หลักสูตรศิลปบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1. ชื่อหลักสูตร
2. ชื่อปริญญา
3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
5. กำหนดการเปิดสอน
6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
8. ระบบการศึกษา
9. ระยะเวลาการศึกษา
10. การลงทะเบียนเรียน
11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
12. อาจารย์ผู้สอน
13. จำนวนนักศึกษา
14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน
15. ห้องสมุด
16. งบประมาณ
17. หลักสูตร
    17.1 จำนวนหน่วยกิต
    17.2 โครงสร้างหลักสูตร
    17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต
    17.4 แผนการศึกษา
    17.5 คำอธิบายรายวิชา
18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร
19. การพัฒนาหลักสูตร
20. ภาคผนวก

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง)สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พุทธศักราช 2550

………………………………………..

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Thai for Career

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทยเพื่ออาชีพ)
  Bachelor of Arts (Thai for Career)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (ภาษาไทยเพื่ออาชีพ)
 

B.A. (Thai for Career)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ มุ่งความเป็นเลิศในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้อย่างลึกซึ้งทั้งทางด้านภาษาและความเป็นไทย
                2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถนำความรู้ทางภาษาไทยไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม
                3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ หมั่นแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถติดต่อสื่อสารด้วยภาษาไทยกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

5. กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550

6.คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญา (3 ปี) หรือเทียบเท่า

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ/หรือตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือ
                กิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 4 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิ

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ - สกุล

วุฒิการศึกษา

สถาบันที่สำเร็จการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

1

ผศ.เสาวดี ธนวิภาคะนนท์

    -  ค.ม. (การสอนภาษาไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

    -  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พิษณุโลก)

    1. เอกสารประกอบการสอน 4 เล่ม
    2. ตำรา 2 เล่ม
    3. บทความทางวิชาการ 13 เรื่อง

2

นายวิเชียร อชิโนบุญวัฒน์

    -  กศ.ม. (ภาษาและวรรณคดีไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

    -  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร -วิโรฒ ประสานมิตร
    -  วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

    1. ผลงานทางวิชาการ

        - วาทการ

    2. งานวิจัย

        - ภูมินามจังหวัดนครสวรรค์

3

นางสาวชนิกา คำพุฒ

    -  ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (ภาษาไทย)

    -  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    1. ผลงานทางวิชาการ

        - ประสบการณ์ในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษา
          ต่างประเทศ

    2. งานวิจัย

        - การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของ
          นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และ
          สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          (วิจัยร่วม)

 

4

นางสาวนวพร คำเมือง

    -  กศ.ม. (ภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (ภาษาไทย)

    -  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ
    -  มหาวิทยาลัยบูรพา

    1. งานวิจัย

        - การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของ
          นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และ
          สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์
          (วิจัยร่วม)

5

นางสาววิภาดา เปลี่ยนไทย

    -  ศศ.ม. (ภาษาไทย)
    -  ค.บ. (ภาษาไทย)

    -  มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

    บทความทางวิชาการ

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ – สกุล / วุฒิ - วิชาเอก

ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ / วิชาที่สอน

ตัวอย่าง ผลงานทางวิชาการ / ผลงานวิจัย (สาขา) / ประสบการณ์

1

ผศ.เสาวดี ธนวิภาคะนนท์

    -  ค.ม.(การสอนภาษาไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งบริหาร

    -  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิชาที่สอน

    1. วรรณกรรมศึกษา
    2. การแปล
    3. การแปลแบบล่าม
    4. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรมไทย
    5. คำและสำนวนไทย 

ผลงานทางวิชาการ

    1. เอกสารวรรณกรรมศึกษา
    2. บทความเรื่อง สำนวนไทย

2

ผศ.สุชาติ พงษ์พานิช

    -  กศ.ม.(ภาษาและวรรณคดีไทย)
    -  กศ.บ.(ภาษาไทย)
    -  นศ.บ.

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ตำแหน่งปัจจุบัน

    -  หัวหน้าภาควิชาภาษาไทยและสารสนเทศ

วิชาที่สอน

    1. การพัฒนาการอ่าน
    2. การอ่านตีความ
    3. หลักและทฤษฎีการสื่อสาร
    4. เทคนิคการจัดประชุม
    5. การอ่านเร็ว
    6.สัทศาสตร์ภาษาไทย

1. ตำราวิชาการ

    -  การเขียนเพื่อการสื่อสาร

2. ประสบการณ์

    -  หัวหน้าฝ่ายธุรการ วิทยาลัยครูนครสวรรค์
    -  รองหัวหน้าสำนักงานอธิการวิทยาลัยครูนครสวรรค์

3

ผศ.สุวนีย์ พระแก้ว

    -  อ.ม.(ภาษาไทย)
    -  กศ.บ.(ภาษาไทย)
    -  นศ.บ.

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  ผู้ช่วยศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. การแต่งบทร้อยกรอง
    2. การพัฒนาการเขียน
    3. ภาษาไทยเพื่อการค้นคว้า
    4. เทคนิคการนำเสนอ
    5.การพูดเพื่อสังคม
    6.วาทวิทยา

1. ตำราวิชาการ

    -  แง่คิดจากวรรณคดีและวรรณกรรม
    -  ศาสตร์แห่งการส่งสารด้วยภาษาไทย : การพูด – การเขียน
    -  วรรณกรรมเอกของไทย

2. งานวิจัย

    -  การศึกษาวิเคราะห์กาพย์ เรื่อง สังข์ทอง นครสวรรค์

3. ประสบการณ์ในสถาบันราชภัฏนครสวรรค์

    -  หัวหน้าโปรแกรมวิชาภาษาไทย
    -  เจ้าหน้าที่ฝ่ายสารบรรณ
    -  หัวหน้าฝ่ายทะเบียน

4. รางวัล

    -  พ.ศ. 2543 - รางวัลที่ 3 การประกวดโคลงสี่สุภาพ กระทู้คุณธรรมตาม
       พระราชดำรัส จากสำนักงานการศึกษาและวัฒนธรรม จ.นครสวรรค์
    -  พ.ศ. 2546 - รางวัลชนะเลิศเรียงความเรื่อง “แม่ของฉัน” ระดับจังหวัด
       นครสวรรค์ และระดับภาค 8 จากสมาคมแม่บ้านมหาดไทย
    -  พ.ศ. 2547 - รางวัลชนะเลิศเรียงความเรื่อง “พ่อของฉัน” ระดับจังหวัด
       นครสวรรค์

4

รศ.วิเชียร เกษประทุม

    -  ค.ม. (การสอนภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (การสอน-ภาษาไทย)
    -  พ.ม.

