หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะ
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

 

ภาคผนวก

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาเคมี

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

 

รายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

.....................................

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Chemistry

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี
  Bachelor of Science in Chemistry
ชื่อย่อ : วท.บ. (เคมี)
  B.Sc. (Chemistry)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นหลักสูตรที่ยึดหลักความเป็นภูมิปัญญาสากล ที่สามารถปรับและนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของการให้โอกาสทางการศึกษา เศรษฐกิจ และการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น โดยมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ มีทักษะประสบการณ์ด้านปฏิบัติการและการวิจัย มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติที่ดี และมีความสามารถในการประกอบอาชีพในสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และการประกอบอาชีพอิสระได้

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทางเคมี ในระดับสากลและท้องถิ่น และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และศึกษาวิจัยในระดับสูงขึ้นต่อไปได้
                2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะประสบการณ์ จนสามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเคมี ทั้งภาครัฐและเอกชน และมีความสามารถที่จะประกอบอาชีพอิสระได้
                3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และการวิจัยพัฒนาเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้
                4. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ที่ดี ตลอดจนมีเจตคติต่อวิชาชีพทางด้านเคมี ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลทั้งระดับสากลและชุมชนท้องถิ่น

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงาน หรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

ผศ.สุมลทา วาจาบัณฑิตย์

    -  วท.ม. (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. เอกสารประกอบการสอนเคมีทั่วไป
    2. เคมีอนินทรีย์
    3. เคมีอาหาร

ผลงานวิจัย

    -  ปฏิกิริยาเคมีระหว่างเกลือของโลหะทรานสิชันบางตัวกับสารเฮตเตอโร -
      ไซคลิกเอมีน
    -  สารแมโครไซคลิกลิแกนด์
    -  การวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วในไข่เยี่ยวม้าโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอร์พชัน
       สเปกโทรเมตรี
    -  การวิเคราะห์โลหะหนักอื่นๆ ในอาหาร

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีทั่วไป
    2. เคมีอนินทรีย์
    3. เคมีอาหาร
    4. การแปรรูปสมุนไพรทางอาหาร

2

นายพีระพงษ์ เนียมเสวก

    -  กศ.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
    -  วท.ม.(การสอนเคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ปฏิบัติการเคมีเชิงฟิสิกส์ 2
    2. ปฏิบัติการเคมีทั่วไป
    3. เคมีทั่วไป 1

ผลงานวิจัย

    1. การสร้างชุดตรวจสอบสำเร็จเพื่อตรวจสอบฟอร์มาลีนในอาหารทะเล
    2. การศึกษาหาปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตถ่านกัมมันต์จากพืชในท้องถิ่น

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีอินทรีย์
    2. เคมีเชิงฟิสิกส์
    3. เคมีทั่วไป

3

ผศ.สุวรรณ์ คงมี

    -  วท.ม. (การสอนเคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (เคมี) วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. เคมีอินทรีย์
    2. เคมีทั่วไป
    3. ชีวเคมี

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีอินทรีย์
    2. เคมีวิเคราะห์
    3. เคมีทั่วไป
    4. ชีวเคมี

4

ผศ.สุนันท์ วิฑิตสิริ

    -  วท.ม.(การสอนเคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. วิทยาศาสตร์ 101
    2. เคมีอนินทรีย์
    3. เคมีเชิงฟิสิกส์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีเชิงฟิสิกส์
    2. เคมีทั่วไป
    3. พลังงานทดแทน

5

น.ส.จีรพรรณ เทียนทอง

    -  วท.ม. (เคมีวิเคราะห์และเคมี อนินทรีย์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยมหิดล
    -  วท.บ. (เคมีอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์การทำงาน

    1. อาจารย์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2541-2546
    2. นักวิทยาศาสตร์ 4 กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ. 2546-2548
    3. อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน

การฝึกอบรม

    1. การประยุกต์ใช้รังสีในประเทศไทย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
    2. การวิเคราะห์และทดสอบอาหารคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    3. ยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีวิเคราะห์
    2. การวิเคราะห์ทางเคมีด้วย เครื่องมือ
    3. เคมีอุตสาหกรรม
    4. ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
    5. กระบวนการทางเคมีอุตสาหกรรม

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ- สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1

ผศ.ชเนศ คงการค้า

    -  วท.ม. (การสอนเคมี)
    -  วท.บ. (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  Cert. In Research and Evaluation Dip. In Interdisplinary

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. การวิเคราะห์น้ำ
    2. เสริมทักษะปฏิบัติการเคมี 
    3. เคมีคุณภาพวิเคราะห์

ประสบการณ์การทำงาน

    -  หัวหน้าโครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา รร.ตชด. ในพระราชดำริ
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
    -  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    1. คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
    2. คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีวิเคราะห์
    2. เครื่องมือวิเคราะห์
    3. เคมีเครื่องสำอาง
    4. เคมีสิ่งแวดล้อม
    5. เคมีวิเคราะห์น้ำ

2

ดร.สาวิตรี เพชรช่วย

    -  วท.บ. (วัสดุศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  M.Sc (Polymer Science) วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี,
       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  Ph.D. (Polymer Science and Technology) UMIST, UK

ประสบการณ์การทำงาน

    1. อาจารย์สถาบันราชภัฏสวนดุสิต พ.ศ. 2541 - 2543
    2. อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2547 – ปัจจุบัน

ผลงานวิจัย

    1. The effect of microwave processing on the structure and
        properties of polymer resins and their blends. (2004)
    2. Comparative study on thermal and microwave curing of
        unsaturated polyester resin. (2002)

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    1. หัวหน้าภาควิชาเคมี
    2. คณะกรรมการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีอินทรีย์
    2. เคมีพอลิเมอร์
    3. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
    4. เทคโนโลยีพลาสติก
    5. วัสดุพอลิเมอร์

3

ผศ.ทรงเดช คงตระกูลทรัพย์

    -  กศ.บ. (เคมี) เกียรตินิยม วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางเขน

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ตำราชีวเคมี
    2. เคมีอินทรีย์
    3. เคมีพื้นฐาน
    4. เคมีทั่วไป
    5. สมุนไพรไทย
    6. ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ตำแหน่งที่รับผิดชอบ

    -  คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีอินทรีย์
    2. ชีวเคมี
    3. เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
    4. สมุนไพรเพื่อชีวิต
    5. เคมีเภสัช

4

น.ส. สาวิตรี พงษ์ไพบูลย์

    -  วท.บ. (เคมี) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประสบการณ์การทำงาน

    1. บริษัทโรงงานเภสัชกรรม เกร็ทเตอร์ฟาร์ม่า พ.ศ. 2547 - 2548
    2. อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน

การฝึกอบรม

    1. ฝึกงานในแผนก R&Dที่บริษัท ทีโอเอ เพนท์ ประเทศไทย (จำกัด)

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. เคมีทั่วไป
    2. การอนุรักษ์พลังงาน
    3. เคมีของไบโอดีเซล

13. จำนวนนักศึกษา

        แผนการรับนักศึกษาและจำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา แสดงดังตาราง

