หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขา  วิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
หลักสูตรใหม่  พุทธศักราช 2549
คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1

ชื่อหลักสูตร

2

ชื่อปริญญา

3

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5

กำหนดการเปิดสอน

6

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

7

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8

ระบบการศึกษา

9

ระยะเวลาการศึกษา

10

การลงทะเบียนเรียน

11

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12

อาจารย์ผู้สอน

13

จำนวนนักศึกษา

14

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15

ห้องสมุด

16

งบประมาณ

17

หลักสูตร

 

17.1 จำนวนหน่วยกิต

 

17.2 โครงสร้างหลักสูตร

 

17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

 

17.4 แผนการศึกษา

 

17.5 คำอธิบายรายวิชา

18

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19

การพัฒนาหลักสูตร

20

ภาคผนวก

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

สรุปข้อเสนอแนะ – การปรับปรุงแก้ไข

 

มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรใหม่
พุทธศักราช 2549

…………………………...

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Industrial Physics

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์อุตสาหกรรม)
 

Bachelor of Science (Industrial Physics)

ชื่อย่อ : วท.บ. (ฟิสิกส์อุตสาหกรรม)
  B.Sc. (Industrial Physics)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะด้านปฏิบัติและการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อุตสาหกรรมที่สามารถนำไปประกอบอาชีพ พัฒนาสังคมและท้องถิ่น

        4.2วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

            หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

                1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถที่นำไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านอุตสาหกรรม
                2. เพื่อให้บัณฑิตมีความชำนาญ มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางฟิสิกส์ ที่สามารถนำ ไปประยุกต์ใช้ในด้านอุตสาหกรรม
                3. เพื่อปลูกฝังจริยธรรม อุดมการณ์ เจตคติที่ดีของนักฟิสิกส์อุตสาหกรรม

5. กำหนดการเปิดสอน

        เริ่มเปิดสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติของผู้ที่เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและ/หรือเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษามีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลา จะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชา ในภาคการศึกษาปกตินักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ – นามสกุล/ วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาสอน

1

ผศ.ชะยันต์ อินเล็ก

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (ฟิสิกส์) วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

 

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. แม่เหล็กไฟฟ้า
    2. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
    4. ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์

ผลงานวิจัย

    1. งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนฟิสิกส์
    2. การพัฒนาแบบจำลองการเรียนวิชา ฟิสิกส์ โดยเน้นการปฏิบัติ และทักษะ
        กระบวนการวิทยาศาสตร์ในสถาบัน ราชภัฎ

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. แม่เหล็กไฟฟ้า
    2. ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และการประสาน
    3. อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
    4. ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า
    5. ไมโครโปรเซสเซอร์

2

ผศ.สุรศักย์ รำพึงกิจ

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์) วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. นิวเคลียร์ฟิสิกส์
    2. ฟิสิกส์ยุคใหม่เบื้องต้น

ผลงานวิจัย

    1. Nonimaging Concentrator
    2. Thermopile I
    3. Van de Graaff Accelerator
    4. Diffraction Apparatus
    5. Physics Resources Teaching and learning in Internet
    6. การพัฒนาแบบจำลองการเรียนวิชาฟิสิกส์ โดยเน้นการปฏิบัติ และทักษะ
        กระบวนการวิทยาศาสตร์ในสถาบันราชภัฏ
    7. ที่ปรึกษางานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์
        ทั่วไป

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. ปฏิบัติการแม่เหล็กไฟฟ้า
    2. ฟิสิกส์นิวเคลียร์
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์นิวเคลียร์
    4. แม่เหล็กไฟฟ้า
    5. วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์
    6. สัมมนาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

3

นายปกิจ สังสิริ

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (ฟิสิกส์) วิทยาลัยวิชาการศึกษา พิษณุโลก

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ดาราศาสตร์
    2. ฟิสิกส์แผนใหม่
    3. ฟิสิกส์สถานะของแข็ง

ประสบการณ์

    1. อาจารย์พิเศษวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
    2. ประธานโปรแกรมฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป
    3. รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ ฝ่ายวิชาบริหาร

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. ฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ
    2. ฟิสิกส์แผนใหม่
    3. ฟิสิกส์สถานะของแข็ง

4

นายภาคิน อินทร์ชิดจุ้ย

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (ฟิสิกส์) มศว. พิษณุโลก
    -  Cert, in Energy Technology. ณ UTS (Australia)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ฟิสิกส์อุณหภาพ
    2. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
    4. ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
    5. ฟิสิกส์ทั่วไป 2

ประสบการณ์

    -  ที่ปรึกษางานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิชาเอกฟิสิกส์

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองคณบดีฝ่ายวางแผนและ พัฒนา

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. ฟิสิกส์ทั่วไป
    2. ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
    3. อุณหพลศาสตร์
    4. ฟิสิกส์แผนใหม่

5

นายวิโรจน์ จันทร์จิตวิริยะ

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  วท.บ (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. เอกสารประกอบการสอนวิชาเครื่องมือวัด อิเล็กทรอนิกส์
    2. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2
    4. เอกสารประกอบการสอนวิชากลศาสตร์ ควอนตัม
    5. เอกสารประกอบการสอนวิชากลศาสตร์

ประสบการณ์

    1. ที่ปรึกษางานวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกฟิสิกส์ประสบการณ์
    2. เข้ารับการอบรมการปฏิบัติการฟิสิกส์ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งซิดนีย์
        (UTS) ประเทศออสเตรเลีย
    3. อาจารย์พิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. ระบบไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์
    2. สัมมนาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
    3. การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโน-โลยีฟิสิกส์อุตสาหกรรม
    4. กลศาสตร์ควอนตัม
    5. คณิตศาสตร์วิศวกรรม

        12.2 อาจารย์ผู้สอน

ที่

ชื่อ – นามสกุล/ วุฒิการศึกษา

ประสบการณ์/ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาสอน

1.

ผศ.ประทีป แก้วเหล็ก

    -  วท.ม. (การสอนฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    -  กศ.บ. (ฟิสิกส์) เกียรตินิยมอันดับ2 วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
    -  Cert, in X-ray Technology. ณ UTS (Australia)

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ฟิสิกส์ 1
    2. ฟิสิกส์ของคลื่น
    3. กลศาสตร์
    4. แบบปฏิบัติการฟิสิกส์ของคลื่น
    5. แม่เหล็กไฟฟ้า
    6. แนวทางการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ผลงานวิจัย

    1. การพัฒนาระบบการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
    2. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบหน่วยปฏิบัติการวิชาฟิสิกส์ของคลื่น

ตำแหน่งหน้าที่

    1. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
    2. คณะกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. พลังงานลม
    2. การถ่ายโอนความร้อน
    3. การแปรสภาพพลังงาน
    4. พลังงาน

2.

ดร.ศุภชัย ทวี

    -  ศษ.ด.(วิทยาศาสตร์ศึกษา -ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    -  วท.ม.(ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
    -  ค.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์-ฟิสิกส์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  ป.การวิจัยชั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
    -  กศ.บ. (ฟิสิกส์) มศว.บางเขน

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

    1. ฟิสิกส์ทั่วไป 1
    2. ฟิสิกส์ 1
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1
    4. ธรณีวิทยาทั่วไป
    5. โครงงานวิทยาศาสตร์

ผลงานวิจัย

    1. โปรแกรมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์ การเคลื่อนที่ของวัตถุตามกฎ
        การเคลื่อนที่ของนิวตัน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันราชภัฏ
        จันทรเกษม
    2. การพัฒนาการเรียนการสอนฟิสิกส์ด้วย คอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์
        ตามแบบจำลองเชิงความคิด ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสวท.

ตำแหน่งหน้าที่

    1. หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์และ วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    2. หัวหน้าฝ่ายวิจัยและเผยแพร่
    3. คณะกรรมการการจัดการความรู้

รายวิชาที่ให้จัดสอน

    1. วัสดุศาสตร์
    2. การวิเคราะห์ผลึกด้วยรังสีเอกซ์
    3. ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
    4. การวิจัยทางวิทยาศาสตร์
    5. การวิเคราะห์วัสดุ
    6. โครงงานฟิสิกส์อุตสาห-กรรม

3.

นางสาวฉัตริยะ ศรีปิ

    -  วท.ม.(นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    -  วท.บ.(ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผลงานวิจัย

    1. การหาปริมาณทองในดินด้วยวิธีการ NAA
    2. การกราฟต์เส้นใยไหมด้วยเมทิลเมทาครีเลตโดยการฉายรังสีแกมมาร่วมกับ
        อะครีเลตโมโนบางชนิด

รายวิชาที่จัดให้สอน

    1. ฟิสิกส์นิวเคลียร์
    2. ฟิสิกส์แผนใหม่
    3. ฟิสิกส์ของพอลิเมอร์
    4. พลังงานแสงอาทิตย์
    5. เทคโนโลยีนิวเคลียร์

13. จำนวนนักศึกษา

        ตาราง แสดงจำนวนนักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษาและคาดว่าจะจบการศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา (จำนวนรับ)

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

 

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

 

40

40

รวม

40

80

120

160

160

จำนวนที่คาดว่าจะจบการศึกษา

     

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 อาคารสถานที่

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่ต้องการเพิ่มในอนาคต

หมายเหตุ

1

ห้องพักอาจารย์ที่มีขนาดพอเหมาะ

4

4

 

2

ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์

6

4

 

3

ห้องเก็บอุปกรณ์วัสดุ

2

1

 

4

ห้องสมุด

1

1

 

5

ห้องคอมพิวเตอร์สำหรับปฏิบัติและค้นคว้า

1

1

 

6

ห้องปฏิบัติการโครงการวิจัยทางฟิสิกส์อุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4

-

2

 

        14.2 อุปกรณ์

ที่

รายการและลักษณะเฉพาะ

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1

Barometer ; Fortin

1

2

 

2

Global Position System (GPS)

1

4

 

3

Electronics Circuit Trainer

4

2

 

4

Electronics Logic Trainer

4

2

 

5

Frequency Counter

-

2

 

6

Function Generator

8

10

 

7

L C R Meter

10

2

 

8

Power Supply ; Triple Output

10

10

 

9

Oscillosscope ; 60 MHz ; 2 Channel

5

10

 

10

Oscillosscope; 100 MHz ; I/O Interface

6

10

 

11

Thermometer ; Digital

7

10

 

12

Clamp Meter ; Digital

8

10

 

13

Galvanometer

8

10

 

14

Potentionmeter

1

2

 

15

Stroboscope ; Digital

1

5

 

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่แล้ว

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

11.

12.

13.

14.

15.

16.

17.

18.

19.

20.

21.

22.

23.

24.

25.

26.

27.

28.

29.

