หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

 

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

----------------

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Laws Program

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม :  นิติศาสตรบัณฑิต
   Bachelor of Laws
ชื่อย่อ : น.บ.
  LL.B.

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1.ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มุ่งให้การศึกษาทางด้านนิติศาสตร์ โดยออกแบบให้ผู้เรียนมีความรู้ มี คุณธรรม จริยธรรมและมีความสามารถในการนำความรู้ทางกฎหมายมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่าง ถูกต้อง ตลอดจนมีแนวทางในการพัฒนาความรู้ทางด้านกฎหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำไปใช้กับสถานการณ์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเพิ่มโอกาสในการศึกษาแก่บุคคลในท้องถิ่นที่ต้องการศึกษาวิชากฎหมาย ให้มีความรู้ ความสามารถและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายให้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านกฎหมาย

        4.2.วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านกฎหมายสามารถนำความรู้ความสามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพ แก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. เพื่อผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการใช้กฎหมาย มีจิตสำนึกและรับผิดชอบในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ให้มีการช่วยเหลือและพิทักษ์สิทธิประโยชน์ของผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านกฎหมาย

5. กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป

6. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และ/หรือตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค(Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษามีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน(Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ-สกุล

วุฒิการศึกษา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1.

น.ส.จำลองลักษณ์

น.ม.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1.เอกสารประกอบการสอน

 

อินทวัน

น.บ.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

2.

น.ส.สุกัญญา บุตรสีทัด

น.บ.ท.(เนติบัณฑิตไทย)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1.เอกสารประกอบการสอน

   

น.บ.

   

3.

นายสวัสดิ์ มานิตย์

น.บ., น.ม.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

1. เอกสารประกอบการสอน

4.

ดร.ไชยรัตน์ ปรานี

กศ.ด. (วิจัยและพัฒนาหลักสูตร)

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

1.ตำรา เรื่องระเบียบ

   

 กศ.ม.(การมัธยมศึกษา)

ประสานมิตร

วิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์

   

 

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

2.งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

   

น.บ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

   

ค.บ.(สังคมศึกษา)

สถาบันราชภัฏนครวรรค์

 

       

 

5.

ผ.ศ.มนตรี แก้วเกิด

วท.ม.(การสอนชีววิทยา)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 
   

น.บ.

   
   

วท.บ.(ประมง)

   

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ-สกุล

ความรับผิดชอบ / วิชาที่สอน

ผลงานทางวิชาการ / ประสบการณ์

1.

น.ส.จำลองลักษณ์

-กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

1.เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม

 

อินทวัน

-กฎหมายลักษณะบุคคล

-คำอธิบายกฎหมายนิติกรรมและสัญญา

 

น.ม.

-กฎหมายลักษณะครอบครัว

-คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณา

 

น.บ.

-กฎหมายอาญา1:ภาคทั่วไป

ความอาญา

   

-กฎหมายอาญา 2:ภาคความผิด

 
   

-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

2.

นางสาวสุกัญญา บุตรสีทัด

-กฎหมายลักษณะประกันด้วยบุคคลและ

1.เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม

 

น.บ.ท.(เนติบัณฑิตไทย)

ทรัพย์

-คำอธิบายกฎหมายธุรกิจ

 

น.บ.

-กฎหมายหุ้นส่วนและบริษัท

-คำอธิบายกฎหมายละเมิด

   

-กฎหมายลักษณะละเมิด

 
   

-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 
   

-พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

3.

นายสวัสดิ์ มานิตย์

-กฎหมายธุรกิจ

1.เอกสารประกอบการสอน

   

-หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

 
   

-กฎหมายล้มละลาย

 

4.

ดร.ไชยรัตน์ ปรานี

-นิติปรัชญา

-งานวิจัย 8 เรื่อง

 

กศ.ด. (วิจัยและพัฒนาหลักสูตร)

-อาชญาวิทยาและฑัณทวิทยา

 
 

กศ.ม.(การมัธยมศึกษา)

-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 
 

ค.บ.(สังคมศึกษา)

-การใช้และการตีความกฎหมาย

 
 

น.บ.

   

5.

นายเสริมศักดิ์ รูปต่ำ

-กฎหมายรัฐธรรมนูญ

1.เอกสารประกอบการสอน

 

M.A.(Public Admn.)

-กฎหมายปกครอง

-วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ

 

พธ.บ. (ภาษาอังกฤษ)

 

2.านวิจัย 2 เรื่อง

6.

ผศ.ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์

-ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

1.เอกสารประกอบการสอน 2เล่ม

 

M.A.(Political Science)

-นิติปรัชญา

2.ผลงานวิจัย 7 เรื่อง

 

พธ.บ.(สังคมศึกษา)

   

7.

ดร. สนั่น กัลปา

-กฎหมายรัฐธรรมนูญ

1.เอกสารประกอบการสอน

 

Ph.D.(Pol.Sci.)

 

-คำอธิบายกฎหมายรัฐธรรมนูญ

 

M.A.(Pol.Sci.)

 

2.บทความทางวิชาการ 6 เรื่อง

 

พ.ธบ.(ศาสนา)

   

8.

นายสมญา อินทรเกษตร

-กฎหมายปกครอง

1.งานวิจัย 6 เรื่อง

 

พบ.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์)

   
 

ศศ.บ.(รัฐศาสตร์)

   

9.

น.ส.ชนันทิพย์ จันทรโสภา

-กฎหมายปกครอง

1.บทความทางวิชาการ 1 เรื่อง

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

-กฎหมายมหาชน

 
 

ศศ.บ.(นิเทศศาสตร์)

   

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที

ชื่อ- สกุล

ความรับผิดชอบ / วิชาที่สอน

ผลงานทางวิชาการ / ประสบการณ์

1.

นายสุโรจน์ จันทรพิทักษ์

-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

1.เอกสารประกอบการสอน 2 เรื่อง

 

(ผู้พิพากษาศาลจังหวัด

-กฎหมายปกครอง

-วิชากฎหมายปกครอง

 

นครสวรรค์)

-กฎหมายแรงงาน

-วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

   

2.

นายวินัย เลิศประเสริฐ

-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1.เอกสารประกอบการสอน 1เรื่อง

 

(ผู้พิพากษาศาลจังหวัด นครสวรรค์)

 

-วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

   

3.