หลักสูตร

จำนวนนักศึกษาที่รับเข้า

2549

2550

2551

2552

2553

    -  แขนงวิชาเคมี

40

40

40

40

40

    -  แขนงวิชาเคมีอุตสาหกรรม

40

40

40

40

40

    -  แขนงวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

40

40

40

40

40

รวม

120

120

120

120

120

จำนวนนักศึกษาที่คาดว่าจะสำเร็จ

120 120 120 120 120

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

1

ห้องปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1

1

2

ห้องปฏิบัติการเคมีอินทรีย์

1

-

3

ห้องปฏิบัติการเคมีอนินทรีย์

1

-

4

ห้องปฏิบัติการเคมีเชิงฟิสิกส์

1

-

5

ห้องเก็บสารเคมี

1

1

6

ห้องเก็บวัสดุเครื่องแก้ว

1

1

7

ห้องเครื่องมือ FT-IR

1

-

8

ห้องเครื่องมือ Atomic Absorption Spectroscopy

1

-

9

ห้องเครื่องมือ HPLC, GC

1

-

10

ห้องเครื่องมือBomb calorimeter วิเคราะห์โปรตีนและไขมัน

1

-

11

ห้องเป่าแก้ว

1

-

12

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์น้ำ

1

-

13

ห้องปฏิบัติการโครงการวิจัยทางเคมีสำหรับนักศึกษาชั้นปี 4

2

-

14

ห้องสมุด

1

1

15

ห้องศูนย์สารสนเทศและห้องพักอาจารย์

1

1

16

ห้องเตรียมสาร

1

1

        14.2 อุปกรณ์

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่ม

1

เครื่องวิเคราะห์โปรตีนและไขมัน

1

-

2

เครื่อง UV-Vis สเปกโตมิเตอร์

5

-

3

เครื่อง pH meter

10

10

4

เครื่อง HPLC

2

-

5

เครื่อง GC

2

-

6

เครื่อง Atomic Absorption Spectrometer

1

1

7

เครื่อง FT-IR Spectrometer

1

1

8

เครื่องกลั่นน้ำ

2

2

9

เครื่องกลั่นน้ำคุณภาพสูง

1

1

10

เครื่องบอมบ์คาลอรีมิเตอร์

1

-

11

เครื่องกลั่นระเหยแบบลดความดัน

3

3

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำรา

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1

เคมีทั่วไป

5

20

2

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

5

40

3

เคมีอินทรีย์

3

20

4

ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์

3

40

5

เคมีอนินทรีย์

3

20

6

เคมีวิเคราะห์

5

20

7

ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์

5

40

9

เคมีวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ

2

20

10

ปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ

2

40

11

เคมีเชิงฟิสิกส์

2

40

12

เคมีพอลิเมอร์

2

20

13

เคมีสภาวะแวดล้อม

2

20

14

ชีวเคมี

5

20

15

ปฏิบัติการชีวเคมี

2

40

16

เทคโนโลยีปิโตรเลียม

3

20

17

พอลิเมอร์เทคโนโลยี

3

20

18

สมุนไพรไทย

2

20

19

วารสาร Science Today

2

12

20

วารสาร Lab Today

2

12

21

จดหมายข่าว MTEC

2

12

22

Engineering Transaction

2

12

23

Walailak Journal

1

12

24

วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2

12

25

วารสารวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง

2

12

26

วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย

2

12

27

Fuel field manual

1

5

28

Food for fifty

1

5

29

Mastering chemistry

1

5

30

Biochemistry

3

5

31

Contemporary chemical analysis

1

5

32

Chemistry

5

5

33

Organic structural spectroscopy

1

5

34

Organic chemistry

2

5

35

Classical and statical thermodynamics

1

5

36

Hazardous chemical safety guide

1

5

37

Introduction to instrument analysis

1

5

38

Handbook of chemistry

2

5

39

Petroleum refinery engineering

1

5

40

Systematic identification of organic compound

1

5

41

Chemical process industry

1

5

42

Basic inorganic chemistry

1

5

43

Qualitative inorganic analysis

1

5

44

Chemistry structure and dynamics

1

5

45

Analytical chemistry

3

5

46

Introduction to modern inorganic chemistry

1

5

47

Principle of biochemistry

1

5

48

Analytical chemistry handbook

1

5

49

Spectrometric identification of organic compound

1

5

50

Introduction to general, organic & biochemistry

1

5

51

Organic synthesis

1

5

52

Fundamental of general, organic & biochemistry

1

5

53

Drug information handbook

1

5

54

Natural product

1

5

55

Thai medicinal plant

1

5

56

Medicinal plant in Thai

1

5

57

Quantitative chemical analysis

1

5

58

Fundamental of polymers

1

5

59

Principle of polymerization

1

5

60

Advance inorganic chemistry

2

5

        15.2 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

            การสืบค้นจากเว็บไซต์ทางด้านเคมีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์เช่น

                www.IUPAC.com

                www.chemistrythai.com

                www.sciencedirect.com

                http://chemistry.about.com

                http://chemistry.cjp.net ฯลฯ

        15.3 แหล่งวิทยาการและแหล่งฝึกงาน

            15.3.1 แหล่งวิทยาการ

                1. ห้องสมุดในสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
                2. ห้องสมุดในองค์กรอื่นๆ เช่น

                        - ห้องสมุดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
                        - ห้องสมุดวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            15.3.2 แหล่งฝึกงาน

                1. องค์กรของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เช่น

                        - สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
                        - กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
                        - กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก
                        - กรมสรรพสามิต
                        - สำนักงานโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่
                        - โรงงานวัตถุระเบิดทหาร
                        - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนครสวรรค์
                        - ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดพิษณุโลก
                        - สำนักงานประปาเขต 10

                2. บริษัทเอกชนต่างๆ เช่น

                        - บริษัทเอเชียซิลิโคนโมโนเมอร์ จำกัด
                        - บริษัทไทยโอเลฟินส์ จำกัด
                        - บริษัทอะยิโนะโมะโตะ จำกัด
                        - บริษัทเบียร์ไทย 1991 จำกัด
                        - บริษัทเอนไวรอนเมนท์พัลท์แอนด์เปเปอร์จำกัด
                        - บริษัทพรีซิชั่นพลาสติก จำกัด

16. งบประมาณ

        ในการจัดการศึกษามีประมาณการงบประมาณภายในระยะ 5 ปี ดังนี้

หมวดรายจ่าย

ปีงบประมาณ พ.ศ.

2549

2550

2551

2552

2553

    -  ค่าครุภัณฑ์

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าตอบแทน

300,000

200,000

80,000

80,000

300,000

200,000

80,000

80,000

300,000

200,000

80,000

80,000

300,000

200,000

80,000

80,000

300,000

200,000

80,000

80,000

รวม

660,000

660,000

660,000

660,000

660,000

17. หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาชาวิชาเคมี มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

95

 

1. วิชาแกน

30

 

2. วิชาเฉพาะด้านบังคับ

36

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

24

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

132

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม   

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 92 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

General Economics

 

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

Research in Science

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

General Physics

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

4221101

เคมีทั่วไป

3(3-0-6)

 

General Chemistry

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1(0-2-1)

 

General Chemistry Laboratory

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3(3-0-6)

 

General Biology

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1(0-2-1)

 

General Biology Laboratory

 

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

 

Calculus 1

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Computer for Science

 

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 36 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

                    2.1 วิชาบังคับร่วม จำนวน 27 หน่วยกิต ดังนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 1

 

4222301

เคมีอินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

Organic Chemistry 1

 

4222302

เคมีอินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

Organic Chemistry 2

 

4222401

เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3 (2-3-4)

 

Physical Chemistry 1

 

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

Analytical Chemistry

 

4223602

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือ

3 (2-3-4)

 

Instrumental Methods of Chemical Analysis

 

4223901

สัมมนาเคมีเฉพาะทาง

1 (0-2-1)

 

Seminar in Chemistry

 

4224709

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเคมี

3 (2-2-5)

 

Auditing and Quality Controlling of Chemical Products

 

4224902

โครงการวิจัยทางเคมี

2 (0-4-2)

 

Senior Project in Chemistry

 

                    2.2 วิชาบังคับตามแขนงวิชา จำนวน 9 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากแขนงวิชาใดวิชาหนึ่ง ดังนี้

                            1. แขนงวิชาเคมี

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223202

เคมีอนินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 2

 

4223402

เคมีเชิงฟิสิกส์ 2

3 (2-3-4)

 

Physical Chemistry 2

 

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 1

 

                            2. แขนงวิชาเคมีอุตสาหกรรม

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223402

เคมีเชิงฟิสิกส์ 2

3 (2-3-4)

 

Physical Chemistry 2

 

4223701

ปริมาณสัมพันธ์ทางเคมี

3 (3-0-6)

 

Chemical Stoichiometry

 

4223702

เคมีอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Chemistry

 

                            3. แขนงวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 1

 

4223751

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร

3 (2-2-5)

 

Introduction to Herbs

 

4223752

เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Chemistry of Natural Products

 

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 24 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนเป็นแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องกัน หรือ เป็นรายวิชาเคมีใดๆ ที่สัมพันธ์กันไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

                    3.1 แขนงวิชาเคมี

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223104

เคมีในชีวิตประจำวัน

2 (2-0-4)

 

Chemistry for Everyday Life

 

4221105

เสริมทักษะปฏิบัติการเคมี

3 (2-3-4)

 

Chemistry Laboratory Skill Improvement

 

4223106

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในทางเคมี

2 (1-2-3)

 

Computer Applications in Chemistry

 

4223107

สเปกโทรสโกปีเชิงเคมี

2 (1-2-3)

 

Chemical Spectroscopy

 

4223203

เคมีของคอลลอยด์

3 (2-2-5)

 

Colloid Chemistry

 

4223303

สเปกโทรสโกปีสำหรับเคมีอินทรีย์

2 (1-2-3)

 

Spectroscopy of Organic Chemistry

 

4223304

การสังเคราะห์สารอินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Organic Synthesis

 

4223502

ชีวเคมี 2

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 2

 

4223603

เทคนิคการแยกสาร

2 (1-2-3)

 

Separation Technique

 

4224204

เคมีออร์กาโนเมทาลิก

3 (2-2-5)

 

Organometallic Chemistry

 

4224604

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือชั้นสูง

3 (2-3-4)

 

Advanced Instrumental Methods of Chemical Analysis

 

4224712

เทคโนโลยีนิวเคลียร์

2 (2-0-4)

 

Nuclear Technology

 

                    3.2 แขนงวิชาเคมีอุตสาหกรรม

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223105

เคมีสภาวะแวดล้อม

3 (2-3-4)

  Environmental Chemistry  

4223305

วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

3 (3-0-6)