กลศาสตร์

วงจรดิจิตอล

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 1

ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2

รวมโครงงานอิเล็กทรอนิกส์

เข้า/สร้าง/เล่นไมโครโปรเซสเซอร์

สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์ (16/32/64 บิต)เล่ม 2

วัสดุศาสตร์มูลฐาน

ฟิสิกส์ของคลื่น

ฟิสิกส์ 1

ฟิสิกส์ 2

คู่มือการใช้งาน MATLAB

การเขียนโปรแกรมภาษาซีในงานควบคุม

ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์

ดิจิตอลพื้นฐาน

วารสารวิทยาศาสตร์

ไมโครโปรเซสเซอร์ 1

Physics Lerner

Calculus Berestord Rockell

Introduction to Advance Physics

Fundamental of Java Programing

Signal Processing Frirst

Applied Digital Signal Processing

Modern Technical Physics

Principles of Physics

Fundamentals of Physics

College Physics Serway/Faughn

Terbo Pascal

The Z80 Microprocessor

12 เล่ม

2 เล่ม

10 เล่ม

10 เล่ม

2 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

10 เล่ม

10 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

12 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

2 เล่ม

2 เล่ม

5 เล่ม

5 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

8 เล่ม

2 เล่ม

-

-

2 เล่ม

5 เล่ม

3 เล่ม

2 เล่ม

5 เล่ม

10 เล่ม

10 เล่ม

1 เล่ม

2 เล่ม

2 เล่ม

1 เล่ม

-

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

-

-

1 เล่ม

1 เล่ม

1 เล่ม

        15.2 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์

                http://hello.to/chemku
                http://www.angelfire.com/ok/xrayweb
                http://physicsclub.thethai.net
                http://thai.to/nuclear
                http://www.school.net.th/library/snet3
                http://www.school.net.th/education/physic-resources.php3
                http://phys.ubu.ac.th/apisit/anyweb1.html
                http://thai.to/nuclear
                http://www.school.net.th/library/snet3

        15.3 แหล่งวิทยาการและแหล่งฝึกงาน

            15.3.1 แหล่งวิทยาการ

                1. หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                2. หอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร
                3. หอสมุดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                4. หอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                5. หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

            15.3.2 แหล่งฝึกงาน

                1. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
                2. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
                3. สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรุงเทพมหานคร
                4. กรมการพลังงาน กรุงเทพมหานคร
                5. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
                6. คณะวิทยาศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
                7. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                8. ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
                9. โรงเรียนนายเรืออากาศ ถนนพหลโยธิน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
                10. กองอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
                11. สมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
                12. สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
                13. สมาคมสิ่งทอแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
                14. บริษัทปุ๋ยแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
                15. บริษัทฟิลลิปส์ จำกัด(มหาชน) ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
                16. ท้องฟ้าจำลองและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กรุงเทพมหานคร และตามภูมิภาคต่าง ๆ
                17. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี
                18. อุทยานวิทยาศาสตร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                19. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
                20. โครงการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

16. งบประมาณ

        ในการจัดการศึกษามีประมาณการงบประมาณการงบประมาณภายในระยะ 5 ปี ดังนี้

หมวดเงิน

งบประมาณที่ต้องการ

หมายเหตุ

2548

2549

2550

2551

2552

งบดำเนินการ

           

    -  ค่าตอบแทน

    -  ค่าใช้สอย

    -  ค่าวัสดุ

    -  ค่าครุภัณฑ์

350,000

100,000

100,000

1,000,000

700,000

125,000

150,000

500,000

750,000

150,000

150,000

500,000

750,000

150,000

150,000

500,000

750,000

150,000

150,000

500,000

 

ไม่รวมเงินเดือน

รวมงบดำเนินการ

1,550,000

1,475,000

1,500,000

1,550,000

1,550,000

 
งบลงทุน            

    -  ค่าครุภัณฑ์

200,000

200,000

200,000

200,000

200,000

 

รวมงบลงทุน

200,000

200,000

200,000

200,000

200,000

 

รวมทั้งหมด

1,750,000

1,675,000

1,700,000

1,750,000

1,750,000

 

17. หลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 133 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

 

1. กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

 

2. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

 

3. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

 

4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

96

 

1. วิชาแกน

30

 

2. วิชาเฉพาะด้าน บังคับ

41

 

3. วิชาเฉพาะด้านเลือก

18

 

4. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

7

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

133

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์ 2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 96 หน่วยกิต แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป
General Physics

3(3-0-6)

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
General Physics Laboratory

1(0-2-1)

4221101

เคมีทั่วไป
General Chemistry

3(3-0-6)

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป
General Chemistry Laboratory

1(0-2-1)

4231101

ชีววิทยาทั่วไป
General Biology

3(3-0-6)

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป
General Biology Laboratory

1(0-2-1)

4291401

แคลคูลัส 1
Calculus 1

3(3-0-6)

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์
Computer for Science

3(2-2-5)

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์
Research for Science

3(2-2-5)

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์
English for Science

3(3-0-6)

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป
General Economics

3(3-0-6)

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ
Introduction to Business

3(3-0-6)

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 41 หน่วยกิต ประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี
English for Technology

3(3-0-6)

4292401

แคลคูลัส 2
Calculus 2

3(3-0-6)

4212501

คณิตศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Mathematics

3(3-0-6)

4212303

แม่เหล็กไฟฟ้า 1
Electricity and Magnetism 1

3(3-0-6)

4212304

อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
General Electronics

3(2-2-5)

4212307

ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า
Electrical Circuit Theory

3(3-0-6)

4212308

กลศาสตร์วิศวกรรม
Engineering Mechanics

3(3-0-6)

4212314

ฟิสิกส์นิวเคลียร์
Nuclear Physics

3(3-0-6)

4212315

อุณหพลศาสตร์
Thermodynamics

3(3-0-6)

4212401

ฟิสิกส์แผนใหม่
Modern Physics

3(3-0-6)

4213301

กลศาสตร์ควอนตัม 1
Quantum Mechanics 1

3(3-0-6)

4213502

ระบบไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์
Hydraulics and Pneumatics Systems

3(3-0-6)

4214900

สัมมนาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
Industrial Physics Seminar

1(0-2-1)

4214901

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 1
Senior Project in Industrial Physics 1

2(0-4-2)

4214902

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 2
Senior Project in Industrial Physics 2

2(0-4-2)

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 18 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากแขนงวิชาใดวิชาหนึ่งดังนี้

                1) แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4212310

โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Computer Programming

3(2-2-5)

4212305

อิเล็กทรอนิกส์ 1
Electronics 1

3(2-2-5)

4212306

อิเล็กทรอนิกส์ 2
Electronics 2

3(2-2-5)

4212311

วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
Electric Circuit Analysis

3(2-2-5)

4212312

เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์
Electronics Instrumentation

3(2-2-5)

4212701

ภาษาอังกฤษสำหรับนักฟิสิกส์อุตสาหกรรม
English for Industrial Physists

 

4214502

ระบบการควบคุม
Control System

3(3-0-6)

4213302

ไมโครโปรเซสเซอร์ 1
Microprocessor 1

3(3-0-6)

4213303

ไมโครโปรเซสเซอร์ 2
Microprocessors 2

3(3-0-6)

4213304

ออปโตอิเล็กทรอนิกส์
Opto Electronics

3(3-0-6)

4213305

ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
Solid State Physics

3(2-2-5)

4213306

นิวเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์
Nuclear Electronics

3(2-2-5)

4213307

ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และการประสาน
Digital Electronics and Interfacing

3(2-2-5)

4213603

ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์ 1
Microprocessor Laboratory 1

1(0-3-0)

4213604

ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์ 2
Microprocessor Laboratory 2

1(0-2-1)

4214314

สนามและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Electromagnetic Fields and Waves

3(3-0-6)

4214503

เครื่องวัดไฟฟ้า
Electrical Measurement

3(2-2-5)

4214504

อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม
Engineering Electronics

3(3-0-6)

4214505

เทคโนโลยีระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียม
Satellite Communication Systems Technology

3(3-0-6)

4214506

เทคโนโลยีระบบการสื่อสารด้วยใยแสง
Optical Fiber Communication Systems Technology

3(3-0-6)

                2) แขนงวิชาวัสดุนาโน เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4212701

ภาษาอังกฤษสำหรับนักฟิสิกส์อุตสาหกรรม
English for Industrial Physists

 

4213315

ความแข็งแรงของวัสดุ
Strength of Materials

3(2-2-5)

4213316

ฟิสิกส์ของพอลิเมอร์
Polymer Physics

3(3-0-6)

4213305

ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
Solid State Physics

3(2-2-5)

4214302

กลศาสตร์ควอนตัม 2
Quantum Mechanics 2

3(3-0-6)

4213317

สเปกโทรสโกปีของโมเลกุลเบื้องต้น
Introduction to Molecular Spectroscopy

3(3-0-6)

4213318

รังสีวิทยา
Radiology

3(3-0-6)

4213319

สเปกตรัมอะตอม
Atomic Spectra

3(3-0-6)

4213507

การวิเคราะห์ผลึกด้วยรังสีเอกซ์
X – Ray Crystallography

3(3-0-6)

4213320

วัสดุศาสตร์
Materials Science

3(3-0-6)

4214508

โครงสร้างวัสดุนาโน
Nanostructures

3(3-0-6)

4214509

คุณสมบัติวัสดุ
Materials Properties

3(3-0-6)

4214510

เทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโน
Nanomaterials Analyze Techniques

3(3-0-6)

4213606

ปฏิบัติการวัสดุนาโน 1
Nanomaterials Laboratory 1

1(0-2-1)

4213607

ปฏิบัติการวัสดุนาโน 2
Nanomaterials Laboratory 2

1(0-2-1)

4214903

โครงงานประยุกต์วัสดุนาโน
Nanomaterials Application Project

2(0-6-0)

                3) แขนงวิชาเทคโนโลยีพลังงาน เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4212701

ภาษาอังกฤษสำหรับนักฟิสิกส์อุตสาหกรรม
English for Industrial Physists
 

4213305

ฟิสิกส์สถานะของแข็ง
Solid State Physics

3(2-2-5)

4213512

พลังงานลม
Wind Energy

3(3-0-6)

4213511

พลังงานแสงอาทิตย์
Solar Energy

3(3-0-6)

4213513

เทคโนโลยีปิโตรเคมี
Petrochemical Technology

3(3-0-6)

4213514

พลังงานชีวมวล
Biomass Energy

3(3-0-6)

4213515

อุณหพลศาสตร์ประยุกต์
Applied Thermodynamics

3(3-0-6)

4213320

วัสดุศาสตร์
Materials Science

3(3-0-6)

4213516

การถ่ายโอนความร้อน
Heat Transfer

3(3-0-6)

4214517

การวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าและความร้อน
Thermal and Electrical Energy Analysis

3(3-0-6)

4214518

การแปรสภาพพลังงาน
Energy Conversion

3(3-0-6)

4214519

ระบบต้นกำลังทางความร้อน
Thermal Power Systems

3(3-0-6)

4214520

แหล่งพลังงานทดแทน
Renewable Energy Resources

3(3-0-6)

4214521

การจัดการและอนุรักษ์พลังงาน
Energy Management and Conservation

3(3-0-6)

4214522

การทำความเย็นและปรับอากาศ
Air-Conditioning and Refrigeration

3(3-0-6)

4214523

เครื่องจักรกลของไหล
Fluid Machinery

3(3-0-6)

4214524

เทคโนโลยีไอน้ำ
Steam Technology

3(3-0-6)

4214525

การอบแห้ง
Drying

3(3-0-6)

4214526

การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
Heat Exchanger Design

3(3-0-6)

4214527

สภาวะอากาศภายใน
Indoor Climate

3(3-0-6)

4214528

การออกแบบระบบแสงสว่าง
Illumination System Design

3(3-0-6)

4214529

ระบบไฟฟ้ากำลัง
Electrical Power Systems

3(3-0-6)

4214530

เทคโนโลยีนิวเคลียร์
Nuclear Technology

3(3-0-6)

4214531

เทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติและปีโตรเลียม
Natural Gas and Petroleum Technology

3(3-0-6)

4214532

การเผาไหม้ 1
Combustion 1

3(3-0-6)

4214533

การเผาไหม้ 2
Combustion 2

3(3-0-6)

4214534

การจัดองค์กรในอุตสาหกรรม
Industrial Organization Management

3(3-0-6)

4214535

กระบวนการผลิต
Manufacturing Processes

3(3-0-6)

4214536

เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า
Electrical Measurement and Instrumentation