ตำแหน่งทางวิชาการ

    -  รองศาสตราจารย์

วิชาที่สอน

    1. การเขียนเชิงวิชาการ
    2. ภูมิปัญญาไทย
    3. การพัฒนาการพูดและการฟัง
    4. ศิลปะการอ่านออกเสียง
    5.หลักการอ่านการเขียนคำไทย
    6.นิทานพื้นบ้าน
    7. การพูดเพื่อสัมฤทธิผล

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  การสร้างหนังสือสำหรับเด็ก
    -  คติชนวิทยา
    -  ราชาศัพท์
    -  สำนวนไทย
    -  เล่าเรื่องวรรณคดีต่าง ๆ

2.งานวิจัย

    -  เพลงพื้นบ้านจากพยุหะคีรี
    -  นิทานพื้นบ้านนครสวรรค์
    -  การวิเคราะห์วรรณกรรมจากสมุดข่อยเรื่องนิราศเมืองนรก
    -  การวิเคราะห์วรรณกรรมจากสมุดข่อย เรื่องอำไพกุมาร

5

นางลักขณา เจริญวารี

    -  กศ.ม.(ภาษาไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

ตำแหน่งบริหาร

    -  รองคณบดีฝ่ายบริหารและกิจการพิเศษ คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์

วิชาที่สอน

    1. การสร้างพลังเสียง
    2. คีตวรรณกรรม
    3. การเขียนเชิงสร้างสรรค์
    4. การสัมภาษณ์
    5. การแปรรูปวรรณกรรม
    6. เทคนิคการจัดฝึกอบรม
    7.วรรณกรรมปัจจุบัน

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวรรณคดีไทย
    -  การเขียนสร้างสรรค์
    -  คีตวรรณกรรม
    -  บทความต่าง ๆ ทางภาษา

2. งานวิจัย

    -  การวางระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
       เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ในเขตรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
       (วิจัยร่วม)

3. ประสบการณ์

    -  สอนวิชาการใช้ภาษาไทย, วรรณกรรมไทย
    -  เป็นบรรณาธิการ “มนุษยสาร” 7 ปี
    -  เป็นบรรณาธิการวารสารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
    -  เป็นพิธีกรในงานของมหาวิทยาลัยทุกระดับ

6

นายวิเชียร อชิโนบุญวัฒน์

    -  กศ.ม. (ภาษาและวรรณคดีไทย)
    -  กศ.บ. (ภาษาไทย)

วิชาที่สอน

    1. การอ่านและการเขียนเอกสารทางราชการ
    2. สัมมนาทางภาษาและวรรณกรรมไทย
    3. บรรณาธิการกิจ

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  วาทการ

2. งานวิจัย

    -  ภูมินามจังหวัดนครสวรรค์

3. ประสบการณ์

- หัวหน้าคณะวิชามนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์

7

นางสาวชนิกา คำพุฒ

    -  ศษ.ม. (การสอนภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (ภาษาไทย)

วิชาที่สอน

    1. การเขียนเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    2. ภาษาเพื่อการโรงแรมและการท่องเที่ยว
    3. การเขียนเพื่อสื่อสารมวลชน
    4. ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
    5.ปัญหาการใช้ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
    6.ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว

1. ผลงานทางวิชาการ

    -  ประสบการณ์ในการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ

2. งานวิจัย

    -  การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย
       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (วิจัยร่วม)

3. ประสบการณ์

    -  กองบรรณาธิการ วารสารประจำคณะมนุษย์ฯ “มนุษยสาร”

8

นางสาวนวพร คำเมือง

    -  กศ.ม. (ภาษาไทย)
    -  ศศ.บ. (ภาษาไทย)

วิชาที่สอน

    1. เทคนิคผู้ประกาศสาร
    2. การเขียนเชิงปริทัศน์
    3. การอ่านและการเขียนเอกสารทางธุรกิจ
    4. ภาษาในสื่อมวลชน
    5. ลีลาภาษาในวรรณกรรมไทย
    6.ภาษาไทยธุรกิจ
    7.ศิลปะการอ่านออกเสียง

งานวิจัย

    -  การแก้ไขข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาไทย
       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์ (วิจัยร่วม)

9

นายบุญเลิศ วิวรรณ์

    -  ศศ.ม. (จารึกภาษาไทย)
    -  พธ.บ. (ภาษาไทย)
    -  ป.ธ.9

วิชาที่สอน

    1.ภาษาในสังคมไทย
    2.การอ่านหนังสือพิมพ์และวารสารไทย
    3.สัทศาสตร์ภาษาไทย
    4.ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

-

10

นายภาณุพงษ์ คงจันทร์

    -  กศ.ม.(จิตวิทยาการแนะแนว)
    -  กศ.บ.(สังคมศึกษา)

วิชาที่สอน

    1. การเขียนเชิงสร้างสรรค์
    2. การเขียนบันเทิงคดีร้อยแก้ว
    3. การเขียนวรรณกรรมเยาวชน

1. ผลงานวิชาการ

    -  จิตวิทยาธุรกิจ
    -  จิตวิทยาวัยรุ่น

2. งานวิจัย

    -  รูปแบบการจัดกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
    -  บทบาทการให้คำปรึกษากลุ่มผู้มีความเฉลียวฉลาดด้านอารมณ์ของนักศึกษา
       มหาวิทยาราชภัฏนครสวรรค์

3. ประสบการณ์

    -  ได้รับรางวัลทางด้านวิจารณ์วรรณกรรม 2 รางวัล
    -  ได้รับรางวัลการเขียนเรื่องสั้น 5 รางวัล
    -  ได้รับรางวัลการเขียนเรียงความ 10 รางวัล

11

นางสาววิภาดา เปลี่ยนไทย

    -  ศศ.ม. (ภาษาไทย)
    -  ค.บ. (ภาษาไทย)

วิชาที่สอน

    1. การนำเสนอสารภาษาไทยด้วยคอมพิวเตอร์
    2. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
    3. ภาษาไทยธุรกิจ
    4. หลักการอ่านการเขียนคำไทย

-

        12.3 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ – สกุล / วุฒิ - วิชาเอก

ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ / วิชา ที่สอน

ผลงานทางวิชาการ / ผลงานวิจัย (สาขา) / ประสบการณ์

1

นางชมัยภร แสงกระจ่าง

    -  ศศ.ด.(ภาษาไทย) กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  อ.บ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิชาที่สอน