นายมงคล แสงอรุณ

-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

1.เอกสารประกอบการสอน1เรื่อง

 

(ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชัยนาท)

 

-วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

   

4.

นายมนพ ยิ่งยมสาร

-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1.เอกสารประกอบการสอน1เรื่อง

 

(ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชัยนาท)

 

-วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความ

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

 

อาญา

5.

นายพรสวัสดิ์ บุญยิ่ง

-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

1.เอกสารประกอบการสอน1เรื่อง

 

น.บ.

-กฎหมายลักษณะพยาน

-วิชากฎหมายลักษณะพยาน

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

   

6.

นายเกียรติศักดิ์ วรวิทย์รัตนกุล

-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1.เอกสารประกอบการสอน1เรื่อง

 

น.บ.

-พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

-วิชาพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

   

7.

นายธรรมนูญ โพธิยาสานนท์

-กฎหมายลักษณะมรดก

1.เอกาสารประกอบการสอน1เรื่อง

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

-กฎหมายอาญา1:หลักทั่วไป

-วิชากฎหมายลักษณะมรดก

   

-กฎหมายอาญา2:ภาคความผิด

 
   

-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

 
   

-กฎหมายลักษณะละเมิด

 
   

-กฎหมายลักษณะหนี้

 

8.

นางสาวสมลักษณ์ กีรติศิริกุล

-กฎหมายลักษณะหนี้

1.เอกสารประกอบการสอน 3 เล่ม

 

น.บ.,เนติบัณฑิตไทย

-กฎหมายลักษณะละเมิด

-วิชากฎหมายลักษณะหนี้

   

-เอกเทศสัญญา1

-วิชาเอกเทศสัญญา 1

   

- เอกเทศสัญญา2

-วิชาเอกเทศสัญญา 2

   

- เอกเทศสัญญา3

 

9.

นายประโยชน์ ชาญธัญกรรม

-กฎหมายล้มละลาย

1.เอกสารประกอบการสอน 1 เล่ม

 

น.บ.

-เอกเทศสัญญา1

-วิชากฎหมายล้มละลาย

     

2.งานวิจัย1เรื่อง

10.

นายกิจจา มหาวิจิตร

-กฎหมายลักษณะทรัพย์และที่ดิน

1.เอกสารประกอบการสอน 2 เล่ม

 

น.บ.

-กฎหมายธุรกิจ

-วิชากฎหมายลักษณะทรัพย์และที่ดิน

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

-กฎหมายปกครอง

-วิชากฎหมายปกครอง

     

2.งานวิจัย 1เรื่อง

11.

พ.ต.ท.นิกร ขวัญเมือง

-กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

1.เอกสารประกอบการสอน1เล่ม

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

 

-วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

12.

พ.ต.ท.สุพจน์ พรหมพิทักษ์

-กฎหมายอาญา1:ภาคทั่วไป

1.เอกสารประกอบการสอน1เล่ม

 

ศศ.ม.(รัฐศาสตร์)

-กฎหมายอาญา2:ภาคความผิด

-วิชากฎหมายอาญา1 ภาคทั่วไป

13. จำนวนนักศึกษา

จำนวนนักศึกษา / ชั้นปี

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

80

80

80

80

ชั้นปีที่ 2

-

40

80

80

80

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

80

80

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

80

รวม

40

120

200

280

320

บัณฑิตที่คาดว่าจะจบการศึกษา

     

40

80

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 จัดการเรียนการสอนตามห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กำหนด

        14.2 ห้องปฏิบัติการทางกฎหมาย 1 ห้อง

        14.3 โสตทัศนวัสดุ เช่น โปรเจกเตอร์มัลติมีเดีย วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์

        14.4 แหล่งฝึกประสบการวิชาชีพ เช่น สำนักงานศาล สำนักงานอัยการจังหวัด ราชทัณฑ์ สำนักงานคุมประพฤติ สำนักงานบังคับคดี สำนักงานทนายความ และหน่วยงานราชการอื่นๆ

15.ห้องสมุด

        หนังสือ ตำราเรียน วารสาร และเอกสารอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับโปรแกรมวิชานิติศาสตร์ในสำนักวิทยบริการมีประมาณ 155 ฉบับ ดังตัวอย่าง

ลำดับ

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

1

กฎหมายปกครอง

นิติน ออรุ่งโรจน์

5

2

กฎหมายว่าด้วยประกันด้วยบุคคลและทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

ปิติกุล จีระมงคลพาณิชย์

5

3

กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยประกันภัย บรรพ12

จิตติ ติงศภัทิย์

5

4

กฎหมายกฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ

โกศล ฉันธิกุล

5

5

การดำเนินคดีแพ่งว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด

ธนะชัย ผดุงธิติ

5

6

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2546

วรเจตน์ ภาคีรัตน์

5

7

คำบรรยายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาคบังคับคดี

ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

5

8

คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หนี้

โสภณ รัตนากร

5

9

คำอธิบาย หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์

5

10

คำอธิบายกฎหมายซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ บรรพ 3 แก้ไขเพิ่มเติม

ไผทชิต เอกจริยกร

5

11

คำอธิบายกฎหมายจ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน บรรพ 5

ไผทชิต เอกจริยกร

5

12

คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง บรรพ 4

ชาญชัย แสวงศักดิ์

5

13

คำอธิบายประมวลกฎหมายที่ดิน

สมจิตร ทองประดับ

5

14

คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว

ประสพสุข บุญเดช

5

15

คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มรดก

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง

5

16

คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ

ปัญญา ถนอมรอด

5

17

คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ.3

มานิตย์ จุมปา

5

18

คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 ตอน 2

อุดม เฟื่องฟุ้ง

5

19

คำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 3 อุทธรณ์และฎีกา

อุดม เฟื่องฟุ้ง

5

20

คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2545

ไชยยศ เหมะรัชตะ

5

21

ชุดย่อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นิติกรรม พิมพ์ครั้ง ที่ 6 พ.ศ. 2547

ไชยยศ เหมะรัชตะ

5

22

พยานหลักฐานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. 2547

พิชัย นิลทองคำ

5

23

พยานหลักฐานประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. 2547

พิชัย นิลทองคำ

5

24

ย่อหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ตัวแทน นายหน้า ประกันภัย