3(3-0-6)

4214537

วิศวกรรมพลังงานแสงอาทิตย์
Solar Energy Enginerring

3(3-0-6)

4214538

การออกแบบระบบทางความร้อน
Thermal System Design

3(3-0-6)

4214539

ท่อความร้อน
Heat Pipe

3(3-0-6)

4214540

ระบบต้นกำลังทางความร้อน
Thermal Power Systems

3(3-0-6)

4214541

พัดลม เครื่องสูบ และเครื่องอัดลม
Fan, Pump and Compressor

3(3-0-6)

4213605

ปฏิบัติการฟิสิกส์พลังงาน
Physics Energy Laboratory

1(0-2-1)

                4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

4214801

การเตรียมฝึกทักษะเชิงฟิสิกส์อุตสาหกรรม
Preparation for Professional Experience in Industrial Physics

2(90)

4214802

การฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
Professional Experience in Industrial Physics

5(450)

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ให้เลือกเรียนไม่น้อยกว่า จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

                แผนการการศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุุ

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3(3-0-6)

 

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2(2-0-4)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2(2-0-4)

2000101

วิถีไทย

2(2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2(2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2(2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2(2-0-4)

 

4221101

เคมีทั่วไป

3(3-0-6)

 

4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1(0-2-1)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุุ

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3(2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3(3-0-6)

 

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2(2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2(2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2(2-0-4)

2500107

ชีวิตกับนาฏการ

2(2-0-4)

2000102

วิถีโลก

2(2-0-4)

 

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2(1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2(2-0-4)

เลือก

1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2(1-2-3)

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3(3-0-6)

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3(3-0-6)

 

4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

 

4231101

ชีววิทยาทั่วไป

3(3-0-6)

 

4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1(0-2-1)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3(3-0-6)

4212303

แม่เหล็กไฟฟ้า 1

3(3-0-6)

 

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 1

3(3-0-6)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุุ

4211301

ฟิสิกส์ทั่วไป

3(3-0-6)

 

4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1(0-2-1)

 

4292401

แคลคูลัส 2

3(3-0-6)

 

2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3(3-0-6)

 

4212314

ฟิสิกส์นิวเคลียร์

3(2-2-5)

4212304

อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

3(2-2-5)

 

xxxxxxx

วิชาเลือกเสรี 2

3(3-0-6)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4212501

คณิตศาสตร์วิศวกรรม

3(3-0-6)

4212307

ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า

3(3-0-6)

4212308

กลศาสตร์วิศวกรรม

3(3-0-6)

4213301

กลศาสตร์ควอนตัม 1

3(3-0-6)

4003901

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3(2-2-5)

xxxxxxx

เลือกตามแขนงวิชา

3

รวม

18

ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4212401

ฟิสิกส์แผนใหม่

3(3-0-6)

4213502

ระบบไฮโดรลิกส์และนิวแมติกส์

3(3-0-6)

4214901

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 1

2(0-4-2)

3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3(3-0-6)

4212315

อุณหพลศาสตร์

3(2-2-5)

xxxxxxx

เลือกตามแขนงวิชา

6

รวม

20

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4214900

สัมมนาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

1(0-2-1)

4214902

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 2

2(0-4-2)

4214801

การเตรียมฝึกทักษะเชิงฟิสิกส์อุตสาหกรรม

2(90)

xxxxxxx

เลือกตามแขนงวิชา

9

รวม

14

ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4214802

การฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม

5(450)

รวม

5

รวมทั้งหมด

133

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา 2312704

ภาษาอังกฤษสำหรับวิทยาศาสตร์

3 (3-0-6)

 

English for Science

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิทยาศาสตร์ จากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษาา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3501101

เศรษฐศาสตร์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Economics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบเขตของวิชาเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์ อุปทาน และกลไกทำงานของระบบราคา สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในชีวิตประจำวันเพื่อการประกอบธุรกิจ การจัดหาและใช้ทรัพยากร การบริโภค การผลิต ตลาด สถาบันการเงิน การภาษีอากร การค้า การลงทุน ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางแก้ไขปัญหา

รายวิชา 40039011

วิธีวิจัยวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Research in Science

 

        ศึกษาความรู้พื้นฐานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการวางแผนการค้นคว้าข้อมูล การเขียนโครงการ วิจัยและการทำโครงการวิจัยแก้ปัญหาในท้องถิ่น อย่างน้อย 1 โครงการ โดยใช้สถิติวิเคราะห์ผลการทดลองหรือการค้นคว้า รวมทั้งวิธีการเขียนรายงานอย่างมีระเบียบ การเผยแพร่และการนำเสนอโครงการวิจัย

รายวิชา 42113011

ฟิสิกส์ทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Physics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับการวัด เวกเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะ ต่าง ๆโมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก คลื่น สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ ไฟฟ้า แม่เหล็ก คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสง และฟิสิกส์นิวเคลียร์

รายวิชา 4211601

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Physics Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาฟิสิกส์ทั่วไป ไม่น้อยกว่า 10 ปฏิบัติการ

รายวิชา 4221101

เคมีทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้นคุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4221102

ปฏิบัติการเคมีทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Chemistry Laboratory

 

        ปฏิบัติการเกี่ยวกับ เทคนิคเบื้องต้น และหลักปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติการเคมี การจัดสารเคมี เกรดของสาร และการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเคมี เทคนิคการใช้เครื่องมือพื้นฐาน จลน์ศาสตร์ สมดุลเคมี pH ค่าคงที่ของการแตกตัวของกรดและเบส

รายวิชา 42311011

ชีววิทยาทั่วไป

3 (3-0-6)

 

General Biology

 

        ศึกษาสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ พลังงานในสิ่งมีชีวิต และการสังเคราะห์ด้วยแสง การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบต่าง ๆ ของสัตว์ ชีวิตกับสภาพแวดล้อม การจัดจำแนกประเภทของสิ่งมีชีวิตและเทคโนโลยีทางชีวภาพ

รายวิชา 4231102

ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป

1 (0-2-1)

 

General Biology Laboratory

 

        ปฏิบัติการเรื่องสารประกอบทางเคมีในสิ่งมีชีวิต การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์และการแบ่งเซลล์เนื้อเยื่อ การสืบพันธุ์ การจำแนกสิ่งมีชีวิต การแลกเปลี่ยนสาร การสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจ การทำงานของระบบต่าง ๆ ในสัตว์ ฮอร์โมนพืช และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา 4311701

คอมพิวเตอร์สำหรับวิทยาศาสตร์

3 (2-2-5)

 

Computer for Science

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ การนำเสนอสารสนเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือเขียนโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาที่เรียน

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะด้าน

                    วิชาเฉพาะด้านบังคับ จำนวน 41 หน่วยกิต

รายวิชา 2313704

ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยี

3 (3-0-6)

 

English for Technology

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาของนักศึกษา เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 4212303

แม่เหล็กไฟฟ้า 1

3(3-0-6)

 

Electricity and Magnetism 1

 

        ศึกษาเรื่องไฟฟ้าสถิต พลังงานไฟฟ้าสถิต กระแสไฟฟ้า ไดอิเล็กตริก สนามแม่เหล็กเนื่องจากกระแส ไฟฟ้าคงที่ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า สารแม่เหล็ก พลังงานแม่เหล็ก สมการแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

รายวิชา 4212314

ฟิสิกส์นิวเคลียร์

3(3-0-6)

 

Nuclear Physics

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม แรงยึดเกาะและเสถียรภาพของนิวเคลียส ทฤษฎีการสลายตัวในรังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมาของนิวเคลียส กฎการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี สมดุลของการสลายตัว สารกัมมันตรังสีทั้งที่มีในธรรมชาติ และการประดิษฐ์ขึ้น ตารางนิวไคลด์และแผนผังการสลายตัวของนิวเคลียส ปฏิกิริยานิวเคลียร์ พลังงานนิวเคลียร์ เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เครื่องวัดรังสี ประโยชน์โทษ และการป้องกันอันตรายจากรังสี สภาพการสลายตัวในกระบวนการ ชั้นพลังงานที่ได้จากการสลายตัวของนิวเคลียส กระบวนการเกิดปฏิกิริยา และแรงนิวเคลียร์ (Nuclear Reaction and Nuclear Force) ปฏิกิริยาแยกสลาย (fission) เครื่องเร่งอนุภาค อันตรกิริยานิวคลีออน- นิวคลีออน (Nucleon-nucleon Interaction) Nuclear Spin and Magnetism แรงนิวเคลียร์แบบจำลองนิวเคลียส รังสีคอสมิก และ Sub-nuclear Particles ฟิสิกส์พลังงานสูงเบื้องต้น (Introduction to High Energy Physics)

รายวิชา 4212315

อุณหพลศาสตร์

3(3-0-6)

 

Thermodynamics

 

        ศึกษาวิเคราะห์กฎข้อที่ศูนย์ของอุณหพลศาสตร์ ก๊าซในอุดมคติ ทฤษฎีจลน์ของก๊าซ กฎข้อที่หนึ่งของ อุณหพลศาสตร์ ความดัน อุณหภูมิของก๊าซ ระยะทางเฉลี่ย ความเร็วเฉลี่ยของอนุภาค การเคลื่อนที่แบบราวเนียน สมการแสดงสถานะของแวนเดอร์วาลล์ เอนโทรปีกับกฎข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ กระบวนการแปรผันกลับได้และแบบแปรผันกลับไม่ได้วัฏจักรของคาร์โน ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ และการประยุกต์

รายวิชา 4212304

อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป

3(2-2-5)

 

General Electronics

 

        ศึกษาทฤษฎีและการใช้งานเกี่ยวกับตัวนำ ตัวต้านทาน ฉนวน สารกึ่งตัวนำ โครงสร้างสัญลักษณ์แบบและชนิดตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำ รีเลย์ คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ ไดโอด วงจรกรองกระแส (Rectifier) แบบต่าง ๆ Operating point กราฟลักษณะสมบัติ ค่าพารามิเตอร์ และค่าสำคัญ ๆ ที่บอกไว้ในคู่มือของไดโอด และทรานซิสเตอร์ วงจรทรานซิสเตอร์แบบ CB, CE และ CC การไบแอสทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ Load Line ไอซีออปแอมป์ การวัดและการทดสอบไอโอด สารกึ่งตัวนำ วงจรกรองกระแสแบบต่าง ๆ โดยใช้ออสซิลโลสโคป และมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การไบแอสวงจรทรานซิสเตอร์ วงจรออปแอมม์ วงจรกำเนิดความถี่ และวงจรเครื่องขยายสัญญาณ หลักการ แผนแบบ และการออกแบบวงจร วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็ก (Small Signal Amplifier) วงจรขยายกำลังแบบต่าง ๆ วงจร ชมิททริกเกอร์ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ ชนิดต่าง ๆ ความถี่ การไบแอสเอฟ อี ที โครงสร้างและคุณสมบัติ ยู เจ ที และ พี ยู ที วงจรสื่อสารและการมอดูเลชั่นแบบต่าง ๆ ให้มีการสาธิตและปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 4212307

ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Circuit Theory

 

        ศึกษาทฤษฎีวงจรไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง โครงสร้าง สัญลักษณ์คุณลักษณะ สมบัติ และผลตอบสนองของ R,L และ C ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ค่าคงตัวเวลา (Time Constant) การวิเคราะห์วงจร แม่เหล็กไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ คุณลักษณะ สมบัติ และผลตอบสนองของ RL, LC, RC และหม้อแปลงในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส สัญญาณไฟฟ้าที่ไม่เป็นรูปไซน์ ฮาร์โมนิกฟังก์ชัน และกราฟของสัญญาณไฟฟ้าพารามิเตอร์ของสัญญาณพัลส์ การแปลงรูปสัญญาณไฟฟ้าแบบลิเนียร์ อินทิเกรเตอร์ และดิฟเฟอร์เรสซิเอเตอร์