    1. การเขียนเชิงสร้างสรรค์
    2. วรรณกรรมปัจจุบัน

ประสบการณ์

    -  นักวิจารณ์ นามปากกา ไพลิน รุ้งรัตน์
    -  นักเขียน ประเภทนวนิยาย และเรื่องสั้น มีผลงานได้รับรางวัลชมเชยจากคณะ
       กรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ คือ พระอาทิตย์คืนแรม (ประเภท-นวนิยาย)
       ในสวนฝัน (ประเภทเรื่องสั้น)
    -  อาจารย์พิเศษสอนวิชาเกี่ยวกับวรรณกรรมและวรรณกรรมวิจารณ์

2

นายกิตติศักดิ์ มีสมสืบ

    -  ศศ.ม.(ภาษาไทย) กิตติมศักดิ์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
    -  ค.บ.(ศิลปศึกษา) วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วิชาที่สอน

    1. การเขียนบทร้อยกรอง
    2. คีตวรรณกรรม

ประสบการณ์

    -  ได้รับรางวัลซีไรต์ปีพ.ศ.2545 เรื่อง มือนั้นสีขาว
    -  ได้รับรางวัลศิลปาธรสาขาวรรณศิลป์ ของกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อปีพ.ศ.2548
    -  เป็นวิทยากรเกี่ยวกับวิชาวรรณกรรมตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

13. จำนวนนักศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2550

2551

2552

2553

2554

ชั้นปีที่ 1

50

50

50

50

50

ชั้นปีที่ 2

-

50

50

50

50

รวม

50

100

100

100

100

บัณฑิตที่คาดว่าจะจบการศึกษา

-

-

50

50

50

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 จัดการเรียนการสอนตามห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กำหนด

        14.2. ห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง

        14.3 โสตทัศนวัสดุ เช่น โปรเจกเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์

15. ห้องสมุด

        หนังสือ ตำราเรียน วารสาร และเอกสารอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับสาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพในสำนัก-วิทยบริการมีประมาณ 200 ฉบับ ดังตัวอย่าง

        15.1. ตัวอย่างรายชื่อหนังสือหมวดหลักเกณฑ์ทางภาษา

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

- ภาษาเพื่อการสื่อสาร

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5 เล่ม

- ศิลปะศาสตร์พินิจ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4 เล่ม

- ปัญหาการใช้ภาษาไทย

นิตยา กาญจนะวรรณ

3 เล่ม

- หลักภาษาไทย

สุชาติ พงษ์พานิช

5 เล่ม

- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

ราชบัณฑิตยสถาน

30 เล่ม

- ภาษากับมวลชน

จำนง วิบูลศรี

5 เล่ม

- ภาษากับความคิด

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน

4 เล่ม

- ภาษากฎหมายไทย

ธานินทร์ กรัยวิเชียร

5 เล่ม

- ภาษาวิทยานิพนธ์

บุณยงค์ เกศเทศ

6 เล่ม

- ภาษาวิชาการ

บุณยงค์ เกศเทศ

5 เล่ม

- สื่อภาษาทางธุรกิจ

สุกัญญา โฆวิไลกูล (ผู้แปล)

6 เล่ม

- ภาษาไทยธุรกิจ

พิศเพลิน สงวนพงศ์

5 เล่ม

- หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ

ราชบัณฑิตยสถาน

5 เล่ม

- คู่มือการใช้ราชาศัพท์

กระทรวงศึกษาธิการ

4 เล่ม

- ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา

วัฒนะ บุญจับ

3 เล่ม

- วิพากษ์การใช้ภาษาไทย

ประยอม ซองทอง

4 เล่ม

- ภาษาและการสื่อสารทางธุรกิจ

อุดม พรประเสริฐ

3 เล่ม

- ภาษาไทยวันนี้

กาญจนา นาคสกุล

6 เล่ม

- ภาษาไทยเพื่อกิจธุระ

กระทรวงศึกษาธิการ

4 เล่ม

        15.2. ตัวอย่างหนังสือหมวดวรรณกรรม

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

- พัฒนาการวรรณคดีไทย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4 เล่ม

- วรรณคดีวิจารณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5 เล่ม

- ศิลปศาสตร์พินิจ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- วรรณคดีวิจารณ์

กุหลาบ มัลลิกะมาส

5 เล่ม

- ความรู้ทั่วไปทางวรรณคดีไทย

กุหลาบ มัลลิกะมาส

5 เล่ม

- วรรณคดีศึกษา

วิภา กงกะนันท์

4 เล่ม

- กวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย : บทวิเคราะห์และสารนิพนธ์

สุมาลี วีรวงศ์ และคณะ

3 เล่ม

- การศึกษาวรรณคดีในแง่วรรณศิลป์

พระยาอนุมานราชธน

4 เล่ม

- วรรณกรรมวิเคราะห์

บุญยงค์ เกศเทศ

6 เล่ม

- รางวัลวรรณกรรมไทย

นวลจันทร์ รัตนากร และคณะ

5 เล่ม

- วรรณคดีทัศนา

ชัตสุณี สินธุสิงห์ (บรรณาธิการ)

4 เล่ม

- วรรณกรรมเด็ก

จิตภัทร์ อุปราวิทยานันท์

5 เล่ม

- 25 ปี ซีไรต์ รวมบทวิชาการคัดสรร

สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

3 เล่ม

- วิเคราะห์วรรณคดีไทย

ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

6 เล่ม

- แว่นวรรณกรรม

ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ

5 เล่ม

- ภาษาไทย 2 การประพันธ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- ภาษาไทย 4 วรรณคดี

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- วรรณกรรมไทยปัจจุบัน

สายทิพย์ นุกูลกิจ

5 เล่ม

- วรรณกรรมเอกของไทย

เสาวดี ธนวิภาคะนนท์

5 เล่ม

- การเขียนและจัดทำหนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน

พรจันทร์ จันทรวิมล และคณะ

6 เล่ม

- การเขียนและการแปลหนังสือสำหรับวัยรุ่น

ลมุล รัตตากร

4 เล่ม

        15.3. ตัวอย่างหนังสือหมวดการใช้ภาษา

ชื่อหนังสือ

ผู้แต่ง

จำนวน

- การใช้ภาษาไทย (ชุดปรับปรุง)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- การเขียนเพื่อการสื่อสารธุรกิจ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4 เล่ม

- หลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5 เล่ม

- การสร้างสรรค์และผลิตสื่อโฆษณา

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4 เล่ม

- การผลิตงานประชาสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

4 เล่ม

- เทคนิคการเขียนการพิมพ์และการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3 เล่ม