สุชาติ รุ่งทรัพยธรรม

5

25

ย่อหลักกฎหมายแรงงาน พื้นฐานความรู้ทั่วไปกฎหมายแรงงาน พ.20

วิจิตรา วิเชียรชม

5

26

ลักษณะของกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา บรรพ 4

ไชยยศ เหมะรัชตะ

5

27

ศาลปกครองและการดำเนินคดีในศาลปกครอง บรรพ 2 ปรับปรุงใหม่

ฤทัย หงส์ศิริ

5

28

หลักกฎหมายพยาน พ.ศ. 2546

สุจิต ปัญญาพฤก

5

29

หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น พ.5/2547

โภคิน ผลกุล

5

30

หลักกฎหมายละเมิด พิมพ์ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2546

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง

5

31

อธิบายหลักกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3

สนิท สนั่นศิลป์

5

16.งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2549

2550

2551

2552

2553

งบดำเนินการ

 

 

 

 

 

    -  ค่าตอบแทน 20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

    -  ค่าใช้สอย 30,000

30,000

30,000

30,000

30,000

    -  ค่าวัสดุ 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000

รวมงบดำเนินการ

80,000

80,000

80,000

80,000

80,000

งบลงทุน

 

 

 

 

    -  ค่าครุภัณฑ์

20,000 20,000 20,000 20,000 -
    -  ค่าที่ดิน - - - -

รวมงบลงทุน

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

รวมทั้งหมด

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

    * หมายเหตุ : เป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเป็นรายปีจากมหาวิทยาลัย

17. หลักสูตร

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

  1. วิชาภาษาและการสื่อสาร

9

  2. วิชามนุษยศาสตร์

8

  3. วิชาสังคมศาสตร์

6

  4. วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

103

  1. วิชาแกน

26

  2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

54

  3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

18

  4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

140

        17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        รายวิชาตามหลักสูตรมีดังต่อไปนี้

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 103 หน่วยกิต

            1. วิชาแกน จำนวน 26 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2461108

นิติปรัชญา

3 (3-0-6)

 

Philosophy of Law

 

2461301

กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป

3 (3-0-6)

 

Civil Law : General Principles

 

2461302

กฎหมายลักษณะบุคคล

2(2-0-4)

 

Legitimate Persons

 

2461501

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

3 (3-0-6)

 

Constitutional Law

 

2312702

ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

3 (3-0-6)

 

English for Lawyer

 

2313702

ภาษาอังกฤษสำหรับสังคมศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Social Science

 

4311704

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3 (2-2-5)

Computer and Information Technology

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

General Economics

2452310

ทฤษฎีองค์การและการจัดการภาครัฐ

3 (3-0-6)

            2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 54 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2461303

กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

3 (3-0-6)

 

Juristic Act and Contract

 

2462304

กฎหมายลักษณะหนี้ หลักทั่วไป

3 (3-0-6)

 

Obligation : General Principles

 

2462305

กฎหมายลักษณะทรัพย์สินและที่ดิน

3 (3-0-6)

 

Property Law and Land Law

 

2462306

กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้

3 (3-0-6)

 

Delict

 

2462307

เอกเทศสัญญา 1

3 (3-0-6)

 

Specific Contracts 1

 

2462308

เอกเทศสัญญา 2

3 (3-0-6)

 

Specific Contracts 2

 

2462309

กฎหมายลักษณะประกันด้วยบุคคลและทรัพย์

2 (2-0-4)

 

Secured Transaction

 

2462310

กฎหมายลักษณะประกันภัย

2 (2-0-4)

 

Insurance Law

 

2462503

กฎหมายอาญา1:ภาคทั่วไป

3 (3-0-6)

 

Criminal Law 1 : General Principles

 

2462504

กฎหมายอาญา 2 : ภาคความผิด

3 (3-0-6)

 

Criminal Law 2 : Offences

 

2463311

กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

3 (3-0-6)

 

Bills and Notes

 

2463312

กฎหมายลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท

3 (3-0-6)

 

Partnership and Company

 

2463313

กฎหมายครอบครัว

3 (3-0-6)

 

Family Laws

 

2463314

กฎหมายมรดก

3 (3-0-6)

 

Succession

 

2463506

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

3 (3-0-6)

 

Law of Civil Procedures

 

2463507

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง : ภาคบังคับคดี

3 (3-0-6)

 

Law of Civil Procedures : Provisional Measures and Execution of Judgements

2463508

กฎหมายลักษณะพยาน

3 (3-0-6)

 

Law of Evidence

 

2463509

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2 (2-0-4)

 

Constitution of Courts of Justice

 

2463510

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3 (3-0-6)

 

Criminal Procedure

 

            3. วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 18 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2461102

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

3 (3-0-6)

 

Principles of jurisprudence

 

2461103

อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา

3 (3-0-6)

 

Criminology and Penology

 

2461104

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

2 (2-0-4)

 

Thai Legal History

 

2461105

การใช้และการตีความกฎหมาย

3 (3-0-6)

 

Application and Interpretation of Law

 

2461106

ภาษากฎหมายไทย

3 (3-0-6)

 

Thai Law Language

 

2461107

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

3 (3-0-6)

 

Public Laws

 

2461201

กฎหมายกับชีวิต

3 (3-0-6)

 

Law and Life

 

2461316

กฎหมายธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Business Laws

 

2461502

กฎหมายมหาชนเบื้องต้น

2 (2-0-4)

 

Introduction to Public Law

 

2461505

กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาปกครอง

3 (3-0-6)

 

Administrative law and Procedures

 

2462515

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

3 (3-0-6)

 

Law of Juvenile Delinquency

 

2462516

กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

3 (3-0-6)

 

Law of Administration of State affairs

 

2463315

เอกเทศสัญญา 3

2 (2-0-4)

 

Specific Contracts 3

 

2463402

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และวิธีพิจารณาคดีใน

2 (2-0-4)

 

ศาลทรัพย์สินทางปัญญา

 
 

Intellectual Estate and Procedure Intellectual Property

 

2463403

นิติเวชศาสตร์

3 (3-0-6)

 

Forensic Medicine

 

2463512

กฎหมายล้มละลาย

3 (3-0-6)

 

Bankruptcy Law

 

2463513

กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

3 (3-0-6)

 

Labour Law and Procedure

 

2463517

กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ

3 (3-0-6)

 

Comparative Constitution Law

 

2463521

การสืบสวนและการสอบสวน

3 (3-0-6)

 

Criminal Process

 

2463601

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

2 (2-0-4)

 

Private International Law

 

2463602

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

2 (2-0-4)

 

Public International Law

 

2463603

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

3 (3-0-6)

 

Law of International Business

 

2463704

หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

3 (3-0-6)

 

Principles of Legal Profession

 

24636705

กฎหมายเกี่ยวกับสหกรณ์

3 (3-0-6)

 

Cooperative Laws

 

2463706

กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

3 (3-0-6)

 

Law and Ethics of Mass Communication

 

2463707

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3 (3-0-6)

 

Tourism Laws

 

2463708

กฎหมายธุรกิจเกษตร

3 (3-0-6)

 

Business Agriculture Laws

 

2464401

การว่าความและศาลจำลอง

3 (3-0-6)

 

Advocacy and Moot Court

 

2464511

กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการคลังของรัฐ

3 (3-0-6)

 

Public Financial Law

 

2464514

กฎหมายภาษีอากร

3 (3-0-6)

 

Taxation

 

2464518

สัมมนากฎหมายแพ่ง

3 (3-0-6)

 

Seminar in Civil Law

 

2464519

สัมมนากฎหมายอาญา

3 (3-0-6)

 

Seminar in Criminal Law

 

2464520

กฎหมายอนุญาโตตุลาการ

3 (3-0-6)

 

Arbitrator

 

            4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2464801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย

5(450)

 

Field Experience in Law

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ผู้เรียนถนัดหรือสนใจโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนในโครงสร้างของหลักสูตรโปรแกรมวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

กศ.ทั่วไป

     

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

1500104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2500102

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2500105

บริบททางสังคมกับการเรียนรู้

2(2-0-4)

 

เฉพาะด้าน

     

2461501

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

3(3-0-6)

 

2461301

กฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป

3(3-0-6)

 

2461302

กฎหมายลักษณะบุคคล

2(2-0-4)

 

2461108

นิติปรัชญา

3(3-0-6)

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

กศ.ทั่วไป

     

1540102

ภาษาไทยเพื่อการค้นคว้า

2(2-0-4)

 

1550102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

2(2-0-4)

 

1000101

พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2500106

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

 

2500103

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

เฉพาะด้าน

     

2461303

กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

3(3-0-6)

 

2462304

กฎหมายลักษณะหนี้:หลักทั่วไป

3(3-0-6)

 

2462305

กฎหมายลักษณะทรัพย์สินและที่ดิน

3(3-0-6)

 

2462503

กฎหมายอาญา1:ภาคทั่วไป

3(3-0-6)

 

รวม

22

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

กศ.ทั่วไป

     

1630101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

 

1150103

ภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

เฉพาะด้าน

     

2462504

กฎหมายอาญา 2: ภาคความผิด

3(3-0-6)

 

2462306

กฎหมายลักษณะละเมิด การจัดการงานนอกสั่ง

3(3-0-6)

 

2462307

เอกเทศสัญญา 1

3(3-0-6)

 

2462309

กฎหมายลักษณะประกันด้วยบุคคลและทรัพย์

2(2-0-4)

 

รวม

 

21

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

กศ.ทั่วไป

     

2500104

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

21000102

กีฬาและนันทนาการ

2(2-0-4)

 

เฉพาะด้าน

     

2462308

เอกเทศสัญญา 2

3(3-0-6)

 

2463311

กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

3(3-0-6)

 

2463312

กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วนและบริษัท

3(3-0-6)

 

2461505

กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

3(3-0-6)

 

2462310

กฎหมายลักษณะประกันภัย

2(2-0-4)

 

การจัดการ

     

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

เฉพาะด้าน

     

2312702

ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

3(3-0-6)

 

2463314

กฎหมายลักษณะมรดก

3(3-0-6)

 

2463313

กฎหมายลักษณะครอบครัว

3(3-0-6)

 

2463506

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

3(3-0-6)

 

2463509

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2(2-0-4)

 

การจัดการ

     

2452310

ทฤษฎีองค์การและการจัดการภาครัฐ

3(3-0-6)

 

เลือกเสรี

     

*******

เลือกเสรี 1

3(3-0-6)

 

รวม

20

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

เฉพาะด้าน

     

2313702

ภาษาอังกฤษสำหรับสังคมศาสตร์

3(3-0-6)

 

2463508

กฎหมายลักษณะพยาน

3(3-0-6)

 

2463507

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง:ภาคบังคับคดี

3(3-0-6)

 

2463510

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3(3-0-6)

 

2464511

กฎหมายเกี่ยวกับการเงินและการคลังของรัฐ

3(3-0-6)

 

เลือกเสรี

     

*******

เลือกเสรี 2

3(3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

เฉพาะด้าน

     

2463704

หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

3(3-0-6)

 

2463512

กฎหมายล้มละลาย

3(3-0-6)

 

2463513

กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

3(3-0-6)

 

2464514

กฎหมายภาษี

3(3-0-6)

 

4311704

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3(2-2-5)

 

รวม

15

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2464801

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5(450)

 

รวม

5

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน

รายวิชา 2461108

นิติปรัชญา

3 (3-0-6 )

 

Philosophy of Law

 

        ศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งปัญหาการใช้กฎหมาย

รายวิชา 2461301

กฎหมายแพ่ง:หลักทั่วไป

3 (3-0-6 )

 

Civil Law : General Principles

 

        ศึกษาความเป็นมา แนวความคิดและบ่อเกิดของหลักกฎหมายเอกชนและหลักกฎหมายมหาชน รวมทั้งศึกษารายละเอียดในแง่ของความหมาย ขอบเขตการจัดประเภทและหมวดหมู่ของกฎหมาย การบัญญัติ การเปลี่ยนแปลงและการยกเลิกกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับปรากฎการณ์ทางสังคมอื่น ๆ ระบบกฎหมายที่สำคัญของโลก การใช้ การตีความ ผลบังคับและการบังคับตามกฎหมายสิทธิหน้าที่และการใช้สิทธิ รวมทั้งการใช้สิทธิเกินส่วน นิรโทษกรรม และหลักสุจริต หลักทั่วไปของกฎหมายแพ่งตามที่ได้บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1

รายวิชา 2461302

กฎหมายลักษณะบุคคล

2(2-0-4)

 

Legitimate Persons

 

        ศึกษาความหมายของบุคคลอันได้แก่ บุคคลธรรมดา นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 2 พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505

รายวิชา 2461501

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

3 (3-0-6)

 

Constitutional Law

 

        ศึกษาความหมาย ประวัติ และวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญ ประเภทของรัฐธรรมนูญ การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย และความเกี่ยวพันระหว่างอำนาจนั้น ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย

รายวิชา 2463701

ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมาย

3 (3-0-6)

 

English for Lawyer

 

        ศึกษาและไวยากรณ์ โครงสร้าง และ ฝึกทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษที่นักกฎหมายควรรู้

รายวิชา 2313702

ภาษาอังกฤษสำหรับสังคมศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Social Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ เช่น เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมวิทยา พัฒนาชุมชน สารสนเทศ เป็นต้น เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อมข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4311704

คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3 (2-2-5)

 

Computer and Information Technology

 

        ศึกษาพื้นฐานเบื้องต้นของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งในด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ศึกษาโปรแกรมประยุกต์ การนำเสนอสารสนเทศ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสังคมปัจจุบันและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ในอนาคต รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อง

            3. คำอธิบายรายวิชา หมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน

รายวิชา 2461102

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

3(3-0-6)

 

Principles of jurisprudence

 

        ศึกษาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ได้แก่ ความหมาย ประเภท ความสำคัญ การจัดทำ การใช้ การยกเลิก และกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ศึกษากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา เฉพาะในส่วนที่เป็นความรู้เบื้องต้น

รายวิชา 2461103

อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา

3(3-0-6)

 

Criminology and Penology

 

        ศึกษาความหมายและขอบข่ายของวิชาอาชญาวิทยา สถิติอาชญากรรม สภาพและสาเหตุของ อาชญากรรม กระบวนการยุติธรรมกับอาชญากรรม พฤติกรรมของผู้กระทำความผิด การป้องกันอาชญากรรม ความหมายและขอบเขตของทัณฑวิทยา การบริหารงานเรือนจำ การคุมประพฤติ และการพักการลงโทษ ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆ ในขอบเขตของนิติอาชญา และทัณฑวิทยา

รายวิชา 2461104

ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

2(2-0-4)

 

Thai Legal History

 

        ศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมและสังคมดั้งเดิม ซึ่งเป็นรากฐานของสถาบันทางกฎหมายที่สำคัญ ของไทย อิทธิพลของแนวความคิด หลักกฎหมายและระบบกฎหมายของอินเดีย และประเทศตะวันตกที่มีต่อวิวัฒนาการของกฎหมายไทย ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การจัดทำประมวลกฎหมาย

รายวิชา 2461105

การใช้และการตีความกฎหมาย

3(3-0-6)

 

Application and Interpretation of Law

 

        ศึกษาหลักทั่วไปในการตีความกฎหมาย การตีความกฎหมายของระบบกฎหมายต่างๆ องค์กรที่ตีความกฎหมาย วิธีการและแนวทางที่ใช้ในการตีความกฎหมาย ผลของการตีความกฎหมายทั้งในทางแพ่งและทางอาญา

รายวิชา 2461106

ภาษากฎหมายไทย

3 (3-0-6)

 

Thai Law Language

 

        ศึกษาถึงความหมายของถ้อยคำในกฎหมาย ซึ่งมีความหมายโดยเฉพาะและวิธีใช้ถ้อยคำเหล่านั้น

รายวิชา 2461107

กฎหมายเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

3(3-0-6)

 

Public Laws

 

        ศึกษากฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรทราบและจำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้นว่า ป.พ.พ.ว่าด้วยบุคคล ละเมิด และมรดก พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร์ พ.ร.บ.ชื่อบุคคล พ.ร.บ.การประถมศึกษา พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ร.บ.จราจร และพ.ร.บ.ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เป็นต้น

รายวิชา 2461201

กฎหมายกับชีวิต

3(3-0-6)

 

Law and Life

 

        ศึกษากฎหมายกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตในด้านต่างๆ อันได้แก่ ความสำคัญของกฎหมายต่อชีวิต การจัดทำกฎหมายของรัฐสภา กฎหมายว่าด้วยบุคคล กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การกู้ยืม ค้ำประกัน ครอบครัว มรดก กฎหมายประกันสังคม สิทธิหน้าที่ของ ผู้เสียหายและผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อเป็นพื้นฐาน

รายวิชา 2461303

กฎหมายลักษณะนิติกรรมและสัญญา

3 (3-0-6)

 

Juristic Act and Contract

 

        ศึกษาลักษณะของนิติกรรม การก่อให้เกิดนิติกรรม การแสดงเจตนา เหตุอันทำให้เจตนาเสื่อมเสีย เจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง การตีความแสดงเจตนา โมฆะและโมฆียะกรรม เงื่อนไขและเงื่อนเวลา อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 4 ถึง ลักษณะ 6 และลักษณะของสัญญา การก่อให้เกิดสัญญา ผลแห่งสัญญา สัญญาซึ่งมีมัดจำและเบี้ยปรับ การเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 2

รายวิชา 2461316

กฎหมายธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Business Laws

 

        ศึกษากฎหมายหลักทั่วไป องค์กรธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมธุรกิจ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย นิติกรรม สัญญา หนี้ และเอกเทศสัญญา กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสินเชื่อ กฎหมาย เกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุน การคุ้มครองของผู้บริโภคและป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม กฎหมายเกี่ยวกับ การฟื้นฟูกิจการ และการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ

รายวิชา 2461502

กฎหมายมหาชนเบื้องต้น

2(2-0-4)

 

Introduction to Public Law

 

        ศึกษาสถาบันทางกฎหมายมหาชน ความหมาย องค์ประกอบ และรูปแบบของรัฐ การเป็นนิติบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ ศึกษาความหมายและความจำเป็นของการปกครองโดยกฎหมาย ความเป็นมาและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายมหาชน ขอบเขตและลักษณะเฉพาะของกฎหมายมหาชน ศึกษาบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน แนวความคิดและนิติวิธีของกฎหมายมหาชน

รายวิชา 2462304

กฎหมายลักษณะหนี้ : หลักทั่วไป

3 (3-0-6)

 

Obligation : General Principles

 