  Polymer Science  

4223306

ปฏิบัติการพอลิเมอร์

1 (0-3-0)

 

Polymer Laboratory

 

4223307

วัสดุพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Polymeric Materials

 

4224308

เทคโนโลยีพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Polymer Technology

 

4224309

ปฏิบัติการเทคโนโลยีพอลิเมอร์

1 (0-3-0)

 

Polymer Technology Laboratory

 

4224310

เทคโนโลยีพลาสติก

2 (2-0-4)

 

Plastic Technology

 

4224311

ไบโอพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Biopolymer

 

4224312

ยางธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Natural Rubber

 

4224313

ยางสังเคราะห์

3 (3-0-6)

 

Synthetic Rubber

 

4224314

เคมียาง

3 (3-0-6)

 

Rubber Chemistry

 

4224315

กระบวนการแปรรูปยาง

3 (3-0-6)

 

Rubber Processing

 

4224316

ผลิตภัณฑ์ยาง

2 (2-0-4)

 

Rubber Products

 

4223703

ยูนิตโอเปอเรชัน

3 (3-0-6)

 

Unit Operation

 

4223704

ปฏิบัติการกระบวนการเคมีอุตสาหกรรม

1 (0-3-0)

 

Process in Industrial Chemistry Laboratory

 

4223705

กระบวนการทางเคมีอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Process in Industrial Chemistry

 

4223706

ความปลอดภัยจากสารเคมี

2 (2-0-4)

 

Chemical Safety

 

4223707

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

2 (2-0-4)

 

Industrial Safety

 

4223708

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Instrumentation

 

4224710

เรื่องคัดเฉพาะทางเคมีอุตสาหกรรม

1 (0-2-1)

 

Selected Topic in Industrial Chemistry

 

4224711

เคมีการเร่งปฏิกิริยาเบื้องต้น

2 (2-0-4)

 

Fundamental of Catalyst Chemistry

 

4224713

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

3 (3-0-6)

 

Petrochemical Industry

 

4224714

เทคโนโลยีเกี่ยวกับปิโตรเลียม

2 (2-0-4)

 

Petroleum Technology

 

4224715

เคมีเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

2 (2-0-4)

 

Chemistry of Fuels

 

4224716

เทคโนโลยีเชื้อเพลิง

3 (3-0-6)

 

Fuel Technology

 

4224717

ปฏิบัติการการวิเคราะห์เชื้อเพลิง

1 (0-3-0)

 

Fuel Analysis Laboratory

 

4224719

พลังงานทดแทน

3 (3-0-6)

 

Alternative Energy

 

4224720

การอนุรักษ์พลังงาน

2 (2-0-4)

 

Energy Preservation

 

4224721

เคมีของไบโอดีเซล 1

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Biodiesel 1

 

4224722

เคมีของไบโอดีเซล 2

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Biodiesel 2

 

4224723

เคมีสิ่งทอ

2 (1-2-3)

 

Chemistry of Textiles

 

4224724

เคมีเกี่ยวกับสี

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Color

 

4224718

เชื้อเพลิงธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Biofuel

 

4224725

เทคโนโลยีการชุบผิว

2 (1-3-2)

 

Plating Technology

 

4224726

เคมีประยุกต์

3 (2-2-5)

 

Applied Chemistry

 

4224727

เคมีเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

2(2-0-4)

 

Chemistry of Cosmetics

 

4224728

เคมีเกี่ยวกับน้ำหอม

2 (1-2-3)

 

Chemistry of Perfumes

 

                    3.3 แขนงวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4223753

การศึกษาพืชสมุนไพรทางภูมิศาสตร์

3 (3-0-6)

 

Geological Study of Herbs

 

4223754

อนุกรมวิธานของพืชสมุนไพร

3 (2-3-4)

 

Herbs Taxonomy

 

4223755

พฤกษเคมี

3 (2-3-4)

 

Phygochemistry

 

4223756

พืชหอมและเครื่องเทศ

3 (2-3-4)

 

Aroma Plants and Spices

 

4223757

พืชพิษ

2 (2-0-4)

 

Poisonous Plants

 

4223758

สมุนไพรเพื่อชีวิต

3 (2-3-4)

 

Herbs for Life

 

4223759

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

2 (2-0-4)

 

Herbs for Health

 

4224760

การใช้สมุนไพรรักษาโรค

3 (3-0-6)

 

Medical Herbs for Treatment

 

4224761

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Natural Products Development

 

4224762

การแปรรูปสมุนไพรทางอาหาร

3 (2-3-4)

 

Herbs Processing in Food

 

4224763

เครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Cosmetics from Natural Products

 

4224764

การควบคุมคุณภาพสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (2-3-4)

 

Quality Control for Herbs and Natural Products

 

4224765

เคมีเภสัช

3 (2-3-4)

 

Pharmaceutical Chemistry

 

4224766

เคมีอาหาร

3 (2-3-4)

 

Food Chemistry

 

4224903

ปัญหาพิเศษด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Special Problems in Natural Products

 

            (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4224801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเคมี

5 (450)

 

Professional Experience in Chemistry

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต รวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

                แผนการการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเคมี มี 3 แผน จำแนกตามแขนงวิชาดังนี้

                17.4.1 แผนการศึกษา แขนงวิชาเคมี

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

 

4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-3-0)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4222301

เคมีอินทรีย์ 1

3 (2-2-5)

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

รวม

17

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3 (2-2-5)

 

4222302

เคมีอินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

4222401

เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3 (2-3-4)

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 1

3 (3-0-6)

 

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 2

3 (3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

4223202

เคมีอนินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

4223402

เคมีเชิงฟิสิกส์ 2

3 (2-3-4)

 

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Xxxxxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 1 รายวิชา

3 (2-3-4)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

4223901

สัมมนาเคมีเฉพาะทาง

1 (0-2-1)

422xxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 4 รายวิชา

12 (?-?-?)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4223602

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือ

3 (2-3-4)

 

4224709

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเคมี

3 (2-2-5)

 

4224801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเคมี

5 (450)

 

422xxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 1 รายวิชา

3 (2-2-5)

 

รวม

14

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4224902

โครงการวิจัยทางเคมี

2 (0-4-2)

 

422xxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก 2 รายวิชา

6 (4-4-10)

 

รวม

8

 

รวมทั้งหมด

132

 

                17.4.2 แผนการศึกษา แขนงวิชาเคมีอุตสาหกรรม

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

บังคับ

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

 

4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-3-0)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

บังคับ

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

บังคับ

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4222301

เคมีอินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

รวม

20

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

4222302

เคมีอินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

4222401

เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3 (2-3-4)

xxxxxxx

เลือกเสรี 1

3 (3-0-6)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี 2

3 (3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

4223402

เคมีเชิงฟิสิกส์ 2

3 (2-3-4)

 

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

4223701

ปริมาณสัมพันธ์ทางเคมี

3 (3-0-6)

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 2 รายวิชา

4 (2-4-6)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4003901

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

4223602

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือ

3 (2-3-4)

 

4223702

เคมีอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 3 รายวิชา

8 (5-6-13)

 

รวม

20

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4223901

สัมมนาเคมีเฉพาะทาง

1 (0-2-1)

 

4224709

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเคมี

3 (2-2-5)

 

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 4 รายวิชา

12 (?-?-?)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4224801

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเคมี

5(450)

 

4224902

โครงการวิจัยทางเคมี

2 (0-4-2)

 

รวม

7

 

รวมทั้งหมด

132

 

                17.4.3 แผนการศึกษา แขนงวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

 

4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-3-0)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

 

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3 (2-2-5)

บังคับ

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

บังคับ

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4222301

เคมีอินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-3-0)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

รวม

20

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

4223401

เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3 (2-3-4)

 

4222302

เคมีอินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

Xxxxxxx

เลือกเสรี 1

3 (3-0-6)

 

Xxxxxxx

เลือกเสรี 2

3 (3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

4223751

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร

3 (2-3-4)

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 2 รายวิชา

6 (4-4-10)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

4003901

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

4223602

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือ

3 (2-3-4)

 

4223752

เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 2 รายวิชา

6 (4-4-10)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4223901

สัมมนาเคมีเฉพาะทาง

1 (0-2-1)

 

4224709

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเคมี

3 (2-2-5)

 

422xxxx

วิชาเลือกเฉพาะด้าน 3 รายวิชา

12 (?-?-?)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4224801

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเคมี

5(450)

 

4224902

โครงการวิจัยทางเคมี

2 (0-4-2)

 

รวม

7

 

รวมทั้งหมด

132

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา 2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาถึงลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคลการบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และกลไกทำงานของระบบราคา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบธุรกิจ การจัดหาและใช้ทรัพยากร การบริโภค การผลิต ตลาด สถาบันการเงิน การภาษีอากร การค้า การลงทุน ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขปัญหา

รายวิชา 4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Research in Science

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการ วิจัย และการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือการค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา 4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-3-0)

 

General Physics Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ทั่วไป ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-3-0)

 

General Chemistry Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับ เทคนิคเบื้องต้น และหลักปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติการเคมี การจัดสารเคมี เกรดของสาร และการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เทคนิคการใช้เครื่องมือพื้นฐาน จลน์ศาสตร์ สมดุลเคมี pH ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดและเบส

รายวิชา 4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Biology

 

        ศึกษาสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ พลังงานในสิ่งมีชีวิต และการสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบต่าง ๆ ของสัตว์ ชีวิตกับสภาพแวดล้อม การจัดจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตและเทคโนโลยีทางชีวภาพ

รายวิชา 4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-3-0)

 

General Biology Laboratory

 

        ปฏิบัติการเรื่องสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์และการแบ่งเซลล์เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์ การจำแนกสิ่งมีชีวิต การแลกเปลี่ยนสาร การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การทำงานของระบบต่าง ๆ ในสัตว์ ฮอร์โมนพืช และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา 4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Science for Computer

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การนำเสนอสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เรียน

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

รายวิชา 2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4221105

เสริมทักษะปฏิบัติการเคมี

3 (2-3-4)

 

Chemistry Laboratory Skill Improvement

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี การจำแนกประเภทของสารเคมี การเก็บและการเลือกใช้สารเคมี อุปกรณ์เครื่องแก้วและพลาสติก การเตรียมรีเอเจนต์ การคำนวณในการเตรียมสารละลาย เทคนิคการทดลองด้วยเครื่องมือมูลฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการเคมี ขั้นตอนในการดำเนินงานในห้องปฏิบัติการเคมี

รายวิชา 4222201

เคมีอนินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 1

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดสารประกอบไอออนิก สารประกอบโคเวเลนต์ และสมบัติของสารประกอบไอออนิกและโคเวเลนต์ ทั้งด้านกายภาพและเคมี สมบัติและสารประกอบของธาตุ โลหะ อโลหะ เคมีของสารอนินทรีย์ในตัวทำละลายที่เป็นน้ำและไม่ใช่น้ำ และปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก การเตรียมสารประกอบไอออนิก และ สารประกอบโคเวเลนต์

รายวิชา 4222301

เคมีอินทรีย์ 1

3 (2-3-4)

 

Organic Chemistry 1

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ ไฮบริไดเซชันของคาร์บอน พันธะในสารประกอบอินทรีย์ การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ สเตอริโอเคมี ชนิดและกลไกของปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ สมบัติทางกายภาพ การเตรียม ปฏิกิริยาของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สารประกอบอะโรมาติกและสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันชนิดต่างๆ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำสารให้บริสุทธิ์ การแยกสารผสม การวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบในสารอินทรีย์ ทดสอบหมู่ฟังก์ชัน การเตรียมอนุพันธ์สารอินทรีย์ ปฏิกิริยาชนิดต่าง ๆ ของสารอินทรีย์

รายวิชา 4222302

เคมีอินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

Organic Chemistry 2

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติ การเตรียมปฏิกิริยา ชนิดของปฏิกิริยา พลังงานของปฏิกิริยาและกลไกของปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจน กำมะถันและฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ สารประกอบพอลินิวเคลียร์อะโรเมติก สารเฮทเทอโรไซคลิกชนิดต่างๆ สารอินทรีย์ที่พบในธรรมชาติ

รายวิชา 4222401

เคมีเชิงฟิสิกส์ 1

3 (2-3-4)

 

Physical Chemistry 1

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติของแก๊ส และทฤษฏีจลน์โมเลกุลของแก๊ส กฏต่างๆ ของอุณหพลศาสตร์ อุณหเคมี เอนทัลปี เอนโทรปี และพลังงานเสรี สมดุลเคมี สมดุลระหว่างวัฏภาค กฏของวัฏภาค ผลึกและของเหลว

รายวิชา 4223104

เคมีในชีวิตประจำวัน

2 (2-0-4)

 

Chemistry for Everyday Life

 

        ศึกษาความรู้ทางเคมีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ผลิตภัณฑ์เคมีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องอุปโภคบริโภค กระบวนการผลิต การใช้งาน การวิเคราะห์ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการเก็บรักษา

รายวิชา 4223105

เคมีสภาวะแวดล้อม

3 (2-3-4)

 

Environmental Chemistry

 

        ศึกษามลพิษทางน้ำ ดินและอากาศ การสุ่มตัวอย่างน้ำ ดิน การวิเคราะห์น้ำเสีย ดิน พืช ยาฆ่าแมลง โลหะหนักในดิน น้ำ อากาศ ปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ค่าความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี ค่าความต้องการออกซิเจนทางเคมี การวิเคราะห์หาไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถันในดิน การวิเคราะห์ยาฆ่าแมลง โลหะหนักในพืช ในดิน ในน้ำ และในอากาศ

รายวิชา 4223106

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในทางเคมี

2 (1-2-3)

 

Computer Applications in Chemistry

 

        ศึกษาการนำความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ร่วมกับการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ศึกษาและแก้ปัญหาทางเคมี การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น ภาคปฏิบัติ เน้นการฝึกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปตามเนื้อหาของภาคทฤษฎี

รายวิชา 4223107

สเปกโทรสโกปีเชิงเคมี

2 (1-2-3)

 

Chemical Spectroscopy

 

        ศึกษาสมบัติไฟฟ้าและแม่เหล็กของสาร และทฤษฎีทางสเปกโทรสโกปีที่เกี่ยวกับการดูดกลืนแสง และการคายแสงของอะตอมและโมเลกุล เช่น สเปกตรัมของรังสีอินฟราเรด อัลตราไวโอเลต/วิสิเบิล สเปกตรัมรามาน สเปกตรัมไมโครเวฟ การวาวแสงรังสีเอกซ์ นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี การกระจายการหมุนเชิงแสง และไดโครอิซึมเชิงวงกลม แมสสเปกโทรสโกปี

รายวิชา 4223202

เคมีอนินทรีย์ 2

3 (2-3-4)

 

Inorganic Chemistry 2

 

        ศึกษาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน การเรียกชื่อ ไอโซเมอร์ การเตรียม พันธะในสารประกอบเชิงซ้อน ทฤษฏีเวเลนต์บอนด์ ทฤษฏีคริสตัลฟิลด์ ทฤษฏีลิแกนด์ฟิลด์ สมบัติทางกายภาพและปฏิกิริยาเคมีของสารประกอบเชิงซ้อน ปฏิบัติการเกี่ยวกับปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อน การเตรียมสารประกอบเชิงซ้อน การหาพลังงานแตกออก (splitting energy) และจลนของปฏิกิริยาของสารประกอบเชิงซ้อน สมมาตร และทฤษฎีกลุ่ม

รายวิชา 4223203

เคมีของคอลลอยด์

3 (2-3-4)

 

Colloid Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบของคอลลอยด์ สมบัติทางแสงของคอลลอยด์ จลนพลศาสตร์ของคอลลอยด์ การดูดซึม การดูดกลืน สมบัติทางไฟฟ้าของคอลลอยด์ การเตรียมและการทำให้คอลลอยด์ บริสุทธิ์ ความอยู่ตัวและการรวมตัวของคอลลอยด์ คอลลอยด์กับสารลดความตึงผิว

รายวิชา 4223303

สเปกโทรสโกปีสำหรับเคมีอินทรีย์

2( 1-2-3)

 

Spectroscopy of Organic Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการ การหาโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ โดยวิธีสเปกโทรสโกปี เช่น อินฟราเรด อัลตราไวโอเลต/วิสิเบิล นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์ และ แมสสเปกโทรสโกปี

รายวิชา 4223304

การสังเคราะห์สารอินทรีย์

3 (2-3-4)

 

Organic Synthesis

 

        ศึกษาและปฏิบัติการ การสังเคราะห์และการวิเคราะห์สารอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ

รายวิชา 4223305

วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Polymer Science

 

        ศึกษาความรู้เกี่ยวกับพอลิเมอร์ โครงสร้างของพอลิเมอร์ ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชันแบบการเติมและแบบเป็นขั้น การสังเคราะห์พอลิเมอร์ การหาขนาดโมเลกุล การไหลของพอลิเมอร์ สัณฐานวิทยาของพอลิเมอร์ สมบัติเชิงกลและสมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์

รายวิชา 4223306

ปฏิบัติการพอลิเมอร์

1 (0-3-0)

 

Polymer Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับการหามวลโมเลกุลของพอลิเมอร์ การศึกษาลักษณะเฉพาะสำหรับการแยกชนิดของพอลิเมอร์ และศึกษาปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ

รายวิชา 4223307

วัสดุพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Polymeric Materials

 

        ศึกษาโครงสร้าง สมบัติ และ การนำไปใช้ประโยชน์ของ พลาสติก ยาง เส้นใย โฟม สารเคลือบผิว และ กาว

รายวิชา 4223402

เคมีเชิงฟิสิกส์ 2

3 (2-3-4)

 

Physical Chemistry 2

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับสารละลายอุดมคติและสารละลายจริง ไฟฟ้าเคมี ธรรมชาติของสารอิเล็กโตรไลต์ เซลล์ไฟฟ้าเคมี โครงสร้างอะตอมและโมเลกุล โดยวิธีการทางสเปกโทรสโกปี ทฤษฎีควอนตัม จลนพลศาสตร์เคมี ธรรมชาติของปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี เคมีผิวหน้า

รายวิชา 4223501

ชีวเคมี 1

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 1

 

        ศึกษาความสำคัญของบัฟเฟอร์ในสิ่งมีชีวิต เทคนิคการทำสารชีวโมเลกุลให้บริสุทธิ์โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง วิธีโครมาโทกราฟี การเคลื่อนย้ายสู่ขั้วไฟฟ้า (electrophoresis) การหมุนเหวี่ยง (centrifugation) ศึกษาองค์ประกอบของเซลล์โครงสร้าง สมบัติทางเคมี หน้าที่ทางชีวภาพของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก ฮอร์โมน วิตามิน เกลือแร่ และให้ปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำให้ชีวโมเลกุลบริสุทธิ์ การทดสอบสมบัติทางเคมีของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก และวิตามินบางชนิดและเกลือแร่

รายวิชา 4223502

ชีวเคมี 2

3 (2-3-4)

 

Biochemistry 2

 

        ศึกษากระบวนการย่อย การดูดซึมเมแทบอลิซึมและการควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ลิพิด โปรตีน กรดนิวคลีอิกและเกลือแร่ และปฏิบัติการเกี่ยวกับจลนพลศาสตร์ของเอนไซม์และเมแทบอลิซึมของชีวโมเลกุล

รายวิชา 4223601

เคมีวิเคราะห์

3 (2-3-4)

 

Analytical Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการวิเคราะห์ วิธีเบื้องต้นในการทำคุณภาพวิเคราะห์แบบกึ่งจุลภาค การคำนวณปริมาณสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ การใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับการวัดปริมาตร การคำนวณหาปริมาณสารเคมีและการวิเคราะห์โดยปริมาตรในปฏิกิริยากรด-เบส ปฏิกิริยาตกตะกอน ปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยาการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน จากการไทเทรตสารละลายประเภทต่างๆ ในน้ำ

รายวิชา 4223602

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือ

3 (2-3-4)

 

Instrumental Methods of Chemical Analysis

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการและส่วนประกอบของเครื่องมือ การประยุกต์ทางสเปกโทรสโกปีที่เกี่ยวกับการดูดกลืนแสง และการคายแสงของอะตอมและโมเลกุล เช่น การวัดความขุ่นโดยวิธีเนฟโลเมทรี เทอร์บีดีเมทรี การวิเคราะห์สารโดยวิธีอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี อัลตราไวโอเลตและวิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ฟลูออเรสเซนต์ อะตอมมิกแอบซอฟชันและอะตอมมิกอีมิสชันสเปกโทรสโกปี แมสสเปกโทรเมตรี นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ทางลิควิดโครมาโทกราฟีและแก๊สโครมาโท-กราฟี

รายวิชา 4223603

เทคนิคการแยกสาร

2 (1-2-3)

 

Separation Technique

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับทฤษฎีและกระบวนการแยกสารทางโครมาโทกราฟี เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้แยกสาร การเลือกใช้และการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ทางโครมาโทกราฟี การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณด้วยเทคนิคทางลิควิดโครมาโทกราฟี (liquid chromatography) และแก๊สโครมาโทกราฟี (gas chromatography)

รายวิชา 4223701

ปริมาณสัมพันธ์ทางเคมี

3 (3-0-6)

 

Chemical Stoichiometry

 

        ศึกษาการวิเคราะห์และการแปลผลของข้อมูลที่ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี การทำสมดุลมวลสารที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี การทำสมดุลพลังงานโดยใช้ข้อมูลสมดุลเคมี สมดุลวัฏภาค ข้อมูลทางกายภาพ และ ข้อมูลทางอุณหพลศาสตร์ การแก้ปัญหาสมดุลมวลสาร และพลังงาน ในสภาวะไม่คงตัว

รายวิชา 4223702

เคมีอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Chemistry

 

        ศึกษาการทำงานโดยหลักทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมเคมียูนิตโอเปอเรชัน กลศาสตร์ของการไหล การขนส่งและการเก็บของไหล การผลิตความร้อน การถ่ายเท และการเก็บรักษา กระบวนการทำลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น การผลิตปุ๋ย การผลิตกรดซัลฟิวริกและสารอื่นๆ ที่สำคัญ

รายวิชา 4223703

ยูนิตโอเปอเรชัน

3 (3-0-6)

 

Unit Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับหน่วย มิติของไหล การผสมสารตะกอน การกรองในอุตสาหกรรม การลดขนาดของแข็ง การขนส่งของแข็งโดยใช้ลม การถ่ายโอนความร้อน เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน การผลิตความร้อน การผลิตไอน้ำ การละลาย การระเหย การตกผลึก รีเวิร์สออสโอซิส อัตราฟิลเตรชัน การดูดซึม การดูดซับ การอบแห้ง การสกัดแยกสาร

รายวิชา 4223704

กระบวนการทางเคมีอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Process in Industrial Chemistry

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการนำความรู้ทางเคมีไปประยุกต์ในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมสบู่ สารทำความสะอาด วัตถุระเบิด สีย้อมผ้า น้ำตาล อาหาร และผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ กระดาษ และเยื่อกระดาษ น้ำหอม ปิโตรเคมี น้ำมัน ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช สิ่งทอ พอลิเมอร์และเซรามิกส์ รวมทั้งการนำชมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิชานี้

รายวิชา 4223705

ปฏิบัติการกระบวนการเคมีอุตสาหกรรม

1 (0-3-0)

 

Process in Industrial Chemistry Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับการเตรียมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ กระดาษและเยื่อกระดาษ ปุ๋ย การวิเคราะห์สารประกอบประเภทเกลือ เชื้อเพลิง น้ำมัน ผงซักฟอกและสารเคมีในการเกษตร เป็นต้น

รายวิชา 4223706

ความปลอดภัยจากสารเคมี

2 (2-0-4)

 

Chemical Safety

 

        ศึกษาชนิดของสารเคมีที่เป็นอันตราย สารไวไฟ วัตถุระเบิด สารกัมมันตรังสี และสารกัดกร่อน วิธีที่ถูกต้องในการเคลื่อนย้าย การเก็บ การใช้ และการทำลายสารเคมี วิธีป้องกันอุบัติภัยจากสารอันตรายและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

รายวิชา 4223707

ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

2 (2-0-4)

 

Industrial Safety

 

        ศึกษาหลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม อันตรายจากสารเคมี และข้อควรระวังในการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมเคมี

รายวิชา 4223708

เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

Industrial Instrumentation

 

        ศึกษาหลักการใช้งานเครื่องมือวัด และอุปกรณ์เกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิ ความดัน ระดับ และอัตราการไหล สัญลักษณ์และแผนผังของเครื่องมือ กระบวนการวัดและควบคุมเครื่องมือ หลักการและการใช้อุปกรณ์บางชนิดในหน่วยควบคุม

รายวิชา 4223709

การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางเคมี

3 (2-2-5)

 

Auditing and Quality Controlling of Chemical Products

 

        ศึกษาระบบและการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น ISO 9002, ISO 14000, ISO 17000 กระบวนการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และให้ฝึกการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ในสถานประกอบการและหน่วยงานระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพภาคปฏิบัติ

รายวิชา 4223710

เรื่องคัดเฉพาะทางเคมีอุตสาหกรรม

2 (2-0-4)

 

Selected Topic in Industrial Chemistry

 

        ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเฉพาะทางเคมีอุตสาหกรรมในระดับปริญญาตรี หัวข้อเรื่องเปลี่ยนไปในแต่ละภาคการศึกษา

รายวิชา 4223711

เคมีการเร่งปฏิกิริยาเบื้องต้น

2 (2-0-4)

 

Fundamental of Catalyst Chemistry

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการเร่งปฏิกิริยาแบบเอกพันธ์และวิวิธพันธ์ การเตรียม สมบัติและปฏิกิริยาของสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์เฉพาะอย่างที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

รายวิชา 4223712

เทคโนโลยีนิวเคลียร์

2 (2-0-4)

 

Nuclear Technology

 

        ศึกษาทฤษฎีเบื้องต้นของอะตอมและนิวเคลียส สารกัมมันตรังสี ปฏิกิริยานิวเคลียร์ การวัดรังสี การประยุกต์ใช้ไอโซโทปกัมมันตรังสีในทางการแพทย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม อันตรายจากรังสีและการกำจัดกากสารกัมมันตรังสี

รายวิชา 4223751

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร

3 (2-2-5)

 

Introduction to Herbs

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการจำแนกประเภทสมุนไพร คุณสมบัติของสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณทางสมุนไพร และสาระสำคัญที่เป็นส่วนประกอบ การแยก การสกัด การทำสารให้บริสุทธิ์

รายวิชา 4223752

เคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Chemistry of Natural Products

 

        ศึกษาเกี่ยวกับเคมีของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อันได้แก่ผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น แป้ง น้ำตาล อนุพันธ์ของน้ำตาล กัม วุ้น ไขมัน น้ำมัน เรซิน บาลซัม โปรตีน แอลคาลอยด์ ไกลโคไซด์ ซาโพนิน และอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุและสารประกอบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์

รายวิชา 4223753

การศึกษาพืชสมุนไพรทางภูมิศาสตร์

3 (3-0-6)

 

Geological Study of Herbs

 

        ศึกษาชนิดและลักษณะของพืชสมุนไพรที่มีการแพร่กระจายตามภูมิภาคต่างๆ ของโลกตามหลักการทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชสมุนไพรเขตร้อน เขตร้อนชื้น เขตอบอุ่น เป็นต้น รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์

รายวิชา 4223754

อนุกรมวิธานของพืชสมุนไพร

3 (2-3-4)

 

Herbs Taxonomy

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการจำแนกพรรณพืช หลักเกณฑ์ในการจำแนก การตั้งชื่อและการระบุพันธุ์ของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ รวมทั้งความสัมพันธ์ของพืช ลักษณะวงศ์ ถิ่นกำเนิด การกระจายพันธุ์ วิวัฒนาการ ความสัมพันธ์ของพันธุกรรมของพืช และความสำคัญทางเศรษฐกิจ แนวคิดใหม่ในการจำแนกพืช ศึกษาเทคนิคในการเก็บและรักษาตัวอย่างพันธุ์พืช และมีการศึกษาในภาคสนาม

รายวิชา 4223755

พฤกษเคมี

3 (2-3-4)

 

Phytochemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติ การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์สารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ได้จากพืช

รายวิชา 4223756

พืชหอมและเครื่องเทศ

3 (2-3-4)

 

Aroma Plants and Spices

 

        ศึกษารายละเอียดของพืชที่มีกลิ่นหอมและเครื่องเทศ การนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ได้แก่ การบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy) การนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการผลิต เช่น แต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์ยา อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ให้มีการปฏิบัติการตามหัวข้อของการศึกษา

รายวิชา 4223757

พืชพิษ

2 (2-0-4)

 

Poisonous Plants

 

        ศึกษาความเป็นพิษของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด โดยแบ่งกลุ่มอาการของพิษที่เกิดจากพืชสมุนไพร ลักษณะลำต้น ส่วนที่เป็นพิษ ขนาดที่ก่อให้เกิดพิษ วิธีการที่ทำให้เกิดพิษ ตลอดจนการเฝ้าระวังการเกิดพิษและการบำบัดรักษา

รายวิชา 4223758

สมุนไพรเพื่อชีวิต

3 (2-3-4)

 

Herbs for Life

 

        ศึกษาและปฏิบัติการการเตรียมยา การใช้สมุนไพรรักษาโรคตามแนวแพทย์แผนไทยและภูมิปัญญาชาวบ้าน รวมทั้งศึกษาถึงการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

รายวิชา 4223759

สมุนไพรเพื่อสุขภาพ

2 (2-0-4)

 

Herbs for Health

 

        ศึกษาการนำพืชสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์และแร่ธาตุมาใช้ประโยชน์ทางยา โดยแบ่งกลุ่มอาการของโรค ศึกษาวิธีการเก็บ ส่วนที่ใช้ กระบวนการหรือวิธีการใช้ ขนาดที่ใช้ ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ รวมถึงการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ

รายวิชา 4223901

สัมมนาเคมีเฉพาะทาง

1 (0-2-1)

 

Seminar in Chemistry

 

        การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางเคมีเฉพาะทางในระดับปริญญาตรี

รายวิชา 4224204

เคมีออร์แกโนเมทัลลิก

3 (2-3-4)

 

Organometallic Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นของการเกิดพันธะและโครงสร้างของสารประกอบเชิงซ้อนออร์แกโนแทรนซิชัน เกี่ยวกับปฏิกิริยาแทนที่ลิแกนด์ซึ่งโคออร์ดิเนตกับโลหะ การเติมแบบออกซิเดทีฟ และการกำจัดแบบรีดักทีฟ ปฏิกิริยาการสอดแทรกภายในโมเลกุล ปฏิกิริยาการแทนที่แบบนิวคลิโอฟิลิกและอิเล็กโทรฟิลิกบนลิแกนด์ ซึ่งโคออร์ดิเนตอยู่กับโลหะแทรนซิชัน การเร่งในปฏิกิริยาแบบเอกพันธ์ในปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน ตัวเร่งในปฏิกิริยาโพลิเมอไรเชชันของพวกโอเลฟินและอะเซติเลชัน การประยุกต์ของสารประกอบเชิงซ้อนออร์แกโนแทรนซิชันในการสังเคราะห์สารอินทรีย์

รายวิชา 4224308

เทคโนโลยีพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Polymer Technology

 

        ศึกษาชนิดและคุณสมบัติของพอลิเมอร์ สารเคมีสำหรับพอลิเมอร์ การผสมสารเคมีเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ แนวความคิดเกี่ยวกับการผสมผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ กระบวนการผลิตโดยการอัดขึ้นรูป และการอัดย้ายขึ้นรูป การอัด การฉีดขึ้นรูปแม่พิมพ์ และการเป่าขึ้นรูปการอัดรีดด้วยลูกกลิ้ง การขึ้นรูปร้อน พลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย และเสถียรภาพของพอลิเมอร์

รายวิชา 4224309

ปฏิบัติการเทคโนโลยีพอลิเมอร์

1 (0-3-0)

 

Polymer Technology Laboratory

 

        ปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์ หรือศึกษาดูงานในโรงงานอุตสาหกรรมพอลิเมอร์

รายวิชา 4224310

เทคโนโลยีพลาสติก

2 (2-0-4)

 

Plastic Technology

 

        ศึกษาชนิดและสมบัติของพลาสติก การใช้สารเคมีผสมในพลาสติก การแปรรูปพลาสติก ความสัมพันธ์ระหว่างสูตรโครงสร้างและสมบัติทางกายภาพและการใช้งานของพลาสติก

รายวิชา 4224311

ไบโอพอลิเมอร์

3 (3-0-6)

 

Biopolymer

 

        ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพ ทางเคมี และกระบวนการผลิตพอลิเมอร์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต และสามารถใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม เช่น เจลาติน วุ้น เพ็คติน ไคติน เซลลูโลส น้ำมัน ขี้ผึ้ง ยางและไม้ชัน เป็นต้น การปรับปรุงคุณภาพและการนำมาใช้ ในทางอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ

รายวิชา 4224312

ยางธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Natural Rubber

 

        ศึกษาประวัติ ชนิดของยางธรรมชาติ การทำสวนยาง การผลิตยางธรรมชาติ น้ำยางสด การทำยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครป น้ำยางข้น สมบัติของยางธรรมชาติ อิทธิพลที่มีต่อสมบัติของยาง การทดสอบยางแท่ง การนำยางธรรมชาติไปใช้ในอุตสาหกรรม การผสมสารเคมีในยางธรรมชาติ

รายวิชา 4224313

ยางสังเคราะห์

3 (3-0-6)

 

Synthetic Rubber

 

        ศึกษาวิธีสังเคราะห์ยาง สมบัติทางกายภาพของยางสังเคราะห์ การผสมสารเคมีในยางสังเคราะห์เพื่อปรับปรุงคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพของยางสังเคราะห์กับโครงสร้างทางเคมี ยางสังเคราะห์ชนิดต่างๆ เช่น บางเอสบีอาร์ ยางคลอโรพรีน ยางซิลิโคน ยางไนไทรล์ ยางบิวตาไดอีน ยางยูรีเทน เป็นต้น

รายวิชา 4224314

เคมียาง

3 (3-0-6)

 

Rubber Chemistry

 

        ศึกษาโครงสร้างของยางธรรมชาติ อนุพันธ์ของยางธรรมชาติ ยางคลอรีเนต ยางไฮโดรคลอริเนต ยางไซไคลค์คารฟท์โคพอลิเมอร์ ยางอิพอกซิไดซ์ ปฏิกิริยาการวัลคาไนซ์แบบใช้กำมะถันและตัวเร่งปฏิกิริยา ปฏิกิริยาการวัลคาไนซ์โดยใช้สารเปอร์ออกไซด์ การหาปริมาณของครอส ลิงก์ (Cross Links)

รายวิชา 4224315

กระบวนการแปรรูปยาง

3 (3-0-6)

 

Rubber Processing

 

        ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการแปรรูปยาง การผสมสารเคมีเข้าไปในยางโดยใช้ลูกกลิ้งและเครื่องผสมแบบปิด การเตรียมยางผสมสารเคมีเพื่อการแปรรูป การแปรรูปโดยวิธีการเอกซ์ทรูชัน การรีดให้เป็นแผ่น การเคลือบผ้าใบด้วยยาง การยืดยางเข้าพิมพ์ การวัลคาไนซ์ยางโดยใช้น้ำและอากาศร้อน การวัลคาไนซ์ยางแผ่นต่อ การใช้เกลือเหลว ฟลูอิดไดส์เบด คลื่นไมโครเวฟและอื่นๆ ปัจจัยที่มีผลต่อการแปรรูป เช่น อุณหภูมิความดัน ชนิดของยางและสารเคมี ปัญหาการผลิตและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกระบวนการแปรรูปยาง

รายวิชา 4224316

ผลิตภัณฑ์ยาง

2 (2-0-4)

 

Rubber Products

 

        ศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากยาง เช่น ยางรัด ยางลบ ยางในรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ รองเท้ายาง กระเป๋าน้ำร้อน ยางรถยนต์ ยางที่ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องยนต์อื่นๆ

รายวิชา 4224605

การวิเคราะห์ทางเคมีด้วยเครื่องมือชั้นสูง

3 (2-3-4)

 

Advanced Instrumental Methods of Chemical Analysis

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการและเทคนิคการวิเคราะห์ทางสเปกโตรสโกปีและทางโครมาโตกราฟีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย การเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการวิเคราะห์สารตัวอย่าง เทคนิคที่เหมาะสมในการเตรียมสารตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ เช่น การย่อยสาร การแยก การสกัด และการกลั่นสาร การพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สารได้สะดวกรวดเร็ว และได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ

รายวิชา 4224713

อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

2 (2-0-4)

 

Petrochemical Industry

 

        ศึกษาเกี่ยวกับภาพรวมของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัตถุดิบและสารตั้งต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติ กระบวนการทางเคมีที่ใชในการผลิตเคมีภัณฑ์ปโตรเลียมที่สําคัญ เคมีภัณฑ ปโตรเลียมในชีวิตประจําวัน การเปลี่ยนเคมีภัณฑปโตรเลียมเปนผลิตภัณฑทางอุตสาหกรรม

รายวิชา 4224714

เทคโนโลยีเกี่ยวกับปิโตรเลียม

2 (2-0-4)

 

Petroleum Technology

 

        ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด การแยกประเภทและคำอธิบายเกี่ยวกับน้ำมันดิบ องค์ประกอบของปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม กระบวนการการกลั่นลำดับส่วน กระบวนการกำจัดกำมะถัน กระบวนการต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกปิโตรเลียม

รายวิชา 4224715

เคมีเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง

2 (2-0-4)

 

Chemistry of Fuels

 

        ศึกษาชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิง สมบัติทางกายภาพ และเคมีของน้ำมันเชื้อเพลิง การตรวจสอบและการควบคุมคุณภาพของน้ำมันเชื้อเพลิง

รายวิชา 4224716

เชื้อเพลิงธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Biofuel

 

        ศึกษาความหมาย ชนิด แหล่งกำเนิด คุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี อุตสาหกรรมการผลิต มาตรฐานของผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงธรรมชาติ

รายวิชา 4224717

เทคโนโลยีเชื้อเพลิง

3(3-0-6)

 

Fuel Technology

 

        ศึกษาแหล่งกำเนิด การแยกประเภท องค์ประกอบและสมบัติของเชื้อเพลิง กระบวนการผลิตและแปรรูปเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน และถ่านลิกไนท์ เป็นต้น และการใช้ประโยชน์ของเชื้อเพลิงดังกล่าวในอุตสาหกรรม

รายวิชา 4224718

ปฏิบัติการการวิเคราะห์เชื้อเพลิง

1 (0-3-0)

 

Fuel Analysis Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิคในการวิเคราะห์ และวิธีมาตรฐานในการทดสอบผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เชื้อเพลิงแก๊ส และเชื้อเพลิงแข็ง

รายวิชา 4224719

พลังงานทดแทน

3 (3-0-6)

 

Alternative Energy

 

        ศึกษาประวัติการใช้พลังงาน ความหมายของพลังงานทดแทน กระบวนการผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์ของพลังงานแสงอาทิตย์ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานลม พลังงานนิวเคลียร์ และ แอลกอฮอล์ เป็นต้น

รายวิชา 4224720

การอนุรักษ์พลังงาน

2 (2-0-4)

 

Energy Preservation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ในอาคารและสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม บ้านพักอาศัย การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน สมบัติเฉพาะของอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

รายวิชา 4224721

เคมีของไบโอดีเซล 1

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Biodiesel 1

 

        ศึกษาชนิดของพืชน้ำมันที่มีศักยภาพทางด้านพลังงานกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงไบโอดีเซลจากพืชน้ำมัน คุณสมบัติทางเคมีของผลิตภัณฑ์ และฝึกปฏิบัติการเตรียมเชื้อเพลิงไบโอดีเซลในห้องปฏิบัติการ

รายวิชา 4224722

เคมีของไบโอดีเซล 2

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Biodiesel 2

 

        ศึกษากระบวนการทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) ชนิด กลไกของปฏิกิริยา ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ คุณลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางพลังงาน การวิเคราะห์ ควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ให้มีการปฏิบัติการตามหัวข้อของการศึกษา

รายวิชา 4224723

เคมีสิ่งทอ

2 (1-2-3)

 

Chemistry of Textiles

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับสมบัติและองค์ประกอบทางเคมีของสิ่งทอ การปรับปรุงคุณภาพสิ่งทอ กระบวนการย้อมสีสิ่งทอ และการนำไปใช้งาน

รายวิชา 4224724

เคมีเกี่ยวกับสี

3 (2-3-4)

 

Chemistry of Color

 

        ศึกษาเกี่ยวกับสารที่ทำให้เกิดสี ชนิดและองค์ประกอบของสี การเคลือบผิว ผลิตภัณฑ์สีเพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ เช่น สีย้อมผ้า สีพิมพ์ การควบคุมคุณภาพของสี และปฏิบัติการเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของสี การย้อม

รายวิชา 4224725

เทคโนโลยีการชุบผิว

2 (1-3-2)

 

Plating Technology

 

วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4222301 เคมีอินทรีย์ 1

        ศึกษาหลักการชุบผิวโลหะด้วยไฟฟ้า เครื่องมือและอุปกรณ์การชุบ การทำความสะอาดผิวก่อนชุบ การชุบผิวทองแดง นิกเกิล โครเมียม ตะกั่ว ดีบุก ทองเหลือง เงิน ทอง โรเดียม แพลทินัม การชุบพลาสติกด้วยโลหะ ความปลอดภัยในการชุบ ปฏิบัติการตามหัวข้อการศึกษา

รายวิชา 4224726

เคมีประยุกต์

3 (2-2-5)

 

Applied Chemistry

 

        ศึกษาเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในบ้านบางชนิด เช่น การทำสบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดต่างๆ สมบัติของสารผสมที่ใช้ในการผลิต ปริมาณสารปลอมปนในหัวแชมพู กระบวนการและเทคนิคการผลิตในทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและผลผลิตสูง การประยุกต์อุณหพลศาสตร์ในทางอุตสาหกรรม การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่

รายวิชา 4224760

การใช้สมุนไพรรักษาโรค

3 (3-0-6)

 

Medical Herbs for Treatment

 

        ศึกษาสมบัติของสมุนไพรชนิดต่างๆ ศึกษาวิธีการนำสมุนไพรชนิดต่างๆ มารักษาโรค เช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดเชื้อ โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

รายวิชา 4224761

การแปรรูปสมุนไพรทางอาหาร

3 (2-3-4)

 

Herbs Processing in Food

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีความสำคัญและประโยชน์ทางด้านอาหาร วิวัฒนาการของการแปรรูปอาหาร หลักและแนวทางการแปรรูปอาหารสมุนไพร

รายวิชา 4224762

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Natural Products Development

 

        ศึกษารูปแบบการผลิตและการพัฒนา วิธีการแปรรูปและการผลิต ยา ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ อาหาร และเครื่องสำอางจากธรรมชาติ ศึกษาแนวทางการนำสมุนไพรมาพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

รายวิชา 4224763

เครื่องสำอางจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Cosmetics from Natural Products

 

        ศึกษาการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอาง การแปรรูปและการผลิตเครื่องสำอางจากสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปเจล ครีมบำรุงผิว น้ำยาสระผม ครีมนวดบำรุงเส้นผม น้ายาเช็ดทำความสะอาดผิวหน้า เป็นต้น ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง

รายวิชา 4224764

การควบคุมคุณภาพสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (2-3-4)

 

Quality Control for Herbs and Natural Products

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิเคราะห์สารสำคัญในสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ การจำแนกโดยวิธีทางเคมี ตลอดจนศึกษาระเบียบและหลักการในการควบคุมคุณภาพการตรวจสอบมาตรฐานการผลิตของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติแต่ละชนิด

รายวิชา 4224765

เคมีเภสัช

3 (2-3-4)

 

Pharmaceutical Chemistry

 

        ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้าง สมบัติทางเคมี ความว่องไวต่อปฏิกิริยาของสารที่มีฤทธิ์ทางยา สารประกอบเชิงซ้อน แหล่งกำเนิดยา กระบวนการทางจลนเภสัช การออกฤทธิ์ของยาชนิดต่างๆ

รายวิชา 4224766

เคมีอาหาร

3 (2-3-4)

 

Food Chemistry

 

        ศึกษาเคมีทางโภชนาการ การวัดปริมาณความต้องการพลังงานแคลอรีของคนและสัตว์ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ไขมัน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ตลอดจนศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาหาร

รายวิชา 4224767

เคมีเกี่ยวกับน้ำหอม

2 (1-2-3)

 

Chemistry of Perfumes

 

        ศึกษาหลักการสกัดน้ำหอมจากดอกไม้ ส่วนประกอบของต้นไม้ การสังเคราะห์น้ำหอม อุตสาหกรรมน้ำหอม และ ปฏิบัติการสกัดน้ำหอมจากดอกไม้และการสังเคราะห์น้ำหอม

รายวิชา 4224768

เคมีเกี่ยวกับเครื่องสำอาง

2 (2-0-4)

 

Chemistry of Cosmetics

 

        ศึกษาองค์ประกอบการผลิต ประโยชน์และพิษที่เกิดจากเครื่องสำอาง การวิเคราะห์เครื่องสำอาง เครื่องสำอางเกี่ยวกับผม เล็บ หน้า ผิว ยาระงับกลิ่นตัว สบู่ และผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ

รายวิชา 4224801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางเคมี

5(450)

 

Professional Experience in Chemistry

 

        การฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ หรือ องค์การรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง ในช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ระหว่างภาคฤดูร้อนและส่งรายงานต่อภาควิชา

รายวิชา 4224902

โครงการวิจัยทางเคมี

2(0-4-2)

 

Senior Project in Chemistry

 

        ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง รวบรวม เขียนรายงานผลการวิจัย นำเสนอผลงานวิจัยในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในวิชาเคมี

รายวิชา 4224903

ปัญหาพิเศษด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

3 (3-0-6)

 

Special Problems in Natural Products

 

        ศึกษาค้นคว้าปัญหาด้านเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวโน้มสมุนไพรที่มีศักยภาพในการพัฒนาและการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

***************

 

ภาคผนวก

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเคมี

        1. มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวะพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        2. การประชุมกำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548

        3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ แกรนด์รีสอร์ท จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาตม 2545 ได้มาตรฐานหลักสูตร ชื่อหลักสูตรวิชาแกน วิชาบังคับและบางส่วนวิชาเลือก

        4. การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือน 25 ธันวาคม 2547

        5. การดำเนินการประชุมโปรแกรมเคมี เพื่อจัดทำร่างหลักสูตร เมื่อเดือน มกราคม 2547

        6. เดินทางไปศึกษาการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2547

        7. ประชุมเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาไทย โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ เชียงใหม่ 6 มิถุนายน 2548

        8. ประชุมภาควิชาเคมี พัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2548

        9. ประชุมปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ท

        10. ประชุมปรับปรุง แก้ไขหลักสูตร ตามที่คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรเสนอ

        11. นำเสนอสภาวิชาการ และสภาวิชาการเห็นชอบหลักสูตร 22 กันยายน 2548

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

        1. รศ.ดร.ระมัด โชชัย วท.ด. (เคมีฟิสิกส์) อาจารย์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        2. รศ.วันเพ็ญ โชชัย วท.บ. (เคมี) อาจารย์ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

        3. ภญ.วนิชา สุประดิษฐ์อารมณ์ วท.ม. (เภสัชวิทยา) เภสัชกรฝ่ายแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองฉาง

        4. ผอ.จารุวรรณ ลิ้มสัจจะสกุล วท.ม. (วิทยาศาสตร์การแพทย์) ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครสวรรค์

        5. ดร.วันเพ็ญ เตชะบุญเกียรติ Ph.D. (Materials Science and Product Engineering) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        6. ดร.สุภาสินี ลิมปานุภาพ Ph.D. (Materials Science) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

        แบบสรุปข้อเสนอแนะ – แนวทางการปรับปรุงแก้ไข

                ในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรวิทยาสาสตร์บัณฑิต สาขาเคมี วันที่ 9 – 10 กันยายน 2548

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุงแก้ไข

    1. เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษ อีก 1 รายวิชา รวมเป็น 12 หน่วยกิต ตามมติของสภามหาวิทยาลัย

    2. ปรับจำนวนหน่วยกิตลดลงเป็นตามมติของ สวท.

    3. ปรับรวมรายวิชาที่เป็นบรรยายและปฏิบัติการ มาเป็นวิชาเดียวกัน (ลดจำนวนหน่วยกิจรวมลง)

    1. ได้เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเคมีแล้ว ในเนื้อหาบังคับ

    2. ปรับลดลง 5 หน่วยกิต รวมเป็น 132 หน่วยกิต

    3. ได้ปรับให้มีบรรยาย และปฏิบัติการในรายวิชาเดียวกัน รวมจำนวนหน่วยกิตต่อรายวิชาเป็น 3 (เดิม 3+1 = 4 )

3. มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี ได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามประเด็นของการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้เพิ่มเติม โดยภาควิชาเคมี จะดำเนินการตรวจสอบคุณลักษณะของบัณฑิตโดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

                1. ด้านความรู้
                2. ด้านทักษะการปฏิบัติ
                3. ด้านคุณลักษณะ

        ทั้งนี้จะมีการประเมินเป็นระยะๆ และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของภาควิชาเคมีต่อไปนี้

        3.1 คุณลักษณะบัณฑิตด้านความรู้

                1. มีความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของนักวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติการเกี่ยวกับเคมี อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
                2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางเคมีและเคมีประยุกต์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                3. มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของเคมีและเคมีประยุกต์และสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในด้านเคมี และสาขาที่เกี่ยวข้อง
                4. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
                5. มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสังคมและวิชาการใหม่ๆ โดยเฉพาะความเข้าใจระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การเมือง การปกครองของไทย ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า
                    ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

        3.2 คุณลักษณะบัณฑิตด้านทักษะปฏิบัติ

                1. สามารถประยุกต์ทฤษฎีและปฏิบัติการ ไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และทักษะการปฏิบัติการทางเคมี
                3. มีทักษะวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่โดยวิธีการวิจัย และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
                4. มีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
                5. มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถคิดอย่างมีเหตุผล และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆได้
                6. มีทักษะด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

       3.3 คุณลักษณะบัณฑิตด้านคุณลักษณะ

                1. มีความสนใจ ใฝ่รู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
                2. มีความอดทน ประหยัด ขยันหมั่นเพียร สู้งาน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับ ผิดชอบ และตรงต่อเวลา มีความเป็นธรรมและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
                3. มีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ (leadership) และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                4. มีความสุภาพ อ่อนโยน รู้จักกาลเทศะในการพูด การแต่งกายที่เหมาะสม
                5. มีนิสัยของความเป็นระเบียบ มีความละเอียดรอบคอบ และยึดหลักปฏิบัติของ 5 ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
                6. มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                7. มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                8. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น มีความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย
                9. มีจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
                10. มีความซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม
                11. มีความตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                12. มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจ ทั้งส่วนตนและส่วนรวม

4. ตารางแสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรปรับปรุง

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

คงเดิม

จัดเป็น 3 แขนงวิชา คือ เคมี เคมีอุตสาหกรรม
และเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

2

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมี)

คงเดิม

ไม่มีการปรับปรุง

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

6 ข้อ

4 ข้อ

ปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม

5

หลักสูตร

ไม่มีข้อกำหนดรายวิชาคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษ

เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 นก.
เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก.
และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

    (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

33 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

    (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(107 หน่วยกิต)

(95 หน่วยกิต)

 

        2.1 วิชาแกน

12 หน่วยกิต

30 หน่วยกิต

 

        2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

76 หน่วยกิต

36 หน่วยกิต

 

        2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

9 หน่วยกิต

24 หน่วยกิต

 

        2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

7 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

 

        2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

(15 หน่วยกิต)

(6 หน่วยกิต)

จัดรวมไว้กับวิชาแกน

    (2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 10 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ใช้ระบบเลข 7 หลัก จัดเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ
เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี 83 รายวิชา

มี 85 รายวิชา
ปรับปรุงคำอธิบายใหม่ 76 รายวิชา

ตัดออก 7 รายวิชา
เพิ่มใหม่ 9 รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

8 คน

9 คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ไม่ได้ระบุชัดเจน

มีจำนวน 5 คน

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาเคมี

 

 

 

 

 

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์