รายวิชา 4212308

กลศาสตร์วิศวกรรม

3(3-0-6)

 

Engineering Mechanics

 

        ศึกษาเรื่องของแรง และการรวมแรงในสามมิติ การสมดุลของแรงในสามมิติ แรงเสียดทาน จุดศูนย์ถ่วง โมเมนต์ความเฉื่อย และวิเคราะห์ในชิ้นส่วนของโครงสร้างชิ้นส่วนภาพวัตถุของเครื่องจักรกล

รายวิชา 4212401

ฟิสิกส์แผนใหม่

3(3-0-6)

 

Modern Physics

 

        ศึกษา ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ การแผ่รังสีของวัตถุดำ คุณสมบัติคู่ของคลื่นและอนุภาคหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก ทฤษฎีอะตอม สเปกตรัมของอะตอม รังสีเอกซ์ เลเซอร์ กลศาสตร์ควอนตัมเบื้องต้น อะตอมโมเลกุลของของแข็ง นิวเคลียสของอะตอม กัมมันตภาพรังสี และอนุภาพมูลฐาน

รายวิชา 4212501

คณิตศาสตร์วิศวกรรม

3(3-0-6)

 

Engineering Mathematics

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับอินเวอร์สของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิกและอินเวอร์ส ของมัน ฟังก์ชันหลายตัวแปร อนุพันธ์ย่อย อนุพันธ์รวบยอด สมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับ และระดับขั้นต่าง ๆ อินทิกรัลหลายชั้น ลำดับ อนุกรม เมทริกซ์ และดีเทอร์มินันต์ การวิเคราะห์เวกเตอร์ กรเดียนต์ เคิร์ลและไดเวอร์เจนต์ ผลการแปลงลาปลาซ ผลการแปลง Z อนุกรมฟูเรียร์ อินทิกริลฟูเรียร์ ผลการแปลง ฟูเรียร์ สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย อันดับและระดับขั้นต่าง ๆ ปัญหาค่าขอบเขต การวิเคราะห์เชิงซ้อน ฟังก์ชันของตัวแปรเชิงซ้อน ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข ผลต่างสืบเนื่อง ตัวอย่างการประยุกต์ทางวิศวกร

รายวิชา 4212701

ภาษาอังกฤษสำหรับนักฟิสิกส์อุตสาหกรรม

3(2-2-5)

 

English for Industrial Physists

 

        ศึกษาบทความทางฟิสิกส์อุตสาหกรรม ที่เป็นภาษาอังกฤษจากวารสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แล้วมาอภิปรายเป็นภาษาไทย ให้ฝึกการเขียนบทความหรือรายงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม เป็นภาษาอังกฤษ เขียนใบสมัครงานภาษาอังกฤษ และฝึการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ

รายวิชา 4213301

กลศาสตร์ควอนตัม 1

3(3-0-6)

 

Quantum Mechanics 1

 

        ทัศน์เกี่ยวกับวิทยาการพื้นฐานของกลศาสตร์ควอนตัม สมการคลื่นของ schrodinger ฟังก์ชั่น Probability density Harmonics และระดับพลังงาน การประยุกต์ใช้สมการคลื่นกับอะตอมของไฮโดรเจน สเปกตรัมของไฮโดรเจน Quantization of angular momentum Zemman efect spin orbit interation อะตอมที่มีหลายอิเล็กตรอน (Atom with many electron)

รายวิชา 4213305

ฟิสิกส์สถานะของแข็ง

3(2-2-5)

 

Solid State Physics

 

        ศึกษา กฎเกณฑ์และทฤษฎีเบื้องต้นของฟิสิกส์ของของแข็งเกี่ยวกับโครงสร้างของผลึก การตรวจสอบโครงสร้างของผลึกด้วยวิธีการดิฟแฟรกชั่นของคลื่น การสั่นสะเทือนของแลททิสของผนึก ซึ่งทำให้เกิดสมบัติทางเสียงและแสงของวัตถุ ทฤษฎีอิเล็กตรอนอิสระ ทฤษฎีแบนด์ของของแข็ง (Band of Solid) สมบัติของโลหะทางด้านความร้อนและทางไฟฟ้า โดยให้ศึกษาในเชิงบรรยาย และนำสมการทางคณิตศาสตร์มาประกอบตามสมควร

รายวิชา 4213502

ระบบไฮดรอลิกส์และนิวแมติกส์

3(3-0-6)

  Hydraulics and Pneumatics Systems  

        ศึกษาเกี่ยวกับ ระบบไฮดรอลิก หลักการพื้นฐานของระบบไฮดรอลิกส์ ชุดต้นกำลังไฮดรอลิกส์ ชุดต้นกำลังไฮดรอลิกส์ ท่อน้ำมันไอดรอลิกส์ และข้อต่อถังพัก การซีลในระบบไฮดรอลิกส์ ปั๊มไฮดรอลิกส์ การปรับค่าแรงบิดหรือแรงดันของอุปกรณ์ทำงาน การควบคุมทิศทางและความเร็วของอุปกรณ์การทำงาน การออกแบบวงจรและการกำหนดขนาดของอุปกรณ์ วาล์วควบคุมระบบไฮดรอลิกส์ ระบบไฮดรอลิกส์แบบผสม วงจรไฮดรอลิกส์ในงานอุตสาหกรรม น้ำมันไฮดรอลิกส์และการดูแลรักษาตามความเหมาะสม ความรู้เบื้องต้นของระบบนิวแมติกส์ เครื่องอัดลม การทำความสะอาด ลมอัด การจ่ายลมอัดและการเลือกขนาดต่ออุปกรณ์ทำงานระบบนิวแมติกส์วาล์วและสัญลักษณ์ หลักการรเขียนและออกแบบวงจรนิวแมติก วงจรนิวแมติกส์แยกสัญญาณควบคุม วงจรนิวแมติกส์ควบคุมการทำงานด้วยลอจิก การควบคุมการทำงานของระบบนิวแมติกส์ด้วยไฟฟ้า อุปกรณ์อื่น ๆ ในระบบนิวแมติกส์ การบำรุงรักษาระบบนิวแมติกส์ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 4214900

สัมมนาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

1(0-2-1)

 

Industrial Physics Seminar

 

        ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และปัญหาทางฟิสิกส์อุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับกลุ่มวิชาที่เลือกเรียนมาอภิปรายเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนฝึกเขียนโครงการหรือโครงงาน หรือรายงานตามความเหมาะสม ทั้งวิธีการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ

รายวิชา 4214901

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 1

2(0-4-2)

 

Senior Project in Industrial Physics 1

 

        ทำโครงการและเขียนรายงาน ตามรายวิชาโครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 1 เขียนเรียบเรียงตามมาตรฐานสากล จัดเผยแพร่ผลงาน

รายวิชา 4214902

โครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 2

2(0-4-2)

 

Senior Project in Industrial Physics 2

 

        ทำโครงการและเขียนรายงาน ศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงงานฟิสิกส์อุตสาหกรรม 1 ที่นักศึกษาแต่ละคนเลือกโดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน จัดทำวัตถุประสงค์ แผนงานและขั้นตอนการดำเนินงาน ทำการวิจัยโครงการนั้นๆ นำเสนอโครงงานโดยการเสนอรายงานและสอบปากเปล่า

รายวิชา 4291402

แคลคูลัส 2

3(3-0-6)

 

Calculus 2

 

รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน : 4291401 แคลคูลัส 1

        ศึกษาเรื่องพิกัดเชิงขั้ว สมการอิงตัวแปรเสริม อินทิกรัลจำกัดเขต เทคนิคการอินทิเกรต การประยุกต์อินทิกรัลจำกัดเขต อนุพันธ์ และอินทิกรัลของฟังก์ชันในพิกัดเชิงขั้ว อินทิกรัลไม่ตรงแบบ หลักเกณฑ์โลปิตาล ลำดับและอนุกรม อนุกรมกำลัง

 

            4. คำอธิบายรายวิชาเฉพาะด้านเลือก

                    4.1 แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รายวิชา 4212305

อิเล็กทรอนิกส์ 1

3(2-2-5)

 

Electronics 1

 

        ศึกษาทฤษฎีวงจร ฟิสิกส์ของไดโอดรอยต่อพี-เอ็น วงจรขยายทรานซิสเตอร์ จุดทำงาน เส้นโหลด ทรานซิสเตอร์ไบอัสชิง ไบอัสสเตบิไลเซชัน วงจรขยายย่านความถี่เสียงสำหรับสัญญาณขนาดเล็ก พารามิเตอร์ของทรานซิสเตอร์ และวงจรสมมูล วงจรขยายออปแอมป์ ไบอัส ออฟเซท ดริฟท์ และวงจรประยุกต์ วงจรขยายย่านความถี่เสียงสำหรับสัญญาณขนาดใหญ่ วงจรขยายคลาสเอ การคับปลิงด้วยขดลวด วงจรขยายคลาสบี วงจรขยายพุช-พูล วงจรขยายคลาสซี เครื่องขยายที่ปรับค่าได้ การป้อนสัญญาณกลับทางลบและทางบวก วงจรออสซิลเลเตอร์

รายวิชา 4212306

อิเล็กทรอนิกส์ 2

3(2-2-5)

 

Electronics 2

 

        ศึกษาแบบจำลองทรานซิสเตอร์ที่ความถี่สูง ทฤษฎีบทของมิลเลอร์ วงจรบูตสแตรป ผลตอบสนองทางความถี่วงจรทรานซิสเตอร์ การวาดกราฟโบเด การวิเคราะห์วงจรป้อนกลับ เสถียรภาพของวงจร ส่วนเผื่อเฟสและอัตราขยาย การชดเชย วงจรออสซิลเลเตอร์ชนิดต่าง ๆ การวิเคราะห์วงจรขยายกำลังแบบต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังและการประยุกต์ การจำลองวงจรแอนะลอกวงจรเป็นลำดับดิจิตอล หน่วยความจำ วงจรมอสแบบพลวัตต์ และสถิตย์ วงจรเอดีซี ดีเอซี ชนิดต่าง ๆ พีเอแอล พีแอลดี ไมโครโปรเซสเซอร์เบื้องต้น

รายวิชา 4212310

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

3(2-2-5)

 

Computer Programming

 

        ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภาษาคอมพิวเตอร์ การเขียนโฟลว์ชาร์ต การเขียนโปรแกรมภาษาระดับสูง ตัวแปร คำสั่ง ฟังก์ชั่น โพรซิเยอร์ การเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาต่าง ๆ เช่น การเรียงลำดับข้อมูล การค้นหาข้อมูล การเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ

รายวิชา 4212311

วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

Electric Circuit Analysis

 

        ศึกษาทฤษฎีวงจรไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรง L R และ C ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ค่าคงตัวเวลา การวิเคราะห์วงจรแม่เหล็กไฟฟ้า การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสสลับ R, L, C และหม้อแปลงในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับหลายเฟส สัญญาณไฟฟ้าที่เป็นรูปไชน์ ฮาร์โมนิกส์ฟังก์ชั่น และกราฟสัญญาณไฟฟ้าพารามิเตอร์ของสัญญาณพัลส์ การแปลงรูปสัญญาณไฟฟ้าแบบลีเนียร์ ดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ และอินติเกรเตอร์

รายวิชา 4212312

เครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

Electronics Instrumentation

 

        ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการวัด หน่วยของการวัด ความเที่ยงตรงและความแม่นยำในการวัด การเก็บข้อมูลในการวัดค่าเฉลี่ย D’ Arsenals galvanometer โวลมิเตอร์ แอมมิเตอร์ โอห์มมิเตอร์ มัลติมิเตอร์ การออกแบบ Electrodynamics Electronics phase meter วงจรบริดจ์แบบต่าง ๆ และการวัดวงจรอิมพิแดนซ์ด้วยวงจรบริดจ์ การใช้ออสซิลโลสโคป การเปลี่ยนแรงดันเป็นความถี่ การใช้ ทรานสดิวเซอร์ในการวัดค่าต่าง ๆ และเครื่องมือวัดอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม

รายวิชา 4213302

ไมโครโปรเซสเซอร์ 1

3(3-0-6)

 

Microprocessor 1

 

        ศึกษาสถาปัตยกรรมของไมโครโพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ อินพุทและเอาต์พุตพอร์ต ไทมิ่งได อะแกรม การอินเตอรัพท์ ชุดคำสั่งของซีพียู ออกแบบซอฟต์แวร์สำหรับไมโครโปรเซสเซอร์ การใช้แอสเซมเบลอร์และคอมพายเลอร์ การเปลี่ยนสัญญาณระหว่างอนาลอกและดิจิตอล

รายวิชา 4213303

ไมโครโปรเซสเซอร์ 2

3(3-0-6)

 

Microprocessors 2

 

        ศึกษาการอินเตอร์เฟส การออกแบบระบบไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ในระบบเครื่องมือวัดและระบบควบคุม

รายวิชา 4213304

ออปโตอิเล็กทรอนิกส์

3(3-0-6)

 

Opto Electronics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานอะตอม สภาพชั้นพลังงานอะตอม การคายแสงแบบต่าง ๆ แหล่งกำเนิดแสง ทฤษฎีโฟตอนและอันตรกิริยาของรังสีกับสาร กฎการแผ่รังสี การนำไฟฟ้าด้วยแสง ออปติคอลไฟเบอร์ เวฟไกด์ ไดโอดเปล่งแสง ผลึกเหลว โฟโตไดโอด โฟโตทรานซิสเตอร์ หลักการของเลเซอร์ แสงโดฮีเรนท์ เลเซอร์แก๊ส เลเซอร์ของแข็ง เลเซอร์สารกึ่งตัวนำ การประยุกต์ใช้เลเซอร์

รายวิชา 4213306

นิวเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์

3(2-2-5)

 

Nuclear Electronics

 

        ศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับทฤษฎีการวัดอนุภาค หัววัดรังสีแบบต่าง ๆ และการทำงานของหัววัด อุปกรณ์วัดนิเคลียร์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น แหล่งจ่ายศักดาไฟฟ้าสูง อุปกรณ์ขยายสัญญาณ อุปกรณ์นับและเวลา เรทมิเตอร์ อุปกรณ์วิเคราะห์ระดับพลังงาน เครื่องวัดนิวเคลียร์แบบเคลื่อนที่

รายวิชา 4213307

ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์และการประสาน

3(2-2-5)

 

Digital Electronics and Interfacing

 

        ศึกษา ค้นคว้า ทดลองเกี่ยวกับการเข้ารหัส และการถอดรหัส ไมโครโปรเซสเซอร์ ดิจิตอลซิกแนลโปรเซสเซอร์ หน่วยความจำ การกำหนดแอดเดรส ระบบบัส การขับบัส การมัลติเพลกซ์สัญญาณ การแปลงดิจิตอลเป็นอนาลอกและอนาลอกเป็นดิจิตอล ซอฟท์แวร์สำหรับการประสาน เทคนิคและมาตรฐานการติดต่อสื่อสารข้อมูล การออกแบบและสร้างวงจรมาตรฐาน พร้อมทั้งปฏิบัติการที่สอดคล้องกับเนื้อหาอย่างน้อย 8 การทดลอง

รายวิชา 4213603

ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์ 1

1(0-2-1)

 

Microprocessor Laboratory 1

 

        ศึกษาทดลองเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์ 1 ไม่น้อยกว่า 10 การทดลอง

รายวิชา 4213604

ปฏิบัติการไมโครโปรเซสเซอร์ 2

1(0-2-1)

 

Microprocessor Laboratory 2

 

        ศึกษาทดลองเกี่ยวกับไมโครโปรเซสเซอร์ 2 ไม่น้อยกว่า 10 การทดลอง

รายวิชา 4214314

สนามและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

3(3-0-6)

  Electromagnetic Fields and Waves  

        ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เวกเตอร์ สนามไฟฟ้าสถิต สนามแม่เหล็กสถิต แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กแปรตามเวลา ความเหนี่ยวนำ การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก การแกว่งทางแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสการกระจัด กระแสการพาและการนำสนามแม่เหล็ก เนื่องจากกระแสแรงบิดที่กระทำต่อบ่วงกระแสในสนามแม่เหล็ก สมการของแมกซ์เวลล์ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในตัวกลางชนิดไอโซทอนิกและไอโซทรอปิก ในตัวกลางที่เป็นตัวนำฉนวน ไดอิเล็กทริก ความจุไฟฟ้า การวัดขั้วคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏการณ์ของคลื่นระนาบเอกรูป สมการคลื่น การแพร่กระจายของคลื่น การสะท้อน การหักเห และการเบี่ยงเบนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สายส่ง สายอากาศ คลื่นนำแสง ท่อนำคลื่น ท่อสั่นพ้อง สมการลาปลาซ สมการของปัวส์ซอง และเวกเตอร์พอยน์เตอร์พอยน์ติงกับการไหลของพลังงานไฟฟ้า ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 4214502

ระบบการควบคุม

3(3-0-6)

 

Control System

 

        ศึกษาแบบจำลองระบบด้วยคณิตศาสตร์ สมบัติของระบบป้อนกลับ ประสิทธิภาพของระบบควบคุม ระบบควบคุมเชิงเส้น การเสถียรภาพของระบบควบคุม ผลตอบสนองของระบบ การออกแบบระบบควบคุม การชดเชยและการประยุกต์ใช้งาน

รายวิชา 4214503

เครื่องวัดไฟฟ้า

3(2-2-5)

 

Electrical Measurement

 

        ศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับมาตรฐานเครื่องมือวัดและการวัด ค่าผิดพลาดในการวัด โครงสร้าง หลักการทำงานและการนำไปใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้า ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องวัดแรงดัน ไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เครื่องวัดความถี่ เครื่องเพาเวอร์แฟคเตอร์ ไฟฟ้า เครื่องวัดแบบบริดจ์ออสซิลโลสโคป มิเตอร์แบบดิจิตอล

รายวิชา 4214504

อิเล็กทรอนิกส์วิศวกรรม

3(3-0-6)

 

Engineering Electronics

 

        ศึกษาระบบอนาลอกและวงจรเชิงเส้น วงจรออปแอมป์ เทคนิคการนำออปแอมป์ไปใช้ในงาน อุตสาหกรรม การแปลงสัญญาณอนาลอกเป็นดิจิตอล และดิจิตอลเป็นอนาลอก การเปลี่ยนกระแสเป็นแรงดัน การเปลี่ยนความถี่เป็นแรงดัน และแรงดันเป็นความถี่ วงจรรวม วงจรดิจิตอล โวลต์มิเตอร์และการเทียบปรับ สเกลวัดอุปกรณ์โซลิตสเตท ทรานสดิวเซอร์ในทางอุตสาหกรรม อุปกรณ์ตรวจจับแสง อุณหภูมิ แรงดัน ความถี่ วงจรหน่วงเวลา วงจรเรคติไฟเออร์หลายเฟส ชนิดโซลิตสเตท การประยุกต์ใช้ไทริสเตอร์ แมกเนติกส์แอมปลิไฟเออร์ การขยายกำลัง การออกแบบแหล่งจ่ายกระแส และแหล่งจ่าย แรงดัน หลักการทางเทคนิคในงานวางแผนแบบ และออกแบบ กลไกทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมและงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมแสงสว่าง ควบคุมสวิตซ์อัตโนมัติ การควบคุมแบบซีเควนเชียลและเชิงตัวเลข อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงอุปกรณ์รอบนอกกับไมโครโปรเซสเซอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 4214505

เทคโนโลยีระบบการสื่อสารด้วยดาวเทียม

3(3-0-6)

 

Satellite Communication Systems Technology

 

        ศึกษาระบบการสื่อสารดาวเทียมเบื้องต้น วงโคจรของดาวเทียม โครงสร้างของยานอวกาศ เทคนิคการผสมสัญญาณ การรวมสัญญาณ การเข้ารหัสและถอดรหัสของสัญญาณข้อมูล การออกแบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน การจัดโครงข่ายของการ สื่อสารทางดาวเทียม ลักษณะของชั้นบรรยากาศ การรับและส่งสัญญาณ การแปลงสัญญาณ วงจรของการอัพลิงค์ และดาวน์ลิงค์ การเคลื่อนที่ของดาวเทียม การพัฒนาของการสื่อสารผ่านดาวเทียม คลื่นวิทยุที่ใช้ในระบบดาวเทียม ชนิดของดาวเทียม สื่อสารสถานีรับภาคพื้นดิน สัญญาณรบกวนในระบบดาวเทียม เทคนิคการมอดูเลท ระบบสายอากาศที่ใช้ในดาวเทียมสื่อสาร ระบบควบคุมดาวเทียมชุดขยายความถี่ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 4214506

เทคโนโลยีระบบการสื่อสารด้วยใยแสง

3(3-0-6)

 

Optical Fiber Communication Systems Technology

 

        ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการสื่อสารด้วยแสง และเส้นใยแสง การปล่อยแสงและการแพร่กระจายของแสง ต้นกำเนิดแสงที่ใช้ในระบบการสื่อสาร การผสมแสง และการแยกสัญญาณออกจากแสง คุณ-สมบัติของใยแสงและท่อนำส่ง ระบบการสื่อสารด้วยแสง การมัลติเพล็กซิ่ง และดีมัลติเพล็กซิ่ง หน่วยที่ใช้ในการวัดแสงไฟเบอร์ออปติก แหล่งกำเนิดแสง และอุปกรณ์รับแสงแบบสารกึ่งตัวนำ ผลึกเหลว วงจรต่าง ๆ ของอุปกรณ์ส่งและรับ การผสมและการแยกของระบบดิจิตอล ระบบสื่อสารแบบออปติก วงจรรวมออป-ติกและการใช้งาน ระบบสื่อสัญญาณดิจิตอลด้วยเคเบิลใยแสงความเร็วสูง (S.D.H.) และระบบสื่อสารที่ทันสมัย ทันยุคโลกาภิวัตน์ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

       

                    4.2 แขนงวิชาวัสดุนาโน เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รายวิชา 4213315

ความแข็งแรงของวัสดุ

3(2-2-5)

 

Strength of Materials

 

        ศึกษาภาคทฤษฎีและการทดสอบเกี่ยวกับวัสดุ ประกอบโลหะและอโลหะความแข็งแรงของวัสดุเกี่ยวกับโครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องกล ความเค้น (Stress) ความเครียด (Strain) โมดูลัสยืดยุ่น (Modulus of Elasticity) และส่วนปลอดภัย (Safety Factor ) ในการออกแบบเครื่องกล

รายวิชา 4213316

ฟิสิกส์ของพอลิเมอร์

3(3-0-6)

 

Polymer Physics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับสมดุลของการยืดหยุ่นของพอลิเมอร์ ลักษณะการจัดตั้งของโมเลกุลขณะยืด การผ่อนคลายความเครียดในพอลิเมอร์ การไหลของพอลิเมอร์ ลักษณะการเคลื่อนไหวของพอลิเมอร์ สมบัติทางความร้อน สมบัติทางไฟฟ้า สมบัติทางกล ความแข็งแรง ความทนทานต่อการฉีกขาด การซึมของก๊าซทะลุผ่านของพอลิเมอร์ การแปรสภาพสมบัติทางฟิสิกส์ของพอลิเมอร์เมื่อตั้งทิ้งไว้

รายวิชา 4214302

กลศาสตร์ควอนตัม 2

3(3-0-6)

 

Quantum Mechanics 2

 

        ศึกษาเกี่ยวกับหลักแห่งความไม่แน่นอน Complementarity wave packets Operators เลขควอนตัม สมการ Schrodinger ที่ขึ้นกับเวลา การเคลื่อนที่ของอนุภาคในมิติเดียวและหลายมิติ โมเมนตัมเชิงมุมและ สปิน วิธีการประมาณ (Approximation methods) สมการคลื่นในเชิงสัมพันธภาพ (Relativity wave equation) และปัญหาของการกระเจิง (Scattering problems)

รายวิชา 4213317

สเปกโทรสโกปีของโมเลกุลเบื้องต้น

3(3-0-6)

 

Introduction to Molecular Spectroscopy

 

        ศึกษาเกี่ยวกับระดับพลังงานที่ปล่อยออกมาจากการเกิด electronic transition แถบรังสีวิทยาที่เกิดจากการสั่น สบัด (vibration spectroscopy ) แถบรังสีวิทยาของ Microwave , electron spin , rasonance และ spin resonance

รายวิชา 4213318

รังสีวิทยา

3(3-0-6)

  Radiology  

        ศึกษาเกี่ยวกับ Basic Wave Mechanics หลักการแผ่รังสี การตรวจวัดปริมาณรังสี การนำรังสีไปใช้ทางการแพทย์ เกษตร และอุตสาหกรรม กิจกรรมนิวเคลียร์ ผลผลิตโทษของรังสี การป้องกันและปัญหาทางรังสีวิทยากับสภาวะแวดล้อมและชีวิต ทฤษฎีแสงต่าง ๆ คลื่นที่เป็นอนุภาคได้ Planck’s Quantum theory of black body radiation ปรากฎการณ์โฟโตอิเล็กทริก รังสีเอกซ์ X-Ray diffraction ปรากฎการณ์ ควอนตัม อนุภาคพื้นฐานต่าง ๆ การประยุกต์ใช้ฟิสิกส์ยุคใหม่

รายวิชา 4213319

สเปกตรัมอะตอม

3(3-0-6)

 

Atomic Spectra

 

        ศึกษาแถบรังสีของอะตอมที่เกิดจากธาตุชนิด Two valence electrons การศึกษาชั้นพลังงานแบบ fine structure , phyperfine structure ผลกระทบแบบซีมาน ผลกระทบแบบ Parshen – Back แถบรังสีแบบผสมจากอะตอม (Complex spectra radiation)

รายวิชา 4213507

การวิเคราะห์ผลึกด้วยรังสีเอกซ์

3(3-0-6)

 

X – Ray Crystallography

 

        ศึกษารังสีเอกซ์ในธรรมชาติ และที่ประดิษฐ์ขึ้น พลังงานของรังสีเอกซ์ การดูดกลืนรังสีเอกซ์หลักการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ กฎของแบรกก์ ดัชนีมิลเลอร์ ทฤษฎีการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ กฎของแบรกก์ ดัชนีมิลเลอร์ ทฤษฎีการเลี้ยวเบนเชิงเรขาคณิตของรังสีเอกซ์ Reciprocal lattice

รายวิชา 4213320

วัสดุศาสตร์

3(3-0-6)

 

Materials Science

 

        ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีอะตอมทางวัสดุ โครงสร้างผลึกและส่วนบกพร่อง การแพร่และการเคลื่อนสถานภาพของอิเล็กตรอนในทางแข็ง ชนิดของแข็ง คุณสมบัติของวัตถุ ไดอะแกรมสมดุลย์และโครงสร้างอย่างละเอียดทางโลหะ การเปลี่ยนรูปอย่างถาวร การพันและการลื่นไถล การหลอมโลหะและการหล่อ อิทธิพลของการขึ้นรูปร้อนและเย็น การคืนตัวและการตกผลึกใหม่ การเจริญเติบโตของเม็ดโลหะ กระบวนปรับปรุงคุณสมบัติโดยใช้ความร้อน การกัดกร่อนและวิธีป้องกัน คุณสมบัติต่าง ๆ ของโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและพวกอโลหะ

รายวิชา 4214508

โครงสร้างวัสดุนาโน

3(3-0-6)

 

Nanostructures

 

        ธรรมชาติและรูปลักษณ์ของโครงสร้างนาโนทั้งด้านอิเล็กทรอนิกส์ ด้านออปติกส์ ด้านแม่เหล็ก และด้านเคมี การทำโครงสร้างนาโนแบบท็อปดาวน์ (Top Down) บีม อิพิแท็กซี (Beam Epitaxy) จุดควอนตัม (Quantum Point), อนุภาคนาโนทางแม่เหล็ก (Magnetic Nanoparticles), ออปติคอลนาโนทวิซเซอร์ (Optical Nano-Tweezer), ท่อคาร์บอนนาโน (Carbon Nanotubes), อิเล็กทรอนิกส์เชิงโมเลกุล

รายวิชา 4214509

คุณสมบัติวัสดุ

3(3-0-6)

 

Materials Properties

 

        ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างโมเลกุล และโครงสร้างผลึกที่มีต่อคุณสมบัติของ วัสดุนาโน ทั้งทางกายภาพ ทางเคมี ทางแสง และทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์

รายวิชา 4214510

เทคนิคการวิเคราะห์วัสดุนาโน

3(3-0-6)

 

Nanomaterials Analyze Techniques

 

        การวิเคราะห์วัสดุนาโนด้วยไมโครสโคปีอิเล็กตรอน ( electron microscopy) การเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X ray Diffraction) นาโนลิโธกราฟี (Nanolithography )เบื้องต้น หลักทางกลศาสตร์และเคมีในการใช้เครื่องมือไมโครสโกปีแบบหัวสแกน( scanning probe microscopy) และเทคนิคอื่นๆ ตามความเหมาะสม

รายวิชา 4213606

ปฏิบัติการวัสดุนาโน 1

1(0-2-1)

 

Nanomaterials Laboratory 1

 

        ปฏิบัติการไมโคร และนาโนลิโธกราฟี (Micro-and nanolithography) ในห้องสะอาด (clean facilities) ด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การกระเจิงนิวตรอนหรือการกระเจิงรังสีเอกซ์ และการใช้สแกนนิ่งโพรบไมโครสโคป

รายวิชา 4213607

ปฏิบัติการวัสดุนาโน 2

1(0-2-1)

 

Nanomaterials Laboratory 2

 

        ปฏิบัติการวิเคราะห์คุณสมบัติของวัสดุนาโนทางด้านเคมี ทางแสง และ ทางไฟฟ้า

รายวิชา 4214903

โครงงานประยุกต์วัสดุนาโน

2(0-4-2)

 

Nanomaterials Application Project

 

        ศึกษาข้อเท็จจริงพื้นฐานของวัสดุนาโนในธรรมชาติ เช่น คุณสมบัติของใบบัว ใยแมงมุม ขนนก ดีเอ็นเอของเลือดมังกรโคโมโดและจระเข้ ฯลฯ และนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น สังคม และประเทศชาติ ภายใต้การแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

 

                    4.3 แขนงวิชาเทคโนโลยีพลังงาน เลือกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

รายวิชา 4213512

พลังงานลม

3(3-0-6)

 

Wind Energy

 

        ศึกษาและวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของไหล คุณลักษณะของลม การศึกษาทิศทางชนิดของลมประเภท ต่าง ๆ แรงที่กระทำของของไหล การประยุกต์ประโยชน์การใช้งานของลม

รายวิชา 4213511

พลังงานแสงอาทิตย์

3(3-0-6)

 

Solar Energy

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของพลังงานแสงอาทิตย์ และการวัดรังสีดวงอาทิตย์ การหากระบวนการถ่ายเทความร้อนที่เกี่ยวข้อง การออกแบบอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครื่องทำความร้อน เตาหุงอาหาร เครื่องอบแห้ง เครื่องทำความเย็นแบบดูดซึม เครื่องกลั่นน้ำ เครื่องยนต์ความร้อน วิธีการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง

รายวิชา 4213513

เทคโนโลยีปิโตรเคมี

3(3-0-6)

 

Petrochemical Technology

 

        ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัตถุดิบ การแบ่งกลุ่มทางเคมีของน้ำมันตามสภาพแหล่งกำเนิด กระบวนการผลิตสารเคมีอินทรีย์โดยมีสารตั้งต้น เช่น มีเทน อีเทน โพนเพน แอซิทิลีน และปิโตรเลียม อโรมาติก การผลิตปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ผลซักฟอก การสังเคราะห์วัตถุอื่น ๆ จากน้ำมัน

รายวิชา 4213514

พลังงานชีวมวล

3(3-0-6)

 

Biomass Energy

 

        ศึกษารูปแบบของพลังงานชีวมวล การเปลี่ยนรูปชีวมวลเป็นพลังงาน เช่น จากอาหารชีวมวลเป็นพลังงานเส้นใยจากชีวมวลเป็นพลังงาน สารเคมีและเชื้อเพลิงจากชีวมวลเป็นพลังงาน เป็นต้น กระบวนการสังเคราะห์แสง ปฏิกริยาเคมีที่ใช้แสงเป็นตัว กระตุ้นในพืช การผลิตแก๊สไฮโดรเจนจากการสังเคราะห์แสง กระบวนการหมัก การแปลงรูปของเสียทางเกษตรกรรมเป็นเชื้อเพลิงและพลังงานการหมักแอลกอฮอล์ การผลิตแก๊สมีเทนเป็นเชื้อเพลิง การออกแบบถังหมักเพื่อผลิตแก๊สมีแทน

รายวิชา 4213515

อุณหพลศาสตร์ประยุกต์

3(3-0-6)

 

Applied Thermodynamics

 

        ศึกษาเกี่ยวกับงานและความร้อน กฏข้อที่หนึ่งทางอุณหพลศาสตร์ประยุกต์ การประยุกต์กฏข้อที่หนึ่งทางอุณหพลศาสตร์ประยุกต์สมบัติสารบริสุทธิ์เอนโทรปี กฏข้อที่สองทางอุณหพลศาสตร์ประยุกต์ อเวเลบิลิตี การวิเคราะห์ กฏข้อที่สองของอุณหพลศาสตร์ วัฎจักรเครื่องยนต์ความร้อน การผลิตกำลังของเครื่องยนต์ ความร้อน

รายวิชา 4213516

การถ่ายโอนความร้อน

3(3-0-6)

 

Heat Transfer

 

        ศึกษาหลักเบื้องต้นของกระบวนการถ่ายโอนความร้อน ได้แก่ การนำความร้อน การพาความร้อน และการแผ่รังสีความร้อน การนำความร้อนชนิดสม่ำเสมอและไม่สม่ำเสมอใน 1 มิติ และ 2 มิติ เทคนิคในการแก้ปัญหาโดยวิธีการทางตัวเลขและกราฟฟิก การพาความร้อนแบบอิสระและการพาความร้อนแบบบังคับ

รายวิชา 4214517

การวิเคราะห์พลังงานไฟฟ้าและความร้อน

3(3-0-6)

 

Thermal and Electrical Energy Analysis

 

