

 

3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3 (2-2-5)

 

Tourist Guide

 

1094402

กีฬาและนันทนาการพื้นบ้าน

2(2-0-4)

 

Local Sports and Recreation

 

4612209

อาหารพื้นบ้าน

2(1-2-3)

 

Folk Cookery

 

4622102

เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายพื้นบ้าน

2(2-0-4)

 

Local Textile and Clothing

 

            (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2473801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปวัฒนธรรม

2 (90)

 

Preparation for Professional Experience in Arts and Culture

 

2474801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปวัฒนธรรม

5 (450)

 

Field Experience in Arts and Culture

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับ หน่วยกิต รวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษไทย

3(2-2-5)

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

2213414

วรรณกรรมท้องถิ่น

2(2-0-4)

2411101

มานุษยวิทยาเบื้องต้น

3(3-0-6)

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

2471203

อารยธรรมตะวันตก

2(2-0-4)

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

รวม 19

รวม 17

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3(3-0-6)

2102204

ประวัติศาสตร์ศิลป์เปรียบเทียบ

2(1-2-3)

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

2471202

อารยธรรมตะวันออก

2(2-0-4)

2213413

การวิเคราะห์วัฒนธรรมจากวรรณกรรมไทย

3(3-0-6)

2472102

ประวัติศาสตร์ไทย

3(3-0-6)

2473103

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

3(3-0-6)

2443714

ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

3(3-0-6)

2432102

สังคมและวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

4311702

คอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ

3(2-2-5)

3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

   

รวม 15

   

รวม 18

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

2112103

ศิลปกรรมพื้นเมือง

3(3-0-6)

2154205

ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

3(2-2-5)

2212404

คติชนวิทยา

3(2-2-5)

2213212

การสร้างงานเขียนทั่วไป

3(2-2-5)

2313701

ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษย์ศาสตร์

3(3-0-6)

2472701

โบราณคดี

3(2-2-5)

2502902

การวิจัยทางวัฒนธรรม

3(2-2-5)

2473702

พิพิธภัณฑสถานวิทยา

3(2-2-5)

2504101

องค์การและการบริหารงานวัฒนธรรม

3(3-0-6)

2493101

ศาสนาเปรียบเทียบ

3(3-0-6)

2441403

แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่และ รูปถ่ายทางอากาศ

3(2-2-5)

3113102

การประชาสัมพันธ์และ สารสนเทศทางวัฒนธรรม

3(3-0-6)

xxxxxxx

 เลือกเสรี

2(2-0-4)

xxxxxxx

เลือกเสรี

2(2-0-4)

   

รวม 20

   

รวม 20

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

นก/คาบ

1133201

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม

2(1-2-3)

2414801

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5(450)

2212209

การพูดในที่ชุมชน

3(2-2-5)

     

2413801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปวัฒนธรรม

2(90)

     

2472703

การจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม

2(2-0-4)

     

2473701

ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุสถานในท้องถิ่น

2(2-0-4)

     

2502901

สัมมนาปัญหาวัฒนธรรม

3(3-0-6)

     

2313428

ภาษาอังกฤษในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

     
   

รวม 19

   

รวม 5

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                วิชาแกน จำนวน 24 หน่วยกิต

รายวิชา 2212209

การพูดในที่ชุมชน

3 (2-2-5)

 

Speech for Public

 

        การพูดในชีวิตประจำวัน ความมุ่งหมายของการพูด และหลักการฝึก การสร้างบุคลิกภาพ การใช้เสียง ความมั่นใจ ตลอดจนลีลาการดำเนินเรื่อง และการใช้ภาษา การพูดอธิบาย พรรณนาและเล่าเรื่องในสภาวะและจุดมุ่งหมายที่กำหนดขึ้น การใช้จิตวิทยาเพื่อจูงใจ
ผู้ฟัง รูปแบบต่างๆ ของการพูดในที่ชุมชน และการฝึกปฏิบัติ

รายวิชา 2213212

การสร้างงานเขียนทั่วไป

3 (2-2-5)

 

General Writing

 

        ศึกษากลวิธีการวางโครงเรื่อง การลำดับความคิด การเขียนย่อหน้าหรืออนุเฉท (Paragraph) การเขียนสารคดี การเขียนบทความ การเขียนเรียงความ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ การเขียนคำขวัญ การเขียนสรุปความจากการฟังและการอ่าน เน้นการฝึกเขียน
และมีผลงานทุกสัปดาห์

รายวิชา 2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3 (3-0-6)

 

English for Learning

 

        พัฒนาภาษาอังกฤษทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อพัฒนาอาชีพในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์ทางภาษาที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาวิชาแต่ละอาชีพอย่างมีระบบ

รายวิชา 2411101

มานุษยวิทยาเบื้องต้น

3 (3-0-6)

 

Introduction to Anthropology

 

        ศึกษาความหมาย ลักษณะ และขอบเขตของวิชามานุษยวิทยา ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และมโนทัศน์พื้นฐานทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในระดับขั้นสูงต่อไป หรือเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสังคมวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ ตามทัศนะทางมานุษยวิทยา อันได้แก่เรื่องมนุษย์กับอาหาร ระบบเศรษฐกิจ การแต่งงาน ครอบครัวและระบบเครือญาติ การแบ่งแยกทางเพศ องค์กรสังคม และ
การเมือง วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ มนุษย์กับศาสนา มนุษย์กับศิลปะ และวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง

รายวิชา 2472102

ประวัติศาสตร์ไทย

3 (3-0-6)

 

Thai History

 

        ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย ลักษณะการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยสังเขป การปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่นับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม จนถึงปัจจุบัน

รายวิชา 2472701

โบราณคดี

3 (2-2-5)

 

Archaeology

 

        ศึกษาความหมายของคำว่า วิชา “โบราณคดี” ประวัติ ประโยชน์ และประเภทของวิชาโบราณคดี ความสัมพันธ์ของวิชาโบราณคดีกับวิชาการแขนงอื่น ศึกษาหลักและสังกัปของวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ กฎหมายคุ้มครองโบราณคดี ศิลปวัตถุสถาน และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ การวางแผน การบริหาร การประชาสัมพันธ์ และการฝึกปฏิบัติงานโบราณคดี

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 4311702

คอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ

3 (2-2-5)

 

Computer for Career

 

        ศึกษาเกี่ยวกับเกี่ยวกับโครงสร้างและวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ชุดสำนักงาน ระบบฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เวอร์คชีต เวอร์ดโปรเซสเซอร์ ฯลฯ

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 42 หน่วยกิต

รายวิชา 2102204

ประวัติศาสตร์ศิลป์เปรียบเทียบ

2 (1-2-3)

 

Comparative History of Arts

 

        ศึกษาความหมายของวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ความเกี่ยวพันระหว่างประวัติศาสตร์ศิลปะกับโบราณคดี ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดีและลักษณะศิลปะตะวันตกและไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์จนถึงสมัยปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดีไทยกับของประเทศข้างเคียง

รายวิชา 2154205

ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

3 (2-2-5)

 

Folk Music and Folk Dance

 

        ศึกษาลักษณะ ความเป็นมา ความสำคัญ วิวัฒนาการเครื่องดนตรี การประสมวง ทำนอง จังหวะของดนตรีไทย ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับนาฏศิลป์ ค่านิยมของคนไทย ตลอดจนการส่งเสริม การอนุรักษ์ พัฒนาดนตรีไทย การฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ศึกษาลักษณะประวัติความเป็นมา ความสำคัญ วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย ในด้านการแต่งกาย ท่ารำ เพลงประกอบ และอุปกรณ์การแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี นาฏศิลป์ไทยกับนาฏศิลป์พื้นบ้าน ค่านิยมของคนไทย ตลอดจนการส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนานาฏศิลป์ไทย การฝึกปฏิบัติเบื้องต้น

รายวิชา 2212404

คติชนวิทยา

3 (2-2-5)

 

Folklore

 

        ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท และคุณค่าของคติชนวิทยา ศึกษาระเบียบวิธีการรวบรวม การจำแนกและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยี แสวงหาและถ่ายทอดข้อมูล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคติชนวิทยากับศาสตร์แขนงอื่นๆ ศึกษา
แนวคิดและวิธีการศึกษาภูมิปัญญาไทย เปรียบเทียบกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านคุณค่าของการสร้างสรรค์พัฒนา และสืบทอดภูมิปัญญาต่อวิถีชีวิตไทย เน้นการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 2213413

การวิเคราะห์วัฒนธรรมจากวรรณกรรมไทย

3 (3-0-6)

 

Cultural Analysis from Thai Literary works

 

        ศึกษาลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม ประเภทของวรรณกรรมไทย ยุคสมัย และความคลี่คลายของวรรณกรรมไทย วิเคราะห์ลักษณะของสังคมไทย วิถีชีวิต ค่านิยม ขนบประเพณี ความเชื่อที่ปรากฏในวรรณกรรมไทยเรื่องที่สำคัญๆ ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง

รายวิชา 2313701

ภาษาอังกฤษสำหรับมนุษย์ศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Humanities

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด  ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านมนุษยศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี  มานุษยวิทยา  วัฒนธรรม โบรานคดี เป็นต้น  เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์  เช่น การรู้ศัพท์  การอ้างถึง  คำเชื่อม  ข้อความ  การจับใจความสำคัญ  เหตุและผล  ทัศนคติของผู้เขียน  และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 2471202

อารยธรรมตะวันออก

2 (2-0-4)

 

Eastern Civilization

 

        ศึกษาความเป็นมาของอารยธรรมตะวันออก อารยธรรมอินเดียและจีน โดยเน้นถึงอิทธิพลของอารยธรรมตะวันออกที่มีต่อชาติไทย

รายวิชา 2471203

อารยธรรมตะวันตก

2 (2-0-4)

 

Western Civilization

 

        ศึกษาความเป็นมาของอารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย และดินแดนใกล้เคียง กรีก โรมัน ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 5 โดยเน้นอิทธิพลของอารยธรรมที่มีต่อโลก

รายวิชา 2473103

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

3 (3-0-6)

 

Local History

 

        ศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสมัยต่างๆ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ความคิดความเชื่อของท้องถิ่น อิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ ที่มีต่อท้องถิ่น โดยจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับท้องถิ่นของสถาบันการศึกษา

รายวิชา 2473702

พิพิธภัณฑสถานวิทยา

3 (2-2-5)

 

Museology

 

        ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของพิพิธภัณฑสถานทั้งของไทยและต่างประเทศ การจัดพิพิธภัณฑสถานแบบต่างๆ การจัดระบบวัตถุของพิพิธภัณฑสถาน การนำชม และการแต่งหนังสือนำชม การจัดแสดงชั่วคราว การนำสิ่งของไปแสดงนอกพิพิธภัณฑ์ การเขียนป้ายประจำวัตถุ การรักษาความปลอดภัย การซ่อมสงวนรักษาศิลปวัตถุ การประชาสัมพันธ์ การบริหารพิพิธภัณฑสถาน ฝึกปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดพิพิธภัณฑสถาน การจัดแสดงโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ

รายวิชา 2502901

สัมมนาปัญหาวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Seminar on Cultural Problems

 

        เลือกปัญหาที่สำคัญทางวัฒนธรรมมาศึกษาวิเคราะห์โดยละเอียด ศึกษาถึงทัศนะและสำนึก ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาเหล่านั้น โดยการอภิปรายและสัมมนา

รายวิชา 2502902

การวิจัยทางวัฒนธรรม

3 (2-2-5)

 

Cultural Research

 

        ศึกษาแนวคิดทฤษฎีวัฒนธรรมและสังคม (Cultural and Social Theories) ได้แก่ ทฤษฎีมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology) ทฤษฎีหลังสมัยใหม่ (Post-Modern) ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ชุมชนและวัฒนธรรมชุมชน โดยเน้นทฤษฎีที่ว่าด้วยฐานะและบทบาทของวัฒนธรรมในสังคมเพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวทางในการวิจัยทางวัฒนธรรม ศึกษาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเน้นการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ได้แก่ วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม การตีความข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม การวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลในการปฏิบัติงานภาคสนาม ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย

รายวิชา 2432102

สังคมและวัฒนธรรมไทย

3 (3-0-6)

 

Thai Society and Culture

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของสังคมและวัฒนธรรมไทย เอกลักษณ์ของสังคมไทย การรักษาเสถียรภาพของสังคม วัฒนธรรมของชาติ และวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่สำคัญการพัฒนาและการสืบทอดวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย

รายวิชา 2443714

ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Cultural Geography

 

        ศึกษาองค์ประกอบทางด้านภูมิศาสตร์ กับลักษณะทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลให้เกิดรูปแบบของการดำรงชีวิตของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ได้แก่ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ระดับความก้าวหน้าทางวิทยาการ การใช้ที่ดินแบบต่างๆ ลักษณะความแตกต่างทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและการปกครอง

รายวิชา 3113102

การประชาสัมพันธ์และสารสนเทศทางวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Public Relation and Information for Cultural Studies

 

        หลักการและทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ จิตวิทยามวลชน การสื่อข่าว การเขียนข่าว และการนำเสนอข่าวสารข้อมูลด้านวัฒนธรรม การวางแผน การออกแบบ และปฏิบัติการจัดนิทรรศการเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรูปแบบและการบริหารงานประชาสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมผ่านระบบสารสนเทศ

รายวิชา 2504101

องค์การและการบริหารงานวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

Organization and Cultural Administration

 

        ศึกษาหลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ โครงสร้างของการจัดตั้งองค์กรทางวัฒนธรรม ภาระหน้าที่รับผิดชอบขององค์การ การบริหารงานบุคลากร นโยบายบทบาท หน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ การเงิน งบประมาณ ภารกิจตามงาน เป็นต้น

        ศึกษาสมบัติวัฒนธรรม การอนุรักษ์วัฒนธรรมบุคคล การสำรวจแหล่งข้อมูล การเก็บข้อมูลและการจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรมประเภทต่างๆ การเผยแพร่งานวัฒนธรรมทางสื่อมวลชน

        ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายคุ้มครองโบราณศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กฎหมายส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน การอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์ศิลปกรรมและโบราณสถาน โบราณวัตถุและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 20 หน่วยกิต

รายวิชา 1133201

การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรม

2 (1-2-3)

 

Technology and Innovation for Cultural Promotion

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบและหลักการ วิธีการจัดผลิตสื่อ กิจกรรมอันเป็นเครื่องมือเผยแพร่วัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง เทปโทรทัศน์ เทปบันทึกเสียง การจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ การแสดงละครทางสื่อมวลชน

รายวิชา 2492218

มนุษย์กับความสุข

2 (2-0-4)

 

Human Being and Happiness

 

        ศึกษาและวิเคราะห์สภาวะความสุขและความทุกข์ของมนุษย์ สาเหตุของความทุกข์และความสุข รวมทั้งวิธีการหลีกหนีความทุกข์และการสร้างความสุขในระดับต่างๆ

รายวิชา 2112202

ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศใกล้เคียง

2 (2-0-4)

 

History of Neighbor Arts

 

        ศึกษาศิลปะอินเดีย ลังกา ชวา พม่า มอญ และเขมรสมัยต่างๆ และอิทธิพลของศิลปะต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในประเทศไทย เน้นเป็นพิเศษในเรื่องศิลปะอินเดีย โดยการศึกษาศิลปะอินเดียตั้งแต่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ศิลปะอินเดียแบบทมิฬ และศิลปะอินเดียทางภาคเหนือ และความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะอินเดียกับศิลปะไทย

รายวิชา 2121117

การวาดเส้นทัศนศิลป์

2 (1-2-3)

 

Drawing in Visual Arts

 

        ศึกษาปฏิบัติการวาดเส้น ถ่ายรูปแบบในลักษณะ 2 มิติ ที่เน้นรูปแบบศิลปกรรม ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ของศิลปกรรมในแต่ละยุคสมัย

รายวิชา 2112103

ศิลปกรรมพื้นเมือง

3(3-0-6)

 

Local Arts

 

        ศึกษาความเป็นมา รูปแบบ วิวัฒนาการ เทคนิคในการผลิต ประโยชน์ใช้สอยและสุนทรียภาพของศิลปกรรมพื้นเมือง อิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่องานศิลปกรรมพื้นเมือง การอนุรักษ์ พัฒนาและส่งเสริมศิลปกรรมพื้นเมืองแต่ละประเภท

รายวิชา 2213302

อักษรและอักษรโบราณ

2 (2-0-4)

 

Paleography and Ancient Documentary

 

        ศึกษาเอกสารโบราณยุคต่างๆ ของไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในด้านที่มา ลักษณะอักษร อักขรวิธี วิวัฒนาการของตัวอักษร วัสดุที่ใช้ในการเขียนตลอดจนการอ่านเอกสารโบราณ การคัดลอก การเก็บรักษาอย่างถูกวิธี

รายวิชา 2213414

วรรณกรรมท้องถิ่น

2 (2-0-4)

 

Thai Local Literature

 

        ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะร่วม และลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรมท้องถิ่นที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมท้องถิ่นกับวรรณกรรมแบบฉบับ ฝึกอ่านและวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น

รายวิชา 2213415

คติชนวิทยาเปรียบเทียบ

2 (2-0-4)

 

Comparative Folklore

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 1543408 คติชนวิทยา

        ศึกษาเปรียบเทียบมติของท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น ประเภท คุณค่า ฯลฯ ตลอดจนความสัมพันธ์และความแตกต่างของคติชน และให้มีภาคปฏิบัติในการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชา

รายวิชา 2214104

ภาษาถิ่น

2 (2-0-4)

 

Dialectology

 

        ศึกษาความหมายของภาษาถิ่น การจำแนกภาษาไทยถิ่นในประเทศไทย ความแตกต่างของภาษาไทยถิ่นในด้านเสียง คำ ประโยค ความหมาย ฝึกเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ภาษาไทยถิ่น ประยุกต์ใช้ความรู้วิชาภาษาถิ่นในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย

รายวิชา 2214405

วรรณกรรมท้องถิ่นเปรียบเทียบ

2 (2-0-4)

 

Comparative Local Literature

 

        ศึกษาลักษณะ รูปแบบ กลวิธีในการแต่งวรรณกรรมท้องถิ่นต่างๆ สามารถวิเคราะห์ในเชิงวรรณศิลป์ ศึกษาวิธีอ่านและฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ของท้องถิ่น ศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมและคำประพันธ์ระหว่างท้องถิ่นต่างๆ

รายวิชา 2313428

ภาษาอังกฤษในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม

3 (3-0-6)

 

English in Cultural Perspectives

 

        ศึกษาและฝึกการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ ด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการใช้คำศัพท์ คำศัพท์เฉพาะ สำนวน และโครงสร้างทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งฝึกการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทของวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

รายวิชา 2472702

การศึกษาเอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Expost Facto Studies

 

        ศึกษาปรัชญา และแนวความคิดสำคัญทางประวัติศาสตร์ สำนักความคิดทางประวัติศาสตร์ วิวัฒนาการของปรัชญาประวัติศาสตร์ตะวันตก วิวัฒนาการของปรัชญาประวัติศาสตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน ระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เน้นการฝึกปฏิบัติควบคู่กับการเรียนภาคทฤษฎี

รายวิชา 2472703

การจัดระบบข้อมูลทางวัฒนธรรม

2 (2-0-4)

 

Cultural Data System

 

        ศึกษาความหมาย ประโยชน์ และความสำคัญของการจัดระบบและวิเคราะห์หมวดหมู่ของข้อมูลทางวัฒนธรรม หลักเกณฑ์ทั่วไปในการจัดหมวดหมู่ของข้อมูลทางวัฒนธรรม หลักเกณฑ์ในการจัดทำบัตรรายการและบัตรเชื่อมโยงข้อมูล และการทำบรรณานุกรม
ข้อมูลทางวัฒนธรรม

รายวิชา 2473701

ความรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุสถานในท้องถิ่น

2 (2-0-4)

 

Knowledge of the Local Ancient Places

 

        ศึกษาความหมายของโบราณวัตถุสถาน ประวัติความเป็นมา ความสำคัญ ตลอดจนถึงความงามทางด้านทัศนศิลป์ของโบราณวัตถุสถานในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้เน้นท้องถิ่นที่สถานศึกษานั้นเปิดสอน

รายวิชา 2493101

ศาสนาเปรียบเทียบ

3 (3-0-6)

 

Comparative Religions

 

        ศึกษาประวัติและหลักคำสอนของศาสนาต่างๆ โดยการศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อ หลักคำสอน พิธีกรรม และแนวทางการดำเนินชีวิตของศาสนิกชนในแต่ละศาสนา เพื่อให้เข้าใจในศาสนาต่างๆ และอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

รายวิชา 2431301

ประเพณีประจำท้องถิ่น

2 (2-0-4)

 

Local Tradition

 

        ศึกษาประวัติของประเพณีท้องถิ่นในภาคต่างๆ ของประเทศไทย (เน้นหนักท้องถิ่นของตน) รูปแบบการจัดกิจกรรม ความเชื่ออันเป็นบ่อเกิดของแก่นแท้ของประเพณี ให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมในงานประเพณีเพื่อเป็นผู้แนะนำส่งเสริมประเพณีเหล่านั้นในโอกาสต่อไป

รายวิชา 2492202

ศาสนา วัฒนธรรม และพุทธสถาบัน

2 (2-0-4)

 

Religion, Culture and Buddhism Institute

 

        ศึกษาระบบศาสนา ความเชื่อ อำนาจเหนือธรรมชาติ และไสยศาสตร์ของสังคมดั้งเดิม รวมทั้งการทำหน้าที่ของไสยศาสตร์ และคติชาวบ้านในสังคมปัจจุบัน ศึกษาวิเคราะห์สถาบัน การรวมกลุ่มและสมาคมของฆราวาสที่นับถือพุทธศาสนา กิจกรรมทางศาสนา
โครงสร้างของสถาบัน ตลอดจนการดำเนินงาน และหน้าที่ของสถาบันศาสนาในสังคม

รายวิชา 2432103

สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

2 (2-0-4)

 

Local Society and Culture

 

        ศึกษามนุษย์ในเชิงสังคมและวัฒนธรรม โดยเน้นโครงสร้างวิวัฒนาการของระบบสังคมแบบดั้งเดิมของท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของสังคมกับค่านิยม ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติและความเจริญเติบโตของวัฒนธรรม เน้นถึงปัญหาร่วมสมัยของวัฒนธรรมและสังคมของท้องถิ่น ตลอดจนอิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

รายวิชา 2441403

แผนที่และการแปลความหมายจากแผนที่ และรูปถ่ายทางอากาศ

3 (2-2-5)

 

Maps and Aerial Photo Interpretations

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ การอ่าน การตีความ การใช้แผนที่ภูมิประเทศและรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อนำไปศึกษาลักษณะของสิ่งที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่จริง ทั้งลักษณะทางด้านธรรมชาติและลักษณะทางด้านวัฒนธรรม ได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ ชุมชนโบราณ ศาสนสถาน การตั้งถิ่นฐาน เส้นทางคมนาคม แหล่งท่องเที่ยวและการใช้ที่ดิน และการปฏิบัติภาคสนาม

รายวิชา 3103209

การถ่ายภาพทางวัฒนธรรม

2 (1-2-3)

 

Photography of Culture

 

        ศึกษาหลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การเลือกชนิดของกล้องและฟิล์มถ่ายภาพเพื่อการเผยแพร่วัฒนธรรม เทคนิคการถ่ายภาพลักษณะต่างๆ เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น การถ่ายภาพวัตถุโบราณ การแสดง ฯลฯ

รายวิชา 3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3 (2-2-5)

 

Tourist Guide

 

        ศึกษาความหมายและความสำคัญของมัคคุเทศก์ บทบาทและหน้าที่ของมัคคุเทศก์ที่มีต่ออุตสาหกรรม การท่องเที่ยว บุคลิกลักษณะที่จำเป็นของมัคคุเทศก์ บทบาทในการวางตัว การพูดจา และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ เช่น การตรวจคนเข้าเมือง การควบคุม และการแลกเปลี่ยนเงินตรา ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ และเอกสารประกอบการเดินทาง การตรวจลงตรา ระเบียบพิธีทางศุลกากร ลักษณะอุปนิสัย รสนิยมของนักท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวต่างประเทศที่ควรทราบ และการปฐมพยาบาล

รายวิชา 1094402

กีฬาและนันทนาการพื้นบ้าน

2 (2-0-4)

 

Local Sports and Recreation

 

        ศึกษาบทบาทและการแสดงทางการกีฬาและนันทนาการของวัฒนธรรมกลุ่มย่อยในประเทศไทย ความสำคัญของการกีฬา และนันทนาการพื้นบ้านที่มีต่อสังคมท้องถิ่น ลักษณะของการกีฬาและนันทนาการพื้นบ้าน การศึกษาเปรียบเทียบการกีฬา และนันทนาการพื้นบ้านของท้องถิ่นต่างๆ อิทธิพลการกีฬาและนันทนาการพื้นบ้านของไทยที่มีต่อการดำรงชีวิต หลักเกณฑ์และแนวโน้มของการกีฬาและนันทนาการพื้นบ้านในปัจจุบัน ค่านิยมของคนไทยที่มีต่อกีฬาและนันทนาการพื้นบ้านในปัจจุบัน ค่านิยมของคนไทยที่มีต่อกีฬาและนันทนาการพื้นบ้าน การส่งเสริม และการอนุรักษ์กีฬาและนันทนาการพื้นบ้าน

รายวิชา 4612209

อาหารพื้นบ้าน

2 (1-2-3)

 

Folk Cookery

 

        ศึกษาอาหารพื้นบ้านในด้านประเพณี วิวัฒนาการ คุณค่า วิธีการประกอบอาหาร การตกแต่ง การจัดเลี้ยงอาหาร ค่านิยมในเรื่องอาหารของคนในท้องถิ่น

รายวิชา 4622102

เสื้อผ้าและการแต่งกายพื้นบ้าน

2 (2-0-4)

 

Local Textile and Clothing

 

        ศึกษาการผลิต วิวัฒนาการของเครื่องแต่งกาย และประเพณีการแต่งกายของคนไทยท้องถิ่นต่างๆ

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต

รายวิชา 2473801

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปวัฒนธรรม

2(90)

 

Preparation for Professional Experience in Arts and Culture

 

        จัดให้มีกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษา ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านการรับรู้ ลักษณะและโอกาสของการประกอบอาชีพ การพัฒนาตัวนักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ แรงจูงใจ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวิชาชีพ โดยเน้นการฝึกทักษะขั้นพื้นฐานและระดับสูง ด้วยการปฏิบัติงานและกิจกรรม

รายวิชา 2474801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพศิลปวัฒนธรรม

5(450)

 

Field Experience in Arts and Culture

 

        จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านศิลปวัฒนธรรมในองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อให้ได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติและประสบการณ์ในอาชีพ และนำผลจากการฝึกงานมาวิเคราะห์ สรุป เสนอในรูปของการสัมมนา นิทรรศการ หรือภาคนิพนธ์

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

                 ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

                 กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการได้งานทำของบัณฑิต (ประเมินบัณฑิตทุกรุ่น)
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง (ประเมินทุก 2 ปี)
                6. ประเมินความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน (ประเมินทุก4 ปี)
                7. การศึกษาต่อของบัณฑิตในระดับที่สูงขึ้น (ประเมินบัณฑิตทุกรุ่น)
                8. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

***************

 

ภาคผนวก

1. สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา พุทธศักราช 2549

        ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศาสตร์
โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา

 

2

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา)

ศิลปศาสตรบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา)

 

3

ปรัชญาของหลักสูตร

มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

7 ข้อ

5 ข้อ

 

5

หลักสูตร

     

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

(97 หน่วยกิต)

(93 หน่วยกิต)

 

2.1 วิชาแกน

75 หน่วยกิต

24 หน่วยกิต

 

2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

 

42 หน่วยกิต

 

2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

 

20 หน่วยกิต

 

2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

7 หน่วยกิต

 

2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

15 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

จัดรวมไว้กับวิชาแกนและวิชาเฉพาะด้านบังคับ

(2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อ
ความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี..........รายวิชา

ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 10 รายวิชา

ตัดออก....รายวิชา

เพิ่มใหม่.....รายวิชา

 

อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

5 คน

 
 

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

     

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

ที่

ชื่อ-สกุล

ประสบการณ์/ผลงานวิจัย

1

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา

    -  ร.บ., ร.ม. (จุฬาฯ); M.A.L.D., Ph.D. (Tufts), M.A. Econ. (Northeastern)

1. ประสบการณ์

    -  สอนและวิจัยวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2505–2544

2. ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

3. ผลงานทางวิชาการ

    -  ลัทธิเศรษฐกิจการเมือง (2519)

    -  เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต (2524)

    -  วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย (2537)

    -  แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม (2545)

    -  จากประวัติศาสตร์หมู่บ้านสู่ทฤษฎีสองระบบ (2545)

2

ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม

    -  อ.บ.(จุฬาฯ), M.A. (Social Anthropology)

1. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

    -  กรรมการประจำศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

2. ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

    -  กรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

    -  ที่ปรึกษามูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์

    -  บรรณาธิการบริหารนิตยสารเมืองโบราณ

3. ผลงานทางวิชาการ

    -  แอ่งอารยธรรมอีสาน

    -  ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ

    -  อู่อารยธรรมแหลมทอง คาบสมุทรของไทย

    -  ข้อขัดแย้งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย

-การนับถือผีในเมืองไทย

3

ศาสตราจารย์ สัญชัย สุวังบุตร

    -  อ.บ., M.A., Dip. in Fine Arts (Florence)

1. ประสบการณ์

    -  ภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน สาขาวิชาประวัติศาสตร์สากล

    -  บรรณาธิการในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมศัพท์ ประวัติศาสตร์สากล ราชบัณฑิตยสถาน

    -  อนุกรรมการใน อกค. วิสามัญเฉพาะกิจประเมินบุคคลให้ดำรงตำแหน่งหรือให้ได้เงินเดือนในระดับ 9 สาขาสังคมศึกษา

    -  อนุกรรมการใน อกค. วิสามัญเฉพาะกิจเพื่อตรวจและประเมินผลงานทางวิชาการตำแหน่งรองศาสตราจารย์

    -  กรรมการพิจารณาหลักสูตรประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ

    -  กรรมการบริหารสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

    -  กรรมการโครงการเวลาเป็นของมีค่า หนังสือเพื่อพัฒนาตน มูลนิธีสตรีอุดมศึกษา

    -  กรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ฯลฯ

2. ผลงานทางวิชาการ

    -  ยุโรปสามทศวรรษหลังสงคราม ค.ศ. 1945-1975 (2531)

    -  ตรอนสกีบนเส้นทางการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 (2547)

    -  ประวัติศาสตร์โซเวียตสมัยเลนิน ค.ศ. 1917-1924 (2545)

    -  รัสเซียสมัยซาร์และสังคมนิยม (2548)

    -  สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ ยุโรป เล่ม 1-4 อักษร A-B (2547)

4

นายพีรพน พิสณุพงศ์

    -  ศศ.บ., M.A. (Archaeology)

    -  M.A. (Anthropology)

1. ประสบการณ์

    -  นักโบราณคดี ประจำภูมิภาคตะวันออก

    -  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

    -  หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

    -  ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 12 ภูเก็ต

    -  ผู้อำนวยการสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 11 นครศรีธรรมราช

    -  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช

    -  ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปากรที่ 13 สงขลา

    -  คณะกรรมการจัดทำหนังสือประวัติศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. ผลงานทางวิชาการ

    -  รายงานการขุดค้นและขุดแต่งโบราณสถานสระมรกต (2534)

    -  ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ (2535)

    -  ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ 2 (2536)

    -  “The Industrial Stone Technology” in Higham, C.F.W. and R. Thosarat (edts.) THE EXCAVATION OF KHOK PHANOM DI VOL III (1993)

    -  หนังสือนำชมอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ (2542)

3. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา

        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา มีกระบวนการร่างหลักสูตรดังนี้

        1. มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ คือ ศาสตราจารย์ ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอก ศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        2. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์ รีสอร์ท จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 28–30 ตุลาคม 2545

        3. สำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตและประชาชนโดยทั่วไป รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือนธันวาคม 2546

        4. ศึกษาหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เปิดสอน

        5. ประชุมเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 โดยคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังนี้

                5.1 นางสาวสุภรณ์ โอเจริญ อ.บ., อ.ม.
                5.2 นายณัฏฐ์ชรัชช์ สาระหงษ์ ศศ.บ., อ.ม.
                5.3 นายนพดล เกษตรเวทิน ศศ.บ., ศศ.ม.
                5.4 นายธีรพร พรหมมาศ ศศ.บ., อ.ม.
                5.5 นางสาวณัฏฐิรา กาญจนศิลป์ ศศ.บ., อ.ม.

        6. ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาทั่วไป (ตามประกาศมหาวิทยาลัย) และกลุ่มวิทยาการจัดการ เมื่อวันที่……………………..

        7. ประชุมปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร วันที่ 24–25 สิงหาคม 2548 โดยคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรตามคำสั่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ดังนี้

                7.1 นางสาวสุภรณ์ โอเจริญ อ.บ., อ.ม.
                7.2 นายเสรี ซาเหลา กศ.บ., สส.ม.
                7.3 นายณัฏฐ์ชรัชช์ สาระหงษ์ ศศ.บ., อ.ม.
                7.4 ผศ.สุวณีย์ พระแก้ว กศ.บ., อ.ม.
                7.5 นายไชยา อู๋ชนะภัย วท.บ., วท.ม.
                7.6 นายนพดล เกษตรเวทิน ศศ.บ., ศศ.ม.
                7.7 นายธีรพร พรหมมาศ ศศ.บ., อ.ม.
                7.8 นางสาวณัฏฐิรา กาญจนศิลป์ ศศ.บ., อ.ม.

        8. ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์หลักสูตร ได้แก่

                8.1 ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ร.บ., ร.ม.; M.A.L.D., Ph.D., M.A. Econ.
                8.2 ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม อ.บ., M.A. (Social Anthropology)
                8.3 ศาสตราจารย์ สัญชัย สุวังบุตร อ.บ., M.A., Dip. in Fine Arts
                8.4 นายพีรพน พิสณุพงศ์ ศศ.บ., M.A. (Archaeology), M.A. (Anthropology)

        9. ประชุมคณะกรรมการเพื่อปรับปรุง แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒ วันที่ 21 กันยายน 2548

        10. นำเสนอคณะกรรมการวิชาการคณะเพื่อส่งเข้าสภาวิชาการตามลำดับขั้น

        11. ปรับปรุงแก้ไขตามข้ดเสนอแนะของสภาวิชาการและอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ

        12. นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการวิชาการ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        13. นำเข้าสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อขออนุมัติ

4. สรุปสาระสำคัญคำวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ

        -  เป็นหลักสูตรที่ดี โดยภาพรวมของหลักสูตรจัดได้ว่าครอบคลุมสาขาวิชา แต่ต้องกำกับให้ผู้สอนดำเนินการสอนไปตามรายละเอียดวิชา เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนหรือหลงประเด็น
        -  หลักสูตรวัฒนธรรม ควรจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้เข้าใจว่าวัฒนธรรมคืออะไร มีความหมายและความสำคัญอย่างไร เกี่ยวข้องกับวิชาต่างๆ ที่ต้องเรียนอย่างไร และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างไร
        -  การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมนั้น หัวใจอยู่ที่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์สังคมและวัฒนธรรม สังคมคือกลุ่มคนที่จะต้องอยู่รวมกัน และเป็นเจ้าของวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมของถิ่นฐานที่กลุ่มชนหรือสังคมนั้นๆ ตั้งอยู่
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
        -  วัฒนธรรมของคนแต่ละกลุ่มเหล่าจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบ ความสำคัญจึงอยู่ที่การเปรียบเทียบ เพราะเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความเข้าใจตัวเอง และเข้าใจคนอื่น
        -  วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ต้องเห็นมากกว่าการอ่าน เพราะฉะนั้นการทำงานภาคสนามจึงมีความจำเป็น
        -  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ควรเพิ่มกลุ่มวิชาภาษาเป็น 12 หน่วยกิต และกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เหลือเพียง 6 หน่วยกิต เพราะภาษาเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นพื้นฐานของการติดต่อ
        -  ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพในวิชาแกน หากปรับเป็นภาษาอังกฤษในงานวัฒนธรรมจะเหมาะกว่า
        -  ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่างๆ ควรเป็น ภาษาอังกฤษในปริทรรศน์วัฒนธรรม (English in Cultural Perspectives) ที่ศึกษาภาษาในบริบทวัฒนธรรมด้านต่างๆ
        -  คอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ หากปรับเป็นคอมพิวเตอร์ประยุกต์ในงานวัฒนธรรมจะเหมาะกว่า
        -  หลักสูตรที่ดี คือหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากความเป็นไปได้ของศักยภาพที่มีอยู่ และสามารถบรรลุเป้าหมายได้จริง ไม่ใช่หลักสูตรที่คิดว่าดีที่สุดและสมบูรณ์พร้อม

5. การแก้ไขปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา

ชื่อวิชาภาษาไทย มานุษยวิทยาเบื้องต้น / ภาษาอังกฤษ Introduction to Anthropology

รหัสวิชาใหม่ 2411101 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 2521101 / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาความหมาย ลักษณะ และขอบเขตของวิชามานุษยวิทยา ศึกษาแนวคิดทฤษฎี และ
มโนทัศน์พื้นฐานทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรมเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาในระดับขั้นสูงต่อไป หรือเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสังคมวัฒนธรรมในแง่มุมต่างๆ ตามทัศนะ
ทางมานุษยวิทยา อันได้แก่เรื่องมนุษย์กับอาหาร ระบบเศรษฐกิจ การแต่งงาน ครอบครัว
และระบบเครือญาติ การแบ่งแยกทางเพศ องค์กรสังคมและการเมือง วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ มนุษย์กับศาสนา มนุษย์กับศิลปะ และวัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง

ศึกษาขอบข่ายของมานุษยวิทยาโดยทั่วไป ศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในด้านของสถาบัน
และในด้านวิวัฒนาการ การปรับตัวของบุคคลกับสิ่งแวดล้อม และวิถีของมนุษย์ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีในสังคมดั้งเดิมจนถึงปัจจุบัน

เพื่อพัฒนาเนื้อหาให้ครอบคลุมตามหลักการศึกษาวิชา

มานุษยวิทยาเบื้องต้นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

ชื่อวิชาภาษาไทย การประชาสัมพันธ์และสารสนเทศทางวัฒนธรรม / ภาษาอังกฤษ Public Relation and Information for Cultural Studies

รหัสวิชาใหม่ 3113102 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

หลักการและทฤษฎีการประชาสัมพันธ์ จิตวิทยามวลชน การสื่อข่าว การเขียนข่าว และการนำเสนอข่าวสารข้อมูลด้านวัฒนธรรม การวางแผน การออกแบบ และปฏิบัติการจัดนิทรรศการเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ รวมทั้งรูปแบบและการบริหารงานประชาสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมผ่านระบบสารสนเทศ

เป็นวิชาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน และให้
ผู้เรียนสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานวัฒนธรรมได้

ชื่อวิชาภาษาไทย คติชนวิทยา ภาษาอังกฤษ Folklore

รหัสวิชาใหม่ 22124044  / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาความหมาย ประวัติความเป็นมา ประเภท และคุณค่าของคติชนวิทยา ศึกษาระเบียบวิธี
การรวบรวม การจำแนกและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยี แสวงหาและถ่ายทอด
ข้อมูล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคติชนวิทยากับศาสตร์แขนงอื่นๆ ศึกษาแนวคิดและวิธีการศึกษาภูมิปัญญาไทย เปรียบเทียบกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านคุณค่าของการสร้างสรรค์พัฒนา และ
สืบทอดภูมิปัญญาต่อวิถีชีวิตไทย เน้นการฝึกปฏิบัติภาคสนาม

 

เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ จาก Thai Folklore เป็น Folklore
ตามคำแนะนำของสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อวิชาภาษาไทย วรรณกรรมท้องถิ่นน / ภาษาอังกฤษ Thai Local Literature

รหัสวิชาใหม่ 2213414 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 1543414 / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะร่วม และลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรม
ท้องถิ่นที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมท้องถิ่นกับวรรณกรรมแบบฉบับ ฝึกอ่าน
และวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น

ศึกษาความหมาย ประเภท ลักษณะร่วม และลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมท้องถิ่น วรรณกรรม
ท้องถิ่นที่สำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมท้องถิ่นกับวรรณกรรมแบบฉบับ ฝึกอ่าน
และวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น

เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ จาก Thai Folk Literature เป็น
Thai Local Literature ตามคำแนะนำของสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อวิชาภาษาไทย อาหารพื้นบ้าน / ภาษาอังกฤษ Folk Cookery

รหัสวิชาใหม่ 4612209 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 4512209 / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาอาหารพื้นบ้านในด้านประเพณี วิวัฒนาการ คุณค่า วิธีการประกอบอาหาร การตกแต่ง
การจัดเลี้ยงอาหาร ค่านิยมในเรื่องอาหารของคนในท้องถิ่น

ศึกษาอาหารพื้นบ้านในด้านประเพณี วิวัฒนาการ คุณค่า วิธีการประกอบอาหาร การตกแต่ง
การจัดเลี้ยงอาหาร ค่านิยมในเรื่องอาหารของคนในท้องถิ่น

เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษ จาก Local Cookery เป็น Folk Cookery ตามคำแนะนำของสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อวิชาภาษาไทย การสร้างงานเขียนทั่วไป / ภาษาอังกฤษ General Writing

รหัสวิชาใหม่ 2213212 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม 1542207 / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษากลวิธีการวางโครงเรื่อง การลำดับความคิด การเขียนย่อหน้าหรืออนุเฉท (Paragraph)
การเขียนสารคดี การเขียนบทความ การเขียนเรียงความ การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ การเขียนคำขวัญ การเขียนสรุปความจากการฟังและการอ่าน เน้นการฝึกเขียนและมีผลงานทุกสัปดาห์

การเขียนสารคดี ลักษณะ รูปแบบ และกลวิธีการเขียนสารคดี ฝึกเขียนสารคดีรูปแบบต่างๆ

เป็นวิชาที่พัฒนาเนื้อหาให้ครอบคลุมกับการนำไปใช้ในงานวัฒนธรรม

รหัสวิชาเดิม 1541204 / คำอธิบายรายวิชาเดิม

การลำดับความคิด การวางโครงเรื่อง การเขียนย่อหน้า การเขียนบทความ การเขียนข่าว การเขียนจดหมายประเภทต่างๆ การเขียนเรียงความ การเขียนสรุปความจากการฟังและการอ่าน

ชื่อวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ / ภาษาอังกฤษ English for Career

รหัสวิชาใหม่ 2312708 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

พัฒนาภาษาอังกฤษทั้งสี่ คือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ให้ผู้เรียนมีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อพัฒนาอาชีพในแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งศึกษา
โครงสร้างไวยากรณ์ทางภาษาที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาวิชาแต่ละอาชีพอย่างมีระบบ

เป็นวิชาใหม่ ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อวิชาภาษาไทย คอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ / ภาษาอังกฤษ Computer for Career

รหัสวิชาใหม่ 4322708 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและวิธีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ในปัจจุบันประเภทต่างๆ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ชุดสำนักงาน ระบบฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์เวอร์คชีต เวอร์ดโปรเซสเซอร์ ฯลฯ

เป็นวิชาใหม่ ตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ชื่อวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม / ภาษาอังกฤษ English in Cultural Perspectives

รหัสวิชาใหม่ 2313428 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาและฝึกการใช้ภาษาอังกฤษทั้งสี่ทักษะ ด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน ให้ผู้เรียนมี
ความรู้และความสามารถในการใช้คำศัพท์ คำศัพท์เฉพาะ สำนวน และโครงสร้างทางไวยากรณ์
ภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระในปริทรรศน์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งฝึกการใช้
ภาษาอังกฤษในบริบทของวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

เป็นวิชาใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อนำไปใช้กับงานด้านวัฒนธรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ชื่อวิชาภาษาไทย มนุษย์กับความสุข / ภาษาอังกฤษ Human Being and Happiness

รหัสวิชาใหม่ 2492218 / คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาเดิม  / คำอธิบายรายวิชาเดิม

เหตุผลในการปรับปรุง

ศึกษาและวิเคราะห์สภาวะความสุขและความทุกข์ของมนุษย์ สาเหตุของความทุกข์และความสุข รวมทั้งวิธีการหลีกหนีความทุกข์และการสร้างความสุขในระดับต่างๆ

เป็นวิชาใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเห็นหนทางในการสร้างความสุข และ
ขจัดความทุกข์ในการดำรงชีวิต

 

 

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์