        ศึกษาความหมายของหนี้ บ่อเกิดแห่งหนี้ วัตถุแห่งหนี้ ผลแห่งหนี้ การโอนสิทธิเรียกร้องลูกหนี้เจ้าหนี้หลายคน ความระงับแห่งหนี้ ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 1

รายวิชา 2462305

กฎหมายลักษณะทรัพย์สินและที่ดิน

3 (3-0-6)

 

Property Law and Land Law

 

        ศึกษาลักษณะของทรัพย์สิน ประเภททรัพย์สิน ความเกี่ยวเนื่องระหว่างทรัพย์เครื่องอุปกรณ์และ ดอกผล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 3 และหลักทั่วไปของทรัพย์สิน ชนิดของทรัพย์สินการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 และหลักสำคัญของกฎหมายที่ดินกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดิน

รายวิชา 2462306

กฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้

3 (3-0-6)

 

Depict

 

        ศึกษาในเรื่องลักษณะหนี้ซึ่งเกิดโดยมิได้มีสัญญา ได้แก่ ละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 2 ลักษณะ 5 จัดการนอกสั่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 3 ลาภ มิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4

รายวิชา 2462307

เอกเทศสัญญา 1

3 (3-0-6)

 

Specific Contracts 1

 

        ศึกษาหลักกฎหมาย ลักษณะซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ และเช่าซื้อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3

รายวิชา 2462308

เอกเทศสัญญา 2

3 (3-0-6)

 

Specific Contracts 2

 

        ศึกษาลักษณะของเอกเทศสัญญา ได้แก่ สัญญายืม ฝากทรัพย์ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ตัวแทนและนายหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 (3-0-6) ลักษณะ 6 ลักษณะ 7 ลักษณะ 8 ลักษณะ 9ลักษณะ 10 ลักษณะ 15 และลักษณะ 16

รายวิชา 2462309

กฎหมายลักษณะประกันด้วยบุคคลและทรัพย์

2 (2-0-4)

 

Secured Transaction

 

        ศึกษาลักษณะของเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับการค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ลักษณะ 11 ลักษณะ 12 และลักษณะ 13

รายวิชา 2462310

กฎหมายลักษณะประกันภัย

2 (2-0-4)

 

Insurance Law

 

        ศึกษาลักษณะของเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับการประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 20

รายวิชา 2462503

กฎหมายภาคอาญา1 : ภาคทั่วไป

3 (3-0-6)

 

Criminal Law 1 : General Principles

 

        ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 1 ตั้งแต่มาตรา 11-106 และภาค 3ลหุโทษมาตรา 367-398

รายวิชา 2462504

กฎหมายภาคอาญา 2 : ภาคความผิด

3 (3-0-6)

  Criminal Law 2 : Offences  

วิชาบังคับก่อน : รายวิชา 2562305 กฎหมายภาคอาญา : ภาคทั่วไป

         ศึกษาหลักทั่วไปของกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตั้งแต่มาตรา 107 – 366

รายวิชา 2462505

กฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

3(3-0-6)

 

Administrative law and Procedures

 

        ศึกษาในเรื่องการปกครองของรัฐ สาระสำคัญและที่มาของกฎหมายปกครอง บริการสาธารณะ การจัดระเบียบการบริหารราชการของไทยและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

รายวิชา 2462515

กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน

3(3-0-6)

 

Law of Juvenile Delinquency

 

        ศึกษาถึงความหมายของเด็กและเยาวชน สาเหตุแห่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน การควบคุมและแก้ไขเด็กและเยาวชนกระทำความผิดด้วยวิธีการของศาลเยาวชนและครอบครัว หลักสำคัญของกฎหมาย จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 2462516

กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

3(3-0-6)

 

Law of Administration of State affairs

 

        ศึกษาในเรื่องหลักสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับ การบริหารราชการแผ่นดินของไทย

รายวิชา 2463311

กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน

3 (3-0-6)

 

Bills and Notes

 

        ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3

รายวิชา 2463312

กฎหมายลักษณะห้างหุ้นส่วนและบริษัท

3 (3-0-6)

 

Partnership and Company

 

        ศึกษาหลักกฎหมายลักษณะหุ้นส่วน-บริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 ลักษณะ 23

รายวิชา 2463313

กฎหมายครอบครัว

3 (3-0-6)

 

Family Laws

 

        ศึกษาความเป็นมาของกฎหมายครอบครัวเกี่ยวกับการสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับบุตร และค่าอุปการะเลี้ยงดู ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5

รายวิชา 2463314

กฎหมายมรดก

3 (3-0-6)

 

Succession

 

        ศึกษาลักษณะกฎหมายมรดกเกี่ยวกับบทบัญญัติทั่วไป สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก พินัยกรรม วิธี จัดการและปันทรัพย์มรดก มรดกที่ไม่มีผู้รับ อายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6

รายวิชา 2463315

เอกเทศสัญญา 3

3(3-0-6)

 

Specific Contracts 3

 

        ศึกษาลักษณะของเอกเทศสัญญา ได้แก่ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ การพนัน ขันต่อ และบัญชีเดินสะพัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 14 ลักษณะ 17 ลักษณะ 18 และลักษณะ 19

รายวิชา 2463402

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและวิธีพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญา

2(2-0-4)

 

Intellectual Estate and Procedure Intellectual Property

 

        ศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้า ตลอดจนวิธีพิจารณาคดีใน ศาลทรัพย์สินทางปัญญา

รายวิชา 2463403

นิติเวชศาสตร์

3(3-0-6)

 

Forensic Medicine

 

        ศึกษาประวัติและความมุ่งหมายของนิติเวชศาสตร์ อันเป็นวิทยาการทางการแพทย์ โดยเน้นการชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการตายทางวิทยาศาสตร์ที่สัมพันธ์กับการใช้กฎหมาย อันเป็นการพิสูจน์หลักฐานสำหรับการดำเนินคดีในทางอาญาและทางแพ่ง

รายวิชา 2463506

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

3 (3-0-6)

 

Law of Civil Procedures

 

        ศึกษาหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยบททั่วไป วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1-2-3

รายวิชา 2463507

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง:ภาคบังคับคดี

3 (3-0-6)

 

Law of Civil Procedures : Provisional Measurs and Execution of Judgements

 
วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 2563504 กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

        ศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4

รายวิชา 2463508

กฎหมายลักษณะพยาน

3 (3-0-6)

 

Law of Evidence

 

        ศึกษาลักษณะและกฎเกณฑ์การสืบพยานหลักฐานของศาล ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา หลักในการรับฟัง และไม่รับฟังพยานหลักฐาน หลักเกี่ยวกับพยาน ความเห็นข้อที่ศาลรู้เอง ข้อสันนิษฐาน หน้าที่นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 1 ลักษณะ 5 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 5

รายวิชา 2463509

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม

2(2-0-4)

 

Constitution of Courts of Justice

 

        ศึกษากฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อำนาจศาล และอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี รวมถึงระบบตุลาการ และกฎหมายการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง

รายวิชา 2463510

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

3(3-0-6)

 

Criminal Procedure

 

        ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับหลักทั่วไปวิธีพิจารณา ในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

รายวิชา 2463512

กฎหมายล้มละลาย

3(3-0-6)

 

Bankruptcy Law

 

        ศึกษาประวัติและหลักสำคัญของกฎหมายล้มละลาย การฟ้องร้องคดีล้มละลาย การพิทักษ์ทรัพย์ การยึดทรัพย์ การพิพากษาให้ล้มละลาย การปลดจากการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย

รายวิชา 2463513

กฎหมายแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

3(3-0-6)

 

Labour Law and Procedure

 

        ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายแรงงานไทย กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

รายวิชา 2463517

กฎหมายรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ

3(3-0-6)

 

Comparative Constitution Law

 

        ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย กับกฎหมายรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ

รายวิชา 2463521

การสืบสวน และการสอบสวน

3(3-0-6)

 

Criminal Process

 

        ศึกษากระบวนการยุติธรรมในคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน การสืบสวนและการสอบสวนในการกระทำความผิดอาญา สิทธิของผู้ต้องหาตามกฎหมาย

รายวิชา 2463601

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

2(2-0-4)

 

Private International Law

 

        ศึกษาหลักทั่วไปและแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พระราชบัญญัติสัญชาติ เป็นต้น

รายวิชา 2463602

กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง

2(2-0-4)

 

Public International Law

 

        ศึกษาความหมายกฎหมายระหว่างประเทศ ความหมายของคำว่ารัฐ การระงับกรณีพิพาทระหว่างรัฐโดยสันติวิธี การระงับกรณีพิพาทโดยไม่ถึงกับทำสงคราม กฎหมายสงครามและความเป็นกลาง

รายวิชา 2463603

กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ

3(3-0-6)

 

Law of International Business

 

        ศึกษาวิวัฒนาการและที่มาของกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ การขัดกันแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับแก่สัญญาการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายเอกภาพสำหรับการซื้อขายระหว่างประเทศ การแทรกแซงของรัฐ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศซึ่งตกอยู่ภายใต้กฎหมายของ GATT และUNCTAD สัญญาการผลิตระหว่างประเทศ การชำระเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศ การขนส่งทางทะเล การประกันภัย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการค้าระหว่างประเทศโดยห้างหุ้นส่วนและกระบวนการการระงับข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ

รายวิชา 2463704

หลักวิชาชีพนักกฎหมาย

3(3-0-6)

 

Principles of Legal Profession

 

        ศึกษาในเรื่องวิวัฒนาการของวิชาชีพนักกฎหมาย หน้าที่และงานของนักกฎหมายในสาขาต่าง ๆ มารยาทและวินัย อุดมคติและจริยธรรมของนักกฎหมาย องค์การก่อตั้งและควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย

รายวิชา 2463705

กฎหมายเกี่ยวกับสหกรณ์

3(3-0-6)

 

Cooperative Laws

 

        ศึกษา พ.ร.บ.สหกรณ์ กฎกระทรวง กฤษฎีกา พระราชกำหนด กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์

รายวิชา 2463706

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายสื่อมวลชน

3(3-0-6)

 

Law and Ethics of Mass Communication

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศึกษาเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของมนุษย์ กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์และหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย ลิขสิทธิ์ในประเทศและระหว่างประเทศ กฎหมายสื่อมวลชนและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน

รายวิชา 2463707

กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว

3(3-0-6)

 

Tourism Laws

 

        ศึกษาความสำคัญและสาระสำคัญของระเบียบและกฎหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 พ.ร.บ.แห่ง การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 พ.ร.บ. โรงแรม พ.ศ.2478 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511

รายวิชา 2463708

กฎหมายธุรกิจเกษตร

3(3-0-6)

 

Business Agriculture Laws

 

        ศึกษาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเอกเทศสัญญาว่าด้วยเรื่อง ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ขายฝากจำนอง ฯลฯ พ.ร.บ. ป่าสงวนพ.ร.บ.สหกรณ์ที่ดินเพื่อการเกษตร และพ.ร.บ.อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร

รายวิชา 2464401

การว่าความและศาลจำลอง

3(3-0-6)

 

Advocacy and Moot Court

 

        ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการว่าความ การเตรียมคดี การร่างคำฟ้อง การร่างคำให้การ การถามค้าน วิธีแถลง คัดค้านหรือข้อต่อสู้ วิธีซักถามพยาน การถามติง การร่างคำแถลงสำนวน หลักสำคัญของกฎหมายทนายความและข้อบังคับเกี่ยวกับทนายความ และการจัดศาลจำลอง โดยจัดให้มีการฝึกภาคปฏิบัติตาม รูปแบบของ ศาลยุติธรรม

รายวิชา 2464511

กฎหมายเกี่ยวกับการเงินการคลังของรัฐ

3(3-0-6)

 

Public Financial Law

 

        ศึกษาหลักกฎหมายการคลังที่เกี่ยวกับการเงิน การคลัง วิธีการงบประมาณ และระบบภาษีอากร หลักเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเงินและการคลัง ซึ่งองค์กรของรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ

รายวิชา 2464514

กฎหมายภาษีอากร

3(3-0-6)

 

Taxation

 

        ศึกษาในหลักการของภาษีอากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้ นิติบุคคล ภาษีการค้าและภาษี มูลค่าเพิ่ม ตามประมวลรัษฎากร

รายวิชา 2464518

สัมมนากฎหมายแพ่ง

3(3-0-6)

 

Seminar in Civil Law

 
วิชาก่อนบังคับก่อน : สอบได้วิชาบังคับในกลุ่มกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือได้รับอนุมัติจากอาจารย์ผู้สอน

        ศึกษาในรูปของการจัดให้มีการสัมมนาในปัญหาสำคัญต่างเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องในวิชากฎหมายแพ่งเพื่อทบทวน และเพิ่มความชำนาญในทางปฏิบัติ

รายวิชา 2464519

สัมมนากฎหมายอาญา

3(3-0-6)

 

Seminar in Criminal Law

 
วิชาบังคับก่อน:กฎหมายอาญา 2:ภาคความผิด

        ศึกษาในรูปแบบของการจัดให้มีการสัมมนาในปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายเรื่องในวิชากฎหมายอาญาที่ได้ศึกษาในชั้นมาแล้ว เพื่อทบททวนและเพิ่มความชำนาญในทางปฏิบัติ

รายวิชา 2464520

กฎหมายอนุญาโตตุลาการ

3(3-0-6)

 

Arbitrator

 

        ศึกษาแนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ แนวทางการใช้อนุญาโตตุลาการ ได้แก่อนุญาโตตุลาการที่แต่งตั้งขึ้นโดยองค์กรทางเอกชน และอนุญาโตตุลาการที่แต่งตั้งขึ้นโดยองค์กรของรัฐตลอดจนกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ

 

            4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

รายวิชา 2464801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย

5(450)

 

Field Experience in Law

 

        ฝึกงานทางด้านกฎหมาย ในองค์การภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เกี่ยวกับวิชาชีพกฎหมาย

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

        18.1 การบริหารหลักสูตร

                1.  กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2.  แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3.  จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4.  จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5.  มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6.  จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7.  มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8.  มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9.  ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10.  จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

        18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1.  จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2.  จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3.  จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4.  ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5.  มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6.  มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

        18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1.  จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2.  จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3.  จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4.  ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5.  จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

        18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1.  สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2.  สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3.  สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4.  สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1.  มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2.  มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3.  มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4.  มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5.  มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6.  มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1.  ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอน ปีละครั้ง
                2.  ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอด
                3.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4.  ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5.  มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

****************

 

ภาคผนวก

 

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มีกระบวนการร่างหลักสูตร ดังต่อไปนี้

        1. กระบวนการร่างหลักสูตร

                1.1. มหาวิทยาลัยจัดประชุมฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิคือ ศ.ดร.ปรัชญาเวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวาพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

                1.2. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28-30 ตุลาคม 2545

                 1.3. สำรวจความคิดเห็นของบัณฑิตและประชาชนทั่วไป อีกทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548

                1.4. ศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์จากสถาบันอื่น ๆ เช่น หลักสูตรนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

                1.5. ดำเนินการประชุมเพื่อร่างหลักสูตร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 โดยมีคณะกรรมการร่างหลักสูตรดังนี้

                        1.5.1. ดร.ไชยรัตน์ ปรานี
                        1.5.2. นางสาววณิชยา พ่วงเจริญ
                        1.5.3. นางสาวสุกัญญา บุตรสีทัด

                1.6. ประชุมปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร ณ ห้อง 224 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2548โดยมีกรรมการการวิพากษ์หลักสูตรและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น ดังต่อไปนี้

                        1.6.1. ผศ.ไพศาล สรรสรวิสุทธิ์
                        1.6.2. ดร.ไชยรัตน์ ปรานี
                        1.6.3. ดร.สนั่น กัลปา
                        1.6.4. อาจารย์สมญา อินทรเกษตร
                        1.6.5. อาจารย์เสริมศักดิ์ รูปต่ำ
                        1.6.6. อาจารย์วณิชยา พ่วงเจริญ
                        1.6.7. อาจารย์สุกัญญา บุตรสีทัด
                        1.6.8. อาจารย์ชนันทิพย์ จันทรโสภา
                        1.6.9. อาจารย์พรสวัสดิ์ บุญยิ่ง
                        1.6.10. อาจารย์ธรรมนูญ โพธิยาสานนท์
                        1.6.13. อาจารย์สุโรจน์ จันทรพิทักษ์
                        1.6.14. พ.ต.ต. สุพจน์ พรหมพิทักษ์
                        1.6.15. ด.ต. วิรัตน์ ศิริกุล
                        1.6.16. อาจารย์ปิยชาติ อ้นสุวรรณ์

                1.7. ประชุมปรับปรุงเพื่อแก้ไขหลักสูตร เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548

                1.8. ไปศึกษาดูงานหลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 8-9 กันยายน 2548

                1.9. นำหลักสูตรให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากส่วนกลางพิจารณา ในวันที่ 15-16 กันยายน 2548

                1.10. ประชุมปรับปรุงเพื่อแก้ไขหลักสูตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548

                1.11. นำเสนอกรรมการพัฒนาหลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตามลำดับเพื่อพัฒนา

                1.12. คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกวิพากษ์หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ดังรายนามต่อไปนี้

                        1.12.1 ศ.ดร.คณิต ณ นคร
                        1.12.2. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์
                        1.12.3. รศ.ดร.อุดม รัฐอมฤต
                        1.12.4. ผศ.ดร.วีรวัฒน์ จันทโชติ

ตาราง แสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรปรับปรุง

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

นิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

คงเดิม

 

2

ชื่อปริญญา

นิติศาสตรบัณฑิต

คงเดิม

 

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

.. ข้อ

4 ข้อ

ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม

5

หลักสูตร

ไม่มีข้อกำหนดรายวิชาคอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษ

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 นก. เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก. และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า ....... หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า .......... หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

(2) หมวดวิชาเฉพาะ

(......... หน่วยกิต)

(......... หน่วยกิต)

 

2.1 วิชาแกน

(........  หน่วยกิต)

(...... ... หน่วยกิต)

 

2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

(......... หน่วยกิต)

(...... ... หน่วยกิต)

 

2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

(......... หน่วยกิต)

(..... .... หน่วยกิต)

 

2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

(......... หน่วยกิต)

(......... หน่วยกิต)

 

2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

(......... หน่วยกิต)

(6 หน่วยกิต)

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

(2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน ...... หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ใช้ระบบเลข 7 หลัก จัดเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี ........ รายวิชา

มี69 รายวิชา ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 67 รายวิชา

 

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

.... คน

..... คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ไม่ได้ระบุชัดเจน

มีจำนวน 5 คน

 

 

 

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก