หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2549
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

 

1.

ชื่อหลักสูตร

2.

ชื่อปริญญา

3.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

4.

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

5.

กำหนดการเปิดสอน

6.

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

7.

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

8.

ระบบการศึกษา

9.

ระยะเวลาการศึกษา

10.

การลงทะเบียนเรียน

11.

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

12.

อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน

13.

จำนวนนิสิตนักศึกษา

14.

สถานที่และอุปกรณ์การสอน

15.

ห้องสมุด

16.

งบประมาณ

17.

หลักสูตร

  17.1 จำนวนหน่วยกิต
  17.2 โครงสร้างหลักสูตร
  17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต
  17.4 แผนการศึกษา
  17.5 คำอธิบายรายวิชา

18.

การประกันคุณภาพของหลักสูตร

19.

การพัฒนาหลักสูตร

20.

ภาคผนวก

 

สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาไฟฟ้าสื่อสาร)

 

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

 

ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (สาขาไฟฟ้าสื่อสาร)

 

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
หลักสูตรปรับปรุง
พ.ศ. 2549

………………………………………….

 

1. ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Industrial Technology Program in Electrical Communication

2. ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม :

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (ไฟฟ้าสื่อสาร)

  Bachelor of Industrial Technology ( Electrical Communication)
ชื่อย่อ : อส.บ. (ไฟฟ้าสื่อสาร)
  B.Ind.Tech. (Electrical Communication)

3. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

        คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

4. ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

        4.1 ปรัชญาของหลักสูตร

                 จัดการศึกษาโดยยึดหลักมาตรฐานหลักสูตรและแนวทางการบริหารในระดับอุดมศึกษา มุ่งเน้นทักษะการปฏิบัติ และทฤษฎีที่เหมาะสม ผลิตนักเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าสื่อสารที่สามารถปฏิบัติงานด้านการควบคุม ออกแบบ ซ่อมบำรุง และการบริหารงานทางไฟฟ้าสื่อสาร ประสานงานระหว่างผู้ประกอบการ ผู้ออกแบบ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานทางด้านอุตสาหกรรม หลักสูตรมีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงตามความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าสื่อสาร จากชุมชนสู่ชุมชนและประเทศชาติ ยึดหลักความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

        4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

                1. เพื่อผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร สร้างเสริมประสบการณ์ มีแนวคิดสู่การประกอบอาชีพ สามารถปฏิบัติงานในระบบอุตสาหกรรมได้
                2. เพื่อผลิตบัณฑิต ที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้
                3.  เพื่อปลูกฝังให้บัณฑิตมีคุณธรรม มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร สำนึกในจรรยาวิชาชีพ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

5.  กำหนดการเปิดสอน

        ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549

6. คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

        จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และ/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

        ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

8. ระบบการศึกษา

        ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค (Semester) ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดย 1 ภาคการศึกษา มีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ หากมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน (Summer Session) จะต้องมีระยะเวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์

        การคิดหน่วยกิต

                รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยายหรืออภิปรายปัญหาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลองไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม ที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค
                การทำโครงงานหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงงานหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิตระบบทวิภาค

9. ระยะเวลาการศึกษา

        ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร รวมทั้งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นักศึกษาประเภทเต็มเวลาจะต้องใช้เวลาในการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติ และจะต้องไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

10. การลงทะเบียนเรียน

        การลงทะเบียนเรียนรายวิชาในภาคการศึกษาปกติ นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่จะต้องไม่เกิน 22 หน่วยกิต ส่วนในภาคฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 9 หน่วยกิต

11. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

        11.1 การวัดผลการศึกษา

        11.2 การสำเร็จการศึกษา

12. อาจารย์ประจำหลักสูตร/อาจารย์ผู้สอน

        12.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร

ที่

ชื่อ–สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1.

นายทวีศักดิ์ ไวยมิตรา

    -  คอ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
      
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    -  คอ.บ. (อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 สถาบัน
       เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เอกสารประกอบการสอน

    -  การออกแบบวงจรพัลส์ และสวิตชิ่ง

งานวิจัย

    -  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึก ความสามารถแบบอิงเกณฑ์ (CBST)

รายวิชาที่สอน

    -  ระบบการสื่อสารแบบดิจิตอล
    -  หลักการของระบบการสื่อสาร
    -  โครงข่ายการสื่อสารและสายส่ง
    -  วิศวกรรมไมโครเวฟ
    -  การสื่อสารดาวเทียม
    -  การสื่อสารใยแสง
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯ

2.

นางสาวอิสรี ศรีคูณ

    -  M.E. (Electrical Engineering Power) University of Bath
    -  วศ.บ (ไฟฟ้ากำลัง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอกสารประกอบการสอน

    -

งานวิจัย

    -  การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อหารูปแบบของ Coherent Generator
    -  การใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับ โปรแกรม Optimal Power Flow ความเร็วสูง

รายวิชาที่สอน

    -  ดิจิตอลเทคนิค
    -  ไมโครโปรเซสเซอร์
    -  วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์
    -  การออกแบบวงจรดิจิตอลและตรรก
    -  การประมวลผลสัญญาณเชิงเลข
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯ

3.

นายณรงค์ ทองอีสาน

    -  กศ.ม. (อุตสาหกรรมศึกษา)  มหาวิทยาลัยนเรศวร
    -  อส.บ (เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
  
เจ้าคุณ ทหารลาดกระบัง

เอกสารประกอบการสอน

    -  

งานวิจัย

    -  

รายวิชาที่สอน

    -  เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
    -  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
    -  การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
    -  เขียนแบบวิศวกรรม
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯ

4.

นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์

    -  คอ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก

งานวิจัย

    -  

ตำแหน่งหน้าที่

    -  หัวหน้าฝ่ายพัสดุ

รายวิชาที่สอน

    -  คณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า
    -  การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1,2
    -  วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า
    -  อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
    -  ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯ

5.

น.ส.ณัฐนันท์ สังข์เลี่ยมทอง

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    -  วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

เอกสารประกอบการสอน

    -  คอมพิวเตอร์

งานวิจัย

    -  ร่วมวิจัยหัวข้อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
       การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 3 ภาคเหนือ

รายวิชาที่สอน

    -  คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม
    -  สถิติวิศวกรรม
    -  สัมมนาไฟฟ้าสื่อสาร
    -  การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร
    -  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ฯ

        12.1 อาจารย์พิเศษ

ที่

ชื่อ–สกุล/วุฒิการศึกษา

ผลงานทางวิชาการ/ประสบการณ์

ตำแหน่งหน้าที่/รายวิชาที่สอน

1.

ผศ.พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์

    -  วศ.ม. (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
       ลาดกระบัง
    -  คอ.บ. (วิศวกรรมโทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า -
     
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ประสบการณ์

    -  อาจารย์สอน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ตำแหน่งหน้าที่

    -  รองคณบดีกำกับดูแลงานด้านพัฒนา และกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์
       อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รายวิชาที่สอน

    -  วิศวกรรมสายอากาศ
    -  วิศวกรรมข่ายสายโทรศัพท์ตอนนอก
    -  เทคโนโลยีวิศวกรรมโทรศัพท์

2.

น.ส.ธรัชนีย์ โสดาบรรล์

    -  คอ.บ. (วิศวกรรมโทรคมนาคม) เกียรตินิยมอันดับ 2 สถาบันเทคโนโลยี
       พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รายวิชาที่สอน

    -  การประยุกต์ใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์
    -  ระบบการควบคุมแบบป้อนกลับ

13. จำนวนนักศึกษา

นักศึกษา

ปีการศึกษา

2549

2550

2551

2552

2553

ชั้นปีที่ 1

40

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 2

-

40

40

40

40

ชั้นปีที่ 3

-

-

40

40

40

ชั้นปีที่ 4

-

-

-

40

40

รวม

40

80

120

160

160

จำนวนที่คาดว่าสำเร็จการศึกษา

-

-

-

40

40

14. สถานที่และอุปกรณ์การสอน

        14.1 สถานที่ในการจัดการเรียนการสอน

                ใช้อาคารเรียนรวม และห้องปฏิบัติการส่วนกลาง ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ตึกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติในรายวิชาชีพเฉพาะด้าน โปรแกรมวิชามีสถานที่ที่เป็นห้องปฏิบัติการ ดังนี้

ที่

สถานที่

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1.

ห้องปฏิบัติการติดตั้งไฟฟ้า

1 ห้อง

1 ห้อง

ขนาดของห้อง

8 x 8 เมตร

ใช้งานร่วมกับ

สาขาวิชา

ไฟฟ้าอุตสาหกรรม

2.

ห้องปฏิบัติการเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ

1 ห้อง

1 ห้อง

3.

ห้องปฏิบัติการเครื่องกลไฟฟ้า

1 ห้อง

1 ห้อง

4.

ห้องปฏิบัติการนิวส์เมติกส์และไฮโดรลิกส์

1 ห้อง

1 ห้อง

5.

ห้องปฏิบัติการเครื่องมือวัด

1 ห้อง

2 ห้อง

6.

ห้องปฏิบัติการดิจิตอล อิเล็กทรอนิกส์และไมโครโปรเซสเซอร์

1 ห้อง

2 ห้อง

7.

ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

1 ห้อง

2 ห้อง

8.

ห้องเครื่องมือและอุปกรณ์

1 ห้อง

1 ห้อง

        14.2 อุปกรณ์การสอน

ที่

รายการ

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1.

Electronic Circuit Trainer

7 Set

20 Set

 

2.

Fiber Optic Trainer

1 Set

5 Set

 

3.

Industrial Electronics Trainer

1 Set

20 Set

 

4.

Motor Control with Electronics & PC Lab

1 Set

5 Set

 

5.

Power Electronics Training Set

2 Set

5 Set

 

6.

Semiconductor Training Set

1 Set

5 Set

 

7.

AM/FM Transmitter and Receiver Set

1 Set

2 Set

 

8.

Fiber Optic Board

2 Set

5 Set

 

9.

Electronics Logic Trainer

7 Set

5 Set

 

10.

Opto Electronics Lab Set

2 Set

5 Set

 

11.

Pulse Circuit Trainer

1 Set

5 Set

 

12.

Transducer Training Kit

4 Set

5 Set

 

13.

Cable Meter

1 Set

5 Set

 

14.

Frequency Counter

2 Set

5 Set

 

15.

Function Generator

3 Set

20 Set

 

16.

L C R Meter

2 Set

5 Set

 

17.

Multimeter ; Digital ; Precision

5 Set

20 Set

 

18.

Power Supply ; Triple Output

4 Set

20 Set

 

19.

Scopemeter ; Handheld

1 Set

5 Set

 

20.

Storage Oscilloscope ; 60 MHz

5 Set

5 Set

 

21.

Oscilloscope ; 100 MHz ; 2 Channel

2 Set

20 Set

 

22.

Clamp Meter ; Digital

9 Set

10 Set

 

23.

Multimeter ; Digital

12 Set

20 Set

 

24.

Voltmeter ; AC/DC

5 Set

5 Set

 

25.

ชุดทดลองดิจิตอล

20 ชุด

20 ชุด

 

26.

ชุดทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ET-Board V.4

30 ชุด

40 ชุด

 

27.

ชุดทดลองไมโครโปรเซสเซอร์ ET-Board V.5

20 ชุด

40 ชุด

 

28.

ชุดทดลองไมโครคอนโทรลเลอร์

20 ชุด

40 ชุด

 

29.

มัลติมิเตอร์ ; Analog

40 ชุด

40 ชุด

 

30.

ชุดทดลองอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ; Module

4 ชุด

5 ชุด

 

31.

ชุดฝึกเครื่องกลไฟฟ้า

1 ชุด

5 ชุด

 

32.

ชุดทดลองนิวส์เมติกส์และไฮดรอลิกส์

1 ชุด

5 ชุด

 
 

ฯลฯ

     

15. ห้องสมุด

        15.1 จำนวนหนังสือและตำราเรียน

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1.

การออกแบบระบบแสงสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

2.

การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

3.

ทฤษฎีการออกแบบวงจรพัลส์และสวิทชิ่ง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

4.

เครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

5.

คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

2 เล่ม

20 เล่ม

 

6.

หลักการออกแบบวงจรลอจิก : วงจรคอมไบเนชั่น

1 เล่ม

20 เล่ม

 

7.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

8.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

9.

ทฤษฎีและการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์ เล่ม 3

1 เล่ม

10 เล่ม

 

10.

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

11.

ไมโครโปรเซสเซอร์

2 เล่ม

20 เล่ม

 

12.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

1 เล่ม

10 เล่ม

 

13.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

14.

ทฤษฎีและการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 3

1 เล่ม

10 เล่ม

 

15.

เครื่องมือวัดไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

16.

ทฤษฎีเครื่องเสียง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

17.

อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

18.

เครื่องปรับอากาศ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

19.

หลักการทำงานและเทคนิคการประยุกต์ใช้งาน PC/PLC

1 เล่ม

10 เล่ม

 

20.

การส่องสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

21.

ไฟฟ้าอุตสาหกรรมเบื้องต้น

1 เล่ม

10 เล่ม

 

22.

เครื่องกลไฟฟ้า

1 เล่ม

10 เล่ม

 

23.

ทฤษฎีและการใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

24.

ดิจิตอลเทคนิค 1

1 เล่ม

20 เล่ม

 

25.

ดิจิตอลเทคนิค 2

1 เล่ม

10 เล่ม

 

26.

เขียนแบบไฟฟ้า

1 เล่ม

20 เล่ม

 

27.

นิวเมติกส์อุตสาหกรรม

1 เล่ม

10 เล่ม

 

28.

การติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร

1 เล่ม

10 เล่ม

 

29.

ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า

2 เล่ม

10 เล่ม

 

30.

อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

31.

ปฏิบัติการวงจรพัลส์และสวิตชิ่ง

2 เล่ม

10 เล่ม

 

32.

วิศวกรรมการส่องสว่าง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

33.

อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

34.

สถิติเพื่องานวิจัย

1 เล่ม

10 เล่ม

 

35.

ไมโครคอนโทรลเลอร์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

36.

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ

2 เล่ม

10 เล่ม

 

37.

โปรแกรมภาษาซี

1 เล่ม

10 เล่ม

 

38.

โรงต้นกำลัง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

39.

Microsoft Visual Basic Professional 6.0

2 เล่ม

10 เล่ม

 

40.

การสื่อสารข้อมูล

1 เล่ม

10 เล่ม

 

41.

การใช้งาน Protel

1 เล่ม

10 เล่ม

 

42.

การสื่อสารดาวเทียม

1 เล่ม

10 เล่ม

 

43.

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า

2 เล่ม

10 เล่ม

 

44.

เครื่องรับวิทยุ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

45.

วิศวกรรมสายอากาศ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

46.

วิศวกรรมโทรศัพท์

1 เล่ม

10 เล่ม

 

47.

ไมโครเวฟ

1 เล่ม

10 เล่ม

 

48.

การสื่อสารใยแสง

1 เล่ม

10 เล่ม

 

49.

หนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

-

   
 

ฯลฯ

     

        15.2 จำนวนวารสารและเอกสารอื่น ๆ

ที่

ชื่อหนังสือ/ตำราเรียน

จำนวนที่มีอยู่

จำนวนที่คาดว่าจะเพียงพอ

หมายเหตุ

1.

วารสารเซมิคอนดักเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์

14 เล่ม (รับรายเดือน)

   

2.

วารสารวิศวกรรมสาร

3 เล่ม

   

3.

วารสาร COMPUTER TODAY

50 เล่ม

   

4.

วารสาร เทคนิค เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหการ

2 เล่ม

   

        15.3 รายชื่อสื่ออิเล็กทรอนิคส์

                การสืบค้นจากเว็บไซต์ http://127.0.0.1:5432/HWWMDS/Main.nsp ของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

16. งบประมาณ

หมวดเงิน

งบประมาณ

2549

2550

2551

2552

2553

ค่าตอบแทน

50,000

100,000

150,000

200,000

200,000

ค่าใช้สอย

50,000

100,000

150,000

200,000

200,000

ค่าวัสดุและอื่น ๆ

100,000

200,000

300,000

400,000

400,000

รวมงบดำเนินการ

200,000

400,000

600,000

800,000

800,000

ค่าครุภัณฑ์

1,000,000

1,000,000

750,000

500,000

250,000

ค่าสิ่งก่อสร้าง

         

รวมงบลงทุน

1,000,000

1,000,000

750,000

500,000

250,000

รวมทั้งสิ้น

1,200,000

1,400,000

1,350,000

1,300,000

1,050,000

17. หลักสูตร

        17.1 จำนวนหน่วยกิต

                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

        17.2 โครงสร้างของหลักสูตร

หมวดวิชา/กลุ่มวิชา/วิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

31

    1.  กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร

9

    2.  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์

8

    3.  กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์

6

    4.  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

8

ข.  หมวดวิชาเฉพาะ

93

    1.  วิชาแกน

30

    2.  วิชาเฉพาะด้านบังคับ

43

    3.  วิชาเฉพาะด้านเลือก

15

    4.  วิชาประสบการณ์วิชาชีพ

5

ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี

6

รวมทั้งหมด

130

        17.3 รายวิชาและจำนวนหน่วยกิต

            รายวิชาตามหลักสูตรกำหนดด้วยรหัสวิชาโดยใช้ระบบตัวเลข 7 หลัก โดยมีความหมายดังนี้

                เลขตัวแรก แทนคณะ

                เลขตัวที่ 2,3 แทนหมู่วิชา

                เลขตัวที่ 4 บ่งบอกถึงระดับความยากง่ายหรือชั้นปี

                เลขตัวที่ 5 บ่งบอกถึงลักษณะเนื้อหาวิชา

                เลขตัวที่ 6,7 บ่งบอกถึงลำดับก่อนหลังของวิชา

1

2 3 4 5 6 7

คณะ

หมู่วิชา ชั้นปี ลักษณะวิชา ลำดับก่อนหลังของวิชา

            รหัสตัวเลขตัวแรกแทนคณะที่เปิดสอนดังนี้

                1 หมายถึง คณะครุศาสตร์

                2 หมายถึง คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์

                3 หมายถึง คณะวิทยาการจัดการ 4 หมายถึง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                5 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาเกษตรศาสตร์

                6 หมายถึง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กลุ่มวิชาอุตสาหกรรม

                ตัวเลขแสดงหลังชื่อรายวิชา หมายถึง จำนวนหน่วยกิต (บรรยาย–ปฏิบัติ–ศึกษาด้วยตนเอง) โดย

                บรรยาย หมายถึง จำนวนชั่วโมงบรรยาย = จำนวนหน่วยกิตบรรยาย

                ปฏิบัติ หมายถึง จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ = จำนวนหน่วยกิตปฏิบัติ

                จำนวนหน่วยกิต x 3 = จำนวนชั่วโมงทฤษฎี+จำนวนชั่วโมงปฏิบัติ+จำนวนชั่วโมงศึกษาด้วยตนเอง

        ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

        ข. หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 93 หน่วยกิต แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

            (1) วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6181601

เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electrical and Electronics Measurement

 

6182101

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

3 (2-2-5)

 

Electrical Circuit Analysis 1

 

6182102

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

3 (2-2-5)

 

Electrical Circuits Analysis 2

 

6182104

ดิจิตอลเทคนิค

3 (2-2-5)

 

Digital Technique

 

6182105

การออกแบบวงจรดิจิตอลและตรรก

3 (2-2-5)

 

Digital and Logic Design

 

6182106

ไมโครโปรเซสเซอร์

3 (2-2-5)

 

Microprocessor

 

6182401

วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electronics Circuit Analysis

 

6183102

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electromagnetic Engineering

 

6183501

หลักการของระบบการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

Principle of Communication System

 

6183502

โครงข่ายการสื่อสารและสายส่ง

3 (2-2-5)

 

Communication Networks and Transmission Lines

 

            (2) วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต มีรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

2313705

ภาษาอังกฤษในงานวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Engineering Work

 

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction to Physics

 

4221104

เคมีเบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction to Chemistry

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

4292401

แคลคูลัส 2

3 (3-0-6)

 

Calculus 2

 

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrial Computer

 

6182103

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electrical and Electronics Drafting

 

6183101

คณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electrical Engineering Mathematics

 

6183103

สถิติวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

Engineering Statistics

 

6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1 (0-3-2)

 

Electronics and Electronic Appliance Repairs

 

6183401

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Technology Electronics

 

6184902

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

Research and Development in Electrical Communications

 

            (3) วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 15 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6182107

การประยุกต์ใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์

3 (2-2-5)

 

Microprocessor Application

 

6182402

การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electronics Circuit Design

 

6183201

วิศวกรรมระบบเสียง

3 (2-2-5)

 

Acoustics Systems Engineering

 

6183301

เทคโนโลยีโทรทัศน์

3 (2-2-5)

 

Television Technology

 

6183302

เทคโนโลยีวีดิโอ

3 (2-2-5)

 

Video Technology

 

6183402

การประมวลผลสัญญาณเชิงเลข

3 (3-0-6)

 

Digital Signal Processing

 

6183403

อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrial Electronics

 

6183404

อุปกรณ์สถานะของแข็ง

3 (2-2-5)

 

Solid State Devices

 

6183405

ออปโต-อิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Opto - Electronics

 

6183406

สัญญาณรบกวนในระบบอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Noise in Electronics System

 

6183407

เทคโนโลยีไอซี

3 (2-2-5)

 

Integrated Circuit Technology

 

6183408

เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Power Electronics

 

6183503

วิศวกรรมสายอากาศ

3 (3-0-6)

 

Antenna Engineering

 

6183504

วิศวกรรมไมโครเวฟ

3 (3-0-6)

 

Microwave Engineering

 

6183505

การสื่อสารดาวเทียม

3 (3-0-6)

 

Satellite Communications

 

6183506

การวิเคราะห์วงจรข่ายไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electrical Network Analysis

 

6183507

วิศวกรรมข่ายสายโทรศัพท์ตอนนอก

3 (2-2-5)

 

Outside Telephone Network Plant Engineering

 

6183508

เทคโนโลยีการออกแบบวงจรความถี่วิทยุ

3 (3-0-6)

 

Radio Frequency Circuits Design Technology

 

6183509

เทคโนโลยีวิศวกรรมโทรศัพท์

3 (3-0-6)

 

Telephone Engineering Technology

 

6183510

ระบบการสื่อสารแบบดิจิตอล

3 (3-0-6)

 

Digital Communication Systems

 

6183511

การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electronics Communication

 

6183512

การสื่อสารใยแสง

3 (3-0-6)

 

Optic Fiber Communication

 

6183703

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2

3 (2-2-5)

 

Computer Programming 2

 

6183704

การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Computer Drawing and Design

 

6183705

เครือข่ายไมโครคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Microcomputer Network

 

6184101

กฎหมายไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electrical and Electronics Law

 

6184401

ระบบการควบคุมแบบป้อนกลับ

3 (3-0-6)

 

Feedback Control System

 

6184402

วิศวกรรมควบคุม

3 (3-0-6)

 

Control Engineering

 

6184403

ระบบควบคุมอัตโนมัติ

3 (2-2-5)

 

Automatic Control Systems

 

6184901

สัมมนาไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

Communication Electrical Seminar

 

6183701

สถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Microcomputer Architecture

 

                (4) วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต ให้เลือกเรียนจากรายวิชาดังต่อไปนี้

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

6184801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าสื่อสาร

5 (450)

 

Field Experience in Electrical Communication

 

        ค. หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน 6 หน่วยกิต

                ให้นักศึกษาเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในระดับปริญญาตรีที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จหลักสูตรสาขาวิชานั้น ๆ

        17.4 แผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

2000104

บัณฑิตอุดมคติไทย

2 (2-0-4)

 

2310101

ภาษาอังกฤษพื้นฐาน

3 (3-0-6)

 

2400101

การใช้สารสนเทศ

2 (2-0-4)

 

2000101

วิถีไทย

2 (2-0-4)

 

2000103

ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2 (2-0-4)

 

4000101

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคม

2 (2-0-4)

 

4000102

คณิตศาสตร์ทั่วไป

2 (2-0-4)

 

4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

รวม

21

 

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

1000101

พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน

2 (2-0-4)

 

2210101

การพัฒนาทักษะทางภาษาไทย

3 (2-2-5)

 

2310102

ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

2000102

วิถีโลก

2 (2-0-4)

 

2000105

ชีวิตกับดนตรี

2 (2-0-4)

เลือก
1 รายวิชา

2000106

ชีวิตกับศิลปะ

2 (2-0-4)

2000107

ชีวิตกับนาฏการ

2 (2-0-4)

4000103

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้

2 (1-2-3)

 

4000104

สุขภาพเพื่อชีวิต

2 (2-0-4)

เลือก
1 รายวิชา

1000102

กีฬาและนันทนาการ

2 (1-2-3)

6181601

เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

รวม

19

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

4221104

เคมีเบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

4292401

แคลคูลัส 2

3 (3-0-6)

 

6182103

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

6182101

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

3 (2-2-5)

 

6182104

ดิจิตอลเทคนิค

3 (2-2-5)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

6182102

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

3 (2-2-5)

 

2313705

ภาษาอังกฤษสำหรับงานวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

6182401

วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

6182106

ไมโครโปรเซสเซอร์

3 (2-2-5)

 

6182105

การออกแบบวงจรดิจิตอลและตรรก

3 (2-2-5)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

6183101

คณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

6183102

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

6183401

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

6183501

หลักการของระบบการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

6183103

สถิติวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

รวม

18

 

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1 (0-3-2)

 

6183402

การประมวลผลสัญญาณเชิงเลข

3 (3-0-6)

 

6183505

การสื่อสารดาวเทียม

3 (3-0-6)

 

6183502

โครงข่ายการสื่อสารและสายส่ง

3 (3-0-6)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี 1

3 (x-x-x)

 

รวม

16

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6184801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าสื่อสาร

5 (450)

 

รวม

5

 

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมายเหตุ

6184401

ระบบการควบคุมแบบป้อนกลับ

3 (3-0-6)

 

6184902

การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

6184901

สัมมนาไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

xxxxxxx

วิชาเฉพาะด้านเลือก

3 (x-x-x)

 

xxxxxxx

เลือกเสรี 2

3 (x-x-x)

 

รวม

15

 

        17.5 คำอธิบายรายวิชา

            1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 

            2. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาแกน จำนวน 30 หน่วยกิต

รายวิชา 6181601

เครื่องมือวัดไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electrical and Electronics Measurement

 

        มาตรฐานเครื่องมือวัดและการวัด ค่าผิดพลาดในการวัด โครงสร้าง หลักการทำงานและการนำไปใช้งานของเครื่องวัดไฟฟ้าทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดความต้านทาน มัลติมิเตอร์ เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความเร็วรอบ เครื่องวัดความถี่ เครื่องเพาเวอร์แฟคเตอร์ ไฟฟ้า เครื่องวัดแบบบริดจ์ออสซิลโลสโคป มิเตอร์แบบดิจิตอล

รายวิชา 6182101

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

3 (2-2-5)

 

Electrical Circuit Analysis 1

 

        กฎของโอห์ม การต่อวงจรไฟฟ้าแบบต่าง ๆ กฎของเคอร์ซอฟ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ไฟฟ้าสลับ 1 เฟส 3 เฟส คุณสมบัติของตัวต้านทาน ขดลวดเหนี่ยวนำและตัวเก็บประจุในวงจรกระแสตรงและกระแสสลับ ค่ารีแอคแตนซ์ อิมพีแตนซ์ แอทมิแตนซ์ เพาเวอร์แฟคเตอร์ และการแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ การวิเคราะห์เทอร์เนเตอร์แบบเฟสเดียวและสามเฟส ปฏิบัติการต่อวงจรแบบแผงฝึกวัดความต้านทาน แรงดันไฟฟ้า หาค่ารีแอคแตนซ์ อิมพีแตนซ์และแอทมิแตนซ์ของวงจร

รายวิชา 6182102

การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2

3 (2-2-5)

 

Electrical Circuit Analysis 2

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 6182101 การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1

        ความรู้พื้นฐาน นิยาม หน่วย วงจรตัวต้านทาน แหล่งกำเนิดพึ่งพิง วิธีการวิเคราะห์ทฤษฎีวงจรข่าย องค์ประกอบสะสมพลังงาน วงจร R-C และ R-L วงจรอันดับสองเฟสเซอร์และการกระตุ้นไซนูซอยด์ การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวไฟสลับ กำลังงานในสถานะอยู่ตัวไฟสลับ วงจรสามเฟส ความถี่เชิงซ้อนและฟังก์ชั่น วงจรข่าย ผลตอบสนองความถี่ อนุกรมฟูเรียร์ และการแปลงฟูเรียร์ การแปลงลาปลาซ

รายวิชา 6182104

ดิจิตอลเทคนิค

3 (2-2-5)

 

Digital Technique

 

        ระบบตัวเลข เลขฐาน 2 เลขฐาน 8 เลขฐาน 10 เลขฐาน 16 การบวก ลบ คูณ หาร และการเปลี่ยนแปลงฐานเลข รหัสต่าง ๆ เช่น รหัสไบนารีเกรย์ BCD เป็นต้น ลิจิกเกทพื้นฐาน เช่น INVERTER AND OR หลักการพีชคณิตบูลลีน ตารางตรรกะ (Truth table) การออกแบบวงจรคอมบิเนชั่นลอจิก ลอจิกเกท NAND และ NOR การออกแบบวงจรลอจิก โดยใช้ NAND และ NOR เกท โดยทฤษฎีเดอมอร์แกนลอจิกเกทชนิด EXCLUSIVE OR : EXCLUSIVE NOR ไอซีวงจร เกทแบบต่าง ๆ เช่น TTL RTL DTL CMOS และการประยุกต์ใช้งาน ผังคาร์โนห์ การออกแบบวงจรโดยใช้ผนังคาร์โนห์

รายวิชา 6182105

การออกแบบวงจรดิจิตอลและตรรก

3 (2-2-5)

 

Digital and Logic Design

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 6182104 ดิจิตอลเทคนิค

        พีชคณิตสวิตชิ่ง การวิเคราะห์และสังเคราะห์วงจรเกต พีชคณิตบูลลีน การลดทอนวงจรคอมบิเนชั่นให้น้อยที่สุด การวิเคราะห์และสังเคราะห์วงจรซีเวนเชียล ระบบตัวเลขและรหัส พีชคณิตตูลิ่นฮื้อ การวิเคราะห์และออกแบบวงจรรวม วงจรซีเซียม โครงงานตรรกะ และการประยุกต์ใช้งานให้ปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 6182106

ไมโครโปรเซสเซอร์

3 (2-2-5)

 

Microprocessor

 

        ประวัติของไมโครโปรเซสเซอร์ โครงสร้างหน่วยความจำ ขนาดของคำในหน่วยความจำ แอดเดรสของหน่วยความจำ การแปล content ของคำในหน่วยความจำ การแปลรหัสข้อมูลฐาน 2 รหัสตัวอักขระ รหัสคำสั่งรีจิสเตอร์ของซีพียู การใช้งานรีจิสเตอร์ของซีพียู หน่วยกระทำ คณิตศาสตร์และลอจิก หน่วยควบคุม แฟลคสถานะ การเอ็กซีคิ้วคำสั่ง ตารางเวลาของคำสั่ง ROM และ RAM การส่งข้อมูลภายในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ INPUT/OUTPUT การโปรแกรม INPUT/OUTPUT การอินเตอร์รัพท์ INPUT/OUTPUT การตอบสนอง การอินเตอร์รัพระบบ DMA ระบบบัส การส่งข้อมูลแบบอนุกรม พื้นฐานโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี การอ้างแอดเดรสของหน่วยความจำแบบอิมพลาย แบบไดเรค แบสแตค การอ้างแอดเดรสแบบอินไดเรค การอ้างแอดเดรสแบบอินเตอร์ ชุดคำสั่งของซีพียู

รายวิชา 6182401

วิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electronics Circuit Analysis

 

        วิเคราะห์วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็ก วงจรขยายป้อนกลับออสซิลเลเตอร์ วงจรขยายกำลัง วงจรปรับแรงดันคงที่ การวิเคราะห์ในขอบข่ายของความถี่และขอบข่ายของเวลา ทฤษฎี เสถียรภาพ ออกแบบ และชดเชยระบบควบคุม การแทนสเตกสเตสในระบบควบคุม

รายวิชา 6183102

วิศวกรรมแม่เหล็กไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electromagnetics Engineering

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 6183101 คณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า

        ทบทวนการวิเคราะห์เวกเตอร์ กฎของคูลอมป์และความเข้มสนามไฟฟ้า ความหนาแน่นฟลักซ์ไฟฟ้า กฎของเกาส์และไดเวอร์เจนซ์ พลังงานและศักย์ไฟฟ้า ตัวนำ ไดอิเล็กตริก และความจุไฟฟ้า สมการของปัวซ์ซองและของลาปลาซ สนามแม่เหล็กสถิต แรงกระทำในสนามแม่เหล็ก สารแม่เหล็กและความเหนี่ยวนำสนามที่เปลี่ยนแปลงกับเวลา และสมการของแมกซเวลล์

รายวิชา 6183501

หลักการของระบบการสื่อสาร

3 (3-0-6)

 

Principle of Communication System

 

        วิวัฒนาการของการสื่อสารความหมายของข้อมูล คลื่นรบกวน และคลื่นแทรกแซง หลักการมอดูเลชัน  และการส่งแบบต่าง ๆ วงจรและหลักการทำงานของเครื่องรับชนิดซูเปอร์เฮทเทอโรดายน์ฟรีเควนซ์ และเฟสมอดูเลชัน การลดเสียงรบกวนพัลส์มอดูเลชัน ระบบรหัสการแพร่กระจายคลื่นวิทยุ ผ่านบรรยากาศ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม การสื่อสารด้วยแสงระบบการสื่อสารต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร ฯลฯ

รายวิชา 6183502

โครงข่ายการสื่อสารและสายส่ง

3 (2-2-5)

 

Communication Networks and Transmission Lines

 

        ทฤษฎีเกี่ยวกับสายส่ง การใช้สมการทั่วไปของสายส่ง คลื่น กระแส แรงดันในสาย การสะท้อนกลับ ค่าเอสดับบลิวอาร์ สมิทชาร์ท อิมพิแดนซ์ แมซิงอิมเมจ และอินเตอร์เรทีฟพารามิเตอร์ วงจรกรองความถี่ อิควอไลเซอร์ และวงจรลดทอนสัญญาณ

 

            3. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน บังคับ จำนวน 43 หน่วยกิต

รายวิชา 2312705

ภาษาอังกฤษในงานอุตสาหกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Industrial Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดเกี่ยวกับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม เน้นทักษะการอ่านในระดับถ่ายโอน ระดับการสื่อสาร และระดับวิเคราะห์ เช่น การรู้ศัพท์ การอ้างถึง คำเชื่อม ข้อความ การจับใจความสำคัญ เหตุและผล ทัศนคติของผู้เขียน และสรุปความบทอ่าน

รายวิชา 2313705

ภาษาอังกฤษสำหรับงานวิศวกรรม

3 (3-0-6)

 

English for Engineering Work

 

        ศึกษาและฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานวิศวกรรมจากสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ บทความเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ คู่มือการใช้เครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ ฝึกการใช้พจนานุกรมเพื่อการอ่าน ฝึกทักษะในการอ่าน บันทึก สรุปความ ตีความ ขยายความ รวมทั้งการนำเสนอด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร โดยเน้นกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา

รายวิชา 3201101

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ

3 (3-0-6)

 

Introduction to Business Operation

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานของธุรกิจประเภทต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ ได้แก่ การจัดการ การบัญชี การเงิน การตลาด การบริหารบุคคล การบริหารสำนักงาน ซึ่งครอบคลุมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่าง ๆ แนวทางการประกอบธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจรรยาบรรณของนักธุรกิจ

รายวิชา 3211101

องค์การและการจัดการ

3 (3-0-6)

 

Organization and Management

 

        ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะโครงสร้างขององค์การธุรกิจทั่วไป หลักเกณฑ์และแนวความคิดในการจัดตั้งองค์การธุรกิจ ลักษณะและประเภทของการประกอบธุรกิจ จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ หลักการบริหารและหน้าที่สำคัญของฝ่ายบริหารทุก ๆ ด้าน ในแง่ของการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ การจัดองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การนำการควบคุมปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ตั้งไว้ และเทคนิคการจัดการสมัยใหม่

รายวิชา 4211304

ฟิสิกส์เบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction to Physics

 

        การวัดและความแม่นยำในการวัด สเกลาร์และเวคเตอร์ การเคลื่อนที่ในลักษณะต่าง ๆ โมเมนตัมและกฎการเคลื่อนที่ แรงและผลของแรง งาน กำลัง และพลังงาน การเคลื่อนที่ฮาร์มอนิก การเคลื่อนที่แบบคลื่น คลื่นกล สมบัติของสสาร ปรากฏการณ์ความร้อน อุณหพลศาสตร์ โดยจัดให้มีการสาธิตและการทดลองตามความเหมาะสม

รายวิชา 4221104

เคมีเบื้องต้น

3 (2-2-5)

 

Introduction to Chemistry

 

        ศึกษามวลสารสัมพันธ์ โครงสร้างอะตอม ตารางธาตุ พันธะเคมีเบื้องต้น คุณสมบัติของของแข็ง ของเหลว จลนพลศาสตร์เบื้องต้น (Kinetics) สมดุลเคมี สมดุลไอออนิก เคมีนิวเคลียร์เบื้องต้น

รายวิชา 4291401

แคลคูลัส 1

3 (3-0-6)

 

Calculus 1

 

        ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับลิมิตของฟังก์ชัน ฟังก์ชันต่อเนื่อง อนุพันธ์และหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันอดิศัย การประยุกต์อนุพันธ์ และอินทิกรัล

รายวิชา 4292401

แคลคูลัส 2

3 (3-0-6)

 

Calculus 2

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4291401 แคลคูลัส 1

        ลำดับ อนุกรม อนุกรมกำลัง หลักเกณฑ์โลปิตาล อินทิกรัลจำกัดเขต เทคนิคการอินทิเกรต การประยุกต์อินทิกรัลจำกัดเขต อินทิกรัลไม่ตรงแบบ อนุพันธ์และอินทิกรัลของฟังก์ชันสองตัวแปร

รายวิชา 6182103

การเขียนแบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electrical and Electronics Drafting

 

        สัญลักษณ์ที่ใช้งานทางไฟฟ้า ระบบเอสไอ แบบงานเดินสายไฟประกอบแสงสว่าง ระบบไฟฟ้ากำลัง งานเครื่องกล งานควบคุมระบบ One line Diagram, Schematic Diagram, Wiring Diagram ศึกษาสัญลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แบบสากล บล๊อกไดอะแกรม ซิงเกิลไลน์ไดอะแกรม วงจรแบบต่าง ๆ การแสดงส่วนต่าง ๆ เฉพาะวงจร การบอกค่า การให้ขนาดความเหมาะสม รายละเอียดการเขียนฟิคทรอเรียลไดอะแกรม การเขียนแบบทางงานจริง สเกตซ์แบบจากวงจรภายในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแบบพริ้นและงานเขียนแบบวงจรอินทิเกรด แบบเพื่อทำฟิล์มสำหรับซิลค์สกรีน แบบเดินสายมากเส้น การย่อและการขยายแบบ

รายวิชา 6003701

คอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrial Computer

 

        ศึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานอุตสาหกรรม ระบบการประมวลข้อมูลการนำโปรแกรมมาใช้กับการจัดการอุตสาหกรรม การออกแบบต่าง ๆ ตลอดจนการนำข้อมูลจากระบบ Internet มาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมจนสามารถพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

รายวิชา 6183101

คณิตศาสตร์ในงานวิศวกรรมไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electrical Engineering Mathematics

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 4292401 แคลคูลัส 2

        ฟังก์ชั่นของตัวแปรเชิงซ้อน สมการอนุพันธ์อันดับหนึ่งประเภทต่าง ๆ สมการเชิงเส้นทุกอันดับ ทั้งวิธีใช้สมการช่วยและวิธีใช้ตัวดำเนินการและการประยุกต์ผลเฉลยในรูปของอนุกรมอนันต์ ฟังก์ชั่นเชิงฉาก
การแปลงลาปลาซและผลประสาน วิธีเชิงตัวเลขในการแก้สมการอนุพันธ์ย่อย อนุกรมฟูเรียร์ ความสัมพันธ์ระหว่างการแปลงฟูเรียร์และการแปลงลาปลาซ การวิเคราะห์เมตริกซ์ การหาคำตอบของสมการคลื่น สมการของการนำความร้อนและการแพร่ การประยุกต์ทางวิศวกรรมไฟฟ้า

รายวิชา 6183103

สถิติวิศวกรรม

3 (2-2-5)

 

Engineering Statistics

 

        ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ ระเบียบวิธีทางสถิติด้านอุตสาหกรรม การรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล ความน่าจะเป็นเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะเป็น การสุ่มตัวอย่าง ตัวแปรเชิงสุ่ม และการแจกแจงตัวแปรเชิงสุ่ม การประมาณค่า พารามิเตอร์ การทดสอบสมมติฐาน สมมติฐาน แจกแจงแบบปกติ ทวินาม ไฮเปอร์จีโอเมตริก ปัวส์ซอง แกมม่า ไควสแควร์ การแปลงค่าตัวแปรและโมเมนต์ การวิเคราะห์การถดถอยและสหพันธ์เชิงเส้น อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ความแปรปรวน การใช้สถิติในการพยากรณ์ทางธุรกิจและ
อุตสาหกรรม

รายวิชา 6183104

ปฏิบัติงานตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1 (0-3-2)

 

Electronics and Electronic Appliance Repairs

 

        หลักการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป การซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน งานตรวจซ่อมระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าในเครื่องจักรต่าง ๆ ฝึกหัดซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านและระบบควบคุมเครื่องจักรต่าง ๆ

รายวิชา 6183401

เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Technology Electronics

 

        ทฤษฎีเกี่ยวกับตัวนำ ตัวต้านทาง ฉนวน สารกึ่งตัวนำ โครงสร้างสัญลักษณ์คุณสมบัติ การใช้งาน แบบ และชนิดของตัวต้านทาง ตัวเก็บประจุ ตัวเหนี่ยวนำคุณสมบัติฟิสิกส์ ของอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำไดโอด และทรานซิสเตอร์แบบต่าง ๆ การให้ไบแอส และการทำงานของทรานซิสเตอร์แบบคอมมอนต่าง ๆ กราฟแสดงคุณลักษณะ ค่าพารามิเตอร์ และค่าสำคัญต่าง ๆ ที่บอกไว้ในคู่มือของไดโอด ทรานซิสเตอร์ และเอฟอีที ศึกษาไอซีแบบต่าง ๆ ทั้งแบบดิจิตอล และลิดเนียร์ไอซี ไอซีออปแอมป์ ถึงชนิดและการประยุกต์ใช้งาน
งานปฏิบัติ การต่อวงจร วัดและทดสอบตัวเซมิคอนดักเตอร์ไดโอดวงจรเรคติไพเออร์แบบต่าง ๆ พร้อมฟิลเตอร์ โดยใช้ออสซิลโลสโคป และมัลติมิเตอร์ การต่อวงจร การให้ไปแอสประกอบวงจร วัด อ่านค่า ทดสอบวงจรขยาย ทรานซิสเตอร์ เอฟอีทีไอซีแบบต่าง ๆ ปฏิบัติการกับวงจรออปแอมป์ สร้างวงจรกำเนิดความถี่ และวงจรเครื่องขยายสัญญาณ

รายวิชา 6184902

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

Research and Development in Electrical Communication

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 6183103 สถิติวิศวกรรม

        ทฤษฎีหลักการวิจัยทั่วไปและการวิจัยเชิงพัฒนา (R&D) วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้เกี่ยวกับงานไฟฟ้าสื่อสารเพื่อสร้างชิ้นงาน โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคมเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองของชุมชนและสังคม

 

            4. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาเฉพาะด้าน เลือก จำนวน 12 หน่วยกิต

รายวิชา 6182107

การประยุกต์ใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์

3 (2-2-5)

 

Microprocessor Application

 

รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : 6182106 ไมโครโปรเซสเซอร์

        ทรานสดิวเซอร์ และตัวตรวจจับแบบต่าง ๆ การประยุกต์และใช้งานไมโครโปรเซสเซอร์ด้านควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการทำงาน ระบบจักรกล ระบบโทรศัพท์ ระบบสื่อสาร และอื่น ๆ

รายวิชา 6182402

การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Electronics Circuit Design

 

        การออกแบบวงจรรวมชนิดโรลิทิคแบบต่าง ๆ เป็นวงจรขยายดิฟเฟอร์เรนเชียลจากความถี่ต่ำ ความถี่สูง การออกแบบวงจรที่มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเป็นศูนย์วงจรเลื่อนระดับแรงดัน วงจรแรงดันอ้างอิง วงจรควบคุมแรงดัน วงจรขยายช่วงความถี่กว้าง การออกแบบวงจรโดยใช้ออปแอมป์ วงจรเปรียบเทียบแรงดัน วงจรคูณ วงจรกำเนิดความถี่ เฟสลอกลูปและการใช้งาน การเปลี่ยนสัญญาณ อนาลอกเป็นดิจิตอล การเปลี่ยนสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาลอก วงจรดิจิตอลที่ใช้ทีทีแอล ซีมอสและไอไอแอล วงจรแอลเอสไอ และวงจรวีแอลเอสไอ

รายวิชา 6183201

วิศวกรรมระบบเสียง

3 (2-2-5)

 

Acoustics Systems Engineering

 

        คุณสมบัติของคลื่นในสารยืดหยุ่น การเคลื่อนที่ของคลื่นสื่อสารที่มีขอบเขต การถ่ายทอดคลื่นเสียงในลักษณะระนาบและทรงกลม การเลียนแบบกันระหว่างระบบวงจรไฟฟ้าและเครื่องกล ทรานสคิวเซอร์สำหรับคลื่นเสียง การวัดเกี่ยวกับเสียง ความถี่อุลตร้าโซนิค การกระจายของคลื่นเสียงในห้อง การวิเคราะห์พลังงานเสียงด้วยระบบวิเคราะห์สเปกตรัม ทฤษฎีของลำโพงและกล่องลำโพง ความสามารถในการส่งผ่านของคลื่นเสียง ตัวขยายและตัวกรองเสียง หลักการของเครื่องช่วยฟังของคนหูหนวก คุณสมบัติต่อสรีรวิทยาของ
เสียงดังมาก การลดเสียงรบกวน เครื่องวัดระดับเสียง คลื่นเสียงในทางสถาปัตยกรรม การสูญเสียพลังงานของคลื่นเสียง ให้มีการสาธิตและปฏิบัติการตามความเหมาะสม

รายวิชา 6183301

เทคโนโลยีโทรทัศน์

3 (2-2-5)

 

Television Technology

 

        หลักการทำงานของเครื่องรับโทรทัศน์ พัฒนาการของเครื่องรับที่เกี่ยวกับการรับสัญญาณ การมอดและ
ดีมอด สัญญาณสี การสแกนนิ่ง การทำงานของระบบไฟแบบสวิทชิ่ง การควบคุมระบบการทำงานโดยอาศัยไมโครโปรเซสเซอร์ หลักการวิเคราะห์อาการเสียของภาคต่าง ๆ และการปรับแต่งวงจร ฝึกปฏิบัติ การใช้ Trouble Shooting ในการแก้ปัญหา

รายวิชา 6183302

เทคโนโลยีวีดิโอ

3 (2-2-5)

 

Video Technology

 

        ระบบการรับส่งโทรทัศน์ในระบบ CCIR, N.T.S.C, SECAM หลักการบันทึกสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ สัญญาณสีในระบบต่าง ๆ ศึกษาการบันทึกภาพในระบบ V.S.H. การแก้ไขสัญญาณรบกวน ระบบการทำงานทางกล การควบคุมการขับเคลื่อนของมอเตอร์ในเครื่องบันทึกภาพ พัฒนาการของหัวบันทึกภาพ และการประยุกต์ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์มาควบคุมระบบต่าง ๆ ในเครื่องเล่น วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในเครื่องเล่น และการปรับแต่งภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ฝึกปฏิบัติการใช้ Trouble Shooting ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

รายวิชา 6183402

การประมวลผลสัญญาณเชิงเลข

3 (3-0-6)

 

Digital Signal Processing

 

        ศึกษาเรื่องสัญญาณและระบบเชิงเลข (Digital), ทฤษฎีของ Z-Transforms, และ Furrier Transforms, Discrete Transforms, Fast Furrier Transforms, โครงสร้างของ Digital Filter, การออกแบบ Digital Filter, และการประยุกต์ใช้งานของ Digital Signal Processing เช่น Speech, Image Processing และด้าน Telecommunications

รายวิชา 6183403

อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

3 (2-2-5)

 

Industrial Electronics

 

        อุปกรณ์โซลิดสเตทที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม อุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิตรวจจับแสง วงจรหน่วงเวลาและการใช้งาน วงจรเรคติไฟเออร์หลายเฟสชนิดโซลิดสเตท วงจรควบคุมแรงดัน การประยุกต์ใช้งานอุตสาหกรรมของไทริสเตอร์แมกเนติก แอมปลิไฟเออร์ วงจรรวม วงจรดิจิตอล การควบคุมแบบลำดับ การควบคุมเชิงตัวเลข

รายวิชา 6183404

อุปกรณ์สถานะของแข็ง

3 (2-2-5)

 

Solid State Devices

 

        ทบทวนฟิสิกส์ของสารกึ่งตัวนำ อุปกรณ์ทางด้านสวิทช์และอุปกรณ์เกี่ยวกับรอยต่อพีเอ็นต่าง ๆ สิ่งประดิษฐ์เลเซอร์และเฟเซอร์อิเล็กทรอ-ออปติกเอฟเฟค อคูสโค-ออปติกเอฟเฟค ไฟเบอร์ออปติก อินทิเกรต-ออปติก แมกเนติกบับเบิลและสิ่งประดิษฐ์ชาร์จคัปเปิล

รายวิชา 6183405

ออปโต-อิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Opto-Electronics

 

        หน่วยที่ใช้ในการวัดแสง ออปติคอลไฟเบอร์เวฟไกด์ แหล่งกำเนิดแสงและอุปกรณ์รับแสงแบบสารกึ่งตัวนำ ผลึกเหลว วงจรต่าง ๆ ของอุปกรณ์ส่งและรับแสง ระบบสื่อสารแบบออปติก วงจรรวมออปติก

รายวิชา 6183406

สัญญาณรบกวนในระบบอิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Noise in Electronics System

 

        สัญญาณรบกวน การป้องกันการรบกวนในตัวนำ ผลที่แสดงเป็นตัวเก็บประจุ และตัวเหนี่ยวนำของตัวนำไฟฟ้า ผลของสนามแม่เหล็ก ตัวประกอบการป้องกันสัญญาณรบกวน การป้องกันสัญญาณรบกวนแบบไขว้สายและแบบอื่น ๆ การกราวด์ของระบบอิเล็กทรอนิกส์ การป้องกันสัญญาณรบกวนของวงจรขยายสัญญาณ การแยกวงจรโดยใช้ทรานสฟอร์มเมอร์ การเชื่อมโยงโดยใช้อุปกรณ์ทางออปโต การป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ชนิดของเคเบิลและตัวเชื่อม การสมดุล การเชื่อมต่อของอุปกรณ์ประเภทแพสซีส การป้องกันการสึกกร่อนของหน้าสัมผัส การออกแบบวงจรแผ่นพิมพ์

รายวิชา 6183407

เทคโนโลยีไอซี

3 (2-2-5)

 

Integrated Circuit Technology

 

        การปลูกผลึก การเตรียมแว่นผลึก กระบวนการเอพิแทกเชียล ฮอซิเดชันการแพร่ซึม การฝังไอออนซีวีดี การระเหยโลหะในสุญญากาศและการสปัตเตอร์ลิโทกราฟี การปรับปรุงแต่งผิว การประกอบการแพคเกจ/อุปกรณ์และส่วนประกอบของไอซี เช่น ตัวต้านทาน คาปาซิเตอร์ไดโอด เป็นต้น ไอซีมอส และไอซีไอโพลาร์ ทรานซิสเตอร์

รายวิชา 6183408

เพาเวอร์อิเล็กทรอนิกส์

3 (2-2-5)

 

Power Electronics

 

        คุณสมบัติของสวิทชิงไดโอด ทรานซิสเตอร์ ฯลฯ วิเคราะห์วงจรไดโอดด้วยรีแอคตีฟโหลด วิเคราะห์วงจรที่ใช้เป็นดีซี การเปลี่ยนดีซีเป็นเอซี การเปลี่ยนเอซีเป็นดีซี การทำงานของเอสซีอาร์ ไทรแอค การนำไปใช้งานตัวอย่างวงจรไฟฟ้ากำลังสูงที่ใช้อิเล็กทรอนิกส์

รายวิชา 6183503

วิศวกรรมสายอากาศ

3 (3-0-6)

 

Antenna Engineering

 

        หลักการเบื้องต้นของสายอากาศ สายอากาศแบบไดโพลและลิเนียร์ การออกแบบสายอากาศ และการวัดคุณสมบัติของสายอากาศ กระจายคลื่นวิทยุ การกระจายคลื่นวิทยุตามผิวพื้นดินในชั้นบรรยากาศต่าง ๆ เช่น ชั้นโทรโปสเฟียร์ ชั้นแอทโมสเฟียร์ และชั้นไอโอโนสเฟียร์ เป็นต้น

รายวิชา 6183504

วิศวกรรมไมโครเวฟ

3 (3-0-6)

 

Microwave Engineering

 

        ทฤษฎีไมโครเวฟ เวฟไกด์และแควิตี้ ผลที่เกิดจากสเปชาร์จไคลสตรอน การเปรียบเทียบระหว่างสายส่งกับท่อไมโครเวฟ การสั่นของพลาสมาพาราเมตริก แอมปลิไฟเออร์ การกำเนิดและการขยายคลื่นไมโครเวฟที่เกิดในรอยต่อในเนื้อของสารกึ่งตัวนำระบบไมโครเวฟ การเลือกเส้นทางไมโครเวฟ สถานีทวนสัญญาณ การคำนวณระบบทั้งภาคพื้นดินและดาวเทียม

รายวิชา 6183505

การสื่อสารดาวเทียม

3 (3-0-6)

 

Satellite Communications

 

        ศึกษาระบบการสื่อสารดาวเทียมเบื้องต้น ศึกษาเรื่องวงโคจรของดาวเทียม โครงสร้างของยานอวกาศ ศึกษาเรื่องการออกแบบรับ-ส่งสัญญาณ ทั้ง UP-LINK และ DOWN-LINK ศึกษาเทคนิคการผสมสัญญาณ การรวมสัญญาณ (Multiplexing) การเข้า-ถอดรหัสของสัญญาณข้อมูล และศึกษาการออกแบบสถานีดาวเทียมพื้นดินและการจัดโครงข่ายของการสื่อสารทางดาวเทียม

รายวิชา 6183506

การวิเคราะห์วงจรข่ายไฟฟ้า

3 (3-0-6)

 

Electrical Network Analysis

 

        คำจำกัดความ นิยาม การคำนวณโครงข่ายวงจรไฟฟ้า สัญญาณและฟังก์ชัน อุปกรณ์ไฟฟ้าหลายขั้ว การวิเคราะห์วงจร First Order และ Second Order ผลการแปลงลาปลาซ ตัวแปรสถานะ วงจรไฟฟ้ากำลัง 1 เฟส 3 เฟส การคำนวณโดยใช้ระบบ Per Unit การวิเคราะห์วงจรภายใต้สถานะคงตัวของคลื่นรูปไซน์ การหาความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน และกระแสในระบบส่ง-จ่าย Two-Port Network ฟูเรียร์ อินทิกรัล การแปลงฟูเรียร์ การจำลองวงจรไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์

รายวิชา 6183507

วิศวกรรมข่ายสายโทรศัพท์ตอนนอก

3 (2-2-5)

 

Outside Telephone Network Plant Engineering

 

        ทฤษฎีการสื่อสารทางโทรศัพท์ ระบบต่าง ๆ ของข่ายสายโทรศัพท์ ชนิดของเคเบิลและการใช้งานในกิจการโทรศัพท์ การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการสร้างข่ายสาย การสร้างแนวทางสายเคเบิลต่าง ๆ การแขวนสายสะพาน การแขวนสายอากาศโดยใช้เครื่องพันสาย การแขวนสายเคเบิลอากาศที่มีสายสะพานในตัว ระบบสายเคเบิลใต้ดินในท่อร้อยสาย เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการตัดต่อ ชนิดและโครงสร้างเคเบิล และการนับคู่สาย วิธีการตัดต่อเคเบิลทั่วไป การตรวจสอบคู่สายหลังการตัดต่อแนวการวางข่ายสาย และผลกระทบต่อสังคม ภูมิสถาปัตย์ ศึกษาเทคโนโลยีการวางข่ายสายโทรศัพท์ตอนนอก การออกแบบสาย การคำนวณเครื่องควบคุมระบบสายต่อข่ายวงจรโทรศัพท์ แผนผังหมายเลขและสัญญาณ ระบบราคามาตรฐาน คุณสมบัติการส่งระบบต่าง ๆ และการกำจัดเสียงสะท้อน

รายวิชา 6183508

เทคโนโลยีการออกแบบวงจรความถี่วิทยุ

3 (3-0-6)

 

Radio Frequency Circuits Design Technology

 

        การออกแบบวงจรขยายย่านความถี่วิทยุ การออกแบบวงจรผลิตสัญญาณในย่านความถี่วิทยุ วงจรขยายสัญญาณผ่านบรอดแบนด์และการแมทชิ่ง วงจรต่าง ๆ วงจรขยายกำลังสัญญาณย่านความถี่วิทยุ เทคนิคการออกแบบและการจัดอุปกรณ์ เงื่อนไขพิเศษในการออกแบบ ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 6183509

เทคโนโลยีวิศวกรรมโทรศัพท์

3 (3-0-6)

 

Telephone Engineering Technology

 

        แนะนำเกี่ยวกับระบบโทรศัพท์ เทคนิคการให้สัญญาณและสวิตชิ่ง ทฤษฎีกราฟิก ข่ายวงจรโทรศัพท์ ระบบสวิตชิ่งแบบกล-ไฟฟ้า ระบบสวิตชิ่งซึ่งควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบตู้โทรศัพท์ สาขาเทเลค แนะนำเกี่ยวกับการสื่อสาร โดยใช้แสง ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 6183510

ระบบการสื่อสารแบบดิจิตอล

3 (3-0-6)

 

Digital Communication Systems

 

        แสงและสิ่งเร้าในการปลดปล่อยรังสี รีโซเนเตอร์ทางแสง ชนิดของเลเซอร์ เทคนิคการผสมคลื่น เลเซอร์กำลังสูง รูปร่างของลำเลเซอร์ โฮโลกราฟี คุณสมบัติของระบบดิจิตอล เสียงดิจิตอลไลเซชั่น ดิจิตอลทรานสมิตชั่น และมัลติเพลกซิ่ง การวัดความผิดพลาด ซิงโครไนเซชั่น เรดิโอดิจิตอล ดิจิตอลเนทเวอร์ค และโปรโตโคลส์ ความจุช่องสัญญาณ การผสมสัญญาณดิจิตอล การควบคุมความผิดพลาดตอนเข้ารหัส การบันทึกด้วยดิจิตอล ระบบสื่อสัญญาณด้วยเคเบิ้ลใยแสง ความเร็วสูง (S.D.H.) ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 6183511

การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electronics Communication

 

        วิวัฒนาการของสื่อสาร ความหมายของข้อมูล วงจรเครื่องขยายแบบปรับคลื่นการผสมและการแปลงความถี่ การผสมแอมพลิจูดและการวัด หลักการผสมคลื่น การแยกคลื่นแบบต่าง ๆ และการวัด การส่งสัญญาณแบบต่าง ๆ วงจรและหลักการทำงานของเครื่องรับชนิดซูเปอร์เฮทเทอโรดายน์ ความถี่และการผสมเฟส คลื่นแทรกแซงและคลื่นรบกวน การลดเสียงรบกวน การผสมพัลส์ ระบบรหัส การแพร่กระจายคลื่นวิทยุผ่านบรรยากาศ ระบบเครื่องสื่อสารผ่านดาวเทียม การสื่อสารใยแสง วงจรสร้างความถี่ วงจรดิจิตอลในเครื่องส่งและเครื่องรับ ระบบมัลติเพล็ก วงจรเครื่องรับและเครื่องส่ง สัญญาณทางวิทยุ เรดาร์ ไมโครเวฟ เลเซอร์ การสื่อสารระบบอนาลอกและดิจิตอล ระบบการสื่อสารแบบต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรเลข โทรพิมพ์ โทรสาร และระบบสื่อสัญญาณดิจิตอลด้วยเคเบิลใยแสงความเร็วสูง (S.D.H.) ให้มีการสาธิตตามความเหมาะสม

รายวิชา 6183512

การสื่อสารใยแสง

3 (3-0-6)

 

Optic Fiber Communication

 

        พื้นฐานเกี่ยวกับระบบการสื่อสารใยแสง การแพร่กระจายแสง ต้นกำเนิดแสงที่ใช้ในระบบสื่อสารใยแสงคุณสมบัติของใยแสง การมัลติเพล็กซิ่งและ ดีมัลติเพล็กซิ่งและการใช้งาน หน่วยที่ใช้วัดแสงไฟเบอร์ออปติก แหล่งกำเนิดแสง และอุปกรณ์รับแสงแบบสารกึ่งตัวนำ ผลึกเหลว วงจรต่าง ๆ ของอุปกรณ์รับและส่ง

รายวิชา 6183703

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2

3 (2-2-5)

 

Computer Programming 2

 

        หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะคำสั่ง และการเขียนโปรแกรมคำสั่งภาษาระดับสูงอื่น ๆ การออกแบบพัฒนาโปรแกรมเพื่อประยุกต์กับปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ วิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้ภาษาระดับสูง เช่น Visual basic, Visual C หรือภาษาอื่น ๆ

รายวิชา 6183704

การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Computer Drawing and Design

 

        เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาหลักการและวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการออกแบบวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผนภูมิสถิติในงานอุตสาหกรรม และฝึกปฏิบัติการเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

รายวิชา 6183705

เครือข่ายไมโครคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Microcomputer Network

 

        ศึกษาโครงสร้างสถาปัตยกรรมของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ISO/OSI MODEL, โปรโตคอล เช่น Ethernet, Token bus, Token ring และโปรโตคอล สำหรับการประยุกต์ใช้งานด้าน Transaction processing, Distributed data processing ออกแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับระบบไมโครคอมพิวเตอร์

รายวิชา 6184101

กฎหมายไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

3 (3-0-6)

 

Electrical and Electronics Law

 

        ศึกษามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดและเกณฑ์มาตรฐานของประเทศไทยและต่างประเทศ กฎหมายแรงงาน พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม ข้อกำหนดการติดตั้งและเดินสายไฟฟ้าของการไฟฟ้า ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า กฎหมายวิทยุสากล และมาตรฐานเครื่องมืออุปกรณ์เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยุโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์ ระเบียบเกี่ยวกับการขออนุญาตการใช้ ความถี่วิทยุและวิทยุสมัครเล่น

รายวิชา 6184401

ระบบการควบคุมแบบป้อนกลับ

3 (3-0-6)

 

Feedback Control System

 

        ระบบควบคุมเชิงเส้น วงจรควบคุมอัตโนมัติแบบเปิดและแบบปิด สมการพื้นฐานของระบบทรานส์เฟอร์ฟังก์ชัน ซิกแนลไดอะแกรมและซีโรพล๊อต วิธีการรูทโลคัสโบตไดอะแกรม นิโครชาร์ท เสถียรภาพของระบบเฟสมาร์จิน เกนมาร์จิน วิธีการชดเชยแบบเฟสนำและเฟสตาม การวิเคราะห์การทำงานของทั้งระบบในย่านทรานเชียน และย่านสภาวะอยู่ตัว

รายวิชา 6184402

วิศวกรรมควบคุม

3 (3-0-6)

 

Control Engineering

 

        ทฤษฎีการป้อนกลับทั่วไป ทรานสเฟอร์ฟังก์ชั่น เซอร์โวแมคแคนิซึม วิเคราะห์และสร้างระบบควบคุมเชิงเส้นโดยใช้เฮอร์-วิทซ์-รูท ไนควิสท์ โบต และรูท-โลคัส เทคนิคเฟสเพลน และอธิบายฟังก์ชั่นทางเทคนิคสำหรับการควบคุมระบบไม่เป็นเส้นตรง แนะนำระบบควบคุมที่ทันสมัย

รายวิชา 6184403

ระบบควบคุมอัตโนมัติ

3 (2-2-5)

 

Automatic Control Systems

 

        การควบคุมอัตโนมัติ หลักการควบคุม การลูปปิดวงจรและเปิดวงจร ระบบควบคุมลูปปิดวงจรโดยอัตโนมัติ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบควบคุม อุปกรณ์ในการวัดและตรวจจับ การวัดแรง การวัดความเร็ว การวัดกำลัง อุปกรณ์ทรานส์ดิวเซอร์ชนิดต่าง ๆ การวัดอุณหภูมิ และเครื่องวัดอุณหภูมิ การวัดความดัน การวัดระดับ การวัดอัตราการไหล การวิเคราะห์ วิธีการควบคุมกระบวนการทางอุตสาหกรรม

รายวิชา 6184901

สัมมนาไฟฟ้าสื่อสาร

3 (2-2-5)

 

Electrical Communication Seminar

 

        ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และปัญหาทางไฟฟ้าสื่อสาร ให้สอดคล้องกับกลุ่มวิชาที่เลือกเรียนมาอภิปรายเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล ตามวิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนฝึกเขียนโครงการหรือโครงงาน หรือรายงานตามความเหมาะสม ทั้งวิธีการและการปฏิบัติอย่างเป็นระบบ

รายวิชา 6183701

สถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์

3 (2-2-5)

 

Architecture Microcomputer

 

        สถาปัตยกรรมของไมโครคอมพิวเตอร์ โดยใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ที่เป็นปัจจุบัน วงจรที่ใช้กับไมโครโปรเซสเซอร์ ระบบสัญญาณนาฬิกา ระบบบัส การอ้างแอดเดรส การเขียน/อ่าน หน่วยความจำ RAM, ROM การสื่อสารแบบขนาน อนุกรมพอร์ทแบบขนานดีเอ็มเอ (DMA) และการอินเตอร์รัพท์

 

            5. คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเฉพาะ

                    วิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 หน่วยกิต

รายวิชา 6184801

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพไฟฟ้าสื่อสาร

5 (450)

 

Field Experience in Electrical Communication

 

        ให้นักศึกษาได้ออกฝึกงานในสถานประกอบหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่สัมพันธ์กับแขนงวิชาที่ศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ โดยได้รับความเห็นชอบจากกรรมการของคณะวิชา

18. การประกันคุณภาพของหลักสูตร

        หลักสูตรสาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร กำหนดประเด็นการประกันคุณภาพหลักสูตรไว้ดังนี้

            18.1 การบริหารหลักสูตร

                1. กำหนดเกณฑ์และระบบในการคัดเลือกนักศึกษาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา
                2. แต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณสมบัติตรงและ/หรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา
                3. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นการเรียนแบบใฝ่รู้ (Active Learning)
                4. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมอย่างหลากหลาย
                5. มีแผนการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
                6. จัดทำมาตรฐานขั้นต่ำของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาให้บังเกิดประสิทธิผล
                7. มีการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบัณฑิตก่อนสำเร็จการศึกษา
                8. มีระบบการประเมินอาจารย์ชัดเจนและแจ้งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
                9. ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนทุกภาคเรียน
                10. จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษาทุกปี

            18.2 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

                1. จัดให้มีวัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ
                2. จัดหาทรัพยากรการเรียนการสอนให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานของสาขาวิชา
                3. จัดห้องปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะวิชาชีพให้แก่นักศึกษา
                4. ร่วมมือกับสำนักวิทยบริการจัดหาหนังสือและทรัพยากรการเรียนรู้ที่จำเป็น
                5. มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศสำหรับสืบค้นข้อมูลเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา
                6. มีแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้มาตรฐาน

            18.3 การสนับสนุนและการให้คำแนะนำนักศึกษา

                1. จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพหลักตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                2. จัดอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มตลอดเวลาที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย
                3. จัดหาแหล่งทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาทั้งประเภททุนให้เปล่าและทุนกู้ยืม
                4. ส่งเสริมให้นักศึกษามีงานทำระหว่างเรียน
                5. จัดระบบสารสนเทศในการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ

            18.4 ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคมและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

                1. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมก่อนพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรทุกครั้ง
                2. สำรวจความต้องการของตลาดแรงงานและสังคมทุก 2 ปี เพื่อนำมาปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิต
                3. สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุก 2 ปี
                4. สำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตทุก ๆ ปี

19. การพัฒนาหลักสูตร

        19.1 การพัฒนาหลักสูตร

            ในการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีกระบวนการดังนี้

                1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรที่มาจากผู้เกี่ยวข้อง มีคุณวุฒิตรงตามสาขา และ/หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
                2. มีการสำรวจความต้องการของสังคมเพื่อนำมาเป็นกรอบในการพัฒนาหลักสูตร
                3. มีการวิพากษ์การจัดทำหลักสูตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
                4. มีรายงานกระบวนการพัฒนาหลักสูตร และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างหลักสูตร
                5. มีนโยบายในการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาทุก ๆ ปี
                6. มีแผนงานในการปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาทุก ๆ 5 ปี

        19.2 การประเมินหลักสูตร

            กำหนดแนวทางการประเมินหลักสูตรไว้ดังนี้

                1. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนโดยผู้เรียนทุกภาคการศึกษา และประเมินโดยผู้สอนปีละครั้ง
                2. ประเมินผลการเรียนรู้ทุกรายวิชาทุกภาคการศึกษา และจัดให้มีการประเมินผลการเรียนรู้รวบยอดก่อนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 2 ครั้ง
                3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Performance Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษาทุก 4 ปี
                4. ประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา (Impact Evaluation) ภายหลังสำเร็จการศึกษาทุก 4 ปี
                5. มีการประเมินหลักสูตรทั้งระบบทุกรอบ 4 ปี

 

****************

ภาคผนวก

 

1. สรุปรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร พุทธศักราช 2549

        ตาราง แสดงรายการปรับปรุงหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ พ.ศ. 2549

ที่

รายการปรับปรุง

หลักสูตรเดิม

หลักสูตรใหม่

คำชี้แจงเพิ่มเติม

1

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

(แขนงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์)

ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร

ปรับปรุงจากหลักสูตร 2 ปีเป็นหลักสูตร 4 ปี

2

ชื่อปริญญา

วิทยาศาสตรบัณฑิต

โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

(แขนงเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์)

อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร

เปลี่ยนชื่อปริญญาใหม่

3

ปรัชญาของหลักสูตร

ไม่มี

มี

 

4

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

6 ข้อ

3 ข้อ

 

5

หลักสูตร

 

เรียนภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 12 นก. เรียนคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 5 นก.

ภาษาอังกฤษจัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 6 น.ก. และหมวดวิชาเฉพาะ 6 น.ก.

คอมพิวเตอร์จัดในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2 น.ก. และหมวดวิชาเฉพาะ 3 น.ก.

5.1 จำนวนหน่วยกิตรวม

ไม่น้อยกว่า 80 หน่วยกิต

ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต

 

5.2 โครงสร้างของหลักสูตร

     

    (1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

18 หน่วยกิต

31 หน่วยกิต

 

    (2) หมวดวิชาเฉพาะ

(56 หน่วยกิต)

(93 หน่วยกิต)

 

         2.1 วิชาแกน

12 หน่วยกิต

30 หน่วยกิต

 

         2.2 วิชาเฉพาะด้านบังคับ

6 หน่วยกิต

43 หน่วยกิต

 

         2.3 วิชาเฉพาะด้านเลือก

24 หน่วยกิต

15 หน่วยกิต

 

         2.4 วิชาประสบการณ์ฯ

5 หน่วยกิต

5 หน่วยกิต

 

         2.5 วิชาวิทยาการจัดการ

9 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

จัดรวมไว้ในวิชาเฉพาะด้านบังคับ

    (2) หมวดวิชาเลือกเสรี

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

ให้เลือกเรียน 6 หน่วยกิต

 

5.3 ระบบรหัสวิชา

จัดตามระบบ ISCED

ยึดระบบ ISCED แต่ปรับเลขหลักแรกให้ตรงกับรหัสคณะ เพื่อความสะดวกในการบริหารหลักสูตร

 

5.4 คำอธิบายวิชา

เดิมมี..........รายวิชา

ปรับปรุงคำอธิบายใหม่.......รายวิชา

ตัดออก....รายวิชา

เพิ่มใหม่.....รายวิชา

6

อาจารย์ประจำหลักสูตร

 

5 คน

 

7

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

มีจำนวน 5 คน

 

2. คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและผู้ทรงคุณวุฒิ

1.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สุรสิทธิ์ ราตรี

    -  หัวหน้าภาควิชาครุศาสตร์วิศวกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2.

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พีระวุฒิ สุวรรณจันทร์

    -  วศ.ม. (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  รองคณบดีกำกับดูแลงานด้านพัฒนา และกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
       เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

3.

 ดร.พูนศักดิ์ โกษียาภรณ์

    -  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

4.

 นายวิรัช ตั้งประดิษฐ์

    -  สภาอุตสาหกรรม

5.

 นายเกษม ภู่เจริญธรรม

    -  วศ.ม. (ไฟฟ้าระบบ) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

6.

 นางสาวอิสรี ศรีคูณ

    -  Ph.D. (Electrical Engineering Power)  University of Bath (กำลังศึกษา)

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

7.

 นายธีรพล ทรัพย์บุญ

    -  วศ.ม. (โทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  ผู้ประกอบการ

8.

 นายทวีศักดิ์ ไวยมิตรา 

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

9.

 นายธีรพจน์ แนบเนียน

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏลพบุรี

10.

 นายทวีศักดิ์ ตันอร่าม

    -  วศ.ม. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

11.

 นายนัฐพันธ์ พูนวิวัฒน์

    -  คอ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตาก

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

12.

 นายชัชชัย เขื่อนธรรม

    -  ค.อ.ม. (ไฟฟ้า) สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

13.

 นายอนุสรณ์ สินสะอาด

    -  วท.บ. (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม) สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

14.

 นายเกียรติชัย บรรลุผลสกุล

    -  อส.บ. (อิเล็กทรอนิกส์) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

1 5 .

 นางสาวณัฐนันท์ สังข์เลี่ยมทอง

    -  บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

    -  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

3. ขั้นตอนการจัดทำหลักสูตรอุตสาหกรรมรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร

        1. มหาวิทยาลัยฯ จัดประชุมรับฟังวิสัยทัศน์หลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ และพลเอกศิริ ทิวพันธ์ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545

        2. ดำเนินการประชุมโปรแกรมวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ ปรัชญา และแนวทางการจัดทำหลักสูตร พร้อมทั้งจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักสูตร เดือนกรกฎาคม 2548

        3. เข้าร่วมประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 8 –9 สิงหาคม 2548

        4. สำรวจความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต เดือนสิงหาคม 2548

        5. จัดประชุม เพื่อจัดทำหลักสูตรฉบับร่างหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 14-15 สิงหาคม 2548

        6. จัดประชุมสัมมนาวิพากษ์หลักสูตร ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน 2548 ณ โรงแรมอัมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

        7. จัดประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร ณ ห้องประชุมอาคารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เมื่อ 19-20 กันยายน 2548

        8. ประชุมปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามประกาศมหาวิทยาลัย

        9. นำเสนอหลักสูตร และปรับปรุงแก้ไขต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2548

        10. นำเสนอหลักสูตรต่อคณะอนุกรรมการวิชาการ สภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2548

        11. ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของสภาวิชาการและอนุกรรมการฝ่ายวิชาการาร

        12. นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2548 สภามหาวิทยาลัย โดยมีมติอนุมัติหลักสูตรนี้

 

 

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาไฟฟ้าสื่อสาร

 

 

 

 

.

หลักสูตรปรับปรุง

พ.ศ. 2549

 

 

 

 

 

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ไปบนสุด
กลับไปหน้าหลัก