- การเขียนสารคดี

ชะลอ รอดลอย

5 เล่ม

- เทคนิคการสื่อข่าวและการเขียนข่าววิทยุกระจายเสียง

ชะลอ รอดลอย

3 เล่ม

- การเขียนบทความที่ดีต้องมีหลัก

ทองคูณ หงส์พันธุ์

5 เล่ม

- การเขียนสารคดีสำหรับสื่อสิ่งพิมพ์

มาลี บุญศิริพันธ์

5 เล่ม

- การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

สุพรรณี วราทร

5 เล่ม

- อ่านเร็วอย่างเข้าใจ

ศิริพร ลิมตระการ

4 เล่ม

- การนำเสนอที่มีประสิทธิผล

ปรัชญา เวสารัชช์

5 เล่ม

- การเขียนสร้างสรรค์

ทองสุข เกตุโรจน์

4 เล่ม

- การอ่านตีความ

วรมน ลิ้มมณี

6 เล่ม

- วิธีดำเนินการประชุม

จำนง สมประสงค์

3 เล่ม

- กว่าจะเป็นโฆษณา

เสรี วงษ์มณฑา

5 เล่ม

- วาทศาสตร์เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์

4 เล่ม

- กว่าจะเป็นสารคดี

ธีรภาพ โลหิตกุล

3 เล่ม

- จดหมายุธุรกิจและบันทึกสั้น

บังอร สว่างวโรภาส

4 เล่ม

- การเขียนเอกสารสำนักงาน

ประภัสสร ภัทรนาวิก

6 เล่ม

- การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์

รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง

4 เล่ม

- การเขียนในงานส่งเสริม

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์

5 เล่ม

- บทภาพยนต์เขียนอย่างไรให้ได้เงิน

มณิศา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

4 เล่ม

- หลักการเขียนบทโทรทัศน์

อรนุช เลิศจรรยารักษ์

3 เล่ม

- เขียนนวนิยาย

กนกวลี พจนปกรณ์ และคณะ

3 เล่ม

- เทคนิคการนำเสนอเรื่องด้วยวาจา

ประวีณ ณ นคร

3 เล่ม

- การนำเสนองานที่มีประสิทธิผล

ปรัชญา เวสารัชช์

4 เล่ม

- เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ

ณัฐพงศ์ เกษมาริศ

3 เล่ม

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

2550

2551

2552

2553

2554

งบดำเนินการ

    -  ค่าตอบแทน 30,000 20,000 20,000 20,000 20,000
    -  ค่าใช้สอย 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000
    -  ค่าวัสดุ 20,000 30,000 30,000 30,000 30,000

รวม

80,000

80,000

80,000

80,000

80,000

งบลงทุน

    -  ค่าครุภัณฑ์

20,000

20,000 20,000 20,000 20,000

    -  ค่าที่ดิน

- - - - -

รวมงบลงทุน

20,000

20,000

20,000

20,000

20,000

รวมทั้งหมด

100,000

100,000

100,000

100,000

100,000

        * หมายเหตุ : เป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรเป็นรายปีจากมหาวิทยาลัย

17. หลักสูตร

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

18

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

6

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

6

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

2

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

4

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

51

 

1. วิชาแกน

14

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

22

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

10

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

75

        17.3 รายวิชา และจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์

                2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ

                4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาเกษตรศาสตร์)

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (หมวดวิชาอุตสาหกรรม)

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ x 2

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

                * หมายเหตุ การจัดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) อาจได้รับการยกเว้นรายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือระดับอนุปริญญา ทั้งนี้จำนวน หน่วยกิตของรายวิชาที่ได้รับการยกเว้นดังกล่าว เมื่อนับรวมกับรายวิชาที่จะศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) ต้องไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 51 หน่วยกิต

            1. วิชาแกน จำนวน 14 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

1142401 การวิจัยเบื้องต้น 2(1-2-3)
  Fondation of Research Methodology  
2432102 สังคมและวัฒนธรรมไทย 3(3-0-6)
  Thai Society and Culture  
3201101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ 3(3-0-6)
  Introduction to Business Operation  
3201601 การจัดการสำนักงาน 3(3-0-6)
  Office Management  
3411501 หลักการมัคคุเทศก์ 3(2-2-5)
  Tourist Guide  

            2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 22 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2211102 ภาษาในสังคมไทย 2(2-0-4)
  Language in Thai Society  
2212401 วรรณกรรมศึกษา 2(2-0-4)
  Introduction to Literature  
2213208 การอ่านเพื่อสัมฤทธิผล 3(3-0-6)
  Reading for Achievement  
2214101 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ 2(2-0-4)
  Thai for Foreigners  
2214102 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม 2(2-0-4)
  Language and Culture Relation  
2214208 การเขียนเพื่อสัมฤทธิผล 3(1-2-6)
  Writing for Achievement  
2214209 การเขียนเชิงวิชาการ 3(1-2-6)
  Academic Writing  
2214210 เทคนิคการอ่านออกเสียง 2(1-2-3)
  Reading Techniques  
2314212 การแปล 3(2-2-5)
  Translation  

        3. วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 10 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2211103 หลักการอ่านการเขียนคำไทย 2(2-0-4)
  Reading and Writing Systems in Thai  
2211201 การอ่านเร็ว 2(1-2-3)
  Speed Reading  
2212101 ภาษาในสื่อมวลชน  2 (2-0-4)
  Language in Mass Media  
2212201 วาทวิทยา 2(1-2-3)
  Speech  
2212401 วรรณกรรมเอกของไทย 2(2-0-4)
  Masterpieces of Thai Literature  
2213101 ลีลาภาษาในวรรณกรรมไทย 2 (2-0-4)
  Styles in Thai Literature  
2213201 การอ่านและการเขียนเอกสารทางราชการ 2(1-2-3)
  Reading and Writing for Official Document  
2213202 การอ่านและการเขียนเอกสารทางธุรกิจ 2(1-2-3)
  Reading and Writing in Business Document  
2213203 การเขียนเชิงปริทัศน์ 2(1-2-3)
  Review Writing  
2213204 การเขียนเพื่อสื่อสารมวลชน 3(2-2-5)
  Writing for Mass Communication  
2213205 ภาษาเพื่อการโรงแรมและการท่องเที่ยว 2(2-0-4)
  Language for Hotel and Tourism  
2213206 การเขียนเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 3(2-2-5)
  Writing for Advertising and Public Relations  
2213401 วรรณศิลป์ในคำประพันธ์ 3(2-2-5)
  Poetry Writing  
2213402 คีตวรรณกรรม 2(2-0-4)
  Thai Songs  
2213403 นิทานพื้นบ้าน 2(2-0-4)
  Folktales  
2213404 คำและสำนวนไทย 2(2-0-4)
  Words and Idioms in Thai  
2213701 เทคนิคการจัดประชุม 2(1-2-3)
  Discussion and Conference Techniques  
2213702 ภาษากับความคิด 2(2-0-4)
  Language and Thought  
2214201 การอ่านตีความ 2 (1-2-3)
  Reading Comprehension  
2214202 การเขียนเชิงสร้างสรรค์ 2 (1-2-3)
  Creative Writing  
2214203 การสัมภาษณ์ 2 (1-2-3)
  Interview Techniques  
2214211 การพูดเพื่อสังคม 2(1-2-3)
  Social Speaking  
2314220 การแปลแบบล่าม 3(2-2-5)
  Simultaneous Translation  
2214401 การวิจารณ์ 3(2-2-5)
  Criticism  
2214402 วรรณกรรมปัจจุบัน 2(2-0-4)
  Contemporary Literature  
2214701 เทคนิคการนำเสนอ 2(1-2-3)
  Presentation Techniques  
2214702 บรรณาธิการกิจ 3 (3-0-6)
  Editorial Works  
2214705 เทคนิคการฝึกอบรม 2(1-2-3)
  Training Techniques  
2214706 การนำเสนอสารภาษาไทยด้วยคอมพิวเตอร์ 2(1-2-3)
  The Thai Language Presentation by Computer  
2214901 สัมมนาภาษาและวรรณกรรมไทย 3(2-2-5)
  Seminar on Thai Language and Literature  
2214902 ปัญหาการใช้ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ 3(3-0-6)
  Problems of Thai Usage for Foreigners  

        4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2214803 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5(270)
  Field Experience  

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

                ให้เลือกเรียนรายวิชาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ผู้เรียนถนัดหรือสนใจโดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนในโครงสร้างของหลักสูตรโปรแกรมวิชานี้

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

วิชาศึกษาทั่วไป

 

9

 

วิชาแกน

 

9

 

2432102

สังคมและวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

3201601

การจัดการสำนักงาน

3(3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

วิชาศึกษาทั่วไป

 

9

 

วิชาแกน

 

3

 

3411501

หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

 

วิชาเฉพาะด้านบังคับ

 

7

 

2211102

ภาษาในสังคมไทย

2(2-0-4)

 

2213208

การอ่านเพื่อสัมฤทธิผล

3(3-0-6)

 

2214210

เทคนิคการอ่านออกเสียง

2(1-2-3)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 3

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

วิชาเฉพาะด้านบังคับ  

9

 

2212401

วรรณกรรมศึกษา

2(2-0-4)

 

2214102

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

2(2-0-4)

 
 

วิชาเฉพาะด้านเลือก

5

 

รวม

9

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

วิชาแกน  

2

 

1142401

การวิจัยเบื้องต้น

2(1-2-3)

 
วิชาเฉพาะด้านบังคับ  

16

 

2314212

การแปล

3(2-2-5)

 

2214101

ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ

2(2-0-4)

 

2214209

การเขียนเชิงวิชาการ

3(1-2-3)

 
 

เฉพาะด้านเลือก

5

 
 

เลือกเสรี

3

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

วิชาเฉพาะด้านบังคับ  

6

 

2214208

การเขียนเพื่อสัมฤทธิผล

3(1-2-3)

 
 

วิชาเลือกเสรี

3

 
วิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  

5

 

2214802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

5(270)

 

รวม

11

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 14 หน่วยกิต

1142401 การวิจัยเบื้องต้น

2 (1-2-3)

  Foundation of Research Methodology  

        ศึกษาความหมาย ความมุ่งหมาย หลักการและประโยชน์ของการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ขั้นตอนของการวิจัย ประเภทของการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเลือกปัญหา การกำหนดจุดมุ่งหมาย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัยแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนเค้าโครงวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย และการประมวลการวิจัย

2432102 สังคมและวัฒนธรรมไทย

3(3-0-6)

  Thai Society and Culture  

        ศึกษาประวัติความเป็นมา ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประชากร สถาบันทางสังคม ค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมไทย ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมตลอดจนภูมิปัญหาสังคมวัฒนธรรมของสังคมไทย

3201601 การจัดการงานสำนักงาน

3(3-0-6)

  Office Management  

        ศึกษาความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานของสำนักงาน บทบาทของการจัดสำนักงาน งานสารบรรณ งานพัสดุ การวางแผนผังและระเบียบวิธีปฏิบัติของงานสำนักงาน การจัดสถานที่ทำงาน การอำนวยการพนักงาน การควบคุมงานที่มีประสิทธิภาพ

3201101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

  Introduction to Business Operation  

        ศึกษาลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจและจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

3411501 หลักการมัคคุเทศก์

3(2-2-5)

  Tourist Guide  

        ศึกษาความหมายและความสำคัญของมัคคุเทศก์ บทบาทและหน้าที่ของมัคคุเทศก์ที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บุคลิกลักษณะที่จำเป็นของมัคคุเทศก์ บทบาทในการวางตัว การพูดจา และจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์ เช่น การตรวจคนเข้าเมือง การควบคุม และการแลกเปลี่ยนเงินตรา ความรู้เกี่ยวกับหนังสือ และเอกสารประกอบการเดินทาง การตรวจลงตราระเบียบพิธีทางศุลกากร ลักษณะอุปนิสัย รสนิยมของนักท่องเที่ยว ตลอดจนวัฒนธรรมของชาวต่างประเทศที่ควรทราบ และการปฐมพยาบาล

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 34 หน่วยกิต

2211102 ภาษาในสังคมไทย

2 (2-0-4)

  Language in Thai Society  

        ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับสังคม พฤติกรรมทางภาษาที่มีผลมาจากสภาพของสังคมที่แตกต่างกัน รวมทั้งศึกษาลักษณะของภาษาประเภทต่าง ๆ ในสังคมไทย

2212401 วรรณกรรมศึกษา

2(2-0-4)

  Introduction to Literature  

        ศึกษาความหมายและลักษณะสำคัญของวรรณกรรม คุณค่าของวรรณกรรม ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม และวิทยาการสาขาอื่น ๆ

2213208 การอ่านเพื่อสัมฤทธิผล

3(3-0-6)

  Reading for Achievement  

        วิเคราะห์ วิจารณ์ วิพากษ์ และตีความสารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่าน ฝึกประมวลความรู้และข้อเท็จจริงต่างๆ

2214101 ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ

2(2-0-4)

  Thai for Foreigners  

        ศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียง ระบบคำ ระบบกลุ่มคำของภาษาไทยกับภาษาของชาวต่างประเทศ การถ่ายถอดเสียงด้วยสัทอักษร การสื่อสารในบริบทสังคมไทย

2214102 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

2(2-0-4)

  Language and Culture Relation  

        ศึกษาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมในแง่ที่ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ภาษาสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม และภาษาเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม

2214208 การเขียนเพื่อสัมฤทธิผล

3(1-2-6)

  Writing for Achievement  

        ฝึกเขียนเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ โดยเน้นประสิทธิผลของงานเขียนประเภทนั้นๆ

2214209 การเขียนเชิงวิชาการ

3(1-2-6)

  Academic Writing  

        ศึกษาวิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การสังเคราะห์ความรู้และความคิดการเลือกรูปแบบการเขียน การอ้างอิง การใช้ภาษาที่เหมาะแก่งานวิชาการ ฝึกเขียนบทความวิชาการ

2214210 เทคนิคการอ่านออกเสียง

2(1-2-3)

  Reading Techniques  

        ศึกษาและฝึกฝนการเปล่งเสียงอย่างมีพลังตามหลักวาทวิทยา ฝึกการอ่านรายงานข่าว การอ่านบทความ รวมทั้งการอ่านตีบท (Oral Interpretation)

2314212 การแปล

3(2-2-5)

  Translation  

        ศึกษาหลักเกณฑ์และกลวิธีในการแปลความ รวมทั้งถอดความภาษาต่างประเทศ ทั้งร้อยแก้ว และ ร้อยกรองเป็นภาษาไทย และข้อควรคำนึงในการแปล

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้านเลือก จำนวน 10 หน่วยกิต

2211103 หลักการอ่านการเขียนคำไทย

2(2-0-4)

  Reading and Writing Systems in Thai  

        ศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการอ่านและเขียนคำไทย ความจำเป็นและประโยชน์ของการเรียนวิชานี้ ฝึกการอ่านและการเขียน เก็บรวบรวมคำที่มักเขียนหรืออ่านผิดเพี้ยนไปจากกฏเกณฑ์เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน วิเคราะห์และวิจัยมูลเหตุที่ทำให้เกิดการอ่านและเขียนเช่นนั้น เปรียบเทียบคำที่อ่านและเขียนผิดกับคำที่อ่านและเขียนตามกฎเกณฑ์ อภิปรายและสรุปผลเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

2211201 การอ่านเร็ว

2(1-2-3)

  Speed Reading  

        ศึกษากลวิธีและหลักการอ่าน เพื่อเพิ่มอัตราความเร็วโดยใช้แบบฝึกหัดตามขั้นตอน

2212101 ภาษาในสื่อมวลชน

2 (2-0-4)

  Language in Mass Media  

        ศึกษาและวิเคราะห์ภาษาในสื่อมวลชนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งวิเคราะห์อิทธิพลของภาษาสื่อมวลชนที่มีผลต่อภาษาไทยปัจจุบัน

2212201 วาทวิทยา

 2(2-1-3)

  Speech  

        ศึกษาความหมาย วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ ประเภท และอุปสรรคของการพูด การเลือกเรื่อง การร่างบทเตรียมพูด การสร้างความมั่นใจในการพูด วิธีขึ้นต้นและลงท้ายในการพูด การสร้างอารมณ์ขัน การใช้น้ำเสียง และการใช้กิริยาท่าทาง การประเมินผลและการปรับปรุงการพูด รวมทั้งฝึกพูดโดยนำหลักที่ศึกษามาใช้

2212401 วรรณกรรมเอกของไทย

2(2-0-4)

  Masterpieces of Thai Literature  

        ศึกษาวรรณกรรมที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรและวรรณกรรมที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรม รุ่นหลังในด้านต่างๆ

2213101 ลีลาภาษาในวรรณกรรมไทย

2 (2-0-4)

  Styles in Thai Literature  

        ศึกษาลีลาของนักเขียน ได้แก่ การเลือกสรรคำ การสร้างประโยค การใช้ภาพพจน์ (figure of speech) การดำเนินเรื่อง การบรรยายและการพรรณนาความ การแสดงน้ำเสียง และวิเคราะห์ลีลาภาษาของนักเขียนที่สนใจ

2213201 การอ่านและการเขียนเอกสารทางราชการ

2 (1-2-3)

  Reading and Writing for Official Documents  

        ศึกษาความหมาย ลักษณะ และประเภทของเอกสารทางราชการ ฝึกอ่านและวิเคราะห์เอกสารเหล่านั้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนเอกสารราชการประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิผล

2213202 การอ่านและการเขียนเอกสารทางธุรกิจ

2 (1-2-3)

  Reading and Writing in Business Documents  

         ศึกษาความหมาย ลักษณะ และประเภทของเอกสารทางธุรกิจ ฝึกอ่านและวิเคราะห์เอกสาร เหล่านั้น เพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ ให้มีประสิทธิผล

2213203 การเขียนเชิงปริทัศน์

2 (1-2-3)

  Review Writing  

        ศึกษาหลักการปริทัศน์ วิเคราะห์ลักษณะงานเขียนเชิงปริทัศน์ที่ปรากฏตามสื่อมวลชน ฝึกการเขียนเชิงปริทัศน์

2213204 การเขียนเพื่อสื่อสารมวลชน

3 (2-2-5)

  Writing for Mass Communication  

        ศึกษาความหมาย ประเภท รูปแบบ และกลวิธีในการเขียนข่าว สารคดี (feature) บทความ (article) และฝึกปฏิบัติการ

2213205 ภาษาเพื่อการโรงแรมและการท่องเที่ยว

2 (2-0-4)

  Language for Hotel and Tourism  

        ศึกษาหลักและเทคนิคการใช้ภาษาเกี่ยวกับการโรงแรงและการท่องเที่ยว และฝึกปฏิบัติการ เน้นเรื่องปฏิภาณไหวพริบและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

2213206 การเขียนเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

3 (2-2-5)

  Writing for Advertising and Public Relations  

        ศึกษาความหมาย วัตถุประสงค์ ประเภทและลักษณะของสื่อ ความสำคัญของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อความโฆษณา (copy) และสารสำหรับการประชาสัมพันธ์ ฝึกการเขียนเพื่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ที่ใช้กับสื่อต่าง ๆ

2213209 ภาษาไทยเพื่อการท่องเที่ยว

3 (3-0-6)

  Thai for Tourism  

        การฝึกทักษะการใช้ภาษาไทยเกี่ยวกับการบริการ และอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวด้านต่างๆ เช่น การติดต่อสถานที่ การติดต่อห้องพัก (กรณีต้องพักค้างคืน) การจัดหาพาหนะในการเดินทาง การให้ข้อมูลหรือแนะนำแหล่งท่องเที่ยวหรือบุคคลหรือสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยว การ- นัดหมาย รายละเอียดของรายการหรือกำหนดการเดินทาง โดยเน้นทักษะการฟัง พูด และการใช้ภาษาสุภาพนิยมเป็นสำคัญ

2213401 วรรณศิลป์ในการประพันธ์

2 (1-2-3)

  Poetry Writing  

        ศึกษาความหมายและรูปแบบต่างๆ ของวรรณศิลป์ในคำประพันธ์ทั้งแบบฉบับและสมัยใหม่ วิเคราะห์บทร้อยกรองที่แต่งดี ฝึกแต่งบทประพันธ์รูปแบบต่างๆ

2213402 คีตวรรณกรรม

2 (2-0-4)

  Thai Songs  

        ศึกษาวิวัฒนาการของเพลงไทย วิเคราะห์เนื้อเพลงไทยลูกทุ่งและเพลงไทยสากลในแง่กลวิธีการแต่งและบริบทความนิยม ศึกษาชีวิตและผลงานของนักประพันธ์บทเพลง นักร้องที่ได้รับความนิยมและฝึกแต่งเนื้อเพลง

2213403 นิทานพื้นบ้าน

2(2-0-4)

  Folktales  

        ศึกษาความหมาย ประเภท ความเป็นมาของนิทานแต่ละประเภท รูปแบบ เนื้อหา และคุณค่าที่ปรากฏในนิทาน ให้รู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ โครงเรื่อง โครงสร้าง อนุภาค ปรัชญา จิตวิทยา สังคม ตลอดจนลักษณะสากลของนิทานพื้นบ้าน

2213404 คำและสำนวนไทย

2(2-0-4)

  Words and Idioms in Thai  

        ศึกษาลักษณะ และที่มาของถ้อยคำสำนวน โวหาร คำพังเพย ภาษิต ความหมาย และการนำไปใช้

2213701 เทคนิคการจัดประชุม

2 (1-2-3)

  Discussion and Conference Techniques  

        ศึกษาหลักและวิธีการประชุมประเภทต่าง ๆ เช่น การสัมมนา การประชุมแถลงข่าว การอภิปราย องค์ประกอบของการประชุม หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะต่าง ๆ ฝึกปฏิบัติเป็นผู้นำการประชุมและผู้เข้าร่วมประชุม รวมทั้งฝึกจัดการประชุม

2213702 ภาษากับความคิด

2(2-0-4)

  Language and Thought  

        ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับความคิด ฝึกวิเคราะห์สารประเภทต่างๆ เช่น งานโฆษณา การ์ตูน การเมือง บทเพลง เพื่อให้เห็นสารและกระบวนการสร้างสาร

2214201 การอ่านตีความ

2 (1-2-3)

  Reading Comprehension  

        ศึกษาความหมาย หลักการ และกระบวนการการอ่านตีความ ฝึกตีความสารประเภทต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้วและร้อยกรอง รวมทั้งฝึกอ่านตีบทหรืออ่านออกเสียงอย่างตีความ (oral interpretation) โดยมุ่งความถูกต้องทางอักขรวิธี การสื่อความหมายและจินตภาพ ตลอดจนสร้างอารมณ์และบรรยากาศของเรื่อง

2214202 การเขียนเชิงสร้างสรรค์

2 (1-2-3)

  Creative Writing  

        ศึกษาความหมายและกระบวนการคิดสร้างสรรค์ ศิลปะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ฝึกเขียนเรื่องจากความคิดและจินตนาการ ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี โดยคำนึงถึงความถนัด และความคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน

2214203 การสัมภาษณ์

2 (1-2-3)

  Interview Techniques  

        ศึกษาหลักการสัมภาษณ์ การให้สัมภาษณ์ การจัดการสัมภาษณ์ สื่อที่ใช้ประกอบการสัมภาษณ์ และฝึกปฏิบัติการ

2214211 การพูดเพื่อสังคม

2(2-1-3)

  Social Speaking  

        หลักการและเทคนิคการพูดเพื่อสังคม ได้แก่ การพูดติดต่อธุรกิจ การพูดจูงใจ การพูดในฐานะเป็นโฆษก พิธีกร การประชาสัมพันธ์ การออกคำสั่ง การปราศรัย สุนทรพจน์ โอวาท การกล่าวสดุดี กล่าวไว้อาลัย กล่าวเปิด-ปิดงาน กล่าวต้อนรับ กล่าวขอบคุณ กล่าวอวยพร กล่าวมอบสิ่งของ และกล่าวแนะนำ

2314220 การแปลแบบล่าม

3(2-2-5)

  Translation for Interpreter  

         หลักการแปลแบบล่ามโดยสามารถแปลได้ทันทีที่ได้ยินข้อความจากสื่อต่างๆ ทั้งจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย และภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

2214401 การวิจารณ์

3(2-2-5)

  Criticism  

        ศึกษาทฤษฎีทางศิลปะ เช่น ทฤษฎีการเลียนแบบ (Theory of Imitation) ทฤษฎีการแสดงออก (Theory of Expression) และทฤษฎีผลกระทบ (Theory of Effect) องค์ประกอบของศิลปะบางสาขา เช่น วรรณกรรม ละครเวที และภาพยนตร์ รวมทั้งศึกษาหลักและแนวหรือทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะบางสาขาฝึกวิจารณ์โดยเน้นการวิจารณ์วรรณกรรม

2214402 วรรณกรรมปัจจุบัน

2 (2-0-4)

  Contemporary Literature  

        ศึกษาวิวัฒนาการ ประเภท องค์ประกอบ กลวิธีการประพันธ์วรรณกรรมปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม

2214701 เทคนิคการนำเสนอ

2(1-2-3)

  Presentation Techniques  

        ศึกษาความหมาย ลักษณะและความสำคัญของการนำเสนอ องค์ประกอบ รูปแบบ การเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอ สื่อและการใช้สื่อ เทคนิคหรือศิลปะการนำเสนอ การประเมินผล ฝึกปฏิบัติการนำเสนอ

2214702 บรรณาธิการกิจ

3 (3-0-6)

  Editorial Works  

        ศึกษาบทบาทหน้าที่ และจรรยาบรรณของบรรณาธิการ กระบวนการจัดทำหนังสือประเภทต่าง ๆ การคัดเลือกและตรวจแก้ไขต้นฉบับ ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับเทคนิคการพิมพ์ การจัดหน้าและการกำหนดตัวอักษร การพิสูจน์อักษร การตรวจคุณภาพของฟิล์มและภาพ การเลือกภาพประกอบ การคำนวณค่าใช้จ่ายในการพิมพ์

2214705 เทคนิคการฝึกอบรม

 2(1-2-3)

  Training Techniques  

        ศึกษาความหมายและความสำคัญของการฝึกอบรม กระบวนการจัดฝึกอบรมการจัดดำเนินการ การฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล หน้าที่และคุณสมบัติของวิทยากร ศิลปะในการถ่ายทอดและการสร้างบรรยากาศ เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร การประเมินผลและการพัฒนาการฝึกอบรม ฝึกจัดการฝึกอบรม

2214706 การนำเสนอสารภาษาไทยด้วยคอมพิวเตอร์

2(1-2-3)

  The Thai Language Presentation by Computer  

        ศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการนำเสนอสารภาษาไทย ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ การจัดทำบทเพื่อการนำเสนอ ฝึกปฏิบัติสร้างสื่อประสมเพื่อการนำเสนอสารภาษาไทย การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไข

2214901 สัมมนาภาษาและวรรณกรรมไทย

3 (2-2-5)

  Seminar on Thai Language and Literature  

        ศึกษาหลักและวิธีการสัมมนา เลือกปัญหาหรือประเด็นที่สำคัญทางภาษาและ/หรือวรรณกรรมไทย มาศึกษาวิเคราะห์ และนำเสนอโดยการอภิปรายและสัมมนา ฝึกจัดการสัมมนา

2214902 ปัญหาการใช้ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ

3(3-0-6)

  Problems of Thai Usage for Foreigners  

        ข้อผิดพลาดการใช้ภาษาไทย ทั้งในด้านศัพท์และโครงสร้างของประโยค วิเคราะห์เหตุผล และเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านั้น

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

2214803 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5

(270)

  Field Experience  

        จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อให้ได้รับความรู้ ทักษะ เจตคติ และประสบการณ์ในอาชีพ แล้วนำผลการฝึกงานมาวิเคราะห์ สรุปในรูปของการสัมมนา นิทรรศการหรือ ภาคนิพนธ์

18.การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ (ต่อเนื่อง) ได้กำหนดระบบและวิธีการประกันคุณภาพหลักสูตรในประเด็น ดังนี้

        ประเด็นการบริหารหลักสูตร

                1. แต่งตั้งกรรมการร่างหลักสูตร
                2. คณะกรรมการจากอาจารย์ในภาควิชาภาษาไทยและสารสนเทศวิพากษ์หลักสูตร
                3. ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยวิพากษ์หลักสูตร
                4. พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรตามคำทักท้วงและข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
                5. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                6. สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์พิจารณากลั่นกรองหลักสูตร
                7. สภามหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติหลักสูตร
                8. คณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบหรือรับรองหลักสูตร

        ประเด็นทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. ตำราและเอกสาร (ดังรายละเอียดในข้อ 15)
                2. ห้องปฏิบัติการทางภาษา 1 ห้อง
                3. โสตทัศนวัสดุ เช่น โปรเจกเตอร์มัลติมีเดีย วีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์

        ประเด็นการสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. มีทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาและทุนให้เปล่าอื่นๆ
                2. มีอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพชั้นปีละ 2 คน

        ประเด็นความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

            ก่อนเปิดหลักสูตร

                สำรวจความพึงพอใจและความต้องการแรงงานจากหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้แบบสอบถามกับบุคคลต่อไปนี้

                    1. บัณฑิตวิชาเอกภาษาไทย จำนวน 20 คน
                    2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 5 คน
                    3. ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น จำนวน 6 คน
                    4. นักธุรกิจ จำนวน 3 คน
                    5. ผู้มีอาชีพอิสระ เช่น นักเขียน จำนวน 3 คน

                จากการสำรวจปรากฏว่า ร้อยเปอร์เซ็นต์ของผู้กรอกแบบสอบถามเห็นสมควรให้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ (ต่อเนื่อง)

            หลังเปิดหลักสูตร

                1.สำรวจจำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำ โดยใช้แบบสอบถาม
                2.สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
                3.สำรวจความพึงพอใจของบัณฑิตเกี่ยวกับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ (ต่อเนื่อง)

19. การพัฒนาหลักสูตร

        ดัชนีบ่งชี้มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา สำหรับหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ คือ

            1. การได้งานทำของบัณฑิต
            2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง
            3. ความพึงพอใจของบัณฑิตที่มีต่อหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
            4. การศึกษาต่อของบัณฑิตในระดับที่สูงขึ้น
            5. พิจารณาปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี

        กำหนดประเมินครั้งแรกปี 2552

…………..

 

ภาคผนวก

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ มีกระบวนการร่างหลักสูตร ดังนี้

        1. สำรวจความต้องการของนักศึกษาระดับอนุปริญญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และนักศึกษาระดับอนุปริญญาของสถาบันอื่นๆ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549

        2. ศึกษาหลักสูตรภาษาไทยเพื่ออาชีพจากสถาบันการศึกษาต่างๆ

        3. ประชุมเพื่อร่างหลักสูตรเดือนพฤศจิกายน 2549 โดยมีคณะกรรมการร่างหลักสูตร ดังนี้

                3.1. ผศ. เสาวดี ธนวิภาคะนนท์ กศ.บ., ค.ม.
                3.2. ผศ.สุชาติ พงษ์พานิช กศ.บ., กศ.ม., นศ.บ.
                3.3. นางสาวนวพร คำเมือง ศศ.บ., กศ.ม.
                3.4. นางสาววิภาดา เปลี่ยนไทย ค.บ., ศศ.ม.

        4. ประชุมวิพากษ์หลักสูตรเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 โดยมีคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ดังนี้

                4.1. ผศ. เสาวดี ธนวิภาคะนนท์ กศ.บ., ค.ม.
                4.2. ผศ.สุชาติ พงษ์พานิช กศ.บ., กศ.ม., นศ.บ.
                4.3. นางสาวนวพร คำเมือง ศศ.บ., กศ.ม.
                4.4. นางสาววิภาดา เปลี่ยนไทย ค.บ., ศศ.ม.
                4.5. นายวิเชียร อชิโนบุญวัฒน์ กศ.บ., กศ.ม.
                4.6. นางลักขณา เจริญวารี กศ.บ., กศ.ม.
                4.7. ผศ.สุวนีย์ พระแก้ว กศ.บ., อ.ม., นศ.บ.
                4.8. รศ.วิเชียร เกษประทุม พ.ม., ศศ.บ., ค.ม.
                4.9. นายบุญเลิศ วิวรรณ์ พ.ม., อ.ม., ปธ. 9

        5. ปรับปรุงเพื่อแก้ไขหลักสูตรเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549

        6. นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเพื่อวิพากษ์หลักสูตร ดังรายนามต่อไปนี้

                6.1. ศ. ดร.สุจริต เพียรชอบ
                6.2. รศ. ดร.ประจักษ์ สายแสง
                6.3. รศ.พูนพงษ์ งามเกษม

        7. พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรตามข้อท้วงติง และข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิตามข้อ 6

        8. นำเสนอกรรมการพัฒนาหลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ตามลำดับ

        9. ปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรตามข้อท้วงติง และข้อเสนอแนะของกรรมการตามข้อ 8

        10. นำเสนอสภามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อพิจารณาอนุมัติ

 

--------------------------------------------------------------