        ศึกษาในด้านการจัดการและการวางแผนการใช้พลังงาน การวิเคราะห์พลังงาน ไฟฟ้าในระบบปรับอากาศระบบแสงสว่าง มอเตอร์ เครื่องสูบ และเครื่องอัดหม้อแปลงไฟฟ้า ระบบสายส่งการผลิตกำลัง ไฟฟ้า การวิเคราะห์พลังงานความร้อน ในอุปกรณ์ความร้อน หม้อไอน้ำ เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน เครื่องระเหย การวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐศาสตร์

รายวิชา 4214518

การแปรสภาพพลังงาน

3(3-0-6)

 

Energy Conversion

 

        ศึกษาถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงานในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ พลังน้ำ พลังลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานจากซากพืชซากสัตว์ พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น การแปลงพลังงานจากแหล่งต่าง ๆ ขีดจำกัด พลังงานในแต่ละแหล่ง และศึกษาถึงการผลิตพลังงานไฟฟ้า

รายวิชา 4213519

ระบบต้นกำลังทางความร้อน

3(3-0-6)

Thermal Power Systems

        ศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ประกอบในระบบต้นกำลัง และการออกแบบระบบที่เหมาะสมที่สุด อุปกรณ์ประกอบในวัฏจักรกำลังไอน้ำ ระบบหล่อเย็นในตัวปฏิกรณ์ ระบบน้ำกลั่นและน้ำป้อนเหมือนไอน้ำ เครื่องผลิตไฟฟ้าแบบกังหัน การกำจัดความร้อนสูญเสีย การศึกษาสมดุลทางความร้อน การเลือกและออกแบบอุปกรณ์หอผึ่งน้ำสระหล่อเย็น การสำรวจการผลิตกำลังไฟฟ้า เทคนิคของระบบการผลิตไฟฟ้าอาศัยกำลังน้ำ

รายวิชา 4213520

แหล่งพลังงานทดแทน

3(3-0-6)

 

Renewable Energy Resources

 

        ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งในโลกและในภูมิภาค ยุทธวิธีการแปลงรูปและเศรษฐศาสตร์ของพลังงาน ทดแทน เช่น พลังน้ำ เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังลมและพลังความร้อน

รายวิชา 4214521

การจัดการและการอนุรักษ์พลังงาน

3(3-0-6)

 

Energy Management and Conservation

 

        ศึกษาบทนำและการใช้พลังงานในประเทศไทย หลักการเบื้องต้นทางการจัดการพลังงานการวางแผนเพื่อการจัดการพลังงาน การตรวจสอบพลังงาน การวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้านพลังงาน การจัดการด้านการทำความร้อน ความเย็น โหลดไฟฟ้า และแสงสว่าง การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการพลังงานและด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้พลังงาน

รายวิชา 4214522

การทำความเย็นและปรับอากาศ

3(3-0-6)

 

Air-Conditioning and Refrigeration

 

        ศึกษาหลักอุณหพลศาสตร์ประยุกต์ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับ การทำความเย็นโดยวิธีต่าง ๆ ระบบทำความเย็นเบื้องต้นและส่วนประกอบต่าง ๆ เครื่องอัด เครื่องควบแน่น ตัวระเหย อุปกรณ์การขยายตัวและอื่น ๆ น้ำ-ยาและการควบคุมปริมาณการทำความเย็น ระบบที่มีตัวระเหยหลายตัว กรรมวิธีทำความเย็นอื่น ๆ การปรับอากาศโคเมตริก การคำนวณปริมาณการทำความเย็น ระบบการกระจ่ายอากาศ ระบบท่อ การคำนวณออกแบบห้องเย็น

รายวิชา 4214523

เครื่องจักรกลของไหล

3(3-0-6)

 

Fluid Machinery

 

        จำแนกประเภทลักษณะทั่วไปของเครื่องจักรกลของไหล, เครื่องกังหัน, ปั้ม, พัดลม, โลวเวอร์. เครื่องอัด,คาวิเตชั่น, และงานออกแบบ

รายวิชา 4214524

เทคโนโลยีไอน้ำ

3(3-0-6)

 

Steam Technology

 

        ทบทวนกระบวนการต่าง ๆ ทางอุณหพลศาสตร์ประยุกต์กฏข้อที่หนึ่ง และกฏข้อที่สองทาง อุณหพลศาสตร์ ประยุกต์เครื่องยนต์ความร้อน วัฏจักรของโรงจักรไอน้ำ โรงจักรไอน้ำสำหรับการผลิตงานกลและผลิตความร้อน

รายวิชา 4214525

การอบแห้ง

3(3-0-6)

Drying

        ศึกษาความรู้พื้นฐานของการอบแห้ง คุณสมบัติของอากาศชื้นและอากาศแห้ง ปริมาณความชื้นในวัสดุอบแห้ง คุณสมบัติเชิงความร้อนในวัสดุอบแห้ง โครงสร้างภายในของวัสดุอบแห้ง การเคลื่อนที่ของอากาศ การถ่ายเทมวลระหว่างวัสดุอบแห้งกับอากาศ ระบบการอบแห้งแบบต่าง ๆ การอบแห้งเมล็ดพืช อาหาร และผลิตภัณฑ์ การเก็บรักษาวัสดุที่อบแห้งแล้ว การวิเคราะห์พลังงานที่ใช้ในการอบแห้ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการอบแห้งแต่ละชนิด และการอบแห้งแบบพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์

รายวิชา 4214526

การออกแบบเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน

3(3-0-6)

 

Heat Exchanger Design

 

        ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานของการส่งผ่านความร้อนแบบการนำ การพาและการแผ่รังสี การส่งผ่านความร้อนของเครื่องกำเนิดไอน้ำ การส่งผ่านความร้อนที่เครื่องควบแน่นไอ แบบและชนิดของการแลกเปลี่ยนความร้อนต่าง ๆ คุณสมบัติของโลหะที่เกี่ยวกับการนำ ความร้อน การเลือกใช้โลหะที่จะทำเป็นตัวถ่ายเทความร้อน การผุกร่อน และการป้องกันการผุกร่อนของโลหะ การออกแบบ การทำงาน การบำรุงรักษาตัวถ่ายเทความร้อนแบบก้นหอย แบบท่อ แบบท่อคู่

รายวิชา 4214527

สภาวะอากาศภายใน

3(3-0-6)

 

Indoor Climate

 

        ศึกษาเกี่ยวกับความสุขสบายในอาคารปรับอากาศ คุณภาพของอากาศภายในอาคาร มลภาวะของอากาศภายในอาคาร การหมุนเวียนของอากาศภายในอาคาร

รายวิชา 4214528

การออกแบบระบบแสงสว่าง

3(3-0-6)

Illumination System Design

        ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของแสง แหล่งกำเนิดของแสง การนำแสงมาใช้ในทางวิศวกรรมไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า โคมไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ การออกแบบระบบแสงสว่างภายในและภายนอกอาคาร ตลอดจนการควบคุมการใช้แสงสว่าง

รายวิชา 4214529

ระบบไฟฟ้ากำลัง

3(3-0-6)

 

Electrical Power Systems

 

        ศึกษาประวัติการพัฒนาระบบไฟฟ้ากำลัง โครงสร้างของระบบไฟฟ้ากำลังการผลิตไฟฟ้า คุณลักษณะของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแบบต่าง ๆ การส่งผ่านกำลังไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ค่าพารามิเตอร์ของสายส่ง ค่ากระแสและแรงดันบนสายส่ง สถานีไฟฟ้าย่อยและอุปกรณ์ระบบจำหน่าย การคำนวณเครือข่ายระบบจำหน่ายคุณลักษณะของโหลด การพยากรณ์โหลด

รายวิชา 4214530

เทคโนโลยีนิวเคลียร์

3(3-0-6)

 

Nuclear Technology

 

        ศึกษาเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดรังสีนิวเคลียร์ คุณลักษณะและการตรวจวัด ปฏิบัติกิริยาระหว่างรังสีกับวัสดุ การควบคุมปริมาณรังสี การผลิตนิวตรอน กระบวนการแตกตัว ทฤษฏีการแพร่ซึมของนิวตรอน และการลดความเร็ว ทฤษฎีเบื้องต้นของเตาปฏิกรณ์ปรมาณู เชื้อเพลิงตัวควบคุมการแผ่รังสีและวัสดุโครงสร้าง ชนิดของเตาปฏิกรณ์ฯ และมาตรการความปลอดภัย การนำไปประยุกต์ใช้กับงานอุตสาหกรรม เช่น การวัดอัตราการไหล ความหนาแน่น ความชื้น ความหนา การตรวจรอยเชื่อมรอยรั่วต่าง ๆ รวม

รายวิชา 4214531

เทคโนโลยีก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียม

3(3-0-6)

Natural Gas and Petroleum Technology

        ศึกษาคุณลักษณะและหลักการทางเคมีของปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การทำงานของโรงงานแยกก๊าซธรรมชาติ กระบวนการปรับสภาพก๊าซธรรมชาติและของเหลวที่มีปนอยู่ก๊าซธรรมชาติ แนวทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเคมีอินทรีย์

รายวิชา 4214532

การเผาไหม้ 1

3(3-0-6)

 

Combustion 1

 

        ศึกษาการแบ่งประเภทของเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงแข็ง เชื้อเพลิงเหลวและแก๊ส เชื้อเพลิงจากแหล่ง ต่าง ๆ โดยเฉพาะจากปิโตรเลียม ถ่านหินและหินน้ำมัน กระบวนการเผาไหม้ ทฤษฎีการถ่ายเทมวล และการถ่ายเทความร้อน การประยุกต์ทฤษฎีการถ่ายเท มวลในกระบวนการเผาไหม้ การระเหยและการละลาย

รายวิชา 4214533

การเผาไหม้ 2

3(3-0-6)

 

Combustion 2

 

        วิเคราะห์กระบวนการการเผาไหม้ เปลว คุณสมบัติของเชื้อเพลิงต่าง ๆ การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี การเปรียบเทียบเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ

รายวิชา 4214534

การจัดองค์กรในอุตสาหกรรม

3(3-0-6)

Industrial Organization Management

        ศึกษาโครงสร้างการจัดองค์กร การผลิตของสาธารณะและอุตสาหกรรมการวางแผนควบคุมการผลิตและศึกษา การจัดการทำงาน การจัดระบบอุตสาหกรรม การจัดระบบและการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การผลิตที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์วิศวกรรมโรงงาน ความพร้อมเพรียงทางด้านกำลังคน สภาพการทำงาน สุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การควบคุมราคาและต้นทุน การตลาด การโฆษณาและการเร่งขาย การจัดการฝ่ายบุคคลและการฝึกงานลูกจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

รายวิชา 4214535

กระบวนการผลิต

3(3-0-6)

 

Manufacturing Processes

 

        ศึกษาวิธีการผลิตที่ใช้ในอุตสาหกรรมปัจจุบัน การเชื่อมและการขึ้นรูปของโลหะชนิดต่าง ๆ กระบวนการประกอบ โลหะวิทยาชนิดผงอัด สารยึดและปะติดการขึ้น รูปแบบกลิ้ง กระบวนการที่ใช้ไฟฟ้าและเคมี เช่น อีเลก โตรฟอร์มมิ่ง และฮอทดิปปิ้ง การอัดขึ้นรูปขณะร้อน การขึ้นรูปโดยใช้พลังงานด้วยอัตราเร็วสูง กระบวนการผลิตอัตโนมัติรวมถึงกลไกในการขนส่ง การควบคุมแบบต่อเนื่องและเป็นจุด เครื่องมือพลาสติก และกระบวนการผลิต วิธีทำเครื่องหมายบนชิ้นงาน ระบบอัตโนมัติ

รายวิชา 4214536

เครื่องมือวัดและการวัดทางไฟฟ้า

3(3-0-6)

 

Electrical Measurement and Instrumentation

 

        มโนทัศน์เบื้องต้นของระบบการวัด การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลการทดลอง ได้แก่ที่มาของค่าผิดพลาด การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดและความไม่แน่นอน เครื่องมือวัดพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทางไฟฟ้า เช่น เครื่องมือวัดกระแสเครื่องวัดแรงดัน เครื่องวัดกำลัง ออสซิสโลสโคป ฯลฯ วงจรเบริดจ์กระแสตรง และกระแสสลับ ทรานสดิวเซอร์

รายวิชา 4214537

วิศวกรรมพลังงานแสงอาทิตย์

3(3-0-6)

Solar Energy Enginerring

        ศึกษาลักษณะทางกายภาพของพลังงานแสงอาทิตย์และการวัดรังสีดวงอาทิตย์ กระบวนการถ่ายเทความร้อนที่เกี่ยวข้อง การออกแบบอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ วิธีการทางไฟฟ้าโดยตรง

รายวิชา 4214538

การออกแบบระบบทางความร้อน

3(3-0-6)

 

Thermal System Design

 

        ศึกษาการออกแบบระบบที่ทำงานได้หรือระบบทำงานที่เหมาะสม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม การหาสม-การเพื่อแสดงลักษณะของอุปกรณ์ทางความร้อนโดยใช้ข้อมูลจากการทดลองกฏทางฟิสิกส์ แบบจำลองและการทำงานของระบบทางความร้อน เทคนิคการหาจุดที่เหมาะสมที่

รายวิชา 4214539

ท่อความร้อน

3(3-0-6)

 

Heat Pipe

 

        ศึกษาหลักการเบื้องต้นของทอความร้อนและตัวแลกเปลี่ยนความร้อน ทฤษฏีพื้นฐานในการเลือก Container วิกค์และสารทำงาน การทดลองสมรรถภาพและการใช้งานท่อความร้อนชนิดพิเศษ

รายวิชา 4214540

ระบบต้นกำลังทางความร้อน

3(3-0-6)

Thermal Power Systems

        ศึกษาหลักการออกแบบในระบบต้นทางความร้อน วัฏจักรกำลังไประบบเครื่องผลิตไอน้ำ อุปกรณ์ประกอบ ระบบหล่อเย็นในตัวปฏิกรณ์ เครื่องควบแน่นและอุปกรณ์ เครื่องผลิตไฟฟ้าแบบกังหัน การลดการสูญเสียความร้อน การสมดุลทางความร้อน การเลือกและออกแบบอุปกรณ์หอผึ่งน้ำ

รายวิชา 4214541

พัดลม เครื่องสูบ และเครื่องอัดลม

3(3-0-6)

 

Fan, Pump and Compressor

 

        ศึกษาแนวคิดเครื่องจักรกลของไหล ลักษณะสำคัญและการจำแนกประเภทเครื่องจักรกล ของไหล หลักการของปั๊มและลูกสูบ แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ และไหลตามแนวนอน การเลือกและออกแบบคุณลักษณะของระบบ ทฤษฎีของเครื่องอัดแบบแรงเหวี่ยง และไหลตามแนวแกนคุณลักษณะของสมรรถภาพและการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ

รายวิชา 4213605

ปฏิบัติการฟิสิกส์พลังงาน

1 (0-2-1)

 

Physics Energy Laboratory

 

        ศึกษาเกี่ยวกับปฏิบัติการพื้นฐานในทางเทอร์โมไดนามิกส์ กลศาสตร์ของไหลการถ่ายเทความร้อน การทดลองเพื่อแนะนำเครื่องมือ การเทคนิคการทดลองต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจทฤษฎีพื้นฐานโดยการสังเกตทางกายภาพ การทดลองสมรรถนะของพัดลม เครื่องสูบ เครื่องอัด และกังหัน วัฎจักรการทำความเย็นแบบจำลอง เครื่องปรับอากาศ และกลศาสตร์ของแข็ง

 

            5. วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 7 หน่วยกิต

รายวิชา 4214801

การเตรียมฝึกทักษะเชิงฟิสิกส์อุตสาหกรรม

2(90)

 

Preparation for Professional Experience in Industrial Physics

 

        ฝึกงานในหน่วยงานราชการหรือเอกชนไม่น้อยกว่า 90 ชั่วโมง

รายวิชา 4214802

การฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5(450)

 

Professional Experience in Industrial Physics

 

        การฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานราชการ หรือ องค์การรัฐวิสาหกิจต่างๆ ไม่น้อยกว่า 450 ชั่วโมง ในช่วงเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ ส่งรายงานต่อภาควิชา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชาา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลายย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสถาบันวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขาและ / หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชา ทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ป
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษา ทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

**************

ภาคผนวก

 

1. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

        1.1 มหาวิทยาลัยจัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏจากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวะพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        1.2 การประชุมกำหนดวิสัยทัศน์และปรัชญาของหลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2548

        1.3 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ณ โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์แกรนด์รีสอร์ท จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาตม 2545 ได้มาตรฐานหลักสูตร ชื่อ หลักสูตรวิชาแกน วิชาบังคับและบางส่วนวิชาเลือก

        1.4 การสำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เมื่อเดือน 25 ธันวาคม 2547

        1.5 การดำเนินการประชุมโปรแกรมฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป เพื่อจัดทำร่างหลักสูตร เมื่อเดือน มกราคม 2547

        1.6 เดินทางไปศึกษาการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการหลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2547

        1.7 ประชุมเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษาไทย โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ เชียงใหม่ 6 มิถุนายน 2548

        1.8 ประชุมภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป พัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่ 20 มิถุนายน 2548

        1.9 ประชุมปฏิบัติการวิพากษ์หลักสูตร ณ ห้วยป่าปกรีสอร์ท

        1.10 ประชุมปรับปรุง แก้ไขหลักสูตร ตามที่คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรเสนอ

        1.11 นำเสนอสภาวิชาการ และสภาวิชาการเห็นชอบหลักสูตร 22 กันยายน 2548

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

        2.1 รศ.ดร.จิตติ หนูแก้ว D.Eng (Material Science and Enginering)

        2.2  ดร.ชัญชนา ธนชยานนท์ Ph.D. (Materials Science)

        2.3 ดร.ภาสกร ประถมบุตร Ph.D. (Computer Science)

        2.4 ดร.สมบูรณ์ นนสกุล กศ.ด. (บริหารการศึกษา)

        2.5 อาจารย์สุรเดช วงศ์กระจ่าง กศ.ม. (ฟิสิกส์)

3. รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ

3.1 รศ.ดร.จิตติ หนูแก้ว สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

3.2 ดร.ชัญชนา ธนชยานนท์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

3.3 ดร.ภาสกร ประถมบุตร ศูนย์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

3.4 ดร.สมบูรณ์ นนสกุล อาจารย์โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม

3.5 อาจารย์สุรเดช วงศ์กระจ่าง อาจารย์โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม

4. สรุปข้อเสนอแนะ – การปรับปรุงแก้ไข

        ในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม วันที่ 9 – 10 กันยายน 2548

ข้อเสนอแนะ

การปรับปรุงแก้ไข

    1. เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษ อีก 1 รายวิชา รวม เป็น 12 หน่วยกิต ตามมติของสภามหาวิทยาลัย

    2. ปรับจำนวนหน่วยกิตลดลงเป็นตามมติของ สวท.

    3. ปรับรวมรายวิชาที่เป็นบรรยายและปฏิบัติการ มาเป็นวิชาเดียวกัน (ลดจำนวนหน่วยกิจรวมลง)

    4. ไม่ควรมีแขนงวิชาฟิสิกส์บริสุทธิ์

    5. เพิ่มรายวิชาเลือกแขนงวิชาไฟฟ้าและโทรคมนาคม, ปรับรายวิชาในแขนงวิชาวัสดุนาโน

    1. ได้เพิ่มรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักฟิสิกส์ อุตสาหกรรมแล้ว ในวิชาบังคับ

    2. ปรับลดลง 5 หน่วยกิต รวมเป็น 133 หน่วยกิต ได้ปรับให้มีบรรยายและปฏิบัติการในรายวิชา เดียวกัน ในบางรายวิชา
        ที่เหมาะสม

    3. ได้ตัดแขนงวิชานี้ออกไปแล้ว

    4. ปรับปรุงตามที่คณะกรรมการเสนอแนะ

5. มาตรฐานด้านคุณลักษณะบัณฑิต

        หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม ได้ดำเนินการกำหนดมาตรฐานด้านคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามประเด็นของการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้เพิ่มเติม โดยภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ จะดำเนินการตรวจสอบคุณลักษณะของบัณฑิตโดยใช้แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ได้แก่

                1. ด้านความรู้
                2. ด้านทักษะการปฏิบัติ
                3. ด้านคุณลักษณะ

         ทั้งนี้จะมีการประเมินเป็นระยะๆ และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อให้เกิดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ต่อไปนี้

            1. คุณลักษณะบัณฑิตด้านความรู้

                1. มีความรู้ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของนักวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติการเกี่ยวกับฟิสิกส์อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้
                2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดทางฟิสิกส์อุตสาหกรรม และฟิสิกส์อุตสาหกรรม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                3. มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ของฟิสิกส์และฟิสิกส์อุตสาหกรรม และสามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในด้านฟิสิกส์อุตสาหกรรม และสาขาที่เกี่ยวข้อง
                4. มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
                5. มีความรู้ความเข้าใจทางด้านสังคมและวิชาการใหม่ๆ โดยเฉพาะความเข้าใจระบบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี การเมือง การปกครองของไทย ตลอดจนมีความรู้ ความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้า
                    ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            2. คุณลักษณะบัณฑิตด้านทักษะปฏิบัติ

                1. สามารถประยุกต์ทฤษฎีและปฏิบัติการ ไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
                2. มีทักษะในการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และทักษะการปฏิบัติการทางฟิสิกส์ในงาน อุตสาหกรรม
                3. มีทักษะวิธีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่โดยวิธีการวิจัย และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ
                4. มีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ และติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
                5. มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สามารถคิดอย่างมีเหตุผล และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้
                6. มีทักษะด้านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์

            3. คุณลักษณะบัณฑิตด้านคุณลักษณะ

                1. มีความสนใจ ใฝ่รู้ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
                2. มีความอดทน ประหยัด ขยันหมั่นเพียร สู้งาน ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับ ผิดชอบ และตรงต่อเวลา มีความเป็นธรรมและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น
                3. มีบุคลิกภาพที่ดี มีภาวะผู้นำ (leadership) และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
                4. มีความสุภาพ อ่อนโยน รู้จักกาลเทศะในการพูด การแต่งกายที่เหมาะสม
                5. มีนิสัยของความเป็นระเบียบ มีความละเอียดรอบคอบ และยึดหลักปฏิบัติของ 5 ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
                6. มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
                7. มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
                8. มีจิตสำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น มีความซาบซึ้งในศิลปะและวัฒนธรรมไทย
                9. มีจิตสำนึกในการพัฒนาสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
                10. มีความซาบซึ้งในคุณค่าของสัจธรรม ความดี ความงาม และการดำรงตนให้มีคุณค่าต่อสังคม
                11. มีความตระหนักในคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีสุขนิสัยที่ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจ ทั้งส่วนตนและส่วนรวม

 

***************

 

 

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

 

 

 

 

หลักสูตรใหม่

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก