หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ประจำหลักสูตร

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

 

ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร

 

รายวิชาที่ไม่ได้เปิดสอนในหลักสูตร

 

วิธีการปฏิบัติงาน สาขาวิชานาฏศิลป์ เอกนาฏศิลป์และการละคร

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรผู้ทรงคุณวุฒิ

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พุทธศักราช 2549

.....................................

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Thai Classical Dance and Drama

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (นาฏศิลป์และการละคร)
  Bachelor of Arts Program (Thai Classical Dance and Drama)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (นาฏศิลป์และการละคร)
  B.A. (Thai Classical Dance and Drama)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตด้านนาฏศิลป์และการละครสามารถเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และสืบสานการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น “ด้านศิลปะการแสดง”

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                4.2.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านนาฏศิลป์ให้สามารถทำงานในหน่วยงานของทางราชการเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระได้อย่างมีสิทธิภาพ
                4.2.2 เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาและผลิตผลงานได้อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                4.2.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติ ค่านิยมในการอนุรักษ์และส่งเสริมนาฏศิลป์และการละคร ให้สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรม
                4.2.4 เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ เพื่อการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านศิลปะการแสดง

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        ระดับปริญญาตรี ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับ ปวช. หรือเทียบเท่า ที่มีคุณสมบัติพื้นฐานต่าง ๆ ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กำหนด

7.การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่กำหนดเป็นคราวๆ

8. ระบบการศึกษา

             หนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียนปกติ หนึ่งภาคเรียนระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรภาคปกติ 8 ภาคเรียน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

10. การลงทะเบียนเรียน

        10.1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนตามระเบียบหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

        10.2 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนวิชาการศึกษาทั่วไปและวิชาเฉพาะด้านตามโครงสร้างและเงื่อนไข ของหลักสูตรปริญญาตรี

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1. อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ – สกุล

วุฒิการศึกษา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1

ผศ. วีรวรรณ อินทร์ผยุง

    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)
    -  ป.ม.ช. (นาฏศิลป์ชั้นสูง)

    -  วิทยาลัยวิชาการศึกษา (ประสานมิตร)
    -  วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร

    1. เอกสารประกอบการสอน 4 เล่ม
    2. ตำรา 2 เล่ม

2

ผศ. เชาว์ ปิยสุทธิ์

    -  ค.บ. ( ดนตรีไทย)

    -  สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

    1. ตำรา 2 เล่ม

2

นางนงลักษณ์ สะท้าน

    -  ค.ม. (หลักสูตรและการสอน )
    -  ค.บ. (นาฏศิลป์)
    -  กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก(การบริหารการพัฒนา)

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา

    1. เอกสารประกอบการสอน 4 เล่ม
    2. วิจัย 2 เรื่อง

4

นางสาวสุรีรัตน์ จีนพงษ์

    -  กศ.ม. (การอุดมศึกษา)
    -  ศศ.บ. (นาฏยศิลป์)

    -  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร
    -  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    1. เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม

5

นางสาวพัชรินทร์ วรรณวิโรจน์

    -  ค.บ. (นาฏศิลป์)
    -  กำลังศึกษาปริญญาโท (หลักสูตรและการสอน)

    -  สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

    1. เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม
    2. วิจัย 1 เรื่อง

        12.2. อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ – สกุล / วุฒิ-วิชาเอก

ผลงานทางวิชาการและ ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบและรายวิชาที่จัดให้สอน

1

ผศ.วีรวรรณ อินทร์พยุง

    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)
    -  ป.ม.ช. (นาฏศิลป์ชั้นสูง)

เอกสารประกอบการสอน 4 เล่ม

    1. ขับร้องเพลงไทย
    2. วรรณกรรมการละครไทย
    3. ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย
    4. นาฏศิลป์พื้นเมือง 1

ตำรา 2 เล่ม

    1. สุนทรียทางนาฏศิลป์ไทย
    2. กลองยาวพยุหะ

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    -  2051101 สุนทรียภาพทางนาฏศิลป์ไทย
    -  2051107 ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย
    -  2052204 นาฏศิลป์พื้นเมือง 1
    -  2052205 นาฏศิลป์พื้นเมือง 2
    -  2052704 วรรณกรรมการละครไทย

2

ผศ. เชาว์ ปิยสุทธิ์

ตำรา 2 เล่ม

    1. วิธีสอนดนตรี

    2. ทฤษฏีดนตรี

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    -  2052104 วาทศิลป์การละคร
    -  2052603 การออกแบบฉากและแสง 1
    -  2054102 นาฏศิลป์เปรียบเทียบ
    -  2052604 การออกแบบเครื่องแต่งกาย
    -  2053105 การแสดงเป็นชุดเป็นตอน
    -  2051606 องค์ประกอบของการสร้างละครและงานบนเวที

3

นางนงลักษณ์ สะท้าน

    -  ค.ม. (หลักสูตรและการสอน )
    -  ค.บ. (นาฏศิลป์)
    -  กำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ( การบริหารการพัฒนา )

เอกสารประกอบการสอน 4 เล่ม

    1. โขน
    2. สุนทรียภาพของชีวิต
    3. การแสดงท้องถิ่น
    4. นาฏศิลป์สากล

วิจัย

    1. ประดิษฐ์ชุดการแสดง “ระบำจันเสน” ได้รับงบประมาณสนับสนุน
        จากสำนักศิลปวัฒธรรม สถาบันราชภัฏนครสวรรค์
    2. ประดิษฐ์ชุดการแสดง “ระบำนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร” (ได้รับทุนอุดหนุน
        จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์)

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์ 2 ระดับ 7

วิชาที่สอน

    -  2051105 โขน
    -  2051601 การแต่งกายและแต่งหน้า 2052605 การแต่งหน้า 1
    -  2053602 การแต่งกายและการแต่งหน้า 2
    -  2053607 การแต่งหน้า 2
    -  2054901 ผลงานค้นคว้าริเริ่มทางด้านนาฏศิลป์และการละคร
    -  2054903 การแสดงท้องถิ่น

    -  2054909 การวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

4

นางสาวสุรีรัตน์ จีนพงษ์

    -  กศ.ม. (การอุดมศึกษา)

    -  ศป.บ. (นาฏศิลป์)

เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม

    1. ระบำนานาชาติ
    2. นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก
    3. นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์

วิชาที่สอน

    -  2051204 กิจกรรมฟ้อนรำ 1
    -  2052202 กิจกรรมฟ้อนรำ 2
    -  2054206 ระบำนานาชาติ
    -  2052105 กิจกรรมสร้างละคร 1
    -  2053613 การแสดง 3
    -  2054101 กิจกรรมสร้างละคร 2
    -  2051607 การเคลื่อนไหวบนเวที
    -  2052602 การแต่งหน้าแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง

5

นางสาวพัชรินทร์ วรรณวิโรจน์

    -  ค.บ. (นาฏศิลป์)
    -  กำลังศึกษาปริญญาโท (หลักสูตรและการสอน)

เอกสารประกอบการสอน 3 เล่ม

    1. ไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย
    2. นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก
    3. วรรณกรรมการละครสากล

วิจัย

    1. ประดิษฐ์ชุดการแสดง “ระบำนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร”
        (ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์)

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  อาจารย์

วิชาที่สอน

    -  2051103 พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย
    -  2054907 การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานในงานนาฏศิลป์
    -  2053202 ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 1
    -  2054204 ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 2
    -  2051206 ระบำเบ็ดเตล็ด 1
    -  2051207 ระบำเบ็ดเตล็ด 2
    -  2053203 กิจกรรมฟ้อนรำ 4
    -  2053613 การแสดง 3

        12.3. อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ – สกุล / วุฒิ-วิชาเอก

ผลงานทางวิชาการและ ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบและรายวิชาที่จัดให้สอน

1

นางสาววิชชุลดา ใจผ่อง

    -  ศศ.บ . (บัลเลต์)
    -  R.A.D. (Royal Academy off dancing)

    -  อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โปรแกรมการละคร
    -  วิทยากรพิเศษอบรมการสอนนาฏศิลป์ครูประถมศึกษา

    -  2053504 นาฏศิลป์เอเชีย
    -  2054501 นาฏศิลป์สากล
    -  052505 นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก2052506 นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก
    -  2051501 ละครตะวันออก

2

นางสาววพิตา นุ่มมีศรี

    -  ศศ.บ. (นาฏศิลปไทย)

    -  อาจารย์โรงเรียนสาธิต
    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์ วิชานาฏศิลป์

    -  2052203 กิจกรรมฟ้อนรำ 3
    -  2053203 กิจกรรมฟ้อนรำ 4
    -  2051108 การแต่งกาย 1
    -  2053205 วิพิธทัศนา

13. จำนวนนักศึกษา

        แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

นักศึกษา

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้าและสำเร็จการศึกษา แต่ละปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

25

25

25

25

25

25

ชั้นปีที่ 2

-

25

25

25

25

25

ชั้นปีที่ 3

-

-

25

25

25

25

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

25

25

25

รวม

25

50

75

100

100

100

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

-

25

25

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

ที่

อาคารสถานที่

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่มในอนาคต

หมายเหตุ

1

ห้องเรียนธรรมดา

1

1

 

2

ห้องเรียนปรับอากาศ

3

1

 

3

ห้องฝึกปฏิบัติการ

1

1

 

4

โรงละครขนาดเล็ก

-

1

 

        14.2 อุปกรณ์การจัดการศึกษา

ที่

อุปกรณ์

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

หมายเหตุ

 

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

1

2

 

2

เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ

-

1

 

3

Projector

-

1

 

4

เครื่อง Scanner

-

1

 

5

กล้องถ่ายรูป Digital

-

1

 

6

กล้องวีดีโอ

-

1

 

7

จอภาพ

-

1

 

8

โทรทัศน์

2

2

 

9

แถบบันทึกเสียง

4

2

 

10

เครื่องเล่น VCD

1

2

 

11

เครื่องเล่น VDO

2

3

 

12

เครื่องปริ้นเตอร์ประกอบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

2

1

 

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

หมายเหตุ

1

สุนทรียะทางนาฏศิลป์ไทย

8 เล่ม

20 เล่ม

 

2

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

2 เล่ม

12 เล่ม

 

3

องค์ประกอบของการสร้างละครและงานบนเวที

2 เล่ม

12 เล่ม

 

4

สารานุกรม ระบำ รำ ฟ้อน

2 เล่ม

12 เล่ม

 

5

การแสดงท้องถิ่น

4 เล่ม

15 เล่ม

 

6

โขน

10 เล่ม

15 เล่ม

 

7

การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานในงานนาฏศิลป์

2 เล่ม

12 เล่ม

 

8

การวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

1 เล่ม

12 เล่ม

 

9

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านนาฏศิลป์และการละคร

1 เล่ม

12 เล่ม

 

10

ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการละครไทย

6 เล่ม

15 เล่ม

 

11

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

1 เล่ม

12 เล่ม

 

12

กิจกรรมฟ้อนรำ 1

8 เล่ม

19 เล่ม

 

13

วาทศิลป์การละคร

5 เล่ม

15 เล่ม

 

14

ประวัติการละครตะวันตก

5 เล่ม

15 เล่ม

 

15

การเคลื่อนไหวบนเวที

5 เล่ม

12 เล่ม

 

16

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก

6 เล่ม

19 เล่ม

 

17

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก

6 เล่ม

15 เล่ม

 

18

กิจกรรมฟ้อนรำ 2

6 เล่ม

15 เล่ม

 

19

นาฏศิลป์พื้นเมือง 1

5 เล่ม

13 เล่ม

 

20

วรรณกรรมการละครไทย

5 เล่ม

15 เล่ม

 

21

การแต่งหน้าแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง

5 เล่ม

16 เล่ม

 

22

การแต่งหน้า 1

5 เล่ม

12 เล่ม

 

23

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 1

5 เล่ม

13 เล่ม

 

24

วิพิธทัศนา

5 เล่ม

13 เล่ม

 

25

นาฏศิลป์เอเชีย

5 เล่ม

15 เล่ม

 

26

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 2

5 เล่ม

15 เล่ม

 

27

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

2 เล่ม

1 5 เล่ม

 

28

ระบำนานาชาติ

8 เล่ม

15 เล่ม

 

29

ผลงานค้นคว้าริเริ่มทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะการละคร

3 เล่ม

15 เล่ม

 

30

การออกแบบเครื่องแต่งกาย 1

3 เล่ม

15 เล่ม

 

31

การแสดง 2

5 เล่ม

15 เล่ม

 

32

วรรณกรรมการละครสากล

3 เล่ม

16 เล่ม

 

33

การแสดงเป็นชุดเป็นตอน

5 เล่ม

15 เล่ม

 

34

กิจกรรมฟ้อนรำ 4

3 เล่ม

15 เล่ม

 

35

การออกแบบฉากและแสง 1

5 เล่ม

15 เล่ม

 

36

การแต่งกายและแต่งหน้า 2

3 เล่ม

16 เล่ม

 

37

การแสดง 3

5 เล่ม

15 เล่ม

 

38

ระบำเบ็ดเตล็ด 1

3 เล่ม

15 เล่ม

 

39

ระบำเบ็ดเตล็ด 2

5 เล่ม

15 เล่ม

 

40

ละครตะวันออก

3 เล่ม

16 เล่ม

 

41

การแสดง 1

5 เล่ม

15 เล่ม

 

42

กิจกรรมสร้างละคร 1

3 เล่ม

16 เล่ม

 

43

กิจกรรมฟ้อนรำ 3

5 เล่ม

15 เล่ม

 

44

นาฏศิลป์พื้นเมือง 2

3 เล่ม

16 เล่ม

 

45

กิจกรรมสร้างละคร 2

5 เล่ม

15 เล่ม

 

46

นาฏศิลป์สากล

5 เล่ม

15 เล่ม

 

        15.2 แหล่งวิทยาการและแหล่งฝึกงาน

                1. แหล่งวิทยาการ

                        1) ห้องบริการ การใช้อินเตอร์เน็ต สำนักวิทยบริการ
                        2) สืบค้นข้อมูลจากระบบเครือข่ายภายในสถาบันราชภัฏนครสวรรค์ (Intranet)

                2. แหล่งฝึกงาน

                        1) สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
                        2) สถานีโทรทัศน์ที่เผยแพร่ภาพออกอากาศ
                        3) บริษัทการละคร

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณ

2549

2550

1551

2552

2553

    -  ค่าตอบแทน

38,000

44,000

50,000

56,000

62,000

    -  ค่าใช้สอย

42,000

50,000

56,000

62,000

68,000

    -  ค่าวัสดุและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

202,500

232,500

238,500

244,500

250,000

รวมงบดำเนินการ

282,500

326,500

344,500

362,500

380,000

    -  ค่าครุภัณฑ์

480,000

540,000

546,000

552,000

558,000

    -  ค่าสิ่งก่อสร้าง

-

 

-

-

-

รวมงบลงทุน

480,000

540,000

546,000

552,000

558,000

รวมทั้งสิ้น

762,500

866,500

890,500

914,500

938,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

92

 

1. วิชาแกน

33

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

42

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

12

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

129

        17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1 2 3 4 5 6 7
คณะ หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ

            (1) วิชาแกน จำนวน 33 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2151101

สุนทรียทางนาฏศิลป์ไทย

3(3-0-6)

 

Aesthetics of Dramatic Arts

 

2151103

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

3(1-4-4)

 

Ceremonies for Drama Teachers

 

2151107

ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการละครไทย

3(3-0-6)

 

Thai Drama History and Artists

 

2151606

องค์ประกอบของการสร้างละครและงานบนเวที

3(1-4-4)

 

Fundamental Play Production and Stagecraft

 

2154903

การแสดงท้องถิ่น

3(3-0-6)

 

Folk Performing Arts

 

2154907

การใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐานในงานนาฏศิลป์

3(2-2-5)

 

Basic Computer Application in dramatic Arts

 

2154909

การวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

3(2-2-5)

 

Dramatic Arts Research

 

2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3(3-0-6)

 

English for Learning

 

2313703

ภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรม

3(3-0-6)

 

English for Fine and Applied Arts

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3211101

องค์การและการจัดการ

3(3-0-6)

 

Organization and Management

 

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 42 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2151105

โขน

3(1-4-4)

 

Khon

 

2151204

กิจกรรมฟ้อนรำ 1

3(1-4-4)

 

Thai Dancing 1

 

2151607

การเคลื่อนไหวบนเวที

3(1-4-4)

 

Stage Movement

 

2152204

นาฏศิลป์พื้นเมือง 1

3(1-4-4)

 

Thai Folk Dance 1

 

2152602

การแต่งหน้าแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง

3(1-4-4)

 

Costumes Make-up and Props

 

2152605

การแต่งหน้า 1

3(1-4-4)

 

Make-up 1

 

2152704

วรรณกรรมการละครไทย

3(3-0-6)

 

Thai Dramatic Literature

 

2153202

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 1

3(3-0-6)

Choreography 1

2153205

วิพิธทัศนา

3(1-4-4)

 

Reviews

 

2153504

นาฏศิลป์เอเชีย

3(1-4-4)

 

Asia Dances

 

2154102

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

3(3-0-6)

 

Comparative Drama

 

2154204

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 2

3(1-4-4)

 

Choreography 2

 

2154206

ระบำนานาชาติ

3(1-4-4)

 

International Dance

 

2154901

ผลงานค้นคว้าริเริ่มทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะการละคร

3(1-4-4)

 

Selected Study

 

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 12 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2151108

การแต่งกาย 1

3(4-2-3)

 

Costume 1

 

2151206

ระบำเบ็ดเตล็ด 1

3(1-4-4)

 

Miscellaneous Dance 1

 

215120

ระบำเบ็ดเตล็ด 2

3(1-4-4)

 

Miscellaneous Dance 2

 

2151501

ละครตะวันออก

3(1-4-4)

 

Oriental Dramatic Arts

 

2151601

การแต่งกายและแต่งหน้า 1

3(1-4-4)

 

Character Costume and Make-up 1

 

2151604

การแสดง 1

3(1-4-4)

 

Acting 1

 

2152104

วาทศิลป์การละคร

3(1-4-4)

 

Dramatic Speech

 

2152105

กิจกรรมสร้างละคร 1

3(1-4-4)

 

Drama Production 1

 

2152203

กิจกรรมฟ้อนรำ 3

3(1-4-4)

 

Thai Dancing 3

 

2152205

นาฏศิลป์พื้นเมือง 2

3(1-4-4)

 

Thai Folk Dance 2

 

2152505

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก

3(1-4-4)

 

Eastern Folk Dance

 

2152506

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก

3(1-4-4)

 

Western Folk Dance

 

2152603

การออกแบบและฉากและแสง 1

3(2-2-5)

 

Set and Light Design 1

 

2152604

การออกแบบเครื่องแต่งกาย 1

3(1-4-4)

 

Costume Design 1

 

2152606

การแสดง 2

3(1-4-4)

 

Acting 2

 

2153105

การแสดงเป็นชุดเป็นตอน

3(1-4-4)

 

Production of Dramatic Excerpts

 

2153203

กิจกรรมฟ้อนรำ 4

3(1-4-4)

 

Thai Dancing 4

 

2153602

การแต่งกายและการแต่งหน้า 2

3(1-4-4)

 

Character Costume & Make-up 2

 

2153607

การแต่งหน้า 2

3(1-4-4)

 

Make-up 2

 

2153613

การแสดง 3

3(1-4-4)

 

Acting 3

 

2154101

กิจกรรมสร้างละคร 2

3(1-4-4)

 

Drama Production 2

 

2154501

นาฏศิลป์สากล

3(2-2-5)

 

Wertern Drama

 

            (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2152802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนาฏศิลป์และการละคร

5 (450)

 

Training Dance and Drama 1

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

กลุ่มวิชา

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

ภาษาและการสื่อสาร

2210101

2310101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(2-2-5)

3(3-0-6)

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

มนุษยศาสตร์

2000104

1000101

บัณฑิตอุดมคติไทย
พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

2(2-0-4)

2000106

2400101

ชีวิตกับศิลปะ

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

2(2-0-4)

สังคมศาสตร์

2500101

วิถีไทย

2(2-0-4)

2500102

2500103

วิถีโลก

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

2(2-0-4)

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

4000101

4000102

วิทยาศาสตร์ละเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและ
คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

2(2-0-4)

4000103

1000102

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

2(1-2-3)

วิชาแกน

2151103

2151107

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการละครไทย

3(1-4-4)

3(3-0-6)

2151101

สุนทรียทางนาฏศิลป์

3(3-0-6)

รวม

22

18

กลุ่มวิชา

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาแกน

2154907

2154910

การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานในงานนาฏศิลป์

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านนาฏศิลป์และการละคร

3(2-2-5)

3(2-2-5)

2151105

โขน

3(1-4-4)

วิชาเฉพาะด้านบังคับ

2151204

2152204

กิจกรรมฟ้อนรำ 1

นาฏศิลป์พื้นเมือง 1

3(1-4-4)

3(1-4-4)

2151607

2152202

2152605

2153205

การเคลื่อนไหวบนเวที

กิจกรรมฟ้อนรำ 2

การแต่งหน้า 1

วิพิธทัศนา

3(1-4-4)

3(1-4-4)

3(1-4-4)

3(1-4-4)

วิชาเฉพาะด้านเลือก

เลือกเรียน 1 รายวิชา จากรายวิชาเฉพาะ โดยไม่ช้ำกับรายวิชาที่เรียน
มาแล้ว

3

เลือกเรียน 1 รายวิชา จากรายวิชาเฉพาะ โดยไม่ช้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว

3

เลือกเสรี

เรียนทั้งหมด 6 หน่วยกิต โดยนักศึกษาเลือกตามความถนัดหรือตามรายวิชาที่หลักสูตรแจ้ง ภาคเรียนละ 1 รายวิชา

3

เรียนทั้งหมด 10 หน่วยกิต โดยนักศึกษาเลือกตามความถนัดหรือตามรายวิชาที่หลักสูตรแจ้ง ภาคเรียนละ 1 รายวิชา

3

รวม

18

21

กลุ่มวิชา

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาแกน

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

3211101

2054909

2056101

องค์การและการจัดการ

การวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

การแสดงท้องถิ่น

3(3-0-6)

3(2-2-5)

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะด้านบังคับ

2153202

2153504

2154102

2154206

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น1

นาฏศิลป์เอเชีย

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

ระบำนานาชาติ

3(3-0-6)

3(1-4-4)

3(3-0-6)

3(1-4-4)

2154204

2152704

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 2

วรรณกรรมการละครไทย

3(1-4-4)

3(3-0-6)

วิชาเฉพาะด้านเลือก

เลือกเรียน 1 รายวิชา จากรายวิชาเฉพาะ โดยไม่ช้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว

3

เลือกเรียน 1 รายวิชา จากรายวิชาเฉพาะ โดยไม่ช้ำกับรายวิชาที่เรียนมาแล้ว

3

รวม

18

18

กลุ่มวิชา

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อรายวิชา

หน่วยกิต

วิชาแกน

2051606

องค์ประกอบของการสร้างละครและงานบนเวที

3(1-4-4)

     

วิชาเฉพาะด้านบังคับ

2154901

2152602

ผลงานค้นคว้าริเริ่มทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะ
การละคร

การแต่งหน้าแต่งกายการละครอุปกรณ์การแสดง

3(1-4-4)

 

3(1-4-4)

     

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

     

2154802

ฝึกประสบการวิชาชีพนาฏศิลป์และการละคร

5(450)

รวม

9

5

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 33 หน่วยกิต

รายวิชา 2151101

สุนทรียทางนาฏศิลป์ไทย

3 (3-0-6)

 

Aesthetics of Dramatic Arts

 

        ศึกษาประวัติการฟ้อนรำ ลักษณะและชนิดของการแสดง ระบำ รำฟ้อน ละคร โขน วิพิธทัศนา มหรสพ การละเล่นของหลวง เพลงพื้นเมือง และการแสดงพื้นเมือง วิเคราะห์ลักษณะที่นิยมว่าดีในด้านลีลา ท่ารำ ท่วงทำนองเพลง จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาความเหมาะสม

รายวิชา 2151103

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ไทย

3 (1-4-4)

 

Ceremonies for Drama Teachers

 

        ศึกษาที่มาและความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย หลักนาฏศิลป์เบื้องต้นวัตถุประสงค์ และพิธีกรรมในการไหว้ครู ครอบรับมอบโขนละครฝึกรำเพลงช้า เพลงเร็ว การรำในพิธิไหว้ครู จัดพิธีไหว้ครู

รายวิชา 2151107

ประวัติการละครไทยและบุคคลสำคัญในวงการละครไทย

3 (3-0-6)

 

Thai Drama History and Artists

 

        ศึกษาประวัติละครไทย แนวคิดและผลงานของบุคคลสำคัญในวงการละครไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน

รายวิชา 2151606

องค์ประกอบของการสร้างละครและงานเวที

3 (1-4-4)

 

Fundamental Play Production and Stagecraft

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การสร้างละคร หน้าที่ของบุคลากรต่าง ๆ ในการจัดการแสดงและศึกษาการเคลื่อนไหวบนเวที ศึกษาหน้าที่และความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ของการสร้างละคร ทฤษฎี เทคนคและศิลปะเกี่ยวกับองค์ประกอบของเวที ฉาก แสง เสียง เครื่องแต่งกาย เพลงและขนบของละคร ฝึกปฏิบัติงานบนเวที

รายวิชา 2154903

การแสดงท้องถิ่น

3 (3-0-6)

 

Folk Performing Arts

 

        ศึกษาความเป็นมาของนาฏศิลป์แต่ละท้องถิ่นในประเทศไทยด้านวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกายและการแสดงนาฏศิลป์ท้องถิ่น

รายวิชา 2154907

การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานในงานนาฏศิลป์

3 (2-2-5)

 

Basic Computer Application in dramatic Arts

 

        ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน ศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลและท่ารำต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์พร้อมฝึกปฏิบัติ

รายวิชา 2154909

การวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

3 (2-2-5)

 

Dramatic Arts Research

 

        ลักษณะของการวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม การตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล ฝึกการเขียนรายงานการวิจัย ข้อควรระวังในการทำวิจัยด้านนาฏศิลป์และการละคร

รายวิชา 2312701

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

3 (3-0-6)

 

English for Learning

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 2313703

ภาษาอังกฤษสำหรับศิลปกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Fine and Applied Arts

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี และการแสดง เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างขององค์การธุรกิจทั่วไป หลักเกณฑ์และแนวความคิดในการจัดตั้งองค์การธุรกิจ ลักษณะและประเภทของการประกอบธุรกิจ จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ หลักการบริหารและหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหารทุก ๆ ด้าน ในแง่ของการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การนำการควบคุมปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งไว้ และเทคนิคการจัดการสมัยใหม่

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 42 หน่วยกิต

รายวิชา 2151105

โขน

2 (1-4-4)

 

Khon

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการ เรื่องที่แสดง วงดนตรีประกอบการแสดง คนพากษ์ เจรจา หัวโขน โอกาสที่แสดง และวิธีดูโขนฝึกปฏิบัติโขนตามความเหมาะสม

รายวิชา 2151204

กิจกรรมฟ้อนรำ 1

3 (1-4-4)

 

Thai Dancing 1

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกาย จังหวะ ลีลา เพลงประกอบในชุดที่ฝึกรำ ฝึกรำสีนวล ระบำนกเขา ระบำไก่ ระบำดอกบัว ระบำม้า มยุราภิรมย์ เชิญพระขวัญ รำอธิษฐาน รำโคม เพลงปลุกใจ

รายวิชา 2152202

กิจกรรมฟ้อนรำ 2

3 (1-4-4)

 

Thai Dancing 2

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกาย จังหวะ เพลงประกอบในชุดที่ฝึกรำ ฝึกระบำดาวดึงส์ กฤษดาภินิหาร ย่องหงิด เทพบันเทิง พรหมมาสตร์ สี่บทและระบำชุดที่ปรับปรุงขึ้น เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำไกรลาศสำเริง ชุมนุมเผ่าไทย ฯลฯ

รายวิชา 2152204

นาฏศิลป์พื้นเมือง 1

3 (1-4-4)

 

Thai Folk Dance 1

 

        ศึกษาลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์แต่ละภาค อันเป็นผลจากสภาพภูมิศาสตร์ ศาสนา ประเพณี และค่านิยม ศึกษาการแสดงพื้นเมืองแต่ละชุดในด้านประวัติการแต่งกาย เพลง ลีลา ท่ารำ และอุปกรณ์การแสดง ฝึกรำนาฏศิลป์พื้นเมืองของทุกภาค

รายวิชา 2152602

การแต่งหน้าแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง

3 (1-4-4)

 

Costumes Make-up and Props

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของการแต่งกายสมัยต่างๆ เช่นทวารวาดี ศรีวิชัย พลบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ฝึกปฏิบัติการแต่งกายยืนเครื่องละครรำ ระบำพื้นเมือง เบ็ดเตล็ด ฝึกประดิษฐ์เครื่องประดับอุปกรณ์การแสดง ศึกษาวิธีการแต่งหน้าแบบสวยงาม และแบบพิศดาร ทั้งด้านละครรำ และละครเวที

รายวิชา 2152605

การแต่งหน้า 1

3 (1-4-4)

Make-up 1

        ศึกษาความสำคัญของการแต่งหน้าในละคร หลักการแต่งหน้าเบื้องต้น การแต่งหน้าเพื่อเน้นและพรางส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าในการแสดง แต่งหน้าตามบุคลิกและวัยของตัวละคร หลักการแต่งหน้าสำหรับละครไทย ฝึกปฏิบัติแต่งหน้าแบบละครรำ ละครพูด

รายวิชา 2152704

วรรณกรรมการละครไทย

3 (3-0-6)

 

Thai Dramatic Literature

 

        ศึกษาวรรณกรรมและละครที่ดีเด่นของไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงปัจจุบันในด้านลักษณะพัฒนาการทางด้านศิลปะ คุณค่าทางศิลปะต่อวงการละคร

รายวิชา 2153202

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 1

3 (3-0-6)

 

Choreography 1

 

        ศึกษาหลักการประดิษฐ์ท่ารำเต้นสำหรับเด็ก ศึกษาหลักการจัดแถว การออกแบบเครื่องแต่งกายในชุดสร้างสรรค์ ประดิษฐ์ท่าจากเพลงไทยและเพลงสากลอย่างง่าย

รายวิชา 2153205

วิพิธทัศนา

3 (1-4-4)

 

Reviews

 

        ศึกษาความหมายและหลักการจัดวิพิธทัศนา การเลือกชุดการแสดงในโอกาสต่าง ๆ การเลือกตัวแสดง การฝึกซ้อม การเตรียมเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง ฝึกรำชุดต่าง ๆ เช่น โบราณคดี 5 ชุด ญวนรำกระถาง รำกิ่งไม้เงินทอง และการแสดงชุดอื่น ๆ

รายวิชา 2153504

นาฏศิลป์เอเชีย

3 (1-4-4)

 

Asia Dances

 

        ศึกษาลักษณะ ลีลา เพลงและการแต่งกายของระบำและการแสดงในประเทศทางภาคพื้นเอเชีย ฝึกลีลาการแสดงของกลุ่มประเทศทางตะวันออกตามความเหมาะสม

รายวิชา 2154102

นาฏศิลป์เปรียบเทียบ

3 (3-0-6)

 

Comparative Drama

 

        ศึกษาและเปรียบเทียบแนวคิด ปรัชญา สภาพภูมิศาสตร์ การเมืองซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมการละคร และปฏิบัตินาฏศิลป์เปรียบเทียบ

รายวิชา 2154204

ประดิษฐ์ท่ารำเต้น 2

3 (1-4-4)

 

Choreography 2

 

        การประดิษฐ์ท่ารำเต้นชุดใหญ่ทั้งไทยและสากล การออกแบบลีลาการแปรแถวที่ยากและแปลกตามากขึ้น การออกแบบเครื่องแต่งกายในชุดสร้างสรรค์ ศึกษาจังหวะ ลีลาของเพลงไทยและเพลงสากล แล้วนำมาออกแบบประดิษฐ์ท่า ตลอดจนการใช้จินตนาการเกี่ยวกับการเล่น แสง เสียง และการจัดเวที

รายวิชา 2154206

ระบำนานาชาติ

3 (1-4-4)

 

International Dance

 

        ศึกษาประวัติการแสดงชุดที่นำมาฝึกหัดในด้านเนื้อร้อง เพลงดนตรี เพลงขับร้อง เครื่องแต่งกาย โอกาสและสถานที่แสดงของชาติต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า สเปน อินเดีย (ทั้งเดี่ยวและหมู่) เลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม

รายวิชา 2154901

ผลงานค้นคว้าริเริ่มทางด้านนาฏศิลป์และศิลปะการละคร

3 (1-4-4)

 

Selected Study

 

        เขียนผลงานการค้นคว้าในหัวข้อที่ได้รับความเห็นชอบจากภาควิชาหรือกำกับการแสดงที่ได้รับความเห็นชอบจากภาควิชา 1 เรื่อง และจัดทำคู่มือ กำ กับการแสดง สรุปผลงานส่ง หรือเขียนบทละครเรื่องยาวที่ได้มาตรฐาน 1 เรื่อง รวมทั้งออกแบบฉาก เครื่องแต่งกายแนะแนวทางการแสดง หรือประดิษฐ์ชุดการแสดงที่ได้มาตรฐาน เขียนคู่มือประกอบการ แสดงและทำสไลด์ พร้อมบันทึกเสียงเพลง หรือบันทึกวีดิทัศน์ท่ารำ (เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง และต้องสอบปากเปล่าด้วย)

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพา

                    วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 12 หน่วยกิต

รายวิชา 2151108

การแต่งกาย 1

3 (4-2-3)

 

Costume 1

 

        ศึกษาประวัติการแต่งกายในยุคสมัยต่าง ๆ ของไทยและต่างชาติ อิทธิพลของเครื่องแต่งกายที่มีต่อละคร ฝึกแต่งกายละครในรูปแบบต่าง ๆ

รายวิชา 2151206

รำเบ็ดเตล็ด 1

3 (1-4-4)

 

Miscellaneous Dance 1

 

        ศึกษาประวัติการแสดงระบำเบ็ดเตล็ดที่นำมาฝึกหัดในด้านเนื้อร้องเพลงดนตรี เพลงขับร้อง เครื่องแต่งกาย โอกาสและสถานที่แสดง ฝึกปฏิบัติระบำต่าง ๆ เช่น ระบำชุมนุมเผ่าไทย ฟ้อนมาลัย ระบำนกยูง ระบำนกเขามะราปี ระบำเริงอรุณ พม่ารำขวาน พม่าเปิงมาง ระบำสี่ภาค ฯลฯ และชุดนาฏศิลป์ในกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยในระดับประถมศึกษา เช่น รำเชิญพระขวัญ รำอธิษฐาน รำโคม ฯลฯ

รายวิชา 2151207

รำเบ็ดเตล็ด 2

3 (1-4-4)

 

Miscellaneous Dance 2

 

        ศึกษาประวัติการแสดงระบำเบ็ดเตล็ดที่นำมาฝึกหัดในด้านเนื้อร้องเพลงดนตรี เพลงขับร้อง เครื่องแต่งกาย โอกาสและสถานที่แสดง ฝึกปฏิบัติระบำต่าง ๆ เช่น ระบำกฤษดาภินิหาร ระบำเทพบันเทิง ระบำพรหมมาสต์ ระบำนพรัตน์ ระบำโบราณคดี ระบำสวัสดิรักษา ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฯลฯ

รายวิชา 2151501

ละครตะวันออก

3 (1-4-4)

 

Oriental Dramatic Arts

 

        ศึกษาความเป็นมาของการละครในประเทศตะวันออก ได้แก่ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ไทย พม่า อินโดนีเซีย ฯลฯ และเลือกฝึกปฏิบัติการแสดงของชาติต่าง ๆ ในเอเซียตามความเหมาะสม

รายวิชา 2151601

การแต่งกายและแต่งหน้า 1

3 (1-4-4)

 

Character Costume and Make-up 1

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของการแต่งกายสมัยต่าง ๆ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ ฝึกปฏิบัติวิธีการแต่งกาย ละครรำยืนเครื่องพันทาง พื้นเมือง เบ็ดเตล็ด ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และประดิษฐ์เครื่องแต่งกายที่เลียนแบบของจริง ศึกษาลักษณะและวิธีการแต่งหน้าละครรำ ละครพูด ฝึกแต่งหน้า ละครรำ ละครพูด แนวคิดเชิงศิลปะของละครในยุคเดียวกัน

รายวิชา 2151603

การแสดง 1

3 (1-4-4)

 

Acting 1

 

        ศึกษาการแสดงเบื้องต้น การเคลื่อนไหว ภาษากาย การเปล่งเสียงการแสดงสด การตีความ การแสดงเดี่ยว การแสดงเป็นคู่ การแสดงฉากสั้น ๆ

รายวิชา 2151607

การเคลื่อนไหวบนเวที

3 (1-4-4)

 

Stage Movement

 

        ศึกษาและฝึกการเคลื่อนไหวบนเวที การใช้ภาษากายสื่อความหมายการเคลื่อนไหวที่บ่งถึงนิสัย ฐานะทางสังคมยุคสมัยของตัวละคร

รายวิชา 2152104

วาทศิลป์การละคร

3 (1-4-4)

 

Dramatic Speech

 

        ศึกษาลักษณะของนักพูดที่ดีและความแตกต่างของการพูดแบบละครรำ และละครพูด และฝึกปฏิบัติการพูดตามบุคลิกของตัวละครแบบต่าง ๆ เช่น การพูดตามวัย การพูดในอารมณ์ต่าง ๆ การพูดสำเนียงภาษาที่ใช้ในละครรำ

รายวิชา 2152105

กิจกรรมสร้างละคร 1

3 (1-4-4)

 

Drama Production 1

 

        ศึกษาขนบของละครไทย รูปแบบการสร้างละครไทยและฝึกปฏิบัติ

รายวิชา 2152203

กิจกรรมฟ้อนรำ 3

3 (1-4-4)

 

Thai Dancing 3

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกาย จังหวะ ลีลา เพลงประกอบในชุดที่ฝึกรำ ฝึกรำพระไวยตรวจ พล กราววีรสตรี กราววีรชัย คุณหญิงมุก คุณหญิงจันทร์ ตรวจพลและกราวอาสา

รายวิชา 2152205

นาฏศิลป์พื้นเมือง 2

3 (1-4-4)

 

Thai Folk Dance 2

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกายและวิธีแสดง บทเพลงและทำนองเพลงของการแสดงแต่ละภาค ฝึกปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองแต่ละภาคที่ไม่ซ้ำกับนาฏศิลป์พื้นเมือง 1

รายวิชา 2152505

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก

3 (1-4-4)

 

Eastern Folk Dance

 

        ศึกษาความเป็นมาของนาฏศิลป์ตะวันออก ในด้านความเหมือนและความแตกต่างทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ฝึกนาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันออก

รายวิชา 2152506

นาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก

3 (2-2-5)

 

Western Folk Dance

 

        ศึกษาความเป็นมาของนาฏศิลป์ตะวันตก ในด้านความเหมือนและความแตกต่างทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ฝึกนาฏศิลป์พื้นเมืองตะวันตก

รายวิชา 2152603

การออกแบบฉากและแสง 1

1 (2-2-5)

 

Set and Light Design 1

 

        ศึกษาหน้าที่และความสำคัญของฉากในละคร ความสัมพันธ์ของฉากแสงและการแสดง หลักการออกแบบ ฉากและแสงขั้นพื้นฐาน ทฤษฎีสี การเขียนแผนผังเทวี การทำฉากจำลอง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า การวางแผนผังแสง ฝึกออกแบบฉาก

รายวิชา 2152604

การออกแบบเครื่องแต่งกาย 1

3 (1-4-4)

 

Costume Design 1

 

        ศึกษาหน้าที่และความสำคัญของเครื่องแต่งกายที่มีต่อละคร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผ้าและการตัดเย็บ หลักการออกแบบเสื้อผ้าละคร ฝึกออกแบบเครื่องแต่งกาย ละครร่วมสมัย

รายวิชา 2152606

การแสดง 2

3 (1-4-4)

 

Acting 2

 

        ศึกษาและฝึกการแสดงบทบาทตัวละครที่มีความซับซ้อนมากขึ้นแสดงเป็นฉากแสดงละครองค์เดียวจบ หรือละครสั้นความยาวไม่เกิน 1 ชั่วโมง เน้นที่การวิเคราะห์ตัวละครในเชิงจิตวิทยา

รายวิชา 2153105

การแสดงเป็นชุดเป็นตอน

3 (1-4-4)

 

Production of Dramatic Excerpts

 

        ศึกษาประวัติและความเป็นมาของการแสดง ที่นำมาจัดแสดงเป็นชุดเป็นตอนจากบทละครในด้านเนื้อเรื่อง เครื่องแต่งกาย ลีลา ท่าทาง จังหวะและทำเพลง ฝึกปฏิบัติ เช่น ชุดพระลอลงสวน พระลอตามไก่ พระสุธนเลือกคู่ พระไวยเกี้ยวนางวันทองแปลง

รายวิชา 2153203

กิจกรรมฟ้อนรำ 4

3 (1-4-4)

 

Thai Dancing 4

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา เครื่องแต่งกาย จังหวะ ลีลา เพลงประกอบในชุดที่ฝึก ฝึกรำพระลอชมสวน พระลอตามไก่ พระสุธนเลือกคู่ พระไวยเกี้ยวนางวันทอง รจนาเสี่ยงพวงมาลัย รามสูร เมขลา บุษบาเสี่ยงเทียน พลายบัวเกี้ยวนางตานี ฯลฯ

รายวิชา 2153602

การแต่งกายและการแต่งหน้า 2

3 (1-4-4)

 

Character Costume & Make-up 2

 

        ฝึกสร้างเครื่องแต่งกายละครไทย พระ-นาง ฝึกออกแบบเครื่องแต่งกายละครระบำแบบต่าง ๆ มากขึ้น ฝึกแต่งหน้าแบบพิศดาร เช่น คนแก่ แผลเป็น และส่วนพิการบนใบหน้า แก้ไขส่วนที่บกพร่องบนใบหน้า

รายวิชา 2153607

การแต่งหน้า 2

3 (1-4-4)

 

Make-up 2

 
 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2152605 การแต่งหน้า 1

 

        ศึกษาศิลปะการแต่งหน้าในระดับสูง เช่น การเติม การพรางส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า โดยวิธีการที่ซับซ้อนกว่าการแต่งหน้า 1 การแต่งผิวผิดปกติต่าง ๆ ฝึกแต่งหน้าตามที่ได้เรียนมา

รายวิชา 2153613

การแสดง 3

3 (1-4-4)

 

Acting 3

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2152606 การแสดง 2

        ศึกษาและฝึกการแสดงบทบาทตัวละคร ที่มีความซับซ้อนลึกซึ้งมากกว่าการแสดง 2 แสดงละครเรื่องยาวเน้นการวิเคราะห์ตัวละครที่มีลักษณะซับซ้อนในเชิงจิตวิทยา

รายวิชา 2154101

กิจกรรมสร้างละคร 2

3 (1-4-4)

 

Drama Production 2

 

        สร้างละครรำ เช่น ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา สร้างละครร้องและสร้างละครพูด และละครพูดสลับรำ ละครสังคีต ละครสมัยใหม่ และหรือการแสดงอื่น ๆ

รายวิชา 2154501

นาฏศิลป์สากล

3 (2-2-5)

 

Wertern Drama

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนาฏศิลป์สากล เรียนเทคนิคและการเต้นแบบ Martha Graham เรียนรู้เทคนิค และการเต้นแบบ Free Style

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รายวิชา 2152802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนาฏศิลป์และการละคร

5(450)

 

Training Dance and Drama 1

 

        ฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับหน่วยงานธุรกิจที่ผลิตผลงานการแสดงภายใต้คำแนะนำของอาจารย์นิเทศและผู้ประกอบการ

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรศิลป์ศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

***************

ภาคผนวก

1. ตาราง แสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรปรับปรุง

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร

คงเดิม

จัดเป็น 3 แบบ คือ เอกเดี่ยว เอก-โท และ เอก-เอก

2

ชื่อปริญญา

ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร

คงเดิม

ไม่มีการปรับปรุง

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

4 ข้อ

4 ข้อ

ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม

5

หลักสูตร

ไม่มีข้อกำหนดรายวิชาคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 นก. เรียนภาษาอังกฤษ
อย่างน้อย 12 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก.
และ หมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 144 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

(101 หน่วยกิต)

(92 หน่วยกิต)

 

2.1 วิชาแกน

12 หน่วยกิต

33 หน่วยกิต

 

2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

30 หน่วยกิต

42 หน่วยกิต

 

2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

49 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

 

2.4 วิชาโท/วิชาเอกคู่

ไม่มี

ไม่มี

 

2.5 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

คงเดิม

2.6 วิชาวิทยาการจัดการ

(15 หน่วยกิต)

(6 หน่วยกิต)

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

(2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ใช้ระบบเลข 7 หลัก จัดเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ
เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี 106 รายวิชา

มี 44 รายวิชา ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 62 รายวิชา

 

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

10 คน

5 คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ไม่ได้ระบุชัดเจน

มีจำนวน 5 คน

 

2. รายวิชาที่ไม่ได้เปิดสอนในหลักสูตร

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2051201

นาฏศิลป์ไทย

3 (2-6-1)

 

Thai Dramatic Arts

 

2051202

รำพื้นฐาน 1

3 (2-6-1)

 

Basic Thai Dancing

 

2051203

ลีลาของนาฏศิลป์ไทย

3 (2-6-1)

 

Nature of Thai Dramatic Arts

 

2051205

รำพื้นฐาน 2

3 (2-6-1)

 

Basic Thai Dancing 2

 

2051208

พื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย

3(2-6-1)

 

Fundamental for Dramatic Arts

 

2051301

เพลงไทย 1

3 (2-6-1)

 

Thai Music 1

 

2051302

ดนตรีเพื่อการละคร

3 (3-3-3)

 

Music for Drama

 

2051402

การแสดงหุ่น

3 (2-6-1)

 

Puppet Show 1

 

2051405

หุ่นสำหรับเด็ก

3 (2-6-1)

 

Puppet Show 1

 

2051602

จิตวิทยาการละคร

3 (3-3-3)

 

Psychology for Theatre

 

2051603

ศิลปะเพื่อการละคร

3 (3-3-3)

 

Arts for Drama

 

2051608

การพูดและการฝึกเสียง 1

3 (2-6-1)

 

Speech and Voice Training 1

 

2051609

ละครใบ้

3 (2-6-1)

 

Mime

 

2052103

การเขียนบทละครและการตัดต่อบทละคร

3(2-6-1)

 

Drama Writing and Narrating

 

2052201

หน้าพาทย์ 1

3 (2-6-1)

 

Nah Paht 1

 

2052301

เพลงไทย 2

3(2-6-1)

 

Thai Music 2

 

2052302

เพลงไทย 3

3(2-6-1)

 

Thai Music 3

 

2052303

เพลงและการขับร้องเพื่อการแสดง

3 (2-6-1)

 

Singing Practice for Stage

 

2052501

ละครตะวันตก

3(6-0-3)

 

Western Drama

 

2052601

เทคนิคการสร้างฉาก แสง สี เสียง

3(6-2-1)

 

Set and Light Design

 

2052607

การพูดและการฝึกเสียง 2

3 (2-6-1)

 

Speech and Voice Training 2

 

2052608

การอ่านตีความบทละคร 1

3 (3-3-3)

 

Oral Interpretation 1

 

2052610

ละครและการแสดงสำหรับเด็ก 1

3 (2-6-1)

 

Chidern Theatre 1

 

2052701

หลักการประพันธ์บทละคร

3(6-2-1)

 

Principles of Play Writing

 

2052702

วิวัฒนาการของศิลปะการละครตะวันออกและตะวันตกศึกษาเชิงวิเคราะห์

3(6-0-3)

 

Critical Studies to the Development of Theatre Art : East and West

 

2052705

มหรสพและการละเล่นของหลวง

3 (6-0-3)

 

Entertainments in Royal Festivities

 

2053102

หลักการสร้างละคร

3(2-6-1)

 

Principles of Play Organizing

 

2053103

การแสดงและการกำกับการแสดง

3(3-3-3)

 

Acting and Directing

 

2053106

การเขียนบทละคร 2

3 (2-6-1)

 

Play Writing 2

 

2053201

ฉุยฉาย

3 (2-6-1)

 

Chui Chai

 

2053204

การจัดการแสดงวิพิธทัศนา

3(3-3-3)

 

Variety Show

 

2053207

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน

3(3-3-3)

 

Theory and Practice of Folk Dance

 

2053208

การแสดงหุ่น 2

3(2-6-1)

 

Puppetry 2

 

2053502

โมเดิร์นดานซ์ 1

3 (2-6-1)

 

Modern Dance 1

 

2053604

การกำกับการแสดง 2

3 (3-3-3)

 

Directing 2

 

2053608

การกำกับเวที

3 (3-3-3)

 

Stage Management

 

2053701

หลักการวิเคราะห์บทละคร

3(6-0-3)

 

Play Analysis

 

2053702

การอ่านและแปลบทละคร 1

3(6-0-3)

 

Play Reading and Translation 1

 

2053703

ภาพยนต์และนวนิยาย : ศิลปะเปรียบเทียบ

3(6-0-3)

 

Theatre, Movies and Novels : Comparative Arts

 

2053705

วรรณกรรมละครตะวันตก

3(6-0-3)

 

Western Dramatic Literature

 

2053706

นาฏศิลป์และการละครเพื่อการศึกษา

3(6-0-3)

 

Dance and Drama for Educational Purpose

 

2054103

การวิจารณ์นาฏศิลป์และละคร

3(6-0-3)

 

Drama Criticism

 

2054104

การเขียนบทละครไทย

3(6-0-3)

 

Thai Playwriting

 

2054105

ลิเก

3(3-3-3)

 

Li-Ke

 

2054201

หน้าพาทย์ 2

3(2-6-1)

 

Nah Paht 2

 

2054202

ระบำเบ็ดเตล็ด 3

3(2-6-1)

 

Miscellaneous Dance 3

 

2054203

กิจกรรมฟ้อนรำ 5

3(2-6-1)

 

Thai Dancing 5

 

2054205

ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

3(3-3-3)

 

Folk Music Folk Dance

 

2054207

รำอาวุธ

3(2-6-1)

 

Weapon Dances

 

2054301

เพลงไทย 4

3(2-6-1)

 

Thai Music 4

 

2054302

เพลงไทย 5

3(2-6-1)

 

Thai Music 5

 

2054401

การแสดงหุ่น 3

3(2-6-1)

 

Puppetry 3

 

2054502

โมเดิร์นดานซ์ 2

3 (2-6-1)

 

Modern Dance 2

 

2054602

การแต่งกายละครไทย

3 (2-6-1)

 

Costumes for Thai Stage

 

2054701

การละครสมัยใหม่ในอังกฤษ ยุโรป และอเมริกา

3(6-0-3)

 

Modern Drama and Theatre in England, Europe and America

 

2054903

การแสดงท้องถิ่น

3(3-0-6)

 

Folk Performaing Arts

 

2054904

สรีระวิทยาของผู้แสดงนาฏศิลป์

3(6-0-3)

 

Anatomy of Performers

 

2054906

รำวง

3(2-6-1)

 

Ramwong

 

2054908

นาฏศิลป์เพื่อชีวิต

3(3-3-3)

 

Dramatic Arts for Daily Life

 

3. คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา 2051201

นาฏศิลป์ไทย

3 (2-6-1)

 

Thai Dramatic Arts

 

        ศึกษาความสำคัญและที่มาของนาฏศิลป์ไทย พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ หลักนาฏศิลป์เบื้องต้น นาฏยศัพท์ ฝึกเพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บทเล็ก รำเดี่ยว รำคู่ รำหมู่ รำอาวุธ ฟ้อนเซิ้ง ฯลฯ (เลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม)

รายวิชา 2051202

รำพื้นฐาน 1

3 (2-6-1)

 

Basic Thai Dancing

 

        ศึกษานาฏศัพท์ที่ใช้ในการรำพื้นฐาน ฝึกรำเพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บทเล็ก รำวงมาตรฐาน

รายวิชา 2051203

ลีลาของนาฏศิลป์ไทย

3 (2-6-1)

 

Nature of Thai Dramatic Arts

 

        ศึกษานาฏศัพท์ที่ใช้ในการำพื้นฐาน ฝึกรำเพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บทเล็กรำวงมาตรฐาน

รายวิชา 2051205

รำพื้นฐาน 2

3 (2-6-1)

 

Basic Thai Dancing 2

 

        ศึกษานาฏยศัพท์ที่ใช้ในการรำเพิ่มเติมจากรำพื้นฐาน1 ฝึกรำแม่บทใหญ่ 18 คำ และศึกษาท่ารำระหว่างแม่บทเล็กกับแม่บทใหญ่ในเชิงเปรียบเทียบ

รายวิชา 2051208

พื้นฐานทางนาฏศิลป์ไทย

3 (2-6-1)

 

Fundamental for Dramatic Arts

 

        ศึกษานาฎยศัพท์ และภาษาท่าทางนาฏศิลป์โดยละเอียด ฝึกรำเพลงช้าเพลงเร็ว ฝึกรำแม่บทเล็ก

รายวิชา 2051301

เพลงไทย 1

3 (2-6-1)

 

Thai Music 1

 

        ศึกษาชนิดของเพลงไทย เช่น เพลงสามชั้น เพลงเถา เพลงตับ ศึกษาประเภทของการขับร้อง เช่น ร้องอิสระ ร้องประกอบดนตรี ร้องประกอบการแสดง ศึกษาศัพท์สังคีตที่ใช้ในการขับร้อง ศึกษาจังหวะของเพลงไทย มารยาทในการขับร้องและมารยาทในการฟัง ฝึกร้องเพลงประกอบการแสดง ระบำ ฟ้อน ละคร โขน พร้อมทั้งเพลงออกภาษา ฝึกขับเสภาต่าง ๆ ฝึกอ่านทำนองเสนาะตามลักษณะคำประพันธ์ ฝึกเห่เรือ และสวดโอ้เอ้วิหารร้ายทำนองต่าง ๆ

รายวิชา 2051302

ดนตรีเพื่อการละคร

3 (3-3-3)

 

Music for Drama

 

        ความสำคัญของดนตรีในการละคร ยุคสมัยต่าง ๆ ของดนตรีที่มีบทบาทต่อละครไทย และละครตะวันตก คีตกวีที่มีบทบาทสำคัญต่อการละคร เช่น หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ดร.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ดร.มนตรี ตราโมทมอนเทอเวอดีสเตราส์และปุชชินี

รายวิชา 2051402

การแสดงหุ่น 1

3 (2-6-1)

 

Puppet Show 1

 

        ศึกษาความเป็นมาของหุ่นในประเทศตะวันออก และประเทศตะวันตก ศึกษาการสร้างอุปกรณ์สำหรับแสดงหุ่น ได้แก่ โรงหุ่น ฉาก แสง สี เสียง เครื่องแต่งกาย และเพลง ศึกษาการประดิษฐ์ตัวหุ่นจากวัสดุต่าง ๆ หรือวัสดุที่มีในท้องถิ่น ศึกษาการเขียนบทละครหุ่นจากจินตนาการ นิทานและวรรณคดี ฝึกการเขียนบท การเชิดหุ่นมือ และการแสดง หุ่นคนฝึกพากษ์ ฝึกการจัดการแสดงละครหุ่น

รายวิชา 2051405

หุ่นสำหรับเด็ก

3 (2-6-1)

 

Puppet Show 1

 

        ศึกษาความเป็นมาของหุ่นในประเทศตะวันออกและตะวันตก โรงหุ่น ฉาก อุปกรณ์ แสง สี เสียง บทหุ่น การเลือกบท การเขียนบทจากจินตนาการจากนิทานพื้นบ้านและจากวรรณคดี

รายวิชา 2051602

จิตวิทยาเพื่อการละคร

3 (3-3-3)

 

Psychology for Theatre

 

        ศึกษาจิตวิทยาเพื่อการละครในฐานะที่เป็นพื้นฐานในการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์อันจะเป็นประโยชน์ในการแสดง การกำกับการแสดง การเขียนและแปลบทละครศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจ อารมณ์การรับรู้ การเรียนรู้บุคลิกภาพ การคิดและการแก้ปัญหาพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลและกลุ่ม แรงผลักดัน ความขับข้องใจ ทฤษฎีการตัดสินใจ ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ และนักจิตวิเคราะห์อื่น ๆ

รายวิชา 2051603

ศิลปะเพื่อการละคร

3 (3-3-3)

 

Arts for Drama

 

        ศึกษาวิวัฒนาการและอิทธิพลของศิลปะที่มีต่อการออกแบในละครศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคต่างๆ และแนวคิดเชิงศิลปะของละครในยุคเดียวกัน

รายวิชา 2051608

การพูดและการฝึกเสียง 1

3 (2-6-1)

 

Speech and Voice Training 1

 

        ศึกษาทฤษฎีการพูด การฝึกเสียง การหายใจ การออกเสียง การเปล่งเสียง

รายวิชา 2051609

ละครใบ้

3 (2-6-1)

 

Mime

 

        ศึกษาที่มาของละครใบ้ หลักการแสดงละครใบ้ ฝึกการแสดงละครใบ้

รายวิชา 2052103

การเขียนบทละครและการตัดต่อบทละคร

3 (2-6-1)

 

Drama Writing and Narrating

 

        ศึกษาฉันทลักษณ์ในบทละคร เช่น ฉบัง ร่ายดั้น ร่ายยาว ฯลฯคำเฉพาะที่ใช้ในบทละครทั้งบท เช่น ฉายาตัวละคร คำขึ้นต้นบทกลอนสรรพนาม คำพื้นเมืองที่ใช้ในบทละครและศึกษาหลักการเขียนบท และการตัดต่อบทละครและฝึกปฏิบัติ

รายวิชา 2052201

หน้าพาทย์ 1

3 (2-6-1)

 

Nah Paht 1

 

        ศึกษาความหมาย ชนิดของหน้าพาทย์และโอกาสที่ใช้ เช่น กลองโยนโคมเวียน ตระนิมิตร โลม ตระนอน ฯลฯ

รายวิชา 2052301

เพลงไทย 2

2 (2-6-1)

 

Thai Music 2

 

        ศึกษาประวัติและผลงานเพลงที่ใช้ในการขับร้องของคีตกวีไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทรโรตม หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ดร.มนตรี ตราโมท ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ดร.คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ฯลฯศึกษาเพลง 2 ชั้น เพลงระบำ และเพลงตับ เรื่องปฏิบัติตับ เรื่องนางซินเดอเรลลา เรื่องราชาธิราชตอนสมิงพระรามหนี เรื่องพระร่วงตอนขอมดำดิน เรื่องวิวาหพระสมุทร ฯลฯ

รายวิชา 2052302

เพลงไทย 3

2 (2-6-1)

 

Thai Music 3

 

        ศึกษาลักษณะเพลงไทยประเภทเพลงเถา และเพลงสามชั้นทั้งท่วงทำนอง ลีลา การร้อง จังหวะ ตลอดจนวิธีการขยายอัตรา และตัดอัตราจังหวะ ปฏิบัติเพลงเถาและเพลงสามชั้น เช่น เพลงพม่าเห่เถา เพลงโสมส่องแสงเถา เพลงเขมรละออองค์เถา ฯลฯ เพลงสามชั้น เช่น เพลงนางคราญสามชั้น เพลงถอนสมอสามชั้น เพลงแสนคำนึงสามชั้น

รายวิชา 2052303

เพลงและการขับร้องเพื่อการแสดง

3 (2-6-1)

 

Singing Practice for Stage

 

        ศึกษาหลักการเลือกเพลง ศึกษาจังหวะ ลีลา วิธีการขับร้องเพลงในอารมณ์และความรู้สึกเฉพาะที่ใช้กับการร้องประกอบการแสดงของไทย ฝึกขับร้องเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครของไทย

รายวิชา 2052501

ละครตะวันตก

3 (6-0-3)

 

Western Drama

 

        ศึกษาความหมายและชนิดของการละครตะวันตก ศึกษาและวิจารณ์ลักษณะสำคัญของการละครยุคกลาง และยุคฟื้นฟูของกรีกและโรมัน วิวัฒนาการของโรงละคร บทละคร และนักประพันธ์ที่สำคัญ เทคนิคและรูปแบบการแสดง ความสัมพันธ์ของศิลปะการละครกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ปรัชญาศึกษาบทละคร และแนวการเขียนของนักประพันธ์ที่สำคัญของยุโรป บุคคลสำคัญในแขนงต่าง ๆ ของศิลปะการละคร ตลอดจนสภาพแวดล้อมของสังคม ปรัชญาและสิ่งต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อศิลปะและวรรณคดีการละครของยุโรปสมัยปัจจุบัน

รายวิชา 2052601

เทคนิคการสร้างฉาก แสง สี เสียง

3 (6-2-1)

 

Set and Light Design

 

        ศึกษาเวทีและส่วนประกอบของเวทีแบบต่าง ๆแบบ PROSENEUM.S. (หมายถึงกรอบเวที) แบบ APRON S. (เวทีลดหลั่น แบบ AREANA S. (เวทีวงกลม) แบบ THRUST S. (เวทีเข้าไปหาคนดู) แบบ AVENUE S. (ยกให้สูงหรือกำหนดเวทีเป็นทางยาว แบบ OPEN S. (เวทีเปิดตลอด) ศึกษาหลักการออกแบบไฟ การใช้เสียงประกอบการแสดง หลักการสร้างฉากและฉากจำลอง ฝึกสร้างฉากจริง และฉากจำลอง ออกแบบการใช้แสงและเสียงประกอบการแสดง

รายวิชา 2052607

การพูดและการฝึกเสียง 2

3 (2-6-1)

 

Speech and Voice Training 2

 

        ศึกษาและฝึกพูดและการออกเสียงที่ใช้ในละครแนวต่าง ๆ

รายวิชา 2052608

การอ่านตีความบทละคร 1

3 (3-3-3)

 

Oral Interpretation 1

 

        ศึกษาทฤษฎีการอ่านตีความ ฝึกการอ่านบทละครในเชิงตีความ และแสดงออกโดยการใช้เสียงและท่าทาง เน้นที่การวิเคราะห์ตัวละครในเชิงจิตวิทยา

รายวิชา 2052610

ละครและการแสดงสำหรับเด็ก 1

3 (2-6-1)

 

Chidern Theatre 1

 

        ศึกษาละครและการแสดงประเภทต่าง ๆ สำหรับเด็ก จิตวิทยาของเด็กในวัยต่าง ๆ เพลง ระบำ การเล่าเรื่อง ละครเวที ฝึกสร้างละครเวทีสำหรับเด็ก

รายวิชา 2052701

หลักการประพันธ์บทละคร

3 (2-6-1)

 

Principles of Play Writing

 

        ศึกษารูปแบบฉันทลักษณ์ของกลอนแปด คำไวพจน์ คำราชาศัพท์และสำนวนที่ใช้ในกลอนละครรำ ฝึกหัดแต่งบทกลอนแปดทั่ว ๆ ไป โดยใช้สัมผัสเสียงให้ถูกต้อง ฝึกหัดแต่งบทอวยพรและเนื้อร้องในชุดระบำอื่น ๆ แต่งกลอนบทละครสั้น ๆ ตามศักดิ์ของตัวละครและลีลาตัวละคร

รายวิชา 2052702

วิวัฒนาการของศิลปะการละครตะวันออกและตะวันตก ศึกษาในเชิงวิเคราะห์

3 (6-0-3)

 

Critical Studies to the Development of Theatre Art : East and West

 

        ศึกษาในเชิงวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการของศิลปะการละครตะวันออกตะวันตก และละครไทย โดยคำนึงถึงสภาพสังคม การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม อันจะมีผลกระทบต่อการละครตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

รายวิชา 2052705

มหรสพและการละเล่นของหลวง

3 (6-0-3)

 

Entertainments in Royal Festivities

 

        ศึกษาประวัติที่มาและวิวัฒนาการ เช่น วิธีการแสดง สถานที่โอกาสที่แสดงของการแสดงแต่ละชนิด ฝึกปฏิบัติมหรสพ และการละเล่นของหลวง

รายวิชา 2053102

หลักการสร้างละคร

3 (2-6-1)

 

Principles of Play Organizing

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การสร้างละคร หน้าที่ของบุคลากรต่าง ๆ ในการจัดการแสดงและศึกษาการเคลื่อนไหวบนเวที

รายวิชา 2053103

การแสดงและการกำกับการแสดง

3 (3-3-3)

 

Acting and Directing

 

        ศึกษาหลักการแสดงเบื้องต้น การวิเคราะห์ตัวละครในเชิงจิตวิทยาฝึกการแสดงเบื้องต้น การแสดงฉากสั้น ๆ ศึกษาหลักการกำกับการแสดงเบื้องต้น การวิเคราะห์บทละคร ฝึกกำกับการแสดงฉากสั้น ๆ ปฏิบัติ เช่น ชุดพระลอลงสวน พระลอตามไก่ พระสุธนเลือกคู่ พระไวยเกี้ยวนางวันทองแปลง

รายวิชา 2053106

การเขียนบทละคร 2

3 (2-6-1)

 

Play Writing 2

 

        ฝึกหัดเขียนบทละครที่มีโครงเรื่อง และตัวละครที่ซับซ้อนมากขึ้นความยาว 1-2 ชั่วโมง เนื้อหามากกว่าการเขียนบทละคร 1

รายวิชา 2053107

การสร้างละครรำ

3 (2-6-1)

 

Dance and Drama Workshop

 

        ศึกษาบทละครรำชนิดต่าง ๆ และเลือกนำมาสร้างโดยพิจารณาเพลงเครื่องแต่งกาย ฉาก ให้เหมาะสม คัดเลือกตัวละครและผู้รับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ปฏิบัติงานสร้างละครรำ

รายวิชา 2053108

การสร้างละครร้อง

3 (2-6-1)

 

Thai Musical Theatre

 

        ศึกษาประวัติลักษณะรูปแบบละครร้อง ฝึกเขียนบทละครร้องและปฏิบัติงานสร้างละคร

รายวิชา 2053201

ฉุยฉาย

3 (2-6-1)

 

Chui Chai

 

        ศึกษาประวัติ ความเป็นมา และฝึกชุดต่าง ๆ ตามความเหมาะสมเช่น ฉุยฉายพราหมณ์ ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายเบญกาย ฉุยฉายสถาบัน

รายวิชา 2053204

การจัดการแสดงวิพิธทัศนา

3 (3-3-3)

 

Variety Show

 

        ศึกษาความหมายและหลักการจัดวิพิธทัศนา การเลือกชุดการแสดงในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ การเลือกตัวแสดง การฝึกซ้อม การเตรียมเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดงฝึกปฏิบัติการแสดงวิพิธทัศนา

รายวิชา 2053207

เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน

3 (3-3-3)

 

Theory and Practice of Folk Dance

 

        ศึกษาลักษณะของเพลงและการละเล่นพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ เช่นเพลงกล่อมเด็ก เพลงสำหรับเด็กและการละเล่นของเด็ก เพลงปฏิพากย์และการละเล่นของหนุ่มสาว เพลงประกอบพิธีกรรม ฯลฯ ศึกษาคำประพันธ์และการใช้ภาษา ท่วงทำนองเพลง วิธีเล่นโอกาสที่แสดงและฝึกปฏิบัติ

รายวิชา 2053208

การบันทึกท่ารำเต้น

3 (2-6-1)

 

Dance Notation

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมา ความสำคัญของการบันทึกท่ารำเต้น คุณลักษณะของโน๊ตนาฏศิลป์แบบต่าง ๆ ฝึกการเขียนโน้ตตามหลักของLabanotation

รายวิชา 2053407

การแสดงหุ่น 2

3 (2-6-1)

 

Puppetry 2

 

        ศึกษาความหมาย ขอบเขต ประเภท และประโยชน์ของหุ่น การสร้างหุ่นชนิดต่าง ๆ เทคนิคการเขียนบท และการเชิดหุ่น ฝึกการเชิดหุ่น สร้างฉากและอุปกรณ์ ฝึกการเขียนบท การพากย์ และการจัดการแสดง

รายวิชา 2053502

โมเดิร์นดานซ์ 1

3 (2-6-1)

 

Modern Dance 1

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของโมเดิร์นดานซ์ ฝึกการเต้นโมเดิร์นดานซ์เช่น การใช้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การใช้เท้าทั้งที่ราวเกาะ และกลางห้อง

รายวิชา 2053604

การกำกับการแสดง 2

3 (3-3-3)

 

Directing 2

 
 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2051605 การกำกับการแสดง 1

 

        ศึกษาและฝึกกำกับการแสดงละครองค์เดียวจบหรือละครสั้นที่มีความลึกซึ้งในเนื้อหามากกว่าระดับที่ 1

รายวิชา 2053608

การกำกับเวที

3 (3-3-3)

 

Stage Management

 

        ศึกษาหน้าที่และความสำคัญของผู้กำกับเวที การดำเนินงาน การประสานงาน ปัญหาในการกำกับเวที และวิธีแก้ปัญหา ฝึกกำกับเวที

รายวิชา 2053701

หลักการวิเคราะห์บทละคร

3 (6-0-3)

 

Play Analysis

 

        วิเคราะห์โครงเรื่อง ตัวละคร ปรัชญาความคิด การใช้ภาษา วิธีการเขียนบทภาพและเสียงที่ปรากฎบนเวที ตลอดจนแนวการแสดงของละครประเภทต่าง ๆ

รายวิชา 2053702

การอ่านและแปลบทละคร 1

3 (6-0-3)

 

Play Reading and Translation 1

 

        อ่านและแปลบทละครต่างประเทศที่ดีเด่น เป็นมาตรฐานที่ดีของการดำเนินเรื่อง การพัฒนาตัวละคร ลีลา บทสนทนา ศึกษาหลักการอ่านและแปลบทละคร ฝึกการอ่านและแปลบทละคร

รายวิชา 2053703

ภาพยนตร์และนวนิยาย : ศิลปะเปรียบเทียบ

3 (6-0-3)

 

Theatre, Movies and Novels : Comparative Arts

 

        ศึกษาความสัมพันธ์ของละคร ภาพยนตร์และนวนิยาย และอิทธิพลที่ศิลปะแต่ละแบบมีต่อกันจากต้นเรื่องเดียวกัน

รายวิชา 2053704

หลักการวิเคราะห์และวิจารณ์การละคร

3 (6-0-3)

 

Dramatic Theories and Criticism

 

        ศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีการละคร และหลักการวิจารณ์การละครในแง่ปรัชญา ความคิด จุดมุ่งหมาย การเสนอเรื่อง การแสดง ผู้ชม

รายวิชา 2053705

วรรณกรรมการละครตะวันตก

3 (6-0-3)

 

Western Dramatic Literature

 

        ศึกษาผลงานวรรณกรรมการละครดีเด่นในการละครตะวันตกที่มีปรากฏเป็นภาษาไทยในด้านลักษณะพัฒนาการทางศิลปะและคุณค่าทางศิลปะต่อวงการละคร

รายวิชา 2053706

นาฏศิลป์และการละครเพื่อการศึกษา

3 (6-0-3)

 

Dance and Drama for Educational Purpose

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการนำนาฏศิลป์และการละครมาใช้เพื่อการศึกษา ขอบเขตและวิธีการที่จะนำนาฏศิลป์และการละครไปใช้เพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ สร้างสรรค์ละครเพื่อการศึกษา หรือสัมพันธ์กับวิชาอื่น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

รายวิชา 2054103

การวิจารณ์นาฏศิลป์และละคร

3 (6-0-3)

 

Drama Criticism

 

        ศึกษาหลักการวิจารณ์ วิธีวิจารณ์ หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้วิจารณ์ละครที่มีต่อผู้ชมและสังคม ฝึกวิจารณ์ละครวิทยุ ละครโทรทัศน์ละครเวที ละครรำ ภาพยนตร์

รายวิชา 2054104

การเขียนบทละครไทย

3 (6-0-3)

 

Thai Playwriting

 

        ศึกษาวิธีเขียนบทละครรำ การตัดต่อบทละคร การบรรจุเพลงและฝึกเขียนบทละครและบรรจุเพลงร้อง

รายวิชา 2054105

ลิเก

3 (3-3-3)

 

Li-Ke

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของลิเกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ฝึกร้องและแสดงลิเก

รายวิชา 2054201

หน้าพาทย์ 2

3 (2-6-1)

 

Nah Paht 2

 

        ฝึกหน้าพาทย์ชั้นสูงที่ใช้ประกอบในพิธีไหว้ครูครอบโขนละครและประกอบการแสดง เช่น สาธุการ ตระนิมิตร ตะบองกัน ชำนาญ บาทสุณีคุกพาทย์ รัวสามลา พราหมณ์เข้าพราหมณ์ออกเชิดฉาน (พระรามตามกวาง)

รายวิชา 2054202

ระบำเบ็ดเตล็ด 3

3 (2-6-1)

 

Miscellaneous Dance 3

 

        ศึกษาประวัติการแสดงระบำเบ็ดเตล็ดที่นำมาฝึกในด้านเนื้อร้อง เพลงดนตรี เพลงขับร้อง เครื่องแต่งกาย โอกาสและสถานที่แสดง ฝึกปฏิบัติระบำต่าง ๆ เช่น ระบำดาวดึงส์ ระบำที่บท ระบำย่องหงิด รำกริช รำซัดชาตรี รำมโนราห์บูชายัญ ฯลฯ

รายวิชา 2054203

กิจกรรมฟ้อนรำ 5

3 (2-6-1)

 

Thai Dancing 5

 

        ศึกษาและปฏิบัติการแสดงที่เป็นชุดเป็นตอนในละครชนิดต่าง ๆ เรื่องสังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย แก้วหน้าม้า ไกรทอง ขุนช้างขุนแผน ราชาธิราช ฯลฯ

รายวิชา 2054205

ดนตรีและนาฏศิลป์พื้นบ้าน

3 (3-3-3)

 

Folk Music Folk Dance

 

        ศึกษาลักษณะ ความเป็นมา ความสำคัญ วิวัฒนาการเครื่องดนตรี การประสมวง ทำนอง จังหวะของดนตรีไทย ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับนาฏศิลป์ ค่านิยมของคนไทย ตลอดจนการส่งเสริม การอนุรักษ์ พัฒนาดนตรีไทย การฝึกปฏิบัติเบื้องต้น ศึกษาลักษณะประวัติความเป็นมา ความสำคัญ วิวัฒนาการของนาฏศิลป์ไทย ในด้านการแต่งกาย ท่ารำ เพลงประกอบ และอุปกรณ์การแสดง ความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี นาฏศิลป์ไทยกับนาฎศิลป์พื้นบ้าน ค่านิยมของคนไทย ตลอดจนการส่งเสริม อนุรักษ์ และพัฒนานาฏศิลป์ไทย การฝึกปฏิบัติเบื้องต้น

รายวิชา 2054207

รำอาวุธ

3 (2-6-1)

 

Weapon Dances

 

        ปฏิบัติการใช้อาวุธ เช่น พลอง (เสนาไทย) กระบอง (นางยักษ์) ทวน (ระตูสิหนากับอิเหนา) รบด้วยศร (พระ-ยักษ์) กริชคู่ ดาบคู่และพลอง เลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม

รายวิชา 2054301

เพลงไทย 4

3 (2-6-1)

 

Thai Music 4

 

        ศึกษาประวัติและที่มาของเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่นิยมร้องกันในเทศกาลต่าง ๆ ศึกษาประวัติและผลงานของพ่อเพลง แม่เพลง ที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการทั้งอดีต และปัจจุบัน ศึกษาลักษณะคำร้องของเพลงนั้น ๆ ศึกษาลีลาการร้องและวิธีแสดงโอกาสที่แสดง เครื่องแต่งกาย และดนตรีประกอบ ฝึกร้องเพลงปฏิพากย์ เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงฉ่อย เพลงทรงเครื่อง เพลงลำตัด ฯลฯ

รายวิชา 2054302

เพลงไทย 5

3 (2-6-1)

 

Thai Music 5

 

        ศึกษาประวัติและที่มาของเพลงพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ที่นิยมร้องกันในเทศกาลต่าง ๆ ศึกษาประวัติและผลงานของพ่อเพลง แม่เพลง ที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการทั้งอดีตและปัจจุบัน ศึกษาลักษณะคำร้องของเพลงนั้น ๆ ศึกษาลีลาการ้องและวิธีแสดง โอกาสที่แสดง เครื่องแต่งกายและดนตรีประกอบ ฝึกร้องเพลงพื้นบ้านของภาคต่าง ๆ

รายวิชา 2054401

การแสดงหุ่น 3

3 (2-6-1)

 

Puppetry 3

 

        ศึกษาประวัติความเป็นมาของหุ่นตะวันตกและตะวันออก บทบาทของหุ่นในการศึกษา ฝึกเชิดหุ่นไทย และร้องเพลงประกอบในบทละครไทยบางตอน เช่น รามเกียรติ์ พระอภัยมณี ฯลฯ

รายวิชา 2054502

โมเดิร์นดานซ์ 2

3 (2-6-1)

 

Modern Dance 2

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2053502 โมเดิร์นดานซ์ 1

        ฝึกการเต้นโมเดิร์นดานซ์ที่ราวเกาะ และที่กลางห้อง ฝึกสร้างสรรค์ระบำในแนวโมเดิร์นดานซ์

รายวิชา 2054602

การแต่งกายละครไทย

3 (2-6-1)

 

Costumes for Thai Stage

 

        ศึกษาประวัติและวิธีการแต่งกายของละครไทย ฝึกแต่งกายและสร้างเครื่องแต่งกายละครไทย

รายวิชา 2054701

การละครสมัยใหม่ในอังกฤษ ยุโรป และอเมริกา

3 (6-0-1)

 

Modern Drama and Theatre in England, Europe and America

 

        ศึกษาการละครในศตวรรษที่ 20 ของอังกฤษ ยุโรป และอเมริกาในเชิงแนวความคิด ทฤษฎีและการปฏิบัติ

รายวิชา 2054904

สรีระวิทยาของผู้แสดงนาฏศิลป์

3 (6-0-3)

 

Anatomy of Performers

 

        ศึกษาระบบ หน้าที่ของสรีระและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงนาฏศิลป์ และประโยชน์ของนาฏศิลป์ที่มีต่อสรีระ

รายวิชา 2054906

รำวง

3 (2-6-1)

 

Ramwong

 

        ศึกษาที่มาความหมายของเพลงและวัตถุประสงค์ของการรำวง ท่ารำ การแต่งกาย ท่วงทำนองเพลง จังหวะที่ใช้ในการรำ และโอกาสที่ใช้ในการแสดงฝึกรำวงมาตรฐาน

รายวิชา 2054908

นาฏศิลป์เพื่อชีวิต

3 (3-3-3)

 

Dramatic Arts for Daily Life

 

        ศึกษาที่มาลักษณะและชนิดของการแสดง ระบำ รำ ฟ้อน ละคร โขนวิพิธทัศนา มหรสพ การละเล่นของหลวง เพลงและการแสดงพื้นเมือง ศึกษาความสำคัญของนาฏศิลป์ไทยที่มีต่อวิถีชีวิตไทย วิเคราะห์ลักษณะที่นิยมว่าดีในด้านลีลา ท่ารำ ท่วงทำนองเพลง จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเนื้อหาตามความเหมาะสม

4. วิธีการปฏิบัติงาน สาขานาฏศิลป์ เอกนาฏศิลป์และการละคร

        4.1 ฝ่ายสาขาวิชานาฏศิลป์

                1.  พัฒนางานวิชาการของสาขาวิชานาฏศิลป์โดยทั่วไป
                2.  ปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์
                3.  จัดทำแผนการเรียนวิชานาฏศิลป์
                4.  พิจารณาเสนอแผนการเปิดรับนักศึกษา
                5.  พิจารณาหรือเสนอหลักเกณฑ์ในการรับนักศึกษา
                6.  เสนอแนะคณะหรือมหาวิยาลัยในการจัดอาจารย์ผู้สอนนักศึกษาของสาขาวิชานาฏศิลป์
                7.  เสนอแนะการจัดอาจารย์ที่ปรึกษา
                8.  เสนอคณะหรือมหาวิทยาลัยในการจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ในการเรียนการสอน
                9.  ดูแล ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพแก่นักศึกษา
                10. จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษา
                11. ดูแลการพัฒนาอาจารย์ในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ
                12. พิจารณาเสนอผลการเรียนของนักศึกษาต่อคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                13. จัดทำของงบประมาณ โดยประสานงานกับคณะเพื่อการจัดเรียนการสอนและการพัฒนาสาขาวิชา
                14. สนอการพิจารณาความดี ความชอบแก่อาจารย์

        4.2 ฝ่ายเลขานุการ

                1. ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                2. จัดทำบันทึกการประชุม
                3. การจัดระบบสารบัญของสาขาวิชา

        4.3 ฝ่ายอาจารย์ที่ปรึกษา

                1. การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเรียนแก่นักศึกษา
                2. การให้ความช่วยเหลือด้านการปรับตัวและสังคม
                3. การให้ความช่วยเหลือด้านวางแผนและเตรียมตัวเพื่ออาชีพ

        4.4 วิธีการดำเนินการจัดทำหลักสูตรสาขานาฏศิลป์และการละคร (เสนอเปิด ปี พ.ศ. 2549)

                1.  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ. ดร. ปรัชญา เวสารัชช์ และ พลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545
                2.  การประชุมกำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2545
                3.  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์รีสร์ท จ. พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2545 ทำให้ได้หลักสูตรสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร : มาตรฐานหลักสูตร ชื่อหลักสูตร
                     วิชาแกน วิชาบังคับ และบางส่วนวิชาเลือก
                4.  การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2546
                5.  ดำเนินการประชุมโปรแกรมวิชานาฏศิลป์ เพื่อจัดทำร่างหลักสูตร เมื่อเดือนกันยายน 2548
                6.  ศึกษาหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอื่น ๆ
                7.  ดำเนินการส่งเอกสารหักสูตรสาขานาฏศิลป์และการละคร ให้ผู้เชี่ยวชาญวิพากหลักสูตร เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548 ถึง 3 ตุลาตม 2548
                8.  ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร 3 - 14 กันยายน 2548
                9.  ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิชาศึกษาทั่วไป และวิทยาการจัดการ
                10. ปรับปรุง แก้ไข นำเสนอต่อมหาวิทยาลัย 18 กันยายน 2548

5. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

        1. ผศ. บุญศิริ นิยมทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

        2. ผศ. สุมิตร เทพวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

        3. อาจารย์เยาวมาลย์ วรรณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

        4. ผศ. สมพร แพ่งพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

        5. ผศ นงลักษณ์ ศรีเพ็ญ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์

 

************

 

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์